23 สิงหาคม 2550 16:30 น.
สายรุ้ง
เรื่องความเหงาเป็นเรื่องที่ไม่น่ากล้วแต่เป็นเรื่องที่น่ารำคาญใจเท่านั้นเองถ้าเรารู้วิธีแก้ความเหงาตามหลักของพระพุทธเจ้าแล้วความเหงาก็จะไม่มารบกวนเราอีกที่คนในสังคมเป็นทุกข์ว้าเหว่เหงาไม่มีความสุขอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะว่าในใจของคนเหล่านั้นยังมีหลุมดำอยู่ในดวงใจอยู่อีกมากจึงทำให้เกิดความกังวลวิตกฟุ้งซ่าน คิดไปตามเรื่องตามราวถ้าเราไม่เข้าไปรู้มันนี้เป็นโทษของความคิด และความเหงา ความวิตกกังวล ความคิดต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นได้กับคนทุกคนเพราะสิ่งเหล่านี้มันเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีดังมีเรื่องอยู่ว่า
มีผู้หญิงคนหนึ่งได้เดินเที่ยวไปในวัดแห่งหนึ่งได้เดินเที่ยวชมโบราณสถานภายในวัดอยู่และในขณะที่เดินเที่ยวชมอยู่นั้นเอง แกเหลือบไปเห็นพระภิกษุนั่งอยู่ด้วยอาการที่ดูแล้วเศร้าเหงาหงอยอยู่ ด้วยความหวังดีจึงเดินไปถามท่านว่า นั่งคิดอะไร? พระตอบว่า คิดเหมือนโยมนั่นแหละ โยมผู้หญิงตอบว่า พระลามก แล้วเรื่องก็จบลง ?
ท่านผู้อ่านเข้าใจอย่างไรในคำตอบของผู้หญิงช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ
15 สิงหาคม 2550 21:49 น.
สายรุ้ง
สิ่งแวดล้อม (Environment) :::
มนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยที่สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดแบบแผนชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ขณะเดียวกันมนุษย์ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากมีผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ประกอบกับปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็วและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดปัญหามลพิษ(Pollution) ในสิ่งแวดล้อม
ความหมายของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมหมายถึง สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นอยู่รอบๆตัวเราทั้งที่มี ลักษณะกายภาพที่เห็นได้และไม่สามารถเห็นได้
ประเภทของสิ่งแวดล้อม
จากความหมายของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment)
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ( Natural Environment)
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
1. 1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต
(Abiotic Environment) แบ่งได้ดังนี้
1.1.1 บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย กา๙ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ
1.1.2 อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ
1.1.3 ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุด
ของโลกประกอบด้วยหินและดิน
.2 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์
2 . สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น(Man-Mode Environment) แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
2.1 สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด
2.2 สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment)ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมายระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น
สรุป
สิ่งแวดล้อมหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมสามารถจำแนกได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การแบ่ง ได้แก่ จำแนกตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม แบ่งตามลักษณะการเกิด และแบ่งตามการมีชีวิต เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งแวดล้อมในโลก หากสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อมเป็นพิษก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสัตว์ได้ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการงานเกี่ยวด้าน อนามัยสิ่งแวดล้อมขึ้น ซึ่งเป็นงานด้านที่มุ่งเน้นรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ ที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์รวมทั้งเป็นงานที่ป้องกันมิให้โรคเข้าสู่มนุษย์โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ไว้หลายขอบเขต ยกตัวอย่างเช่น การจัดหาน้ำสะอาด การสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมมลพิษทางน้ำ การควบคุมมลพิษทางเสียง และอื่น ๆ เป็นต้น
พฤติกรรม หมายถึง
กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายใน และสิ่งเร้าภายนอก
สิ่งเร้า (Stimulus )หมายถึง
คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
1. สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
2. สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น
กลไกการเกิดพฤติกรรม
1.เหตุจูงใจ
2. ตัวกระตุ้นปลดปล่อย
อิทธิพล หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำรงตนด้วยการกระทำการด้วยตนเอง หรือใช้จ้างวาน สนับสนุนการกระทำการใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรืออยู่เหนือกฎหมาย ผลของการกระทำนั้นเป็นบ่อนทำลายเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งจัด ระบบงานการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเท่าเทียม
ผู้มีอิทธิพล หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำรงตนด้วยการกระทำการด้วยตนเอง หรือใช้จ้างวาน สนับสนุนการกระทำการใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรืออยู่เหนือกฎหมาย ผลของการกระทำนั้นเป็นบ่อนทำลายเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งจัด ระบบงานการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเท่าเทียม
คำว่า "มนุษย์" แปลว่า ผู้มีใจสูง เอาความหมายตรงนี้ไว้ก่อนนะคะ แล้วคราวนี้เราก็วางตรงนี้ลงก่อน แล้วไปดูกันว่า ที่มาที่ไปของมนุษย์เป็นอย่างไร
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเอาไว้ว่า ในสังสารวัฏหรือวัฏสงสารอันยาวนาน เหลือจะกล่าวที่เราๆ เวียนเกิดเวียนตายเวียนว่ายกันอยู่นี้ มีที่ๆ เราเวียนเกิด เวียนตาย หรือพูดอีกแง่ก็คือมีที่ๆ เราเวียนไปวนมากันอยู่ทั้งหมด ๖ ที่ ๖ สถานะและ ๖ สภาพ เรียงจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ นรก-เปรตและอสุรกาย- มนุษย์-เทวดา-พรหม
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร นั้น ยาวนานสุดจะหา เบื้องต้นและเบี้องปลายได้ และทุกๆ ชีวิตที่เกิดมา ล้วนตกอยู่ใต้กฏธรรมชาติ อันเป็นสากล คือ ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตาย ทั้งยังต้อง เวียนเกิด เวียนแก่ เวียนเจ็บ และเวียนตาย เช่นนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำอีก
พระพุทธองค์ยังทรงตรัสไว้อีกว่า สรรพชีวิตและสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏแห่งพระไตรลักษณ์ นั่นก็คือ ไม่เที่ยง (อนิจจัง) - เป็นทุกข์ (ทุกขัง) - ไม่เป็นของใครทั้งสิ้นหรือ อีกนัยคือไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น (อนัตตา)
เราเวียนเกิดเวียนตายใน ๖ ภพภูมินี้อย่างไร
เราจะมาพูดแก่นๆ ที่สำคัญเท่านั้นนะคะว่าแล้วทำไมถึงว่าเราเวียนเกิด และเวียนตายแล้วๆ เล่าๆ หาที่สุดมิได้อยู่ใน ๖ ภพภูมิที่ว่ามานี้
ก่อนอื่น ขอสรุปย่อๆ ให้พอเห็นภาพแต่ละภพภูมิ ดังนี้ (ขอเล่าจากภพภูมิล่างสุดขึ้นบนสุด) นรก
เป็นทุคติภูมิ
นรกเป็นที่ๆ สรรพสัตว์มาเสวยผลจากกรรมไม่ดีกรรมใดกรรมหนึ่งหรือ หลายๆ กรรมที่ทำเอาไว้ ในนรกมีหลายขุมหลายชั้นแล้วแต่ประเภท ของกรรมที่ทำมาและแล้วแต่ความหนักเบาของกรรมที่ทำมา ในนรกส่วนใหญ่ สัตว์นรกไม่มีเวลาทำอย่างอื่นนอกจากเสวยทุกข์ เพียงอย่างเดียว เวลาในนรกนั้น ยาวนานนัก ท่านว่า สัตว์นรก ไปลงนรก ด้วยแรงโทสะ หรือด้วยกรรมที่เกิดจาก กิเลส ข้อ "โทสะ" นั่นเองค่ะ
เปรตและอสุรกาย
เป็นทุคติภูมิ
เปรตและอสุรกายนี่ โดยรูปธรรมท่านว่าคล้ายกัน เพียงแต่อสุรกาย ตัวใหญ่โตกว่ามาก จึงจัดอยู่ด้วยกัน เป็นที่ๆ สรรพสัตว์มาเสวย ผลของกรรมไม่ดีที่เคยกระทำอีกเช่นกัน เป็นภพภูมิที่มีแต่ความ ทุกข์ทรมาน แต่ก็เบาบางกว่าภูมินรก ท่านว่า เปรตและอสรุกายนี้ ไปเป็นเปรตและอสุรกายได้ ด้วยแรง โลภะ หรือด้วยกรรมที่เกิด จากกิเลส ข้อ "โลภะ" นั่นเอง
สัตว์เดรัจฉาน
เป็นทุคติภูมิ
สัตว์เดรัจฉาน เป็นหนึ่งในสองภพภูมิที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว จำแนกไว้ ที่เราสามารถพิสูจน์ได้เดี่ยวนี้ ปัจจุบันขณะนี้ ว่ามีจริง (หนึ่งคือภูมิมนุษย์หรือมนุสสภูมิ สองก็คือภูมิเดรัจฉานนี่เอง) สัตว์เดรัจฉาน ใกล้มนุษย์เข้ามาอีก มีชีวิตความเป็นอยู่ไปตาม สัญชาตญาณ มีทุกข์สุขแตกต่างกันไปตามแต่แรงบุญและกรรม ที่กระทำมาและกำลังส่งผลในภพชาติที่มาเกิดเป็นเดรัจฉานนี้ สัตว์เดรัจฉานเป็นภพภูมิที่เป็นทุคติภูมิ ในอัตภาพนี้ ไม่สามารถ ทำบุญทำทานหรือพัฒนาปัญญาได้ ท่านว่า ที่ไปเกิดเป็น สัตว์เดรัจฉานได้นี้ ก็ด้วยแรงกิเลสข้อ "โมหะ" ค่ะ
มนุษย์
เป็นสุคติภูมิ
ภูมิมนุษย์ ถือว่าเป็นสุคติภูมิ ในคติพุทธบอกว่า ที่เรามาเกิดเป็นมนุษย์ได้ ก็เพราะอานิสงส์ที่เราเคยเป็นผู้อยู่ในศีลห้า กล่าวคือ เราเคยทำตัวอยู่ใน ศีลห้ามาแล้ว ไม่ว่าจะทราบหรือรู้จักคำว่า "ศีลห้า" หรือไม่ก็ตาม ภูมิมนุษย์นี้ ท่านว่า เป็นที่ๆ ประเสริฐที่สุด เหมาะสมที่สุด ที่จะทำกรรมดี ทำบุญ สร้างปัญญาบารมี ดังจะสังเกตว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็จะต้อง มาตรัสรู้ ณ ภูมิมนุษย์ นี่แหละ อย่างไรก็ตาม ภูมิมนุษย์นี่เองที่เปรียบ เหมือนทางสองแพร่ง ท่านว่า ภูมิที่จะทำดีหรือทำกรรมดีได้ยิ่งที่สุด ดีที่สุด ก็คือภูมิมนุษย์ ในทางกลับกัน ภูมิที่จะทำเลวที่สุดหรือทำกรรม เลวได้หนักที่สุด ก็คือภูมิมนุษย์เช่นกัน แล้วแต่ใครจะเลือกเอาว่า จะไปทางไหน (ด้วยการประกอบกรรมดีหรือกรรมชั่วอย่างที่ว่ามาแล้ว) ภูมิมนุษย์เปรียบเสมือนเป็นชุมทาง เมื่อใช้กรรมในทุคติภูมิเสร็จ ก็มาเลือกเอาใหม่ว่าจะไปดีหรือไม่ดีก็ในคราวที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ และหากอยู่บนสวรรค์หรือพรหมโลกเสร็จ หมดอายุขัยเสวยบุญก็ ลงมาที่ภูมิมนุษย์นี้อีก เพื่อมากระทำกรรม เลือกทางของตัวเอง (ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวว่ากำลังเลือกก็ตาม) ว่าจะไปข้างบนหรือ ลงข้างล่างอีกต่อๆ ไป วนเวียนเวียนวนเช่นนี้ ไม่สิ้นสุด
เทวภูมิ
เป็นสุคติภูมิ
ณ สวรรค์ เป็นที่อยู่หรือสถิตย์ของเหล่าเทวดา ที่ไปสวรรค์ได้ก็ด้วย การสร้างกรรมดี การทำบุญทำทาน รักษาศีล สวรรค์เป็นสุคติภูมิ เป็นสถานที่เสวยผลจากกรรมดีที่กระทำมา บนสวรรค์ท่านว่าเป็น การเสวยสุข มีแต่ความสุข ปรารถนาอะไรก็ได้ดังปรารถนา ทุกอย่างเป็น "ทิพย์" ทว่า แม้จะสุข แต่ก็ไม่สามารถประกอบการ บุญหรือการทำทานได้เหมือนอย่างในภพภูมิมนุษย์ค่ะ เวลาในสวรรค์นั้น ยาวนานเหลือเกิน ท่านว่า ร้อยปีในมนุษย์ เท่ากับหนึ่งวันในสวรรค์ชั้นล่างๆ นะคะ อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นอายุขัย เทวดาก็ต้องกลับมาเกิด เวียนว่ายตายเกิดอยู่ตามภพภูมิต่างๆ ตามแรงบุญแรงกรรมที่กระทำไว้ในอดีตและแรงบุญแรงกรรม ที่กำลังสร้างกำลังทำต่อๆ ไป
พรหมภูมิ เป็นสุคติภูมิ
บนแดนของพระพรหมนี้ เป็นภพภูมิที่สูงสุดแล้วในสังสารวัฏ เป็นภพภูมิที่สุข สงบสงัด ดีและประเสริฐที่สุด ในภพภูมิทั้งหลาย ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดทั้ง ๖ จะมาเป็นพระพรหมได้ ก็ต้อง ประกอบพรหมวิหาร ๔ มาคือ เมตตา - กรุณา - มุทิตา - อุเบกขา ผู้ที่จะไปจุติในภพภูมินี้ได้ ต้องบำเพ็ญสมาธิมาพอสมควร ขออนุญาตไม่พูดมาก เพราะไม่เกี่ยวกับหัวข้อของเราค่ะ พรหมภูมิจึงเป็นแดนที่สรรพสัตว์ที่คุณสมบัติครบตามที่กล่าวมา จะมาจุติและเสวยผลของกรรมดีต่างๆ เหล่านี้ที่กระทำและบำเพ็ญมา อายุของพระพรหมนั้นยาวนานนัก ท่านว่า ยาวนานเสียจนพระพรหม บางองค์บางชั้น ถึงกับลืมไปเลยว่าท่านเคยเวียนเกิดเวียนตายอยู่ ในสังสารวัฏเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ายาวนานอย่างไร ก็ย่อม มีวันสิ้นสุด เมื่อสิ้นอายุขัย ก็กลับลงมาเวียนว่ายตามภพภูมิต่างๆ ตามแรงกรรมและกระแสบุญกรรมที่กระทำไว้และกำลังให้ผล ในขณะนั้นๆ ต่อไป
สรุป
จะเห็นได้ว่า ภูมิอื่นๆ นอกจากภูมิมนุษย์นั้น ล้วนเป็นภพภูมิแห่งการ เสวยผลทั้งสิ้น ทำไม่ดีและผลกรรมไม่ดีกำลังส่งผล ก็จะได้ลงไป เสวยทุกข์ในสามภูมิแน่นอน คือ ไม่นรก ก็เปรตอสุรกาย ก็สัตว์ เดรัจฉาน และถ้าหากผลกรรมดีกำลังส่งผล ก็จะได้ขึ้นไปเสวยผล แห่งกรรมดี ได้ไปเสวยสุข ณ ภูมิมนุษย์ หรือไม่ก็ในเทวภูมิ หรือไม่ก็ที่พรหมภูมิ
จึงขอมองภูมิมนุษย์ว่าเป็นภูมิแห่งการ "สร้างเหตุ" คือ สร้างเหตุ ไปสุคติก็ได้ สร้างเหตุไปทุคติก็ได้ จะสร้างเหตุทั้งสองอย่างก็ ณ ตรงนี้ จะเลือกไปไหน ก็ ณ ตรงนี้ ทางสองแพร่งก็อยู่ตรงนี้นี่เอง ส่วนภูมิอื่นๆ ทั้งหมดนั้น เป็นสถานที่ เป็นช่วงเวลาแห่งการเสวยผลดีหรือชั่ว เท่านั้น
คนเราอยู่ในสภาพแล้วล้อมที่ดีก็ย่อมเป็นคนดีไปด้วยแต่คนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีก็พลอยให้ชีวิตและพฤติกรรมของตนไม่ดีไปด้วยตามสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ดังพุทธภาษิตที่ว่า คบคนเช่นไปย่อมเป็นเช่นนั้น
25 กรกฎาคม 2550 10:44 น.
สายรุ้ง
ธรรมเป็นยาขนานเอกที่ทำให้คนที่กินแล้วหายจากโรคทั้งสองคือโรคทางกายและโรคทางใจ ผู้รู้ท่านกล่าวว่า มนุษย์ทั้งหลายนั้น ไม่มีใครที่ไม่เป็นโรค คือบางคน อาจจะไม่มีโรคทางกาย ได้เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี ได้ แต่โรคทางใจนั้น ปุถุชน คนเดินดินอย่างเรา ๆ นี้ เป็นอยู่เสมอเป็นอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นธรรมะจึงเป็นโอสถขนานเอกที่ผู้รู้ได้ประทานไว้ให้หมู่มนุษย์ด้วยความเมตตา กรุณา อย่างสูงสุด การฟังดี ๆ ก็มีปัญญา เหมือนกับ กบ หรือ ค้างคาว ได้ฟังธรรม
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วได้มีภิกษุสงฆ์หมุ่หนึ่งได้ไปจำพรรษาอยู่ในป่าใกล้สระน้ำแห่งหนึ่ง พระเหล่านี้ก็ได้ทำการสาธยายมนต์อยู่ตลอดเวลาเมื่อเวลาเช้าและตอนเย็น กบมันได้อาศัยสระน้ำที่อยู่ใกล้ ๆ กับที่พักของภิกษุกบมันก็ได้ฟังเสียงสาธยายมนต์ทุกวันมันก็เพลิดเพลินไปกับเสียงมนต์ที่พระสวดนั้นในขณะที่มันกำลังฟังอยู่เพลิน ๆ นั้นเอง ได้มีแม่โคตัวหนึ่งเดินมาหากินหญ้าอยู่ในบริเวณนั้นมันได้เดินไปเยียบกบตัวนั้นตายเข้าในขณะนั้น
เจ้ากบน้อยเมื่อถูกวัวเยียบตายด้วยอานิสงส์ที่มันได้ฟังการสาธยายมนต์อยู่ซึ่งจิตของมันอยู่กับมนต์นั้นทำให้ได้ไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ นี้ก็เป็นผลของการฟังธรรมทั้ง ๆ ที่กบเองก็ฟังไม่รู้เรื่องเลยแต่มีจิตใจที่เป็นกุศลยังเป็นประโยชน์ถึงเพียงนี้ ถือว่าเป็นยาวิเศษขนานหนึ่งที่เราท่านทั้งหลายจะต้องแสวงหามากินมาใช้ในตัวเรา
20 กรกฎาคม 2550 10:17 น.
สายรุ้ง
มีกบตัวหนึ่งสงสัยมันจะต้องนับถือศาสนาพุทธแน่นอนเลยเพราะว่ามันเกิดอยู่ใกล้ ๆ กับวัดและมีที่พักอาศัยอยู่ไม่ไกลจากกำแพงวันมากนัก มันเคยคิดว่า เอเราในฐานะเป็นสัตว์อยู่ใกล้วัดแล้วเราไม่เคยเข้าไปสำรวจอะไรภายในวัดเลยเดียวถ้ามีคนมาถามว่า ภายในวัดมีอะไร ? พระ เณร เขาอยู่กันอย่างไร? ภายในวัดสะอาดหรือไม่? พระ เณร อยู่กันอย่างไร? ถ้ามีใครมาถามเราแล้วเราตอบไม่ได้เราคงเสียหน้าแย่เลยในฐานะที่เราอยู่แทบติดกำแพงวัด
แล้วเจ้ากบน้อยมันก็กระโดดไปภายในวัดเพื่อสำรวจพื้นที่ภายในวัดด้วยความอยากรู้ พอเจ้ากบน้อยเข้ามาภายในวัดเท่านั้นเอง มันก็ร้องอุทานขึ้นตามประสาของมันว่า " อบ ๆๆ" มันร้องด้วยความดีใจและนำหนิตัวเองว่า ทำไมเรามัวไปทำอะไร ไม่มาเที่ยวในวัด ภายในวัดมันแสนจะสบายและสวยงามมาก ในขณะที่มันกำลังเที่ยวชมภายในวัดอันสวยงามอยู่นั้นเอง ทันใดนั้นมันก็เหลือบไม่เห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง เอาข้าวที่เหลือจากฉันแล้วมาเทให้ไก่กิน มันจึงคิดไปว่า โอ๋ ชีวิตอะไรจะสบายขนาดนั้น อยู่ ๆ ก็มีคนเอาอาหารมาให้กินผิดกับตัวเรา ต้องไปหากินแมลงกว่าจะได้แต่ละตัวยากแสนยาก เป็นไก่อยู่ในวัดไม่ต้องทำอะไรเลยก็มีคนเอาอาหารมาให้กินสบายจริง ๆ เจ้ากบน้อยจึงคิดอยากจะเป็นไก่บ้างเพราะสบายดี
ในขณะที่มันกำลังคิดอยากจะเป็นไก่อยู่นั้นพอดีมีสุนัขตัวหนึ่งวิ่งมาจากไหนไม่ทราบวิ่งตรงมากัดไก่ ๆ ร้องรั่น แล้วหมาก็กินข้าวอย่างสบายใจที่ไม่มีกอขอคอ มากวนใจ เจ้ากบน้อยก็คิดว่า โอ๋ นึกว่าเป็นไก่จะดียังถูกรังแกได้ มันก็เลยคิดว่าเอ เป็นหมาดีกว่า ในขณะที่หมากำลังกินข้าวอยู่อย่างสบายใจนั้นเอง มีลูกศิษย์วัดมาจากไหนไม่ทราบเตะเอาที่สีข้างของหมาอย่างแรง หมาร้องรั่น เอ่ง ๆๆ วิ่งเน็บหายไป
เจ้ากบน้อยเห็นอย่างนั้นมันตกใจมากมันอุทานในใจว่า โอ่ นึกว่า เป็นหมาจะดี ก็ยังสู้เป็นศิษย์วัดไม่ได้ มันเลยอยากเป็นศิษย์วัดขึ้นมา หลังจากนั้นเด็กวัดหลังจากทำภาระกิจส่วนตัวเสร็จแล้วก็อยากจะพักผ่อนสักครู่หนึ่งจึงหอบเสื่อหอบหมอนไปหมายจะนอนให้สบาย ก็ไปนอนอยู่กลางศาลาปรากฏว่ามีแมลงวัน มาตอมหน้า ตอมตาอยู่เสมอ ทำให้นอนไม่สบาย เจ้ากบน้อยเห็นดังนั้น
มันจึงคิดในใจว่า นึกว่าเป็นศิษย์วัดจะดียังสู้แมลงวันไม่ได้ เจ้ากบน้อยจึงคิดอยากเป็นแมลงวันขึ้นมาทันที ในขณะที่เจ้ากบน้อยกำลังคิดอยากจะเป็นแมลงวันอยู่นั้น ได้มีแมลงวันบินมาจับที่ปลายจมูกของเจ้ากบน้อยมันก็ใช้ความไวของมันด้วยลิ้นของมันจับแมลงวันตัวนั้นมากินเป็นอาหารเสีย แล้วเจ้ากบน้อยจึงอุทานขึ้นในใจว่า "เป็นอะไรก็สู้เป็นตูไม่ได้"
ปัจจุบันคนเรามองไปแต่ข้างหน้ามองไปแต่คนอื่นไม่มองเข้ามาหาตัวเองมองให้รู้ดูให้เห็นที่ท่านกล่าวว่าบอกตัวเองได้ใช้ตัวเองเป็นเมื่อเราสามารถกลับมาดูตัวเราเองได้ขนาดนี้แล้วเรื่องของความอยากที่มีอยู่ในจิตใจของเราก็จะลดน้อยลงแล้วเราก็จะพบความสุขและตัวตนที่แท้จริงของเรา
19 กรกฎาคม 2550 15:39 น.
สายรุ้ง
มีตำนานเกี่ยวกับความสุขได้กล่าวไว้ว่า..
มีปีศาจอยู่ ๔ ตน อยากจะแย่งชิงเอาความสุขจากมนุษย์ไปเพราะไม่อยากให้มนุษย์มีความสุข ปีศาจทั้ง ๔ จึงปรึกษากันว่าแล้วเราจะทำอย่างไรดี
ปีศาจตนที่ ๑ บอกว่าให้เอาความสุขนี้ไปซ่อนไว้ที่ ทะเล
ปีศาจตนที่ ๒ บอกว่าให้เอาความสุขไปซ่อนไว้ที่ น้ำตก
ปีศาจตนที่ ๓ บอกว่าให้เอาความสุขไปซ่อนไว้ที่ ภูเขา
ปีศาจตนที่ ๔ บอกว่าถ้าเอาความสุขไปซ่อนไว้ที่ ทะเล ที่น้ำตก หรือที่ภูเขา มนุษย์ก็จะหาเจอได้ง่าย
อย่ากระนั้นเลยเอาวิธีที่ง่ายที่สุดคือ เอาความสุขนี้ไปซ่อนไว้ที่ตัวของมนุษย์เองเพราะมนุษย์ส่วนใหญ่ชอบไปหาความสุขนอกตัว มนุษย์จึงไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน
ความหมายก็คือ
คนบางคนตั้งแต่เกิดจนสิ้นอายุขัย ยังหาความสุขไม่พบเลย เพราะมองออกไปนอกตัวเอง ความสุขง่าย ๆ เหมือนเด็กอายุ ๑ ขวบ มีความสุขที่เรียบง่าย เพียงได้กินนม นอน เล่น และร้องไห้ ถ้าเราไปเอาสเต็กเนื้อสัน หูฉลาม มาให้เด็ก เด็กคงไม่เอาสู้ขวดนมไม่ได้ เมื่อมีชีวิตที่เติบใหญ่ขึ้น ชีวิตเริ่มซับซ้อนมีหลายอย่างที่มาทับถม ไม่ว่าจะศักดิ์ศรี เกียรติยศ เมื่อมีหัวโขนมาขึ้น ก็เสียหน้าไม่ได้ เลยยอมไม่ได้
จึงทำให้เราลืมความสุขโดยง่าย ๆ กับสิ่งที่เรามีอยู่ และหาได้รอบ ๆ ตัวเรานี้เอง
ขอให้เพื่อน ๆ รองพินิจเถิดว่ามันจริงหรือไม่เพียงเรากลับมาสนใจตัวเราเองให้มากกว่าเดิมแล้วเราจะพบความสุข