พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
**เป็นบุคคลที่นิยมฝ่ายกษัตริย์ royalist
**เป็นนายกคนแรกของคณะราษฎรที่ไดั้จัดตั้งรัฐบาลครั้งแรก 28 มิถุนายน 2476
**เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ ๒ เมื่อมีการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธันวาคม
2475
**เมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มกำจัดบุคคลในคณะราษฎร
**คณะรัฐมนตรีพระยามโนฯลงมติให้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ออกไป
ต่างประเทศพร้อมกับจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ปีละ 1000 ปอนด์สเตอลิงค์
**เมื่อเนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ออกไปแล้ว พระยามโนฯสั่งปิดสภาผู้แทนฯ
งดใช้รัฐธรรมนูญ นั่นเท่ากับเป็นการปฏิวัติซ้อน ไม่เอาระบอบประชาธิปไตย
ที่คณะราษฎรปฏิวัติระบอบกษัตริย์
**พระยามโนตั้งคณะรัฐบาลใหม่ เมื่อ 1 เมาษายน 2576
**20 มิถุนายน 2476 คณะทหาร นำโดยพระยาพหล ทำหนังสือยื่น
คำขาดให้รัฐบาลพระยามโนลาออก
**21 มิถุนายน 2476 นายกผู้อาลัยระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ได้ถูก
เนรเทศออกไปอยู่นอกประเทศ หลังจากที่เขาได้กราบบังคมทูลลา
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชวังไกลกังวลหหัวหินแล้ว
**พระยามโนฯและครอบครัวไปอยู่ที่เกาะปีนัง จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
เป็นเวลา 16 ปีเศษ และถึงแก่อนิจกรรมท ี่บ้านพักถนนจันเลอมัว ปีนัง
เมื่อ 1ตุลาคม 2491 สิริอายุได้ 64 ปี เศษ
ประมวลวิทย์ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พระนคร เกษมสัมพันธ์การพิมพ์ ๒๕๐๕
*********************************************************
มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เ
ป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ ท่านถึงอสัญกรรม ณปีนัง เมื่อวันที่
1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 64
ประวัติการศึกษา
พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต
จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่อง
ด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้
รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้
แทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกใ
ห้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลาง
ประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลง
การปกครอง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ถูกทาบทามตั้งแต่วันแรกที่มีการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทว่ายังไม่ตอบรับเลยในทันที เพียงแต่ขอเวลาไป
ตัดสินใจหนึ่งคืน และได้ให้คำตอบรับในเช้าวันถัดมา
**นายปรีดี ถูกพระยามโนปกรณ์นิติธาดากำจัดด้วยข้อหาว่า เป็นคอมมูนิสต์
ตามแผนการของพวกนิยมเจ้า**
หลังจากมีกรณีเรื่อง "สมุดปกเหลือง" เค้าโครงเศรษฐกิจที่ร่างโดยนายปรีดี
ขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่าน
ไม่เห็นชอบด้วย ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ
ขุนนาง และบุคคลในสภา ฯ พระยามโนปกรณ ฯ เองก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครง
เศรษฐกิจฉบับนี้ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกคณะราษฎรกลุ่ม
ทหารที่นำโดย พระยาทรงสุรเดช ท่านจึงได้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา
พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์
ให้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำ
อันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย ซึ่งเรียกกันว่าท่านกระทำรัฐประหาร
ด้วยการใช้ "ปากกาด้ามเดียว" ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎรที่
สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์
เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน
พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหาร
คณะรัฐบาลของท่าน และเนรเทศท่านไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัว
นายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณนิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลาย
อยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม
พระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและคุณวุฒิสูง
แต่เป็นบุคคลที่มีบุคคลิกพูดจาตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก ชีวิตส่วนตัวชื่นชอบ
ในการเดินป่าและล่าสัตว์ป่า
หมายเหตุพระยามโนปกรณนิติธาดา สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงนิตย์ มโนปกรณนิติธาดา
(สกุลเดิม สาณะเสน) ธิดาของพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน)
คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดา ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีเมื่อคราวเสด็จประพาสอาณานิคม
อินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 จนเมื่อ
วันที่ 4 พฤษภาคมนั้นได้เกิดอุบัติเหตุเมื่อรถยนต์ที่เธอนั่งพุ่งชนเข้ากับเสาโทรเลข
เนื่องจากความประมาทของพลขับ ทำให้คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดาบาดเจ็บ
สาหัสที่ศีรษะบาดแผลฉกรรจ์ ภายหลังคุณหญิงทนพิษบาดแผลไม่ไหว และเสีย
ชีวิตลงในเวลา 12.35 นาฬิกา ของวันที่4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงทรงร่นระยะเวลาพระกรณียกิจ
และโปรดให้งดงานรื่นเริงต่าง ๆ ระหว่างการเสด็จประพาสไปเสียสิ้น ทั้งยังได้สร้าง
อนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านาง 4 หน้า เพื่อเก็บอังคารของคุณหญิงที่วัดปทุมวนาราม
พระยามโนปกรณนิติธาดาจึงใช้ชีวิตคู่ใหม่กับ นางเชย หุตะสิงห์ และมีบุตรสอง
คนคือ ตุ้ม หุตะสิงห์ และ นิติพงษ์ พลเยี่ยม
ผู้พิพากษาประจำศาลแขวงจังหวัดกระบี่
ในวันที่นายปรีดี พนมยงค์ เหยียบย่างแผ่นดินสยามนั้น นักเรียนกฎหมายมีจำนวน๔๐๐ คน ได้พากันเดินขบวนแสดงความยินดีในการกลับมาของนายปรีดี ไปยัง ณวังปารุสกวัน โดยมีนายบุณยรักษ์ เจริญไัย เป็นหัวหน้า หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้ออกมาต้อนรับนักเรียนเหล่านั้น และได้พาเข้าพบกับนายปรีดี พนมยงค์ณ วังปารุสกวันนายปรีดี พนมยงค์ ได้ออกมาต้อนรับท่ามกลางแการส่งเสีงโชโยของนักเรียนกฎหมายเหล่านั้น ด้วยดวงหน้าอันยิ้มแย้มแจ่มใส แล้วนายบุณยรักษ์ เจริญชัย ก็ได้กล่าวต้อนรับอาจารย์ปรีดี ดังมีข้อความดังต่อไปนี้ท่านอาาจารย์ที่เคารพและรักใคร่ในโอกาสที่ท่านเดินทางนิวัติจากการไปดูการเศรษฐกิจในต่างประเทศและเพื่อจะได้ร่วมมือกับรัฐบาล ในอันที่จะดำเนินกิจการงานของชาติ นำสยามให้ขึ้นสู่ระดับแห่งอารยะในคราวนี้ คณะนักเรียนกฎหมาย อันเป็นหน่วยหนึ่งของประเทศสยาม มีความปลื้มปิติเป็นที่ยิ่ง และยินดีที่ได้เห็นท่านอาจารย์และภริยาได้กลับมาโดยสวัสดี พร้อมด้วยความสุขสำราญในท่ามกลางแห่งความนิยมชมชื่นแซร่ซร้องสาธุการของมหาชนชาวสสยามผู้รักชาติทั้งหลายด้วยน้ำใสใจจริงแต่เดิม คณะนักเรียนกฎหมายมีความหวังว่า จะมีโอกาสได้ต้อนรับอาจารย์ ณ สถานีรถไฟ หรือที่แห่งใดแห่งหนึ่งสุดแต่การมาของท่านอาจารย์ แต่ครั้นแล้วสภาพและโอกาสไม่เปิดช่องให้เหล่าคณะนักเรียนกฏหมาย ยังจะตัดใจระงับความปลื้มปิติยินดีอันมีระดับสูงสุดนี้ลงเสียมิได้คณะนักเรียนกฏหมายย่อมทราบดีว่า ท่านอาจารย์และภริยาคงมีความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไม่น้อย และการมาแสดงความยินดีทั้งนี้ คณะนักเรียนกฏหมายรู้สึกว่าคงจะเป็นการรบกวนท่านอาจารย์เป็นอันมาก แม้กระนั้นคณะนักเรียนกฏหมายก็ยังมีความหวังว่า คงจะไม่มากเกินไปที่ท่านอาาจารย์จักให้อภัยในโอกาสอันประเสริฐนี้ คณะนักเรียนกฏหมายขออวยพรให้ท่านอาจารย์และครอบครัว จงมีความเจริญและความเกษมสุขสำราญยิ่งขึ้นไปตราบเท่ากาลปาวสาน เทอญอนึ่ง พวกเราเหล่านักเรียนกฎหมายทั้งหลาย ขอปฏิญาณตนต่อหน้าท่านอาจารย์ผู้ให้กำเนิดแก่รัฐธรรมนูญผู้หนึ่งว่า จะช่วยกันรักษษรัฐธรรมนูญของประเทศให้ยืนยงถาวรและถ้าหากมีผู้ใดมาละเมิด จะยอมสละเลือดเนื้อทุกหยาดเพื่อรักษารัฐธรรมนูญอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเราไว้***แล้วนักเรียนกฏหมายได้ร้องไชโยขึ้น ๓ ครั้งดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวตอบคณะนักเรียนกฎหมายว่า....**ข้าพเจ้ารู้สึกปิติยินดีมากในการที่เหล่าลูกศิษย์พร้อมใจกันมาต้อนรับในคราวนี้ รู้สึกปลาบปลื้มในข้อที่ว่า พวกนักเรียนกฎหมายทั้งหมด ได้ปฏิญาณต่อข้าพเจ้าว่า จะช่วยรักษารัฐธรรมนูญของประเทศไว้ให้มั่นคงถาวร มิให้ผู้ใดละเมิดได้เลย ตัวข้าพเจ้ารู้สึกว่าไม่เสียแรงเปล่าที่เคยเปผ็นอาจารย์มา ขอให้เหล่านักเรียนกฎหมายจงรักษาคำปฏิญาณที่ว่าจะรักษารัฐธรมนูญให้มั่นคง ขอให้จงหมั่นเล่าเรียนและขอให้สอบไล่ได้ เพื่อจะได้ป็นผู้ใหญ่และช่วยกันจรรโลงสยามให้เจริญถาวรสืบไป**และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ นั้น ก็ได้มีประกาศแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์เป็นรัฐมนตรี ดั่งนี้ประชาธิปก ป.ร.มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) เป็นรัฐมนตรี รับราชการสนองพระเดชพระคุณ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปประกาศมา ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๖พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนานายกรัฐมนตรีผู้รับสนองพระบรมราชโองการวิเทศกรณีย์ ยุคทรราช กรุงเทพฯ โอเดียนสโตร์ 2501
ชาวไทยลือเชียงคำ มีกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากเมืองฮาย แคว้นสิบสองปันนา ก่อนนั้นแก็มีชาวไทยลื้อกลุ่มเก่าที่อพยพมาก่อน ราว พ.ศ.๒๓๒๘ คือ ไทยลื้อเมืองหย่วน เมือง มาง เป็นต้นเมืองฮาย มีเจ้าเมืองเรียกว่า "อาชญา" มีหน้าที่รักษากฏหมาย และให้ความยุติธรรมแก่ราษฎรรองเจ้าเมืองเรียกว่า "พญาเก๊า" รองพญาเก๊าเรียกว่า "พญากวาน"ราว พ.ศ. ๒๔๓๐ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ เจาเมืองเมืองฮาย คือ เจ้าสุริยวงศ์ เมื่อถึง พ.ศ.๒๔๔๐ เจ้าสุริยวงศ์ได้ถึงแก่กรรม เจ้าอิ่นน้องชายได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทนเจ้าอิ่นมีลูกชายชื่อเจ้าหล้า มีน้องชายชื่อ เจ้าอุ่น มีศักดิ์เป็นอาเจ้าหล้าเมื่อเจ้าอิ่นถึงแก่กรรม เกิดแย่งชิงตำแหน่งกันระหว่างอากับหลานเจ้าหล้าเล่าว่า......เมื่อเจ้าอิ่นผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม เจ้าหล้ามีอายุ ๒๐ ปี ตรงกับสมัยเจ้าหม่อมหลวงซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงรุ้งชาวเมืองต้องการจะเอาเจ้าหล้าเป็นเจ้าเมืองฮาย เจ้าอุ่นผู้เป็นอาไม่ยอม บอกว่าหลานอายุยังน้อยบ่สมควรเป็นเจ้า ให้เจ้าอาเป็นก่อน จึงเกิดรบแย่งชิงกันเป็นเจ้าเจ้าหัวเมืองทางตะวันตกลำน้ำโขง มีเมืองต่าง ๆ สนับสนุนเจ้าหล้า เช่น เจียงลอ ฮุน ลวงเชียงรุ้ง สูง แจ เจียงเจิง ขวาง วัง หวาด เจียงฮ้า ปาน มาง ตลอดจนชาวเมืองฮายเองเข้าข้างฝ่ายเจ้าหล้า รบกันอยู่ ๒ ปี เจ้าอุ่นนำเอาพวกทหารจีนฮ่อ เจ้าหล้าเห็นเหลือกำลังที่่จะขับสู้ จึงพาพวกพ้องเผ่าพงศ์ของตนหลบหนีเข้ามาอยู่เมืองเชียงใหม่ ราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓ (ร.๕ สวรรคตปีนี้)ต่อมาก็อพยพมาอยู่บ้านหัวแคร่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย และย้ายมาอยู่บ้านหย่วนอำเภอเชียงคำตราบจนปัจจุบันนี้ที่เมืองฮายหลังจากนั้น ทหารจีนก็อยู่ประจำเมืองฮาย เจ้าอุ่นเป็นเจ้าเมืองได้ ๗ ปีก็ได้ถึงแก่กรรม บุตรชายเจ้าเสียชีวิตหมด ยกเว้นบุตรชายที่เป็นใบ้คนเดียว กับบุตรหญิงอีก ๒ คนบราดาเจ้าเมืองและชาวไทยลื้อเมืองฮาย มีหนังสือมาเชิญเจ้าหล้าให้กลับไปเป็นเจ้าเมืองในระหว่างนั้นให้ทหารจีนฮ่อรักษาเมืองไว้ก่อน หากเจ้าหล้ายไปจะมอบตำแหน่งเจ้าเมืองฮายให้เหมือนเก่าเหมือนหลังถ้ากลับไปก็จะจัดให้เอาม้ามารับ เจ้าหล้าเห็นว่า สิบสองปันนา มีแต่เหตุการณ์ยุ่งยากจึงตอบหนังสือไปว่า "ไม่ไปแล้ว จะขอตายอยู่กับแผ่นดินไทย"ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทยลื้อได้เอาชื่อบ้ ดังนี้านเก่าเมืองเก่าของตน มาตั้งชื่อหมู่บ้าน เช่นบ้าหย่วนบ้านมาง บ้าแวน บ้าแพด เป็นต้น**บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ไทยสิบสองปันนา พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพ สยาม ๒๕๔๗
พระเจ้าทรงธรรม ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติแต่พระสนมผู้เป็นน้องสาวของออกญาศรีธรรมาธิราชก่อนเสด็จเสวยราชสมบัติ ทรงมีหน้าที่กำกับการกรมท่า จึงเป็นที่รู้จักดีในระหว่างพ่อค้าและรัฐบาลต่างประเทศยิ่งกว่าพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีรัชกาลก่อน ๆในราวกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๑๕๓ เมื่อสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ทรงถูกสำเร็จโทษแล้ว พวกขุนนางจึงพร้อมใจกันทูลเชิญพระอินทราชาขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพพระองค์ที่ ๒๑ ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระอินทราชาธิราช"และเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภเษกว่า "พระเจ้าติโลกนาถ"แต่พระนามที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงกาประวัติศาสตร์ไทย่า "สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม"พระองค์ทรงมีพระมเหสีและพระสนมหลายองค์ มีพระราชโอรส ๙ พระองค์พระราชธิดา ๘ พระองค์พระราชโอรสองค์สำคัญคือ พระเชษฐษ อันประสูติแต่พระมเหสี อมริต และพระพันปีศรีศิลป์กับพระอาทิตย์วงศ์ อันประสูติแต่พระสนมพระเจ้าทรงธรรมทรงทะนุบำรุงพระพุุทธศาสนามากมายหลายประการ เช่น โปรดให้ชักชะลอพระมงคลบพิตรซึ่งอยู่ริมบึงพระราม(หนองโสน) มาทางตะวันตกหลังพระราชวัง แล้วสร้างพระมณฑปครอบไว้ทรงทราบจากพระภิกษุซึ่งกลับจากลังกา ว่าในประเทศไทยมีรอยพระทุทธบาทอยู่ที่บนเขาสุวรรณบรรพต จึงโปรดให้มีการค้นหากันขึ้น เมื่อได้พบรอยพระพุทธบาทอยู่บนไหล่เขาในเมืองสระบุรี ก็โปรดให้สร้างพระมณฑปครอบไว้ สร้างวัด และพระราชทานครัวไว้ในที่ใกล้ ๆ เพื่อให้พระภกษุในวัดนั้น และข้าวัดช่วยกันรักษาดูแล โปรดให้ตัดทางจากบ้านท่าเรือไปยังพระพุทธบาท ทรงสร้างพระไตรปิฎกขึ้นจบบริบูรณ์ทรงแต่งมหาชาติคำหลวงไว้สำหรับพระพุทธศาสนา ปละได้เสด็จออกไปทรงปฏิบัติพระสงฆ์ซื่งมาประชุมศึกษาพระธรรมณ พระที่นั่งจอมทองเป็นประจำ โดยเหตุนี้ประชาชนจึงถวายพระนามพระองค์ว่า "สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางในหมู่ชาวต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อได้เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึก บรรดาหัวเมืองรอบนอกน้อยใหญ่ก็พลอยยับเยินไปด้วยพม่าเมืองเพชรบุรี แม้ห่างจากกรุงศรีอยุธยา ก็ยังถูกหน่วยลาดตรเวนพม่าเที่ยวกวาดต้อนผู้คนเอาไปเป็นเชลย และเที่ยวริบทรัพย์สินเยี่ยงโจร ชาวเพชรบุรีระส่ำระสาย เที่ยวซอกซอนซ่อนเร้นหนีภัยพม่ามีแม่คนหนึ่งอุ้มลูกสองสามเดือนไว้ในอ้อมแขนซ้าย จูงลูกหญิง ๕ - ๖ ขวบไว้ด้วยมือขวาข้างหลังมีลูกชายคนโตอายุ ๕ - ต ขวบ วิ่งตามแม่และน้อง ๆ มาทั้งสี่คนนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ติดตัวมา แต่พม่าเห็นเด็กหญิง จึงมุ่งเอาเด็กหญิง ๕ - ๖ ขวบนี้ไปเป็นเชลย แต่สัญชาตญาณแห่งความเป็นแม่ได้ต่อสูขัดขืน ขัดขวางทหารพม่าไว้ ไม่ให้เอาลูกของตนไป ทหารพม่าได้เอาหอกแทงหญิงผู้เป็นแม่ล้มลงขาดใจตาย ลูกในอ้อมแขนกระเด็นพี่ชายคนโต หนีโดดข้ามกำแพงโบสถ์ไปซุ่มซ่อนตัีวอยู่ที่ซุ้มข่อย ลูกคนเล็กของแม่รอดร้องไห้จ้าหาแม่ แม่เท่านั้นเป็นที่พึ่ง คลานหาแม่ เห็นแม่น้อนอยู่บนพื้นดิน คิดว่าปลอดภัยแล้วก็เข้าไปกอด แต่ก็ยังร้องไห้ขอความคุ้มครองจากแม่ และอ่อนแรงแล้วก็หิว จึงดูดนมแม่ที่ตายจนอิ่ม นั้นเป็นน้ำนมมื้อสุดท้าย อิ่มสุดท้าย ของลูกพี่สาวของเธอ ๕ -๖ ขวบพม่าฉุดเอาไปเป็นเชลยไม่ทราบชตากรรม พี่ชายคนโตเมื่อหทารพม่าไปแล้วก็ออกมาจากที่ซ่อน มาอุ้มน้องที่รอดจากพม่าไปหาพระ ขอพึ่งใบบุญพระ พระตั้งชื่อให้ว่า "รอด" เพราะรอดตายจากหทารพมา เมื่อโตเป็นสาวก็ได้แต่งงาน มีลูกชายคนหนึ่งชื่อเกษ ทำงานราชการได้เป็นพระยา**วชีระ สมาคมสหภูมิเพชรบุรี "มหาตาลวันปเทโศ" **