14 มกราคม 2551 21:27 น.
ลุงแทน
พระราชประวัติ พระพี่นางฯ
พระราชประวัติ พระพี่นางฯ
ข่าวพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระพี่นาง
สมเด็จพระพี่นางฯสิ้นพระชนม์ ประชาชนรํ่าไห้ โศกเศร้าทั่วไทย
พระราชพิธีพระศพ สมเด็จพระพี่นางฯ
ไทยอาดูร พระพี่นางฯ สิ้นพระชนม์
เปิดถวายสักการะพระศพ 9.00-17.00 น.
ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ส่งสาส์นไว้อาลัย แด่พระพี่นางฯ
เปิดสักการะพระพี่นางฯ เริ่ม 10 ม.ค.วันแรก
"เจ้าชายจิกมี" ร่วมส่งพระราชสาส์นไว้อาลัย แด่พระพี่นางฯ
พระเทพฯเสด็จพระราชทานฉันเช้า
ทูตหลายประเทศร่วมลงนามฯถวายสักการะพระพี่นางฯ
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ณ สถานพยาบาล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระนามในพระสูติบัตรเมื่อแรกประสูติ คือ เมย์ ตามเดือนที่ประสูติ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงมีพระอนุชา ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระภัทรมหาราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และ ในพ.ศ. ๒๔๗๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ครั้นเมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมราชประเพณีเป็นพระองค์แรก
ในรัชกาลทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
หลังจากที่ประสูติได้ไม่นานนัก สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายจากกรุงลอนดอนไปประทับอยู่ที่เมืองเซาท์บอน ทางฝั่งตะวันออก และหลังจากนั้นไปประทับที่เมืองบอสคัม ทางชายฝั่งทะเลด้านใต้ของประเทศอังกฤษ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ จนถึงเดือน ต.ค. พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จกลับประเทศไทย
เมื่อเสด็จถึงประเทศไทย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้พระราชทานพระตำหนักใหญ่ของวังสระปทุมเป็นที่ประทับ พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุล ซึ่งเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระบรมราชชนนี ระหว่างที่ทรงศึกษาวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้ถวายการอภิบาล
ต่อมาพ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ตามเสด็จ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีไปประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส
เมื่อแรกประสูติ ดำรงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา มหิดล (พระนามพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา โดยคณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
การศึกษา
ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จพระบรมราชชนก เสด็จกลับประเทศไทย เพื่อทรงร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนั้น สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ทรงนำพระธิดาและพระโอรสพระองค์ แรกไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทรงฝากให้อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กโซเลย์ (Champ Soleil) หลายเดือน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงทรงเริ่มรับสั่งภาษาฝรั่งเศส
ในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงนำครอบครัวไปประทับที่เมืองบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเริ่มศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนพาร์ค (Park School) ใน พ.ศ. ๒๔๗๑
เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด (Harvard) จึงได้ทรงนำครอบครัวเสด็จกลับประเทศไทย และประทับ ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนราชินี และทรงศึกษาอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายหลังที่สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๖
สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้นำพระโอรส-พระธิดาทั้ง ๓ พระองค์ไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เข้าศึกษาในโซเลย์อีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา ๒ เดือน แล้วจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาชื่อเมียร์มองต์ (Miremont) การศึกษาที่เมียร์มองต์นั้นครูมีการอ่านเรื่องสั้น ๆ ให้ฟัง นักเรียนจะต้องเขียนเรื่องที่ได้ฟังส่งให้ครูตรวจ ในระยะแรกทรงเขียนได้เพียง ๑ บรรทัด จากเรื่องยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษที่ครูอ่าน ครั้งหนึ่งครูให้เขียนประโยคเกี่ยวกับ TAON (ตัวเหลือบ) ทรงเข้าพระทัยคิดว่าเป็น PAON (นกยูง) เพราะเสียงคล้ายกัน จึงทรงเขียนว่า “TAON เป็นนกที่สวยงาม” แต่อีกต่อมาประมาณ ๒ ปี ก็ทรงเขียนร่วมกับนักเรียนชาวสวิตได้อย่างดี จนจบชั้นประถมศึกษา
พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติ และรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์สมบัติ หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงนำพระโอรส-พระธิดา ไปประทับที่บ้านซึ่งพระราชทานนามว่า วิลล่าวัฒนา (Villa Vadhana) เมืองปุยยี ใกล้กับโลซาน
พ.ศ. ๒๔๗๘ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรี ชื่อ ?cole Sup?rieure de Jeunes Filles de la Ville de Lausanne ชั้นมัธยมศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์นับจาก ชั้น ๖ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ ทรงสามารถสอบเข้าชั้น ๕ ในระดับมัธยมศึกษาได้ ทรงเรียนภาษาเยอรมันและภาษาละตินด้วย พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงย้ายไปศึกษาต่อที่เจนีวา ในลักษณะของนักเรียนประจำที่ International School of Geneva ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดของระดับมัธยมศึกษาได้เยี่ยมเป็นที่ ๑ ของโรงเรียน และที่ ๓ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เสด็จเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี และได้รับ Dipl?me de Chimiste A เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ในระหว่างที่ทรงศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ได้ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ - ครุศาสตร์ Diplime de Sciences Sociales Podagogiques อันประกอบด้วยวิชาต่าง ๆ ในสาขาวิชาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา และจิตวิทยา แม้เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาเคมีแล้ว ก็ยังทรงศึกษาวิชาวรรณคดีและปรัชญาต่อไปอีกด้วยความสนพระหฤทัย
การทรงงาน
เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จนิวัติประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๙๓ สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงทราบดีว่าพระธิดาโปรดการเป็นครูมาแต่ทรงพระเยาว์ ได้รับสั่งแนะนำให้ทรงงานเป็นอาจารย์ จึงทรงรับงานเป็นอาจารย์พิเศษสอนภาฝรั่งเศสที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส วิชาอารยธรรมฝรั่งเศส และวิชาวรรณคดีฝรั่งเศส นิสิตที่ได้มีโอกาสเป็นศิษย์ด้วยล้วนปีติยินดีในพระกรุณาธิคุณยิ่งนัก หลายคนรำลึกได้ว่าในวิชาวรรณคดีฝรั่งเศสทรงสอนผลงานของ Victor Hugo นักประพันธ์เอกของโลก สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ ใน พ.ศ.๒๕๑๒ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขอรับพระราชทานพระกรุณาให้ทรงเป็นอาจารย
์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงรับงานสอนและงานบริหารโดยทรงเป็นหัวหน้าสาขาสอนวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส และผู้อำนวยการภาษาต่างประเทศ อันประกอบด้วยภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และรัสเซีย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงสอนวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสแก่นักศึกษาชั้นปีต่าง ๆ และทรงดูแลการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
นอกจากนี้ได้ทรงจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาตรีภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสจนสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม
ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติงานสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กราบทูลเชิญเป็นองค์บรรยายพิเศษตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เมื่อพระราชกิจด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จึงทรงลาออกจากตำแหน่งอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ก็ยังเสด็จเป็นองค์บรรยายพิเศษต่อไปอีก นอกจากนั้น ยังทรงรับเป็นองค์บรรยายพิเศษวิชาภาษาฝรั่งเศสในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกด้วย
ต่อมาเมื่อทรงทราบปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดห่างไกลและมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ก็ได้พระราชทานพระเมตตา เสด็จไปทรงสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสโดยประทับอยู่ในวิทยาเขตปัตตานี ดังเช่นอาจารย์อื่น ๆ ระหว่างที่ทรงงานสอน ได้ทรงร่วมกิจกรรมทางวิชาการหลายด้าน เช่น ทรงเป็นกรรมการสอบชิงทุน ก.พ. ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ทรงเป็นประธานออกข้อสอบภาษาฝรั่งเศสในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ หลังจากที่ปฏิบัติงานด้านการสอนมาจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ด้วยพระปรีชาญาณจากประสบการณ์ที่ทรงงานสอนภาษาฝรั่งเศสมาเป็นระยะเวลานาน จึงทรงตระหนักถึงปัญหาความต่อเนื่องในการเรียนภาษาฝรั่งเศสระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทรงริเริ่มก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปรับปรุงวิธีการสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๔ จากนั้นก็ทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์สมาคมฯ มาจน
ถึงปัจจุบัน สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้พระราชทานพระอนุเคราะห์แก่สมาคมฯ ในทุกทาง อาทิ ทรงสนับสนุนการพิมพ์วารสารของสมาคม เพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ พระราชทานพระนิพนธ์บทความลงวารสาร ทรงส่งเสริมให้สมาชิกครูได้เข้ารับการสัมมนา ดูงานและศึกษาต่อ เป็นต้น การเรียนการสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสและการวิจัยด้านภาษาฝรั่งเศส
ในประเทศไทยทั้งระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษาจึงเจริญรุดหน้าเป็นลำดับ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายพระราชทานความช่วยเหลือให้แก่ประเทศชาติ แบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ สัตว์เลี้ยง ฯลฯ นอกจากนี้ยังทรงพระอัจฉริยภาพในด้านการประพันธ์ พระนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง เช่น เวลาเป็นของมีค่า แม่เล่าให้ฟัง จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ และ มหามงกุฎราชสันตติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงสำเร็จการศึกษา วิทยาศาสตร์ด้านวิชาเคมี ควบคู่กับวิชาการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา และ จิตวิทยา เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทย ได้ทรงรับคำกราบบังคมทูลเชิญจากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เพื่อให้ทรงบรรยายและเป็นพระอาจารย์ประจำสถาบันต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี
ระหว่างพุทธศักราช 2493-2501 เป็นพระอาจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส และวรรณคดีฝรั่งเศส
พุทธศักราช 2512 ทรงรับเป็นอาจารย์ประจำที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงสอนและทรงงานด้านการบริหารในหน้าที่หัวหน้าสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ป่น จีน และ รัสเซีย ทรงเป็นผู้ดูแลและจัดทำหลักสูตร ดูแลการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
พุทธศักราช 2516 ทรงจัดทำหลักสูตรปริญญาตรีสาขาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสสำเร็จ ด้วยการผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีให้เข้ากันอย่างเหมาะสม ทรงเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8 ปี จากนั้นจึงทรงขอเป็นอาจารย์พิเศษอย่างเดียวด้วยต้องทรงติดตามพระราชภารกิจ
ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้านหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
อย่างไรก็ตาม น้ำพระหฤทัยในความเป็นครูนั้นเปี่ยมล้นมิเหือดหาย ทรงรับเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ขอมาตลอด ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เชียงใหม่ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หลายรุ่น ด้วยประสบการณ์และพระปรีชาญาณในการสอนภาษาฝรั่งเศสเป็นเวลาอันยาวนาน
พุทธศักราช ๒๕๐๒ ทรงก่อตั้ง "สมาคมครูสอนภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย" เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ในการแก้ไขการสอนให้กับบรรดาครูทั้งหลาย
ทรงได้รับการถวายพระเกียรติจากรัฐบาลฝรั่งเศส ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญตราชั้นสูงสุด ด้านศิลปะและอักษรศาสตร์ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๒ สนพระทัยการศึกษาของเยาวชน ได้อุปถัมภ์โครงการ "โอลิมปิควิชาการ" เพื่อการแข่งขันและพัฒนาวิชาการวิทยาศาสตร์ในประเทศให้ก้าวทันสากล
ทรงสร้างสื่อการเรียนให้แก่เด็กเล็กในโรงเรียนชายแดน ที่มิได้มีโอกาสเรียนชั้นอนุบาล เพื่อสามารถอ่านเขียนทันเด็กที่เรียนล่วงหน้าไปก่อนเกณฑ์ และร่วมสร้างโรงเรียนในความดูแลของตำรวจตระเวนชายแดน ส่วนเด็กในกรุงเทพมหานครนั้น ทรงให้ความอนุเคราะห์เด็กเล็กในสลัมต่างๆ
แม้ว่าจะทรงงานการสอนมากมาย หากแต่พระกรณียกิจสำคัญที่ทรงปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่แรก คือ การสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยตามเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ นอกจากการพระราชทานสิ่งอำนวยความสะดวกเครื่องใช้ประจำวัน และยารักษาโรคจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่ตามเสด็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ยังโปรดส่งเสริมการเรียนการสอนของโรงเรียนท้องถิ่นต่าง ๆ ที่เสด็จถึงอีกด้วย
เมื่อทรงหยุดการสอน พระกรณียกิจส่วนใหญ่ จึงเป็นงานสังคมสงเคราะห์ ทั้งด้านการแพทย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม นอกจากช่วยโครงการแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พอ.สว. แล้ว มีมูลนิธิ กองทุน สมาคม ศูนย์สงเคราะห์ อีกจำนวนมากกว่า 30 รายการ ที่พระองค์ทรงมีภาระในการบริหาร เช่น มูลนิธิโรคไต มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ มูลนิธิขาเทียม มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม มูลนิธิโลกสีเขียว กองทุน "หมอเจ้าฟ้า" กองทุนการกุศล กว. กองทุนการกุศล "สมเด็จย่า" สมาคมปราบวัณโรคเชียงใหม่ สมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทย ศูนย์เด็กอ่อนวัยก่อนเรียน ณ ศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เป็นต้น
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงได้รับการอภิบาลให้มีพระจริยวัตรโปรดการอ่าน การศึกษามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ สั่งสมประสบการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี สิ่งแวดล้อม และทรงนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองตลอดเวลา
ทรงเป็นกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ทรงเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในที่ทรงกรมเป็นพระองค์แรกและพระองค์เดียวในรัชกาล และเป็นพระราชวงศ์ทรงกรมพระองค์เดียวในปัจจุบัน) เมื่อพระชนมายุครบ 72 พรรษา เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อทรงเสกสมรสกับ พันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ มีพระธิดาหนึ่งพระองค์ คือท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สมรสกับนายสินธู ศรสงคราม มีบุตร คือคุณจิทัศ ศรสงคราม)
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ให้กลับคืนดำรงพระอิสริยศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ทุกประการ
ต่อมา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงเสกสมรสอีกครั้งกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธารดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย และหม่อมระวี ไกยานนท์)
ด้วยความสนพระทัยในศาสตร์ทั้งหลาย จึงทรงเป็นทั้งเจ้าฟ้านักประพันธ์ และเจ้าฟ้านักวิชาการ มีหนังสือพระนิพนธ์จำนวนมาก ที่จัดพิมพ์ขึ้นให้ได้ศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเรื่อง แม่เล่าให้ฟัง หรือ ยุวกษัตริย์ มิใช่เป็นเรื่องประวัติบุคคลด้านเดียว หากแต่ให้ความเข้าใจทั้งประวัติศาสตร์ ประเพณี การเมือง อันเป็นวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งมีความสนุกสนานสอดแทรกไว้อย่างกลมกลืน หรือสารคดีข่าวเกี่ยวกับการเสด็จไปทัศนศึกษาในต่างถิ่น เป็นสิ่งที่ชาวไทยโชคดีที่ได้มีโอกาสเห็น เสมือนร่วมเดินทางไปกับพระองค์ด้วย โดยจะทรงพิถีพิถันให้จัดทำเป็นสารคดีท่องเที่ยวสั้นๆ ที่มากด้วยความรู้ นำเผยแพร่เกือบทุกครั้งทำให้ผู้ที่ไม่มีโอกาสไปถึง หูกว้างตากว้างไปด้วย
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๕๐ แม้ว่าคณะแพทย์ฯ ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และได้สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๐๒.๕๔ น. วันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๕๑ รวมพระชันษา ๘๔ ปี