ปัจจุบัน 4 ใน 7 ชาติที่จะเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลก ต่างมีผลประโยชน์ทับซ้อนและเกี่ยวข้องกับพลังงานในอ่าวไทยกันทั้งสิ้น อเมริกามี เชฟรอน, ฝรั่งเศสมี โททาล, ญี่ปุ่นมี มิตซุย และจีนมี ซีนุก จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคณะกรรมการมรดกโลกจึงยอมรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบทั้งๆที่ยังมีข้อขัดแย้งทางดินแดน และยังไปยอมรับแผนที่ตามมาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสอีกด้วย ซึ่งถ้าไทยยังนิ่งเฉยอาจลามไปถึงทางทะเลแบบกัมพูชาต่ออีก http://www.facebook.com/photo.php?pid=157345&id=100000885800320&fbid=134022663303926#!/photo.php?pid=157345&id=100000885800320&fbid=134022663303926 ด้วยพระปรีชาสามารถของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 "เกาะกูด" ในปี 1907 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ได้แลกกับ พระตะบอง เสียรมราฐ ศรีโสภณ ได้กลายเป็นขวากหนามของกัมพูชาในปี 2515 ที่ลากเส้นเขตไหล่ทวีปทางทะเล (เส้นสีแดง) ขาดหลักกฎหมายรองรับเพราะติด "เกาะกูด" ทำให้ในปี 2516 ไทยได้ใช้มาตรฐานสากลแบ่งครึ่งมุมและแบ่งพื้นที่เท่ากันระหว่าง "เกาะกูด" กับ "เกาะกง" แต่ปี 2544 ไทยกลับลงนาม MOU 2544 ยอมรับเส้นของเขมรว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อนของไทย-กัมพูชา และรัฐบาลชุดนี้ที่เดิมขู่ว่าจะยกเลิก MOU 2544 สุดท้ายก็นิ่งเฉยอีก ปัญหามีอยู่ว่าเส้นทางบกที่ลากมั่วๆและไทยยอมรับเขมรได้ ก็มีสิทธิ์ที่จะลามถึงทะเลได้เช่นกัน http://www.facebook.com/photo.php?pid=157345&id=100000885800320&fbid=134022663303926#!/photo.php?pid=157356&id=100000885800320&fbid=134026926636833 .............................................................................................................. Parnthep's Notes "ข้อพิพาทไทย-กัมพูชา เมื่ออภิสิทธิ์ กับ ภาคประชาชนอยู่ตรงกันข้ามกัน !!!? Jul 28, 2010 โศกนาฏกรรมมรดกโลก บทเรียนราคาแพงเกินไปสำหรับคนไทยทั้งชาติ!!!? โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ Jul 27, 2010 เบื้องหลังพระพุทธเจ้าหลวง ทรงแลกแผ่นดินกับ เกาะกูด โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ Jul 20, 2010 เสียมาร์ค...อย่าเสียดินแดน !!! โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ Jul 12, 2010 25 กรกฎาคม 53 วันฉลองเส้นเขตแดนกัมพูชา กับการสูญเสียดินแดนไทย !! โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ Jul 7, 2010 ถอดรหัสเบื้องหลังหมุด GPS ล้ำดินแดนไทย 12.5 กิโลเมตร !!! โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ Jul 5, 2010 แมวของสนธิชื่อ Happy แต่ แมวที่มอนเตเนโกร Unhappy โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ Jul 1, 2010 6 วัน 63 ล้านความคิด ติดสร้างภาพ !? โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ Jun 29, 2010 ซาบซึ้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ กรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วง !!!? โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ Jun 22, 2010 ตาม พล.ต.จำลอง ศรีเมือง คุยกับชาวญี่ปุ่น !!? โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ Jun 19, 2010 See Older Notes Notes about Parnthep ข้อเท็จจริง: ผลการประชุมกับนายกฯโดย Parnthep Pourpongpun by Annie Handicraft รักพ่อหลวง (notes) Written 11 hours ago แถลงการณ์พันธมิตรฯ ฉบับที่ 9/2553 : คำเตือนสุดท้ายก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 by astvpolitics (notes) Written last Thursday ขอโทษประเทศไทย by Sornsawas Monsuwan (notes) Written about a week ago Subscribe to these Notes Parnthep Pourpongpan's Notes Subscription Help » http://www.facebook.com/photo.php?pid=157345&id=100000885800320&fbid=134022663303926#!/profile.php?id=100000885800320&v=app_2347471856
29 กรกฎาคม 2553 01:45 น. - comment id 31921
เบื้องหลังพระพุทธเจ้าหลวง ทรงแลกแผ่นดินกับ เกาะกูด โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์Share Tuesday, July 20, 2010 at 4:19pm เพียงแค่ เกาะกูด เพียงเกาะเดียว ได้เป็นขวากหนามอันสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้กัมพูชาหมดความชอบธรรมในการลากเส้นเขตไหล่ทวีปทางทะเลของตัวเองเมื่อปี พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นคร่อมเกาะกูด โดยไม่ทำตามกฎหมายระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล ทั้งในเรื่องการละเมิดอธิปไตยอาณาเขตทางทะเลรอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเล และไม่ยึดหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีปซึ่งวัดระยะทางเส้นจากฐานของดินแดนของ 2 ประเทศให้เท่าๆกัน เกาะกูด เพียงเกาะเดียว ได้ทำให้ประเทศไทยมีความชอบธรรมที่จะลากเส้นเขตไหล่ทวีปของตัวเองเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยการลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 โดยใช้วิธี แบ่งครึ่งมุมระหว่าง เกาะกูด ของไทย กับ เกาะกง ของกัมพูชา แล้วลากเส้นตรงออกมาในทะเลวัดระยะจากแผ่นดินทั้งสองประเทศเท่าๆ หรือที่เรียกว่า เส้นมัธยะ (Equidistance line) ตามหลักมาตรฐานสากล ในทางตรงกันข้ามหากช่วงการล่าอาณานิคมจบลงด้วย เกาะกูด เป็นของกัมพูชาซึ่งตกอยู่เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส การขีดเส้นไหล่ทวีปจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล และความมั่งคั่งที่มาจากทรัพยากรใต้อ่าวไทยจะตกเป็นของกัมพูชาเกือบทั้งหมด !!! 23 มีนาคม ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) คือวันที่ เมืองด่านซ้าย เมืองตราด และบรรดาเกาะที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด ได้กลับมาเป็นของไทย โดยแลกกับ เมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 การแลกแผ่นดินครั้งนั้น พระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ ที่ยกให้ฝรั่งเศสมีเนื้อที่ถึง 51,000 ตารางกิโลเมตร (32 ล้านไร่) ในขณะเมืองด่านซ้าย เมืองตราดและเกาะทั้งหลายซึ่งติดทะเลในอ่าวไทยนั้น สยามขอแลกกลับมามีพื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร (2.5 ล้านไร่)เท่านั้น การแลกแผ่นดินทางบกมีขนาดต่างกันถึง 13 เท่าตัว แต่ผืนน้ำคือทางออกทะเลเกือบทั้งหมดของอ่าวไทย!!! ถือเป็นการตัดสินใจแลกเปลี่ยนที่ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นครวัด นั้นปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอยู่ในเมือง เสียมราฐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งที่ได้ทราบว่าจะมีการขอแลกกับเสียมราฐ ซึ่งมีนครวัดอยู่นั้น ได้ทรงมีความเห็นว่า ความคิดอันนี้น่าจะมีจริงฤา จะว่าฉันเตรียมพร้อมเพื่อจะเชื่อว่าฝรั่งเศสจะทำอะไรก็ทำได้ตาม แต่ยังเห็นว่าทูตเอง (นายริโฟลต์) จะเป็นผู้ที่อยากหาความชอบในเรื่องนี้ ด้วยการแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นแง่เงื่อนอยู่ที่ด้านซ้าย จะเอาด่านซ้ายมาแลก เช่น ข้าหลวงปักปันเขตแดนได้เงื้อขึ้นแล้ว แต่ที่จะเอานครวัดแลกดูมากมายเหลือเกินอยู่สักหน่อย จะว่าพ้นวิสัยฝรั่งเศสจะพูดนั้นไม่ได้ ในการปักปันเขตแดนที่สุดนี้ฉันระแวงอยู่ในใจแล้วว่า น่าจะมีเหตุอะไรสักอย่างหนึ่ง กว่าจะได้จังหวัดตราดซึ่งพื้นที่ชายฝั่งติดทะเล และเกาะที่อยู่ใต้แหลมสิงห์จนไปถึงเกาะกูดต้องยอมแลกแผ่นดินทางบกจำนวนมหาศาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิรูปกฎหมายของสยาม จ้างชาวฝรั่งเศสรับราชการ จ้างชาวอเมริกันมาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และยังต้องเสด็จประพาสยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีในการักษาอธิปไตยของสยามอีกด้วย จึงถือเป็นปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้การเจรจาเป็นไปได้อย่ามีประสิทธิภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงวางแผนการแลกแผ่นดินเป็นลำดับขั้น ขั้นแรกคือ นำเมืองตราดมาแลกกับการให้ทหารฝรั่งเศสถอนตัวออกจากจันทบุรี คืนกลับมาสำเร็จเพื่อที่จะไม่ต้องมีการปะทะกันทั้งสองฝ่าย หลังจากก่อนหน้านี้ที่ทหารฝรั่งเศสไม่ยอมถอนทหารออกจากจันทบุรี ทั้งๆที่สยามได้ตกลงที่จะบกหลวงพระบางฝั่งขวา มโนไพร และจำปาศักดิ์ให้กับฝรั่งเศสแล้ว ทั้งนี้เพราะฝรั่งเศสลงทุนในจันทบุรีมา 10 ปี ใช้เงินไป 2 ล้านฟรังค์ ต่อมาชาวฝรั่งเศสกลับพบในภายหลังว่าเมืองตราดที่แลกได้มาไม่ใช่ทางออกโดยธรรมชาติสำหรับเขมร และชาวตราดก็เป็นคนไทยมากกว่าคนเขมร แม้ว่าจะพยายามบังคับให้ชาวตราดใช้ภาษา กฎหมาย และประเพณีเขมร ก็ไม่สามารถยัดเยียดให้ได้ มีปัญหาอย่างมากเรื่องภาษายากแก่การปกครองได้จึงยอมแลกตราดและหมู่เกาะทั้งหลายคืนให้สยามในเวลาต่อมาเป็นการแลกดินแดนขั้นที่สอง นายสโตรเบล ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของสยาม ในฐานะผู้ที่ไปเจรจาจนเป็นผลสำเร็จโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงนั้น ได้ทำให้ฝรั่งเศสชื่นชมมากถึงกับมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง grand commander ซึ่งน้อยคนที่จะมีโอกาสได้รับ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปถมมาภรณ์ช้างเผือกให้แก่นายสโตเบล เป็นการตอบแทนเช่นกัน ที่ทั้งสองประเทศพอใจในผลการเจรจาเช่นนี้ ก็น่าจะเป็นเพราะฝรั่งเศสได้ดินแดนอันมหาศาลของสยามเพิ่มจำนวนมหาศาล ส่วนสยามแม้จำใจต้องแลกดินแดนจำนวนมหาศาล แต่ก็ได้ดินแดนติดชายฝั่งทะเลและเกาะทั้งหลายกลับคืนมา เป็นทั้งทางออกในเชิงยุทธศาสตร์ทางความมั่นคงและเขตการค้าขายทางทะเล โดยในสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) ได้ระบุความตอนหนึ่งในกรณีนี้ว่า: ข้อ 2 รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่กรุงสยาม ในช่วงเวลานั้นฝรั่งเศสกลับเห็นคุณค่าเรื่องชายฝั่งและเกาะซึ่งเป็นทางออกทางทะเลน้อยกว่าสยาม แต่ฝรั่งเศสได้ขอสงวนสิทธิให้สยามต้องรับรองกับฝรั่งเศสว่า เกาะที่ไทยได้คืนมานี้สยามจะให้หรือให้เช่าแก่รัฐบาลใดๆไม่ได้ และจะยอมให้รัฐบาลใด หรือบริษัทใดนอกจากรัฐบาลฝรั่งเศสตั้งที่เก็บถ่านหินไม่ได้ ฝรั่งเศสมองเห็นประโยชน์บนเกาะต่างๆแค่ ถ่านหิน ซึ่งปรากฏพบต่อมาในภายหลังว่า อ่าวไทย มีความมั่งคั่งมากกว่าแค่ถ่านหินบนเกาะอย่างมโหฬาร นั่นก็คือ น้ำมันและ แหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่อาจจะไม่ต่ำกว่า หลายสิบล้านล้านบาท อยู่ใต้ผิวทะเลของอ่าวไทย ให้คนรุ่นหลังได้พิทักษ์รักษาความมั่งคั่งนี้ให้ตกอยู่กับคนไทย พ.ศ. 2510 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เริ่มเปิดให้เอกชนเข้ามาผลิตและสำรวจในเขตอ่าวไทย มีบริษัทต่างชาติ 6 รายได้รับสิทธิ์ ถือเป็นสัญญาณที่กัมพูชาและชาวโลกเริ่มรับรู้แล้วว่า มีแหล่งพลังงานอ่าวไทย พ.ศ. 2515 กัมพูชาได้ลากเส้นอาณาเขตทางทะเลและไหล่ทวีปตามอำเภอใจแบบมั่วๆ โดยตีความอ้างอิงจากสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) โดยที่ไม่ยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศเหมือนกับการลากเส้นแผนที่ทางบกมาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียว โดยการลากเส้นเขตไหล่ทวีปและเส้นทะเลอาณาเขตอ้อมเกาะกูดซึ่งเป็นของไทย คลายรูปตัว U ซึ่งเป็นการลากเส้นที่ละเมิดอธิปไตยและอาณาเขตทางทะเลรอบเกาะกูดที่ต้องมีอย่างน้อย 12 ไมล์ทะเลของไทย การลากเส้นแบบนี้ฝ่ายกัมพูชาได้อ้างสัญญาต่อท้ายของสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) มาจาก: ข้อ 1 เขตรแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลที่ตรงข้ามจากยอดสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแล แท้ที่จริงข้อสัญญาต่อท้ายดังกล่าวต้องการบอกตำแหน่งเขตแดนทางบกโดย ให้มองจุดสูงสุดของเกาะกูดซึ่งเป็นของไทยเห็นชายฝั่งตรงกันข้ามที่ใดให้กำหนดเป็นหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งปัจจุบันก็คือหลักเขตที่ 73 แต่กัมพูชากลับฉกฉวยโอกาสตีความเอาเองว่าวิธีการดังกล่าวย่อมหมายถึงกำหนดให้กัมพูชาลากเส้นทางทะเลวิ่งชนขอบเกาะกูดไปด้วย ซึ่งขัดกับมาตรฐานสากล พ.ศ. 2516 ฝ่ายไทยไม่ยอมรับการขีดเส้นของกัมพูชาจึงได้ลากเส้นอาณาเขตทางทะเลตามมาตรฐานสากล โดยใช้การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตามหลักการแบ่งครึ่งมุม และแบ่งด้วยระยะทางที่เท่ากันระหว่างดินแดนทางบกของไทย-กัมพูชา การลากเส้นของไทยเมื่อปี พ.ศ. 2516 จึงเท่ากับไทยปฏิเสธการลากเส้นแบบมั่วๆของกัมพูชามาเป็นเวลาถึง 28 ปี !!! 18 มิถุนายน 2544 สมัยรัฐบาลทักษิณ ประเทศไทยได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ 2544 หรือที่เรียกว่า MOU 2544 ด้วยการยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากขึ้นใน พ.ศ.2515 เป็นครั้งแรก และเรียกพื้นที่ที่เกิดขึ้นจากการประกาศเส้นขอบเขตไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศว่า พื้นที่ทับซ้อน ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 24,600 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 15 ล้านไร่ ซึ่งมีพลังงานใต้ท้องทะเลอ่าวไทยจำนวนมหาศาล MOU 2544 ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือตั้งแต่ละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไปเป็นพื้นที่ที่กำหนดให้มีการแบ่งเขตทางทะเล และส่วนที่สองคือตั้งแต่ละติจูด 11 องศาเหนือลงมาคือพื้นที่ที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพัฒนาสรรผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองประเทศ การยอมรับเส้นทะเลอาณาเขตและไหล่ทวีปของกัมพูชานั้น ได้ทำให้เกิด พื้นที่ทับซ้อนเกินความเป็นจริงเพราะกำเนิดมาจากพื้นฐานการลากเส้นอาณาเขตทางทะเลและไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ผิดเอาเปรียบฝ่ายไทย ย่อมทำให้โอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนของนักการเมืองไทยที่ทรงอิทธิพลบางคน หรือชาติมหาอำนาจที่ต้องการเข้ามาแทรกแซงเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ทางพลังงานได้เช่นกัน หลังจากทักษิณได้ลงนามใน MOU 2544 ก็ได้ปรากฏเป็นพฤติการณ์ต่อมาว่า มีการแปรรูปขายหุ้นปตท. ให้กับคนในแวดวงเครือข่ายนักการเมือง, ปฏิรูประบบราชการแยกกระทรวงไอซีทีและกระทรวงพลังงานออกมาควบคุมโดยคนใกล้ชิดทักษิณ, เดินหน้าพยายามแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต, ใช้ปตท.และกระทรวงการคลังเข้าซื้อหุ้นยึดกิจการ ทีพีไอ, มีเจรจาพื้นที่ปราสาทพระวิหารกับดินแดนทางบกเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ทางทะเล ควบคู่ไปกับข่าวที่นักโทษชายทักษิณได้เตรียมลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลในเกาะกงของฝั่งกัมพูชา ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติการณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางพลังงานทั้งสิ้น แม้ในรัฐบาลชุดนี้ก็เคยประกาศขู่ว่าจะยกเลิก MOU 2544 แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่กล้านำเข้าสภาเพื่อยกเลิกอีก ในขณะเดียวกันรัฐบาลชุดปัจจุบันก็ไม่สามารถเดินหน้าเจรจาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติให้สำเร็จได้ด้วยเช่นกัน ย่อมเท่ากับนำมรดกแห่งความคลุมเครือครั้งนี้ให้ตกอยู่ในมือรัฐบาลชุดต่อไปอย่างน่าเสียดาย 103 ปีที่แล้วพระพุทธเจ้าหลวงยอมแลกแผ่นดินจำนวนมากเพื่อรักษาอธิปไตยและน่านน้ำทางทะเล แต่น่าเสียดายตรงที่ว่านักการเมืองในยุคหลังยอมแลกแผ่นดินทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน !!! ภาพที่ 1 การเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 (เส้นสีแดง) ที่คร่อมเกาะกูดอย่างผิดกฎหมายละเมิดอธิปไตยของไทย ในขณะที่ของไทยลากเส้นทางทะเลปี 2516 (เส้นสีน้ำเงิน) แบ่งครึ่งมุมระหว่าง เกาะกูด กับ เกาะกง และลากเส้นมัธยะ (Equidistance) วัดระยะทางเท่ากันระหว่างดินแดนของไทยและกัมพูชาตามมาตรฐานสากล http://www.facebook.com/photo.php?pid=157345&id=100000885800320&fbid=134022663303926#!/note.php?note_id=127540130622095
29 กรกฎาคม 2553 02:21 น. - comment id 31922
ชมประวัติการเสียดินแดนของไทยตั้งแต่ครั้งที่ 1-14 เพื่อเตือนความเป็นคนไทยที่จะไม่ให้เสียครั้งที่ 15 ให้ใครอีก http://www.facebook.com/profile.php?id=100000979050044#!/video/video.php?v=127206800658129&ref=mf
31 กรกฎาคม 2553 02:11 น. - comment id 31923
คนขวานคม | โฟล์คเหน่อ folknerner folknerner | July 29, 2010 http://www.youtube.com/watch?v=6hDecphKI0g
31 กรกฎาคม 2553 02:16 น. - comment id 31925
2 สิงหาคม 2553 23:54 น. - comment id 31945
เขาพระวิหาร 2553 http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000104829 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2553 19:53 น. http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000106743 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 สิงหาคม 2553 22:21 น.