2 ตุลาคม 2557 11:27 น.

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

ปติ ตันขุนทด

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

**เป็นบุคคลที่นิยมฝ่ายกษัตริย์  royalist

**เป็นนายกคนแรกของคณะราษฎรที่ไดั้จัดตั้งรัฐบาลครั้งแรก  28  มิถุนายน  2476

**เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่  ๒  เมื่อมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร  10  ธันวาคม

2475

**เมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรี  เริ่มกำจัดบุคคลในคณะราษฎร

**คณะรัฐมนตรีพระยามโนฯลงมติให้เนรเทศนายปรีดี  พนมยงค์ออกไป

ต่างประเทศพร้อมกับจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ปีละ   1000  ปอนด์สเตอลิงค์

**เมื่อเนรเทศนายปรีดี   พนมยงค์ออกไปแล้ว  พระยามโนฯสั่งปิดสภาผู้แทนฯ  

งดใช้รัฐธรรมนูญ  นั่นเท่ากับเป็นการปฏิวัติซ้อน  ไม่เอาระบอบประชาธิปไตย  

ที่คณะราษฎรปฏิวัติระบอบกษัตริย์

**พระยามโนตั้งคณะรัฐบาลใหม่  เมื่อ  1  เมาษายน  2576

**20  มิถุนายน  2476  คณะทหาร  นำโดยพระยาพหล  ทำหนังสือยื่น

คำขาดให้รัฐบาลพระยามโนลาออก

**21  มิถุนายน  2476  นายกผู้อาลัยระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ได้ถูก

เนรเทศออกไปอยู่นอกประเทศ  หลังจากที่เขาได้กราบบังคมทูลลา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชวังไกลกังวลหหัวหินแล้ว

**พระยามโนฯและครอบครัวไปอยู่ที่เกาะปีนัง   จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  

เป็นเวลา  16  ปีเศษ  และถึงแก่อนิจกรรมท ี่บ้านพักถนนจันเลอมัว  ปีนัง  

เมื่อ  1ตุลาคม 2491  สิริอายุได้  64  ปี  เศษ

ประมวลวิทย์   สฤษดิ์  ธนะรัชต์  พระนคร   เกษมสัมพันธ์การพิมพ์  ๒๕๐๕

*********************************************************

มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

 ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เ

ป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ ท่านถึงอสัญกรรม ณปีนัง เมื่อวันที่ 

1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 64 

ประวัติการศึกษา

       ตำแหน่งทางการเมือง      ประวัติย่อ

พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต 

จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่อง

ด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้

รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้

ทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกใ

ห้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลาง

ประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลง

การปกครอง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ถูกทาบทามตั้งแต่วันแรกที่มีการ

เปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทว่ายังไม่ตอบรับเลยในทันที เพียงแต่ขอเวลาไป

ตัดสินใจหนึ่งคืน และได้ให้คำตอบรับในเช้าวันถัดมา

**นายปรีดี   ถูกพระยามโนปกรณ์นิติธาดากำจัดด้วยข้อหาว่า  เป็นคอมมูนิสต์  

ตามแผนการของพวกนิยมเจ้า**

หลังจากมีกรณีเรื่อง "สมุดปกเหลือง" เค้าโครงเศรษฐกิจที่ร่างโดยนายปรีดี 

ขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่าน

ม่เห็นชอบด้วย ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ 

ขุนนาง และบุคคลในสภา ฯ พระยามโนปกรณ ฯ เองก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครง

เศรษฐกิจฉบับนี้ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกคณะราษฎรกลุ่ม

ทหารที่นำโดย พระยาทรงสุรเดช ท่านจึงได้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา 

พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ 

ให้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำ

อันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย ซึ่งเรียกกันว่าท่านกระทำรัฐประหาร

ด้วยการใช้ "ปากกาด้ามเดียว" ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎรที่

สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์

เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน

 พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหาร

คณะรัฐบาลของท่าน และเนรเทศท่านไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัว

นายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณนิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลาย

อยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม

พระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและคุณวุฒิสูง 

แต่เป็นบุคคลที่มีบุคคลิกพูดจาตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก ชีวิตส่วนตัวชื่นชอบ

ในการเดินป่าและล่าสัตว์ป่า

หมายเหตุชีวิตครอบครัว

พระยามโนปกรณนิติธาดา สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงนิตย์ มโนปกรณนิติธาดา 

(สกุลเดิม สาณะเสน) ธิดาของพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน)

คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดา ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

 กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเมื่อคราวเสด็จประพาสอาณานิคม

อินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 จนเมื่อ

วันที่ 4 พฤษภาคมนั้นได้เกิดอุบัติเหตุเมื่อรถยนต์ที่เธอนั่งพุ่งชนเข้ากับเสาโทรเลข 

เนื่องจากความประมาทของพลขับ    ทำให้คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดาบาดเจ็บ

สาหัสที่ศีรษะบาดแผลฉกรรจ์ ภายหลังคุณหญิงทนพิษบาดแผลไม่ไหว และเสีย

ชีวิตลงในเวลา 12.35 นาฬิกา ของวันที่4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงทรงร่นระยะเวลาพระกรณียกิจ 

และโปรดให้งดงานรื่นเริงต่าง ๆ ระหว่างการเสด็จประพาสไปเสียสิ้น ทั้งยังได้สร้าง

อนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านาง 4 หน้า เพื่อเก็บอังคารของคุณหญิงที่วัดปทุมวนาราม

พระยามโนปกรณนิติธาดาจึงใช้ชีวิตคู่ใหม่กับ นางเชย หุตะสิงห์ และมีบุตรสอง

คนคือ ตุ้ม หุตะสิงห์ และ นิติพงษ์ พลเยี่ยม 

ผู้พิพากษาประจำศาลแขวงจังหวัดกระบี่

1 ตุลาคม 2557 12:33 น.

ปรีดี พนมยงค์ กับนักศึกษากฎหมาย

ปติ ตันขุนทด


       ในวันที่นายปรีดี  พนมยงค์  เหยียบย่างแผ่นดินสยามนั้น   นักเรียนกฎหมายมีจำนวน  
 ๔๐๐  คน  ได้พากันเดินขบวนแสดงความยินดีในการกลับมาของนายปรีดี   ไปยัง  ณ   
วังปารุสกวัน   โดยมีนายบุณยรักษ์    เจริญไัย  เป็นหัวหน้า   หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์  
ได้ออกมาต้อนรับนักเรียนเหล่านั้น   และได้พาเข้าพบกับนายปรีดี  พนมยงค์     
 ณ  วังปารุสกวัน
นายปรีดี  พนมยงค์   ได้ออกมาต้อนรับท่ามกลางแการส่งเสีงโชโยของนักเรียนกฎหมาย
เหล่านั้น   ด้วยดวงหน้าอันยิ้มแย้มแจ่มใส   แล้วนายบุณยรักษ์   เจริญชัย   ก็ได้กล่าวต้อนรับ
อาจารย์ปรีดี   ดังมีข้อความดังต่อไปนี้
ท่านอาาจารย์ที่เคารพและรักใคร่
ในโอกาสที่ท่านเดินทางนิวัติจากการไปดูการเศรษฐกิจในต่างประเทศและเพื่อจะได้
ร่วมมือกับรัฐบาล   ในอันที่จะดำเนินกิจการงานของชาติ  นำสยามให้ขึ้นสู่ระดับแห่งอารยะใ
นคราวนี้  คณะนักเรียนกฎหมาย  อันเป็นหน่วยหนึ่งของประเทศสยาม   มีความปลื้มปิติเป็น
ที่ยิ่ง  และยินดีที่ได้เห็นท่านอาจารย์และภริยาได้กลับมาโดยสวัสดี   พร้อมด้วยความสุข
สำราญในท่ามกลางแห่งความนิยมชมชื่นแซร่ซร้องสาธุการของมหาชนชาวสสยามผู้
รักชาติทั้งหลาย
ด้วยน้ำใสใจจริงแต่เดิม   คณะนักเรียนกฎหมายมีความหวังว่า   จะมีโอกาสได้ต้อนรับ
อาจารย์  ณ  สถานีรถไฟ  หรือที่แห่งใดแห่งหนึ่งสุดแต่การมาของท่านอาจารย์   แต่ครั้นแล้ว
  สภาพและโอกาสไม่เปิดช่องให้เหล่าคณะนักเรียนกฏหมาย  ยังจะตัดใจระงับความปลื้ม
ปิติยินดีอันมีระดับสูงสุดนี้ลงเสียมิได้
คณะนักเรียนกฏหมายย่อมทราบดีว่า  ท่านอาจารย์และภริยาคงมีความเหน็ดเหนื่อยจาก
การเดินทางไม่น้อย   และการมาแสดงความยินดีทั้งนี้   คณะนักเรียนกฏหมายรู้สึกว่า   
คงจะเป็นการรบกวนท่านอาจารย์เป็นอันมาก  แม้กระนั้นคณะนักเรียนกฏหมายก็ยังมี
ความหวังว่า   คงจะไม่มากเกินไปที่ท่านอาาจารย์จักให้อภัย
ในโอกาสอันประเสริฐนี้  คณะนักเรียนกฏหมายขออวยพรให้ท่านอาจารย์และครอบครัว   จงมีความเจริญและความเกษมสุขสำราญยิ่งขึ้นไปตราบเท่ากาลปาวสาน  เทอญ
อนึ่ง  พวกเราเหล่านักเรียนกฎหมายทั้งหลาย   ขอปฏิญาณตนต่อหน้าท่านอาจารย์  
ผู้ให้กำเนิดแก่รัฐธรรมนูญผู้หนึ่งว่า   จะช่วยกันรักษษรัฐธรรมนูญของประเทศให้ยืนยงถาวร  
และถ้าหากมีผู้ใดมาละเมิด  จะยอมสละเลือดเนื้อทุกหยาดเพื่อรักษารัฐธรรมนูญอัน
ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเราไว้
***แล้วนักเรียนกฏหมายได้ร้องไชโยขึ้น  ๓  ครั้ง
ดร.ปรีดี   พนมยงค์  ได้กล่าวตอบคณะนักเรียนกฎหมายว่า....
**ข้าพเจ้ารู้สึกปิติยินดีมากในการที่เหล่าลูกศิษย์พร้อมใจกันมาต้อนรับในคราวนี้   รู้สึก
ปลาบปลื้มในข้อที่ว่า   พวกนักเรียนกฎหมายทั้งหมด   ได้ปฏิญาณต่อข้าพเจ้าว่า  จะช่วยรักษารัฐธรรมนูญของประเทศไว้ให้มั่นคงถาวร  มิให้ผู้ใดละเมิดได้เลย   ตัวข้าพเจ้ารู้สึกว่าไ
ม่เสียแรงเปล่าที่เคยเปผ็นอาจารย์มา   ขอให้เหล่านักเรียนกฎหมายจงรักษาคำปฏิญาณที่
ว่าจะรักษารัฐธรมนูญให้มั่นคง   ขอให้จงหมั่นเล่าเรียนและขอให้สอบไล่ได้    เพื่อจะได้
ป็นผู้ใหญ่และช่วยกันจรรโลงสยามให้เจริญถาวรสืบไป**
และในวันที่  ๑  ตุลาคม  พ.ศ.   ๒๔๗๖  นั้น  ก็ได้มีประกาศแต่งตั้งให้นายปรีดี  พนมยงค์  
เป็นรัฐมนตรี  ดั่งนี้   
                                                   ประชาธิปก  ป.ร.
           
                                     มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ให้หลวงประดิษฐ์  มนูธรรม  
 (ปรีดี   พนมยงค์)   เป็นรัฐมนตรี   รับราชการสนองพระเดชพระคุณ   ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศมา  ณ  วันที่  ๑  ตุลาคม   พุทธศักราช  ๒๔๗๖
                                                                     
                                                พ.อ.   พระยาพหลพลพยุหเสนา
                                                                
                                                            นายกรัฐมนตรี
                                                      ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
วิเทศกรณีย์   ยุคทรราช   กรุงเทพฯ  โอเดียนสโตร์   2501 
3 ตุลาคม 2557 14:28 น.

พระธาตุจอมกิตติ

ปติ ตันขุนทด

พระธาตุจอมกิตติ
             พระธาตุจอมกิตติ   อยู่บนยอดดอยน้อย   หรือดอยจอมกิตติ   ทางทิศ
ตะวันตกเเฉียงเหนือ   นอกเมืองเชียงแสน
             พงศาวดารโยนก   กล่าวถึงการสร้างพระธาตุจอมกิตติ  
โดยพระเจ้าพรหมโปรดฯ   ให้สร้างขึ้น  เมื่อปี  พ.ศ.  ๑๔๘๓  
เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ   เกศาธาตุของพระพุทธเจ้า   ที่พระพุทธโฆษาฯ  
นำมาถวายพระเจ้าพังราช   พระราชบิดาของพระเจ้าพรหม
            ในสมัยล้านนา   พ.ศ.  ๒๐๓๐   ตรงกับสมัยพระยอดเชียงราย   
เจ้าสุวรรณคำล้าน   เจ้าเมืองเชียงแสน   มอบหมายให้หมื่นเชียงสง
บูรณะปฏิสังขรณ์  พระธาตุจอมกิตติ   โดยสร้างพระเจดีย์ครอบองค์เดิม   
ซึ่งเหลือเพียงซากอิฐ   ต่อมาในปี  พ.ศ.  ๒๒๒๗  เจ้าฟ้าเฉลิมเมือง   
พร้อมคณะศรัทธา   บูรณะปฏิสังขรณ์อีกครั้ง
            พ.ศ.  ๒๔๗๘   กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนพระธาตุจอมกิตติ   
เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ  ในราชกิจจานุเบกษา   เล่มที่  ๕๒  
ตอนที่   ๗๕   วันที่  ๘  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๔๗๘
            พ.ศ.  ๒๕๒๓   กรมศิลปากร  ประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน  
ในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  ๙๗  ตอนที่   ๔๑   วันที่  ๑๔  มีนาคม   พ.ศ.  ๒๕๒๓    
กำหนดขอบเขตโบราณสภถานไว้  ๑  ไร่  ๓  งาน   ๘๒  ตารางวา
********************************************************************************************************************

 ความลังเลใจย่อมเกิดขึ้นเมื่อเราทำการพิจารณาลักษณะพระธาตุเจดีย์จอมกิตติ 

ซึ่งตั้งอยู่บนดอยจอมกิตติ นอกกำแพงเมืองเชียงแสน ค่อนไปทางทิศตะวันตก

เฉียงเหนือของตัวเมือง ห่างจากกำแพงเมืองทางประตูเชียงแสนออกไป

ประมาณ 1 กม. เศษ เพราะลักษณะของพระธาตุเจดีย์นั้น มีความแตกต่างกัน

ออกไปจากบรรดาพระธาตุเจดีย์ที่กล่าวมาแล้ว  ทั้ง ๆ ที่ส่วนใหญ่ในทางศิลปกรรม

จะยังมีความละม้ายคล้ายคลึงกันองค์พระธาตุเจดีย์นี้เราแบ่งออกเป็นสามส่วนเช่นกัน 

ส่วนฐานล่างสุดนั้น อยู่ในรูปฐานเขียงสี่เหลี่ยมย่อมุม 3 ชั้น ส่วนกลางคือแท่ง

สี่เหลี่ยมทรงสูงมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นทั้ง 4 ด้าน และย่อมุม

อีกเช่นกัน ส่วนบนสุดเป็นองค์เจดีย์แปดเหลี่ยม มีองค์ระฆัง บัลลังก์ และปล้องไฉน 

หุ้มด้วยทองจังโก  บรรดาลวดลายปูนปั้นประดับเรือนซุ้มจระนำนั้นไม่สู้ประณีตนัก 

เป็นลายเครือเถาว์เกี่ยวสอดกันอย่างตื้น ๆ ความงดงามของบรรดาลวดลายต่าง ๆ 

สู้พระธาตุเจดีย์วัดป่าสักมิได้ และตรงส่วนเหนือซุ้มจระนำนั้น ก็ไม่มีพระเจดีย์

ขนาดเล็กประจำมุมทั้ง 4 อนึ่งลักษณะพระพุทธรูปก็พบเพียงส่วนพระพักตร์อยู่

แห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งยังเหลืออยู่ในซุ้มจระนำด้านทิศตะวันตกเห็นได้ชัดว่าเป็น

พระพุทธรูปปูนปั้นในเชียงแสนที่มีเค้าพระพักตร์ใกล้เคียงกับพระพุทธรูป

สมัยอยุธยาเสียแล้ว  

            ความเก่าแก่ของพระธาตุเจดีย์จอมกิตตินี้ประชุมพงศาวดารยืนยันว่า 

พระองค์พังกษัตริย์เจ้าและพระองค์พรหมราชเจ้า ก็พรอ้มกันนิมนต์เอายัง

พระบรมธาตุเจ้าทั้งสามสถานรวม 11 พระองค์ ก็หามพระโกศมหาธาตุเจ้า

ไปบรรจุไว้ยังดอยน้อยที่หนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าฐาปนาเกศาธาตุเจ้าแล้ว ก 

ก็ทำนายว่าภายหน้าจักได้ชื่อว่า จอมกิตติแล  แล้วก็พร้อมกันก่อเจดีย์

กว้าง 3 วา สูง 6 วา 2 ศอก (กว้าง 6.00 ม. สูง 12.00 ม. )    

ในเดือน 6 เพ็ญ วันจันทร์ ก็สำเร็จบริบูรณ์แล  ระยะเหตุการณ์นี้

ตกอยู่ในศักราช 302 ประมาณ พ.ศ. 1483 ยังมีกล่าวถึงการสร้าง

พระธาตุเจดีย์จอมกิตติไว้อีกคือ  ศักราชได้ 849 ตัวปีเมิงมด เดือน 5 

ออก 12 ค่ำ หมื่นเชียงสงได้กินเมืองและท่านได้สร้างธาตุเจ้าจอมกิตติ 

เจดีย์กว้าง 4 วาศอก (8.25 เมตร)  สูง 12 วาอก (25.00 ม.)  ยาว 9 วา 

(18.00 ม.) แล้วอานาบุญส่งไปถึงอติโสกราชเจ้า ระยะเวลาดังกล่าวนี้

ประมาณ พ.ศ. 2030 อาจนับได้ว่าในระยะนี้เข้ายุคร่วมสมัยเดียวกับ

อยุธยาแล้ว แต่มีอีกระยะหนึ่งว่าศักราชได้ 1046 ตัวปีกาบไค้ 

เดือน 6 เพ็ญ วันพุธ มหาสัทธาเจ้าฟ้าเฉลิมเมือง  เป็นเค้าแก่เสนา

อำมาตย์ประชาราษฎร์ทั้งมวลพร้อมกันเวียกสร้างพระธาตุเจ้าจอมกิตติ

ได้ขวบหนึ่งจึงสำเร็จบริบูรณ์  ซึ่งประมาณราว พ.ศ. 2227  นั้นก็เป็น

การบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมขึ้นในสมัยของตน เท่านั้นเอง แต่จะอย่างไรก็ตาม

จากลักษณะขององค์พระธาตุเจดีย์ตรงส่วนฐานก็ย่อมุมตลอดจนส่วนแท่งสี่

เหลี่ยมทรงสูงที่มีซุ้มจระนำก็เช่นกัน และส่วนบนสุดนั้นก็เป็นเจดีย์รูปแปด

เหลี่ยมแล้ว ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นแบบอย่างที่เราอาจวางกำหนดไว้ได้ว่า 

มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 23 แล้ว เพราะในระยะนี้เกิดความนิยม

การก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ที่อยู่ในลักษณะย่อมุมทั้งตรงส่วนล่างและส่วนกลาง 

นิยมเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมตรงส่วนบนเข้ามาแทนที่ และยิ่งสมัยหลังลงไปอีก

องค์พระธาตุเจดีย์ก็ยิ่งสูงขึ้น ส่วนฐาน ส่วนกลาง ยิ่งย่อมุมมากขึ้น และส่วนบน

บางทีก็เป็นองค์เจดีย์ 16 เหลี่ยม เช่น พระธาตุเจดีย์ที่วัดผ้าขาวป้านเป็นต้น 

   

            พระธาตุเจดีย์จอมกิตตินี้ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะตามแบบ

สภาพรูปทรงเดิมเรียบร้อยแล้ว กับทั้งได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติแล้ว  

  

2 ตุลาคม 2557 10:19 น.

ชาวจีนอพยพ ณ ดอยแม่สะลอง

ปติ ตันขุนทด

จาก...คำจารึกการก่อสร้างอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพ ภาคเหนือ ประเทศไทย ************************************************************************ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เกิดเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เมืองคุณหมิง มณฑลยูนนาน 
 ทำให้จีนแผ่นดินใหญ่เปลี่ยนแปลงการปกครอง บรรดาชนชาวจีน ที่ไม่ยินยอมใช้ชีวิต
ภายใต้ระบบลัทธิคอมมูนิสต์ ต่างพากันอพยพออกนอกประเทศ บางส่วนพำนักชั่วคราว
ที่บริเวณชายแดนยูนนานกับพม่า มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากอย่างแสนสาหัส
 เพื่ออุดมการณ์อันสูงส่ง
 เป็นเวลาถึง 10 กว่าปี เมื่อ พ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2504 ถูกกดดันจากสังคมสากล
ประเทศ 
ให้อพพยพไปไต้หวันสองครั้ง การอพยพ เมื่อ พ.ศ. 2504 นั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รีับ
คำสั่งลับจากเบื้องบน อีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากเงื่อนไขส่วนตัว และสภาพแวดล้อมไม่
เหมาะสม 
 จึงยังคงสู้อาศัยอยู่บริเวณชายแทนไทย กับพม่า ใช้ชีวิตสุดแสนลำเค็ญในป่าเขา 
 ต่อมาด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
 และวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของผู้นำรัฐบาลไทยในยุคนั้น จึงมีการหารือกับไต้หวัน
หลายครั้ง และบรรลุข้อตำลงเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ให้รัฐบาลไทย
จัดการและดูแลชนกลุ่มนี้ตามความเหมาะสม โดยวางนโยบายร่วมอาสาป้องกันการ
โอนสัญชาติ และอบรมอาชีพการเกษตรตามลำดับทั้งไทยและไต้หวัน ร่วมกันปฏิบัติ
อย่างจริงจัง จนมาถึงซึ่งความสุขสงบ และความมั่นคงทางภาคเหนือของประเทศ
ไทย และชาสวจีนอพยพที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นนี้ ได้มีโอกาศใช้ชีวิตที่อิสระเสรีเป็น
สุและร่วมพัฒนาความเจริญรุ่งเ่รืองของท้องถิ่นมานานถึง 40 กว่าปี ณ วันนี้
 แม้ว่าสถานการณ์ต่าง ๆของโลกยังคงผันแปรไปตามครรลอง แต่ความรู้สึก
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และพระคุณของแผ่นดินไทย ยังคตงตราตรึงอยู่ในจิตใจ
ของชาวจีนอพยพกลุ่มนี้อย่างมิรู้ลืม และเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำสืบต่อไป
 ผู้อาวุโสทั้งปวงต่างปรารถนาที่่จะร่วมกันสร้างอนุสรณ์สถาน เพื่อรวบรวมหลักฐาน
ต่างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเข้าใจ
ความเป็นจริงต่อไป
***************************************************************************************************************

ยาเสพติดที่ดีที่สุดของโลกถูกผลิตในรัฐฉานของพม่า ที่มีชายแดน ติดกับมณฑลยูนานของจีน พวกนี้ก็คือพวกว้าแดง โดยใช้เมืองยอน เป็นแหล่งผลิต โดยพื้นที่นี้เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับ การปลูกฝิ่น โดยพวกปลูกฝิ่นจะเรียกตัวเองว่าเป็นพวกโกกั้ง หรือ เจิ้งคัง  เป็นพวกชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน คำว่าโกกั้ง มีความหมายว่า  เป็นดินแดนที่มี 9 ดอย หรือมีดอย 9 ยอด มีแม่น้ำธิงหล่อเลี้ยง  มีหลายชนเผ่าอาศัยอยู่ ชาวโกกั้งประกอบด้วย คนจีน ลีซอ  ละหยู (มูเซอร์) ปะหล่อง อีก้อ (อาข่า อาหนี อยู่ที่เมืองลา) และไต

การเข้ามาของกองพล 93

ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อพรรค ก๊กมินตั๋ง ที่นำโดย จอมพล เจียงไคเช็ค ได้พ่ายแพ้ต่อ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่นำโดยประธาน เหมาเจ๋อตง จึงได้ถอยทัพไปตั้งรัฐบาลใหม่ ยังเกาะฟอร์โมซา (ประเทศไต้หวันในปัจจุบัน) โดยการถอยร่นนั้น  เจียงไคเช็ค ได้วางกำลังของตนเองไว้ที่มณฑลยูนนาน 2 กองทัพด้วยกัน คือ กองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26 ซึ่งแต่ละกองทัพประกอบด้วย 2 กองพล โดยที่กองพล 93 เป็นหน่วยหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อกองทัพที่ 26 ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่อป้องกันไม่ให้กองกำลังของอีกฝ่าย ไล่ตามกองกำลังที่เคลื่อนย้ายไปยังเกาะฟอร์โมซาได้ทัน

ในเวลาต่อมากองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26 ก็ถูกกองทัพของฝ่าย พรรคคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายและถอยลงมายังพื้นที่พม่าตอนบนใกล้กับ พรมแดนมณฑลยูนนานของจีน กองทัพที่ 26 ได้ถูกกองกำลัง ของจีนคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายอีกครั้งและได้ถอยร่นไปยังลาวและเวียดนาม อีกส่วนก็ถอยเข้ามายังรัฐฉานของประเทศพม่า ผ่านทางรัฐฉาน ด้านเมืองเชียงตุง แล้วผ่านมาทางขี้เหล็กของประเทศไทย โดยมีกองกำลังนับหมื่น คน จำนวนทหารที่อยู่ในส่วนนี้ส่วนใหญ่แล้ว เป็นกำลังพลที่มาจากหน่วยกองพล 93

ในปี 2504 รัฐบาลพม่าดำเนินการปราบปรามกองกำลังทหารจีนพลัดถิ่น เหล่านี้อย่างจริงจัง ทำให้กองกำลังของนายพลหลี่ หมี พ่ายแพ้ และกองทัพที่ 1, 2 และ 4 จำนวน 4,349 คน ได้ถูกส่งตัวไปไต้หวัน คงเหลือแต่กองทัพที่ 3 ของนายพลหลี่ เหวิน ฝาน และกองทัพที่ 5  ของนายพล ต้วน ซี เหวิน ที่ไม่ไม่ต้องการกลับไปไต้หวัน  และได้นำกำลังอพยพหนีการกวาดล้างของพม่าเข้าสู่ภาคเหนือ ของประเทศไทย โดยไต้หวันประกาศจะไม่สนับสนุนช่วยเหลือ กองกำลังที่ตกค้างเหล่านี้อีก ในที่สุด กองทัพที่ 3 ก็มาถึงอำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ และกองทัพที่ 5 มาปักหลักอยู่ที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ต่อมาสหรัฐอเมริกาเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่กระจาย ของคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการสร้างแนวยับยั้งคอมมิวนิสต์ จากธิเบตถึงประเทศไทย สหรัฐจึงได้สนับสนุนกลุ่มทหารเหล่านี้ รวมทั้งยังขอความร่วมมือกับรัฐบาลไทยให้สนับสนุนด้วย เมื่อเป็นดังนั้น จึงทำให้ กองพล 93 ของเจียงไคเช็ค ตกค้างอยู่ในประเทศไทย ประมาณ 3 หมื่นคน

รัฐบาลไทยให้การสนับสนุน

ในหมู่บ้านของกองกำลังทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างนั้น มีการตั้งโรงเรียน การสอนภาษาจีนที่ดอยแม่สะลอง ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุด ของไทยได้เสนอให้สัญชาติไทยแก่บุคคลเหล่านี้ โดยที่คณะรัฐมนตรี มีมติในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อพิจารณาให้สัญชาติแก่อดีตทหารจีนคณะชาติ

ทั้งนี้รัฐบาลไทยในปี 2527 ได้ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก ในการแปลงสัญชาติแทนกองกองบัญชาการทหารสูงสุดที่เป็น หน่วยงานหลัก ซึ่ง พื้นที่บางส่วนเช่น บ้านเปียงหลวง บ้านถ้ำง็อบ  อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่บนดอยแม่สะลอง บ้านแม่แอบ บ้านผาตั้ง จังหวัดเชียงราย ส่วนที่บ้านหัวลาง และบ้านนาป่าแปก จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลายเป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของอดีตกองทหารจีนคณะชาติ  หรือกองพล 93 และจีนฮ่ออพยพในปัจจุบัน

เมื่อกองพล 93 ได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลุกฝิ่น  และอาศัยที่เป็นคนจีนด้วยกันจึงได้ประสานงานกับกลุ่มโกกั้งที่อยู่ ในรัฐฉานหรือที่เรียกว่ารัฐว้าของพม่า โดยที่ทหารเหล่านี้ยังไม่มีอาชีพ อื่นใด จึงทำให้ กองพล 93 ดำรงชีวิตด้วยการรับจ้างลำเลียงฝิ่น  การตั้งด่านภาษีเถื่อนและการค้าอาวุธสงคราม ณ เวลาในขณะนั้น กองพล93ได้มีการประสานงานกับรัฐบาล และทหารไทย  ที่ทางอเมริกาสนับสนุนให้ต่อต้านคอมมิวส์นิสต์

Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟปติ ตันขุนทด
Lovings  ปติ ตันขุนทด เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงปติ ตันขุนทด