คะน้า ช่วยแนะนำเรื่อง วรรณยุกต์ในบทกลอน เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม จีงขอเอามาเผยแพร่จ้ะ นอกจากจะระวังเรื่องสัมผัสแล้วยังต้องคำนึงถึงเสียงวรรณยุกต์ด้วยนะจ๊ะ บทกลอนถึงจะสละสลวย ขออนุญาติแนะนำเรื่องวรรณยุกต์สักนิดนะจ๊ะ วรรคที่1 ห้ามใช้เสียงสามัญ นอกนั้นใช้ได้ วรรคที่2 ห้ามใช้เสียงตรี,สามัญ นอกนั้นใช้ได้ วรรคที่3 ห้ามใช้เสียงเอก,โท,จัตวา ให้ใช้ สามัญ,ตรี วรรคที่4 ห้ามใช้เสียงเอก,โท,จัตวา ให้ใช้เสียงสามัญ,ตรี อย่าลืมนะจ๊ะ ด้วยรัก จาก : รหัสสมาชิก : 45 - คะน้า รหัส - วัน เวลา : 42931 - 26 มีนาคม 2545 - 22:53
27 มีนาคม 2545 06:48 น. - comment id 3176
ตรงนี้ ต้องทำความเข้าใจหน่อย ถ้าเราจะเขียนทำนองเสนาะ จำเป็นต้องตรึงตามนี้ เพราะ หากใช้เสียงผิด จะเอื้อนไม่ลง ส่งไม่รอด แต่ ถ้าจะเขียนกลอนตลาด หรือกลอนสด ข้อบังคับจะคลี่คลายลงกว่านี้ จะคงบังคับเฉพาะ วรรครับ (บรรทัดที่ 2) กับวรรครอง (บรรทัดที่ 3 )ห้ามใช้
27 มีนาคม 2545 06:50 น. - comment id 3177
เสียงเดียวกัน แต่ถ้าจะเขียนกลอนเสภา กลอน อาขยาน กลอนขับ กลอนลำนำ กลอนกล่อมเด็ก กลอนอาศีรวาท จำต้องตรึงตาม ข้อบังคับดังกล่าว กลอน 8 น่ะ มีให้เล่นหลายทางเลยนะ
27 มีนาคม 2545 06:52 น. - comment id 3178
วรรคทั้ง 4 จะมีชื่อเรียก ครบถ้วน คือ วรรค 1 คือ วรรค สดับ ต้องเขียนให้รู้ว่า จะเขียนอะไร วรรค 2 วรรค รับ จะขยายความว่า วรรค 1 เขียนอะไร วรรค 3 คือ วรรค รอง จะอธิบายเพิ่มเติม วรรค 4 คือ วรรค ส่ง จะส่งต่อไปให้ กลอนบทต่อไป
27 มีนาคม 2545 22:51 น. - comment id 3185
เข้ามาแล้วได้ความรู้กลับไปเต็มเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
27 มีนาคม 2545 23:26 น. - comment id 3187
(๑ ^___^ ๑)/
28 มีนาคม 2545 07:52 น. - comment id 3188
อาราย อะ หนูไม่เห็นรู้เรื่องเลย พูดอารายกานน่ะ สามัญ เอก ตรี คือ อะไร หรือ??
14 กุมภาพันธ์ 2549 18:56 น. - comment id 13356
คิว รัก ปุ๊ก
15 กุมภาพันธ์ 2550 18:04 น. - comment id 16784
อยากทราบกลอนกล่อมเด็กค่ะ