24 พฤศจิกายน 2550 10:45 น.

ประเพณีลอยกรพทง

ลุงแทน

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณของไทย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏ กล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐาน ว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา ในสมัยสุโขทัย นางนพมาศพระสนมของพระร่วงได้คิดทำกระทงถวายเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล  
 

 
           พระร่วงเจ้าทรงพอพระราชหฤทัยกระทงดอกบัวของนางนพมาศมาก จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และปฏิบัติสืบต่อกันมา จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุนี้ กระทงรูปดอกบัวจึงปรากฏมาจนทุกวันนี้ แต่เปลี่ยนชื่อเรียกว่า "ลอยกระทงประทีป" ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงตัดพิธีต่าง ๆ ที่เห็นว่าสิ้นเปลืองออก ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้อีก ปัจจุบันนี้ การลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย แต่พิธีของชาวบ้านยังทำกันอยู่เป็นประจำตลอดมา				
22 พฤศจิกายน 2550 15:48 น.

อัลเบิร์ต ไอสไตน์ กล่าวถึงพระพุทธศาสนาก่อนเสียชีวิต

ลุงแทน

.................อัลเบิร์ต ไอสไตน์ กล่าวถึงพระพุทธศาสนาก่อนเสียชีวิต........... 

มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของเขาชื่อเรื่อง " The Human Side " ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้เป็นปริศนาแห่งโลกอนาคตว่า 

The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend personal God and avoid dogma and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things natural and spiritual as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism. (Albert Einstein) 

"ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ 
....ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา" 

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ 
นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฏีสัมพัทธภาพ 

คำพูดของไอสไตล์นั้นมีความนัยที่สำคัญซ่อนอยู่และรอคอยการค้นพบ และทฤษฎีเอกภาพหรือทฤษฎีสรรพสิ่งที่ต้องการค้นหานั้น ที่จริงพระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จก่อนหน้านั้น 2500 ปี 

[1954, from Albert Einstein:The Human Side, edited by Helen Dukas and Banesh Hoffman, Princeton University Press] 
http://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Einstein 
http://www.mlahanas.de/Privat/quotations.htm http://members.shaw.ca/sanuja/buddhismquorts.html 



พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งกฎธรรมชาติว่า 

“ สัตว์ทุกชีวิตเคยเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน(1) ผู้ที่ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่กันมาก่อนหาได้ยาก(2) บางชาติเกิดเป็นเทพ(เทวดา+พรหม) บางชาติเป็นมนุษย์ บางชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางชาติเกิดเป็นเปรต/อสุรกาย บางชาติต้องตกนรก ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ตามอำนาจบุญและบาปที่ตนเองได้ทำไว้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ไม่มีคำว่าโชคหรือบังเอิญ ทุกอย่างเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของเราในอดีตทั้งสิ้น(3) 

......อ้างอิง...ดูรายละเอียดใน พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงการราชิวิทยาลัย (เล่มที่ / หน้าที่ ) 
1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๓ 
2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๒๗ 
3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๕๐-๓๖๕				
22 พฤศจิกายน 2550 15:36 น.

ภาวนาด้วยใจ

ลุงแทน

.................สี่ขั้นตอนของกระบวนการเริ่มต้นใหม่.................... 

1. รดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งดอกไม้ 

นี้คือโอกาสที่จะบอกเล่าสิ่งที่เราชื่นชมในผู้อื่น เราอาจระบุถึงเหตุการณ์ อันเฉพาะเจาะจง ที่ผู้อื่นได้เคยกล่าวหรือทำบางสิ่งที่ทำให้เราพอใจ นี้เป็นโอกาส ให้ดวงตะวันฉายลงบนเมล็ดพันธุ์แห่งพละกำลังของผู้นั้น เสริมสร้างสังฆะ และให้กำลังใจเธอหรือเขาสำหรับความเจริญงอกงาม 

2. บอกเล่าความทุกข์โศกเสียใจ 
เราอาจจะระบุถึงการกระทำ คำพูด หรือความคิดของเรา ที่ยังไม่มีโอกาสกล่าวขอโทษ 

3. แสดงความเจ็บปวด 
เราอาจจะร่วมแบ่งปันถึงความรู้สึกเจ็บปวด จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติท่านอื่น เนื่องจากการกระทำ คำพูด และความคิดของเธอหรือเขา การที่จะแสดงความเจ็บปวด เราควรเริ่มต้นด้วยการรดน้ำเมล็ดพันธุแห่งดอกไม้เสียก่อน โดยบอกเล่าด้านดีของเขาสองอย่าง ซึ่งเราสังเกตเห็นอย่างซื่อตรง 
การแสดงความเจ็บปวดนั้น ส่วนมากจะกระทำระหว่างบุคคลมากกว่าในกล่ม คุณอาจจะเอ่ยขอบุคคลที่สาม ซึ่งคุณทั้งสองไว้วางใจและเคารพมาอยู่ด้วย หากปรารถนาเช่นนั้น 

4. บอกเล่าความทุกข์ที่ยาวนานและขอความช่วยเหลือ 
ในอดีตเราแต่ละคนต่างก็มีช่วงเวลาที่ยุ่งยากและเจ็บปวด ซึ่งได้มีผลมาสู่ปัจจุบัน เมื่อเราบอกเล่าเรื่องนี้ เพื่อนจะเข้าใจเราได้ดีมากขึ้น และให้ความช่วยเหลือตามที่เราต้องการอย่างแท้จริง 

การฝึกการเริ่มต้นใหม่นี้ ช่วยให้เราพัฒนาคำพูดอันเมตตา และพัฒนาการรับฟังด้วยความกรุณาการเริ่มต้นใหม่เป็นการฝึก เพื่อตระหนักรู้ และชื่นชมองค์ประกอบด้านบวกภายในสังฆะของเรา ตัวอย่างเช่น เราอาจจะสังเกตเห็นว่าเพื่อนร่วมห้องของเรานั้น ใจกว้าง ในการร่วมแบ่งปันบอกเล่าเรื่องส่วนตัว และเพื่อนอีกคนก็ดูแล ทะนุถนอม บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์นี้อย่างดี การตระหนักถึงด้านดีของผู้อื่น ทำให้เรามองเห็นด้านดีของเราเช่นเดียวกัน 
พร้อมด้วยด้านดีเหล่านี้ เราแต่ละคนก็มีด้านที่อ่อนแอด้วย เช่น การพูดถึงความโกรธหรือความรับผิดๆ ของเรา เมื่อเราฝึก "รดน้ำเมล็ดพันธุ์ดอกไม้" เราช่วยพัฒนาส่วนดีของกันและกันและในขณะเดียวกัน เราก็ช่วยผ่อนเบาความทุกข์ของอีกฝ่ายหนึ่งเหมือนเช่น เมื่อเรา "รดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งดอกไม้" ในสวนด้วยความรักและความเมตตากรุณา เราได้บรรเทาเมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธ ความอิจฉาริษยา และความรับรู้ผิดๆ ให้เบาบางลงไปด้วย 
เราสามารถฝึกเริ่มต้นใหม่ได้ทุกวัน ด้วยการแสดงออกถึงความชื่นชมของเราต่อผู้เข้าร่วมปฎิบัติ ท่านอื่น และขอโทษทันทีที่เราทำ หรือพูดบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้เขาเจ็บปวด เราควรจะบอกกล่าวอย่างสุภาพต่อผู้อื่น ในยามที่เรารู้สึกเจ็บปวด เช่นกัน เราควรที่จะให้คนอื่นรู้ว่าสุขภาพ และความสุขของสังฆะชุมชนทั้งหมดนั้น ขึ้นอยู่กับความสมานฉันท์ ความสุขสงบ สันติ และความเบิกบานของทุกๆ คนในสังฆะ				
22 พฤศจิกายน 2550 15:10 น.

สุขทุกข์ .... อยู่ที่ใจ

ลุงแทน

ทุกข์หรือสุขอยู่ที่ใจ 

คนที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนมีทุกข์ แตกต่างกันไป
แต่จะมีสักกี่คนที่นำมาคิดพิจารณาถึงรากเง่าที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดทุกข์นั้น ที่แย่ก็คือสร้างเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นอยู่ตลอดเวลา ร้ายไปกว่านั้นยังเที่ยวชักชวนคนอื่นมาทำสิ่งนั้น (พวกยุยงปลุกระดมให้ขัดแย้งแตกแยกชอบใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา)คือมาร่วมทุกข์กับเขาด้วย (คนประเภทเดียวกัน)



สิ่งต่างๆในโลกนี้เมื่อมีเหตุก็มีผลตามมา และผลต่างๆ 
ก็เพราะมีเหตุนั้นๆทำให้เกิด 



ผู้มีสติปัญญาเมื่อเห็นเหตุย่อมสามารถหยั่งรู้ถึงผลที่จะ
ตามมาได้ และเมื่อเห็นผลที่ปรากฎอยู่ย่อมสามารถ
สาวกลับไปถึงสาเหตุที่มาได้ว่าเกิดจากอะไร


เมื่อเกิดทุกข์(ผล)จงสงบนิ่งพิจารณาด้วยสติปัญญาถึง
ที่มา(เหตุ)อย่าอคติอย่าโทษผู้อื่น เพราะเกือบทุกเรื่อง
เกิดจากตัวเราเอง

ดีชั่วอยู่ที่ตัวเรา >กรรมคือการกระทำ > ทำอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น > กฎแห่งกรรมก็คือ > เหตุ > ผล 

สร้างกรรมก็คือ สร้างเหตุ > ผลกรรมก็คือ สิ่งที่ได้จากการกระทำนั้นๆ

เชื่อกรรม ก็คือ เชื่อเหตุและผล				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟลุงแทน
Lovings  ลุงแทน เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงลุงแทน