23 ธันวาคม 2551 06:38 น.
ร้อยฝัน
ภาพของเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ ผอมแกร็น เดินต้อย ๆ ตามหลังพ่อ
ที่กำลังเดินหนีอย่างหนึ่งว่ารำคาญใจหนักหนา ผุดขึ้นในรู้สึก
" พ่อให้อ้อยไปนำหมู่เด้อ ไปค่ายนำหมู่เด้อ"
" บ่สิไปเฮ็ดหยัง ไปบ่ได้ดอก แต่ลมกะสิพัดล้มอยู่ มันบ่ม่วนคือไปเล่นเด๊"
จะอ้อนวอนปานใด ผู้เป็นพ่อก็ยังใจแข็งไม่ยอมให้เด็กหญิงตัวน้อยไป
อยู่ดีอาจเพราะความเป็นห่วงสารพัด สารพันของคนเป็นพ่อ
ในวันที่กำหนดมาถึง ร้อยฝันจำได้อย่างขึ้นใจว่ารถที่มารับเยาวชนไปค่ายนั้นเป็นรถโตโยตาสีขาว ล้อโต ๆ สูง ๆ
มีตรากรมป่าไม้ติดที่ประตูรถ เสียงพ่อเรียกนักเรียนที่จะไปค่ายทุกคน
จัดเตรียมสัมภาระ และตรวจเช็คของให้ครบก่อนขึ้นรถสร้างความอลหม่าน
เกิดขึ้นทันที บางคนตื่นเต้นกับการได้ขึ้นรถยนต์ เพราะพื้นเพของชาวบ้าน
แถบนี้ อย่างโก้ในตอนนั้น ก็คือรถลากล้อ เด็ก ๆ ดูตื่นเต้นอย่างมาก
รวมทั้งร้อยฝันที่แอบขึ้นรถ หิ้วถุงผ้าที่มีเพียงเสื้อสองตัว กางเกงขายาว
หนึ่งตัวกับผ้าห่มผืนบางที่แอบเอามาซ่อนไว้ในห้องเรียนวันละชิ้น สองชิ้น
ถ้าพ่อไม่ให้ไปก็จะแอบไปกับเพื่อน นั่นคือความคิดในคราวเป็นเด็ก
กว่าเด็กทุกคนจะขึ้นรถและจัดสัมภาระเรียบร้อย ก็เสียเวลาไปโข
ก่อนจะไปเจ้าหน้าที่ได้พูดคุยร่ำลาพ่อร้อยฝันได้โอกาสยืดตัวให้ดู
เด่นกว่ากลุ่มเพื่อน
"พ่ออ้อยไปนำหมู่แล้วเด้อ"
"เฮ้ยลงมา สิไปหยัง ไปอิหลีบ่"
"ไป ไปแท้ ๆ ล่ะ"
"เดี๋ยว ๆ อย่าฟ้าว พ่อไปเอาเสื้อมาให้" พ่อเดินหันหลังกลับ
เข้าไปในอาคารเรียนพร้อมกับหอบเสื้อกันหนาวตัวใหญ่ของพ่อ และถุงยา
ส่งให้เจ้าหน้าที่พร้อมกำชับ
" ฝากเบิ่งนำแหน่ บ่ค่อยแข็งแรง ถ้ากินอิหยังแล้วฮาก
ให้กินยานี้เด้อ"
"ให้ลงมาบ่ครับ " เจ้าหน้าที่ดูเป็นกังวล
"ปล่อยไปโลด จั๋งได๋กะห้ามบ่ฟัง คั่นสิไป ผมสิขี่มอไซต์นำ
ก้น"
ลูกสาวของพ่อแข็งแรงกว่าที่คิด แทบไม่มีอาการใด ๆ ผิดปกติ
เลย พ่อจึงต้อลงมาเพราะเป็นห่วงเด็ก ๆ ที่คอยอยู่โรงเรียนกว่าร้อยชีวิต
นั่นคือการเข้าค่ายครั้งแรกของร้อยฝัน เป็นค่ายที่อยู่ในความทรงจำ
และเป็นค่ายที่ห้วยกุ่มแห่งนี้ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพักกันที่ไหน
จะเป็นแลนง้อ หรือ รอยเสือ ก็ไม่แน่ใจ เพราะสภาพในก่อนนั้น
กับตอนนี้แตกต่างกันจนไม่เหลือสภาพเดิม แต่จำได้ว่าที่พักมีบ้าน
หลังใหญ่ที่สร้างด้วยไม้ไผ่เกือบทั้งหลัง และมีบ้านเล็ก ๆ 2 หลังขนาบข้าง
อยู่ไม่ไกลจากสายน้ำห้วยกุ่มเท่าไหร่เลย อาหารมื้อแรกที่ร้อยฝันจำได้
เหมือนติดปลายลิ้น เป็นกับข้าวง่าย ๆ พื้นๆ แต่อร่อยเสียยิ่งกว่าอาหารหรู
ๆ ในโรงแรมดัง ที่เคยชิมข้าวที่พี่เจ้าหน้าที่หุงให้กิน อร่อยกว่าที่บ้าน
แกงผักหวานใส่ปลาทูเค็ม กับเห็ดกระด้าง อร่อยเสียจนซดน้ำจนเกลี้ยง
อาจจะเพราะความหิว ความสดสะอาดของผักหวานอ่อน ๆ เห็ดกระด้าง หรือเพราะกำลังใจ ก็ไม่รู้ที่ทำให้ร้อยฝันกินอาหาร แปลกใหม่นี้ได้
เพราะปกติร้อยฝันกินอะไรที่เค็ม ๆ ไม่ได้จะอาเจียนออกมาหมด
แต่ครั้งนี้เหมือนกับโรคที่เคยเป็นอยู่มันหายสนิทร้อยฝันกินปลาทูเค็มไ
ด้แล้ว ครั้งแรกในชีวิตที่ไม่อาเจียนออกมาถ้าใครคนหนึ่งซึ่งเคยร่วมเป็นสมาชิกครั้งนั้น ได้อ่านอาจจะรื้อฟื้นความทรงจำดี ๆ กลับคืนมา กับความประทับ
ใจของพวกเรา ที่พี่ ๆ เรียก เรารุ่นไล่จับ เหตุเพราะพี่ ๆ จะพาเราขึ้นไป
ดูเขื่อนห้วยกุ่ม ด้วยแรงที่อนุรักษ์ที่ พี่่ ๆ กระตุ้นเตือน พอพวก
เราเห็นชาวบ้าน สองสามคน กับนกกะเรียนมีทั้งตายแล้ว และยังไม่ตาย
บริเวณหน้าเขื่อน เด็กว่าสี่สิบคนล้อมหน้าล้อมหลัง จนชาวบ้านไม่สามารถ
หนีได้ คราวนั้นพี่่ ๆ ควบคุมชาวบ้านไปด้วยความเป็นเด็ก ยังไม่รู้หรอกว่า
ชาวบ้านทำไปเพราะเหตุผลใด เพราะเป็นวิถีชีวิต หรือความอยู่รอด หรือเพราะเหตุผลอื่น การทำหากินของชาวบ้านจริง ๆ ไม่ได้มีผลกระทบกับป่ามากมายนัก หากไม่มีพวกหนึ่งซึ่งเห็นชีวิตหนึ่งเป็นของเล่น กินได้ ขายได้ แม้แต่ชาติบ้านเมือง ยังกินยังขาย อย่างไม่อายหมาเลย แต่ร้อยฝันคิดแทนเพื่อนทุกคนว่า ในเหตุการณ์นั้นทุกคนคงคิดว่า จับมัน ฆ่ามันทำไม ไม่สงสารมันหรือ นั่นอาจเป็นความคิดในตอนนั้น
ณ ปัจจุบันหลายครั้งที่ร้อยฝันขึ้นไปที่ห้วยกุ่ม ร้อยฝันเห็นแต่นกกระเรียน
ในภาพวาด นั่นคงเป็นครั้งสุดท้ายที่ร้อยฝันได้มีโอกาสเห็นนกกระเรียน
ตัวเป็น ๆ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่กระตุ้นเตือนให้ร้อยฝันผูกพันธ์กับค่าย
อนุรักษ์ เมื่อเข้าเรียนในระดับมัธยม ร้อยฝันไม่เคยพลาดในการเป็นสมาชิก
ค่าย ไม่เคยพลาดในกิจกรรมปลูกป่าที่พี่ทหารนำรถคันโตมารับ ไปปลูก
ต้นสัก ต้นกระถิน ในราวป่าดงลาน และทุกครั้งที่ขับรถผ่านแถวนั้น
ร้อยฝันยังมีความภูมิใจลึก ๆ ว่านั่นคือป่าที่ฉันปลูก ป่าที่ฉันมีส่วนร่วมสร้าง
จนมันซึมเข้าสายเลือดไปแล้ว การเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้นทำให้โอกาสของ
ร้อยฝันมีมากขึ้น เริ่มจากการเป็นน้องค่าย จนกลายเป็นหนึ่งในทีมพี่ที่จัดค่าย
บ้าจนกระทั่งโหมทำ Project ให้เสร็จ จนเข้าโรงพยาบาล เพราะแรงกระตุ้น
หนึ่ง คือ ไปค่ายกับเพื่อน จนเพื่อนที่เรียนด้วยกันหมั่นไส้
"แกลาออกไปเรียนพัฒนาชุมชนไป เอกคอม ฯ ไม่เหมาะกับแก"
แต่ ณ ตรงนี้ วันนี้ ร้อยฝันก็ทำมันสำเร็จ และมายืนอยู่ตรงนี้ แถมเยาะในใจ
เรียนอะไร ก็ทำค่ายได้ถ้าใจรัก (555555555555)
การจัดกิจกรรมค่ายร่วมกับบ้านกลอนไทย ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3
ครั้งแรกเป็นค่ายที่จัดเมื่อครั้งที่ย้ายมัธยมหนองเขียดใหม่ ๆ ร้อยฝันมี
เพื่อน ร้อยฝันมีพี่น้องที่เข้าใจ และยอมเสียสละ ร้อยฝันจัดค่ายในครั้งแรก
ด้วยความกดดัน ก่อนจัดค่ายไม่มีเงินอื่นเลยนอกจากค่ารถที่เก็บกับนักเรียนที่ฝัน
อยากเข้าค่ายเพราะนั่นเป็นค่ายแรกของมัธยมหนองเขียด แต่ร้อยฝันมีเพื่อน มี
พี่น้อง ที่ขอขอบคุณไว้ ณ ตรงนี้ พี่น้องชาวบ้านกลอนไทย ร่วมบริจาค
เงิน สิ่งของ และมาช่วยเป็นวิทยากร รวมกับพี่น้องชาวห้วยกุ่ม พี่น้องที่
มีแนวทางและความคิดเดียวกัน จนเกิดเป็นค่ายขึ้นมา มีใครคนหนึ่งบอกว่า
ค่ายของร้อยฝัน เป็นค่ายที่ไม่เคยได้ค่าวิทยากร แถมวิทยากรยังต้องเสีย
ตังค์ อีกตังหาก แต่คนพูดบ่นไปยิ้มไป ตรงนั้นร้อยฝันรู้สึกภูมิใจเป็นที่สุด
(ฮา) วิทยากรค่ายของร้อยฝัน นอกจากจะเสียเวลามาแล้ว ยังต้องเสียเงิน
นั่นเป็นสโลแกน ค่าย
กับคำพูด เหล่านี้ ร้อยฝันถือว่าเป็น มงคลสูงสุดที่ได้ยิน
" ค่าที่พัก ค่าวิทยากร แล้วแต่จะให้ " คำพูดจากน้ำใจของพี่
น้องชาวห้วยกุ่ม
" เจ๊ ผมเรียกน้อง ๆ มาช่วย ค่าวิทยากรไม่ต้อง มีข้าวกิน มีค่า
รถกลับพอแล้ว " คำพูดจากน้ำใจของเจ้าโต และบรรดาน้อง ๆ บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย
" เดี๋ยวโอนตังค์ไปให้ อยากได้อะไร รางวัลเด็ก ของแจก
เด็ก ๆหนังสือเก่า " นั่นเป็นน้ำใจจากเพื่อน ๆ พี่น้องชาวบ้านกลอนไทย
"อาจารย์ ค่ารถพวกหนูออกกันเองก็ได้ค่ะ "นั่นคือน้ำใจของเด็กนักเรียน
"เอ้าเฮ็ดเลย กิจกรรมดี ๆ กับเด็กน้อยโรงเรียนมีงบให้ 2,000 "
นั่นเป็นความกรุณาของผู้บริหาร เป็นเพราะสภาพโรงเรียนเล็กที่กระเบียด
กระเสียนงบประมาณอันน้อยนิดนอกเหนือจากแผนพัฒนาไปจัดทำค่าย ซึ่งผู้ใหญ่บางคนบอกค่ายอนุรักษ์เหรอไม่ต้องทำก็ได้ และนั่นเป็น งบก้อนแรกในการจัดซื้อจัดเตรียมทำค่าย
" สิไปเบิ่งเด็กน้อยซ่อยดอก" นั่นคือน้ำใจจากคณะครูโรงเรียน
มัธยมหนองเขียด
จนค่ายครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3 และร้อยฝันจะไม่ทำ
ค่ายอีกหลายปี ไม่ใช่เพราะเหตุผลอื่นแวดล้อม แต่เป็นเหตุผลจากตัวร้อยฝัน
เอง ที่เหนื่อย เพราะภาระงานที่เพิ่มขึ้นตามอายุ และอายุที่ไม่ยอมถอยลงให้
ชื่นใจ แต่ร้อยฝันยังจะไปร่วมช่วยกับค่ายอื่น ๆ ที่เพื่อน ๆ พี่น้องจัด ค่าย
นี้คงเป็นค่ายที่ร้อยฝันอยากเก็บไว้ในความทรงจำดีๆ
ขอบคุณทุกคนที่มีส่วนทำให้เกิดค่ายนี้ ขอบ
คุณเพื่อน ๆ พี่น้องที่ช่วยเหลือ ขอบคุณเยาวชนตัวน้อยที่เข้าร่วมกิจกรรมใน
ครั้งนี้
การเพาะกล้าไม้ แม้ว่าเราจะหยอดเมล็ดไปร้อยเมล็ด ก็อาจจะงอกงามเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงเพียงเมล็ดเดียว
ค่ายเยาวชนก็มีจุดหมายเดียวกัน เฉก
เช่นการเพาะกล้าไม้ อย่างน้อย ก็ยังเป็นสิ่งเดียวที่บอกให้รู้ว่า สิ่งที่ทำไปไม่
สูญค่า การเพาะกล้าไม้ที่เติบโตแข็งแรงได้หนึ่งต้น จากร้อยเมล็ด นั่นคือ
สิ่งที่ร้อยฝันหวัง และตั้งใจ และขอให้เยาวชนทุกคนผองเพื่อน พี่น้อง ได้
ช่วยกันสานต่อก่อฝันให้มันเป็นความจริง เพื่องานเขียน ที่เรารัก เพื่อ
ธรรมชาติที่จะคงอยู่ตลอดไป
จากใจ
ร้อยฝัน