กาพย์ราชิกา ๗ หรือ กาพย์ราชิกา คือ กาพย์ ชนิดหนึ่ง ที่ผม พัฒนาขึ้น มีคำ ๗ คำในหนึ่งบาท จึงเรียกว่า กาพย์ราชิกา ๗ พัฒนามา จากบทขับ ชมนาง ของบทขับหนังตะลุง ในภาคใต้ ที่ใช้ในการชมนาง เพียงอย่างเดียว มาเป็น การใช้เขียนเล่าเรื่อง ในโอกาส ต่างๆ ที่แล้วๆมา ผมและบางท่าน นำไปประพันธ์ ร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ และโคลง จน กระทั่ง ประพันธ์ ร่วมกับกลอนแปด ก็เคย ครับ กาพย์ราชิกา เนื่องจากคำในแต่ละวรรค จะสั้น จึงแต่งได้ง่าย กาพย์ราชิกา มีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของ ฉันทลักษณ์ ดังนี้คือ ๑ คณะ ๒ สัมผัส ๓ ลักษณะอื่นๆ ๔ การอ่านกาพย์ราชิกา ๕ ตัวอย่างบทร้อยกรอง ๑. คณะ ใน ๑ บท มี ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค รวมเป็น ๔ วรรค ใน ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๓ คำ วรรคหลังมี ๔ คำ รวม เป็น ๗ คำ ได้ชื่อว่ากาพย์ราชิกา ๗ เพราะ จำนวน คำใน ๒ วรรค หรือ ๑ บรรทัดรวมได้ ๗ คำ ๒. สัมผัส สัมผัสระหว่างวรรค มีสัมผัส ๓ คู่ คือ คู่แรก คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับ คำที่สองของวรรคหลัง แทน ด้วย อักษร ก. (ดังในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง) คู่ที่ สอง คำสุดท้ายของวรรคที่สอง สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรค ที่สาม แทนด้วยอักษร ข.(ดังในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง) คู่ที่ สาม คำสุดท้ายของวรรคที่สาม สัมผัสกับ คำที่สองของวรรค สุดท้าย แทนด้วยอักษร ข. (ดังในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง) สัมผัสระหว่างบท มี ๑ คู่ คือ คำสุดท้ายของแต่ละบท สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สองของ บทที่ตามมา แทนด้วยอักษร ง. (ดังในแผนภาพโครงสร้าง ด้านล่าง) (คำสัมผัส ในที่นี้คือสัมผัสสระ ) แผนภาพโครงสร้าง ของกาพย์ราชิกา ๗ ๐ ๐ ก ๐ ก ๐ ข ๐ ๐ ข ๐ ข ๐ ง ๐ ๐ ค ๐ ค ๐ ง ๐ ๐ ง ๐ ง ๐ ๐ ตัวอย่างสัมผัสภายในบท ๐ ขวัญเอย(ขวัญ) รำ(พัน)หมอง((หมาง)) อยากปลอบ((นาง)) พี่((ร้าง))เพียงคราว ตัวอย่างสัมผัสระหว่างบท พยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของ บทถัดไป ๐ ขวัญเอยขวัญ รำพันหมองหมาง อยากปลอบนาง พี่ร้างเพียง(คราว) ๐ รอคืนกลับ มารับขวัญ(สาว) ส่งสร้อยดาว แพรวพราวให้((นวล)) ๐ เฝ้าฝันถึง รำพึงใจ((หวล)) คืนเชยชวน แสนป่วนดวงใจ ฯ ๓.ลักษณะอื่นๆ กาพย์ราชิกา ๗ อาจมีความยาวร้อยต่อกันกี่บทก็ได้ ไม่จำกัด ๔.การอ่านกาพย์ราชิกา ๗ การอ่านทำนองเสนาะสำหรับกาพย์ราชิกา อาจอ่านได้หลายแบบ เช่น อ่านเป็นจังหวะ ๓ / ๒ ,๒ หรือ ๑ ,๒ / ๒,๒ ก็ได้ ๕.ตัวอย่าง บทร้อยกรอง กาพย์ราชิกา ๗ จากบท "อาวรณ์" (คนกุลา) ๐ ใจถวิล ถึงถิ่นแดนฝัน ทุกวารวัน ใฝ่ฝันนางเดียว ๐ ไกลหนักหนา เกินตาแลเหลียว เกินทางเทียว ยิ่งเปลี่ยวดวงใจ ๐ กายหนาวเหน็บ แสนเจ็บเพียงไหน แม้นยามใด หทัยร้าวราญ หรือตัวอย่าง ของกาพย์ราชิกา ๗ จากบท"คำเปรย"ของคนกุลา ๐ บางใครหนอ บอกรอเคียงขวัญ คนึงกัน ทุกวันมิวาย ๐ บางคำบอก มิหลอกลวงหมาย วสันต์ปลาย ยิ่งคล้ายไคร่เจอ ๐ รับเหมันต์ ใจฝันพร่ำเพ้อ ภักดิ์เพียงเธอ ละเมอใจปอง ๐ เพลาผ่าน ดวงมาลย์เราสอง เคยเคียงครอง พี่น้องร่วมกัน ๐ รักมิเลือน ปีเดือนเปลี่ยนผัน ท่ามวารวัน คู่ขวัญร่วมเรียง ๐ หนาวลมเอย รำเพยส่งเสียง ร่ายเจรียง กล่อมเวียงวังเนาว์ ๐ ห่วงน้องน้อย คงคอยใจเหงา ปลอบนงเยาว์ คอยเฝ้าพี่คืน..ฯ หรือตัวอย่าง ของกาพย์ราชิกา ๗ จากบท"จำจร"ของ คุณราชิกา ** จำใจจร อาวรณ์ห่วงหา คอยพี่ยา กลับมาเคียงครอง..... ** หวังเพียงรัก ประจักษ์ใจสอง สุขสมปอง เหม่อมองทุกครา.... ** จำใจจาก ส่งฝากภูผา ฝากรักพา แก้วตาดวงใจ.... ** โอ้คนดี คราพี่หลับใหล ส่งความนัย หทัยน้องเคียง.... ** ลำนำถ้อย น้องน้อยฝากเสียง รักร้อยเรียง ณ.เวียงวังเรา.... ** แสนคำนึง รำพึงคราเหงา รักแนบเนา ยอดเยาวมาลย์.... ** อยู่หนใด สองใจประสาน รักยืนนาน ร้อยกานท์เคียงครอง.....ฯ และ บท"คราไกล"ของ คุณราชิกา * ฟังคำเปรย มิเคยหม่นหมาง โอบสองปราง มิจางห่างไกล * ร่ายเรียงคำ ลำนำสดใส ฝากลมไป ส่งใจให้เธอ * เฝ้าคิดถึง รำพึงเสมอ เพียงพบเจอ ละเมอมิวาย * หวานวจี มิมีสลาย รักมิคลาย ใจกายอาวรณ์ * หลับครั้งใด หทัยทอดถอน เอื้ออาทร คราจรจำลา * รักมิเลือน ย้ำเตือนห่วงหา ขอแก้วตา สัญญาด้วยใจ * รักร่วมฝัน มิพรั่นหวั่นไหว สองหทัย ก้าวไปเคียงกัน....ฯ เช่นนี้ เป็นต้น ............. คนกุลา ในเหมันต์
23 ธันวาคม 2552 17:57 น. - comment id 26622
แวะมาอ่าน..กาพย์ราชิกา7..ค่ะ..มีความเห็นดังนี้นะคะ 1. บทขับ ชมนาง ที่นำมาพัฒนาใหม่..เป็นกาพย์ราชิกา 7 ...สามารถนำมาใช้ในการเขียนร่วมกับคำประพันธ์อื่นได้ 2. การสัมผัส...ค่อนข้างง่าย..ลงตัว...และชัดเจน 3. คณะ...มี 7 คำใน 1 บาท..ซึ่งไม่ยากในการหาคำและนำมาร้อยเรียงกัน (คล้ายกาพย์ยานี 11 ) 4. เป็นการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้ว..ให้มีรูปแบบและมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น..ชืนชมมากค่ะ... ...ขอบคุณมากค่ะ...ที่ให้เกียรติในการตั้งชื่อกาพย์นี้ว่า..กาพย์ราชิกา7.
23 ธันวาคม 2552 21:16 น. - comment id 26630
เป็นชื่อกาพย์ชนิดใหม่หรือครับ อืม เก่งจังครับ
23 ธันวาคม 2552 19:32 น. - comment id 26636
นอกจากกาพย์ที่เป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปดัง กล่าวแล้ว ผมเองสมัยเด็กๆ ช่วงที่ยังอยู่ที่ ปักษ์ใต้ เวลาได้ชมหนังตะลุง จะมีบทขับ บทหนึ่งใช้ในการชมนาง และผมเห็นว่า ประพันธ์ได้ง่าย แต่เท่าที่ศึกษาดู ในภูมิภาคอื่นๆ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก และแม้ในท้องถิ่นภาคใต้เอง ก็คงจะขับอยู่ในหมู่นายหนังตะลุง สืบทอดกัน ต่อๆไป และคงใช้เวลาขับชมนาง เป็นหลัก ผม พิจารณาดูแล้วเห็นว่าหากมีการนำมาพัฒนาให้ มีฉันทลักษณ์ ที่ชัดเจนขึ้น อาจนำไปใช้แต่งได้ ในหลายๆโอกาส จึงได้นำมาพัฒนาขึ้นเป็น กาพย์ราชิกา ๗ หากท่านผู้รู้ มีข้อติติงประการใด ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
23 ธันวาคม 2552 19:57 น. - comment id 26640
คุณ ตุ้ม ครับ ปิติ อย่างมาก นะครับ ที่ คุณ ตุ้ม มา แสดงความคิดเห็น เป็นกำลังใจไว้ให้ และ แสดงการอนุญาต ให้ใช้ชื่อ ราชิกา ในการตั้ง ชื่อ กาพย์ นี้ ผมเองโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า บทกวีของไทย เรานั้นมีเอกลักษณ์ ของตนเอง น่าที่จะมีการ อนุรักษ์ พัฒนา สืบสาน ให้ก้าวหน้า ไปอย่างต่อเนื่อง จึงพยายามส่งเสริมให้กำลังใจ ใครที่ทำอย่างที่กล่าวไปนะครับ ระวังรักษาสุขภาพ นะครับ เป็นห่วง เสมอครับ แสนคำนึง
28 ธันวาคม 2552 10:06 น. - comment id 26682
เป็นชื่อกาพย์ชนิดใหม่หรือครับ อืม เก่งจังครับ กิ่งโศก """"""""""""""" อาจ ถือได้ว่า เป็นกาพย์ชนิดใหม่ ที่พัฒนาขึ้น จาก บทขับเก่าๆของดั้งเดิม เพื่อหวังสืบสาน ไม่ให้ สูญหายไป นะครับ
28 ธันวาคม 2552 15:27 น. - comment id 26683
ไม่หวงใช่ไหมคะ ถ้าจะนำไปใช้บ้างค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
28 ธันวาคม 2552 21:15 น. - comment id 26690
ไม่หวงใช่ไหมคะ ถ้าจะนำไปใช้บ้างค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ พรรณนิล ...................... ด้วยความยินดี เป็นอย่างยิ่ง ครับ