28 ธันวาคม 2549 11:10 น.
ฤกษ์ ชัยพฤกษ์
ท่านเคยพบเด็กมีอาการแบบนี้บ้างไหม
1 ปวดท้องมากเพราะกินน้ำอัดลมและขนมอบกรอบ
2 เบื่ออาหารทั่วไป แต่ชอบกินน้ำอัดลมและขนมอบกรอบ
(บางคนผอมซีด พบภาวะทุโภชนาการ)
3 อ้วน(บางคนเป็นเบาหวานด้วย) และกินลูกกวาดลูกอม
น้ำอัดลม และขนมอบกรอบเป็นประจำ
4 ฟันผุ เพราะชอบกินลูกกวาดลูกอม และน้ำอัดลม
5 อาการป่วยไข้ไม่สบายอื่น ๆ เพราะชอบกินขนมเจ้าปัญหาคือ
ลูกกวาดลูกอม น้ำอัดลม และขนมอบกรอบเหล่านี้
ขนมขบเคี้ยวประเภทปังกรอบ(Snack), ลูกกวาดลูกอม (Candy) และน้ำอัดลม (Soft dring )
เป็นขนมยอดนิยม (90%)ของเด็กไทยปัจจุบัน เฉพาะขนมขบเคี้ยวอย่างเดียว มีมูลค่าตลาดมากกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท
(พ.ศ. 2543 ) โดยมีเด็กและวัยรุ่นเป็นฐานใหญ่ของตลาด (70%) เมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเด็กและวัยรุ่น
การเปลี่ยนยี่ห้อสินค้าที่นิยมซื้อ จึงเกิดขึ้นได้ง่าย ผู้ผลิตจึงต้องโหมจัดกิจกรรมทางการตลาดรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการโฆษณา
ที่หวังให้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เทคนิคการโฆษณาชวนเชื่ออย่างเข้มข้นที่สินค้าเหล่านี้ใช้เป็นเครื่องมือ
สำคัญในการขายสินค้าแก่เด็กและเยาชน จึงเพิ่มอัตราการเสี่ยง ภาวะทุโภชนาการ (Mainutrition) แก่เด็ก ปลูกฝัง
ลีลาชีวิตที่เป็นภัยต่อสุขภาวะในระยะยาว และทำให้เด็กขาดโอกาศวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒณาเป็นผู้บริโภค
ที่ชาญฉลาด(Wise consumer) ในอนาคต
ขนมเจ้าปัญหาเหล่านี้องค์การอนามัยโลก(WHO)ยืนยันว่าเป็นอาหารทำลายสุขภาพ แม้จะไม่ใช่อาหารอันตรายกินแล้วตายทันที(ดังที่
อ้างกันว่า "ก็ผ่าน อย.แล้ว") แต่การบริโภคมากเกินไปจะทำลายสุขภาพหระชากรตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ และมีผลกระทบรุนแรงต่อระบบ
สุขภาวะของสังคมในระยะยาว เด็กและเยาชนเป็นตลาดใหญ่เป็นเป้าหมายสำคัญของอาหารทำลายสุขภาพเหล่านี้ การตลาดการโฆษณาที่
ขาดความรับผิดชอบ ขาดการควบคุมดูแล เป็นการเฉพาะ จะมุ่งสร้างอิทธิพลต่อพฤติการรมการซื้อบริโภคของเด็กและเยาชน ด้วยวิธีบ่อน
ทำลายวิจารณญาณและขัดขวางการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์การใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และการตัดสินใจซื้อจากคุณค่ามากกว่า
ภาพลักษณ์ด้วยโฆษณาหลอกเด็กที่เกินกำลังการควบคุมของพ่อแม่และโรงเรียน
ข้อเรียกร้อง 12 ประการ
เด็กไทยรู้ทัน
1 มีวิธีจัดการกับขนมเจ้าปัญหา
2 สามารถวิเคราะห์วิจารณ์โฆษณา
3 รู้จัออมทรัพย์ช่วยบิดามารดาประหยัด
พ่อแม่รู้ทัน
4 ปิดทีวีเช้าเสาร์อาทิตย์สร้างชีวิตใหม่
5 สอนลูกให้รู้วิธีใช้จ่ายเงินอย่างมีประโยชน์
6 สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังโฆษณาหลอกเด็ก
โรงเรียนรู้ทัน
7 สร้างโรงเรียนปลอดขนมเจ้าปัญหา
8 ไม่ยอมให้โฆษณาบุกเข้าโรงเรียน
9 สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กด้วยสื่อการศึกษาในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รัฐบาลรู้ทัน
10 มีกฏหมายควบคุมโฆษณาสินค้าเด็กโดยเฉพาะ
11 ส่งเสริมรายการโทรทัศน์ดี ๆ สำหรับเด็กและครอบครัวที่ปลอดโฆษณา
12 สร้างกิจกรรมทางเลือกให้เด็กเรียนรู้ในช่วงเวลาเย็นและวันหยุดเสาร์-อาทิตย์
เด็กไทยรู้ทันต่อต้านโฆษณาหลอกเด็ก