17 กรกฎาคม 2551 23:00 น.
ลักษมณ์
ว.วชิรเมธี เขียน ความเป็นกลาง = ความเป็นก้าง (จากเนชั่นสุดสัปดาห์)
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2551 06:14 น.
ผู้จัดการออนไลน์ ท่าน ว.วชิรเมธี ชี้ทางสว่าง ระบุในทางพุทธ ความเป็นกลางทางการเมืองคือ การยืนอยู่ข้างธรรมะและความถูกต้อง มิใช่การอยู่เฉยๆ อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ เพราะการอยู่เฉยๆ นั้นจะนำประเทศไทยไปสู่หายนะ สงสัยระบบการศึกษายิ่งสอนยิ่งทำให้คน เชื่อง ส่วนพระสงฆ์ควรเป็นต้นแบบของการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง โดยต้อง ถ่ายทอดธรรม ให้กับนักการเมือง แต่ไม่เล่นการเมือง
นิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 หน้าที่ 54 ในคอลัมน์ธรรมาภิวัฒน์ ว.วชิรเมธี หรือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ได้เขียนบทความเรื่อง ความเป็นกลาง = ความเป็นก้าง อธิบาย เหตุผลในการวิจารณ์ทางการเมืองของท่านที่ส่งผลเสียต่อรัฐบาล
ทั้งนี้ ท่าน ว.วชิรเมธี อธิบายว่า ท่านไม่เห็นด้วยกับทัศนะของคนไทยส่วนใหญ่ที่ระบุว่า พระต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมืองด้วยการไม่พูดถึงการเมือง ไม่เล่นการเมือง และควรจะปล่อยวางเรื่องทางโลก มุ่งดับกิเลศอย่างเดียว โดยให้เหตุผลว่า ในทางพุทธศาสนา ความเป็นกลาง ก็คือ ความเป็นธรรม ธรรมะคือความถูกต้อง ... ดังนั้น ภาวะที่เป็นกลาง การวางตัวเป็นกลาง ก็คือ การวางตนอยู่กับธรรมและธรรมอยู่กับใคร เราก็ควรจะสังกัดอยู่ในฝ่ายนั้น การเป็นกลางจึงไม่ได้หมายถึงการไม่เลือกฝ่าย
นอกจากนี้ ว.วชิรเมธี ยังกล่าวด้วยว่า ความเป็นกลาง ที่คนส่วนใหญ่ รวมถึง นักวิชาการ สื่อมวชนอ้างถึงนั้นเกิดจากความไม่รู้ การอยู่เฉยๆ ไม่เรียกว่า การวางตนเป็นกลาง แต่ควรเรียกว่า วางตนเป็น ก้าง คือ คอยขวางไม่ให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นในสังคม ... น่าเป็นห่วงมากที่ในสังคมไทยของเราคิดกันตื้นๆ ว่า การวางตนเป็นกลาง คือ การอยู่เฉยๆ และก็คนกลุ่มใหญ่พยายามขยายแนวคิดนี้ออกไปจนทำท่าจะเห็นดีเห็นงามกันทั้งประเทศ
ระบบการศึกษาของคนไทยนี้มันผิดปกติตรงไหนหรือเปล่าที่เมื่อศึกษากันไปๆ ทำไมคนไทยถึงได้ เชื่อง มากขึ้นทุกที มหาวิทยาลัย , สื่อมวลชน, วัฒนธรรม ที่ทำให้คนมีความแกล้วกล้าอาจหาญในการที่จะเผชิญกับความอยุติธรรม, ความเลวร้าย, ความฟอนเฟะ, ความสามานย์ของชนชั้นนำ หรือ ของคนทั่วไป ซึ่งเต็มไปด้วยเล่ห์เพทุบายกลายเป็นจิ้งจอกของสังคม หายไปไหนกันหมด
บ้านเมืองที่มากไปด้วยคนที่วางตัวเป็นกลางด้วยการอยู่เฉยๆ นั้น ไม่ต่างอะไรกับการเปิดทางให้ประเทศเดินเข้าสู่ความหายนะอย่างถาวรด้วยความยินดี ความสงบสุขที่ปราศจากปัญญานั้น เป็นความสงบสุขของป่าช้ามากกว่าของอารยชน ความนิ่งที่เกิดจากพื้นฐาน คือ ความกลัวนั้นไม่ต่างอะไรกับความนิ่งของสิงโตหินตามวัด
ขณะเดียวกันบทความชิ้นดังกล่าวยังอ้างอิงถึงสมัยพุทธกาลด้วยว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักประชาธิปไตย นักสิทธิมนุษยชน โดยหักล้างคำสอนเรื่องพระพรหม เรื่องระบบวรรณะ นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังทรงแสดงธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเอาไว้มากมาย ทรงห้ามทัพ ทรงเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายกับสงครามระหว่างรัฐต่างๆ รวมถึงเสนอระบบเศรษฐกิจแบบ ทางสายกลาง ที่เน้นการบริโภคเพื่อความอยู่รอดมากกว่าการบริโภคเพื่อความมั่งคั่งอย่างไม่รู้จบด้วย
ดังนั้นคำกล่าวที่ว่าพระสงฆ์ไม่ควรจะยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยสิ้นเชิงนั้น ว.วชิรเมธี จึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะในความเป็นจริงแล้ว ตามคำสอนของพุทธศาสนา พระสงฆ์ควร ถ่ายทอดธรรม ให้กับนักการเมืองได้ แต่เล่นการเมืองไม่ได้และควรเป็นต้นแบบในการวางตนเป็นกลาง ด้วยการเลือกยืนอยู่ข้างธรรมะ ธรรมะอยู่ที่ไหน พระก็ควรอยู่ที่นั่น
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ว.วชิรเมธี (ภาพจาก www.tamdee.net)
นิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 กรกฎาคม 2551
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000082472
19 ธันวาคม 2549 19:12 น.
ลักษมณ์
รู้สึกเหมือนใจจะขาด
เมื่อรักและคิดถึงใครคนหนึ่งที่อยู่ไกลกัน
ก็เหมือนจะสัมผัสได้ถึงความงอกงามของความทุกข์ได้อย่างถึงที่สุดจนความรู้สึกนั้นสงบลง
**********************************
สุขมิใช่การยึด
ทุกข์เพราะไม่รู้วิธีจับ
โลกกำลังจะมืดดับลง
ท่ามกลางความสว่างที่กำลังจะอุบัติขึ้นอย่างโชติช่วง
หากแต่ความไม่รู้ยังคงบังเกิดขึ้นในใจ
ลองเลิกคิดอะไร แล้วทำใจหยุดนิ่ง
ทุกคำตอบจะเริ่มผุดขึ้นอย่างอัศจรรย์
ความสว่าง สะอาด สงบ แห่งดวงปัญญา
จะบังเกิดขึ้นในภายในใจด้วยลมหายใจเข้าออก
ลักษมณ์
นิพพาน จุดหมายปลายทางของสรรพชีวิต
1.การเดินทางของใจที่เที่ยงแท้
ในวัฏสงสารอันกว้างใหญ่ การเดินทางของดวงจิตในห้วงเวลาแห่งอนันตกาล ลมหายใจแรกของชีวิตประกาศกล้าศักดาการแสวงหา ตราบลมหายใจสุดท้ายประกาศชัยชนะสู่มาตุภูมิ ณ ที่เริ่มต้นจวบจนถึงอมตะนทีธรรม วิถีธารแห่งชีวิตน้อยใหญ่สถิตนิ่ง ณ ศูนย์กลางดวงฤทัย หมื่นแสนภพชาติ เติมเต็มมหาสมุทรแห่งบารมีธรรม
2.จาตุมหาราชิกา(สวรรค์ชั้นที่1)
อยู่ไกลจากพื้นโลก 42,000 โยชน์ เป็นที่ประทับของท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 คือ ท้าวธตรัฐมหาราช ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหกมหาราช ปกครองกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์มหาราช ปกครองเหล่านาคทั้งหลาย และ ท้าวเวสสุวรรณมหาราช ปกครองยักษ์
3.ดาวดึงส์(สวรรค์ชั้นที่2)
อยู่เหนือเขาพระสุเมรุ ปราสาทล้วนสำเร็จด้วยแก้วมณีอันเป็นทิพย์ แวดล้อมด้วยเทพนครมากมาย ท่ามกลางเป็นปราสาทไพชยนต์ รูปทรงโอฬาร เป็นที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ
4.ยามา(สวรรค์ชั้นที่3)
เป็นทิพยสถานที่ละเอียดขึ้นไปอีก และอยู่สูงกว่าดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นนี้ไม่ปรากฏแสงอาทิตย์และแสงจันทร์ เพราะยามาภูมินี้เป็นโลกสวรรค์ที่ตั้งอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์ เหล่าทวยเทพมีรัศมีในตัว
5.ดุสิต(สวรรค์ชั้นที่4)
เป็นที่สถิตย์ของเหล่าทวยเทพผู้มีความยินดีอยู่เป็นนิจ ตั้งอยู่ท่ามกลางนภากาศ มีปราสาทวิมานอยู่ 3 ชนิด คือ วิมานแก้ว วิมานทอง และ วิมานเงิน มีอุทยานทิพย์เป็นที่พักผ่อน สวรรค์ชั้นนี้ส่วนใหญ่เป็นที่เสวยบุญของเหล่าบัณฑิต นักปราชญ์ ผู้มีบุญบารมี เช่น พระโพธิสัตว์เจ้า หรือเทพบุตรพุทธธิดา และเหล่านักสร้างบารมีทั้งหลาย
6.นิมมานรดี(สวรรค์ชั้นที่5)
เป็นดินแดนสุขาวดีที่เสวยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ สามารถเนรมิตขึ้นได้เองตามความพอใจ เมื่อเทพองค์ใดจุติ ก็จะได้ยินถ้อยคำวิงวอนให้กลับมาเสวยสุขร่วมกันอีก
7.ปรนิมมิตวสวัตดี(สวรรค์ชั้นที่6)
เป็นเทวโลกชั้นสูงสุด เสวยความสุขอันเป็นทิพย์ เป็นยอดแห่งการเสวยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์
8.พรหมโลก(รูปภพ)
อยู่สูงขึ้นไปจากกามวจร สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น เทวดาที่สถิตย์อยู่ ณ ที่นี้สามารถเสวยสุขโดยไม่ต้องข้องเกี่ยวกับกามคุณเหมือนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ผู้เสวยสุขบนรูปภพนั้น เรียกว่า รูปพรหม เกิดจากการได้บรรลุรูปฌาณ เป็นที่ตั้งของรูปพรหม 16 ชั้น คือ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิต มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัพผลา อสัญญีสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และ อกนิฏฐพรหมโลก
9.อรูปพรหม(อรูปภพ)
มี 4 ชั้น คือ อรูปภพชั้นอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ แม้จะเป็นทิพยสถานที่ละเอียดและปราณีตมีแต่การเสวยสุขล้วนๆก็ตาม แต่ที่ได้กล่าวมาก็ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อหมดบุญ หมดอายุ ก็จะต้องจุติลงมาเกิดใหม่ตามกำลังบุญที่ทำไว้
10.พระนิพพาน
เป็นเป้าหมายอันสูงสุดของมวลมนุษยชาติ จะเข้าถึงได้ต้องทำสมาธิอย่างจริงจัง จนหมดกิเลสอาสวะ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ จึงจะเข้าสู่พระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมได้
( จากพระไตรปิฎก เรียบเรียงโดย พระมหาเสถียร สุวัณณฐิโต )
นิพพาน
จุดหมายปลายทางของสรรพชีวิต
เกิด แก่ เจ็บ ตาย คือเพื่อนสนิทของชีวิต เราทุกคนล้วนต้องประสพ แต่มิตรแท้เพียงหนึ่งเดียวที่ยากนักจะพบพานคือพระนิพพาน
ดนตรีเพื่อการทำสมาธิ
MEDITATION MUSIC
Nirvana
จำรัส เศวตาภรณ์
Chamras Saewataporn
Merry Buddha
and your everything