15 ตุลาคม 2555 11:21 น.
อนงค์...นาง
ตื่นเช้าไปซักผ้ากับสามี
ตั้งแต่ตีห้าหนาวคราวปลายฝน
เตรียมอาหารเช้าไว้ให้ทุกคน
อิ่มกมลอิ่มท้องต้องเดินทาง
ถึงวัดสอนหนังสือคือความสุข
เด็กน้อยสนุกภาษาไม่น่าห่าง
ตั้งใจเรียนดินสอไม่ขอวาง
หัดเขียนบ้างอ่านบ้างอย่างภิรมย์
สิบเอ็ดโมงทำบุญสลากภัตร
ครั้งแรกวัดจัดให้ได้ดีสม
รับศีลพรแจ่มใสใจชื่นชม
กรวดน้ำพรมชุ่มชื่นพื้นพสุธา
บ่ายโมงสอนเด็กจนพ้นบ่ายสอง
อนงค์เข้าห้องเรียนธรรมศึกษา
ห้าโมงเรียนตัดผมบ่มวิชา
สามีมาเป็นหุ่นอบอุ่นใจ
ถึงบ้านค่ำหุงหาอาหารเย็น
ครอบครัวเป็นที่รักมิผลักไส
พ่อแม่ลูกพร้อมเพรียงเคียงกันไป
เข้าวัดไทยทำบุญหนุนชีวา
วันอาทิตย์ที่14 ตุลาคม ครอบครัวอนงค์นางได้ไปร่วมกิจกรรมทำบุญที่วัดค่ะ
เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกและครอบครัวชุมชนชาวไทยคนไกลบ้านเหมือนกันค่ะ
ที่วัดจัดงานทำบุญสลากภัตรครั้งแรก แต่ไม่ให้เด็กต้องขาดเรียนไปด้วย
เลยจัดกันที่ในโบสถ์หลังใหม่ ครูกับนักเรียนอยู่ที่อาคารเอนกประสงค์
ทุกคนทั้งผู้ปกครอง ครู นักเรียน อุบาสก อุบาสิกาได้ทำบุญร่วมกัน
อนงค์นางเข้าเรียนธรรมศึกษาตรีสามชั่วโมง มีการบ้านให้ศึกษาและเขียนส่งอาทิตย์หน้า
เข้าเรียนตัดผมต่อมีสามีและลูกคนเล็กเป็นหุ่นให้แม่นางหัดตัดผม กลับบ้านอย่างอิ่มบุญและสุขใจกันทุกคนค่ะ
�������� ประเพณีสลากภัตรเป็นประเพณีทำบุญที่คนในปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักกันดีนัก เพราะมิใช่ประเพณีใหญ่โตแบบตรุษ หรือ สารท� มักจะทำตามบ้านที่นิยมเลื่อมใส หรือ มีสิ่งของพอที่จะรวบรวมมาถวายพระ� หรือเข้าสลากภัตรได้ก็จัดพิธีนี้ขึ้น ในทางภาคเหนือ จะเรียกว่า "ทานก๋วยสลาก" คำว่า "ก๋วย" แปลว่า "ตะกร้า" หรือ "ชะลอม"��� สลากภัตร หมายถึงอาหารที่ทายกถวายพระตามสลาก นับเข้าเป็นเครื่องสังฆทานในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรางอนุญาต ไว้ในคำสอนนิสสัยว่าเป็นอดิเรกลาภส่วนหนึ่งถวายได้ไม่จะกัด� สุดแต่ศรัทธาสำหรับในปัจจุบันนิยมทำในฤดูที่มีผลไม้อุดมสมบูรณ์ ในระหว่างเดือน 6 จนถึง เดือน 8 เมื่อวัดใดจะจัดให้มีการถวายสลากภัตร ทายกผู้เป็นหัวหน้าก็จะกำหนดวัน และหาเจ้าภาพด้วยวิธีต่างๆ เช่น ทำใบปิดไว้ หรือไปประกาศป่าร้องหาเจ้าภาพร่วม ผู้ใดต้องการจะเป็นเจ้าภาพก็แจ้งชื่อไว้ ผู้เป็นเจ้าภาพก็จะมีการเตรียมสำรับกับข้าว และเครื่องไทยทานตามกำลังของตน� เช่น หมาก� เมี่ยง� บุหรี่� ไม้ขีดไฟ� หอม� กระเทียม� สบู่ แปรงสีฟัน� ยาสีฟัน� ข้าวสาร� น้ำตาล� และน้ำอ้อย เป็นต้น� จากนั้นทายกผู้เป็นหัวหน้า ก็จะนำเบอร์มาติดที่สำรับกับข้าว ของเจ้าภาพ แต่ละรายแล้วเขียนเบอร์หมายเลขให้พระจับ� พระจับได้เบอร์อะไรของเจ้าภาพคนใดก็จะไปฉันสำรับกับข้าวที่เจ้าภาพนำมา� ส่วนใหญ่ของที่เตรียมไว้จะพอดีระหว่างเจ้าภาพและพระที่นิมนต์มา� ข้อสำคัญในการทำบุญสลากภัตรก็คือ เป็นการถวายทานแบบไม่เจาะจง ตัวผู้รับเมื่อพระองค์ใดจับได้เบอร์ของเจ้าภาพ เจ้าภาพไม่ควรแสดงความยินดียิมร้ายในผู้รับก่อนที่จะมีการเส้นสลาก (จับสลาก)� ก็จะมีการฟังเทศน์อย่งน้อย 1 กัณฑ์ต่อจากนั้นก็จะมีการยกของประเคนตามสลาก เมื่อพระฉันเสร็จแล้วก็จะอนุโมทนาและให้พร เจ้าภาพก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล
7 ตุลาคม 2555 17:26 น.
อนงค์...นาง
ได้แบบบ้านในสวนนวลอนงค์
บ้านไม้ทรงสวยงามในความฝัน
วันเวลาก่อสร้างวางแผนกัน
ช่างบ้านฉันคนเดิมเสริมแรงใจ
ไม่ติดดินยกเสาเราหนีน้ำ
ลมเย็นฉ่ำชื่นขวัญพลันแจ่มใส
ในสวนงามละมุนสมุนไพร
อาชีพใหม่ของฉันในบั้นปลาย
สายสัมพันธ์ชลบุรีมีมานาน
เป็นสถานเติบใหญ่ไม่เลือนหาย
ได้วิ่งเล่นหน้าบ้านสำราญกาย
ญาติหญิงชายหลายคนบนวิมาน
บ้านไม้สวยน่าอยู่ดูอบอุ่น
ความชินคุ้นเคยกันอันแสนหวาน
นานเพียงใดคงอยู่ดูทนทาน
เป็นวิมานบ้านสวนนวลอนงค์
บ้านไม้หลังเก่าที่เราเคยเช่าอยู่ในตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีที่พ่อแม่พาย้ายจากร้อยเอ็ดตั้งแต่อนงค์นางอายุสามขวบ ปัจจุบันก็ยังอยู่เหมือนเดิมค่ะ ญาติของพี่เขยคนเมืองชลฯชวนให้ไปซื้อที่ใกล้กันคนละแปลงๆละ 60ตารางวาที่พลูตาหลวงสัตหีบเมื่อสิบกว่าปีก่อน
เจ้าของเป็นเกษตรกรและแพทย์แผนโบราณ ปรุงยาสมุนไพรขายในสวนสมุนไพร�
อนงค์นางชอบอยู่บ้านไม้ บ้านเกิดที่ร้อยเอ็ดก็ปลูกเป็นบ้านไม้ตอนที่เป็นครู �อยู่ในตำบลเดียวกับที่อนงค์นางเกิด
ตอนปลูกบ้านใหม่ให้แม่ แม่ออกแบบคุมการก่อสร้างเอง เป็นบ้านแบบใช้อิฐฉาบปูนหลังเล็กๆ�ช่างรับเหมาเป็นผู้ใหญ่บ้าน อนงค์นางพอใจในผลงานพอสมควรเลยจะให้ไปปลูก
บ้านในสวนที่สัตหีบให้อีกสักหลัง สามีก็ตามใจไม่ขัดข้องอนุมัติให้ปลูกได้ ขอบพระคุณเด้อค่ะพ่อบ้านผู้แสนดี ตกลงแม่จะพาช่างไปหาซื้อบ้านไม้ที่เขาปลูกไว้ขายที่ร้อยเอ็ด
ยกไปปลูกที่สัตหีบให้เสร็จก่อนกลับเมืองไทยในวันที่ 1มกราคม ปีหน้า�ไปกินนอนที่นั่นกันเลยค่ะ ต้ังชื่อว่า บ้านสวนนวลอนงค์
เราวางแผนจะกลับไปอยู่ตอนเกษียณ ฤดูทำนาก็กลับบ้านที่ร้อยเอ็ดในอำเภอเมืองกับอำเภอสุวรรณภูมิ เกี่ยวข้าวเสร็จก็กลับไปสัตหีบปรุงยาสมุนไพรเอาไว้แจกจ่ายช่วยคนที่ต้องการ เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่ต่อไป ตอนเกษียณราชการจะได้รับเงินบำนาญเดือนละสองพันเหรียญก็คงอยู่ได้แบบพอเพียง ช่วยเหลือสังคมตามกำลังที่ทำได้ค่ะ
แต่วันนี้ก็ทำให้ดีที่สุด พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรไม่ขอกังวล ใช้ชีวิตตามคติที่ว่า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน จะประสพความสำเร็จในชีวิตได้ด้วยความซื่อสัตย์ กตัญญูรู้คุณบิดามารดา ผู้มีพระคุณทุกคน มีฆราวาสธรรม ศีลห้าและมรรคแปดครองชีวิตตลอดไปค่ะ
บ้านไม้ที่เคยอยู่ในชลบุรี
บ้านแม่ที่สุวรรณภูมิ
บ้านอนงค์นางที่อำเภอเมือง ร้อยเอ็ด
สวนสมุนไพรที่เจ้าของเปิดสอนหลักสูตรแพทย์แผนโบราณค่ะ
5 ตุลาคม 2555 16:49 น.
อนงค์...นาง
คนบ้านนอกอย่างฉันนั้นไม่อยาก
เข้ากรุงหากรถราน่าเวียนหัว
มัวหลงกรุงยุ่งจริงยิ่งน่ากลัว
ขอปลีกตัวกลับอีสานบ้านเกิดตน
บนสนามบินกทม.ไปไหนต่อ
อนงค์หนอลำพังยังสับสน
จนใจขอต่อไปไม่กังวล
หลงทางบ่นตามประสาชรากาย
ไม่ได้กลับเมืองไทยมาสามปีแล้วค่ะ เคยกลับไปกับพี่ชายได้แต่เดินตามพี่ต้อยๆ พี่จัดการให้ทุกอย่าง เพื่อนพี่ไปรับที่สนามบิน
กลับคราวนี้ฉายเดี่ยว สามีกับลูกไม่ได้ไปด้วย�
ยังงงว่าที่สนามบินสุวรรณภูมิซึ่งใหญ่โตมาก จะไปต่อเครื่องภายในไปขอนแก่นยังไง เดินไปหรือต้องออกมานั่งแท๊กซี่ข้างนอก ไม่อยากค้างที่กทม. เครื่องถึงสี่โมงเย็นค่ะ จะนั่งรถทัวร์จากหมอชิตไปร้อยเอ็ดก็อีก8ชั่วโมง ถ้าไม่มีเครื่องไปขอนแก่น เพราะกว่าจะเข้าคิวตรวจพาสปอร์ตกับรอรับกระเป่๋าก็อาจไม่ต่่ำกว่าสองชั่วโมงค่ะ
ไม่อยากให้ญาติหรือเพื่อนที่กทม.ลำบากไปรับที่สนามบินสุวรรณภูมิ อยากทำอะไรตามลำพังดูบ้าง คนแก่ขี้กลัวแถมไม่อยากไปกับใครให้วุ่นวาย ข่าวว่าพายุจะเข้า ไม่แน่ใจว่าน้ำจะท่วมเมืองกรุงหรือเปล่านะคะ�