22 กันยายน 2557 16:29 น.

เหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง

ปติ ตันขุนทด

         ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ  ๑
         เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ  ๑
         ทรงจำธรรมโดยเคารพ  ๑เหตุแห่งความเสื่อม
พระพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุแห่งความเสื่อมไว้ว่า
         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรม   ๕  ประการ   ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม   คือภิกษุในธรรมวินัยนี้
          
          ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ  ๑
          ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ  ๑
          ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ  ๑
          ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ  ๑
          รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ  ๑
          
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรม  ๕  ประการนี้แล   ย่อมเป็นไป   เพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม"
เหตุแห่งความมั่นคง
พระพุทธเจ้าตรัสถึงสาเหตุที่ทำให้พระศาสนามั่นคงว่า
         "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ธรรม  ๕  ประการนี้ย่อมเป็นไป  เพื่อความตั้งมั่น   ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม   ธรรม  ๕ ประการเป็นไฉน   คือ  ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
         ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ  ๑
         รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมโดยสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ  ๑
         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ธรรม  ๕  ประการนี้   ย่อมเป็นไป  เพื่อความมั่นคง   ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม"
***จาก  คัมภีร์ปัญจกนิบาต  อังคุตรนิกาย
          
30 กันยายน 2557 14:31 น.

เชียงแสนใหม่

ปติ ตันขุนทด

เชียงแสนมีแม่น้ำดขงให้ชม   ยามเย็นมานั่งสำราญกินข้าวกันริมโขง   ไปวัดพระธาตุผาเงา  ไว้พระทำบุญ  
ไปสามเหลี่ยมทองคำ   ชมทีเดียวสามแผ่นดิน  
  พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ยังร่วมมือกับนายมงคล จงสุทธนามณี 

อยู่เบื้องหลังการตายอย่างมีเงื่อนงำของนายสันติ ชัยวิรัตนะ  อดีต รมช.มหาดไทย เจ้าของฉายา รัฐมนตรีถนนควายเดิน  ที่ไปแย่งประมูลการก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียในจังหวัดเชียงราย

โดยมีนายสำเริง บุญโยปกรณ์ ผู้ว่าเชียงรายตอนนั้นรู้เห็นด้วย  โดยมือปืนคือนายจำรัส ผ้าเจริญ (สมพงษ์พรรณ)หรือลุงหนวด  ลูกน้องคนสนิทของนายมงคล จงสุทธนามณี และนายจำรัส มือปืนคนนี้ ก็คือคนที่นายหน่อคำใช้ให้ไปวางแผนร่วมกับทหารกองกำลังผาเมือง สังหารโหดพ่อค้าชาวจีน 13 คน บริเวณแม่น้ำโขง ช่วงอ.เชียงแสน จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554

ยัดยาเสพติดเพื่อแย่งเมีย

นอกจากนี้ ในปี 2544 มีกำนันคนดังแห่งอ.เชียงแสน  ชื่อนายฤทธิรงค์ มานะมนตรี หรือกำนันตี๋ เป็นผู้ที่มีเมียสวยชื่อนางมล  เป็นอดีตนางงามเชียงราย พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม จึงยัดข้อหา โดยตั้งข้อสงสัยว่ากำนันตี๋ เป็นผู้ลักลอบค้ายาเสพติด  จึงสั่งให้ตำรวจวิสามัญกำนันตี๋ เพื่อที่จะแย่งเอาภรรยา แต่กำนันตี๋ไม่ตาย  หนีไปอยู่กับครูบาบุญชุ่มที่ฝั่งพม่า ทำให้พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม  วิสามัญลูกน้องกำนันตี๋ตายแทน เพื่อปิดคดีที่บริเวณห้างบิ๊กซี เชียงราย  และเมียคนสวยของกำนันตี๋ก็ถูกตำรวจโจรสมคิดย่ำยีมาจนกระทั่งบัดนี้  ต่อมากำนันตี๋ได้กลับไทยโดยได้รับเลือกตั้งให้มาเป็นนายกเทศมนตรี เทศบาลเวียงเชียงแสน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2550  และเปลี่ยนชื่อเป็นนายพลภพ มานะมนตรีกุล

30 กันยายน 2557 14:07 น.

ประวัติย่อ เชียงแสน

ปติ ตันขุนทด

เชียงแสน 

ปติตันขุนทด

เชียงแสนเป็นเมืองโบราณ   ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลื่ยมด้านไม่เท่า   ด้านตะวันออกจรดแม่น้ำโขง  
ด้านเหนือมีแนวกำแพงเมืองยาว ๙๕๐ เมตร ด้านตะวันตกมีแนวกำแพงเมืองยาว ๒๔๕๐ เมตร 
 ด้านใต้ มีแนวกำแพงเมืองยาว ๘๕๐ เมตร ตามตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ ตำนานสิงหนวัติกุมาร และตำนานเมืองหิรัญนครเงินยาง 
 กล่าวว่า พญาแสนภู ทรงสร้างเมืองเชียงแสน มีกำแพงเมืองสี่ด้าน มีประตูเมือง ๑๑ ประตู กำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก ซึ่งถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทหลายลง มีประตูเมือง ๖ ประตู
 คือ ประตูรั้วปีก ๑ ประตูท่าอ้อย ๑ ประตูท่าสุกัม ๑ ประตูท่าหลวง ๑ ประตูท่าเสาดิน ๑ ประตูท่าคาว ๑ ด้านทิศเหนือ ประตูยางเทิง ๑ ด้านทิศตะวันตก ประตูหนองมุด ๑ ด้านทิศตะวันใต้ ประตูเชียงแสน ๑ ประตูดินขอ๑ ประตู....๑ ประตู....๑ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า พญาแสนภู ทรงสถาปนาามืองเชียงแสนทับเมืองเก่า 
หรือเวียงเก่า อาจเป็นเมืองหิรัญนครเงินยาง ในพ.ศ.๑๘๗๑ เพื่อใช้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกัน
ข้าศึกที่จะมาทาางเหนือ และเพื่อควบคุมบ้านเมืองล้านนาตอนบน สมัยนี้ เชียงแสนเป็น
ศูนย์กลางการเมืองและการปกครอง และศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของล้านนา ตั้งแต่่ พ.ศ. ๒๑๐๑ เป็นต้นมา ล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของม่าน หรือพม่า พม่ายกเมือง
เชียงแสนขึ้นเป็นมณฑลหนึ่งของพม่ามีเมืองที่อยู่ใต้การปกครอง คือ เชียงราย แพร่ น่าน 
 ลำปาง ฝาง เป็นต้น พม่ายกเมีองเชียงแสนเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่ เพราะสมัยนั้น 
เชียงแสนเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ คือ ระหว่าง จีน ล้านนา และไทย ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ.๒๓๔๗ ทรงโปรดเกล้าให้กรมหลวงเทพหริรักษ์
 พระยายมราาช และพระยากาวิละ ยกทัพไปชิงเอาเมืองเชียงแสนจากพม่า 
สงครามเมืองเชียงแสน  ๒๓๔๖  สมัยนั้น  เชียงแสน  ล้านนาฝ่ายเหนือ  อยู่ใต้อำนาจพม่า   
ทางกรุงเทพวิเคราะห์ว่า......
"........แล้งนี้   เห็นทีอ้ายพม่าจะยกมามั่นคง  จะไว้ใจราชการมิได้   ให้พระเจ้าเมืองเชียงใหม่  
 พญาอุปราช  พญาหัวเมืองแก้ว  แสนท้าวลาวมีชื่อ  จัดแจงกองทัพเสบียงอาหาร    
แลตกแต่งบ้านเมืองไว้ให้มั่นคง  ถ้าอ้ายพม่าาาาาาไม่ยกมาก  จะให้ยกไปตีเอาเมืองเชียงแสน   เชียงราย  เชียงรุ่ง   หัวเมืองลาวทั้งปวงให้สิ้น   ให้เมืองเชียงใหม่  เมืองลคร  
ยกไปทางเมืองสาด   เมืองปุ   ใหส้กองทัพเมืองแพร่  เมืองน่าน   ยกขึ้นไปทางพะเยา  
ให้กองทัพเมืองหล่มสัก   เมืองหลวงพระบาง   ยกกองทัพเรือ   ไปบรรจบกันตีเอาเมือง
เชียงแสน   ให้พระเจ้าเชียงใหม่พญาอุปราช  พญาหัวเมืองแก้ว   ราชวัง   พญาแสนท้าว 
 ลาวมีชื่อทั้งปวง  จัดแจงกองทัพเสบียงอาหารไว้ให้พร้อม  กำหนดจะได้ยกมาเมื่อใด   
จะมีศุภอักษรขึ้นไปครั้งหลัง......"
ในปี  พ.ศ.๒๓๔๖   กองทัพผสมของคนไทย  จากไทยกรุงเทพฯ  ไทยเวียงจันทร์    
และไทยล้านนา  จำนวน   ๒๐๐๐๐  คน  โดยมีกรมหลวงเทพหริรักษ์เป็นแม่ทัพใหญ่  
ก็ยกกองทัพเข้าตีเมืองเชียงแสนในเดือนมีนาคม  ๒๓๔๖
เชียงแสนขณะนั้น  มีกองทัพของพม่าประจำการอยู่   เขาเกณฑ์ทหารจากเมืองเชียงราย  
เทิง  เชียงของ   ตลอดจนหัวเมืองในอาณัติให้มาป้องกันเมือง
สงครามครั้งนี้   ตำนานเมืองเชียงแสนกล่าวว่า  ทางเมืองเชียงแสนป้องกันเมืองอย่าง
หนาแน่น  เข้มแข็ง   กองทัพที่ทำการรบรุนแรงคือ  กองทัพลาว  ที่บุกเข้าโจมตีเมือง
หลายครั้ง   จนทำให้ฝ่ายเชียงแสนเสียแม่ทัพไปหลายคนคือ  พญาเชียงราย   พญาเทิง 
 พญาเชียงของ   ทางฝ่ายลาวก็เสียแม่ทัพคือ  พญาตับเหล็ก
กองทัพสยามล้อมเมืองเชียงแสนอยู่จนถึงเดือน  พฤษภาคม  ไม่สามารถหักเอาเมืองได้   
พอเข้าฤดูฝน   บรรดาทหารชาวลาว   ชาวกรุงเทพฯ  เกิดผิดน้ำ   เจ็บป่วยล้มตาย  และเริ่ม
ขาดเสบียงอาหารกรมหลวงหริรักษ์แม่ทัพใหญ่   จึงทรงให้ถอยทัพกลับลงมา   ในเวลาที่
ถอยทัพกลับลงมานั้น  พญษพยาก  อันเป็นเจ้าเมืองในอาณัติของเมืองเชียงแสน  
ก็นำครัวเรือนเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อกองทัพพระเจ้ากาวิละ
เมื่อเสร็จศึกคราวนี้ชาวเชียงแสนเห็นว่า  ทางกรุงอังวะมิได้ให้การสนับสนุนในการศึกอย่าง
เต็มกำลัง   บรรดาเจ้าเมืองที่มาช่วยในการศึกจึงคิดปลดแอกจากอำนาจของพม่า
สงครามเมืองเชียงแสนครั้งสุดท้าย  ปี  พ.ศ.  ๒๓๔๗
หลังจากสงครามใหญ่ที่บุกโจมตีเมืองเชียงแสนในปี  พ.ศ.  ๒๓๔๖  ผ่านพ้นไปบรรดาเจ้าเมือง
สำคัญทั้งหลายที่เป็นลูกเมืองเชียงแสน   ก็เอาใจออกห่างจากพม่า  มี  เจ้าเมืองเลน   
เจ้าอกชาวเชียงของ   และเจ้าชาวเทิง   ได้คบคิดกันจะปลดแอกจากพม่า   พญาเมืองเลน
ใช้ให้คนลอบไปแจ้งข่าวให้ทางเชียงใหม่ทราบ  และขอกองทัพเมืองเชียงใหม่  น่าน  
ยกเข้ามาโจมตีเมือง
เชียงแสนในเดือนมีนาคม   ๒๓๔๗
เจ้ากาวิละได้เกณฑ์กองทัพเชียงใหม่   ๑๕๐๐  คน  มีเจ้าอุปราชธรรมลังกาเป็นแม่ทัพ  
ทัพเมืองลำปาง   ๑๐๐๐  คน   ทัพเมืองแพร่   ๕๐๐  คน   และทัพเมืองน่าน  ๑๐๐๐  คน
มีเจ้าอัตถะวรปัญโญ  เป็นนายทัพ   รวมไพร่พล  ๔๐๐๐  คน   ยกมาบรรจบกันที่ท่า
ข้าวเปลือกในเดือนพฤษภาคม   พ.ศ.  ๒๓๔๗  แล้วเคลื่อนทัพเข้าประชิดเมืองเชียงแสน
ในปลายเดือนพฤษภาคมทันที
พญานาขวาหน่อคำ   เมียวหวุ่นแห่งเมืองเชียงแสน   ป้องกันเมืองโดยเกณฑ์คนมาจากเมืองยู้   เมืองหลวย   เมืองยอง   เมืองวะ   และเชียงแชงมาตั้งรับอยู่นอกเมือง  ภายใต้บัญชาของ  "โป่ชุก"  แม่ทัพชาวพม่า
ตำนานเมืองเชียงแสนกล่าวว่า  "เมื่อนั้น  เจ้าอก  อันเป็ฯชาติเชื้อเมืองเชียงของนั้น  เป็นไฟใน  
ก็ตามลูกน้องแทงม่านอันรักษาประตูเสี้ยงแล้ว   ก็ไขประตูดินของเอาเศิกเข้าเวียง  เดือน   ๙  
(มิถุนายน)
กองทัพเชียงใหม่  ลำปาง  น่าน  แพร่   ก็กรูเข้าประตูดินขอ  ฆ่าฟันทหารพม่า  "โป่ชุก"   
แม่ทัพพม่าพร้อมกับปลัดกองทัพพม่า   ตายในที่รบ   พญานาขวาหน่อคำ   เมียวหวุ่นแห่งเมืองเชียงแสนหลบหนีไปอยู่แถว  ๆ  บ้านแซว   และถูกจับได้ในเวลาต่อมา  กองทัพพม่า
ที่ตั้งอยู่ในเมืองเชียงแสนถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง   สภาพเมืองเชียงแสน   ชาวเมืองแตกตื่น
  ปะทะปะปนหนีข้ามน้ำแอบแฝงอยู่ป่าอยู่เถื่อนก็มี   กองทัพจับได้และยอมสวามิภักดิ์ก็มาก  
 ได้เชลยและช้างม้าทรัพย์สิ่งของจำนวนมาก
ชาวเชียงแสน   เชียงของ  เทิง   ที่อยู่ในเชียงแสนถูกจับเป็นเชลยเป็นจำนวนมากถึง  ๒๓๐๐๐
คน  เชลยเหล่านี้  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ  ทรงโปรดพระราชทานให้ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่  
เชียงใหม่   ลำปาง   แพร่   น่าน   และบางส่วนให้อยู่ที่เสาไห้สระบุรี   และที่ราชบุรี
ศึกครั้งนี้   กองทัพล้านนาได้บุกเข้ายึดเมืองทางประตูดินขอ   ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง
ประตูดินขอมีความหมายอย่างมาก   เพราะเป็นประตูที่เปิดทางเข้าไปสู่ชัยชนะของชาวล้านนา
ทำให้ชาวล้านนาสามารถขับไล่พม่าที่มีอำนาจครอบงำล้านนาได้อย่างสิ้นเชิง   และนับจากปี
พ.ศ.  ๒๓๔๗  เป็นต้นมา  พม่าก็ไม่สามมารถแผ่อำนาจเข้ามาในดินแดนของล้านนาได้อีกเลย
ตำนานเมืองเชียงแสนกล่าวไว้ว่า   "เพิ่นได้ตัวเจ้าโมยหงวน(เจ้าเมือง)   นาขวา   ลูกเมียไพร่ไทยทั้งมวล  (แล้วพา)   ลงไปเชียงใหม่  ลคอร  แพร่  น่าน  นับเสี้ยงยังค้างแต่  *ดินกับน้ำ*  แล"
ถึงแม้ล้านนาจะขจัดอิทธิพลของพม่าได้อย่างเด็ดขาด   แต่ก็ต้องทิ้งบ้านเมืองที่เคยรุ่งเรือง
ทางเหนือเกือบทั้งหมด   กลายเป็นดินแดนที่เหลือเพียง   *ดินกับน้ำ*   และ  *บ้านห่างเมืองร้าง*
การสถาปนาเมืองเชียงราย  พ.ศ.  ๒๓๘๖
นับเป็นเวลานานเกือบ  ๔๐  ปี  ตั้งแต่พม่าถูกขับออกจากเมืองเชียงแสน  แต่สภาพเมือง
เชียงแสนหลังสงครามกลายเป็นเมืองร้าง  เชียงรายด้วย  เช่นกัน  และเมืองอื่นอื่น  ๆ  
ก็มีสภาพทำนองเดียวกัน  คือ  เป็นป่ารก  อุกตัน  เป(็นป่าช้างทางเสือ  หมี  เป็นที่อาศัย
ของสัตว์ป่าทั้งหลาย    แต่หัวเมืองร้างต่าง  ๆ  ก็เริ่มมีผู้คนอพยพออกไปตั้งเป็นหัวเมือง
ขึ้นใหม่อีก  ระหว่าง  พ.ศ.  ๒๓๘๐  ๒๓๘๖  มีเมืองงาว  เมืองพะเยา  เมืองเวียงป่าเป้า  
เมืองพาน  เมืองเชียงราย  เมืองเชียงขวาง  และเมืองแม่สวย    ระหว่าง พ.ศ.  
๒๓๘๑  -  ๒๓๙๔  มีผู้คนอพยพจากลำปาง  แพร่  น่าน  มาอยู่เทิง
พระเจ้าเชียงใหม่มโหตรประเทศ  พระเจ้าเชียงใหม่องค์ที่  ๕  จึงมีบัญชาให้ฟื้นฟูเมืองเชียงรายขึ้น  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๘๖
 
 
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็๋จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าให้ เจ้าอินทวิไชย
 เจ้าเมืองลำพูน ไปฟื้นฟูเมืองเชียงแสน ปัจจุบันมีชาวเมืองเชียงแสนไปอยู่ที่อำเภอเสาไห้ 
จังหวัดสระบุรี เมืองเชียงแสนถูกยุบเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ และถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอแกสนหลวง 
 และในปี่ พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงถูกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
                                              ****************************
**บดินทร์    กินาวงศ์  และคณะ   ประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย  -   เชียงแสน  เชียงใหม่  
มิ่งเมือง   ๒๕๕๒
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงปติ ตันขุนทด