บุคคลมีหน้าที่ช่วยกันกระชับพื้นที่และขอคืนพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ตามมาตรา 70

ลักษมณ์

551000008133902%20copy.gifa93ec39fc4f346def084f2e34faeaaf7.jpg551000007940101sc0.jpgRTA-thaicambodia1.jpg				
comments powered by Disqus
  • ลักษมณ์

    2 สิงหาคม 2553 23:56 น. - comment id 31942

    เขาพระวิหาร 2553
    http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000104829
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2553 19:53 น. 
    
    http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000106743
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 สิงหาคม 2553 22:21 น.
    
    16.gif
  • กระต่ายใต้เงาจันทร์

    2 สิงหาคม 2553 11:06 น. - comment id 31953

    19.gif11.gif11.gif36.gif36.gif
  • เฌอมาลย์

    2 สิงหาคม 2553 16:33 น. - comment id 31958

    11.gif36.gif
  • pad

    3 สิงหาคม 2553 05:09 น. - comment id 31960

    http://www.youtube.com/watch?v=lZE2ew1oL8U
    
    natsongkhla | June 24, 2008 
    
    ค่ำวันที่ 4 กรกฎาคม 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหาร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา ได้ประมาณ 20 วัน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีของไทย ในขณะนั้น ได้กล่าวปราศรัยผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย แสดงความรู้สึกต่อการสูญเสียปราสาทพระวิหาร และยืนยันสิทธิ์ที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารในอนาคต ดังนี้
    
    16.gif
  • pad

    3 สิงหาคม 2553 05:31 น. - comment id 31961

    http://www.youtube.com/watch?v=EUFAixXnRyg
    เพลงเขาพระวิหาร - Counter Unesco of Thailand(MV) - 16pad.com edition TheFzo 
    
    
    http://www.youtube.com/watch?v=Vp9wF5YVQBw
    เขาพระวิหาร สุรพล สมบัติเจริญ tokonthemoo
  • pad

    13 สิงหาคม 2553 00:24 น. - comment id 32045

    Rattawoot Pratoomraj: ข้อเสนอต่อรัฐบาล อ้างอิงความเห็น Kamnoon Sidhisamarn
    
    ข้อเสนอต่อรัฐบาล อ้างอิงความเห็น Kamnoon SidhisamarnShare
    Yesterday at 1:07pm
    via Kamnoon Sidhisamarn สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำคือ
    (1) ขออนุมัติรัฐสภาเลิกMoU43 ทันที
    (2) ขอคืนพื้นที่
    (3) ชวนกัมพูชามาทำMoUใหม่โดยยึดยึดหลักอนุสัญญา 1904 และสนธิสัญญา 1907 คือสันปันน้ำเท่านั้น แล้วเดินสำรวจและใช้เทคโนโลยียุคใหม่ที่ตกลงกัน ณ พื้นที่จริงเพื่อจัดทำหลักเขตแดน
    
    อ้างอิง
    ประเด็น(1)
    - เหตุผล(๑)
    จากข้อความใน MOU ปี พ.ศ. 2543 
    "...จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้...
    
    ...(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 กับสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 กับสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส..."
    
    ดังนั้น MoU43 จึงเปิดโอกาสให้กัมพูชา อ้างได้ว่ามีพื้นที่ทับซ้อน ทั้งที่ประเทศไทยได้ยืนยันยึดหลักสันปันน้ำในการกำหนดเขตแดน (ตามตัวบทสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ มาโดยตลอด)
    
    - เหตุผล(๒)
    การปล่อยให้กัมพูชานำเสนอหลักฐาน เท็จ(แผนที่ ระวางดงรัก Annex I มาตราส่วน 1:200000) ซึ่งผิดจากความจริง จะทำให้แผนที่ดังกล่าว มีความชอบธรรม ที่กัมพูชาจะนำไปใช้อ้างอิงการกำหนดเขตแดนทางทะเลต่อไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมชาติมหาอำนาจ จึงสนับสนุนกัมพูชา บนเวที UNESCO ซึ่งแท้จริงต้องการผลประโยชน์จากแหล่งพลังงานที่กัมพูชาเอื้อให้ 
    
    - เหตุผล(๓)
    หากตัดคำพิพากษาของศาลโลกที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อปี 2505 ปมขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา ก็น่าจะมีร่องรอยตั้งแต่สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ที่ได้ไปลงนามตกลงกับกัมพูชาเรื่องปัญหาเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2543 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ปี 2543 โดยเป็นการยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่ฝ่ายเดียว 
    
    ประเด็น(2)
    - เหตุผล(๑)
    ...ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือถึงกัมพูชาจะเสนอแค่ตัวปราสาท แต่ สภาพความเป็นจริง กัมพูชายังไม่ถอนทหาร หรือนำคนที่บุกรุกออกจากพื้นที่ฝั่งไทยประมาณ 800 คนที่มาตั้งชุมชนตั้งแต่ปี 2546 และทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ จะมีการจัดการอย่างไรกับการรุกล้ำของคนกลุ่มนี้ในฝั่งไทย
    กรุงเทพธุรกิจ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๑ http://www.bangkokbi...znews.com/2008/06/20/news_268881.php
    
    ในทางพฤตินัย ทหารกับคนเขมร มาตั้งรกรากอยู่ในดินแดน(ที่ไทยอ้างสิทธิ์ และอยู่มาตลอด จนเมื่อ 7-8ปีที่แล้ว คนไทยถูกไล่ออกจากพื้นที่ตัวเอง) ดังนั้นต้องถือว่าเขมรรุกรานดินแดนไทย บนพื้นฐาน MoU43 ที่ไปรับรองแผนที่ ๑ ต่อ๒แสน (พูดง่ายๆ ถ้าไม่มีการรับรองแผนที่ ๑ ต่อ ๒แสน โดย MoU43แล้ว เขมรก็ไม่รู้จะอ้างอะไร ในการอยู่ๆก็บุกเข้ามาตั้งรกราก)
    
    - เหตุผล(๒)
    จากหลักฐานในอดีต จะเห็นได้ว่าเขมรได้เคยพยายามรุกเข้าดินแดนไทย ตามหลักฐานในปี ๒๕๔๓ (ปีที่ไทยทำ MoU2543 กับเขมร) แต่ถูกไทยยิงฮ.ตก ตามหลักฐานอ้างอิงรูปซากเฮลิคอปเตอร์ของเขมร ที่โดนทหารไทยยิงตก เพราะรุกล้ำน่านฟ้าไทยในบริเวณใกล้ตัวปราสาทพระ วิหารจุดตกอยู่ตรงบริเวณรั้วลวด หนาม ก่อนถึงเป้ยตาดี (ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2543)►ปัจจุบันบริเวณนี้ มีกองกำลังเขมร ยึดครองอยู่ ทหารไทยไปไม่ได้อีกแล้ว ทั้งที่เป็นเขตไทย http://bit.ly/buRhGC
    
    - เหตุผล(๓)
    แผนที่ แสดงการจัดการมรดกโลกร่วมระหว่าง ไทย-กัมพูชา จัดทำเอกสารโดยกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าไทยต้องเสียดินแดน 4.6 ตร.กม. อยู่ดีและจากเริ่มมากกว่านั้นไปอีกในไม่ช้า เพราะ จะมี 7ชาติมาร่วมบริหารการจัดการแผ่นดินไทย 
    
    ประเด็น(3)
    - เหตุผล(๑)
    ตามสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ 1907 กำหนดให้แนวเส้นเขตแดนไปตามสันปันน้ำของทิวเขาพนมดงรักฝั่งบนเป็นฝั่งไทย ฝั่งล่างเป็นฝั่งกัมพูชา ซึ่งเป็นหน้าผาสูงชัน ปราสาทเขาพระวิหารอยู่บนเนิน ส่วนทางขึ้นปราสาทนั้นอยู่ทางฝั่งไทย โดยจะกันตัวปราสาทเขาพระวิหารไว้ในฝั่งไทย แต่แผนที่มาตรา 1:200,000 ของพันตรีแบร์นาร์ กลับลากเส้นเขตแดนไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญาดังกล่าว ดังนั้น การที่ไทยและกัมพูชามีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารขึ้น จึงมีสาเหตุจากการที่เส้นเขตแดนในแผนที่ไม่ตรงกับที่เขียนไว้ในสนธิสัญญา 
    
    - เหตุผล(๒)
    แผนที่ ระวางดงรัก ๑ ต่อ ๒แสน (ที่ฝรั่งเศสทำเมื่อ ๑๐๓ ปีที่แล้ว ซึ่งไม่ถูกต้องตามภูมิประเทศจริง) และศาลโลก ไม่รับรองเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๐๕ แต่เป็นหลักฐานที่เขมรใช้ในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งเท่ากับการแสดงหลักฐานเท็จ เพราะอ้างว่าศาลโลกรับรอง 
    
    แผ่น ระวางดงรัก มาตราส่วน 1: 200,000 ฉบับนี้ น่าจะเป็นฉบับที่ 2 ซึ่งเพิ่งพิมพ์ขึ้นใหม่ที่กรุงปารีส ในระหว่างฤดูร้อน ค.ศ. 1908 โดยฝรั่งเศสจัดทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อแสดงเส้นเขตแดนที่เกิดขึ้นใหม่ (หลังการแลกดินแดน) ตามพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 คือ ช่วงจากหลักเขตแดนที่ 1 ที่ช่อง...สะ งำ ซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อ จ.ศรีสะเกษ กับ จ.สุรินทร์ ลงไปทาง จ.บุรีรัมย์ จ.สระแก้ว จ.จันทบุรี สิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ซึ่งเป็นหลักเขตแดนที่ 73
    
    แต่แผนที่ฉบับนี้ไม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการ ผสมสยาม-ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เพราะคณะกรรมการผสมชุดดังกล่าว ได้ถูกยุบเลิกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1907 ก่อนจะมีการจัดทำแผนที่ฉบับนี้นานถึง 1 ปี
    อ้างอิง:
    http://wms.cfcambodge.org/mambo/images/stories/CartePreahvihear.jpg
    http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/CartePreahvihear.jpg
    
    อ่านเพิ่มเติม
    
    - เหตุผล(๓)
    ประเทศไทยควร คัดค้านไม่ใช้แผนที่โบราณ ไม่ถูกต้องนี้ และนำเสนอเทคโนโลยีปัจจุบันในการสำรวจ ปักปันและกำหนดเขตแดน เช่น
    
    แผนที่ทหาร มาตราส่วน ๑ ต่อ ๕หมื่น(ได้รับการช่วยเหลือเทคโนโลยีจากอเมริกา) ซึ่งถูกต้องตรงความเป็นจริง ใช้ในหน่วยราชการต่างๆของไทย
    
    
    ภาพถ่ายดาวเทียม เช่น Google Earth 
    
    เทคโนโลยีระบุตำแหน่งแบบ GPS(Global Positioning System) ซึ่งได้รับการยอมรับและใช้งานกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
    
    
    http://www.facebook.com/profile.php?id=100000979050044#!/note.php?note_id=134522206589130&id=1464618327&ref=mf
ชื่อเรื่องสั้น-นิยาย

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน