9 กุมภาพันธ์ 2548 21:40 น.

เพลง

สุชาดา โมรา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
	ดนตรี  เพลง  และการขับร้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์ตามธรรมชาติในเมื่อมนุษย์ต้องการแสดงออกถึงความร่าเริงยินดีหรือแสดงความในใจอื่นๆ และด้วยเหตุที่มนุษย์มีแนวคิด         ในการดัดแปลงและประดิษฐ์คิดค้นจึงทำให้ดนตรี  เพลง  มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป                แม้ใน   ชนชาติเดียวกันก็ยังสามารถแยกประเภทของดนตรี  เพลงได้  เป็นกลุ่มย่อย ๆ อีกตามสภาพสังคมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต  ขนบธรรมเนียมของแต่ละกลุ่ม
	ภาษาถิ่น  เป็นภาษาที่ผู้ใช้พูดติดต่อสื่อสาร  ตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมายเข้าใจกัน       ในท้องถิ่นนั้น ๆ กาญจนา   คูวัฒนะศิริ (2528)  กล่าวว่า
	ภาษาถิ่น (dialect) หมายถึง  ภาษาที่ใช้พูดแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ผู้พูดภาษานั้น ๆ อาศัยอยู่  หรือ  ภาษาที่พูดในหมู่ชนชั้นหนึ่งโดยเฉพาะ  นอกจากนั้นยังหมายถึงภาษาที่ใช้พูดกันในวงการอาชีพหนึ่ง ๆ ก็ได้
	เพลงลูกทุ่งใช้คำเฉพาะถิ่นเพื่อให้ได้อารมณ์เพลงยิ่งขึ้นและแม้ผุ้ไม่เข้าใจภาษาถิ่นนั้น           ก็อาจเดาความหมายจากข้อความที่แวดล้อมได้เป็นที่น่าสังเกตว่าภาษาถิ่นในเพลงลูกทุ่ง                   มักเป็นภาษาอีสาน
	วิไลลักษณ์   กิ่งคำ (2544)  ได้กล่าวถึงภาษาถิ่นอีสานไว้ว่า
	ภาษาถิ่นอีสาน  คือ  ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                  ของประเทศไทย  เช่น  ชัยภูมิ  อุบลราชธานี  อุดรธานี  ร้อยเอ็ด  เป็นต้น
	เมื่อกล่าวถึงเพลงลูกทุ่งที่ใช้ภาษถิ่นอีสาน  ก็จะต้องพูดถึงนักร้องลูกทุ่งสาวคนหนึ่ง              ที่ชื่อ   ศิริพร   อำไพพงษ์
	เนื่องจากเพลงลูกทุ่งนำเอาทำนองเพลงพื้นบ้านถิ่นต่าง ๆ มาใส่ไว้  ดังนั้นเพื่อความสมจริงในเนื้อร้องและอารมณ์เพลงจึงต้องนำคำและสำเนียงมาใส่ไว้ด้วย  ซึ่งผู้ฟังฟังแล้วก็สามารถจะรู้ทันที ว่าเป็นเพลงถิ่นไหน
	เพลงลูกทุ่งใช้คำเฉพาะถิ่นเพื่อให้ได้อารมณ์เพลงยิ่งขึ้นและแม้ผู้ไม่เข้าใจภาษาถิ่นั้นก็อาจเดาความหมายจากข้อความที่แวดล้อมได้  เป็นที่น่าสังเกตว่าภาษาถิ่นในเพลงลุกทุ่งมักเป็นภาษาถิ่นอีสาน

	วิไลลักษณ์   กิ่งคำ (2544)  ได้กล่าวถึงภาษาถิ่นอีสานไว้ว่า
	ภาษาถิ่นอีสาน  คือ  ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  เช่น  ชัยภูมิ  อุบลราชธานี  อุดรธานี  ร้อยเอ็ด  เป็นต้น
	เมื่อกล่าว  เพลงลูกทุ่งที่ใช้ภาษถิ่นอีสาน  ก็จะต้องพูดถึงนักร้องลูกทุ่งหมดลำสาวชาวอีสานคนหนึ่งที่ชื่อ   ศิริพร  อำไพพงษ์  ที่ครองความเป็นขวัญใจชาวอีสานและมีผลงานเพลงออกมาอย่างสม่ำเสมอ
	เมื่อกล่าวถึงเพลงลูกทุ่งที่ร้องเพลงเกี่ยวกับภาษาถิ่นอีสาน ก็จะต้องพูดถึงนักร้องลูกทุ่งหมอลำชาวอีสาน  คนหนึ่งที่ได้รับฉายาแหบมาหาเสน่ห์  นั้นก็คือ  ศิริพร     อำไพพงษ์  ที่ครองความเป็นขวัญใจชาวอีสานและมีผลงานเพลงออกมาอย่าสม่ำเสมอ
	บทเพลงของศิริพร  มีภาษาอีสานที่ปรากฏในเนื้อเพลงอยู่จำนวนมาก  ซึ่งเนื้อเพลงก็มักจะกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาวในแง่ของความสมหวัง  ผิดหวัง  การเป็นกำลังใจให้กันและกันความเป็นคนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและกล่าวถึงชีวิตในชนบท
คำถามวิจัย
	-  ภาษาถิ่นอีสานที่ปรากฏในงานเพลงของศิริพร    อำไพพงษ์  เป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์ของานวิจัย
	-  เพื่อศึกษาภาษาถิ่นอีสานที่ปรากฏในงานเพลงของศิริพร  อำไพพงษ์  เป็นอย่างไร
ขอบเขตการวิจัย
	ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้แก่  เนื้อเพลงของศิริพร   อำไพพงษ์  ที่มีภาษาถิ่นอีสานปรากฏ         อยู่จำนวน 30  เพลง  ได้แก่
	1.  เพื่อแม่แพ้บ่ได้
	2.  สาละวันสงสารใจ
	3.  ความจนวัดใจ
	4.  สาวอีเลคโทน
	5.  เพื่อแท้คือน้ำตา
	6.  ส่งอ้ายด้วยฝ้ายขาว
	7.  กุญแจล็อกใจ
	8.  เดือนหงายเสียดายรัก
	9.  รักเกิดบนรถผ้าป่า
	10.  เบอร์โทรขี้ตั๊ว
	11.  แพ้ใจคนดี
	12.  ศิลปินดอกหญ้า
	13.  ตอบแม่บ่ได้
	14.  อาถรรพ์เพื่อเจ้าสาว
	15.  สาวนาสัญญาแม่
	16.  น้องรับบ่อได้
	17.  ผู้บ่าวลืมบ้าน
	18.  ดอกจานถามใจ
	19.  แม่พิมพ์บ้านไพร
	20.  ติดต่อให้ด้วย
	21.  อกหัดเพราะฮักอ้าย
	22.  ก่องข้าวน้อยคอยอ้าย
	23.  อยากอยู่เงียบ ๆ สองคน
	24.  ศิลปินเพลงเดียว
	25.  ห้ามใจช่วยกัน
	26.  เพียงเราฮักกัน
	27.  ตัวหวายอายผู้บ่าว
	28.  เปิดใจเจ้าสาว
	29.  ดูงานวันแต่ง
	30.  หนาวใจในงานทุ่ง
นิยามคำศัพท์
	ภาษาถิ่น  หมายถึง  ภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมายเข้าใจกันในท้องถิ่นนั้นๆซึ่งแต่ละถิ่นอาจพูดแตกต่างกันไปจากภาษาไทยมาตรฐาน ทั้งในด้านเสียง             คำและการเรียงคำบ้าง  แต่ความหมายคงเดิม
	ภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ             ของประเทศไทย
ประโยชน์
	ทำให้ทราบถึงภาษาอีสานที่ปรากฏในผลงานเพลงของศิริพร   อำไพพงษ์



วิธีการดำเนินการวิจัย
	1.  รวบรวมเนื้อเพลงทั้ง 3 อัลบั้ม  ของศิริพร   อำไพพงษ์
	2.  ศึกษาค้นคว้าเอกสารและหนังสืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. ศึกษาเนื้อเพลงแล้วนำมาวิเคราะห์ภาษาอีสานที่ปรากฏในเนื้อเพลง				
8 กุมภาพันธ์ 2548 15:43 น.

พักผ่อนแบบสบาย

สุชาดา โมรา

ทันทีที่ย่างกรายเข้าสู่เขตอำเภอวังม่วง  จังหวัดสระบุรี  ทำให้อดนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ  ท่ามกลางไร่สวนองุ่น  ผลไม้นานาพันธุ์และสัตว์นานาชนิด  สถานที่แห่งนี้ก็คือไร่ยานา
	ด้วยมุมมองที่สร้างสรรค์  การจัดเนื้อที่อย่างลงตัว  การจัดเนื้อที่อย่างมีคุณภาพ  ทำให้เกิดธรรมชาติที่งดงาม  ไร่ยานาจัดบริเวณสถานที่พักผ่อนไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมอีกด้วย  เช่น  ร้านค้าบริการผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาหารเครื่องดื่ม  จุดชมวิวซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของเขื่อนป่าสักพร้อมด้วยการนั่งมองพระอาทิตย์ตกยามเย็นที่ทุกท่านไม่มีวันลืมเลือนกับบรรยากาศที่สวยงามและสัตว์นานาชนิดให้ชื่นชม  เช่น  กวางม้า  กระต่าย  แพะ  นกนานาพันธุ์  ซึ่งยังมีความสุขต่าง ๆ อีกมากมายที่ทางไร่ยานารอนักท่องเที่ยวทุกท่านมาสัมผัสและยังมีผลไม้หลากหลายชนิด  อาทิเช่น  องุ่นสดไร้เมล็ด  แคนตาลูป  ข้าวโพดหวาน  มะเขือเทศเรดฮันนี่  มะละกอหวาน  นอกจากนั้นยังมีผักปลอดสารพิษอีกด้วย  นมแพ  น้ำองุ่น  น้ำมะเขือเทศ  น้ำแคนตาลูป  มีฟาร์มกวาง  จำหน่ายลูกกวาง  พันธุ์ลูซ่า  ผลิตภัณฑ์เขากวางอ่อน  เนื้อกวาง  เนื้อแพะ  เนื้อกระต่าย  เนื้อนกกระจอกเทศไว้สำหรับนักท่องเที่ยวได้ชมกัน
	ยานาฟาร์มได้คัดสรรองุ่นไร้เมล็ดไว้หลายพันธุ์  ภายในไร่ได้มีการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี  จึงทำให้องุ่นของแต่ละรุ่นทุกพันธุ์มีรสชาติอร่อยรูปทรงสวยงามที่นักท่องเที่ยวทุกคนจะได้สัมผัสได้จากองุ่นไร้เมล็ดหลากหลายพันธุ์ของไร่ยานาได้  เช่น  องุ่นทอมม์สัน  เฟรม  รูท  เพอร์เลท  รูบี้  ดีไลท์  ราชินีดำ  เป็นต้น
	นอกจากไรื่องุ่นยานาจะเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อแล้วยังมีลูกกวางลูซ่าและกวางซีก้าที่ขึ้นชื่ออีกซึ่งกวางรูซ่ามีชื่อเสียงทางวิทยาศาสตร์ว่า  Cervus  timorensis  มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเกาะขวาอินโดนีเซีย  จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า  กวางขวา  มีขนสีน้ำตาล  สูง 1.1-1.3  เมตร  น้ำหนักประมาณ  80-120  กิโลกรัม  ชอบหากินเป็นฝูง  วัยเจริญพันธุ์  12-18  เดือน  ท้องประมาณ 230 วัน  สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและแมลงในเมืองไทยได้เป็นอย่างดี  กวางรูซ่าถือเป็นญาติสายเลือดเดียวกันกับม้า  จึงผสมข้ามสายพันธุ์ได้  กวางรูซ่าเป็นกวางนำเข้าจากประเทศนิวคาลิโมเนีย  ( หมู่เกาะระหว่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ) จึงสามารถเลี้ยงได้โดยไม่มีปัญหาในด้านกฎหมายแต่อย่างใด
	กวางซีก้าเป็นกวางสายพันธุ์เวียดนาม  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Cervus  nippon  pseudaxls  เป็นกวางเมืองร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเวียดนามและมีการจัดมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการผลิตเขากวางอ่อน  มานานกว่า 100 ปี  เป็นกวางที่เชื่องมาก  นิสัยไม่ก้าวร้าว  เลี้ยงรวมกันเป็นฝูง  ทนทานต่อโรค  เลี้ยงง่าย  หากินเก่ง  มีสีสันสวยงาม  ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี  ขนาดและน้ำหนักตัวพอเหมาะ  สะดวกต่อการจัดการให้ผลตอบแทนสูง  ทั้งเนื้ออร่อยและเขามีราคาสูง
	ถ้าจะกล่าวว่าไร่ยานาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญของจังหวัดสระบุรีอีกแห่งหนึ่ง  ก็คงไม่แปลกนักเพราะสถานที่แห่งนี้ทำให้สัมผัสถึงความชุ่มชื้นกับกลิ่นไอของธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมจะไม่มีวันลืมเลือน				
8 กุมภาพันธ์ 2548 15:01 น.

ฅ.สู้ชีวิต

สุชาดา โมรา

จี๊ด  สมจิตรนา  เป็นผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ที่เกิดและเติบโตที่ตำบลซับหินเพลิง  อำเภอศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นบุตรของนายชิ้น  งามขำ  กับนางเป้า  งามขำ  ซึ่งเป็นบิดาคนที่ 3 ของครอบครัว  สถานะในครอบครัวค่อนข้างจน  จึงต้องดิ้นรนต่อสู้กับชีวิตและผจญกับความยากลำบากตั้งแต่เกิด
	ขณะเป็นเด็ก  จี๊ด  สมจิตรนา  ไม่ได้ไปเล่าเรียนหนังสือเหมือนอย่างพี่และน้องของเขา  เพราะบิดาเห็นว่าเป็นผู้หญิงควรจะเป็นแม่บ้านแม่เรือนมากกว่าการไปเรียนหนังสือ  ที่สำคัญตัวโรงเรียนก็อยู่ไกลบ้านมาก  การเดินทางไม่สะดวก  เป็นผู้หญิงนั้นไปมาลำบาก  เขาจึงออกไปรับจ้างหางานมาเลี้ยงดูครอบครัว  และส่งน้องเรียน  เขาทำงานรับจ้างตั้งแต่เด็ก ๆ มีอะไรพอที่จะทำได้ก็จะทำ  เช่น  เก็บฝ้าย  หักข้าวโพด  ปลูกอ้อย  หรือแม้แต่การเกี่ยวข้าวก็ตาม
	เมื่อเขาย่างก้าวสู่วัยสาวก็พบรักกับนายลำดวน  สมจิตรนา  ต่อมาก็ใช้ชีวิตร่วมกัน ณ บ้านเลขที่  48  หมู่  2  บ้านโป่งสามหัว  ตำบลบ้านใหม่สามัคคี  อำเภอชัยบาดาล  จังหวัดลพบุรี  ซึ่งการที่เขามาตั้งถิ่นฐานที่นี่นั้นเขาและสามียังไม่มีพื้นที่ทำกิน  ทั้งคู่ยังต้องออกหางานรับจ้างจากชาวบ้านแถวนั้นอยู่เพื่อต้องการหาเงินเก็บไว้ซื้อที่ดินทำไร
	เมื่อทั้งคู่มีบุตรคนแรกทำให้ต้องทำงานหนักมากขึ้น  และได้นำเงินเก็บที่มีอยู่นั้นมาเช่าไร่ทำถั่วลิสง  แต่เงินไม่พอให้ค่าไถไร่จึงทำให้เขาต้องยืมเงินพี่น้องของสามี  การจ่ายเงินภายในบ้านเป็นไปอย่างประหยัด  โดยจี๊ด  สมจิตรนา  มีอุดมการณ์เป็นส่วนตัวของเขาว่า  บุคคลใดก็ตามทำการใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย  ฟุ่มเฟือย  ไม่รู้จักประมาณตนนั่นแหละน้ำตาจะเช็ดหัวเข่าในภายภาคหน้า
	ปีแรกในการทำไร่ถั่วลิสงได้พืชผลดีมาก  ทำให้เขาและสามีต้องการขยับขยายในการทำไร่ถั่วลิสง  จึงทำให้เขาและสามีต้องไปหายืมเงินมาเพิ่มอีก  ในการทำไร่นั้นใช่จะดีทุกปีไป  ปีที่ทำไร่ถั่วลิสงเพิ่มขึ้น  ฝนไม่ค่อยตก  ทำให้พืชผลไม่งอกงาม  แถมราคาถั่วลิสงยังถูกอีกด้วย  แต่เขายังไม่ท้อแท้  ยังสู้ที่จะทำไร่ต่อไปเพราะเขามีความหวังว่าต้องมีสักวันที่เป็นของเรา  จากที่เขาทำไร่ถั่วลิสงก็เปลี่ยนมาเป็นการทำไร่ถั่วเหลือง  ซึ่งเขายังต้องใช้ทุนมากทีเดียว  และในการทำไร่ถั่วเหลืองนั้นก็ต้องทำให้เขาและสามีต้องทุกข์ใจมากขึ้นเมื่อพืชผลของเขาไม่เป็นดังที่คาดหวัง  จึงทำให้ทั้งคู่กลุ้มใจมากเพราะไม่มีเงินไปชำระหนี้
	ภายหลังที่เขากลุ้มใจและเสียใจอยู่นั้นพี่ชายของเขาก็แนะนำให้เขาทำไร่ฝ้ายเพราะราคามันดี  เขาจึงตัดสินใจทำไร่ฝ้ายตามที่พี่ชายบอก  ผลปรากฏว่าในการทำไร่ฝ้ายนั้นได้กำไรดีมาก  ทำให้เขาสามารถปลดหนี้สินที่มีอยู่ได้หมดสิ้น  และยังมีเงินเหลือเก็บอีกก้อนหนึ่งที่พอจะลงทุนต่อไป  เขาลงทุนในการทำไร่ฝ้ายต่อจนกระทั่งสามารถซื้อที่ดินทำกินได้  ซึ่งทุกอย่างที่เขาและสามีทำนั้นก็เพื่อลูกอันเป็นที่รักของเขากับสามีเพราะเขากับสามีต้องการให้ลูกมีพื้นที่ทำกินที่เป็นหลักแหล่ง  จะได้ไม่ต้องลำบากเหมือนอย่างเขา
	เรื่องราวของจี๊ด  สมจิตรนา  ทั้งหมดเป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดหรือมหัศจรรย์อะไรเลยที่ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งซึ่งมีชีวิตอยู่กับท้องไร่ท้องนา  กลายมาเป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตและการประกอบอาชีพ  เด็กหรือเยาวชนทุกคนหรือจะเป็นใครก็ตามก็สามารถที่จะทำเช่นนี้ได้ถ้าเรามีความพยายาม  ขยัน  อดทน  ประหยัด  และมีความตั้งใจจริง  ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและความยากลำบาก
	ที่เป็นเรื่องราวชีวิตต้องสู้ของ  จี๊ด  สมจิตรนา  ผู้ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่โชคชะตาจากที่ไม่มีพื้นที่ทำกินของตนเอง  ด้วยความมานะพยายาม  ขยัน  อดทน  ประหยัด  และไม่ท้อต่ออุปสรรคและความยากลำบาก  จึงทำให้เขามีที่ทำกินเป็นของตัวเอง  เรื่องราวของเขานับว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าภูมิใจที่ทุก ๆ คนควรนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีในชีวิต

เทิดทูล...และรักในอาชีพแล้วทุกคนก็จะประสบสุข				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:41 น.

นอนแล้วค่ะ....!!!!!!!!!

สุชาดา โมรา

ราตรีสวัสดิ์นะคะ...พบกันใหม่เมื่องานของผึ้งเสร็จสิ้น...บาย!
                อ้อ ! อย่าโกรธหรือต่อว่ากันนะคะที่โพสต์ไว้เยอะแบบนี้เพราะตอนนี้ไม่มีเวลาจริง ๆ ก็เลยกลัวว่าเพื่อนจะห่างหายไปจึงนำงานมาให้อ่านเล่น ๆ ก่อน...
                 พบกันใหม่อีกทีตอนปิดเทอมหรือไม่ก็อาจจะเป็นตอนเปิดเทอมหน้าเลยนะคะ...ขอขอบคุณเพื่อน ๆ ที่ติดตามผลงานมาโดยตลอดค่ะ...ขอขอบคุณค่ะ				
2 กุมภาพันธ์ 2548 02:34 น.

ปรางค์อรุณ

สุชาดา โมรา

พระปรางค์องค์นี้ตั้งอยู่หน้าวัดอรุณราชวราราม  ( วัดแจ้ง ) ทางทิศใต้อยู่ด้านหลังโบสถ์น้อยและวิหารน้อย  เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นพร้อมกับโบสถ์และวิหารน้อย  แต่เดิมสูง  8  วา  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา  ตรัสสั่งให้สร้างเพื่อเป็นพระธาตุประจำพระนคร  แต่ก็สร้างไม่สำเร็จเพราะเสด็จสวรรคตเสียก่อน  ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์  โปรดเกล้าให้สร้างกุฏิสงฆ์เป็นตึกใหม่ทั้งหมด  และทรงมีพระราชดำริเพื่อสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ  จึงโปรดให้เสริมสร้างพระปรางค์ใหญ่สูงถึง  1  เส้น  12  วา  1  ศอก  1  คืบ  กับ  1  นิ้ว  ก็ราว ๆ  67  เมตร  สำเร็จในปี  พ.ศ.2394  ใช้เวลาถึง  9  ปีเต็ม  นอกจากนั้นยังทรงโปรดให้หล่อยอดนภศูลพระปรางค์แบบโบราณ  แต่ครั้นใกล้วันฤกษ์กลับโปรดให้นำมงกุฏที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปมาติดต่อบนยอดนภศูล  เมื่อการก่อสร้างสำเร็จลงยังไม่ทันได้มีการฉลองก็สิ้นรัชสมัยของพระองค์พอดี  ในปี  พ.ศ.2394
	ลักษณะของพระปรางค์ใหญ่อยู่ในวงล้อมของวิหารคดและเก๋งจีน  3  ด้าน  มีบันไดทั้ง  4  ด้าน  ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีลายดอกไม้  ใบไม้  ถ้วยชามเบญจรงค์ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นของเก่า  และตกแต่งด้วยเปลือกหอยสีต่าง ๆ อย่างปราณีตบรรจง  มีความงดงามยิ่งนัก				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟสุชาดา โมรา
Lovings  สุชาดา โมรา เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงสุชาดา โมรา