10 กันยายน 2551 14:43 น.
ลุงแทน
เมื่อคนที่คอยช่วยเรา ต้องการความช่วยเหลือ...
เนื่องจากรุ่นพี่คนหนึ่งเขาเป็นทหารอยู่ที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ พี่เขาอยู่ที่ปัตตานีครับ และเขาขอความช่วยเหลือเรื่อง ยารักษาโรคต่างๆและอุปกรร์อาหารการกินที่นั่น หมอหรือพยาบาลเขาใช้วิธีการเวียนไปตามรพ.รัฐต่างๆให้มาอยู่ขาดแต่ยาเพราะว่า ที่นั่นใช้คำว่าขาดแคลนจริงๆ ขนาดไปขอรับบริจาคร้านขายยาและโรงงานผลิดยาเขาก็ให้มาแต่ไม่พอเพราะคนที่นั่นถูกยิงกันทุกวัน เด็ก ก็ไม่กล้าออกไปหาหมอเพราะไม่มีตังค์ตอนนี้ต้องเอาหมอทหารเข้าไปรักษาชาวบ้าน และที่สำคัญที่นั่นกองทัพเขามีงบประมาณในเรื่อง ยารักษาโรคน้อยมาก จึง เรียนมาเพื่อขอบริจาคยารักษาโรคทุกชนิด บางครั้งต้องประสานงานตามวัดต่างๆ เพราะเวลาถวายสัฆทานเขาจะมียามาให้ด้วยนะครับเลยเรียนมาเพื่อขอความกรุณา เพื่อนๆทุกท่านช่วยกันรวบรวมยาหรือเวศภัณฑ์ต่างๆ ส่งไปช่วยด้วยนะครับ เพราะที่นี่ขาดมาก ส่งที่อยู่มาให้เพื่อจะได้ส่งของมาช่วยกันครับ
พันตรี สุวพจน์ จุลกทัพพะ
รอง ผบ.ฉก 24 ( พัน.ร. 234) ศูนย์ฝึกอาชีพวัดช้างให้
ตู้ ปณ. 10 ปณ. นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี 94180
เขียนมุมกล่อง บน ขวามือ ว่า ' ทบ.สนามชายแดน' ครับ
8 กันยายน 2551 17:59 น.
ลุงแทน
ฝ่ายที่อดทนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
ภาวะ วิกฤติอันเกิดจากการชุมนุมที่มีเป้าหมายให้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง โดยยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นที่มั่น เป็นปัญหาแก่การปฏิบัติราชการ แม้รัฐบาลและรัฐสภา ได้ใช้ความพยายามหลายวิธี ก็ไม่สามารถยุติเหตุลงได้ แต่ทุกฝ่ายก็ยังดำเนินการต่อ โดยฝ่ายนิติบัญญัติ มอบหมายให้นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประสานงานกับผู้บัญชาการทหารบกและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย เพื่อเจรจากับ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน แต่สัญญาณจากกลุ่มพันธมิตรฯ ยังไม่ช่วยให้ความกังวลคลี่คลายลง
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และนายสมศักดิ์ โกศัยสุข 2 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงว่า ความพยายามประสานงานเพื่อเจรจา ไม่ตรงกับความต้องการของประชาชนที่ชุมนุม แกนนำจะตัดสินใจให้ผิดจากความเห็นส่วนใหญ่ไม่ได้ ยังดำรงความมุ่งหมายเดิมคือ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ลาออก รัฐบาลต้องไป หากไม่บรรลุวัตถุประสงค์หลักนี้ การเจรจาคงไม่ได้ผล
อย่างไรก็ตาม ระหว่างการประสานงานเพื่อเจรจา ปัญหาการใช้ความรุนแรงทั้งจากผู้ชุมนุมฝ่ายอื่น หรือกับเจ้าหน้าที่รัฐไม่เกิดขึ้น จนเมื่อนายกรัฐมนตรีกำหนดประชุมคณะรัฐมนตรีที่ จ.อุดรธานี ก็เป็นที่วิตกว่าอาจเกิดความยุ่งยากได้ เพราะเคยเกิดเหตุปะทะกัน ระหว่าง กลุ่มพันธมิตรฯ และชมรมคนรักอุดร ปรากฏว่ามีการชักชวนประชาชนชุมนุมกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพันธมิตรฯ ส่วนที่ จ.อุดรธานี ก็มีผู้อ้างว่าได้เตรียมมวลชน 2,000 คน เฝ้าท่าอากาศยาน เพื่อป้องกันไม่ให้มีกลุ่มต่อต้านการประชุมคณะรัฐมนตรี
ความพยายามหาทางออกในปัญหาการชุมนุม ซึ่ง ยึดทำเนียบรัฐบาล คงมีเป้าหมายหลักต้องการให้กลุ่มพันธมิตรฯ ออกจากพื้นที่ ในขณะที่ฝ่ายผู้ชุมนุมยืนกรานว่านายกรัฐมนตรีต้องลาออกเท่านั้น ซึ่งหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมลดเงื่อนไข โอกาสบรรลุเป้าหมายก็คงไม่ง่าย แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกอย่างจะสะดุดหยุดลง เพราะถ้าส่วนใหญ่ มีความพยายาม และอดทนกับการจัดการปัญหาอย่างรอบคอบ เคารพกฎหมาย ภายใต้หลักประชาธิปไตย ในที่สุด ก็มีทางประสบผลสำเร็จได้ โดยเฉพาะ ผู้บัญชาการทหารบกยืนยันว่า จะไม่ใช้ความรุนแรง จะไม่ปฏิวัติอย่างเด็ดขาด และจะพยายามทำทุกอย่างให้เกิดความสงบสุขนั้นเป็นหลักประกันว่าวิกฤติหนนี้จะ ผ่านได้ในไม่ช้า.
8 กันยายน 2551 17:57 น.
ลุงแทน
คุยการเมือง : ปชต.จอมปลอม
คง ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ใครจะทำตัวเป็นโซ่ข้อกลาง วิ่งรอกเจรจาเพื่อให้กลุ่มพันธมิตรยอมเดินเกี่ยวก้อยกับรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช เพราะต่างฝ่ายต่างมีข้อเสนอที่ไม่สามารถแสวงหาจุดร่วมกันได้
มิหนำซ้ำกลุ่มพันธมิตร ยังตั้งข้อเรียกร้องแปลก ๆ เพราะนอกจากจะขอให้นายสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังนำเสนอโครงสร้างการเมืองระบบใหม่ ที่ให้มี ส.ส.มาจากการแต่งตั้ง 70 เปอร์เซ็นต์ และเลือกตั้ง 30 เปอร์เซ็นต์
ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ทำไมกลุ่มพันธมิตร ถึงกล้าตั้งข้อเรียกร้องแปลก ๆ ที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย
หากคิดจากสมมติฐานที่ว่า นักการเมือง ที่มาจากการเลือกตั้งมีคุณภาพห่วย ไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชาชนได้ สมควรจะที่แต่งตั้งแทน 70 เปอร์เซ็นต์
แต่ไม่มีหลักประกันอะไรยืนยันได้ว่า ผู้ที่มาจากการแต่งตั้งจะเป็นคนดี ซื่อสัตย์ โปร่งใส เพราะแม้แต่คนใน คตส. ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบนักการเมืองทุจริตในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังถูกครหาเรื่องความสุจริตโปร่งใสหลายคน
บางคนก่อนรับตำแหน่ง ธุรกิจของครอบครัวเป็นหนี้ธนาคารอยู่ 40 ล้านบาท แต่เวลาผ่านไปเพียง 1 ปีหลังจากเข้าดำรงตำแหน่ง ปรากฏว่า สามารถล้างหนี้ก้อนโตได้สำเร็จ มิหนำซ้ำยังเหลือเงินมาทำอย่างอื่นให้ชาวบ้านนินทาอีกต่างหาก
หรือแม้แต่รัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ซึ่งมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด ก็ใช่ว่า จะขาวสะอาดผุดผ่องทั้งหมด บางคนก็เล่นบทเป็นรัฐมนตรีผีปลากระป๋อง หรือบางคนเป็นรัฐมนตรีที่มีประวัติเคยตั้งกองทุนเก๋าเจี๊ยะ รีดไถเงินประชาชนเพื่อเอามาแบ่งกันเอง เปลี่ยนจากเงินใต้โต๊ะขึ้นมาอยู่บนโต๊ะ แล้ว ปปช.ก็แอบจำหน่ายคดีทิ้งอย่างเป็นปริศนา
ถ้ากลุ่มพันธมิตรเชื่อว่า การเมืองระบบใหม่ จะทำให้บ้านเมืองสะอาดหมดจด เงินภาษีทุกบาททุกสตางค์จะถูกนำมาพัฒนาประเทศชาติได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ก็คงเป็นได้แค่ความเชื่อลม ๆ แล้ง ๆ
การเมืองไทยยังมีการแบ่งชนชั้น เพื่อกีดกันไม่ให้ประชาชนเข้าถึงอำนาจ หรือได้รับส่วนแบ่งอำนาจ โดยเอาระบบเลือกตั้งหรือระบบขุนนางมาใช้เป็นกำแพงกั้น
ขี่มอเตอร์ไซค์หรือแท็กซี่มีโอกาสถูกตำรวจไถมากกว่าเศรษฐีขี่เบนซ์ ข้าราชการระดับอธิบดีเบิกเท็จค่าเดินทาง 7 หมื่นบาท โทษแค่ตักเตือนอ้างว่าเข้าใจผิด แต่ถ้าข้าราชการชั้นผู้น้อยเบิกค่าเช่าบ้านมั่วแค่ 3,000 บาท โน่น..!! ถูกไล่ออกและดำเนินคดี
แสดงให้เห็นว่า อำนาจการเมืองที่ไม่เป็นธรรม มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายเป็น 2 มาตรฐาน นักการเมืองสามารถคดโกงได้อย่างเสรี เพราะกฎหมายไม่ยอมกำหนดให้ประชาชนผู้เสียภาษีเป็นผู้เสียหาย
ฉะนั้นเมื่อรัฐมนตรีโกง ข้าราชการย่อมจะให้ความร่วมมือเพื่อหวังส่วนแบ่ง และช่วยกันปกปิดความผิด ทำให้หน่วยราชการที่กฎหมายโง่ ๆ กำหนดให้เป็นผู้เสียหายแทนประชาชน ไม่ยอมนำเรื่องทุจริตดังกล่าวมาเปิดโปงและดำเนินคดี
ถ้ากลุ่มพันธมิตรต้องการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์ จะต้องให้ประชาชนสามารถฟ้องนักการเมืองทุจริตได้โดยตรง เมื่อประชาชนได้รับส่วนแบ่งอำนาจแล้ว ย่อมจะเกิดความผูกพันและหวงแหนประชาธิปไตย
ทุกวันนี้ประชาชนได้ส่วนแบ่งอำนาจแค่ไปกาบัตรเลือกตั้ง จากนั้นก็ตัดขาดกันไป จึงไม่แปลกที่ประชาชนมักจะเลือกเงิน 500 บาทมากกว่าตั้งใจเลือกคนดี ๆ เข้าไปบริหารประเทศ
ระบบการเมืองใหม่เป็นสิ่งบ่งชี้ว่า กลุ่มพันธมิตร เป็นแค่ตัวแทนของกลุ่มขุนนาง ไม่ใช่ตัวแทนประชาชนที่ต้องการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด.
คัดลอกมาจาก ดินสอดำ
8 กันยายน 2551 17:46 น.
ลุงแทน
กันและกัน
“ถ้าบอกว่าเพลงนี้ แต่งให้เธอ เธอจะเชื่อไหม มันอาจไม่เพราะ ไม่ซึ้ง ไม่สวยงาม เหมือนเพลงทั่วไป อยากให้รู้ว่าเพลงรัก ถ้าไม่รัก ก็เขียนไม่ได้ แต่กับเธอคนดีรู้ไหม ฉันเขียนอย่างง่าย...ดาย เธอคงเคยได้ยินเพลงรักมานับร้อยพัน มันอาจจะโดนใจ แต่ก็มีความหมายเหมือน ๆ กัน แต่ถ้าเธอฟังเพลงนี้ เพลงที่เขียนเพื่อเธอเท่านั้น เพื่อเธอเข้าใจความหมายแล้วใจจะได้มี กันและกัน”
คุ้น ๆ หรือเปล่าคะเพลงนี้ น่าชมคนแต่งเพลงนะคะที่เข้าใจนำคำมาเรียงร้อยกันเป็นเพลง เพราะคำว่า กัน ในภาษาไทย ของเราไม่ได้มีเพียงความหมายเดียวเท่านั้น แต่มีความหมายและมีหน้าที่ของคำแตกต่างกัน เช่น (๑) เป็นคำสันธาน ใช้เป็นภาษาปาก หมายถึง คําใช้แทนตัวผู้พูดเพศชายพูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยในทํานองกันเอง, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑
(๒) เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง คําประกอบท้ายกริยาของผู้กระทําตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงการกระทําร่วมกัน อย่างเดียวกัน หรือต่อกัน เช่น คิดกัน หารือกัน (๓) เป็นคำกริยา หมายถึง กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จําเป็น, กันเอาไว้เป็นพยาน (๔) เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, หรือใช้เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ เรียกว่า เรือกัน
แต่ถ้าพูดถึง กันและกัน จะหมายถึง คําใช้แทนชื่อในลักษณะที่มีการกระทําร่วมกันหรือต่อกันโดยมีบุรพบทประกอบ หน้า เช่น รักซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ของกันและกัน เมื่อรู้แล้วก็อย่าลืมมาช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทยนะคะ จะได้มีกันและกันตลอดไป.
คัดลอกมาจาก จินดารัตน์ โพธิ์นอก