ณ กรมพระราชวังหลัง ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก
รับใช้ ในกรมพระราชวังหลัง ครั้นเมื่อกรมพระราชวังหลังทิวงคต สุนทรภู่ไปเป็น
มหาดเล็กรับใชhอยู่กับพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง
ซึ่งผนวชอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้นเมื่อถึงรัชกาลที่ ๒
สุนทรภู่เข้าทำราชการ ได้เป็นที่ขุนสุนทรโวหาร อยู่ในกรมพระอาลักษณ์ จนถึงรัชกาลที่ ๓ สุนทรภู่มีความผิดถูกถอดออกจาราชการ ไม่มีที่พึ่งจึงออกบวช แต่มีพระองค์เจ้า
ลักขณานุคุณ พระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดสักวา
ทรงพระเมตตาอุปการะ ได้สึกออกมาอยู่ในกรม แต่ไม่นานนัก พระองค์เจ้า
ลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่สิ้นที่พึ่งตกยากอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากรมหมื่น
อัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัส
ชอบเรื่องพระอภัยมณี ได้ทรงอ่านหนังสือที่สุนทรภู่แต่งไว้ โปรดให้สุนทรภู่
แต่งต่อถวายอีก และทรงอุปการะเกื้อหนุนสุนทรภู่ต่อมา และพระบาท
สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ก็ทรงเกื้อหนุนสุนทรภูมาด้วยอีกพระองค์หนึ่ง ครั้นเมื่อกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่
ได้พึ่งแต่สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เดียว ต่อมา ครั้นเมื่อถึง
รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งสุนทรภู่เป็นที่
พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายบวรพระราชวัง
ได้รับความสุขจนสิ้นชีพ ปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔
สุนทรภู่เกิดเมื่อ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สิริอายุ ๖๙ ปี
ผลงานเขียนที่สุนทรภูแต่งไว้ มีดังนี้
๑) นิราศเมืองแกลง แต่งในวัยรุ่นคะนอง คราวลงไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง
สมัยเป็นมหาดเล็กกรมพระราชวังหลัง
๒) นิราศพระบาท แต่งในสมัยเป็นมหาดเล็กพระองค์เจ้าปฐมวงศ์
๓) นิราศภูเขาทอง แต่งตอนบวชเป็นพระภิกษุ หลังออกพรรษา ลาวัดราชบูณะ
ไมนมัสการภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยา รคั้งแรก ในสมัยรัชกาลทีี่ ๓
๔) โคลงนิราศสุพรรณ
๕) นิราศวัดเจ้าฟ้า ใช้นามแฝง แต่งเป็นสำนวนเณรพัด บุตรชาย คราวขึ้นไป
อยุธยาเป็นครั้งที่สอง
๖) นิราศอิเหนา แต่งถวายพระองค์เจ้าลักกขณานุคุณ
๗) นิราศพระแท่นดงรัง แต่งคราวตกยาก พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้น
พระชนม์ อาศัยเพื่อนไปเที่ยวพระแท่นดงรัง
๘) นิราศพระประธม (พระปฐม) แต่งเมื่อคราวไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ สมัยพึ่งพาอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ แล กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
๙) นิราศเมืองเพชร
ผลงานอื่นของสุนทรภู่ นอกจากนิราศมี โคบุตร สิงหไตรภพ วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี
ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
เพลงยาวถวายโอวาท สวัสดิรักษา สุภาษิตสอนหญิง และรำพันพิลาป
จักขอเรียงลำดับก่อนหลังผลงานของสุนทรภู่ที่แต่งตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้
๑ โคบุตร แต่งในรัชกาลที่ ๑ เป็นวรรณกรรมประโลมโลก และเป็นเรื่องแรกในงาน
วรรณกรรมทั้งหมดของสุนทรภู่ ที่เราทราบ
๒ นิราศเมืองแกลง พศ.ศ. ๒๓๕๐ เป็นนิราศเรื่องแรกในจำนวน ๙ เรื่อง ที่
สุนทรภู่แต่ง เป็นนิราศเรื่องยาวที่สุดของท่าน
๓ นิราศพระบาท พ.ศ. ๒๓๕๐
๔ พระอภัยมณี แต่งในขณะติดคุกในรัชกาลที่ ๒ และแต่งเรื่อยไปจนรัชกาลที่ ๓ รวม ๙๔ เล่มสมุดไทย แต่ตอนหลังเข้าใจกันว่ามิใช่สำนวนสุนทรภู่ทั้งหมด
ชื่นชอบกันว่าพระอภัยมณี เป็นวรรณกรรมยอดเยี่ยมของสุนทรภู่
๕ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม แต่งในรัชกาลที่ ๒
๖ สวัสดิรักษา แต่ง ราว พ.ศ. ๒๓๖๔ - ๗ แต่งเมื่อเป็นครูเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๒
๗ นิราศภูเขาทอง แต่งราว พ.ศ. ๒๓๗๑ เป็นนิราศยอดเยี่ยมของท่าน
สั้นที่สุด แต่จับใจที่สุด เพราะเอาชีวิตเศร้าของท่านมาเสนอต่อโลก
๘ นิราศเมืองสุพรรณ แต่งในขณะบวช ในรัชกาลที่ ๓ แต่งราว พ.ศ. ๒๓๘๔
แต่งเป็นโคลง เรื่องเดียวของสุนทรภู่
๙ พระไชยสุริยา น่าจะแต่งคราวเป็นครุเจ้าฟ้า แต่งเป็นกาพย์
๑๐ นิราศวัดเจ้าฟ้า แต่ง พ.ศ. ๒๓๗๙ เป็นนิราศใช้สำนวนหนุพัดแทนตนเอง
๑๑ นิราศอิเหนา แต่งตอนพึ่งพระคุณพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ
ในรัชกาลที่ ๓ ราว พ.ศ. ๒๓๘๕ เป็นนิราศเรื่องเดียวที่สุนทรภู่มิได้พูดถึงตนเอง
เป็นนิราศของอิเหนา
จากบุษบา
๑๒ สุภาษิตสอนหญิง แต่งราว พ.ศ.เป็นภาษิตหญิงไทยควรคำนึง
๑๓ ลักษณวงศ์ เป็นเรื่องประโลมโลก สุนทภู่แต่งเพียง ๙ เล่มสมุดไทย
มีคนแต่งต่ออีก ๓๐ เล่ม
๑๔ สิงหไตรภพ เป็นเรื่องประโลมโลกอีกเรื่องหนึ่ง สุนทรภู่แต่งเพียง ๙
เล่มสมุดไทย แต่งยังไม่จบ
๑๕ นิราศพระปธม(พระปฐม) แต่ง พ.ศ. ๒๓๘๕
๑๖ นิราศเมืองเพชร เป็นนิราศเรื่องสุดท้ายของสุนทรภู่ ดีเยี่ยมเช่นนิราศ
ภูเขาทอง แต่งปลายรัชกาลที่ ๓ รพหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๘ - ๒๓๙๒
๑๗ บทละครเรื่อง อภัยนุราช แต่งในรัชกาลที่ ๔
๑๘ เสภาพระราชพงศาวดาร แต่งในรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้แต่งถวาย
ขนาด ๒ เล่มสมุดไทย
๑๙ รำพันพิลาป แต่งราว พ.ศ. ๒๓๖๗
๒๐ สุภาษิตสอนเด็ก
๒๑ เพลงยาวถวายโอวาท แต่งราว พ.ศ. ๒๓๗๓
***สุนทรภู่ได้รับการยกย่องให้เป็นกวีเอกของโลก จากองค์การสหประชาชาติ***
ปติตันขุนทด เรียบเรียง
************************
กรมวิชาการ กองตำรา แบบเรียนวรรณคดีไทย ม . ๔ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ โรงพิมพ์คุรสภาลาดพร้าว ๒๕๑๕
เจือ สตเวทิน สุนทรภู่ คุรุสภา ๒๕๓๘