20 พฤษภาคม 2555 15:33 น.
ปติ ตันขุนทด
พงศาวดารในเรื่องที่เกิดขบถขึ้นในเมืองไทย เมื่อปี ค.ศ.๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑) ซึ่งเป็นปีที่เกิดขบถในเมืองอังกฤษนั้น เป็นเรื่องที่ได้เล่ากันมาหลายครั้งหลายหนแล้ว จึงไม่จำเป็นจะต้องกล่าวโดยยืดยาวในที่นี้ เพราะฉะนั้น ในสมุดเล่มนี้เราจะได้กล่าวแต่เฉพาะเหตุที่สำคัญๆและข้อใดที่ผู้แต่งพงศาวดารเรื่องเมืองไทย ได้แต่งไว้โดยกล่าวความมาไม่ตรงกับความจริง หรือที่ผิดเพี้ยนไปนั้น เราจะได้แก้ไขเป็นบางแห่ง ให้ตรงกับความเที่เป็นความจริง โดยได้ตรวจสอบกับจดหมายเหตุต่างๆ อันได้รักษาไว้ในหอสมุดของ กอลอนี
อีกประการ ๑ ถ้าจะเว้นไม่กล่าวถึง เรื่องที่กองทหารราบฝรั่งเศสต้องสู้รบกับไทยแล้ว การขบถในเมืองไทยคราวนี้ ก็ไม่ผิดแปลกกับการขบถทั้งหลาย ซึ่งเคยมีในฝ่ายทิศตะวันออกเลย เพราะอะไร ๆ ก็เหมือนกันทั้งสิ้น คือการชิงราชสมบัติ การลงโทษด้วยจารีตนครบาล การฆ่าฟันกันล้มตาย การเปลี่ยนผู้ปกครอง คือคนเก่าก็ดุร้ายวางอำนาจ คนใหม่ก็ดุร้ายวางอำนาจ การเหล่านี้ก้มีเหมือนกันทุกคราวที่เกิดขบถ และการขบถในเมืองไทยครั้งนี้ ก็มีเหมือนกันทุกคราวที่เกิดขบถ และการขบถในเมืองไทยนี้ ก็มีสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน
ในเวลานั้น มีข้าราชการคน ๑ ซึ่งเป็นสคนโปรดของพระนารายณ์ มียศถึงออกพระ ซึ่งบาดหลวง เบอบลัง ผู้เห็นการขบถด้วยตาของตนเอง และเป็นคนรักอันสนิทของฟอลคอนกล่าวว่า
"เป็นคนมีชาติกำเนิดสมควรที่จะแจวเรือยิ่งกว่าจะครองราชสมบัติ"
การที่ข้าราชการผู้นี้ได้รับยศและตำแหน่งสูงถึงเพียงนี้ ก็ประกอบด้วยความเคราะห์ดี และความฉลาดเฉลียวของตัว ด้วยมารดาของข้าราชการผู้นี้ ได้เคยเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ และตัวของตัวเองก็ได้อยู่ในพระราชวัง ได้ทำการประจบประแจงหลายพันอย่าง สมเด็จพระนารายณ์จึงได้โปรดปรานนัก จนถึงกับห่างพระองค์ไปไม่ได้ ข้าราชการผู้นี้มีชื่อว่า พระเพทราชา
เวลานั้น สมเด็จพระนารายณ์มีพระราชอนุชาสองพระองค์ พระราชอนุชาสองพระองค์นี้ได้คิดมักใหญ่ใผ่สูงอยู่ ทั้งความประพฤติก็เลวทรามอย่างที่สุด แต่พระเพทราชาทราบในความคิดอันทุจริตของพระอนุชาทั้งสองนี้ จึงได้ทราบทูลยุแหย่สมเด็จพระนารายณ์ จนสมเด็จพระนารายณ์ทรงเกลียดชังพระอนุชา จึงได้มีรับสั่งให้เอาสมเด็จพระอนุชามาลงพระราชอาญา และได้จำขังเสีย
ที่สมเด็จพระนารายณ์ ได้ทรงลงพระราชอาญาอย่างร้ายแรงแก่พระอนุชาเช่นนี้ จึงทำให้พระอนุชาองค์ ๑ พระสติฟั่นเฟือน อึกองค์ ๑ ก็ประชวรเป็นอำมะพาตด้วยก็จะเป็นได้ แต่จะอย่างไรก็ตาม เมื่อพระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์ต้องรับพระราชอาญาจำขังทั้ง ๒ องค์เช่นนี้แล้ว พระเพทราชาก็หมดที่กลัวเกรง จึงได้ดำริการที่จะสวมพระมหามงกุฏเสียเอง ในเวลาที่สมเด็จพระนารายณ์จะได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว
พระเพทราชาเป็นคนกล้าหาญ ไม่กลัวภัย รูปร่างหน้าตาดี เป็นคนใจเร็ว เมื่ออายุได้ ๕๕ ก็ยังมีกำลังวังชาเท่ากับเมื่อยังหนุ่มอยู่ เป็น่คนช่างพูด เมื่อคิดการอย่างไร ก็คิดอย่างกล้าหาญองอาจ น้ำใจไม่บริสุทธิ์ และไม่จริงต่อใคร แต่กระทำกิริยา และใช้วาจาให้คนลุ่มหลง เมื่อลักษณะของพระเพทราชามีดังนี้ จึงกระทำให้สมเด็จพระนารายณ์โปรดปรานนัก และส่วนคนไทยทั่วไป ก็มีความรักใคร่นับถือพระเพทราชามาก
การที่ คอนซตันติน ฟอลคอน มีอำนาจและมีคนเชื่อถือมากนั้น หาเป็นการเสียหายต่อพระเพทราชาอย่างใดไม่ ทั้งสองคนก็ดูปรองดองกันดี ถ้าดูภายนอกก็ดูเหมือนจะรู้ถึงกัน แต่ความจริง คนชาติกรีกก็คิดพยายามอยู่เสมอที่จะชิงหน้าที่ของพระเพทราชา และฝ่ายพระเพทราชาก็คอยหาโอกาสี่จะทำลายฟอลคอนให้จงได้ โอกาสนี้ได้มีขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑) เมื่อราชทูตฝรั่งเศส ลาลูแบร์ และเซเบเรต์ ได้กลับจากเมืองไทยไปแล้ว เพราะในเวลานั้นสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งได้ครองราชสมบัติมาได้ถึง ๓๑ ปีแล้ว ก็ทรงพระชราทั้งทรงพระประชวรพระโรคหืด และพระปัปผาสะก็พิการด้วย จึงเป็นอันสหมดกำลังที่จะว่าราชการแผ่นดินได้ ต้องประทับอยู่แต่ในพระที่ เพราะฉะนั้น จึงโปรดให้ข้าราชการผู้ที่ทรงไว้พระทัยได้ ว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์ต่อไป
ครั้นเรือฝรั่งเศสได้ออกจากเมืองไทยไปแล้ว การขบถที่ได้นัดหมายกันไว้อย่างเงียบๆ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะทำการได้ถนัด ข้ออ้างพระเพทราชายกขึ้นมาอ้าง สำหรับคิดการขบถคราวนี้ มีอยู่หลายข้อคือ
๑. กองทหารฝรั่งเศสได้เข้ามายึดบางกอกไว้แล้ว
๒. การกดขี่ข่มเหงของพวกชาวต่างประเทศ
๓. การทะเยอทะยานอันเกินกว่าเหตุของพวกนักพรตที่คิดการของศาสนา
๔. ความเย่อหยิ่งการกดขี่ของฟอลคอน เพราะฟอลคอนได้เชื่อใจเป็นแน่แว่าการที่ ตัวคิดไว้คงจะเป็นการสำเร็จ จึงมิได้ระวังตัวเลย
ข้อเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ช่วยให้พระเพททราชาได้ทำการสะดวกขึ้นมาก วิธีที่พระเพทราชใช้สำหรับเกลี้ยกล่อมคนนั้น ก็โดยใช้อุบายต่างๆ และใช้วธีหลอกหลวง กล่าวคำเท็จบ้าง หาความใส่คนอื่นบ้าง บนบานบ้าง กดขี่ให้คนกลัวบ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นการกระทำให้พระเพทราชามีพรรคพวกเป็นอันมาก
ในครั้งนั้นมีข้าราชการหนุ่มอยู่คน ๑ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดปรานรักใคร่เป็นอันมาก ทรงเลี้ยงดูให้อยู่ใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ และมีบางเสียงกล่าวข้าราชลการหนุ่มผู้นี้ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเลี้ยงเป็นราชบุตรบุญธรรม ข้าราชการหนุ่มผู้นี้มีนามว่า ออกพระปีย์ หรือหม่อมปิด
ฝ่ายพระเพทราชาก็เห็นว่าพระปีย์ผู้นี้สมควรจะเกลี้ยกล่อมไว้ เพื่อช่วยในการประทุษร้ายที่พระเพทราชาได้คิดไว้ พระเพทราชาจึงได้เข้าหาพระปีย์ ได้ปรึกษาหารือพบปะกันหลายครั้ง แต่จะปรึกษากันว่ากระไรนั้นไม่มีใครทราบ ลงท้ายที่สุดพระเพทราชาได้สาบานต่อพระปีย์ว่า ถ้าพระปีย์ช่วยทำลายฟอลคอน และพวกชาวต่างประเทศแล้ว พระเพทราชาจะได้มอบราชสมบัติให้พระปีย์ได้ครองสต่อไป ฝ่ายพระปีย์ไดรับคำสัญญาของพระเพทราชาดังนี้ ก็มีความปีติยินดี ปลื้มใจอย่างที่สุด จึงได้รับสัญญาจะช่วยพระเพทราชาเป็นขบถต่อไป และได้รับเป็นธุระจะเป็นผู้เฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งกลางคืนและกลางวัน มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้เข้าไปเฝ้าเลยจนคนเดียว แล้วพระปียืได้เชิญพระราชลัญจกร มามอบไว้กับพระเพทราชา พระเพทราชาจึงได้ใช้พระราชลัญจกรนั้นสำหรับสั่งเสียการงาน และกระทำให้ข่าวอันเท็จต่าง ได้แพร่หลายออกไปทั่วพระราชอาณาจักร
ในประเทศไทย บุคคลจำพวกที่มีคนนิยมนับถือมากที่สุด ก็คือคณะพระสงฆ์ พระสงฆ์เหล่านี้ ได้รับความยกเว้นทุกอย่าง ภาษีอากรก็ไม่ต้องเสียอย่างใด การกะเกณฑ์ทั้งปวงก็ไม่ต้องถูกเกณฑ์ สิงสู่อยู่แต่ในอาราม อาหารการรับประทานก็ได้ด้วยคนให้ทาน เพราะพระสงฆ์เหล่านี้ต้องไปเที่ยวขอทานตามบ้านทุก ๆบ้าน บรรดาชาวไทยไม่ว่าคนตระกูลสูงหรือไพร่เลว มีความนิยมนับถือพระสงฆ์เหล่านี้เป็นอันมาก เพราะถือกันว่าพระสงฆ์เป็นเท่ากับล่ามอันมีศีลสำหรับมาแสดงพุทธโอวาท พระเพทราชาก็ได้เคยครองผ้าเหลืองมาแล้ว และได้เคยบวชเป็นพระสงฆ์อยู่หลายเดือน จึงได้ไปเที่ยวเกลี้ยกล่อมหัวหน้าของสงฆ์ ซึ่งเรียกกันว่า สังฆราช โดยไปยุแหย่ให้พวกสงฆ์ มีความฤษยาพวกมิชชันนารี คือไปเที่ยวพูดว่า พวกมิชันนารีโรมันคาธอลิกได้ไปเที่ยวกระจายอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว แล้วไปสั่งสอนศาสนาคริสเตียนอย่างเปิดเผย ไม่ช้าพวกมิชันนารีคงจะได้ทำลายวัดวาอารามลงทั้งหมด และพุทธศาสนาก็คงจะต้องสาปสูญไป เพราะทนพวกมิชันนารีไม่ได้ เมื่อคณะพระสงฆ์ได้ยินได้ฟังพระเพทราชาอธิบายดังนี้ก็ตกใจจนตัวสั่น เพราะถ้าพวกมิชันนารีได้ทำลายพระทุทธศาสนาจริงอย่างว่าแล้ว พวกพระสงฆ์ก็จะขาดสิทธิที่เคยมีอยู่ ราษฎรพลเมืองก็คงจะหมดหนทางที่จะช่วยได้ ผลที่สูดพระสงฆ์เหล่านี้ ก็จะต้องไปขุดดินฟันหญ้า หรือจะต้องไปแจวเรือสำหรับเลี้ยงอาชีวะต่อไป
(ฝรั่ง ไม่เข้าใจ หลักพุทธศาสนา เรื่อง ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา และพระรัตนตรัย สงฆ์ถือว่าเป็นรัตนะที่คอยสืบทอดอายุพระพทธศาสนา และเป็นเพศบรรชิต ถือเป็นเพศสูง ***ปติ คอมเม้นท์)
ฝ่ายขุนนางข้าราชการที่เป็นคนตระกูลสูง ๆ มิได้รับความเอื้อเฟื้อจากคอนสตันซ์ และคอนซตันซ์ก็มิได้คิดเอาใจพวกนี้ไว้เลย จึงมีความฤษยาในการที่คอนซตันซ์มีอำนาจนัก ก็เห็นชอบด้วยในการที่จะเกิดการขบถขึ้นครั้งนี้ เพราะตัวไม่มีผลเสียอะไรเลย ด้วยพระเจ้าแผ่นดินมิได้มอบหมายการงานใหญ่ ๆ ให้พวกนี้ทำจนอย่างเดียว แต่ได้พระราชทานงานใหญ่ ๆ ให้พวกชาวต่างประเทศทำเสียหมด เพราะฉะนั้น ถ้าได้ทำลายคนชาติกรีกลงเสียได้แล้ว พวกขุนนางข้าราชการเหล่านี้กลับจะได้เปรียบ มีผลดีกว่าเก่าเสียอีก
เพราะคนชาติกรีกคนนี้ คิดแต่จะหาอำนาจใส่ตัว เพื่อจะให้ขุนนางข้าราชการเหล่านี้ต้องเป็นผู้น้อยอยู่เสมอ จึงได้เอาลูกกุญแจของประเทศไทยให้แก่ศัตรูดังนี้
(หลวงวิจิตรวาทการ )
**************************************************************
***หอสมุด กอลอนี (Colony) อยู่ที่ไหน หลวงวิจิตรอ่านแปล ภาษาฝรั่งเศสเก่ง จึงได้เขียนพงศาวดารนี้ไว้ ถ้ามีผู้เก่งภาษาฝรั่งเศสค้นคว้าที่หอสมุดนี้ เกี่ยวกับสมัยอยุธยา คงจะได้รู้อะไรอีกมาก (ปติ ตันขุนทด - คอมเม้นท์)
**************************************************************
สมเด็จพระนารายณ์ ได้ราชสมบัติ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2199 คอนสตันติน ฟอลคอล ปรากฏตัวในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ครั้งแรก วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2217 และพ.ศ. 2227 ออกญาโกษาเหล็กถึงอสัญกรรม ฟอลคอนได้เลื่อนขึ้นเป็นออกพระฤทธิ์กำแหง ฯ ผู้ช่วยออกญาพระเสด็จโกษาธิบดีคนใหม่
เกิดขบถแขกมักกะสันที่กรุงศรีอยุธยา ฟอลคอนเป็นหัวหน้าทำการปราบสำเร็จ วันที่ 14 กันยายน พศ.2229
สมเด็จพระนารยณ์ทรงพระประชวร ออกว่าราชการไม่ได้ ออกพระเพทราชาว่าราชการแทน หม่อมปีย์ซ่องสุมกำลัง ฟอลคอลมีคำสั่งให้นายพล เดฟาร์ช ให้รีบนำทหารจากบางกอกขึ้นมายังเมืองลพบุรี
ออกพระเพทราชาลอมพระราชวังลพบุรี จับฟอลคอล หม่อมปีย์ เจ้าฟ้าอภัยทศ สำเร็จโทษ วันที่ 18 พฤษภาคม 2231
สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2231 สมเด็จพระเพทราชาได้ราชสมบัติ นายพลเดฟาร์ช เจรจาปรองดองกับไทย ลงนามในสัญญาสงบศึก วันที่ 18 ตุลาคม 2231
(ขจร สุขพานิช ออกญาวิไชเยนทร์ โรงพิมพ์คุรสภาลาดพร้าว 2527 )
**************************************************************
17 พฤษภาคม 2555 10:23 น.
ปติ ตันขุนทด
***พระเจ้าอู่ทองคือใคร***
ปติตันขุนทด
***พระเจ้าอู่ทองคือใคร***
๑. พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหมอบรัดเลย์ บรรยายว่า......
พระเจ้าอู่ทองเป็นพระราชโอรสพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ผู้สร้างเมืองเทพย์นคร มีข้อความคือ
"จึ่งพระเจ้าอู่ทองราชโอรส ก็เสด็จเถลิงถวัลย์ราชมไหศวรรย์แทนสมเด็จพระบรมราชบิดา จึงให้กระทำการฌาปนกิจถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว พระองค์ดำรงราชอาณาจักรอยู่ ณ เมืองเทพย์นครนั้นได้หกพรรษา พระราชหฤทัยประสงค์จะส่ร้างพระนครใหม่ จึงดำรัสใช้ขุนตำรวจให้ไปเที่ยวแสวงหาที่จะตั้งพระนคร ลงมาโดยทักษิณทิศ ถึงประเทศที่หนองโสน กอปรด้วยพรรณมัจฉาชาติครบบริบูรณ์ จึงกลับขึ้นไปกราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ สมเด็จพระเจ้าอู่ทองก็เสด็จกรีธาพลพลากรโยธาประชาราษฎรทั้งปวงลงมายังประเทศที่นั้น ให้ตั้งพระตำหนักที่ประทับพลับพลาไชย ณ ตำบลเวียงเหล็ก ให้จับการทุบปราบที่อันจะตั้งเมือง แลการทำอิฐเผาปูน ซึ่งก่อกำแพงพระนครนั้น"
๒. หลักฐานที่กล่าวถึงที่มาของพระเจ้าอู่ทองนั้น มีเนื้อความแตกต่างกัน
@ พระเจ้าอู่ทองมาจากทางเหนือ
พระราชพงศาวดารสังเขป ของสมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส จุลยทธการวงศ์ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ของสมเด็จพระวันรัตน์ พงศาวดารโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร์ พงศาวดารเหนือ และจดหมายเหตุลาลูแบร์ กล่าวตรงกันว่า พระเจ้าอู่ทองมาจากสายสกุลทางเชียงแสน แล้วอพยพลงมาถึงกำแพงเพชร จากกำแพงเพชรจึงได้อพยพมายังหนองโสน
@ พระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองเพชรบุรี
พงศารวดารฉบับวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ และคำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวถึงการอพยพของบรรพบุรุษของพระเจ้าอู่ทอง จากที่อื่นแล้วมาตั้งเมืองอยู่ที่เพชรบุรี และในที่สุด็ย้ายมาที่หนองโสน ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
@ พระเจ้าอู่ทองมาจากละโว้ หรือลพบุรี
หลักฐานที่กล่าวถึงเรื่องนี้ คือ ชินกาลมาลีปกกรณ์ และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
@ พระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองอู่ทอง
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวในเรื่อง เมืองอู่ทอง ที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือนิทานโบราณคดี และครั้งที่เสด็จไปทรงบรรยายเรื่อง พงศาวดารสยาม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ว่า พระเจ้าอู่ทองเป็นบุตรของโชฎึกเศรษฐี และเป็นบุตรเขยของเจ้าเมืองอู่ทอง เมื่อพระชนมายุ ๓๐ พรรษา จึงได้ขึ้นครองที่เมืองอู่ทอง เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๗ พระองค์ปกครองเมืองอู่ทองได้ ๓ ปี ก็เกิดอหิวาตกโรคในเมือง พระองค์จึงอพยพมาสร้างกรุงศรีอยุธยา ท่าน้ำที่พระองค์พาผู้คนข้ามแม่น้ำสุพรรณบุรีมานั้น ในทุกวันนี้ ที่ตรงนั้นยังเรียกกันว่าท้าวอู่ทอง
*** จากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ อาจสรุปได้ว่าเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาให้เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการมือง สังคม เศรษฐกิจ และแนวความเชื่อแห่งใหม่ ขึ้นในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วศูนย์กลางแห่งนี้ได้กลายเป็นฐานอำนาจสำคัญที่ทำให้ราชอาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรที่มีบทบาทสำคัญในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้สืบต่อมาอีกนาน ด้วยการรวมเมืองในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่เมืองละโว้ ซึ่งเคยเป็นศูย์กลางอำนาจการปกครองในบริเวณนี้มาก่อน และเมืองสำคัญ ๆ อื่น ๆ เช่นเมืองสุพรรณบุรี เข้ามาไว้ภายใต้ศูนย์กลางแห่งเดียวกัน คือกรุงศรีอยุธยาได้
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา คือปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเอื้ออำนวยทางการค้า ทำให้บริเวณนสี้กลายเป็นบริเวณที่มีการตั้งชุมชนเป็นเมืองที่หนาแน่น ชุมชนที่สำคัญคือชุมชนที่ใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลาง กับชุมชนจีน ที่เข้ามาเนื่องจากการค้าขายทางทะเล
อีกประการหนึ่งคือ เป็นบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวกทางน้ำ เดินทางเข้าออกได้สะดวก ทำให้บริเวณานี้เป็นบริเวณที่มีความหลายหลากทางด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ ทั้งพื้นเมือง พุทธ ฮินดู ที่เผยแพร่อยู่ในบริเวณนี้ กลายเป็นแนวความเชื่อหลัก ที่พระเจ้าอู่ทองใช้ในการสถาปนาอำนาจกรุงศรีอยุธยา ให้เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ประวัติศาสตร์ไทยจะเรียนจะสอนกันอย่างไร โรงพิมพ์การศาสนา ๒๕๔๓ )
(น ณ ปากน้ำ ศิลปกรรมแห่งอาณาจักรศรีอยุธยา ต้นอ้อ แกรมมี ๒๕๔๐)
ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-10 08:33:58 IP : 125.26.101.11
17 พฤษภาคม 2555 10:17 น.
ปติ ตันขุนทด
***เจ้าเมืองลำพูน***
ปติตันขุนทด
***เจ้าเมืองลำพูน***
๑. เจ้าคำฝั้น พ.ศ. ๒๓๔๘ - ๒๓๕๙
๒. เจ้าบุญมา พ.ศ. ๒๓๕๙ - ๒๓๗๐
๓. เจ้าน้อยอินทร์ พ.ศ. ๒๓๗๐ - ๒๓๘๑
๔. เจ้าน้อยคำตัน พ.ศ. ๒๓๘๑ - ๒๓๘๔
๕. เจ้าน้อยธรรมลังกา พ.ศ. ๒๓๘๔ - ๒๓๘๖
๖. เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคุณหริภุญชัย พ.ศ. ๒๓๘๖ - ๒๔๑๔
๗. เจ้าดาราดิเรกไพโรจน์ พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๔๓๑
๘. เจ้าเหมพินธุ์ไพจิตร พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘
๙. เจ้าอินทยงยศ พ.ศ. ๒๔๓๘ - ๒๔๕๔
๑๐. พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๘๖
***หลังจากคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลในปี ๒๔๗๖ เปลี่ยนฐานะเมืองเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่แต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยมาปกครองแทนข้าหลวงประจำจังหวัด
ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-14 12:12:41 IP : 125.26.103.175
1
ความเห็นที่ 1 (2977804)
โหลนเจ้าน้อยกู้
เจ้าลำพูน มีอีกองค์หนึ่ง ที่ไม่ได้บันทึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ คือ เจ้าน้อยกู้ เจ้าพรหมปั๋น เจ้าทรายคำ เจ้าเลาแก้ว เป็นเจ้าเชื้อสายจากลำพูน สกุลเดิม วงษ์วรรณ์ เจ้าน้อยกู้อพยบมาอยู่ที่เขต เมืองแกน ทำไร่ทำสวนอยู๋ ณ บ้านใหม่ ม.5 เป็นเวลานับร้อยปีแล้ว ลูกของท่านมีทั้งหมด 9 คน ตอนนี้เหลือ 1 คน
ผู้แสดงความคิดเห็น โหลนเจ้าน้อยกู้ (pongpiwat12777-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-24 13:57:19 IP : 192.168.213.57,
17 พฤษภาคม 2555 10:13 น.
ปติ ตันขุนทด
***เขลางค์นคร***
ปติตันขุนทด
***เขลางค์นคร***
หลังจากพระนางจามเทวีสละราชสมบัติให้เจ้ามหันตยศพระโอรสแล้ว พระนางมีพระเกียรติยศเป็น พระพันวัสสา (พระราชชนนี) ทรงบำเพ็ญแต่พระราชกุศล ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น สร้างอรัญญิกวิหาร (วัดต้นแก้วทางทิศตะวันออก) สร้างอารามแห่งหนึ่ง ณ ป่าไม้ยางทราย ชื่อ มาลุวาราม และสร้างวิหารทางทิศอิสาน (วัดสันป่ายาง) สร้างพัทธาราม ในทิศอุดร (วัดพระคงคาฤาษีทางทิศเหนือ) สร้างลังการราม และมหาวนารามไว้ในเบื้องทิศปัจจิม (วัดมหาวันทางทิศตะวันตก) สร้างมหาสถารามไว้ในเบื้องทิศทักษิณ (วัดประตูลี้ทางทิศใต้) ทรงสร้างพระพุทธรูปใหญ่น้อยเป็นอันมาก วิหารทั้งห้านี้ พระนางจามเทวีสร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงรักษาอุโบสถศีล และทรงธรรมเสมอมิได้ขาด ครั้งนั้นเสนาอำมาตย์ราชมนตรี และชาวพระนครก็พากันประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระนาง เป็นที่พุทธอุปถัมภก ยกย่องพระพุทธศาสนารุ่งเรืองสืบมา
เมื่อเมืองหริภุญชัยมีความเจริญมั่นคงทางการเมืองแล้ว ได้ขยายอำนาจออกไปสร้างเมือง เขลางค์นคร ในที่ราบลุ่มแม่น้ำวัง
ตามตำนานกล่าวว่า ภายใต้การสนับสนุนของสุพรหมฤษี แห่งเขลางค์บรรพต สุพรหมฤาษีเป็นสหายอีกตนหนึ่งของวาสุเทพฤาษี สร้างเขลางค์นคร เพื่อให้อินทรวรกุมาร หรืออนันตยศ โอรสองค์เล็กขึ้นครอง เขลางค์นครมีความสำคัญรองจากเมืองหริภุญชัย
หลังจากที่เจ้าอนันตยศครองเมืองเขลางค์นครมีความเจริญมั่นคงในระยะหนึ่งแล้ว ได้มาทูลขอคณะสงฆ์ และพระครูพราหมณ์ไปสืบศาสนาในเขลางค์นคร พระเชษฐาธิราชเจ้ามหันตยศได้พระราชทานอนุญาต เจ้าอนันต์ยศจึงได้เชิญพระนางจามเทวี พระราชมารดาเสด็จเขลางค์นคร และให้ประทับอยู่ที่เขลางค์นคร เจ้าอนันตยศ ได้ปรึกษามหาพรหมฤาษี สร้างเมืองขึ้นมาทางทิศใต้อีกเมืองหนึ่ง ให้ชื่อว่า อลัมพางค์นคร โดยเจ้าอนัตยศทรงประทับอยู่ และมาปฏิบัติพระราชมารดาอยู่เสมอทุวัน พระนางจามเทวีเสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองเขลางค์นครได้ ๖ พรรษา ทรงพระประชวรจึงเสด็จกลับสู่หริภุญชัยนคร หลังจากนั้นพระอาการกำเริบหนัก ได้เสด็จสวรรคตเมื่ออายุได้ ๙๒ พรรษา หรือในราว พ.ศ. ๑๒๕๘
เมื่อพระนางจามเทวีสเด็จสวรรคตแล้ว เจ้ามหันตยศ และเจ้าอนันตยศ ได้ปลงพระศพที่บริเวณป่าไม้ยาง แล้วได้นำพระอัฐิมาบรรจุไว้ด้านประจิม (ตะวันตก) แห่งเมืองหริภุญชัย ได้ชื่อว่า สุวรรณจังโกฏเจดีย์
(พงศาวดารโยนก)
ผู้ตั้งกระทู้ ปติตันขุนทด (suchati2495-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-14 14:05:44 IP : 125.26.103.175
17 พฤษภาคม 2555 10:04 น.
ปติ ตันขุนทด
***เจ้านครโยนกนาคบุรี***
ปติตันขุนทด
***เจ้านครโยนกนาคบุรี***
ในรัชกาลพระองค์พังคราช เจ้านครโยนกนาคบุรีนั้น มหาศักราชล่วงได้ ๒๗๗ ปี ครั้งนั้นนครโยนกร่วงโรย ราชอำนาจอ่อนน้อยถอยลง พวกขอมเมืองอุมงคเสลานครกลับกำเริบตั้งแข็งเมืองขึ้น เจ้านครโยนกปราบปรามไม่ชนะ ขอมมีกำลังและอำนาจมากกว่า ก็ยกพลโยธาเข้าตีปล้นเอาพระนครโยนกได้ในวันอาทิตย์ เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้วได้ ๙๐๐ พรรษา พระยาขอมจึงไล่พระองค์พังคราช เจ้านครโยนกกับราชเทวี ไปอยู่ ณ เวียงสีทวง ริมแม่น้ำสาย ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แห่งโยนกนคร และขอมเข้าจัดการเมืองเป็นใหญ่ในนครโยนกและแคว้นทั่วไป
*****
พงศาวดารโยนก บริเฉทที่ ๕ ว่าด้วยขอมและไทย