ชาวไทยลือเชียงคำ มีกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากเมืองฮาย แคว้นสิบสองปันนา ก่อนนั้นแก็มีชาวไทยลื้อกลุ่มเก่าที่อพยพมาก่อน ราว พ.ศ.๒๓๒๘ คือ ไทยลื้อเมืองหย่วน เมือง มาง เป็นต้นเมืองฮาย มีเจ้าเมืองเรียกว่า "อาชญา" มีหน้าที่รักษากฏหมาย และให้ความยุติธรรมแก่ราษฎรรองเจ้าเมืองเรียกว่า "พญาเก๊า" รองพญาเก๊าเรียกว่า "พญากวาน"ราว พ.ศ. ๒๔๓๐ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ เจาเมืองเมืองฮาย คือ เจ้าสุริยวงศ์ เมื่อถึง พ.ศ.๒๔๔๐ เจ้าสุริยวงศ์ได้ถึงแก่กรรม เจ้าอิ่นน้องชายได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทนเจ้าอิ่นมีลูกชายชื่อเจ้าหล้า มีน้องชายชื่อ เจ้าอุ่น มีศักดิ์เป็นอาเจ้าหล้าเมื่อเจ้าอิ่นถึงแก่กรรม เกิดแย่งชิงตำแหน่งกันระหว่างอากับหลานเจ้าหล้าเล่าว่า......เมื่อเจ้าอิ่นผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม เจ้าหล้ามีอายุ ๒๐ ปี ตรงกับสมัยเจ้าหม่อมหลวงซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงรุ้งชาวเมืองต้องการจะเอาเจ้าหล้าเป็นเจ้าเมืองฮาย เจ้าอุ่นผู้เป็นอาไม่ยอม บอกว่าหลานอายุยังน้อยบ่สมควรเป็นเจ้า ให้เจ้าอาเป็นก่อน จึงเกิดรบแย่งชิงกันเป็นเจ้าเจ้าหัวเมืองทางตะวันตกลำน้ำโขง มีเมืองต่าง ๆ สนับสนุนเจ้าหล้า เช่น เจียงลอ ฮุน ลวงเชียงรุ้ง สูง แจ เจียงเจิง ขวาง วัง หวาด เจียงฮ้า ปาน มาง ตลอดจนชาวเมืองฮายเองเข้าข้างฝ่ายเจ้าหล้า รบกันอยู่ ๒ ปี เจ้าอุ่นนำเอาพวกทหารจีนฮ่อ เจ้าหล้าเห็นเหลือกำลังที่่จะขับสู้ จึงพาพวกพ้องเผ่าพงศ์ของตนหลบหนีเข้ามาอยู่เมืองเชียงใหม่ ราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (ร.๕ สวรรคตปีนี้)ต่อมาก็อพยพมาอยู่บ้านหัวแคร่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย และย้ายมาอยู่บ้านหย่วนอำเภอเชียงคำตราบจนปัจจุบันนี้ที่เมืองฮายหลังจากนั้น ทหารจีนก็อยู่ประจำเมืองฮาย เจ้าอุ่นเป็นเจ้าเมืองได้ ๗ ปีก็ได้ถึงแก่กรรม บุตรชายเจ้าเสียชีวิตหมด ยกเว้นบุตรชายที่เป็นใบ้คนเดียว กับบุตรหญิงอีก ๒ คนบราดาเจ้าเมืองและชาวไทยลื้อเมืองฮาย มีหนังสือมาเชิญเจ้าหล้าให้กลับไปเป็นเจ้าเมืองในระหว่างนั้นให้ทหารจีนฮ่อรักษาเมืองไว้ก่อน หากเจ้าหล้ายไปจะมอบตำแหน่งเจ้าเมืองฮายให้เหมือนเก่าเหมือนหลังถ้ากลับไปก็จะจัดให้เอาม้ามารับ เจ้าหล้าเห็นว่า สิบสองปันนา มีแต่เหตุการณ์ยุ่งยากจึงตอบหนังสือไปว่า "ไม่ไปแล้ว จะขอตายอยู่กับแผ่นดินไทย"ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทยลื้อได้เอาชื่อบ้ ดังนี้านเก่าเมืองเก่าของตน มาตั้งชื่อหมู่บ้าน เช่นบ้าหย่วนบ้านมาง บ้าแวน บ้าแพด เป็นต้น**บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ไทยสิบสองปันนา พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพ สยาม ๒๕๔๗
พระเจ้าทรงธรรม ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติแต่พระสนมผู้เป็นน้องสาวของออกญาศรีธรรมาธิราชก่อนเสด็จเสวยราชสมบัติ ทรงมีหน้าที่กำกับการกรมท่า จึงเป็นที่รู้จักดีในระหว่างพ่อค้าและรัฐบาลต่างประเทศยิ่งกว่าพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีรัชกาลก่อน ๆในราวกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๑๕๓ เมื่อสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ทรงถูกสำเร็จโทษแล้ว พวกขุนนางจึงพร้อมใจกันทูลเชิญพระอินทราชาขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพพระองค์ที่ ๒๑ ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระอินทราชาธิราช"และเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภเษกว่า "พระเจ้าติโลกนาถ"แต่พระนามที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงกาประวัติศาสตร์ไทย่า "สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม"พระองค์ทรงมีพระมเหสีและพระสนมหลายองค์ มีพระราชโอรส ๙ พระองค์พระราชธิดา ๘ พระองค์พระราชโอรสองค์สำคัญคือ พระเชษฐษ อันประสูติแต่พระมเหสี อมริต และพระพันปีศรีศิลป์กับพระอาทิตย์วงศ์ อันประสูติแต่พระสนมพระเจ้าทรงธรรมทรงทะนุบำรุงพระพุุทธศาสนามากมายหลายประการ เช่น โปรดให้ชักชะลอพระมงคลบพิตรซึ่งอยู่ริมบึงพระราม(หนองโสน) มาทางตะวันตกหลังพระราชวัง แล้วสร้างพระมณฑปครอบไว้ทรงทราบจากพระภิกษุซึ่งกลับจากลังกา ว่าในประเทศไทยมีรอยพระทุทธบาทอยู่ที่บนเขาสุวรรณบรรพต จึงโปรดให้มีการค้นหากันขึ้น เมื่อได้พบรอยพระพุทธบาทอยู่บนไหล่เขาในเมืองสระบุรี ก็โปรดให้สร้างพระมณฑปครอบไว้ สร้างวัด และพระราชทานครัวไว้ในที่ใกล้ ๆ เพื่อให้พระภกษุในวัดนั้น และข้าวัดช่วยกันรักษาดูแล โปรดให้ตัดทางจากบ้านท่าเรือไปยังพระพุทธบาท ทรงสร้างพระไตรปิฎกขึ้นจบบริบูรณ์ทรงแต่งมหาชาติคำหลวงไว้สำหรับพระพุทธศาสนา ปละได้เสด็จออกไปทรงปฏิบัติพระสงฆ์ซื่งมาประชุมศึกษาพระธรรมณ พระที่นั่งจอมทองเป็นประจำ โดยเหตุนี้ประชาชนจึงถวายพระนามพระองค์ว่า "สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางในหมู่ชาวต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อได้เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึก บรรดาหัวเมืองรอบนอกน้อยใหญ่ก็พลอยยับเยินไปด้วยพม่าเมืองเพชรบุรี แม้ห่างจากกรุงศรีอยุธยา ก็ยังถูกหน่วยลาดตรเวนพม่าเที่ยวกวาดต้อนผู้คนเอาไปเป็นเชลย และเที่ยวริบทรัพย์สินเยี่ยงโจร ชาวเพชรบุรีระส่ำระสาย เที่ยวซอกซอนซ่อนเร้นหนีภัยพม่ามีแม่คนหนึ่งอุ้มลูกสองสามเดือนไว้ในอ้อมแขนซ้าย จูงลูกหญิง ๕ - ๖ ขวบไว้ด้วยมือขวาข้างหลังมีลูกชายคนโตอายุ ๕ - ต ขวบ วิ่งตามแม่และน้อง ๆ มาทั้งสี่คนนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ติดตัวมา แต่พม่าเห็นเด็กหญิง จึงมุ่งเอาเด็กหญิง ๕ - ๖ ขวบนี้ไปเป็นเชลย แต่สัญชาตญาณแห่งความเป็นแม่ได้ต่อสูขัดขืน ขัดขวางทหารพม่าไว้ ไม่ให้เอาลูกของตนไป ทหารพม่าได้เอาหอกแทงหญิงผู้เป็นแม่ล้มลงขาดใจตาย ลูกในอ้อมแขนกระเด็นพี่ชายคนโต หนีโดดข้ามกำแพงโบสถ์ไปซุ่มซ่อนตัีวอยู่ที่ซุ้มข่อย ลูกคนเล็กของแม่รอดร้องไห้จ้าหาแม่ แม่เท่านั้นเป็นที่พึ่ง คลานหาแม่ เห็นแม่น้อนอยู่บนพื้นดิน คิดว่าปลอดภัยแล้วก็เข้าไปกอด แต่ก็ยังร้องไห้ขอความคุ้มครองจากแม่ และอ่อนแรงแล้วก็หิว จึงดูดนมแม่ที่ตายจนอิ่ม นั้นเป็นน้ำนมมื้อสุดท้าย อิ่มสุดท้าย ของลูกพี่สาวของเธอ ๕ -๖ ขวบพม่าฉุดเอาไปเป็นเชลยไม่ทราบชตากรรม พี่ชายคนโตเมื่อหทารพม่าไปแล้วก็ออกมาจากที่ซ่อน มาอุ้มน้องที่รอดจากพม่าไปหาพระ ขอพึ่งใบบุญพระ พระตั้งชื่อให้ว่า "รอด" เพราะรอดตายจากหทารพมา เมื่อโตเป็นสาวก็ได้แต่งงาน มีลูกชายคนหนึ่งชื่อเกษ ทำงานราชการได้เป็นพระยา**วชีระ สมาคมสหภูมิเพชรบุรี "มหาตาลวันปเทโศ" **
ประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่า เราเป็นใคร มาจากไหน ทำอะไรผิดพลาด บกพร่องอย่างไร ข้าศึกทำลายได้อย่างไร คนทรยศเป็นอย่างไร ความซื่อสัตย์เป็นอย่างไร ใครเป็นคนกู้ชาติ ใครเป็นคนทำลายชาติ เรื่องในประวัติศาสตร์ ไม่ควรถูกลบเลือน กลบเกลื่อน คนให้คนทุกหมู่เหล่าเรียนรู้ เพราะเป็นคนไทย ต้อง รู้จักตัวเอง รู้จักรักษาตัวเอง รักษาชาติบ้านเมือง ถ้าไม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย ก็เหมือนกับเด็กอาข่า ถามเราว่า ประเทศเขาอยู่ที่ไหนถ้าเราลบประวัติศาสตร์ออกจากบทเรียนของนักเรียนตอนกรุงสุโขทัย ตอนกรุงศรีอยุธยาตอนคณะราษฎร ๒๔๗๕ ตอนทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี นักเรียนไทยก็ถูกทำให้ตกอยู่ในความโง่และงงงัน ไม่ทำให้ได้ผลดีแก่ปัญญาเด็กไทยเลย
กองทัพพม่าได้กรุงศรีอยุธยาแล้ว พักอยู่ประมาณเก้าสิบวัน รวบรวมเชลย และทรัพย์สิ่งของเสร็จแล้ว เมื่อจะเลิกทัพกลับ เนเมียวสีหบดี จึงตั้งสุกี้ มอญ ผู้มีความชอบครั้งตีค่ายบางระจันเป็นนายทัพ ให้มองญ่า เป็นปลัดทัพ คุมทัพมอญรวม ๓๐๐๐ คนตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คน และเก็บทรัพย์สิ่งของตามส่งตอไป และตั้งนายทองอินคนหนึ่ง ซึ่งเป็นไทยไปเข้าด้วยพม่า ให้เป็นเจ้าเมืองธนบุรี เดือน ๗ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เจ้าตากยกกองทัพเรือออกจากจันทบุรีข้างขึ้นเดือน ๑๒ ฝ่ายนายทองอินก็ให้รีบขึ้นไปบอกสุกี้แม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น และเรียกคนข้นรักษาาที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์พวกรี้พลไม่เป็นใจจะต่อสู้ รบพุ่งกันหน่อย เจ้าตากก็ตีเมืองธนบุรีได้ จับตัวนายทองอินได้ให้ประหารชีวิตเสีย เจ้าตากขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยาในค่ำวันนั้น ครั้นรุ่งเช้า เจ้าตากทราบความจกพวกไทยที่หนีพม่ามาเข้าด้วย ว่าพม่าข้าศึกถอยหนีจากเพนียดไปอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้นกับสุกี้หมดแล้ว ค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น มีสองค่าย ตั้งข้างฟากตะวันออกค่าย ๑ ตั้งฟากตะวันตกค่าย ๑ ตัวสุกี้แม่ทัพอยู่ค่ายฟากตะวันตก เจ้าตากตามมองญ่าที่หนีจากเมืองธนบุรีขึ้นไปถึงโพธิ์สามต้นในเวลเช้า สั่งให้ทหารระดมตีค่ายพม่าข้างฟากตะวันออก พอเวลา ๙ นาฬิกาก็ได้ค่ายนั้น เวลาค่ำ พระเจ้าตากให้พระยาพิพิธ พระยาพิชัยทหารจีน คุมกองทหารจีนไปตั้งประชิดค่ายสุกี้ ด้านวัดกลาง พอรุ่งเช้าก็ให้ทหารไทยจีนเข้าระดมตีค่ายสุกี้ พร้อมกัน รบกันแต่เช้าถึงเที่ยง เจ้าตากก็เข้าค่ายพม่าได้ ฆ่าสุกี้แม่ทัพพม่าตายในที่รบ เจ้าตากตีได้ค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น ก็ได้กรุงศรีอยุธยากลับมาเป็นของไทย เสียกรุงเมื่อวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๓๑๐ เป็นวันเนาสงกรานต์เพลาบ่าย ๓ โมง เจ้าตากหนีออกจากรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุง เพราะวิเคราะห์แล้วเห็นว่าไม่รอด กรุงศรีจะต้องแตกแน่ไม่ช้าก็เร็ว ครั้นถึงเดือน ๑๒ ข้างขึ้น พระเจ้าตาก ก็ตีค่ายโพธิ์สามต้นได้ รวมเวลาเสียกรุงฯ ๓ เดือน **ไทยรบพม่า กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บรรณาคาร ๒๕๔๓**