30 พฤศจิกายน 2555 18:45 น.

ถอยรถมือสองเป็นของครอบครัว

อนงค์...นาง

อยากมีรถคันใหม่ไม่เป็นหนี้
รถเก่ามีให้ซื้อคือสุขสันต์
เก็บเงินได้พอซื้อคือรางวัล
ทุกคืนวันนอนหลับรับอรุณ

เพราะยากจนต้องเจียมไม่เทียมเขา
พอเพียงเราเท่านี้มีอบอุ่น
ครอบครัวพร้อมรักใคร่ใจการุณย์
คอยเกื้อหนุนอุ่นทรวงดวงฤดี

เมื่อวานซื้อรถมือสองยี่ห้อ�
Benz c230 kompressor ปี1999
ราคา $5000�
พี่ชายหาให้และซ่อมให้ค่ะ ฤกษ์ดีวันที่
9 ธันวาคม จะนำไปเจิมและรดน้ำมนต์ที่วัดค่ะ
คิดมานานมากว่าจะถอยรถใหม่แต่เป็นหนี้ ต้องผ่อนเสียดอกเบี้ย
หรือซื้อรถมือสอง สภาพดีๆโชคดีพี่ชายเป็นช่าง ดูและซ่อมให้ทุกอย่าง
ชอบมากค่ะ สีขาว รูปทรงพอดี สภาพยังดีมากค่ะ
Z8NM3.jpg				
23 พฤศจิกายน 2555 11:22 น.

แค่คนธรรมดา

อนงค์...นาง

อยากใช้เงินของเราเขาว่าโอ่
ชอบคุยโตหมั่นไส้ไยเดียดฉันท์
เงินของเราหาได้ของใครกัน
ผิดไหมนั่นโลกเสรีวิถีชน

อยากจ่ายตั๋วเครื่องบินกินอาหาร
อยากให้ทานทำบุญทำกุศล
อยากแบ่งบุญให้กันปัญญาชน
รวยหรือจนเงินทองอย่าหมองใจ

อยากซื้อรถสักคันฝันไปก่อนค่ะ ไม่เคยคุยว่ามีรถใหม่ขับ
จะพูดความจริงเสมอว่าเคยลำบากมามาก
ถ้าอยากสบายเมื่อถึงเวลา อยากทำอะไรตอนแก่แบบใช้เงินตัวเอง
ผิดหรือเปล่าคะ เพราะเว็บนี้มีเพื่อนที่คุยกันได้ เหมือนเพื่อนสนิท
มีอะไรก็เล่าสู่กันฟัง�
อยากชวนเพื่อนไปเที่ยวบ้าน อยากตีตั๋วเครื่องบินให้เพื่อน
อยากพาเพื่อนไปเที่ยว อยากกลับบ้านไปหาแม่และญาติพี่น้อง
อยากไปเที่ยว อยากทำบุญ อยากเล่าให้เพื่อนฟัง

ถ้าสิ่งที่ทำไปไม่ถูกใจใคร คิดว่าคุยโม้โอ้อวด ต้องขออภัยค่ะ
แต่จะไม่เปลี่ยนตัวเองเพื่อให้ถูกใจใคร เพราะไม่วิ่งตามความรู้สึกความคิดของใครค่ะ				
19 พฤศจิกายน 2555 10:33 น.

ร่วมพิธีถวายพระกฐินพระราชทาน ปี2555

อนงค์...นาง

lsKq3.jpg

อานิสงส์ผลบุญหนุนชีวา
ออกพรรษาพาไปทอดกฐิน
ถวายวัดพร้อมกันขวัญชีวิน
พระราชทานกฐินแด่ชาวไทยในอเมริกา

พ่อแม่ลูกพร้อมใจไปด้วยกัน
ต่างสุขสันต์ทำบุญหนุนศาสนา
สืบสานประเพณีมีนานมา
กุศลพาชีวิตคิดทำดี

อานิสงส์หรือผลดีของการทอดกฐิน
๑. ผลดีฝ่ายผู้ทอดและคณะ อานิสงฆ์หรือผลดีของฝ่ายผู้ทอดและคณะมีดังนี้
(๑) ชื่อว่าได้ถวายทานภายในกาลเวลากำหนดที่เรียกว่ากาลทาน คือในปีหนึ่งถวายได้เพียง ในระยะเวลา ๑ เดือนเท่านั้นในข้อถวายทาน ตามกาลนี้มีพระพุทธภาษิตว่าผู้ให้ทานตามกาล ความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลของผู้นั้น ย่อมสำเร็จได้
(๒) ชื่อว่าได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งห่มใหม่ แม้ผ้ากฐินนั้นจะตก แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ชื่อว่าได้ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม มีพระพุทธภาษิตว่าผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิว พรรณ
(๓) ชื่อว่าได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ส่งเสริมผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้เป็นหลัก เป็นตัวอย่าง แห่งคุณงามความดีของประชาชนสืบไป
(๔) จิตใจของผู้ทอดกฐินทั้ง ๓ กาล คือก่อนทอด กำลังทอดและทอดแล้วที่เลื่อมใสศรัทธาและ ปรารถนาดีนั้นจัดเป็นกุศลจิต คนที่จิตเป็นกุศลย่อมได้รับความสุขความเจริญ
(๕) การทอดกฐินทำให้เกิดสามัคคีธรรม คือการร่วมมือกันทำคุณงามความดีและถ้าการถวาย กฐินนั้นมีส่วนได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามด้วย ก็เป็นการร่วมสามัคคี เพื่อรักษาศาสนวัตถุ ศาสนสถานให้ยั่งยืนสถาพรสืบไป
๒. ผลดีฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับและกรานกฐิน อานิสงค์หรือผลดีของฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับและกราน กฐินมีดังนี้
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ (ในวินัยปิฎก เล่ม ๕ หน้า ๑๓๖) ว่าภิกษุผู้กรานกฐินแล้วย่อมได้รับประโยชน์ ๕ ประการ
(๑) รับนิมนต์ฉันไว้แล้วไปไหนไม่ต้องบอกลาภิกษุในวัดตามความในสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์
(๒) ไปไหนไม่ต้องนำไตรจีวรไปครบสำรับ
(๓) เก็บผ้าที่เกิดขึ้นเป็นพิเศษไว้ได้ตามปรารถนา
(๔) จีวรอันเกิดในที่นั้นเป็นสิทธิของภิกษุเหล่านั้น
(๕) ขยายเขตแห่งการทำจีวรหรือการเก็บจีวรไว้ได้จนถึงสิ้นฤดูหนาว (คือจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสุดท้าย)
ประเภทของกฐิน แยกเป็นประเภทใหญ่ ได้ดังนี้
๑. กฐินหลวง
๒. กฐินราษฎร์
กฐินหลวง
มีประวัติว่า เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย และประชาชนคนไทยที่ตั้ง หลักแหล่งอยู่ในผืนแผ่นดินไทย ได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีของบ้านเมืองมาโดยลำดับ
พระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครอง บ้านเมือง ได้ทรงรับเรื่องกฐินนี้ขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่งซึ่งทรงบำเพ็ญเป็นการประจำ เมื่อ ถึงเทศกาลทอดกฐิน การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธี ดังกล่าวนี้ เป็นเหตุให้เรียกกันว่า กฐินหลวง วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ หาก พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางผ้าพระกฐินแล้ว เรียกว่า กฐินหลวงทั้งสิ้น มิใช่ กำหนดว่าทอดที่วัดหลวงเท่านั้น จึงจะเรียกว่ากฐินหลวง
แต่สมัยต่อมา เรื่องของกฐินหลวงได้เปลี่ยนไปตามภาวการณ์ของบ้านเมือง เช่น ประชาชนมี ศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดิน ได้รับพระมหากรุณาให้ถวายผ้า> พระกฐินได้ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเหตุให้แบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภท ๆ ดังปรากฎ ในปัจจุบัน ดังนี้
๑. กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัด สำคัญ ๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังออกหมาย กำหนดการเป็นประจำปี จึงไม่มีการจองล่วงหน้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จ พระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง แต่มิได้เสด็จไปทั้ง ๑๖ วัดหลวง ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือองคมนตรี หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็น ผู้แทนพระองค์ไปถวาย วัดหลวง ๑๖ วัด คือ
(๑) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม.
(๒) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม.
(๓) วัดสุทัศน์เทพวราราม กทม.
(๔) วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
(๕) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.
(๖) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.
(๗) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กทม.
(๘) วัดเทพศิรินทราวาส กทม.
(๙) วัดราชาธิวาส กทม.
(๑๐) วัดมกุฎกษัตริยาราม กทม.
(๑๑) วัดอรุณราชวราราม กทม.
(๑๒) วัดราชโอรสาราม กทม.
(๑๓) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
(๑๔) วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา
(๑๕) วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา
(๑๖) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
๒. กฐินต้น
กฐินนี้เกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จไปอย่างเป้นทางราชการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศล ส่วนพระองค์ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

* เป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินมาก่อน
* ประชาชนมีความเลื่อมใสในวัดนั้นมาก
* ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไป จะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดด้วย
๓. กฐินพระราชทาน
เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไป ถวายยังวัดหลวง นอกจากวัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง ปัจจุบันก็เว้น ๑๖ วัดดังกล่าวมาแล้ว เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานก็เพราะว่าปัจจุบันวัดหลวงมีเป็น จำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคคลที่สมควร รับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้ และผู้ที่ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตนโดยเสด็จ พระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาก็ได้
ปัจจุบัน กระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคลหรือบุคคลใด มีความประสงค์จะรับพระราชทานผ้า พระกฐินไปถวาย ณ วัดหลวงวัดใดก็ติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ตาม ระเบียบซึ่งเท่ากับเป็นการจองกฐินไว้ก่อนนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจากwww.amulet.in.th				
13 พฤศจิกายน 2555 16:54 น.

ชีวิตนี้...ที่ปรารถนา

อนงค์...นาง

งานทางโลกพอเพียงเลี้ยงครอบครัว
อีกทั้งตัวพอกินไม่สิ้นหวัง
สุขใจในอาชีพประทีปพลัง
ตื่นเช้ายังแจ่มใสไร้ทุกข์ครอง

แสวงหาสิ่งใดในโลกนี้
ตายเป็นผีถูกเผาไยเศร้าหมอง
ทรัพย์สมบัตินำไปไม่ได้ครอง
ทั้งเงินทองบ้านรถหมดเวลา

ทำกุศลผลบุญหนุนชีวิต
ไม่ยึดติดอบายมุขไม่ทุกข์หนา
ศีลห้ารักษาได้ไม่คลาดคลา
สุขชีวาแท้จริงยิ่งปลอดภัย

กรรมฐานศึกษาพาชีวิต
ธรรมะติดชีวันอันผ่องใส
ถือศีลแปดช่วยตนให้พ้นภัย
ว่างยามใดปฏิบัติธรรมคอยนำทาง

เลิกหมกมุ่นกิเลสเหตุเป็นทุกข์
เพียงพอสุขครอบครัวอย่ามัวห่าง
การพนันเหล้ายาตัณหาวาง
ไม่อ้างว้างศีลธรรมนำทางเดิน				
11 พฤศจิกายน 2555 17:24 น.

วันลอยกระทงของอนงค์นาง

อนงค์...นาง

3cGOF.jpg

ไปทำงานแต่เช้าเข้าหกโมง
บ่ายสองตรงสามีรับกลับบ้านหนา
พักผ่อนก่อนอาบน้ำสำราญอุรา
รีดเสื้อผ้าชุดไทยใส่ไปงาน

ได้เป็นเหรัญญิกงานที่สอง
ผู้ใหญ่ต้องชะตาเมตตาอ่าน
รับผิดชอบเงินได้ไม่เสียงาน
อ่อนน้อมวานอะไรใจยินดี

สมาคมชาวเหนือจัดเพื่อกุศล
ขายบัตรคนมากมายได้สุขขี
ฟังดนตรีไพเราะเสนาะฤดี
บุฟเฟ่ต์มีเรียงแถวเป็นแนวทาง

พ่อกับลูกซื้อบัตรจัดที่นั่ง
เสียงเพลงดังฟังไปฉันไกลห่าง
นั่งขายตั๋วแรฟเฟิลเพลินใจนาง
ทุกคนต่างยินดีแสนปรีดา

ตกดึกลอยกระทงตรงเวที
ร่องน้ำมีไหลตามงามนักหนา
กระทงสวยแสงสีมีชีวา
ปรารถนาสิ่งใดใจเยือกเย็น

ทำบัญชีส่งเงินไม่เกินขาด
ใสสะอาดสุจริตไม่ผิดเห็น
สังคมคนรอบกายได้ร่มเย็น
กุศลเห็นทันตาน่าชื่นใจ

เริ่มวันใหม่อีกครั้งใจยังสุข
สติปลุกชีวิตจิตแจ่มใส
ไม่เกียจคร้านทำดีมีวินัย
สวรรค์ในใจตนบนความจริง				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟอนงค์...นาง
Lovings  อนงค์...นาง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟอนงค์...นาง
Lovings  อนงค์...นาง เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟอนงค์...นาง
Lovings  อนงค์...นาง เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงอนงค์...นาง