อยากทราบว่า ใครมีวิธีการอนุรักษ์บทกวีไทยให้คงอยู่ต่อไปนาน ๆบ้างคะ ขอความคิดเห็นหน่อยค่ะ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
5 กรกฎาคม 2548 11:54 น. - comment id 11231
ก็เข้าไปอ่านตามเว็บพ่อแม่กลอน ที่ยกมาวางไว้ให้ตามสมาคม ชมรม นักกลอนทั้งหลาย ช่วยกัน ทำ link บอก url address ให้ทุกคนได้ไปอ่าน และสำหรับบทกวีทั้งหลาย...หอสมุดแห่งชาติ มีให้ไปศึกษามากมายค่ะ...ขอบคุณที่ตึ้งกระทู้เพื่อการอนุรักษ์ค่ะ ขณะนี้มีสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในลพบุรี กำลังสอบทานสำนวน นิราศลพบุรีเชิงประวัติศาสตร์ ว่าเป็นนิราศเรื่องสุดท้ายท่าน สุนทรภู่ในยุคสมัยรัชกาลที่ ๔ ท่านเสด็จประพาสลพบุรี...จึงเป็นที่มาว่าสุนทรภู่น่าจะยังมีชีวิตอยู่ต่อมาอีกหลายปี...ประวัติศาสตร์น่าค้นหามาอ่านนะคะ...
5 กรกฎาคม 2548 17:28 น. - comment id 11234
ช่วยกันเขียนออกมาเยอะๆ ให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์..
5 กรกฎาคม 2548 19:29 น. - comment id 11235
แล้วควรที่จะรณรงค์ในการอนุรักษ์บทกวีไทย ดีไหมคะ
6 กรกฎาคม 2548 10:32 น. - comment id 11238
ไปรณรงค์กันไม่ได้ เพราะทุกคนไม่ใช่ควายที่จะถูกจูง เอาแค่ตัวเองเป็นหลัก หัดให้เป็นนักอ่านที่ดี หาไอ้ที่ มันอ่านง่าย แล้วเอาไปร่ายกับเพื่อนฝูงเพื่อโต้วาที เพียงเท่านี้คนก็ตามกันตรึม อย่าไปซึมซาบกลอนที่ อ่านแล้วไพเราะ แต่ใช้คำเฉพาะมากศัพย์แสง เอา ไปแสดงให้คนบ่น เพราะอับจนไม่เข้าใจ เอาไปพูดที่ ไหนคนก็คร้านจะฟังถึงกับวิ่งหนี กลอนที่ดีต้องอ่าน ได้ทุกชนชั้น แล้วเอาคำนั้นมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน อย่างนั้นหล๊ะเขาเรียกว่าอนุรักษ์ โดยไม่ต้องรณรงค์ ๚ะ๛ size> .................
6 กรกฎาคม 2548 10:54 น. - comment id 11241
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ
6 กรกฎาคม 2548 16:00 น. - comment id 11243
.. แค่คุณกับผมไม่หยุดเขียน แค่นี้ก็อนุรักษ์แล้วล่ะครับ
7 กรกฎาคม 2548 10:43 น. - comment id 11244
อ่านะ ค่ะ รับรองค่ะ ไม่หยุดเขียนแน่นอนค่ะ ^_^
8 กรกฎาคม 2548 23:21 น. - comment id 11261
เข้าใจคำว่าอนุรักษ์....ผิดไปหรือเปล่า... งานเขียนแต่ละชิ้นงานถือว่าเป็นอะไรล่ะ.....กลอนเปล่า/กาพย์ห่อโคลงหรืออื่นๆๆๆตามฉันท์ลักษณ์ที่เรียนมาหรือเปล่า หากสำนึกว่านั้นคืองานเขียนควรจะเขียนต่อไปเพื่อเก็บหรือสะสมหรือเอาไปทำไรล่ะ.... เพียงแต่อยากให้ลูกหลานทั้งหลายๆๆไม่ลืมคำไทย/ภาษาไทยแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นให้ควรคู่คงอยู่สืบตราบฟ้าและดินกลบหน้า..ก์น่าจะพอใจไหม ....ขอนิดหน่อยคงไม่มากไปน่ะท่าน.. รักคนไทยทุกๆๆคน....
11 กรกฎาคม 2548 09:34 น. - comment id 11288
อนุรักษ์คือ ทำให้ของเดิม มีต่อไป ในแบบเดิม เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไปรึเปล่าคะ ถ้าอย่างนั้น ศัพท์แสง คงต้องนำขึ้นมาใช้กันดังเดิม ป่ะคะ ยังงี้รึเปล่า
11 กรกฎาคม 2548 12:51 น. - comment id 11289
เอ่อ อันนี้ ก็นะคะ คือ แค่ขอความเห็นค่ะ ไม่ได้จะให้มาโต้เถียงกันนะคะ ^_^
11 กรกฎาคม 2548 21:37 น. - comment id 11294
แต่ไอ้ที่แน่ ๆ ที่ผมรู้คือ คุณลอยไปในสายลมตั้งกระทู้ว่า การอนุรักษ์บทกวีไทย ใครมีวิธีที่จะอนุรักษ์อย่างไรบ้าง? เด็กที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องศัพท์เท่าไรอย่างผม ก็เข้าใจตามภาษาบ้าน ๆ เข้าใจตามกระทู้ที่ตั้งล่ะครับ คือ อนุรักษ์บทกวีตามฉันทลักษณ์หรือทุกบทกวีที่เขียนเป็นภาษาไทยน่าจะเป็นบทกวีไทย นั่นล่ะที่ผมเข้าใจตามที่คุณลอยไปในสายลมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ส่วนการที่ลูกหลานจะได้ไม่ลืมคำไทยนั้น ผมคิดว่ามันเป็นผลพลอยได้เสียมากกว่า.. ผมคิดว่า.. การเริ่มต้นของบทกวีน่าจะมาจากความบังเทิง,ความเศร้า,หรืออื่นๆที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ของตัวผู้เขียนกวี เริ่มจากไม่มีรูปแบบ และก็กลายมาเป็นรูปแบบเพราะ การสืบทอด,การยอมรับ, หรืออะไรสักอย่างนั้นล่ะที่ผมไม่สามารถอธิบายได้... คือผมกำลังจะอ้างความคิดของตัวเองว่า การเขียนบทกวีมันมีมานานแล้ว.. และไอ้ที่นานแล้วที่ว่า ก็คงไม่ใช่เพื่อการอนุรักษ์คำไทย ภาษาไทย.. -- กวีมากมายหลายผู้หลายคนเลยล่ะที่ผมคิดว่า เขาเขียนกวีเพื่อสั่งสมสร้างผลงานเพื่อยกตัวเอง บางคนก็หวงความรู้เสียด้วยซ้ำ หมกมุ่นเพื่อที่จะสร้างผมงานให้ดีให้เด่นกว่าคนอื่น อย่าคิดว่าผมพูดมากไปนะครับ ลองเดินเข้าห้องสมุดสิครับ แล้วหยิบหนังสือกวีมาสักเล่ม แล้วเปิดไปที่หน้าบันทึกการหยิบยืม ต่อให้เป็นซีไรท์ก็เหอะ ปีหนึ่งคนจะอ่านให้ถึง 5 คนยังยาก เขาเขียนกวีเพื่อสังสม ไม่เคยคิดจะปลูกฝัง ลองถ้าเริ่มปลูกกันจริง ๆ เด็กเยาวชนรักการอ่านรักการเขียน หนังสือกวีผมคิดว่า มันขายได้ มันเป็นผลดีด้วยซ้ำที่คนกวีจะถ่ายทอดความรู้ไม่หวง.. เอาง่าย ๆ เลย ผมเข้ามาเวบร์นี่ตั้งแต่เริ่มเวบร์ใหม่ ๆ ไม่ได้รู้เรื่องเลยไอ้ฉันทลักษณ์มันเป็นยังไง เขียนกลอนแปดถ้าวรรคหนึ่งมันมีแปดคำเป็นใช้ได้ เอามาโพส พี่-เพื่อนในเวบร์ก็ชมไป ไอ้ผมก็หลงดีใจไปว่าผมเขียนกลอนเป็นแล้ว แต่ผมก็ดีใจที่มีเวบร์แบบนี้ขึ้นมา.. ที่ผมพูดก็แค่อยากให้มีบ้าง เด็กที่เข้ามามีเยอะแยะ เขารักที่จะเขียนหรอกเขาถึงได้เข้ามา.. หลายคนเข้ามาแล้วก็ออกไป แทนที่จะได้ซึมซับ.. กลับเป็นการเข้ามาเพื่อระบายแล้วออกไป.. โดยที่ไม่ได้อะไรเลย พี่ที่เป็นกวีและน่าที่จะเป็นครูกลอนได้ก็มีเยอะแยะ การจะชักนำให้เขามาซึมซับ.. เข้ามาอยู่ในแบบกวีไทยคงไม่เกินความสามารถหรอกถ้าจะทำ.. แต่หลายคนคงคิดว่า ไม่ใช่เรื่อง ทำทำไม? .. ผมเชื่อว่าไม่เกินความสามารถของกวีหรอกครับที่จะใช้ภาษาชี้นำให้เขาเข้ามา ผมเขียนกวีเป็นเพราะครูเวทย์ - ผมยกย่องครูเวทย์ ผมอยากให้ครูเวทย์ทำต่อไป ผมเคยอ่านคำโพสของครูเวทย์ ถ้าผมจำไม่ผิดครูเวทย์ก็ถามตัวเองว่าทำไปทำไม? ผมแค่อยากจะบอกครูเวทย์ว่า - ถึงผมจะเขียนกวีไม่เก่ง - ถึงผมจะเลิกเขียน ไม่สนใจที่จะเขียนไปแล้ว แต่อย่างน้อยล่ะ ถ้าผมเดินผ่านหนังสือกวีถ้าผมมีตังค์ผมจะซื้อ
12 กรกฎาคม 2548 00:47 น. - comment id 11295
มาเพื่อแสดงความคิดเห็น..เท่านั้นน่ะ...แต่ไม่จำเป็นต้องตรงกันหรือคิดเห็นเหมือนกันเสมอไปนี่.... คงเข้าใจน่ะ..ถ้าไม่ชอบโปรดฝากให้ลบทิ้งได้ขอรับ..ไม่ว่ากัน
12 กรกฎาคม 2548 21:29 น. - comment id 11298
มันไม่จำเป็นต้องเหมือนกันครับ ผมชอบเสียด้วยซ้ำ
13 กรกฎาคม 2548 19:19 น. - comment id 11302
ค่ะ ก้ขอบคุณทั้ง คุณดอกข้าว และก็คุณโกโรโกโส นะคะ ไม่มีทางลบหรอกค่ะ ไม่ต้องห่วง ความคิดใคร เราไม่ลบทิ้งอยู่แล้ว เราแค่แสดงความคิดเห้นกัน ยังไงก็ขอบคุณจริง ๆ นะคะ ที่ให้แนวคิดใหม่ ๆ มา ทำให้มองเห้นการมองในมุมที่ต่างกัน ^_^
15 กรกฎาคม 2548 14:45 น. - comment id 11314
เอาคำพูดเพราะเพราะมัดดัดร้อย ล้อรับคอยส่งรักอักษรสาร มัดไข่น้อยจินต์ดื่มชื่นชำนาญ เมื่อรู้ทางติชมสมหยดงาน พี่ก็นำน้องตามทางก้าวสร้าง กอดคอพลางชมกลอนสอนรักษ์เสริม ชวนเด็กรักษ์ร่วมไขใจเพลิดเพลิน ตัวอย่างเดินแบบตามงามนานกลอน.
30 พฤศจิกายน 2550 09:55 น. - comment id 19696
งงงงงงง
30 พฤศจิกายน 2550 10:15 น. - comment id 19697
ว่างกันมั้ยคุยด้วยหทซิ
30 พฤศจิกายน 2550 10:16 น. - comment id 19698
ก็นำน้องตามทางก้าวสร้าง กอดคอพลางชมกลอนสอนรักษ์เสริม ชวนเด็กรักษ์ร่วมไขใจเพลิดเพลิน ตัวอย่างเดินแบบตามงามนานกลอน.
30 พฤศจิกายน 2550 10:18 น. - comment id 19699
อนุรักษ์เหรอ ก็คงต้องเริ่มจากตังเราซนะแล้วค่อยมองหาคนรอบๆงมาเขาร่วมกับเราดีมั้ย
20 มิถุนายน 2554 10:05 น. - comment id 33704
การอนุรักษ์ก็ดีเเต่โครตงง
20 มิถุนายน 2554 10:11 น. - comment id 33705
แต่งกวีไทยอยากมาก
20 มิถุนายน 2554 10:11 น. - comment id 33706
ก็ใช้กลอนแบบพรำเพื่อไง
20 มิถุนายน 2554 10:29 น. - comment id 33708
มิรู้จิ