21 พฤศจิกายน 2552 13:28 น.
หลี่เหม่ยจิน
ชีวิตมนุษย์ใครเขียนใครลิขิต
เป็นพรหมจิตต่างหากที่ขีดเขียน
จิตบันทึกการกระทำที่ว่ายเวียน
หากไม่เพียรภาวนายากพ้นกรรม
อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม
การกระทำเราเองช่างลึกล้ำ
ทับซ้อนกันจนยากที่จะจำ
หลายภพดิ่งดำสู่ห้วงวัฏฏา
หากหวังพ้นจากการเวียนว่าย
ทุกข์หายคลายผูกพันเสน่หา
ไม่ยึดมั่นถือมั่นเข้าถึงสุญญตา
ปฏิทาโพธิสัตว์มุ่งสู่พุทธภูมิ
7 พฤศจิกายน 2552 13:35 น.
หลี่เหม่ยจิน
จินตนาการว่าโลกนี้จะสงบ
ไม่สู้รบเฆ่นฆ่าให้อาสัญ
มนุษย์ ทุกผู้ร่วมแบ่งปัน
ช่วยปกป้อง ภัยยันอันตราย
หากโลกนี้ คือแดนสุขาวดี
คิดหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์ได้
ไม่ขัดแย้งสอดคล้องจนวันตาย
ก่อนชีพวาย อยากเห็น ฝันเป็นจริง.
6 พฤศจิกายน 2552 22:00 น.
หลี่เหม่ยจิน
รักแท้คือ รักตนเอง จะใช่ไหม
เติมหัวใจ ให้เบิกบาน ประสานฝัน
รักตนเอง รักให้มาก รักนิรันดร์
รักใครกัน ไม่สุขเท่า รักตนเอง
เมื่อเติมเต็ม ตนได้ ไม่มีพร่อง
คงไม่ต้อง หาสิ่งใด ให้โหวงเหวง
ใจสอดคล้อง ดั่งสายพิณ พร้อมบรรเลง
ยินเสียงเพลง ในใจตน ทุกคืนวัน
จิตไม่พร่อง ไม่เรียกร้อง ใครมารัก
จิตตระหนัก พร้อมทำงาน ที่สร้างสรรค์
จิตเต็มเปี่ยม จิตพร้อม จะแบ่งปัน
สิ่งละอัน พันละน้อย แด่ผู้คน.
1 พฤศจิกายน 2552 22:24 น.
หลี่เหม่ยจิน
โคลงสุภาษิตจีน - ศีล 5
สิกขาบทหนึ่งห้าม ปาณา
ฆ่าสัตว์ตัดชีวา เชือดชิ้น
เชือดชิ้น ไป่เลือก สัตว์นอ
ฆ่าสัตว์ตายซากสิ้น บาปพื้น คืนสนอง
อทินนาว่าไว้ ลักเอา
ทรัพย์สิ่งของจากเขา จุ่งเว้น
ลักทรัพย์ใส่พกเรา อย่าริ ทำพ่อ
สินเท่าเพียงด้ายเส้น บาปพื้น คืนสนอง
สามกาเมรุ่มร้อน อัคนี
ล่วงสิทธิ์ประเวณี บาปล้น
ทรามเสนียดบัดสี ป่ายงิ้ว ทิวหนาม
กรรมวิบากไปพ้น ป่ายงิ้ว ทิวหนาม
สี่ถือสัจจ์ว่าห้าม มุสา
พูดจากลับกลอกวาจา โทษป้าย
สัปปลับพลิกภาษา โยนผิด ใส่นา
ปั้นเท็จเจตน์ชั่วร้าย ขาดสิ้น ศีลธรรม
ห้าสุราฤทธิ์เหล้า รบกวน
ประสาทปั่นป่วนผันผวน พลาดพลั้ง
สู่สมัครชักชวน โยนผิด ใส่นา
ตั้งสติยับยั้ง ฝ่าดั้นอันตราย
ใครมีศีลห้าล้าง ราคิน
จิตย่อมหมดมลทิน ด่างพร้อย
เกียรติศักดิ์ทรัพย์โสภิณ เกษมสุข สราญเฮย
มีพุทธสังวาลสร้อย คอยคุ้มภัย อันตราย
โศลกจีนบทนี้ไม่ได้แต่งเอง กัลยาณมิตร "ใช่อี้เหว่ย"
print มาให้อ่าน เลยไม่ทราบที่มา....ขออภัยด้วย
แต่เห็นว่าโคลงมีความหมายดีเลยนำมา pos
1 พฤศจิกายน 2552 15:00 น.
หลี่เหม่ยจิน
โพธิปักขิยธรรม ๓๗
นิรวาณ (พระนิพพาน) ฐานธรรมนำชีวิต
เป็นเข็มทิศชี้ทางหว่างวิถี
โพธิปักขิยธรรมครบถ้วนดี
สามสิบเจ็ดประการนี้ตรัสรู้ธรรม
หมวดที่ ๑ "สติปัฏฐาน ๔"
ลมหายใจดั่งนี้เข้าออกพร่ำ
เฝ้าดู กาย เวทนา จิต และธรรม
ได้ดื่มด่ำ อนิจจัง ชั่งกล่อมกมล
สักแต่รู้ดูแค่สักแต่เห็น
จิตเยือกเย็นเห็น "ทุกขัง" เริ่มเห็นผล
"อุเบกขา" ปล่อยไปไม่ดิ้นรน
ไร้ตัวตน "อนัตตา" พิจารณาไป
หมวดที่ ๒ "สัมมัปปธาน ๔"
พากเพียร เพียรดีเว้นอกุศลใหม่
อกุศลเก่าก็จะละจากใจ
กุศลใหม่กุศลเก่าเพิ่มหนุนครอง
หมวดที่ ๓ นามว่า "อิทธิบาท ๔"
หนทางนี้สัมฤทธิ์ประสิทธิ์ผอง
"ฉันทะ" ความพอใจในครรลอง
"วิริยะ" ผ่องเพียรวัตรปฏิบัติธรรม
ความตั้งใจ "จิตตะ" จดจ่ออยู่
ใคร่ครวญรู้ "วิมังสา " อย่าถลำ
ทวนกระแสเวียนว่ายวัฏฏะกรรม
กายใจนำหลุดพ้น "อวิชชา"
หมวดที่ ๔ แกร่งดี "อินทรีย์ ๕"
มี "ศรัทธา" พิสุทธิ์พุทธศาสนา
"วิริยะ" หมั่นฝึกจิตภาวนา
"สติ" มาบริกรรมกระทำจริง
ใจตั้งมั่น "สมาธิ" มิให้ขาด
ไม่ประมาทปราศพิษจิตแน่วนิ่ง
เกิด "ปัญญา" เห็นธรรมตามความจริง
มินานดิ่งสู่คุณค้ำจุนใจ
หมวดที่ ๕ "พละ ๕" กำลังธรรม
ขจัดกรรมเศร้าหมองกองกิเลสใหญ่
"ศรัทธาพละ" เชื่อมั่นมิหวั่นใด
ต่อรัตนตรัยมั่นไว้ในมรรคา
"วิริยะพละ" เพียรกายใจในสันโดษ
เห็นในโทษกิเลสเหตุทุกขา
อบรมจิตเจริญวิปัสสนา
น้อมนำพา "สติพละ" ขจัดภัย
"สมาธิพละ" ขจัดความฟุ้งซ่าน
อุปจารสมาธิข่มนิวรณ์ได้
"ปัญญาพละ" กำจัดอวิชชาไป
ครบห้าไซร้กำลังฝั่งนิพพาน
หมวดที่ ๖ โพชฌงค์ ๗ องค์ตรัสรู้
นำไปสู่ความพ้นวัฏสงสาร
ธรรมกำจัดเหล่าพวกเสนามาร
เจ็ดประการ เริ่ม "สติสัมโพชฌงค์"
รู้ภาวะปัจจุบันทันทุกที่
ญาณขั้นสี่บรรลุได้อานิสงค์
"ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์"
เลือกเฟ้นตรงตามธรรมวิปัสสนา
องค์ที่ ๓"วิริยสัมโพชฌงค์"
กายจิตตรงฝึกฝนจนแกล้วกล้า
"ปีติสัมโพชฌงค์" ตรงตามมา
ขนลุกซ่าน้ำตาปริ่มเอิบอิ่มใจ
องค์ที่ ๕ "ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์"
สงบลงลุ่มลึกผนึกได้
"สมาธิสัมโพชฌงค์" มั่นคงฤทัย
รวมลงใน "อุเบกขาสัมโพชฌงค์"
หมวดที่ ๗ อริยมรรคมีองค์แปด
ทางที่แผดเผากิเลสเหตุพาหลง
มัชฌิมาปฏิปทา ถ้าดำรง
คือทางตรงสายกลางหว่างทั้งปวง
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นเป็นมั่นเหมาะ
เห็นเฉพาะตามธรรมนำพ้นบ่วง
สัมมาสังกัปปะ ความเห็นกิเลสลวง
วิบากกรรมคือช่วงต่อก่อกรรม
สัมมาวาจา วาจาชอบ
ในเขตขอบกุศลพ้นชั่วต่ำ
สัมมากัมมันตะ การกระทำ
ทุกเช้าค่ำชั่วเว้นเน้นความดี
สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ
หมั่นประกอบสุจริตมิผิดศรี
สัมมาวายามะ พยายามตามวิธี
กุศลชี้ส่องทางสว่างร่มเย็น
สัมมาสติ นี้ระลึก
ไตร่ตรองตรึกรู้ทันผ่านทุกข์เข็ญ
สัมมาสมาธิ นี้ประเด็น
ตั้งมั่นเป็นเห็นธรรมพระสัมมา
โพธิปักขิยธรรม ครบกำหนด
บริบทแห่งธรรมย้ำศึกษา
จากเริ่มต้นจนปลิดอวิชชา
พรรณนารวมไว้เตือนใจตน
หลี่เหม่ยจิน
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒