11 ธันวาคม 2551 00:14 น.

คือ..วิมานในม่านหมอกมีดวงดอกไม้ป่า...ทุ่งหญ้ากว้าง...!

พุด

scenery01.jpgscenery05.jpgview61.jpg1156740240.jpg007-15.jpg
คือวิมานในม่านหมอก
มีดวงดอกไม้ป่าทุ่งหญ้ากว้าง
หอมอวลมาในอรุณยามรุ่งราง
อุษาสว่างรับหวานชื่นสุนทรีย์

กระท่อมไพรเรียบง่ายหมายฝากฝัน
ท่ามนวลจันทร์กระจ่างพรายพร่างสี
พสุธาทองให้หยัดยืนสร้างความดี
เพาะผลิพลีเมล็ดพันธุ์มิ่งขวัญไทย

สายเลือดเราทั้งผองคือน้องพี่
สามัคคีรวมกันคิดทำใหม่
หลอมรวมภักดิ์เทิดพ่อหลวงเหนือดวงใจ
คือยิ่งใหญ่ที่เกิดมาคุ้มค่าคน

หอมเอยหอมดวงดอกหญ้าใต้ฟ้าคราม
งดงามในท่ามโลกแล้งทุกแห่งหน
สยามนามเมืองยิ้มโลกแย้มยล
ขอดอกกุศลเกิดในดวงใจไทยทั้งแผ่นดิน......!
				
9 ธันวาคม 2551 12:07 น.

จบ..แค่นี้..!

พุด

V276712SPLIT2_225.jpg
ให้อดีตฝันวันร้ายได้ผ่านพ้น
ดอกเสรีบานในกมลดั่งมั่นหมาย
ดวงดอกธรรมบานประดับใจตราบชีพวาย
รานสลายโศกลาอย่าอาลัย

ดั่งสายน้ำไหลไปไม่วนกลับ
ไม่นึกนับเศร้าหมองครองใจใส
กับลมหายใจวันนี้ด้วยเข้าใจ
ความเป็นไปแห่งโลกนี้ที่มายา

สมมุติทุกข์สุขเย็นหนาวร้อน
ดายเดียวอาวรณ์เสน่หา
น้ำผึ้งพิษหลงจารจิบเติมวิญญาญ์
แท้ไขว่คว้าเพียงเงาช่างเปล่าดาย

ให้จิตอิสระพบกระจ่าง
พบเส้นทางสายว่างก่อนจะสาย
เดินลำพังถึงฝั่งฝันก่อนชีพวาย
อย่าวนว่ายวิบากภพจบแค่นี้....จบชาตินี้..!




V280809_30R.jpgV278598_J74.jpgV265353_N91.jpg				
8 ธันวาคม 2551 11:52 น.

ฟ้ายังให้งาม..ยามพลบพสุธา...!

พุด

oknation.jpg1210992518.jpg116468750822793.jpgforest_sunset.gif
ท่ามกลาง..
ฟ้าสวยสงบด้วยแสงดวงตะวันยามพลบค่ำ
สาดสีส้มอมชมพูทองส่องประกายเจิดจรัส

ในเส้นทางสายรุ้งสู่ทุ่งข้าว ดงตาล
ยามนี้ดูช่างอ่อนหวานด้วยเรียวรวงระย้าระยับ
พลิ้วไหวดั่งแพรไหม
เมื่อยามต้องสายลมโบกโบย


ฟ้าใกล้ค่ำลงทุกขณะ
ในขณะที่มวลหมู่นกกาผกโผผินบินกลับรัง
สองข้างทางสะพรั่งด้วยนาข้าว
ทั้งเขียวขจี
และ
บ้างก็ผลิรวงระย้าย้อย..ห้อยเคลียดิน


ลึกเข้าไปในเส้นทางสายสงบจะพบ
ความบรรเจิดมหัศจรรย์เกินกล่าว
ในราวไพรพฤกษ์พงพนา

ใบไม้นานาพรรณ สลับสีสัน
แดงน้ำตาล เหลือง ทอง
ผ่องประกายไปทั่วทั้งทิวเขา
 ยามกระทบเงาแสงตะวันลา 
ประหนึ่งดั่งภาพวาดวิจิตรศิลป์


แลไกลไปลิบตา....
พบ..
สายหมอกหยอกเคลียเคล้ายอดผาภู
ดูดั่งปราการอันแข็งแรง ทะมึน

ฝูงวัวกำลังเลาะเล็มหญ้า
อยู่ในแปลงนาหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว
แลดูเสมือนภาพวาดในปฎิทิน...

และ..ณ ที่นี่ราวสวรรค์บนดิน
ที่ไม่จำต้องรอจนถึงวันชีพวาย 
จึ่งจักได้พบสงบงาม
เพราะมีจริง...
บนผืนแผ่นดินไทยนี้ 
ที่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเมืองลวง
ที่มากด้วยปวงมายาวัตถุ

ไม่กี่ร้อยกิโลเมตร จากกรุงเทพ
คุณจะได้พบ...
เส้นทางสายรวงข้าว 
ในวันที่...
ฟ้าฉ่ำพราวด้วยเมฆฝน
พบบึงบัวบาน พบดงตาล
ในเส้นทางที่ทอดตัว งามสลัวเลือนลาง
ในท่ามอาทิตย์อัสดงลงหลังเหลี่ยมเขา

ริมทางดวงดอกหญ้า
จะยืนอรชรฟ้อนร่ายระบำ
รับแสงตะวันยามอำลา....

กับแสงฟ้างดงามที่กำลังเล่นแสงแปรสี
อย่างสนุกสนาน
ให้หัวใจของคุณได้พบเอิบงาม 
สุขเกษมเปรมปรีย์..ปิติ
ยามได้แย้มยลเยือน..


เสมอเสมือน ดวงใจหญิงหนึ่ง
ที่แสนเงียบงาม
ในทุกยามได้ทอดทัศนา


ฟ้า..ยังคงเปลี่ยนสีเสมอไป
หากมีเวลา จงแหงนเงยเพ่งพินิจดู
สีแสงแห่งธรรมชาติฟ้า
เราจักพบว่า...
ในแต่ละวันวาร...
ในแต่ละฤดูกาล
ที่ผันเปลี่ยนเวียนผ่าน

ไม่มีฟ้าวันใด
จะเหมือนกันเลยแม้นเพียงวันเดียว
แม้นจัก
ดูว่าคลับคล้ายละม้ายเหมือนกัน
หากสีสัน ที่สวรรค์ประทาน
ย่อมงามแผกแตกต่างพิเศษพิสุทธิ์ 

ให้มวลมนุษย์ได้เรียนรู้สัจจะ
ถึงความจริงแท้
ที่ธรรมชาติเฝ้าเพียรสอน
ให้รู้ ให้เห็นธรรมดา 
ให้ซาบซึ้งค่าว่า

ชีพชนม์ชีวิตหนึ่งนี้แสนสั้น
แม้นจะจบจากพรากลา
คืนสู่ธุลีหล้าเดียวกัน

หากทว่า
รายละเอียดแห่งชีวิตใครชีวิตมันนั้น
ย่อมผันแปรแตกต่าง อยู่ที่ว่า..
เราจักคอยสร้างสาน
เส้นทางแห่งชีวีเราให้งดงาม
ได้เฉกเช่นไร....


และ..
สำหรับหญิงหนึ่ง...
ฟ้าในดวงใจคือ
ความโอบเอื้อแบ่งปัน
ได้เกิดมาทำหน้าที่..ให้..น้ำใจรัก

รู้ภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ด้วยศรัทธายิ่งเหนือสิ่งใด

วัน..คืนล่วงเลยผ่านพ้น
มีทั้งวันดี วันร้าย
มากเรื่องราวผันผ่าน
มาสอนให้เข้าใจชีวิต
ขอบคุณชีวิต..

ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ธำรง..
ในโลกอันมากไปด้วยผู้คน 
ที่ยังมีรักโลภ โกรธ หลง
เป็น..
*ประดุจดั่งแกนกิเลส*
ให้เกิดอาเพทภัย ไม่รู้จักจบสิ้น...


ปลดปล่อย กงล้อชีวิต หยุดคิด

ผ่อนเพลา ให้เบาสบาย

ก่อนที่จักถีงเวลา......

ได้หยุดพัก ตราบชั่วนิจนิรันดร....!!!!


พายุพัดแรงเฝ้าครวญคร่ำ
ฟ้าร่ำพลีแด่โลกโศกเหลือแสน
ดวงดอกไม้ปลิดโปรยทั่วดงแดน
ดั่งแทนรักแทนใจอาลัยลา

ฤดูกาลผ่านมาสอนสัจจใจ
มีสิ่งใดเที่ยงแท้เล่าละหนา
ทุกข์ทนวนว่ายพันธนา
แท้มายาทั้งนั้นราวฝันไป

ดั่งน้ำค้างพร่างพรมชั่ววูบ
ไล้ลูบกลางกลีบเกสรใส
อาทิตย์มาระเหยหายทันใด
ราวไม่เคยมีร่องรอย

เสมือนเสมอลมหายใจแห่งชีวิต
สั้นนิดใช่นานเคลื่อนคล้อย
อย่ามัวหลงสิ่งใดหวังใครคอย
เป็นมณีดวงหนึ่งในร้อยสร้างโลกงาม...

SpringWithBird.jpg20040125.sunset-2.jpg1198254066.jpg				
5 ธันวาคม 2551 12:40 น.

แสงดาว...ในดวงใจ...

พุด

1130215190.jpg427.jpgcover-jit2.gifpumisak18.JPG
หนาวน้ำตาในยามดึก
ล้ำลึกคิดถึงวีรชนคนกล้า
นามจิตร ภูมิศักดิ์แสงดาวแห่งศรัทธา
นำทางปวงประชาสู่เสรี

ปลายปืนปลิดปีกพิราบร่วง
ดาวดวงสะอื้นดับเลือดสี
แดงเด่นงดงามชีพพลี
หวังมีประชาธิปไตยในแผ่นดิน

เสียงเพรียกจากมาตุภูมิแม่
รอยแผลวนเวียนมิสิ้น
ผ่านมากี่หยดหยาดเลือดริน
เชือดจินต์เซ่นสังเวยปฐพี

ม่านฟ้าเทาทึมหมองหม่น
พายุฝนแรงกล้าไร้แสงสี
รอนานเนากี่กัปป์กาลปี
ดวงดอกเสรีจักบานประดับไทย...!!

..........................................




แสงดาวแห่งศรัทธา....คำร้อง-ทำนอง : สุธรรม บุญรุ่ง (จิตร ภูมิศักดิ์)
ขับร้อง : เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

พร่างพรายแสง ดวงดาวน้อยสกาว 
ส่องฟากฟ้า เด่นพราวไกลแสนไกล 
ดั่งโคมทอง ส่องเรืองรุ่งในหทัย 
เหมือนธงชัย ส่องนำจากห้วงทุกข์ทน 
พายุฟ้า ครืนข่มคุกคาม 
เดือนลับยาม แผ่นดินมืดมน 
ดาวศรัทธา ยังส่องแสงเบื้องบน 
ปลุกหัวใจ ปลุกคนอยู่มิวาย 
ขอเยาะเย้ย ทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ 
คนยังคง ยืนเด่นโดยท้าทาย 
แม้นผืนฟ้า มืดดับเดือนลับละลาย 
ดาวยังพราย ศรัทธาเย้ยฟ้าดิน 
ดาวยังพราย อยู่จนฟ้ารุ่งราง 

..........................................
เพลงแสงดาวแห่งศรัทธา เป็นเพลงที่ประพันธ์โดยจิตร ภูมิศักดิ์ ในช่วงปี พ.ศ. 2503-2505 ขณะถูกขังอยู่ที่คุกลาดยาว โดยใช้นามปากกาว่า "สุธรรม บุญรุ่ง" ต่อมาเพลงนี้ถูกนำมาขับร้องโดยวงคาราวานในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เป็นเพลงที่ใช้ปลุกพลัง ความหวัง และศรัทธา ได้เป็นอย่างดี



http://www.geocities.com/thaifreeman/jit/jit.html


เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์
สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน
จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน

บทกวีของอาเวตีก อีสากยัน กวีประชาชนแห่งอาร์เมเนีย
แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ 
บทกวีนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของจิตร ภูมิศักดิ์ในที่สุด


จากโซ่ตรวนถึงความตายวาระสุดท้ายแห่งชีวิตจิตร  ภูมิศักดิ์ 

           จิตร   ภูมิศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่  25  กันยายน  พ.ศ.2473 เดิมชื่อ "สมจิตร"  เกิดที่ ตำบลประจันตคาม  อำเภอ ประจันตคาม  จังหวัดปราจีนบุรี  เป็นบุตรของนายศิริ  ภูมิศักดิ์ นายตรวจสรรพสามิต กับนางแสงเงิน  (ฉายาวงศ์)  ชื่อ "สมจิตร" เป็นชื่อที่ตั้งให้คล้องจองกับ "ภิรมย์"  พี่สาวคนเดียวของจิตร  แต่เนื่องจากในสมัยจอมพล ป.   พิบูลสงคราม ต้องการให้ชื่อสื่อลักษณะเพศ  "สมจิตร" จึงถูกเปลี่ยนเป็น "จิตร" 



เด็กชายสมจิตร  หรือ จิตร   ภูมิศักดิ์ในวัยเด็ก
           ในระหว่างปี พ.ศ.2479 - 2482 ด้วยเหตุที่บิดาทำงาน สรรพสามิตจำเป็นต้อง ย้ายที่ทำงานบ่อย   บิดาของจิตร ได้ย้าย ไปรับราชการที่จังหวัดกาญจนบุรี   จิตร   ภูมิศักดิ์ จึงได้เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนประจำจังหวัด   ต่อมาในปี พ.ศ.2483 บิดาย้ายไปรับราชการ ที่จังหวัด สมุทรปราการ  ครอบครัวจิตรอยู่ที่นี่ได้ 7 เดือน บิดาก็ได้ รับคำสั่งย้ายอีก
          ระหว่างปี พ.ศ.2484 - 2489  บิดาได้ย้ายไปรับราชการ ที่จังหวัดพระตะบอง ซึ่งไทยได้คืน มาจากเขมร   จิตรได้ เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พระตะบอง  ทำให้จิตร ได้มีโอกาสศึกษา  ภาษาฝรั่งเศส และเขมรจนเชี่ยวชาญ  โดยเฉพาะภาษาเขมร จิตร  แตกฉาน ทั้งภาษาพูด  ภาษา เขียนและศิลาจารึก     
 
  

 ต่อมานายศิริ บิดาของจิตรได้บันใจไปรักหญิงอื่น 
จนในที่สุดบิดาและมารดาได้ตัดสินใจแยกทางกัน   
และเมื่อ ภายหลัง สงครามอินโดจีน ไทยต้องคืนพระตะบองให้เขมร  

นางแสงเงินได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดลพบุรี 
ทำการเช่าบ้านเปิด ร้านขายเสื้อผ้า  หาเงินส่งลูก 2 คนเรียนหนังสือที่กรุงเทพ   จิตรและพี่สาวได้ย้ายเข้ามาเรียนต่อ ที่กรุงเทพมหานคร 

โดยทั้งสองพี่น้องเข้าไป พักอาศัยอยู่ที่ย่านอุรุพงษ์ 
 เพื่อที่จะเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 3  
 ที่โรงเรียน วัดเบญจมบพิตร เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน  

แต่ว่าทางอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน ไม่เต็มใจรับจิตรเข้าเรียนที่นั่น 
แม้ว่า  ทางรัฐบาลจะได้มีประกาศรับรองผู้อพยพ 
จากจังหวัดพระตะบอง  พิบูลสงคราม เมื่อประเทศไทย 
ได้คืนดินแดน เหล่านั้นให้เขมรนักเรียนทุกคนสามารถ 
เข้าเรียนต่อ ในโรงเรียนรัฐบาลใดๆ ก็ได้  

โดยมีพี่สาวภิรมณ์  ภูมิศักดิ์  ลงชื่อเป็นผู้ปกครองเด็กชายจิตร 
ส่วนพี่สาวเข้าเรียน ต่อที่ โรงเรียนเตรียมอุดม  ในปีแรกนั้น แม่ของจิตรซึ่งอยู่ที่ลพบุรี จะลงมากรุงเทพฯหาจิตร ทุกเดือน  
เพื่อมาซื้อผ้าไปขายและเอาเงินมาให้ลูกใช้  
ซึ่งเงิน ของจิตร มักจะถูกนำไปใช้ ซื้อหนังสือ โดยยอมอดกับข้าว  
ในระหว่างเรียนที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรนี้ จิตรมักจะ ถูกครูตราหน้าว่า เป็นเขมร ซ้ำแล้วซ้ำเล่า  แต่ก็มีแม่และพี่สาวคอยให้กำลังใจ และจิตรก็อดทนจนเรียนจบ 
   

 
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2493 จิตรสอบไล่ได้ เตรียมสอง (ม.ศ.5)  จากโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา ด้วยคะแนน 65% 


จิตร   ภูมิศักดิ์  ในวัยหนุ่ม
             หลังจากนั้นจิตร สอบเข้าเรียนต่อที่ คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา พ.ศ.2493 ระหว่างศึกษาอยู่ที่ คณะอักษรศาสตร์  ช่วงหนึ่งจิตรได้ ไปคลุกคลีอยู่กับ ดร.วิลเลี่ยม   เจ.  เก็ดนี่ย์   ดุษฎีบัณฑิตทางอักษรศาสตร์  ฝ่ายภาษาโบราณ ตะวันออก  

อดีตที่ปรึกษา ของหอสมุดแห่งชาติ   จิตร ซึ่งมีพื้นฐาน ในวิชา ภาษาไทย ดีอยู่แล้ว  จึงสามารถช่วยเหลือ ดร.วิลเลี่ยม  เจ.  เก็ดนี่ย์ ได้อย่างมากในการค้นคว้า และขณะเดียวกัน จิตรก็สามารถ ปรึกษาหารือ กับท่านศาสตราจารย์ ผู้นี้ได้  เช่น  การวิเคราะห์ คำบางคำ  เช่น คำว่า " กระลาโหม " เป็นต้น 


         ขณะเรียนอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จิตรได้มีโอกาสเรียนวิชาภาษาไทยกับศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนด้วย ซึ่งจิตรสอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนนแต่พระยาอนุมานราชธนหักคะแนนออกเสีย 3 คะแนนเพื่อไม่ให้เหลิง 

          วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2496  จิตร  ภูมิศักดิ์ ได้รับตำแหน่งเป็นสาราณียกรของมหาวิทยาลัย มีหน้าที่จัดทำหนังสือ มหาวิทยาลัย  ฉบับ  23   ตุลาฯ  เพราะต้องการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ซ้ำๆ ซากๆ เหมือนกันทุกปี    
โดยแหวกกรอบเดิม เอาเนื้อหาในหนังสือที่ตัวเองทำไปรับใช้ประชาชน ด้านหนึ่งของหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 23  ตุลาฯ  จิตรได้ชี้ให้เห็น ถึงสภาพที่แท้จริงของประชาชน   ในอีกด้านหนึ่งจิตรก็ได้ชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง   ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน 

  
          หนังสือ "23 ตุลา" มีเนื้อหาที่เป็นข้อเขียนของจิตร  ภูมิศักดิ์ จำนวนอย่างน้อย 3 เรื่อง ได้แก่ 
          เรื่องแรก คือ บทวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาสังคมตามพุทธปรัชญาและวิจารณ์บุคคลที่หากินโดยใช้ศาสนา บังหน้า ในนาม "ผีตองเหลือง" เป็นการวิจารณ์การทำบุญแบบไม่จำเป็นและวิจารณ์พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ พระบางประเภท  ตลอดจนวิจารณ์วิธีแก้ปัญหาแบบลัทธิปฏิรูปของพุทธศาสนา   
          เรื่องที่สองคือ "ขวัญเมือง" เป็นนิยายสั้นทางการเมือง สะท้อนภาพผู้หญิงที่มีคุณสมบัติสำคัญคือ ถือเอาภาระ หน้าที่ทางการเมืองและภาระหน้าที่ ทางประวัติศาสตร์ เป็นหน้าที่สูงสุดของชีวิต   
          เรื่องที่สามคือ กลอนชื่อ "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน" เป็นการ วิจารณ์หญิงที่มีลูกขึ้นมา เพราะความนึก อยากสนุกทางเพศครั้งแล้วก็ชอบเอาลูกไปทิ้งโดยไม่รับผิดชอบ
  


          นอกจากนี้ ก็มีข้อเขียนของบุคคลอื่น ได้แก่ เรื่อง "แปรวิถี" ของศรีวิภา  ชูเอม เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดของนักปฏิวัติในฝรั่งเศส เช่น วอลแตร์  รุสโซ      ซึ่งจิตร   ภูมิศักดิ์ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้เข้มกว่า ต้นฉบับเดิม  
          มีบทแปลของวรรณี   นพวงศ์  เป็นการเปิดโปงการค้าฝิ่นและการกินโกง ในวงการรัฐบาลไทย  ซึ่งหนังสือพิมพ์ ภาษาต่างประเทศนำไปเขียน
          มีบทความของประวุฒิ ศรีมันตะ เรื่อง "ใครหมั่นใครอยู่ใครเกียจคร้านตายเสีย" เป็นการเขียนโต้กรมประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่ประณามประชาชนผู้ยากจนว่าเป็น "ผู้เกียจคล้าน"  ยกย่องพวกมั่งมี ศรีสุขว่าขยัน  ชื่อบทความมาจากโคลงสี่สุภาพ บทสุดท้ายของกรมประชาสัมพันธ์
          และมีข้อความชักชวนให้นิสิตน้อมรำลึกถึงกรรมกร  คนงานที่สร้างตึกจุฬาลงกรณ์ขึ้นมา ให้นึกถึงคุณของกรรมกร  คนงานและประชาชนผู้เสียภาษีบ้าง

          เมื่อหนังสือได้จัดพิมพ์เย็บเล่มเสร็จแล้ว  แต่ก่อนที่จะเข้าปก เจ้าหน้าที่ของโรงพิมพ์ "ไทยวัฒนาพาณิช" อันเป็นแหล่งรับพิมพ์หนังสือเล่มนี้  ได้แอบส่งหนังสือไปให้ทางตำรวจสันติบาลและทางมหาวิทยาลัย  จึงทำให้มีการสั่ง อายัดหนังสือเกิดขึ้น  

 
 
   

 

กลุ่มนิสิตที่จับ จิตร  ภูมิศักดิ์ โยนบก
 
         จากเนื้อหาที่ผิดแผกไปจากปีก่อนๆ  นี่เองทำให้เกิด เหตุการณ์สอบสวนจิตร  ขึ้นที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและจิตรถูกกลุ่มนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จับ "โยนบก "   ลงจากเวทีหอประชุม  ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บ ไปพักรักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาลเลิดสินเป็นเวลาหลายวัน
          
          ต่อมาทางการของมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการ พิจารณาโทษของจิตร และทางคณะกรรมการได้มีมติให้ พักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี  คือในปี พ.ศ.2497    ระหว่างที่ ถูกสั่งพักการเรียน  จิตร ได้งานสอนหนังสือ เป็นอาจารย์ สอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทรศึกษา   

แต่สอนได้ไม่นาน  เนื่องจากจิตรได้นำเอาแนวคิดใหม่ไปวิเคราะห์วรรณคดี ที่สอนพวกนักเรียน  ผลก็คือนักเรียนชอบ แต่เจ้าหน้าที่บริหารโรงเรียนไม่ไว้วางใจจึงจำต้องออกจากงาน   ต่อมาจึงได้งานใหม่   โดยไปทำหนังสือพิมพ์ที่ "หนังสือพิมพ์ไทยใหม"่ อยู่กับสุภา  ศิริมานนท์ ซึ่งเป็นบรรณาธิการ  และ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เองเป็นเป็นประโยชน์ ต่อจิตรอย่างมากในการสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่า ต่อประชาชน และวงวิชาการของไทย  ผลงานในช่วงที่อยู่หนังสือ พิมพ์ไทยใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจารณ์ เช่น  วิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ  วิจารณ์ภาพยนต์  โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน" 
  



          ขณะพักการเรียนจิตรต้องย้ายที่อยู่อาศัยจากบ้าน ดร.เกดนีย์  ที่ซอยร่วมฤดี  ถนนสุขุมวิท เนื่องจากดร.เกดนีย์ ถูกส่งตัวกลับประเทศ  จิตรได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับเพื่อนเก่าที่บริเวณสะพานเสาวนีย์  ตรงข้ามกรมทางหลวงแผ่นดิน  อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การ ส.ป.อ.ในเวลาต่อมา  ซึ่งเป็นย่านสลัมระยะหนึ่ง  และเมื่อพี่สาวของจิตร ซึ่งเรียนจบเภสัชฯ  ได้ทำงานที่จังหวัดปราจีนบุรี มีเงินอยู่บ้างจึงปลูกบ้านไม้สองชั้นขึ้นมาบริเวณสลัม  บ้านหลังดังกล่าว ต่อมาได้ถูกใช้ไปเป็นที่สนทนาทางการเมือง และการสร้างผลงานทางหนังสือเป็นจำนวนมาก

          พ.ศ.2498  จิตรกลับเข้าเรียนต่อในชั้นปีที่ 3 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงระยะนี้ จิตรได้เลิกอาชีพ หนังสือพิมพ์แบบทำประจำ  หันมาทำงานเป็นไกด์ พาชาวต่างประเทศท่องเที่ยว กับ "บางกอกทัวร์" มีที่ทำการอยู่ที่ มุมตรอกโรงแรมโอเรียลเต็ลและได้เดินทางไปกัมพูชาหลายครั้งเพื่อนำชาวต่างประเทศเข้าชมนครวัดนครธมซึ่งทำให้ จิตรมี ความเชี่ยวชาญ ทางโบราณคดีภาษาเขมรและการอ่านจารึกได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

          ในการกลับเข้ามาเรียนครั้งใหม่นี้ จิตร  ภูมิศักดิ์ ได้รวมกลุ่มกับเพื่อนนิสิตที่มีแนวคิดก้าวหน้าจากคณะต่างๆ รวมทั้งจากคณะอักษรศาสตร์ด้วย ทำกิจกรรมที่เน้นหนักไปในการศึกษาต่อมานำไปสู่การปฏิบัติ   ในการศึกษาชั้นต้น ของกลุ่มกิจกรรมของจิตร ได้ศึกษา "วัตถุนิยมประวัติศาสตร์" ต่อมาได้มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม โดยมีอธิคม  กรองเกรดเพชรลงชื่อเป็นผู้แต่ง   เป็นเอกสารที่ปูพื้นทัศนะแบบวัตถุนิยมวิภาษและแบบวัตถุนิยมประวัติศาสตร์  มี การศึกษา "แนวทางมวลชน" ของเหมาเจ๋อตุง  โดยคำนึงถึงว่า ถ้าหากใช้แนวทางมวลชนไม่ดีแล้วก็อาจโดดเดี่ยว  อาจเคลื่อนไหวอะไรไม่ได้  หรือแม้กระทั่งถูกตีจากพวกปฏิกิริยาได้  
   

 
     

   และได้มีการปรึกษางานของกลุ่ม  ทั้งงานในระดับคณะ  งานในระดับมหาวิทยาลัย และงานในระดับขบวนการ นิสิตนักศึกษา    ต่อมากลุ่มกิจกรรมของจิตร คนในกลุ่มได้มีตำแหน่งประธานแผนกปาฐกถาและโต้คารม  ได้ใช้แผนก จัดกิจกรรม รายการ "ศิลปินโซเวียต" โดยมีศิลปินจากรัสเซียมาแสดงเป็นครั้งแรก   จัดรายการ "บัวบานบนแผ่นดินแดง" โดยเชิญคณะศิลปินกลุ่มที่กลับจากเมืองจีนของ สุวัฒน์   วรดิลกมาแสดง  เชิญกมล   เกตุศิริ มาบรรยายเรื่อง "ดนตรีไทย"  เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม  หวงแหนวัฒนธรรมของชาติ  อันนำไปสู่การคัดค้านวัฒนธรรมอัน เน่าเฟะของจักรวรรดินิยม  และมีความพยายามผลักดันให้มีสภานิสิตและมีคณะผู้บริหารองค์กรนักศึกษามาจากการ เลือกตั้ง แต่ยังไม่เกิดผล

          แนวทางในการเคลื่อนไหวของกลุ่มกิจกรรมนิสิตของจิตร  ภูมิศักดิ์ ในระหว่างปี พ.ศ.2498 - 2500 นั้น คือ การกระตุ้นให้นักเรียน  นิสิตนักศึกษามีความรักชาติ  รักประชาธิปไตย ให้สนใจการเมือง  ให้เข้าใจว่า การเมือง เป็นปมเงื่อนในการแก้ปัญหาของประเทศ  

การคัดค้านวัฒนธรรมอันต่ำทรามของจักรวรรดินิยมอเมริกา  พิทักษ์และ ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ  คัดค้านความไม่เป็นประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัย  คัดค้านระบบอาวุโสลัทธิ นิยมคณะ  ลัทธินิยมมหาวิทยาลัย และลัทธิบ้ากีฬาฯ กระตุ้นให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ 

มีความสามัคคีกัน ตระหนักถึงผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง  ตระหนักถึงภัยของจักรวรรดินิยม  และได้มีความพยายามให้มีองค์การ ร่วมกัน  ซึ่งได้แก่ "สหพันธ์นักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย"  


  

กิจกรรมนิสิตกลุ่มของจิตร  ภูมิศักดิ์ ในระยะปี พ.ศ.2498 - 2500

          1. การปลูกฝังนิสิตนักศึกษาให้เกิดความรักชาติรักประชาชน   มีการรณรงค์ให้นักศึกษาบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์เพลิงไหมที่พิษณุโลก ปี พ.ศ.2499    

ในกรณีการอพยพของชาว อีสานเพื่อเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ เป็นการใหญ่เมื่อ ปี พ.ศ.2500  ชักชวนนิสิตจุฬาฯออกไปปฏิบัติงานตาม หัวลำโพง   ตามกรมแรงงาน  กรมประชาสงเคราะห์ในเวลาเย็น   นำอาหาร เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ไปแจกจ่าย 

และหาที่อยู่ตามวัดต่างๆให้ผู้อพยพชาวอีสาน  
และสกัดกั้นไม่ให้ชาวอีสานถูกลวงการใช้แรงงาน  โดยมีนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตร  มหาวิทยาลัยศิลปากรเข้าร่วมด้วย

          2. การพยายามจัดตั้ง "สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย" ร่วมกับนึกศึกษาจากสถาบันต่างๆ  ได้มีการ จัดทำร่างระเบียบนำเสนอขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคม  เรื่องผ่านกรมตำรวจ มาอยู่ในการพิจารณาของ กระทรวงวัฒนธรรม  แต่ต่อมาได้เกิด การรัฐประหารขึ้น   บ้านเมืองเข้าสู่ยุคมืดจึงไม่ได้เกิดสหพันธ์ขึ้น
 

 
การชุมนุมของนักศึกษาจุฬาในการคัดค้าน
การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์  2500
  
"ตื่นเถิดเยาวชนไทยทั้งผองน้องพี่
สามัคคีรักร่วมน้ำใจ
เยาวชนคืออาทิตย์อุทัย
สาดแสงกำจายเรืองรองแหล่งหล้า
ปลุกชีวิตและสร้างความหวังเจิดจา
เพื่ออนาคตผองเพื่อนไทย
ชาติประชารอพลังเราอันเกรียงไกร
ด้วยดวงใจร้อนรนเรียกรอ
มาตุภูมิและประชานั้นคือดวงใจ
จะพิทักษ์รับใช้เทียนดวงวิญญา
ร่วมพลังสร้างสรรค์พัฒนา
ทั้งชาติและประชาไทยมุ่งสู่ความไพบูลย์"

 
  

           ทางกลุ่มได้มีการแต่งเพลงมาร์ชเยาวชนไทยไว้  ตั้งใจจะให้เป็นเพลงประจำของสหพันธ์ฯ   เป็นเพลงที่นำทำนองมาจากอินโดนีเซีย  จิตร   ภูมิศักดิ์ช่วยแต่งออกมาเป็นกลอน

          3. การพยายามสร้างความสามัคคีระหว่างจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นบรรยากาศขาดความสามัคคี ด้วยจุฬาฯดูถูกธรรมศาสตร์ว่า "มหาวิทยาลัยไพร่" จบออกมาไม่มีงานทำ เป็นตลาดวิชาลูกตาสีตาสาก็มาเรียนได้ ด้านธรรมศาสตร์ก็ดูถูกจุฬาฯ ว่ามหาวิทยาลัยผู้ดี  มีแต่ลูกคนรวยเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ  และได้มีการประสานกันให้เกิด ความสามัคคี 

โดยอาศัยรูปการกีฬาเป็นสื่อกลาง  ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างมหาวิทยาลัย ทางกลุ่มได้ชูคำขวัญ ที่ก้าวหน้า เพื่อจูงให้นิสิตนักศึกษาจากสองมหาวิทยาลัยลืมลัทธิหลงมหาวิทยาลัย หันมาถือเอาอุดมการณ์รับใช้ ประชาชนร่วมกันแทน   ทางกลุ่มได้แต่งเพลง "ธรรมศาสตร์-จุฬาฯชิงชัย"  โดยมีจิตร  ภูมิศักดิ์เป็นแกนหลักในการแต่ง เนื้อร้องมีดังนี้




การชุมนุมคัดค้านการเลือกตั้งเมื่อ
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 ของนักศึกษา 
 "ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ชิงชัย
ทุกคนล้วนใจปลื้มเปรมปรีดิ์
กลุ่มเกลียวกันน้องพี่
เพื่อความสามัคคียืนนาน
เรามาชิงชัยชนะแพ้ใช่สิ่งสำคัญ
เล่นกีฬาร่วมกันเพื่อสมานสามัคคีพร้อมหน้า
เรามาชิงชัยแล้วใช่จักร้าวรา
เรารับใช้ประชาในอนาคตกาลร่วมกัน
ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ชิงชัย
ธรรมศาสตร์-จุฬาลงกรณ์
อย่าให้ใครบั่นทอนมิตรภาพของเรา" 

          4. การออกหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย  ที่ดำเนินการโดยนิสิต ชื่อว่า "เสียงนิสิต"  ออกเป็นรายปักษ์  มีคำขวัญว่า "ศึกษาเพื่อรับใช้ประชาคม"  ซึ่งออกมาได้ประมาณ 5-6 เดือน  จิตร  ภูมิศักดิ์มีข้อเขียนในหนังสือนี้ด้วย

          5. การร่วมคัดค้านการเลือกตั้งที่สกปรก เมื่อปี พ.ศ.2500  ทางกลุ่มได้มีการออกใบปลิวเปิดโปงการโกง การเลือกตั้งของพรรคเสรีมนังคศิลาและพรรคประชาธิปัตย์


          6. การร่วมแต่งเพลง "มาร์ชเยาวชนไทย"  เพลง "ธรรมศาสตร์-จุฬาฯชิงชัย"  เพลง "มาร์ชกรรมกรไทย"

 

 
ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500    


จิตร ภูมิศักดิ์จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์     
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปริญญาบัตรอักษรศาสตร์บัณฑิต      

จากนั้นก็เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือ
ที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี วิทยาลงกรณ์  และขณะเดียวกัน ก็เป็นอาจารย์พิเศษวิชาภาษาอังกฤษที่คณะสถาปัตยกรรม         
มหาวิทยาลัยศิลปกร  พร้อมทั้งเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท  ณ  สถาบันค้นคว้าเรื่องเด็กของยูเนสโก ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร  

อาจารย์จิตร  ภูมิศักดิ์ สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรสัปดาห์ละ  6 ชั่วโมง โดยได้ค่าสอนชั่วโมงละ 30 บาท จากแนวคิด ของจิตร ทำให้หนังสือรับน้องใหม่ของศิลปากร ปี 2500 ออกมาแหวกแนว เช่นเดียวกับหนังสือรับน้องใหม่ของจุฬาฯ   


ปี 2496 เป็นหนังสือที่ปฏิวัติแนวคิดเรื่องศิลปะอย่างขุดรากถอนโคน  ชี้นำให้เห็นว่า "ศิลปต้องเกื้อเพื่อชีวิต"      มิใช่ "ศิลปเพื่อศิลป" อย่างเลื่อนลอย  งานเขียนเรื่อง "ศิลปเพื่อชีวิต" บางตอนของจิตร ซึ่งใช้นามปากกาว่า "  ทีปกร  " ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ หนังสือรับน้องฉบับนี้ 

จากนั้น สำนักพิมพ์ เทเวศน์จึงได้นำไปรวมพิมพ์เป็นเล่ม  "ศิลปะเพื่อชีวิตศิลปะ เพื่อประชาชน"  และในปีเดียวกันนี้   

จิตรได้เขียนบทความชื่อ "บทบาททางวรรณคดีของพระมหามนตรี"       
ผู้เขียน   ระเด่นลันได  มีเนื้อหาล้อเลียน วัฒนธรรมศักดินา  

โดยเฉพาะวรรณกรรมของชนชั้นสูงในเรื่อง "อิเหนา"  "เพลงยาวบัตรสนเท่ห์"  สะท้อนการฉ้อราษฎร์ บังหลวง  เป็นต้น

   

         นามปากกา "ทีปกร" จิตร  ภูมิศักดิ์ เป็นคนคิดขึ้นเอง 
 ซึ่งจิตรให้คำแปลว่า "ผู้ถือดวงประทีป"  คำที่มีความหมาย อันรุ่งโรจน์โชติช่วงนี้   จิตรได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีภาษาฝรั่งเศสของ วิคเตอร์ ฮูโก ชื่อ "ความสว่างและความมืด" (Les  Rayons  et  les  Ombres, I , 1893)

"กวี  ภายใต้วันคืนอันอัปลักษณ์เช่นนี้
ย่อมจักแผ้วทางไว้เพื่อวันคืนอันดีกว่า
เขาคือบุรุษแห่งยุคสมัยของความใฝ่ฝัน
ตีนทั้งสองเหยียบยืนอยู่  ณ  ที่นี้
ตีนทั้งสองเพ่งมองไปเบื้องหน้าโน้น
เขานั่นเทียว  โดยไม่คำนึงถึงคำประณามและเยิรยอ
เปรียบเสมือนผู้ทำนายวิถีแห่งอนาคต
จักต้องกระทำสิ่งที่จะมาถึงให้แจ่มจ้า
เสมือนหนึ่งโคมไฟในมืออันอาจรองรับสรรพสิ่งของเขา
ซึ่งกวัดไกวจ้าอยู่เหนือศีรษะ ของมวลชนทุกกาลสมัย"

          ความคิดเรื่อง "ศิลปเพื่อชีวิต" ซึ่งถือว่าเป็นความคิดใหม่ในสมัยนั้น       ปรากฏว่า "เสฐียรโกเศศ" หรือ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ตรงกับที่ "ทีปกร" เสนอ และในหนังสือรับน้องฉบับ ดังกล่าว "เสฐียรโกเศศ" ได้แปลบทความเรื่อง "ศิลปคืออะไร?" ของตอลสตอยให้   พร้อมกับอาจารย์กุหลาบ  สายประดิษฐ์ ก็ได้มอบบทความเรื่อง "ความเป็นมาของประวัติศาสตร์" 

ซึ่งเขียนถึง "ผู้สร้างประวัติศาสตร์ไม่ใช่กษัตริย์ แต่เป็นประชาชนผู้ทุกข์ยาก"   หนังสือรับน้องศิลปากร พิมพ์ไว้ 1,000 เล่ม  หลังจากมีการแจกหนังสือดังกล่าว ได้ถูกบรรดานักศึกษาคณะจิตรกรรม ต่อต้านและนำไปทำลายเป็นจำนวนมาก  และเกิดการชกต่อยระหว่างผู้มีแนวคิด สองแนวทาง  

ได้มีการประชุมชักฟอกโดยกรรมการนักศึกษา ว่า "ทีปกร" คือใคร และได้มีนักศึกษาชายคณะจิตรกรรม ชื่อว่ากำจร  สุนพงษ์ศรี  ออกมารับสมอ้างว่า ตนคือ "ทีปกร" เพื่อไม่ให้เรื่องลุกลามไป

 

 

 ตอนเช้าตรู่ของวันที่  21  ตุลาคม   พ.ศ.2501 
จิตรถูกจับกุมพร้อมกับ บุคคลอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก  ที่ต่อสู้เพื่อ ประชาชนในข้อหา "มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" และ  "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายใน และภายนอกราชอาณาจักร" 

อันเป็นผลมาจากการยึดอำนาจและการใช้นโยบายปราบปรามของจอมพลสฤษดิ์   ธนะรัชต์ จิตรถูกจับกุมคุมขังไว้ที่ กองกำกับการสันติบาล (บริเวณโรงพยาบาลตำรวจในปัจจุบัน) ในวันที่ถูกจับกุม ได้มีลูกศิษดิ์ของจิตรหลายคนไปเยี่ยม  เมื่อนักศึกษาถามถึงว่า "อาจารย์จิตรอยู่หรือป่าวคะ" ก็มีเสียงตอบจากผู้ที่ถูก คุมขังร่วมกับจิตร ตอบกลับออกมาว่า "ถ้าเขาไม่อยู่ที่นี่แล้วเขาจะอยู่ที่ไหนละจ๊ะหนู"  จิตรถูกคุมขังตามสถานที่ต่างๆ ประมาณสามแห่ง คือ กองปราบปทุมวัน  เรือนจำลาดยาวใหญ่  และเรือนจำลาดยาวเล็ก 
 


         จอมพลสฤษดิ์   ธนรัชต์ ใช้วิธีเหวี่ยงแห กวดเอาคนที่ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์มาขังไว้หมด ในลักษณะที่ ว่าจับมาสิบคนเป็นคอมมิวนิสต์หนึ่งคนก็ถือว่าใช้ได้   ภายในคุกลาดยาวเมื่อต้นปี พ.ศ.2501
 จึงมีคนหลายกลุ่มมารวม กันในคุกการเมือง
          กลุ่มแรก เป็นสมาชิกองค์กรจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) เช่น  เปลื้อง  วรรณศรี, อุดม  สีสุวรรณ , หนก  บุญโยดม และคนอื่นๆ
          กลุ่มที่สอง เป็นนักการเมืองแนวสังคมนิยม  เช่น  เทพ   โชตินุชิต , พรชัย  แสงชัจจ์ , เจริญ  สืบแสง และคนอื่นๆ
          กลุ่มที่สาม เป็นพวกนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์   เช่น  อุทธรณ์    พลกุล , อิศรา  อมันตกุล , สนิท  เอกชัย , เชลง    กัทลีระดะพันธ์  และคนอื่นๆ
          กลุ่มที่สี่ เป็นนักศึกษาปัญญาชน  ที่มาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น  จิตร   ภูมิศักดิ์ , ประวุฒิ   ศรีมันตะ, สุธี   คุปตารักษ์  จากมหาวิทยาลัยเกษตร เช่น  นิพนธ์  ชัยชาญ , บุญลาภ  เมธางกูร และนักศึกษาหนุ่มอีกหลายคน
          กลุ่มที่ห้า เป็นชาวนาจากบ้านนอก และชาวเขาจากดอยในภาคเหนือ เป็นพวกที่ไม่รู้เรื่องอะไร  ซึ่งถูกกล่าวหาว่า เป็นชาวนาที่อยู่ในสายจัดตั้งของ พคท.

          กลุ่มนักศึกษารวมกันในนาม "กลุ่มหนุ่ม" หรือ "กลุ่มเยาวชน"  โดยมีจิตร เป็นแกนหลักคนหนึ่งของกลุ่ม  ในคุกลาดยาว  องค์กรพรรคคอมมิวนิสต์ได้แยกออกเป็นสองปีก  ปีกขวาประกอบด้วยกรรมการกลางพรรคฯกับสมาชิก พรรคฯภาคใต้  ส่วนปีกซ้ายมีสมาชิกพรรคฯภาคอีสานร่วมมือกับกลุ่มหนุ่ม
          ปีซ้ายโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่า เป็นพวกฝันกลางวัน หรือนักประนีประนอม "พวกฉวยโอกาสเอียงขวา" หรือ "พวก ลัทธิยอมจำนน"  ด้านปีกขวาก็โจมตีปีกซ้ายว่า เป็น "พวกโฉยโอกาสเอียงซ้าย" หรือ "พวกลัทธิสุ่มเสี่ยง"

          ในปี พ.ศ.2503  ชาวลาดยาวทั้งซ้ายและไม่ซ้ายได้รวมกัน ก่อตั้งรูปก่อร่างคณะกรรมการสามัคคีเพื่อช่วยเหลือ เพื่อนๆที่อยู่ร่วมกัน   มีการแบ่งงานออกเป็นแผนกการผลิต  แผนกการศึกษา  แผนกดนตรีและกีฬา  แผนกสวัสดิภาพผู้ ต้องขัง   โดยมีประธานคือเทพ  โชตินุชิต

 

ต่อมาเมื่อวันที่   30  ธันวาคม   พ.ศ.2507  
จิตร  ภูมิศักดิ์ได้รับการปล่อยตัว   เนื่องจากศาลกลาโหมยกฟ้อง   รวมเวลาที่จิตรถูกคุมขังโดยไม่มีความผิด  6 ปีเศษ  

ระหว่างที่จิตรอยูในคุก  จิตรได้ทุ่มเวลาในการเขียน หนังสือ ผลงานเด่นๆ  ของจิตรที่เกิดขึ้นในคุก  อาทิเช่น  ผลงานแปลนวนิยายเรื่อง "แม่"  ของแมกซิมกอร์กี้ , โคทาน  นวนิยาย จากอินเดียของเปรมจันท์ (แปลไม่จบ)   และผลงานทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ คือ  "ความเป็นมาของคำสยาม  ไทย  ลาวและขอม และลักษณะทางสังคม ของชื่อชนชาติ"   

          เดือนตุลาคม  พ.ศ.2508   จิตร   ภูมิศักดิ์ ได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน  เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับ พรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย ( พคท.) ในนาม "  สหายปรีชา  "  

และในเดือนพฤศิจกายน พ.ศ.2508 สายปรีชา ได้เดินทางไปที่ บ้านดงสวรรค์  ชายป่าดงพันนาโดยมีไสว นักรบแห่งบ้านเปือยไปรอรับ  มุ่งสู่ที่มั่นกลางดงพระเจ้า ในฐานะ "คนผ่านทาง" ซึ่งจะได้รับการส่งตัวไปปฏิบัติงานในจีนตามคำขอของสหายไฟ (อัศนี  พลจันทร) ต่อ พคท.  แต่จิตรขอ เรียนรู้การปฏิวัติในชนบทไทยเสียก่อนระยะหนึ่ง   

          สหายปรีชาใช้ชีวิตอยู่ที่ดงพระเจ้าได้ไม่นาน  กองทหารป่าก็ถูกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ากวาดล้าง  นับเป็นครั้ง แรกที่มีการแตกเสียงปืนในดงพระเจ้า 

 วันเสียงปืนแตก

          วันที่  7  สิงหาคม  พ.ศ.2508  มีการปะทะกันระหว่างตำรวจกับทหารป่าเป็นครั้งแรก ที่บ้านนาบัว  อำเภอนาแก  จังหวัดนครพนม  พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นของสงครามประชาชน ในที่ประชุมกรมการเมืองขยายวงที่ดงพระเจ้าเมื่อเดือนกันยายน  พ.ศ.2508 ก็มีมติรับรองและอนุมัติให้ตอบโต้ฝ่าย รัฐบาลด้วยกำลังอาวุธได้   กองกำลังทหารป่าที่ยังไม่มีชื่อหน่วยมาก่อนก็ได้มีชื่อขึ้นมาบ้างแล้วว่า " พลพรรคประชาชน ไทยต่อต้านอเมริกา"  เรียกย่อๆว่า "พล.ปตอ."  ธง  แจ่มศรี(ลุงธรรม) ได้มอบหมายให้จิตร  ภูมิศักดิ์แต่งเพลง มาร์ชประจำพลพรรค ด้วย 





          สหายปรีชาและพวกได้ถอยทัพจากเหล่าขี้เหล็ก  ตัดผ่านป่าไปทางบ้านส่งดาว หยุดพักพลที่บ้านบ่อแกน้อย ซึ่งมี นายพลจำปา หรือ พ่อจำปา เป็นแกนนำ  และขบวนถอยทับได้ข้ามภูผาเหล็กไปยังภูผาดง  ผ่านภูผาลมไปที่ภูผาหัก ซึ่ง ใกล้ๆกันนั้นมีหมู่บ้านผาหัก (หรือบ้านผาสุก)  และด้านข้างของหมู่บ้านเป็นภูเขาที่ชื่อว่า "ภูผาตั้ง"  

ซึ่งภูผาแห่งนี้กลาย เป็นที่ตั้งแห่งใหม่ของทับใหญ่   สหายปรีชาได้ปฏิบัติงานมวลชนที่นี่ โดยมีสหายสวรรค์เป็น "ทหารพิทักษ์"  คอยติดตาม และเป็นเพื่อนร่วมงาน   ที่ภูผาลมสหายปรีชาได้แต่งเพลง "ภูพานปฏิวัติ" ขึ้นกลายเป็นเพลงต่อต้านอันโดดเด่นของ ขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย  

          วันที่ 4  พฤษภาคม  2509  สหายปรีชาและพลพรรคอีก 5 คนข้ามทางสายวาริชภูมิ-ตาดภูวง  มาทำงาน มวลชนที่บ้านหนองแปน  และบ้านคำบ่อ  ในวันรุ่งขึ้นได้ถูกล้อมปราบจากฝ่ายรัฐบาล  สายปรีชา  สหายสวรรค์และ สหายวาริช ได้หลบหนีไปทางเทือกเขาภูอ่างศอ  แต่ได้หลงทางไปถึงบ้านหนองกุงในเวลาเย็น  ด้วยความหิว     


บริเวณนาจารย์รวย  ที่ซึ่งจิตร  ภูมิศักดิ์ ถูกล้อมยิงเสียชีวิต
 สหายปรีชาได้เข้าไปขอข้าวในหมู่บ้านหนองกุ่ง ที่บ้านของ นางคำดี   อำพล แต่นางคำดีได้แอบให้คนไปแจ้งแก่ กำนันคำพล  อำพน (กำนันแหลม)   เมื่อจิตรได้รับห่อข้าวก็ เดินทางออกมา ที่ชายป่าท้ายหมู่บ้านเพื่อนำห่อข้าวมาให้ กับสองสหาย  แต่ถูก กำนันแหลมและกลุ่มทหาร อส.ตามมาทัน ที่นาจารย์รวย และสหายปรีชาได้ ถูกล้อมยิงเสียชีวิต 
          วันที่ 5   พฤษภาคม   พ.ศ.2509  จิตร    ภูมิศักดิ์ ถูกล้อมยิงเสียชีวิตลงที่ชายป่าบ้านหนองกุง   ตำบลคำบ่อ  อำเภอวาริชภูมิ  จังหวัดสกลนคร
 


--------------------------------------------------------------------------------

แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมานานหลายสิบปี  นับแต่การจากไป ของจิตร   ภูมิศักดิ์แต่  ณ  วันนี้ชื่อของจิตร  ภูมิศักดิ์ ก็ยังคงอยู่   ผลงานและประวัติของเขายังมีผู้กล่าวขานถึงทุกวันนี้ มีคนเกิดจาก เขามากมาย 

          เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.2544 คณะผู้จัดทำได้มีโอกาสไป ร่วมงานสืบสานภูมิปัญญา ปกป้องพันธุ์กรรมพื้นเมืองที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ในเวลาค่ำก็ได้ชมการแสงดนตรีของ พี่น้องนักศึกษาชาวเขาจากศูนย์การศึกษาทางเลือกม่อนสอยดาว ขับกล่อมเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา  และการกล่าวขานถึงจิตร  ภูมิศักดิ์อย่างน่าประทับใจมาก  
 


http://www.geocities.com/thaifreeman/jit/pumisak12.html

 ม่านฟ้ายามค่ำ  ดั่งม่านสีดำม่านแห่งความร้าวระบบ เปรียบ เหมือนดวงใจ มืดทึบระทม พ่ายแพ้ซานซมพลัดพรากบ้านมา
      ต่อสู้กู้ถิ่น และสิทธิ์เสรีกู้ศักดิ์และศรีโสภา จึงพลัดมาไกล ทิ้งไว้โรยรา จะร้างดังป่าอยู่นับปี
      เคยสดใส รื่นเริง ดังนกเริงลม ถลาลอยชื่นชม อย่างมีเสรี แม้ร้อยวัง วิมานที่มี มิเทียมเทียบปฐพีที่รักมั่น
      ความใฝ่ฝันแสนงาม แต่ครั้งเคยเนาว์ ชื่นหวานในใจเราอยู่มิเว้นวัน ความหวังยังไม่เคยไหวหวั่น ยึดมั่นว่าจักได้คืนเหมือนศรัทธา
      แว่วเสียงก้องกู่ จากขอบฟ้าไกล แว่วดังจากโพ้นนภา บ้านเอ๋ย เคยเนาว์ กังวานครวญมา รอคอยเรียกข้าทุกวัน

........................
   จิตร   ภูมิศักดิ์แต่งเพลงนี้ ใช้นามปากกาว่า สุธรรม  บุญรุ่ง แต่งขึ้นระหว่าง ถูกจองจำในคุกประมาณปี พ.ศ.2503 - 2505

      ทองใบ   ทองเปาด์ ได้เขียนอธิบายเพลงนี้ในหนังสือ คอมมิวนิสต์ลาดยาว ว่า  ความรัก  ความสุขที่เรามีต่อบ้าน ต่อมาตุภูมิของเรานั้นยิ่งใหญ่เหนือสิ่งใด พวกเรา ที่ถูกอสูรเผด็จการบังคับจับให้ต้องพลัดพลากจากบ้าน และ ครอบครัวที่รัก  รวมทั้งแผ่นดินที่เราเคยทำกินนั้น  ทุกวันอันมืดมนนี้ เราล้วนได้ฟังเสียงกู่เพรียกหาจากแม่  จากลูก  จากเมีย แม้กระทั่ง จากพื้นปฐพีที่เราเคยทำกิน

      นี่คือความรัก ความศรัทธาของเราที่ทำให้เรายืนหยัดอยู่ได้อย่างทรนง  เพื่อที่วันหนึ่งเราจะได้มีโอกาสกลับสู่มาตภูมิของเราอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี

      นี่คือ เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ

1147971298.jpg				
2 ธันวาคม 2551 17:41 น.

ฉัตรเพชรรัตนมณี สีชมพู..เบิกฟ้า...มิ่งขวัญหล้า หลอมรวมใจ..!

พุด

RW2300x39.jpg12176_27239.jpg1179738503.jpg107_1858.JPG5.jpg
น้อมเกล้าถวายดวงดอกกุหลาบพันปี
แด่พระองค์ดั่งฉัตรมณีพระมิ่งขวัญ
อธิษฐานจิตทรงทิพยสุขนิรันดร์
เทวาสวรรค์ทุกชั้นฟ้าถวายพระพร...
................................

ฉัตรเพชรรัตนมณี สีชมพู..เบิกฟ้า...ใจไทยทั้งหล้า..พร่างพราว...!


attachment.php?attachmentid=130684&stc=102950.jpgpic06191%5B1%5D.jpgpic_c.jpgLotus2.jpg
โลกวันนี้สีชมพูผ่องพราว
คืนเหน็บหนาวทั้งพสุธาไทยหายสิ้น
ไทยทั้งชาติปิติกราบแทบเบื้องพระยุคลบาทน้ำตาริน
เจ้าแผ่นดินผู้ครองใจไทยทั้งปวง

คือพระมิ่งมงคลกมลดั่งเพชรพร่าง
ทุกก้าวย่างสอนสัจจธรรมดำเนินล่วง
หยาดพระเสโทร่วงพราวราวหยาดเพชรสู่เรียวรวง
เพื่อให้ปวงพสกนิกร..มีกิน..

หยาดน้ำใจใสงามประดุจดั่งน้ำค้างฟ้า
ระรินหล้าทุกหนแห่งดับแล้งสิ้น
รักห่วงใยแก้ไขปัญหาให้ทั้งแผ่นดิน
ไททุกชีวินตามรอยบาททุกชาติภพ

ขอมอบกายถวายมโนชีวีธุลีหล้า
แด่ชาติศาสนาตราบดินกลบ
ทำความดีตามรอยพ่อจิตน้อมนบ
เพียรอธิษฐานขอพบ..พระมิ่งขวัญนิรันดร์กาล...!



StoryFieldLogo.jpg04139-14.jpgหยาดพระเสโทร่วงพราวราวหยาดเพชรร่วงพลีแด่ผืนพสุธาไทนี้..แล..ผองชน.. 



http://www.thaipoem.com/forever/ipage/song6196.html
(อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์*รัก)


สองดวงใจ....
ลำน้ำน่าน....พุดพัดชา
ดั่งธุลีหล้า...
ข้าแห่งแผ่นดินไทผืนดินธรรมแผ่นดินทอง
ขอ..
ปองมั่นหมายจิต
อธิษฐานนิรมิตทิพยทองสร้อยภาษาอักษราไทย
ด้วย...
ดวงใจพิสุทธิ์ใส...
ดั่งหยาดน้ำค้างกลางหาวห้วงแห่งกตเวทิตา
สำนึกรู้...
ในพระเมตตาพระมหากรุณาธิคุณ
ขอน้อม..
ศิระกรานกราบ..ณ..แทบเบื้องพระยุคลบาท
ด้วยแรงแห่งรักภักดี
พลีเทิดพระเกียรติแด่องค์ราชันขวัญชาติ

ด้วย...
บทความเรียงพร้อมบทกวี
*พบพุทธบุญเพรงสยาม*
เพื่อ..
เทิดไท้สดุดี..
พระปิ่นเพชรจอมขวัญจอมใจไทยทั้งชาติ...
เนื่อง..
ในวโรกาสมงคลสมัย
ที่พระองค์ทรงเถลิงถวัลยครองสิริราชสมบัติ
*ครบรอบ60ปี
ด้วย..
ทศพิธราชธรรม 
ที่ธ..ทรงนำไทยให้แสนสุขสงบร่มเย็นเป็นสุข...
บรรเทาทุกข์ ทุกหย่อมหญ้า 
ด้วย..
พระปรีชาสามารถที่ทรงมองเห็นการณ์ ไกลเป็นยิ่งนัก


และ..ยังทรงตรัสสอน
ให้รู้จักใช้ชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย
พอดี พอเพียง...มาอย่างช้านาน...
เพื่อปกบ้าน..
ป้องเมืองของเรานี้
เอาไว้..
ให้ลูกหลานไทยได้มีอิสระเสรี
ที่จะยังคงมีผืนดินหยัดยืน ได้อย่างทรนง 
คงความเป็นไท ให้..แสนภาคภูมิปิติใจ
ไปตราบชั่วกาลนานเนานิรันดร์...

................................. 


พบพุทธบุญเพรงสยาม..ลำน้ำน่าน


๑) อยุธยายศล่มแล้ว...........ลอยสวรรค์ ลงฤา*
โคลงสะอื้นรำพัน.................ศึกแพ้
แรมนิราศจาบัลย์................บุณย์รักษ์ เวียงแล
อินนรินทร์ธิเบศร์แล้...........ร่ำร้าวโคลงหวนฯ
(*นิราศนรินทร์)

(๒) เศวตฉัตรช่อฟ้า............    วงศ์สวรรค์
เก้ารัชกาลบรร-...................    จบแล้ว
รัตนวงศ์วรรณ....................    วัฏแผ่น ดินแฮ
สันตติวงศ์แพร้ว.................    ร่วงรุ้งเรืองสยามฯ

(๓) แดง...ฤกษ์ไทฤกษ์ด้าว..    ดำเกิง สุรีย์แล
แดง...เลือดหลั่งเลือดเชิง.....    ศึกเชื้อ
แดง...มารมอดมารเพลิง......    พ่ายพุทธ
แดง...ชาดหรคุณชาดเกื้อ.....   เลือดแก้วละเลงสยามฯ

(๔) น้ำเงินงามรามร่มเกล้า....   เครือกษัตริย์
กษัตริย์เกษมวิวรรธน์.............วรทล้ำ
ล้ำแผ่นสุพรรณบัฏ...................บรมราช- วงศ์แล
ราชธรรมเพียบพร้ำ.................พุทธพร้อมพรสยามฯ

(๕) เขียว..กระทงตองท่องท้อง...ธารทอง
เขียว...ทุ่งข้าวรวงรอง...............ระบัดกล้า
เขียว...ผักคละครองคลอง.........เครียวยอด 
เขียว...พระมรกตหลักหล้า........เหล่านี้มณีสยามฯ

(๖) ขาว...กลีบแก้วพุดซ้อน.......แซมทรวง
ขาว...หยดน้ำค้างยวง...............หยาดน้ำ
ขาว...ข้าวดอกมะลิรวง..............หุงใหม่ 
ขาว...ดอกบัวไป่ช้ำ...................ผ่องแผ้วพุทธถวายฯ

(๗) เหลือง...รวงพวงพุ่มข้าว......โพสพสรม
เหลือง...พัสตร์สงฆ์รงค์ลม.........รุ่งคุ้ง
เหลือง...อรุณแรกขานขรม........ขมิ้นเพรียก 
เหลือง...บุปผาร่วงรุ้ง................เรื่อแล้วลานสยามฯ

(๘) แว่วตะโพนแผ่วพ้น...........เพลบุญ
โพ้นวรรษาราพิกุล...................เกี่ยวข้าว
ปรางค์สางรุ่งอรุณ.....................ระดะยอด อวดแฮ
บุญสยามค่ำเช้า........................ชาติฟื้นเกษตรศานต์ฯ 

(๙) ขึ้นสิบห้าค่ำไหว้..................วิสาขา
เทียนรุ่งร่ำเรียมตา...................ตาดเคื้อ
นวลเดือนอาบปฏิมา.................มณฑป 
อาบโบสถ์เทียนอาบเนื้อ...........นุชหน้าพัสตร์สงฆ์ฯ

(๑๐) ไขประทีปประดับต้น.........รัตติธรรม
สงฆ์แว่วแจ้วลำนำ...................นพน้อม 
เพลาพร่าจันทรารำ-.................ไรยอด โพธิ์แล
โบสถ์ค่ำพัสตร์ภายพร้อม..........พร่างพื้นแขไขฯ

(๑๑) ข้าวออกรวงดกแล้ว..........ละลานตา
ไหวว่ายตะเพียนปลา...............ผุดปลื้ม
พลบค่ำเพรียกวิหคนา............ นางเพรียก ละเมอฤา
แรมล่าอริราชครึ้ม...................ศกคล้อยเรือนหายฯ

(๑๒) ทองหยิบเคยหยิบป้อน......เพลา เสมอนอ
เรียมหยาดหวานหยาดตา.........ขยิบซึ้ง
เรียมหยอดรักหยอดยา.............หยดพิษ
แรมรักร้าวรักทึ้ง......................หยิบแย้มแซมขมฯ

(๑๓) รอนตะวันลับเศร้า...........บึงอุบล
จันทร์แจ่มแย้มนวลยล............เยี่ยมฟ้า
ขิมครวญดั่งครางคน.................ครวญพี่ นะแม่
นิราศเรียมห่างหน้า.................ห่อนได้แลเห็นฯ

(๑๔) ปรารถนาภาพลึกล้ำ.........ละเลงบุญ
เกล็ดทิพย์ลิบละมุน..................ม่านน้ำ
อารยธรรมค้ำจุน......................จวบค่ำ
เจ้าพระยาพาข้าม......................ล่องฟ้าสวรรค์สยามฯ

(๑๕) ทอดสะพานล่องข้าม..........แขนงชล
ระยับหมอกดอกอุบล.................เบ่งใต้
บัวเรียมระเมียรยล..................หยั่งย่าน ชเลแล
บัวสี่เหล่าเนาไซร้.....................สร่างสิ้นธรรมสรรค์ฯ

(๑๖) พรพรหมธรรมแต่เบื้อง....บุราณกาล
สืบแผ่นดินระรินมาลย์.............อะคร้าว
ข้าวจวักตักถวายทาน...............ทรวงบาตร อรุณแล
พบพุทธบุญเพรงข้าว................กนกเนื้อนาถสยามฯ

(๑๗) พุทธคุณไตรรัตน์ล้ำ.........รวีอรุณ
พุทธุปบาทกาลบุญ....................เบิกฟ้า
พุทธศาสนิกละมุน...................พุทธชาด สยามนอ
พุทธบุตรโชติชวาลหล้า.............สว่างเพี้ยงพันแสงฯ

(๑๘) เพชรพิกุลเกล็ดแก้วร่วง..พะไลทราย
พันพร่างธรรมทองพราย...........พิจิตรฟ้า
มะลิหล่นร่วงโรยวาย.................วัฏจักร
เบิกรุ่งบุญระบายหล้า............... โบสถ์เบื้องระเบียงวิหารฯ 

(๑๙) บัวบังใบตะไคร่ครึ้ม..........บัญจรงค์
บังอุบลจตุวงศ์..........................เวี่ยน้ำ
เบญจภูตโพชฌงค์....................ฌาปนกิจ บังฤา
เบญจขันธ์กิเลสล้ำ....................ยากยั้งบังไฉนฯ 

(๒๐) เบญจขันธ์กิเลสรั้ง............ยามโยค ญาณเอย
ทุกข์สร่างหมางเศร้าโศก...........สร่างสิ้น
วิปัสสนาวิโมกข์........................วิมุตติ
เบี่ยงบ่วงอบายหวิ้น..................วิวัฏโพ้นพรหมสวรรค์ฯ

(๒๑) ปราชญ์ใดในโลกร้าง.......ธรรมา
แสวงสว่างศาสนา....................เสน่ห์น้อม
ฤาประลาตพันธนา...................เนืองยศ 
กิเลสรัดมายาย้อม....................ขุ่นข้นใจถลำฯ

(๒๒) ปวงปราชญ์ปรัชญ์ก่อเคื้อ..กวีนิพนธ์
เพาะบ่มอักษรมนตร์.................มิ่งแก้ว
ค่าคำรดเหล่าอุบล.....................บริพัตร ทวีปนา
สงฆ์สะแบงกลดแล้ว.................เกียรติคล้อยครืนหลังฯ

(๒๓) เงาเมรุเงาวัดเวิ้ง.............ไพหาร
พุทธะหลั่งวิญญาณ....................หยาดไว้
ชะรอยพุทธเพรงกาล................มาล่ม ลงแล
ธารพระธรรมผากไร้................ร่อยร้างมลายขวัญฯ

(๒๔) พรายน้ำวาววับน้ำ...........นองพระยา
เงาโบสถ์คร่ำลำนาวา................ลิ่วลื้น
ไหลลอยล่องชีวิตมา..................มาดมุ่ง เมืองแล
จมคลื่นกระแสไป่ฟื้น...............ฝากน้ำซากสลายฯ

(๒๕) ปณิธานไพร่ฟ้า...............กวีไพร
พลีหลั่งเลือดละไม....................มุ่งฟื้น
ปลุกสำนึกดื่มดวงใจ.................ชนชาติ กวีนอ
กราบแผ่นดินน้ำตารื้น.............รักษ์ร้อยชาติสยามฯ

..............................



ดวงสุริยเทพ...
กำลังเผยโฉมอวดองค์อย่างสง่างาม
แผ่สร้านกำจายรัศมีสีรุ้งฉายฉาน
ปานประหนึ่งดั่งมณีแก้ววิเศษนพรัตน์อันจำรัสจำรูญ


ไขแสงสายพรายเหนือฟ้า*รัตนโกสินทร์*
แผ่นดินทองแผ่นดินไท..
แผ่นดินสาลีเกษตรอันแสนกว้างใหญ่ไพศาล
อัน..
ยังคงงามไสว..ด้วยเรียวรวงระย้าระยับ...
ราว..ถูกหัตถ์ทิพย์ปรายโปรย
โรยละอองอาบด้วยอัญมณีเพชรพราว..ระยิบ...


ตะวัน..ดวง...
ที่โชติช่วงฉายฉานเฉิดฉันท์พรรณราย
งามที่สุดในแผ่นดิน...ณ..วันนี้ในวันนี้
วันที่9มิถุนายนพุทธศักราช2549
วันครบรอบเฉลิมฉลองครองราชย์ครบ 60ปี
แห่ง..
องค์พระมหาจักรพรรดิในดวงใจ..ของปวงชนชาวไทย


สายแสงแดด..ดั่งดาดทองดาดเพชรพราว
งามอะคร้าว...ตกต้อง..ลงกระทบผืนหล้าฟ้าไทย
ที่กำลัง...
พร่างไสว...ราวมีรัศมีสีเหลืองทองสุกปลั่ง
แห่งแก้วโกเมนมณีงามผ่องผุดจรัสชัชวาลย์
ขึ้นมา..
ในแดนดินสุวรรณภูมิพุทธิ์..ให้แสนพิลาสพิไล


ปวงเทพยดาฟ้าดิน..สิ้นทั้งมวลมนุษย์ทั่วโลกหล้า
ต่างพา..
กันมาเฉลิมฉลองแซ่ซร้องสรรเสริญสดุดี
ดั่งมี..
เสียงทิพยดนตรี มีเพลงพิณ..
ลอยมาจากแดนเทวสวรรค์ทุกชั้นฟ้า
ที่ทวยเทพเทวา ต่างพากัน..
มาดีดสีพลีบรรเลงดั่งเพลงพรหมเสนาะ..สนองพร


สายน้ำเจ้าใจพระยา...ในทิวาราตรีนี้
ดั่งกระแสธารสีทองล่องไหลมาจากแดนดินศักดิ์สิทธิ์
มหาบรรพตหิมพานต์ 
ทิพยพิมานฟ้าขวัญแดนสวรรค์สรวง

ทอดตัวนิ่งเงียบสงบ 
เคี้ยวคดดั่งพญานาคจากแดนบาดาล..
รอรับขบวนพยุหยาตรา
อันแสนเกริกเกียรติเกรียงไกร
อัน...
แสนงามยิ่งใหญ่..
ซึ่งหามีไม่แล้วในพื้นปฐพี
ที่จะหาที่ไหนมาเทียมทันดั่งสวรรค์ลอย.....


แสงสีทองพร้อยแพร้วพร่างพราย
สาดส่องทั่วมหานทีธารเจ้าพระยา
ดั่งสายแสงแห่ง..
*มณีสวรรค์*
หยาดสายหวานหว่านเย็นลงประดับโลกหล้าแลฟ้าไทย


เสมือนเสมอ..
รัศมีหยาดเย็นแห่งน้ำพระทัย
ดั่ง...
น้ำค้างแก้วน้ำค้างฟ้า น้ำฝนทิพย์
หยาดอมฤตให้พสกนิกรไทยได้จิบ 
ด้วยดวงจิตแสนไสวเกษมเปรมปรีย์ปิติ
เปี่ยมล้น
ด้วย...
ความซึ้งค่า ในน้ำพระทัยมากล้นพระเมตตา
แสนชื่นชมโสมนัสในพระบารมี
แห่งพระบรมมหากษัตราธิราชเจ้า
นาม...
*พระภูมิพลนวมินทร์มหาราชา...*
พระโพธิทองร่มฟ้า..ร่มฉัตร...
แห่งผืนดินไทแผ่นดินธรรม...
พระ..
ผู้เปรียบดั่งสายธาราระรินใสสะอาด
ที่..เพียรหยาดสายพรายแผ่รัศมีฉ่ำเย็น
ดั่งมาจากธารทองแห่งพรหมโลก 
มาดับร้อนผ่อนโศก ให้โลกนี้แสนงาม...
ไป...จน...ตราบชั่วกาลกัปป์กัลป์...นิรันดร...
...............

กองทัพเรือจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ในโอกาสประชุมเอเปคในประเทศไทยพุทธศักราช ๒๕๔๖
ประพันธ์โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัยผู้เห่ 
พลเรือตรี มงคล แสงสว่าง
           
 บทที่ ๑ชมเรือ
ลอยลำงามสง่าแม้น................มณีสวรรค์    
หยาดโพยมเพียงหยัน...........ยั่วฟ้า    
สายชลชุ่มฉ่ำฉัน                    เฉกทิพย์ ธารฤา    
ไหลหลั่งโลมแหล่งหล้า            หล่อเลี้ยงแรงเกษม 

เรือเอยเรือพระที่นั่ง              พิศสะพั่งกลางสายชล    
ลอยลำงามสง่ายล                   หยาดจากฟ้ามาโลมดิน    
สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย             งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์    
โอดโฉมโสมโสภิน                  ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม    
นารายณ์ทรงสุบรรณ              ดังเทพสรรเสกงามสม    
ปีกป้องล่องลอยลม                  ดุจเลื่อนฟ้ามาล่องลอย    
กระบี่ศรีสง่า                          งามท่วงท่าไม่ท้อถอย    
เรือครุฑไม่หยุดคอย              ยุดนาคคล้อยลอยเมฆินทร์    
อสุรวายุภักษ์                         ศักดิ์ศรีคู่อสุรปักษิน    
พายยกเพียงนกบิน               ผินสู่ฟ้าร่าเริงบน    
เรือแซงแข่งเรือดั้ง                พร้อมสะพรั่งกลางสายชล    
เรือชัยไฉไลล้น                     ยลเรือกิ่งพริ้งเพราตา    
ยักษ์ลิงกลิ้งกลอกกาย             แลลวดลายล้วนเลขา    
รูปสัตว์หยัดกายา                   พาโผนเผ่นเป็นทิวธาร    
นาวาสถาปัตย์                        เชิงช่างชัดเชี่ยวชาญฉาน    
ท่อนไม้ไร้วิญญาณ                 ท่านเสกสร้างเหมือนอย่างเป็น    
ฝีมือลือสามโลก                      ดับทุกข์โศกคลายเคืองเข็ญ    
ยิ่งยลยิ่งเยือกเย็น                 เห็นสายศิลป์วิญญาณไทย    
เจ้าเอยเจ้าพระยา                  ถั่งธารามานานไกล    
เอิบอาบกำซาบใจ                   หล่อเลี้ยงไทยแผ่นดินทอง    
รวงทองเหลืองท้องทุ่ง              แดดทอรุ้งเหนือเขื่อนคลอง    
ข้าวปลามาเนืองนอง               เรือขึ้นล่องล้วนเริงแรง    
วัดวาทุกอาวาส                       พุทธศาสน์ธรรมทอแสง    
น้ำใจจึงไหลแรง                    ไม่เคยแล้งจากใจไทย    
เกลียดใครไม่นานวัน            แต่แรกนั้นนานกว่าใคร    
เจ้าพระยาหยาดยาใจ             คือสายใยหยาดจากทรวง    
เห่เอยเห่เรือสวรรค์               เพลงคนธรรพ์ลั่นลือสรวง    
ฝากหาวเดือนดาวดวง            อย่าลับล่วงอยู่นิรันดร์เทอญ. 

บทที่ ๒
ชมเมือง

สยามเอยอุโฆษครื้น             คุณขจร    
สุขสถิตสถาพร                      ผ่านฟ้า    
ไตรรงค์ลิ่วลมสลอน             .อวดโลก    
ตราบเมื่อนี้เมื่อหน้า             เมื่อโน้นนิรันดร์เกษม 

  
สยามเอย สยามรัฐ               งามร่มฉัตรทัดเทียมโพยม    
กิตติศัพ์ขับประโคม              โคมครืนครั่นลั่นหน้าคง    
สุโขทัยไกลสุด                      ถึงอยุธยายง    
ธนบุรีลอยฟ้าลง                    ทรงศักดิ์ฟื้นคืนคุณขจร    
รัตนโกสินทร์ศิลป์                สืบระบิลอันบวร    
แม่นแม้นแดนอมร              ถอนจากฟ้ามาเมืองดิน    
เจ้าเอย เจ้าพระยา               ถั่งธารามาเรื่อยริน    
ทวยไทยได้อาบกิน               ลินลาศลุ่มขุมกำลัง    
งามเอย งามระยับ                 แวววาววับวัดเวียงวัง    
ย่ำค่ำย่ำระฆัง                       วังเวงหวานซ่านซึ้งเสียง    
เจดีย์ศรีสูงเหยียด                เสียดยอดท้าฟ้ารายเรียง    
ปรางค์ยอดทอดเงาเคียง       เลี้ยงตาเมืองเรื้องเรืองรมย์    
พืชพันธุ์ธัญญาผล                 เลี้ยงชีพชนดลอุดม    
นาสวนชวนชื่นชม               ร่มรื่นไม้ไพรพฤกษ์มี    
รอยยิ้มพิมพ์ใจสวย              ชนรุ่มรวยด้วยไมตรี    
เสน่ห์ประเพณี                     ศรีสง่ามานิรันดร์    
น้ำใจไม่เคยจืด                    อยู่ยาวยืดยิ้มยืนยัน    
ต่างเพศต่างผิวพรรณ           แต่ใจนั้นไม่ต่างใจ    
แขกบ้านแขกเมืองมา           ไทยทั่วหน้าพาสดใส    
ท่านมาจากฟ้าไกล                อยู่เมืองไทยไร้กังวล    
เทคโนอาจน้อยหน้า             แต่ข้าวปลาไม่ขัดสน    
สินทรัพย์อาจอับจน               แต่ใจคนไม่จนใจ    
บ้านเรือนไม่หรูหรา              แต่สูงค่าปัญญาไทย    
หนทางอาจห่างไกล               แต่หัวใจใกล้ชิดกัน    
ศาสนาสถาพร                      ประชากรเกษมสันต์    
ร่มธรรมฉ่ำชีวัน                   ฟั้นฝึกใจใฝ่ความดี    
ราชันขวัญสยาม                   ปิ่นเพชรงามปักธานี    
ร่มพระบารมี                        ศรีไผทฉัตรชัยชน    
ไตรรงค์ธงชัยโชค                 ลอยอวดโลกโบกลมบน    
ขวัญฟ้าขวัญตายล                 ล้นเลิศหล้าศักดิ์ศรีสยาม    
เมื่อนี้ตราบเมื่อหน้า              คงคู่หล้ากล้าเกียรติงาม    
ใครบุกรุกเขตคาม                ตามหาญหักรักษ์แผ่นดิน    
ฟ้าเอย ฟ้าสยาม                   งามกว่าฟ้าทุกธานินทร์    
เพลงสยามทุกยามยิน           วิญญาณปลื้มดื่มด่ำเอย




และ..ทุกบทความด้านล่างนี้
ที่น้อมพลีมาเรียงวางไว้...เพียงส่วนหนึ่ง
จากหลายร้อยเรื่องที่พุดพัดชารจนานานมา...หลายปี
เพื่อน้อม*สดุดีพระองค์ท่าน..
ผู้ทรงเททุ่ม
*หยาดพระเสโทพราวราวหยาดเพชรพลี
แด่พสกนิกรแลผืนดินไท*ค่ะ

...................................


http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem42257.html
ความฝันอันสูงสุด
http://www.thaipoem.com/forever/poem.php?poemid=83930
น้ำพระทัยสู่รวงข้าวราวรวงเพชร
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem71714.html
ลีลาวดีมณีรุ้ง
http://www.thaipoem.com/forever/poem.php?poemid=76322
ขวัญข้าวขวัญชีวิต
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem64557.html
แด่พสุธาที่ข้ารัก
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem76049.html
แผ่นดินของเรา
http://www.thaipoem.com/forever/poem.php?poemid=80090
แผ่นดินเดือด
http://www.thaipoem.com/forever/poem.php?poemid=81097
เพดานดาว
http://www.thaipoem.com/forever/poem.php?poemid=79708
ผ้าไทไหมทอง
http://www.thaipoem.com/forever/poem.php?poemid=79639
พระแม่ขวัญมิ่งเมือง
http://www.thaipoem.com/forever/poem.php?poemid=83932
ดวงตะวันธันวา

http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem68585.html
ฟ้าพุทธภูมิ
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem64605.html
อัญมณีไท
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem67010.html
มงกุฏแก้วประกายพฤกษ์
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem65081.html
มุกดาเพ็ญ
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem62004.html
สไบนวลสไบนาง



http://truehits.net/let/index.php?id=29&pageNum=29
เพลงเห่เรือ
http://www.rta.mi.th/52200u/songs/honor.htm
เพลงสดุดี
.....................................


http://www.thaipoem.com/forever/ipage/song6196.html
รัก ....เพลงพระราชนิพนธ์ 

รักทะเล
อันกว้าง ใหญ่ไพศาล
รักท้องฟ้า โอฬาร สีสดใส
รักท้องทุ่ง ท้องนา ดั่งดวงใจ
รักป่าเขา ลำเนาไพร แสนสุนทร
รักพฤกษา รุกขชาติ ที่ดาษป่า
รักปักษา ร้องกู่ บนสิงขร
รักอุทัย สว่าง กลางอัมพร
รักทั้ง รัตติกร ในนภดล
รักดารา ส่องแสง สุกสว่าง
รักน้ำค้าง อย่างมณี มีโภคผล
รักทั้งหมด ทั้งสิ้น ที่ได้ยล
รักนวลนาง รักจน หมดสิ้นใจ

รักพฤกษา
รุกขชาติ ที่ดาษป่า
รักปักษา ร้องกู่ บนสิงขร
รักอุทัย สว่าง กลางอัมพร
รักทั้ง รัตติกร ในนภดล
รักดารา ส่องแสง สุกสว่าง
รักน้ำค้าง อย่างมณี มีโภคผล
รักทั้งหมด ทั้งสิ้น ที่ได้ยล
รักนวลนาง รักจน หมดสิ้นใจ... 
 




fl_19.jpgk80.jpg_01_Aug_2006_18272.jpgmom002.jpg				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟพุด
Lovings  พุด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟพุด
Lovings  พุด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟพุด
Lovings  พุด เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงพุด