10 เมษายน 2551 18:16 น.

ความหวังของคนไทย

ลุงแทน

คัดลอกมาจาก  คุณ  ดุลยภาพ  

ผมได้ดูข่าวมีการสำรวจว่า ในวันขึ้นปีใหม่ไทยที่จะถึงนี้ คนไทยอยากได้อะไรมากที่สุด สิ่งที่คนไทยอยากได้มากที่สุดรู้ไหมครับว่าคืออะไร คนไทยอยากให้ราคาน้ำมันถูกลง เป็นความหวังของคนไทย

    จากความหวังดังกล่าว ทำให้ผมเห็นว่า ความเข้าใจในเรื่องภาวะราคาสินค้าที่สูงขึ้นของคนไทย ยังบกพร่องอยู่

     ผมขอวิเคราะห์ให้เข้าใจอย่างง่ายๆ น่ะครับ ว่าสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้น เกิดมาจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน (ตามหลักทางเศรษฐศาสตร์) นั้นคือ

      1. แรงผลักดันทางด้านอุปสงค์ - Demand Pull  กล่าวคือ หากคนในระบบเศรษฐกิจมีความต้องการสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในปริมาณที่มาก โดยให้สภาพแวดล้อมอยู่ในภาวะที่คงที่ การที่เรามีความต้องการมาก วิธีการที่จะทำให้เราได้มาซึ่งสินค้าที่ต้องการ คือ การเสนอซื้อในราคาที่สูงกว่าคนอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้ผู้ขายหรือผู้ผลิตยอมที่จะขายให้แก่เรา จากการกระทำข้างต้นนี้ ก็ย่อมทำให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงได้ขึ้นเช่นกัน

      2. แรงจากด้านอุปทาน - Cost Push นั้นคือ หากวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตสินค้าดังกล่าวมีราคาที่สูงขึ้น ย่อมผลักดันให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เมื่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ผู้ผลิตก็จะตั้งราคาขายที่สูงขึ้นตาม ทำให้ราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงได้เช่นเดียวกัน

     จากปัจจัยทั้ง 2 ข้างต้น สามารถอธิบายปรากฎการณืที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นได้ดังนี้

      น้ำมัน เป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดไป โดยปริมาณการใช้น้ำมันในโลกนั้นมีลักษณะเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ความเจริญของประเทศ เป็นต้น ดังนั้น เมื่อปริมาณความต้องการใช้มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณน้ำมันที่จะมาสนองได้นั้นมีไม่เพียงพอ หรือผู้ผลิต (กลุ่มOPEC) มีการผลิตในปริมาณที่น้อยกว่าความต้องการดังกล่าว มันจะส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นได้ และหากปริมาณการใช้ยังไม่สะท้อนความเป็นจริงตามราคา ราคาน้ำมันก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะสูงอย่างแน่นอน

คำถาม คือ แล้วราคาน้ำมันในประเทศไทยสะท้อนราคาที่แท้จริงหรือไม่ ?

ตอบ ได้อย่างเต็มปากเลยว่า ไม่ เนื่องจากรัฐฯให้การอุดหนุนส่วนต่างของราคาที่สูงขึ้น เพื่อที่จะ

         1. ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ใช้น้ำมัน ในราคาที่ถูกลง โดยอ้างว่าจะช่วยบรรเทาภาวะค่าใช้จ่ายของประชาชนในชาติ และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

          2. ผลได้ที่แอบแฝงอยู่ เบื้องหลังการกระทำดังกล่าวคือ การได้รับความนิยม พึ่งพอใจจากประชาชน อาจจะทำให้ได้รับเรื่องตั้งอีกในสมัยถัดไป เป็นต้น

         หากพิจารณาการที่รัฐฯเข้ามาแทรกแซงราคาน้ำมันดังกล่าว เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนไม่มีความคล้อยต่อสภาพความเป็นจริง ว่าราคาน้ำมันที่แท้จริงมันสูงขึ้น เนื่องมาจาก ราคาที่ประชาชนในประเทศเผชิญยังมีราคาที่ไม่สูงมากนัก ผลก็คือ ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันในประเทศไม่ลดลง (ตาม กฎของอุปสงค์และอุปทานแล้ว เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น เราจะบริโภคสินค้าดังกล่าวในปริมาณที่ลดลง แล้วอาจจะหันไปบริโภคสินค้าอื่นที่สามารถทดแทนสินค้าดังกล่าวได้) ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันในปริมาณที่สูงเช่นเดิม(เนื่องจากเราไม่ สามารถผลิตน้ำมันเองได้) โดยจ่ายราคาซื้อเท่ากับราคาตลาดโลก ลองนึกดูน่ะครับว่า มันจะมีมูลค่ามากขนาดไหน เพื่อจะมาสนองตอบต่อความต้องการจอมปลอมดังกล่าว

         แล้วเงินที่ใช้ในการแทรกแซงราคาน้ำมัน ก็เป็นเงินจากผู้บริโภคทั้งสิ้น เพื่อนำมาอุดหนุนส่วนต่างตรงนี้ เราลองนึกดูน่ะครับว่า หากราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวนขึ้นลงทุกวัน ส่วนที่รัฐฯต้องจ่ายเพื่อแทรกแซงราคาน้ำมันดังกล่าวจะมีมูลค่ามากแค่ไหน  แล้วภาระตรงจุดนี้ก็ไม่ได้ตกไปกลับใคร ก็จะกลับมาสู่ประชาชนทุกคนในอนาคต

         ผมไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของรัฐฯ แต่การที่รัฐเข้าไปแทรกแซงการทำงานของตลาด ต้องมีขีดจำกัดทางด้านเวลา ว่าจะอุดหนุนนานแค่ไหน หากว่ายิ่งอุดหนุนมาก ภาระแก่ประชาชนที่ต้องแบกรับก็ย่อมมากด้วย

         แล้วภาระที่ประชาชนต้องแบกรับ จากการเข้าไปแทรกแซงราคาน้ำมันของรัฐบาล คือ

          1. ประชาชนต้องใช้น้ำมันในราคาที่สูง หากราคาน้ำมันในอนาคตเกิดการปรับตัวลดลง เนื่องจาก ต้องนำส่วนต่างของราคาดังกล่าวมาชดเชยกับงบประมาณที่รัฐฯเข้าไปแทรกแซงก่อน หน้านี้

          2. ประชาชนขาดการปรับตัว การที่รัฐฯเข้ามาแทรกแซงเช่นนี้ จะทำให้ผู้ผลิตไม่รู้สึกว่าต้องปรับปรุงกิจการอย่างไร เพราะรัฐฯยังให้การช่วยเหลืออยู่ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ประเทศก็ไม่มีการพัฒนาเช่นกัน

          3. หากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แล้วรัฐฯยังทำการอุดหนุนอยู่ ประเทศก็จะสูญเสียโอกาสทางความเจริญ แทนที่จะนำเงินหรืองบประมาณที่ใช้ในการอุดหนุนดังกล่าวไปพัฒนาระบบขนส่งมวล ชน ให้ประชาชนหันมาใช้บริการมากขึ้น สร้างระบบรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมเชื่อมต่อจากแหล่งที่อยู่อาศัยกับใจกลางเมือง มันน่าจะดีกว่า เป็นต้น

     จากการที่ได้อธิบายดังกล่าวข้างต้น ของขวัญที่ประชาชนชาวไทยอยากเห็นในช่วงวันปีใหม่ไทย ก็อาจเป็นไปไม่ได้ เพราะประเทศของเรารัฐยังเข้าไปแทรกแซงราคาน้ำมันอยู่  และมันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาด้านพลังงานทดแทนของประเทศไม่มี ผลอย่างจริงจัง

          ดังนั้นความหวังของคนไทย ที่ต้องการให้ราคาน้ำมันลดลงนั้น เห็นท่าว่าจะเป็นไปได้ยาก และมีแนวโน้วจะสูงขึ้นอีกด้วย				
3 เมษายน 2551 19:25 น.

ประวัติ แม่สาย

ลุงแทน

อำเภอแม่สายนั้น เดิมเป็นที่ตั้งของเมื่อง "เวียงศรีทวง" เป็นเมืองของพวกลวะ หรือลั๊วะ เป็นเมืองขึ้นเมืองหนึ่งของอาณาจักร "โยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน" (อำเภอเชียงแสนในปัจจุบัน) อันเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสนนั้น สร้างโดยปฐมกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าสิงหนวัติราช ก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติเมืองเวียงศรีทวง---เวียงพาน---เวียงพานคำ จนถึงเวียงพางคำในปัจจุบัน กะกล่าวถึงประวัติเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน พอสังเขป

          เมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน (เมืองเวียงพัธุสิงหนวัตินคร) นครโยนกไชยบุรีศรีช้างแสนนั้น เป็นเมืองโบราณตามตำนานดอยตุงกล่าวไว้ว่า นครนี้สร้างขึ้นสมัยก่อนพุทธกาล แต่ก่อนเคยเป็นอาณาจักร "สุวรรณโคมคำ" แต่โบราณกาล และเปลี่ยนแปลงมาเป็นอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน เหตุที่เรียกชื่ออย่างนี้เพราะว่า สร้างนครขึ้นโดยอนุภาพแห่งพญาธุราคราช และพระเจ้าสิงหนวัติราช ซึ่งตรงกับตำนานสิงหนวัติที่เขียนไว้ว่า
         ".....นครทั้งมวลตั้งแต่ปฐมมูล สิงหนวัติกุมาร มาแต่เมืองนครราชคฤห์ หลวงไทยเทศ มาตั้งให้เป็นเมืองพันธุสิงหนวัตินคร......ครั้นต่อมา ก็กลายเป็นเมือง "โยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน... กล่าวตำนานเมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน ก็สิ้นห้องหนึ่งแต่เท่านี้ก่อนแล....."

 ด่านพรมแดนสมัยอดีต

          สามเณรน้อยได้ยินคำพระยาขอมดำก็นึกโกรธในใจ ออกจากคุ้มพระยาขอมดำเดินไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขึ้นสู่ดอยกู่แก้ว กราบพระธาตุ (คาดว่าเป็นพระธาตุกู่เต้าในปัจจุบัน) แล้วยกบาตรข้าวถวายแล้วอธิษฐานขอให้ตนตายใน 7 วันข้างหน้า แล้วไปเกิดในท้องของเทวีแห่งผู้เป็นแก่บ้านเวียงศรีทวง พออายุได้ 16 ปี ขอให้ปราบพระยาขอมดำตนนี้ได้ด้วยเทอญ เนื่องจากพระยาขอมดำผู้นี้มิรู้จักคุณของพระรัตนตรัย อธิฐานเสร็จแล้วสามเณรน้ยก็ลงมาตีนดอยกู่แก้ว นั่งอยู่ใต้ต้นไม้โดยไม่กินน้ำกินข้าว 7 วันก็ถึงแก่ความตาย แล้วไปปฏิสนธิในท้องของมเหสีพระองค์พัง

กำเนิดพระพรหมกุมาร

        ครั้นมเหสีแห่งพระองค์พัง ตั้งครรภ์ได้ 10 เดือนก็ประสูตได้ลูกชายรูปร่างงดงามคนหนึ่ง ได้ชื่อว่า "พระพรหมกุมาร" ดังความว่า

         ".....ถึงศักราช 283 ตัวปีกาบไส้ เดิน 4 แรม 6 ค่ำ วันอาทิตย์....นางก็ได้ประสูติลูกชายคนหนึ่ง เกิดมามีวรรณเนื้อตนอันหมดจด.....เบิกบายนามกรเอานิมิตรอันงามเหมือนดั่ง พรหมลงมาเกิดนั้น จึงใส่ชื่อว่า พรหมกุมารนั้นแล....."

          พระพรหมกุมาร นั้นเมื่ออายุได้เพียง 7 ขวบ ก็เป็นผู้ที่สนใจในศาสตราวุธทั้งหลาย ครั้นอายุได้ 13 ปีก็มีบุญวาสนาจับได้ช้างเผือกได้ 1 ตัว ที่แม่น้ำ แต่ช้างเผือกไม่ยอมขึ้นฝั่งจึงให้คนมาบอกพระองค์พังผู้เป็นบิดา พระองค์พังให้หมอดูทำนายทายทัก หมอดูก็ให้เอาทองคำมาตีเป็นพานทองแห่นำหน้าช้าง ช้างจึงจะขึ้นจากน้ำ เมื่อพานทองมาแล้วก็ตีพานทองคำลูกนี้น ช้างก็ขึ้นมาจากน้ำ ช้างตัวนั้นจึงได้ชื่อว่า พานคำ ดังว่า

"..... ครั้นไปถึงแล้วก็ตีต่อยยัง พานคำ ลูกนั้น ส่วนว่าช้างเผือกตัวนั้นได้ยินเสียงพานคำแล้วก็ออกจากแม่น้ำของ ด้วยสวัสดีแล.....ช้างตัวนั้นก็ให้นามชื่อว่า ช้างพานคำนั้นแล....."

         ครั้นได้ช้างมงคลมาแล้วก็เลี้ยงดูเป็นอย่างดี เครื่องใช้ต่าง ๆ ของช้างต่างทำด้วยทองคำทั้งสิ้น กาลนั้นพระพรหมกุมารได้ส่งคนไปยังโยนกนครฯ เพื่อคอยสดับตรับฟังข่าวร้าย ข่าวดีแห่งพระยาขอมมิได้ขาด ส่วนพระองค์พังก็สั่งให้คนปิดคูเมือง แล้วนำน้ำเข้าคูเมือง โดยจัดทำประตูไว้สำหรับปิด-เปิดน้ำ แล้วก็ให้ชื่อว่า "เวียงพาน" .....ครั้งนั้น แก่บ้านศรีทวงตนพ่อก็ให้คนทั้งหลายตึกคูเวียงให้ดีแล้ว ก็แปงน้ำมาใส่ให้เต็มคูเวียง แล้วก็แปงประตูหับไขให้ดีแล้ว ก็ให้ชื่อว่า เวียงพาน แต่นั้นมา

เมืองเวียงพานคำ

          เมื่อพระพรหมกุมาร อายุได้ 16 ปี ก็หยุดส่งส่วยแก่พระยาขอมดำ พระยาขอมดำเห็นว่าเวียงศรีทวงหยุดส่งส่วยมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ก็โกรธ จึงรวบรวมลี้พลยกทัพมาปราบ พระหรหมกุมารก็จัดทัพเข้าต่อสู้ โดยเสด็จขึ้นขี่หลังช้างเผือกพานคำ มีหมอควาญถือพานคำตีนำหน้า ยกพลอกกจากเวียงพานคำ ดังตำนานบันทึกไว้ว่า

         ".....ครั้นได้คนหาญมาแล้วก็ขัดสีชัย อันกล้า มีมือถือธนูกับแล่งปืน... มีหมอควาญขี่พร้อมพระ ถือพานคำตีนำหน้ายกพลออกจาก เวียงพานคำ....."

         พระยาขอมดำสู้ไม่ได้จึงหนีกลับเข้าเมืองปิดประตูเมืองทุกแห่ง พระพรหมกุมารได้ตามมาถึงประตูเมือง แล้วไสช้างแทงประตูเมืองทะลุ ขับไล่พระยาขอมออกจากเมืองโยนกนครฯ รวมระยะเวลาที่พระยาขอมดำครองโยนกนครได้ 19 ปี หลังจากนั้นพระพรหมกุมาร ก็ได้อัญเชิญพระองค์พังขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้าง แสน

        ส่วนช้างพานคำนั้น ก็ได้หนีออกจากเมืองไปกลายร่างเป็นงูตามเดิม เข้าสู่ดอยอันตั้งอยู่กลางทุ่ง ที่นั้นจึงได้ชื่อว่า "ดอยช้างงู" (คาดว่าเป็นดอยสะโง้ในปัจจุบัน) เมื่อพระองค์พังได้เป็นกษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งให้พระพรหมกุมารเป็นอุปราช แต่พระพรหมกุมารไม่รับ ยกให้ทุกขิตผู้พี่เป็นอุปราชแทน ต่อมาพระองค์พังได้สู่ขอเอานางแก้วสุภา ลูกพระยาเรืองแก้ว เวียงไชยนารายณ์ มาอภิเษกให้กับพระพรหมกุมาร

          เมื่อพระพรหมกุมารใด้อภิเษกแล้วก็ขออนุญาตพระองค์พังเสด็จไปตั้งเมืองอยู่ ที่ไชยปราการ (คาดว่าเป็นอ.เวียงชัย ในปัจจุบัน) อยู่ห่างจากเวียงโยนกนครฯ ชั่วระยะเดินทาง 1 วัน ตั้งแต่นั้นมา เวียงโยนกนครฯ เวียงไชยนารายณ์ เวียงพานคำ ก็เป็นเมืองพี่เมืองน้องสืบกันมาดังว่า

        "..... ลุกแต่เวียงโยนกนครหลวงไปหาเวียงไชยปราการ นั้นไกลกันคืนทางหนึ่ง และในเวียงลูกนี้คือวา เวียงโยนกนครหลวงหนึ่ง เวียงไชยนารายณ์หนึ่ง เวียงไชยปราการหนึ่ง เวียงบ้านพานคำแคว้นซ้ายหนึ่ง ที่ตั้งอยู่หนกลาง และนาติดกัน พ่อแม่ไก่ไล่ล่าถึงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวแล....."

         เมื่อวิเคราะห์ดูจากบันทึกในตำนานสิงหนวัติแล้ว เชื่อได้ว่าเมืองแม่สายในปัจจุบันนี้ แต่เดิมคือ "เมืองเวียงศรีทวง" หรือ "เวียงสี่ตวง" ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า "เวียงพานคำ" ตามขื่อของช้างที่พระพรหมกุมารใช้เป็นพาหนะในการออกสู้รบกับพระยาขอมจนได้ รับชัยชนะ และในปัจจุบันตัวเมืองแม่สาย รวมทั้งอาคารที่ว่าการอำเภอแม่สายนั้น ตั้งอยู่ที่ ต.เวียงพางคำ ซึ่งคาดว่าเพื้ยนมาจาก "เวียงพานคำ" นั่นเอง นอกจากนี้ในพื้นที่หมู่ 3 ต.เวียงพางคำ ยังมีบ้านเวียงพาน และวัดเวียงพาน ตั้งอยู่อีกด้วย อนึ่ง ตัวคูเมืองเดิมนั้นมีให้พบเห็นอยู่ทั่วไปในเขตชุมชนเมืองแม่สาย และยังคงมีประโยชน์ในการรับน้ำที่ไหลบ่ามาจากเทือกเขาด้านตะวันตกมิให้ไหล เข้ามาท่วมบริเวณตัวเมืองอีกด้วย ประกอบกับในตำนานยังได้กล่าวย้ำถึงสถานที่ตั้งของเมือง "เวียงสี่ตวง" ว่าอยู่ทิศตะวัตตกเฉียงเหนือของเวียงโยนกนครฯ (อ.เชียงแสนในปัจจุบัน) ริมแม่น้ำใส ซึ่งก็คือแม่น้ำสาย ในปัจจุบันนั่นเอง

จากเวียงศรีทวง - เวียงพาน - เวียงพานคำ สู่เวียงพางคำ

         ครั้นพระองค์เพียง กษัตริย์เมืองโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน ขึ้นเสวยราชสมบัติศักราชได้ 259 ตัวปีกัดไส้ สวรรคตลง "พระองค์พัง" จึงขึ้นครองเมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสนเมื่ออายุได้ 18 ปี ต่อมาได้มีพระขอมดำ เจ้าเมืองอุโมงค์เสลานคร ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโยนกนครฯ เห็นว่าพระองค์พังยังเยาว์ จึงมาตีแล้วขับไล่พระองค์พังออกจากเมืองโยนกนครฯ แล้วตั้งตนเป็นกษัติรย์แทน แล้วขับพระองค์พังไปเป็นแก่บ้าน ตั้งอยู่ที่เวียงศรีทวง ดังตำนานกล่าวว่า

          ".....พระยาขอมดำตนนั้นก็ยกเอากำลังมาแสนหนึ่ง แล้วก็มาฟื้นลุกชิงเอาเมืองที่นี้ เดือน 5 แรมค่ำหนึ่ง วันอาทิตย์.....พระองค์เจ้ามีใจอันบ่กล้าแข็ง ก็ถวายเมืองให้แก่พระยาขอมดำ.....ครั้นมันได้เมืองแล้ว มันก็ขับพระองค์พัง.....ส่วนพระยาขอมตนนั้นก็เป็นกษัตริย์เสวยเมืองโยนกนคร บุรีศรีช้างแสนที่นั้นแล....."

         ".....แล้วมันก็ขับพระองค์พังเจ้าไปเป็นแก่บ้าน ตั้งอยู่เวียงลวะศรีทวง ริมหนตะวันตกเฉียงเหนือ ริมแม่น้ำใส (แม่น้ำสาย) ภายตะวันออกเฉียงใต้ธาตุเจ้าถ้ำแก้วที่นั้น....."          สาเหตุที่เรียกว่า "เวียงศรีทวง" เนื่องจากเป็นเมืองของลวะ ขึ้นอยู่กับเมืองโยนกฯ จึงต้องส่งส่วยให้ปีละ "สี่ตวงหมากพิน" (หมากพิน=ผลมะตูม) ดังตำนานกล่าวว่า

         ".....เหตุใดแลว่า เวียงศรีทวง นั้นจา...ยังมีขุนลวะผู้หนึ่งเป็นลูกปู่เจ้าลาวจก เป็นแคว้นดอยธุงนั้น (ดอยตุง) ผู้พี่ชื่อลวะกุมโภนั้นมาตั้งอยู่ที่นั้น แล้วส่วยคำแก่พระยาอุชุตราช กษัตริย์เจ้าของเวียงโยนกนครที่นั่นแล ปีละสี่ทวงหมากพินหน่วยน้อยจึงได้ชื่อว่า เวียงศรีทวงด้วยเหตุอันนั้นแล....."


ภาพถ่ายจากบนดอยเวาเมื่อในอดีต

เมืองเวียงพาน

         พระองค์พังและมเหสี ถูกพระยาขอมดำขับออกจากเมือง มาเป็นแก่บ้านที่ "เวียงศรีทวง" ต้องส่งส่วยให้ปีละสี่ตวงหมากพิน อยู่ได้ 1 ปี มเหสีก็ให้กำเนิดบุตร 1 คน คือทุกขิตกุมาร พระองค์พังปกครองเวียงศรีทวง ได้ 3 ปีก็เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น อันเป็นที่มาของการเปลี่ยนชื่อเมือง จากเวียงศรีทวงเป็น "เวียงพาน" กล่าวคือ

         ยังมีสามเณรชาวเวียงศรีทวงคนหนึ่งเดินทางไปกราบไหว้พระธาตุแล้วไปพักอาศัย อยู่ที่อารามหลังหนึ่งในโยนกนคร ครั้นรุ่งเช้าก็ออกเดินบิณฑบาตรไปถึงคุ้มน้อยของพระยาขอมดำ ก็เข้าไปขอบิณฑบาตร พระยาขอมดำได้ถามบ่าวไพร่ว่า เป็นสามเณรชาวเวียงศรีทวงก็โกรธ ร้องว่า "ลูกข้าส่วยพลอยเข้ามาคุ้มพระองค์ กูดังลือจา สูอย่าได้เอาข้าวกูใส่บาตรให้มันนะเนอ"				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงลุงแทน