16 กันยายน 2549 10:58 น.

เรื่องเล่า...ไทย-เทศ

สุชาดา โมรา

คนขายมะกอก
นิทานเรื่องคนขายมะกอก  เป็นนิทานพื้นเมืองของชนเผ่าขมุ  ซึ่งเคยมีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยติดต่อกับลาวแต่ดั้งเดิม
Selling  an  Olive
	There  once  was  a  husband  and  wife.  They  were  so  poor  that  did  not  have  anything.  Wherever  they  went  they  did  not  get  anything.  If  they  begged  for  something  to  eat,  people  did  not  give  them  anything.  Whatever  they  did  it  came  to  nothing.
	One  day  the  husband  found  an  olive,  a  single  olive.  He  took  the  olive  in  his  hand  and  went,  on  and  on,  until  he  came  to  a  house.
	May  I  have  some  salt  he  asked
	What  are  you  going  to  do  with  it?
	I  will  just  eat  my  olive
Then  he  went  on  and  came  to  another  house.
	Excuse  me,  may  I  have  some  salt?
	What  are  you  going  to  do
	I  will  just  eat  my  olive
He  went  on  until  he  had  been  to  every  house,  and  he  got  some  salt  from  everybocy.
	When  he  weighed  his  salt,  he  had  got  one  kilo.
	ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว  มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง  ยากจนค้นแค้นแทบจะไม่มีอะไรจะกิน  ไม่ว่าเขาจะไปทางไหนก็ไม่มีใครให้ความช่วยเหลือเรื่องอาหารการกินแก่เขา  ไม่ว่าจะทำอย่างไร ๆ ก็ไม่มีจะกินอยู่ร่ำไป
	วันหนึ่งสามีเก็บมะกอกมาได้ผลหนึ่ง  เขาก็เดินถึงผลมะกอกไปเรื่อย ๆ จนถึงบ้านหลังหนึ่ง
	ขอเกลือให้ผมหน่อยได้ไหม  เขาพูดกับเจ้าของบ้าน
	เอาไปทำอะไร
	ผมจะจิ้มมะกอกกิน
	แล้วเขาก็เดินไปจนถึงบ้านถัดไป
	ประทานโทษครับ  ขอเกลือผมบ้างได้ไหม
	จะใช้ทำอะไร
	กินกับมะกอกผลนี้ครับ
	เขาเดินไปเรื่อย ๆ แวะทุกบ้านที่ผ่านมา  จนกระทั่งเขามีเกลือทั้งหมดรวม 1 กิโลกรัม
	How  he  went  to  a  house,  were  they  had  hens.  One  of  the  hens  was  white.  He  took  the  salt  and  exchanged  it  for  the  hen.  Carrying  it  in  a  strap  he  went  on.
	Soon  he  came  to  a  house,  where  somebody  had  just  died.  Their  father  had  died  and  they  were  having  a  wake  for  him.  He  sat  down  with  them  and  said.  Hey,  you,  take  care!  Take  care  lest  your  father  eats  my  hen.  I  will  require  I  will  pick  a  quarrel  with  you  They  answered  :  Oh,  it  doesnt  matter,  he  is  dead.
	During  the  night  while  all  of  them  slept,  he  broke  the  neck  of  the  hen  and  pushed  it  into  the  mouth  of  the  dead  body.
	Whatever  they  wanted  to  give  him,  he  did  not  accept  it,  they  offered  to  give  him  a  water  buffalo  or  a  cow,  but  he  did  not  take  it.
	Indeed,  he  said, I  will  take  your  father.  Carrying  the  body  of  their  dead  father  with  a  strap  around  his  head  he  went  away.  He  went  on  and  on.
	ทีนี้เขาไปถึงบ้านอีกหลังหนึ่งที่เลี้ยงไก่  มีไก่ตัวสีขาวอยู่ตัวหนึ่ง  เขาจึงนำเกลือนั้นไปขอแลกกับไก่  และสะพายเดินต่อมา
	ไม่ช้าก็มาถึงบ้านหลังหนึ่ง  ที่นั่นมีคนในบ้านเพิ่งเสียชีวิต  ลูกเมียกำลังทำพิธีสวดส่ววิญญาณอยู่  เขาจึงขอเข้าไปร่วมงานด้วยและเอ่ยว่า  คุณ ๆ โปรดระวังหน่อยนะ  เดี๋ยวพ่อคุณกินไก่ของผมละก็  ผมจะจะมีเรื่องแน่  พวกนั้นจึงเอ่ยว่า  โอ๊ย  ไม่ต้องห่วงหรอก  พ่อแกตายแล้วนี่
	คืนนั้นขณะที่ทุกคนกำลังหลับ  เขาจึงจัดแจงหักคอไก่  จับยัดเข้าไปในปากของผู้ตาย
	เมื่อทุกคนรู้เรื่องก็พยายามจะชดเชยค่าเสียหายให้  แต่เขาไม่ยอมรับสิ่งใด ๆ เลย  ไม่ว่าจะเป็น  วัว  ควาย  แต่กลับบอกว่า
	เอายังงี้ละกัน  ผมจะเอาพ่อคุณนี่แหละ  แล้วเขาก็แบกศพแล้วเดินต่อไป
	He  then  heard  some  buffalo  and  cow  merchants  walking  in  the  distance.  Ring  ring  sounded  their  bells.  He  heard  the  bronze  bells  coming  closer,  ring  ring
	He  took  the  father  of  those  people  and  put  the  body  across  the  path.  Quickly  he  went  into  the  forest  to  break  some  fireword.  He  broke  firewood  and  when  they  arrived  he  shouted : Hey,  mind  that  you  dont  trample  on  my  father.  Father  has  got  a  fever,  and  I  am  still  collecting  firwood,    for  I  am  going  to  light  a  fire  for  him  to  warm  him.  That  is  what  he  said.  When  he  had  broken  the  firewood,  he  put  it  on  his  shoulder  and  came  out  of  the  forest.
	ตามทางเขาได้ยินเสียงพ่อค้าขายวัวควายเดินมาแต่ไกล  เสียงกระดิ่งวัวดังแว่วมากรุ๊งกริ๊งใกล้เข้ามาทุกที ๆ
	เขาจึงนำร่างที่เขาแบกมานั้นวางลงบนถนนและรีบหลบเข้าไปข้างทางทันที  ทำทีว่าตัดฟืน  พอพวกนั้นเดินมาใกล้  เขาก็ร้องส่งเสียงดังว่า  เฮ๊ย  ระวังหน่อยอย่าเดินทับพ่อฉันนะ  เขาไม่สบายเป็นไข้  นี่ฉันกำลังเก็บไม้มาทำฟืนสุมไฟให้เขาอุ่น  เขาบอกดังนั้น  เมื่อเขาได้ฟืนก็เดินออกมาข้างทาง
	When  the  merchants  arrived,  they  made  their  buffaloes  and  cows  stop.  The  man  came  out  and  lit  a  fire.  When  he  had  lit  the  fire,  he  walked  over  to  wake  up  the  dead  man  who  was  supposed  to  be  his  father.
	Hey,  father, father  get  up,  the  fire  is  burning  already!  The father  did  not  stir,  for  he  was  already  dead.  The  man  accused  the  merchants  :  You  let  your  buffaloes  and  your  cows  trample  on  my father!
	They  offered  to  give  him  anything,  offered  him  buffaloes  and  silver,  but  he  did  not  accept  anything.  In  the  end,  however  he  accepted  the  returned,  ring  ring  ring
	Somebody  asked  him.  Oh  were  have  you  got  them  from?  He  answered : Oh  I  just  went  to  sell  my  olive.
	And  here  the  story  ends.
	เมื่อพวกพ่อค้ามาถึงตรงนั้น  พวกเขาก็หยุดฝูงควายของเขา  นายคนนี้ก็เริ่มสุมไฟ  เมื่อไฟติดเรียบร้อยดีแล้ว  เขาจึงก้าวไปปลุกร่างที่เขาบอกว่าเป็นพ่อนั้นทันที
	พ่อ ๆ ตื่นเถอะ  ตื่นได้แล้ว  ผมจุดไฟให้แล้วนะ  ร่างของพ่อมิได้ขยับเขยื้อนเลยสักนิด  ก็แหมมันเป็นศพอยู่แล้วนี่คะ  นายคนนี้จัดการหันไปกล่าวหาพ่อค้าทันทีว่า  พวกคุณแท้ ๆ น่ะสิ  ปล่อยให้สัตว์พวกนี้มาเหยียบย่ำพ่อของฉันได้
	พ่อค้าลานลนเสนอว่าจะชดเชยค่าเสียหายให้  เสนอควายก็แล้ว  เงินก็แล้ว  แต่นายคนนี้ก็ไม่พอใจ  อย่างไรก็ตามในที่สุดเขาก็ยอมเอาวัวควายของพ่อค้าทั้งหมดฝูงใหญ่มา  แล้วเขาก็บ่ายหน้ากลับบ้าน  นำฝูงสัตว์กลับไปด้วย  โดยเดินนำหน้า  มีเสียงกรุ๊งกริ๊งตามมา
	ขณะนั้นมีคนเดินออกมาร้องถามว่า  ไปเอาฝูงสัตว์มาจากไหนน่ะ  เขาจึงตอบกลับไปว่า  ขายมะกอกได้มา


	เป็นอย่างไรคะกับนิทานเรื่องนี้  สนุกไหมคะแล้วคุณรู้ไหมคะว่านิทานเรื่องนี้สอนว่าอะไรอ๊ะ  อ๊ะ  อ๊ะ!!!!  ลองเก็บไปคิดเป็นการบ้านดูนะคะ  แล้วจะกลับมาให้คำตอบค่ะ				
11 กันยายน 2549 12:21 น.

วิสัยทัศน์ของนักอ่านที่ดี

สุชาดา โมรา

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาวเว็ปทุกคน  สวัสดีค่ะแฟนคลับ  สวัสดีค่ะนักเรียนของครู  และสวัสดีค่ะเพื่อน ๆ นักอ่านที่น่ารักทุกท่าน
	ทุกคนเคยทราบไหมคะว่าความสำคัญของการอ่านเป็นอย่างไรและอ่านเพื่ออะไร
	อืมแน่นอนนะคะ  ว่าทุกคนมีแนวทางในการอ่านที่แตกต่างกัน  บางคนอ่านเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล  เช่น  เพื่อศึกษา  เพื่อให้รู้  เพื่อสอบ  บางคนอ่านเพื่อจรรโลงใจ  เบาสมอง  เพลิดเพลินไปกับตัวหนังสือ  บางคนอ่านเพื่ออุดมคติ  หรือการยึดหลักเกณฑ์ที่ตายตัวว่าฉันชอบแนวนี้ก็จะอ่านแนวนี้อยู่ตลอดเวลา
	การอ่านเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่กล่าวเช่นนี้เพราะหนังสือทุกเล่ม  หรือเรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนนั้นมักจะสอดแทรกเรื่องราวข้อคิดเห็น  ข้อเท็จจริง  อารมณ์  ความรู้สึก  คติเตือนใจ  ฯลฯ  ซึ่งผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ต้องการสะท้อนภาพพจน์ในแง่มุมต่าง ๆ อาจจะเป็นสะท้อนสังคม  วัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณี  หรือเรื่องราวที่บันทึกและบอกเล่าให้กับผู้อ่านได้รับทราบ  เช่น  การไปท่องเที่ยวในต่างแดน  ประสบการณ์ชีวิต  ฯลฯ
	แต่คุณรู้ไหมว่าคนบางคนพัฒนานิสัยในการอ่านของตนเองแล้ว  แต่บางคนนั้นก็ยังไม่พัฒนา  ซึ่งบุคคลพวกนี้เรียกว่า  บัวใต้น้ำ  หรือพวกที่ยังไม่โงหัวขึ้นมารับรู้เรื่องราวของความเป็นจริง
	การอ่านนั้นต้องรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสิน  ซึ่งผู้อ่านต้องทำความเข้าใจว่าผู้เขียนนั้นต้องการสื่ออะไร  มิใช่มาตีโพยตีพายเป็นกระต่ายตื่นตูม  หรือกินปูนร้อนท้อง  เพราะงานเขียนทุกเรื่องอาจจะมีส่วนเหมือนตัวคุณ  หรือใครบางคน  แต่มิใช่ว่าตนเองจะแสดงตนว่า  นี่มันเรื่องของฉันนะ  แกมีสิทธิ์อะไรมาเขียน  มาทำให้ครอบครัวฉันเสียหายทำไม  คนจำพวกนี้เขาเรียกว่าอะไรนะคะลองพิจารณาเองเองนะคะ
	บางทีเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นเพื่อสื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมมนุษย์  ชื่อบุคคลในตัวละครนั้น ๆ อาจจะมีการซ้ำกันบ้าง  ก็เหมือนการตั้งชื่อของคนไทยนี่แหละค่ะ  อย่างเช่น  คนนี้ชื่อนุ่น  คนนี้ชื่อสำลี  คนนี้ชื่อฝ้าย  คนนี้ชื่อป่าน  เป็นต้น  อูยเยอะแยะไปหมดจนเกินจะบรรยาย
	คุณทราบไหมคะว่า  ดิฉันเขียนนิยายเรื่อง  ยิ่งกว่าคำพิพากษา  แล้วมีคนมาระรานฉัน  กล่าวหาว่าฉันเอาเรื่องของตนเองมาเขียน  อวดอ้างว่าเป็นลูกผู้มีอิทธิพล  แสดงอำนาจบารมี  ต้องการก่อสงครามประสาท  แต่หารู้ไม่ว่าเขาไม่ได้ซีเรียสในสิ่งที่ตนเองพูดหยาบ ๆ คาย ๆ มาเลย  นั่นเป็นเพราะ  ผู้เขียนยิ่งรู้สึกว่าตนเองเขียนเรื่องแล้วมันดังจริง ๆ กระแสนี้แรงยิ่งกว่าข่าวของดาราถ่ายภาพวาบหวิวเสียอีก  แหมกระแสนี้สร้างความรู้สึกว่าดิฉันโด่งดังขึ้นเป็นกองเลยละค่ะ  ถึงขนาดเขียนด่าบนเว็ป  ทำให้ลบกันไม่หวัดไม่ไหว  ดิฉันเปิดโอกาสให้เขียนดี ๆ นะคะ  พูดดี ๆ แต่ขอร้องมิให้แสดงความต่ำทราม  หรือบอกว่ากินปูนร้อนท้องตีโพยตีพาย  ถึงขั้นโทรมาด่าพ่อล่อแม่ผู้เขียน  แหมน่าชื่นชมสำหรับการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ผู้หญิงที่มาระรานดิฉันจริง ๆ นะคะว่าเลี้ยงลูกได้ดีเหลือเกิน  ดีจนน่าจะย้ายออกไปจากแผ่นดินไทยเสียเร็ว ๆ แผ่นดินจะได้สูงขึ้น  หรือไม่ก็ตายแล้วไปเกิดใหม่เผื่อว่าจิตใจจะได้มีรสพระธรรมอยู่ในกมลสำนึกบ้าง  แต่ก็เอาเถอะค่ะ  เพราะดิฉันจะถือว่าคนพวกนี้เป็นบัวที่อยู่ในโคลนตม  ยังไม่รู้จักใช้วิจารณญาณ  หรือไม่อาจจะพิการทางจิต  หรือเขาอาจจะคิดว่าดิฉันดังมากและต้องการสร้างกระแสเผื่อผลบาปของเขาจะทำให้เขาดังขึ้นมา  แต่เขาคิดผิด  เพราะความจริงแล้วเป็นการบอกเล่าว่าตนเองเป็นคนที่อยู่ในหนังสือ  ทำให้ดิฉันรู้สึกสนุกกับการเขียนมากขึ้น  และรู้สึกว่าแหมอะไรจะดังปานนี้เนี่ยหึหึ
	ฉะนั้นนักอ่านที่ดีต้องมี sent  ในการอ่าน  ต้องรู้จักใช้วิจารณญาณในการอ่านนะคะ
ลักษณะของการอ่านที่ดีมีประสิทธิภาพ  (reading  efficiency)  มีดังนี้
	1.  ผู้อ่านต้องรู้จักการอ่านออกเสียงเพื่อให้เข้าใจก่อน  ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้จำง่ายด้วย  รู้ไหมคะว่าเพราะอะไร  ก็เพราะจะได้รู้จักการแบ่งวรรคตอนได้ถูกต้องไงคะ
	2.  ผู้อ่านได้ฝึกการอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง  ทั้งคำศัพท์  การเว้นวรรคตอน  และควรจับเวลาดูด้วย  เพื่อให้ทันต่อเวลาที่กำหนดไว้  ควรอัดแถบบันทึกเสียง  (เทป)  ไว้เพื่อเปิดฟังและปรับปรุงการอ่าน  ผลที่ได้ตามมาคือการอ่านที่เร็วขึ้นค่ะ
	3.  ผู้อ่านต้องรู้จักค้นคว้าหนังสืออ้างอิง  เช่น  คำศัพท์  และการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องไว้ล่วงหน้าเสียก่อน  ผู้ที่ทำหน้าที่พิธีกรจะต้องมีพจนานุกรมภาษาไทย  และพจนานุกรมภาษาต่างประเทศอยู่ใกล้ ๆ ตัวตลอดเวลา  เพราะจะทำให้เรามีความรู้มากขึ้น  อีกทั้งเพื่อจะได้รู้ว่าผู้เขียนนั้นกล่าวลอย ๆ หรือว่าเขียนผิดหรือเปล่า  แต่มิใช่เป็นการจับผิดผู้เขียนนะคะ  แต่ผู้อ่านนั้นต้องรู้จักรอบรู้
	4.  ไม่ควรอ่านเร็วเกินไป  หรือช้าเกินไป  ควรให้ทันต่อเวลาที่กำหนด  (ถ้ามีการกำหนดเวลา  เช่น  การอ่านรายชื่อผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร)
5.	ต้องรู้จักเน้นใจความสำคัญ  สาระสำคัญ
6.	ต้องอ่านบ่อย ๆ จะได้อ่านคล่องและชัดเจน
7.	อ่านออกเสียงให้ดังเพื่อให้ผู้ฟังในห้องฟังอย่างชัดเจน  เพราะจะทำให้ผู้ฟังไม่เบื่อและรำคาญ
8.	ต้องอ่านให้เหมาะสมกับเนื้อหา  เนื้อเรื่อง  เช่น  การอ่านสารคดี  บทความ  กวีนิพนธ์  ต้องแยกแยะออกว่าร้อยแก้วและร้อยกรองอ่านแตกต่างกันอย่างไร  การเน้นหนักเบาของเสียง  แต่ต้องเป็นธรรมชาติ  ไม่เวอร์จนเกินงาม
9.	รู้จักกวาดสายตาในการอ่านสักรอบ  ก่อนที่จะเจาะจงอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ
10.	อ่านแล้วต้องจดบันทึกได้  และจับใจความสำคัญหรือประเด็นของเรื่องได้
11.	ต้องรู้จักแยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นได้
12.	สิ่งนี้สำคัญที่สุดเลยนะคะ  คือ  ต้องอ่านแล้วรู้สึกทราบซึ้งแล้วทำให้เราเกิดกระบวนการคิดจนกระทั่งสามารถคิดสร้างสรรค์  สร้างงานใหม่หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์  มิใช่ว่าอ่านแล้วมาตีโพยตีพาย  ต้องให้ให้ชาวบ้านรู้ว่าตนเองเจ็บปวดเพราะผู้เขียนเขียนเรื่องราวได้กระแทกใจจนทำให้คิดว่าเขาเขียนเรื่องของตัวเอง  เพราะบุคคลเช่นนี้เป็นบุคคลที่เรียกว่าไม่มีวิจารณญาณในการอ่านเลยสักนิด
แล้วคุณทราบหรือยังคะว่าความสำคัญของการอ่านนั้นเป็นอย่างไร  แล้วอ่านเพื่ออะไร  แล้วคุณรู้ไหมคะว่าการที่เราเป็นนักอ่านที่ดีนั้นจะทำให้เราฉลาดมากขึ้น  มีความรู้มากขึ้น  มิใช่ว่ายกกฎหมายลอย ๆ ขึ้นมาแล้วคิดว่าสิ่งที่ตนเองพูดนั้นเขาจะไม่รู้ว่ากฎหมายนั้น ๆ มันโกหกหลอกลวง  เพราะว่าผู้ที่อ่านหนังสือมาเยอะนั้นจะรู้เท่าเกมส์คนอื่น  และจะนึกเยาะในใจว่าพูดโง่ ๆ
ฉะนั้นมาอ่านอย่างถูกวิธีกันดีกว่านะคะ  และจะได้พัฒนาทั้งสมองและจิตใจของตนเองด้วยค่ะ
อืมเกือบลืมแนะนำหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่านเลยนะคะ
กวีนิพนธ์
1.	ประชุมโคลงโลกนิติ  ของ  สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร
2.	นิราศหนองคาย  ของ  หลวงพัฒนพงศ์ภักดี
3.	มัทธนะพาทา  บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.	สมมัคคีเภทคำฉันท์  ของ  ชิต  บุรทัต
5.	ขอบฟ้าขลิบทอง  ของ  อุชเชนี
6.	กวีการเมือง  ของ  จิตร  ภูมิศักดิ์
7.	เราชนะแล้วแม่จ๋า  ของ  นายผี
8.	กวีนิพนธ์  ของ  อังคาร  กัลยาณพงศ์
9.	จงเป็นอาทิตย์เมื่ออุทัย  ของ  ทวีปวร
10.	คำหยาด  ของ  เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
11.	เพียงความเคลื่อนไหว  ของ  เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
12.	โคลงกลอน  ของ  ครูเทพ  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
13.	บทกวี  ของเปลื้อง  วรรณศรี
14.	พระลอคำกลอน  ของ  กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์
15.	ขอบกรุง  ของ  ราช  รังรอง
นวนิยาย
1.	กามนิต  ของ  เสฐียรโกเศศ
2.	ผู้ชนะสิบทิศ  ของ  ยาขอบ
3.	มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร  ของ  แย้ม  ประพัฒน์ทอง
4.	พล  นิกร  กิมหงวน  ของ  ป.อิทรปาลิต
5.	ทุ่งมหาราช  ของ  มาลัย  ชูพินิจ
6.	แลไปข้างหน้า  ของ  ศรีบูรพา
7.	ผู้ดี  ของ  ดอกไม้สด
8.	บางระจัน  ของ  ไม้เมืองเดิม
9.	หญิงชั่ว  ของ  ก.สุรางคนางค์
10.	พรุ่งนี้ต้องมีอรุณรุ่ง  ของ  ศรีรัตน์  สถาปนวัฒน์
11.	สี่แผ่นดิน  ของ  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช
12.	ปีศาจ  ของ  เสนีย์  เสาวพงศ์
13.	เราลิขิต  บนหลุมศพวาสิฏฐี  ของ  ร.จันทะพิมพะ
14.	ละครแห่งชีวิต  ของ  ม.จ.อากาศ  ดำเกิง
15.	เมืองนิมิตร  ของ  ม.ร.ว.นิมิตรมงคล  นวรัตน์
16.	ลูกอีสาน  ของ  คำพูน  บุญทวี
17.	เขาชื่อกานต์  ของ  สุวรรณี  สุคนธา
18.	ชุดเสเพลบอยชาวไร่  ของ  รงค์  วงษ์สวรรค์
19.	ปักกิ่งนครแห่งความหลัง  ของ  สด  กูรมะโรหิต
20.	พิราบแดง  ของ  สุวัฒน์  วรดิลก
21.	พัทยา  ของ  ดาวหาง
22.	ริมฝั่งแม่ระมิงค์  ของ  อ.ไชยวรศิลป์
23.	สร้อยทอง  ของ  นิมิต  ภูมิถาวร
24.	ศรีธนญชัย
25.	ดำรงประเทศ  ของ  เวทางค์
26.	จดหมายจากเมืองไทย  ของ  โบตั๋น
27.	ตะวันตกดิน  ของ  กฤษณา  อโศกสิน
28.	สร้างชีวิต  ของ  หลวงวิจิตรวาทการ
เรื่องสั้น
1.	นิทานเวตาล  ของ  น.ม.ส.
2.	เรื่องสั้น  ของ  ป.บูรณปกรณ์
3.	เรื่องสั้นของมนัส  จรรยงค์
4.	เรื่องสั้นของ  ส.ธรรมยศ
5.	ผู้ดับดวงอาทิตย์  ของ  จันตรี  ศิริบุญรอด
6.	เรื่องสั้นของ  อิศรา  อมันตกุล
7.	เรื่องสั้นของเสนอ  อินทรสุขศรี
8.	ฟ้าบ่กั้น  ของ  ลาวคำหอม
9.	เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่  ของ  อาจินต์  ปัญจพรรค์
10.	ฉันจึงมาหาความหมาย  ของ  วิทยากร  เชียงกูล
11.	รวมเรื่องสั้นของฮิวเมอร์ริสต์
12.	คนบนใบไม้  ของ  นิคม  รายวา
13.	พลายมะลิวัลย์  ของ  ถนอม  มหาเปารยะ
สารคดี/บทความ
1.	นิทานโบราณคดี  ของ  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
2.	ความเป็นมาของคำสยาม  ไท  ลาวฯ  ของ  จิตร  ภูมิศักดิ์
3.	เจ้าชีวิต  ของ  พระองค์เจ้าจุลจักรจักรพงษ์
4.	สังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์  2325-2416  ของ  อศิน  รพีพัฒน์
5.	ประวัติกฎหมายไทย  ของ  ร.แลงกาต์
6.	ภาษากฎหมายไทย  ของ  ธานินทร์  กรัยวิเชียร
7.	กบฎ  ร.ศ.130  ของ  เหรียญ  ศรีจันทร์
8.	ประวัติศาสตร์ไทยสมัย  2352-2453  ด้านเศรษฐกิจและสังคม  ของ  ชัย  เรืองศิลป์
9.	อิทัปปัจจยตา  ของท่านพุทธทาสภิกขุ
10.	พุทธธรรม  พระธรรมปิฎก
11.	พระไตรปิฎก  ฉบับประชาชน  ของ  สุชีพ  ปุญญานุภาพ
12.	ภารตวิทยา  ของ  กรุณา-เรืองอุไร  กุศลาสัย
13.	พระประวัติตรัสเล่า  ของ  กรมวชิรญาณวโรรส
14.	นิทานชาวไร่  ของ  น.อ.สวัสดิ์  จันทนี
15.	ความงามของศิลปไทย  ของ  น.  ณ  ปากน้ำ
16.	ประติมากรรมไทย  ของ  ศิลป  พีระศรี
17.	แสงอรุณ2  แสงอรุณ  ของ  รัตนกสิกร
18.	วิทยาวรรณกรรม  ของ  กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
19.	โอ้ว่าอาณาประชาราษฎร  ของ  สนิท  เจริญรัฐ
20.	วรรณสาส์นสำนึก  ของ  สุภา  ศิริมานนท์
21.	พระราชพิธีสิบสองเดือน  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
22.	80  ปีในชีวิตข้าพเจ้า  ของ  กาญจนาคพันธุ์
23.	ฟื้นความหลัง  ของ  พระยาอนุมานราชธน
24.	เทียนวรรณ  ของ  สงบ  สุริยินทร์
25.	สาส์นสมเด็จ  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  และสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
26.	กาเลหม่านได  ของ  บรรจบ  พันธุเมธา
27.	30  ชาติในเชียงราย  ของ  บุญช่วย  ศรีสวัสดิ์
28.	ทรัพย์ศาสตร์  ของ  พระยาสุริยานุวัตร
29.	สันติประชาธรรม  ของ  ป๋วย  อึ๊งภากรณ์
30.	เบื้องหลังการปฏิวัติ  2475  ของ  กุหลาบ  สายประดิษฐ์
31.	ไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง  ของ  ดิเรก  ชัยนาม
32.	ห้าปีปริทัศน์  ของ  ส.ศิวรักษ์
33.	ความเป็นอนิจจังของสังคม  ของ  ปรีดี  พนมยงค์
34.	ท่านปรีดี  รัฐบุรุษอาวุโส  ผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก  ของ  เดือน  บุนนาค
35.	วันมหาปิติ  วารสาร  อมธ.  ฉบับพิเศษ  14  ตุลาคม  2516
36.	กิจจานุกิจ  ของ  เจ้าพระยาทิพากรวงษ์
37.	ธรรมชาตินานาสัตว์  ของ  บุญส่ง  เลขะกุล
38.	ขบวนการแก้จน  ของ  ประยูร  จรรยาวงษ์
39.	แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
40.	อัตชีวประวัติหม่อมศรีพรหมา  กฤษดากร  
41.	วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์  ของ  วิทย์  ศิวะศิริยานนท์
42.	โฉมหน้าศักดินาไทย  ของ  จิตร  ภูมิศักดิ์
43.	ศาลไทยในอดีต  ของ  ประยุทธ  สิทธิพันธ์
44.	วรรณไวยากร  ฉบับวรรณคดีวิจารณ์  เจตนา  นาควัชระ  และ  ม.ล.บุญเหลือ  เทพยสุวรรณ
ดิฉันอ่านหมดแล้ว  แล้วเพื่อน ๆ ล่ะคะ  หามาอ่านกันบ้างหรือยังคะแหมหนังสือดี ๆ แบบนี้น่าจะหากันมาอ่านนะคะ  เพราะจะได้เพิ่มพูนทั้งความรู้  และสติปัญญาค่ะ
และขอฝากนวนิยายของสุชาดา  โมรา  ไว้ด้วยนะคะ  หากขาดตลาดให้สั่งจองทางเมล์นี้นะคะ  p_naja@hotmail.com  ค่ะ  เพราะหนังสือตีพิมพ์มาแค่ 2,000 เล่มคะ  ส่วนเรื่องที่สองลงมาถึงเรื่องที่แปด  เป็นหนังสือทำมือค่ะ  สั่งจองได้นะคะ
1.	สาวน้อยเลือดยูโด  (ซี-เอ็ด  ทั่วประเทศค่ะ)
2.	ปาฏิหาริย์รักข้ามมิติ
3.	ดาวประดับรัก
4.	คิดจะรักต้องพักรบ
5.	ยิ่งกว่าคำพิพากษา
6.	ผู้ชายคนนี้ไม่ใช้แล้ว
7.	กฎหมายสังหารผู้ชาย
8.	เวทีฉากสวรรค์
ฯลฯ.ค่ะ				
8 กันยายน 2549 15:37 น.

นินลกาล

สุชาดา โมรา

งานเขียนเป็นงานสร้างสรรค์  คุณไม่มีอำนาจคัดลอก  ตัดสินใจแทน  หรือบงการชีวิตใคร				
8 กันยายน 2549 15:33 น.

my love

สุชาดา โมรา

งานเขียนเป็นงานสร้างสรรค์  คุณไม่มีอำนาจคัดลอก  ตัดสินใจแทน  หรือบงการชีวิตใคร				
8 กันยายน 2549 15:28 น.

coman

สุชาดา โมรา

งานเขียนเป็นงานสร้างสรรค์  คุณไม่มีอำนาจคัดลอก  ตัดสินใจแทน  หรือบงการชีวิตใคร				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงสุชาดา โมรา