2 พฤษภาคม 2552 08:23 น.

มั่นคง................

ทรายกะทะเล

หากตราบใดสายวารียังวิ่งไหล
สู่มหาชลาลัยกระแสสินธื
เกลียวคลื่นยังพัดฝั่งดังอาจินต์
เป็นสิจสินธ์ตราบนั้นฉันรักเธอ............

เช่นตะวันนั้นคงตรงต่อเวลา
แน่นอนนักรักท้องฟ้าสม่ำเสมอ
เช่นตัวฉัน นั้นยังคง ตรงต่อเอ
ฉันรักเธอเสมอ  ฉันรักเธอเสมอชั่วนิจนิรันดร์รักเพียงเธอชั่วนิรันดร์				
16 เมษายน 2552 09:12 น.

อยากร้องไห้......

ทรายกะทะเล

บ้านเมืองที่เคยอยู่แสนสุข
กลับต้องทุกข์น้ำตาแทบจะไหล
ชินชาตายด้านแล้วอย่างไร
ในเมื่อการเมืองคนของไทยเอาไปใช้เอง

ร้องไห้........ไม่มีใครเห็น....
เจอแต่คนเลือดเย็นใครจะเข้าเข้าใจตรงเผง
ในเมื่อน้ำตามันไหลออกมาเอง
ไม่ได้บีบเพลงกลั่นแกล้งน้ำตา

อยู่ไปก้ไม่มีความหมาย
ค้าขายก็ทรุดลงให้ผวา
จากที่ได้กำไรยอดขายงามตา
ไม่ม่ท่าว่าจะดี ขึ้นกว่านี้เลย

สงสัยอยากตายดีกว่า
แม้นรัฐเองก็หาจุดยืนไม่ได้
ได้แต่ป่าวร้องพูดแล้วไม่ทำอันใด
หากเป้นมวยจับมือประนีประนอมรัฐเก่าเร่งพัฒนา

หากอยู่อย่างนี้แพ้เขมรแน่
ไทยเคยมีศักดิ๋สง่าราศรี
ไม่มีแล้วเรี่ยวแรงจะทำอย่างไรดี
ปิดบัญชีฆ่าตัวตาย แม้นพ่อของลูกก้ไม่เข้าใจ				
13 เมษายน 2552 23:06 น.

พี่ชายที่แสนดี

ทรายกะทะเล

เมฆดูสวยงาม เมื่อยามมองฟ้า ฟ้าดูกว้างใหญ่เหมือนเก่า 
เมื่อยังเล็กแหงนดูมือไขว่คว้าเอา สูงจังอยากตัวโตสูง 
จ้องมองแสนนาน พี่ชายคงเห็นยิ้มเดินมาใกล้แล้วอุ้ม 
ขี่คอจนเกือบสูงทัน จ้องมองบนฟ้านั่น 
เอื้อมมือถึงจันทร์ จะเอาเป็นของเรา 

ครั้งโดนเขารังแก ร้องงอแงร้องไห้ 
พี่คนนี้ยังคอยคุ้มครองคุ้มภัย น้องเอยอย่ากลัวใครเขา 
สองพี่น้องเดินไป น้องตามพี่ชาย จับมือจูงน้องไป 
มองฟ้าอันกว้างใหญ่ ฟ้าคงไกลไป ขี่คอพี่สูงเอง 

ครั้งโดนเขารังแก ร้องงอแงร้องไห้ 
พี่คนนี้ยังคอยคุ้มครองคุ้มภัย น้องเอยอย่ากลัวใครเขา 
สองพี่น้องเดินไป น้องตามพี่ชาย จับมือจูงน้องไป 
มองฟ้าอันกว้างใหญ่ ฟ้าคงไกลไป ขี่คอพี่สูงเอง 

จวบจนฉันโต พี่ยังคงรักและคอยเป็นห่วงแสนห่วง 
เมื่อผิดหวังให้กำลังใจทั้งดวง น้องเอยอย่ากลัวใครเขา 
เมื่อยามท้อใจ จ้องมองบนฟ้านึกตอนเป็นเด็กเล็กนั่น 
ขี่คอจนเกือบสูงทัน เอื้อมมือให้ถึงจันทร์ 
บอกเอาไว้นาน พี่ชายที่แสนดี				
13 เมษายน 2552 22:21 น.

เก็บตะวัน........................เพลงโปรด

ทรายกะทะเล

เก็บตะวัน ที่เคยส่องฟ้า 
เก็บเอามา ใส่ไว้ในใจ 
เก็บพลัง เก็บแรงแห่งแสง ยิ่งใหญ่ 
รวมกันไว้ ให้เป็น 1 เดียว 
เก็บเอากาล เวลาผ่านเลย 
สิ่งที่เคย ผิดหวังช่างมัน 
1 ตัวตน 1 คนชีวิต แสนสั้น 
เจ็บแค่นั้น ก็คงไม่ตาย 

ธรรมดาเวลาฟ้าครึ้ม เมฆหม่น 
พายุฝน อยู่บนฟากฟ้า 
คงไม่นานตะวัน สาดแสงแรงกล้า 
ส่งให้ฟ้า งดงาม 
หากตะวัน ยังเคียงคู่ฟ้า 
จะมัวมา สิ้นหวังทำไม 
เมื่อยังมีพรุ่งนี้ ให้เดินเริ่มใหม่ 
มั่นคงไว้ ดังเช่นตะวัน 

ธรรมดาเวลาฟ้าครึ้ม เมฆหม่น 
พายุฝน อยู่บนฟากฟ้า 
คงไม่นานตะวัน สาดแสงแรงกล้า 
ส่งให้ฟ้า งดงาม 
หากตะวัน ยังเคียงคู่ฟ้า 
จะมัวมา สิ้นหวังทำไม 
เมื่อยังมีพรุ่งนี้ ให้เดินเริ่มใหม่ 
มั่นคงไว้ ดังเช่นตะวัน 

มั่นคงไว้ ดังเช่นตะวัน				
13 เมษายน 2552 10:25 น.

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรายกะทะเล

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา 
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี 
ครองราชย์ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 
ระยะครองราชย์ 9 ปี 
รัชกาลก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล 
วัดประจำรัชกาล วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (โดยอนุโลม)[1] 

ข้อมูลส่วนพระองค์[ซ่อน]
พระราชสมภพ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 
สวรรคต 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 

พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
พระราชมารดา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง 
พระมเหสี สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี 
พระราชโอรส/ธิดา ไม่มี 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชจักรีวงศ์ พระราชสมภพ เมื่อ วันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 นาฬิกา ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2436 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นปีที่ 9 ในสมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) เสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมสิริดำรงราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวมพระชนมพรรษา 48 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส กับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์) ไม่มีพระราชโอรส-พระราชธิดา

เนื้อหา [ซ่อน]
1 พระนามเต็ม 
2 พระราชประวัติ 
3 พระราชกรณียกิจ 
3.1 ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง 
3.2 ด้านการปกครอง 
3.3 ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม 
3.4 ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ 
4 ราชตระกูล 
5 ดูเพิ่ม 
6 อ้างอิง 
7 เอกสารชั้นต้น 
 


[แก้] พระนามเต็ม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเต็ม "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"


[แก้] พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ ธเนศรมหาราชาธิราชจุฬาลงกรณ์นาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามงกุฎราชพงศบริพัตรบรมขัตติยมหารัชฎาภิษิยจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร พระนามทั่วไปเรียกว่า ทูล กระหม่อมเอียดน้อย

เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ต่อมาครั้นทรงโสกันต์แล้วทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตันซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารที่เมืองวูลิช (ROYAL MILITARY ACADEMY COUNCIL) ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า แต่ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 พระองค์จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพิธีพระบรมศพ แล้วจึงเสด็จกลับไปศึกษาต่อเมื่อสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2456 ทรงเข้าประจำการ ณ กรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษที่เมืองอัลเดอร์ช้อต (ALDERSHOT) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 ซึ่งเป็นช่วงเวลาการซ้อมรบ โดยรัฐบาลอังกฤษตามความเห็นชอบของที่ประชุมกองทหาร (ARMY COUNCIL) และได้รับอนุญาตให้ทรงเครื่องแบบนายทหารอังกฤษสังกัดใน L BATTERY FOYAL HORSE ARTILLERY ทรงได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหารยศร้อยตรีกิตติศักดิ์ แห่งกองทัพอังกฤษ และในกาลที่พระองค์สำเร็จการศึกษาจากสถานทีนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยศนายร้อยตรีนอกกอง สังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยโท และนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์

ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิดสงครามโลกขึ้นในยุโรป แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ยังทรงศึกษาวิชาการทหารได้เพียงครึ่งๆ กลางๆ หากจะกลับมาเมืองไทยก็ยังทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองยังไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร ทรงจัดหาครูเพื่อสอนวิชาการเพิ่มเติมโดยเน้นวิชาที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง ในวิชากฎหมายระหว่างประเทศ พงศาวดารศึก และยุทธศาสตร์การศึก

ครั้งสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก และการหาครูมาถวายพระอักษรก็ลำบาก เนื่องด้วยนายทหารที่มีความสามารถต้องออกรบในสงคราม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอพระราชดำเนินกลับประเทศไทย แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอมีความประสงค์ที่จะเสด็จร่วมรบกับพระสหายชาวอังกฤษ หากแต่พระเจ้ายอร์ซที่ 5 ไม่สามารถทำตามพระราชประสงค์ เนื่องด้วยพระองค์เป็นคนไทยซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางในสงคราม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอจึงจำเป็นต้องเสด็จกลับประเทศไทยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2458

ครั้นเมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถซึ่งเป็นพระเชษฐาในพระองค์ ต่อมาพระองค์ได้เลื่อนเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์และเป็นร้อยเอกต่อมาเสด็จเข้ารับราชการประจำกรมบัญชาการกองพันน้อยที่ 2 ในตำแหน่งนายทหารเสนาธิการและต่อมาเลื่อนเป็นนายพันตรี แล้วเป็นพันโทบังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งหน้าที่การงานต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยมาโดยตลอด ต่อมาทรงลาราชการเพื่อทรงผนวช ณ อุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเสร็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอลาผนวชและเสด็จเข้ารับราชการเป็นที่เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสขอหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีให้และประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2461

พระองค์ทรงประสบปัญหากับพระโรคเรื้อรัง จึงจำเป็นต้องลาราชการไปพักรักษาตัวในที่ ๆ มีอากาศเย็นตามความเห็นของคณะแพทย์ พระองค์เสด็จไปรักษาตัวที่ยุโรปในปี พ.ศ. 2463 ครั้นพระองค์ทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ทรงเข้าศึกษาวิชาการในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2464 หลังจากนั้นอีก 4 ปี ทรงเข้ารับราชการอีกครั้งโดยพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า โปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และเลื่อนพระยศขึ้นเป็นนายพันเอก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 ในคราวเดียวกัน และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. 2468 พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมั่นคงอยู่ในทศพิธราชธรรม ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายด้านหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินพระราชหฤทัยครั้งสำคัญ เมื่อครั้งเกิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ทรงยินยอมที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็ยังมีกองทัพที่จงรักภักดีพอที่จะต่อสู้กับ คณะราษฎร ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้

ต่อมาเมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้ใช้การปกครองไม่ตรงกับหลักการของพระองค์และทรงเห็นว่าพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่บรรลุผลสำเร็จ จึงทรงกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอย่างยิ่งด้วยการสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ในขณะที่พระองค์ประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ เพื่อเปิดหนทางให้ผู้ที่เหมาะสมกว่าเข้ามาทำหน้าที่แทนพระองค์สืบไป ดังพระราชหัตถเลขาว่า

"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร" - พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา


[แก้] พระราชกรณียกิจ
ดูบทความหลักที่ เหตุการณ์สำคัญในรัชกาลที่ 7

[แก้] ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง
เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลอย่างดีที่สุด โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน

การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร

การส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันประกอบกิจการทางเศรษฐกิจ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ขึ้น

ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยในสมัยนั้น ติดเครื่องปรับอากาศ เพื่อเป็นสถานบันเทิงให้แก่ผู้คนในกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตหัวเมือง ทรงได้จัดตั้ง สภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกขึ้น เพื่อทำนุบำรุงหัวหินและใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเลแก่ประชาชนที่มาพักผ่อน

ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก


[แก้] ด้านการปกครอง
ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราชทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิปไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวในโลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้

ทรงแก้ไขกฎหมายองคมนตรี ด้วยการออกพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470 ให้ สภากรรมการองคมนตรี มีอำนาจหน้าที่ ในการให้คำปรึกษาในการร่างกฎหมาย โดยมีพระราชดำริให้สภาองคมนตรีเป็นที่ฝึกการประชุมแบบรัฐสภา กรรมการสภาองคมนตรีอยู่ในตำแหน่งวาระละ 3 ปี

ทรงวางรากฐานการบริหารงานบุคคลของชาติใหม่ ให้เป็นระบบและมีคุณธรรม ด้วยการตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 ขึ้นบังคับใช้ โดยมี คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมข้าราชการให้อยู่ในระเบียบวินัยข้าราชการ

ทรงตราพระราชบัญญัติควบคุมการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 เพื่อคุ้มครองสวัสดิการของปวงชนชาวไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน เช่น การประปา การไฟฟ้า การรถไฟ การเดินอากาศ การชลประทาน การออมสิน และการประกันภัย อันเป็นรากฐานของระเบียบปฏิบัติ ที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้

ทรงมีพระราชดำริให้จัดระเบียบการปกครองรูปแบบเทศบาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารและจัดการงานต่างๆ ของชุมชน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเทศบาล ขึ้นแต่มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


[แก้] ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม
 
ภาพขณะทรงซออู้ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้

ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติได้ทรงวางรากฐานเป็นอย่างดีกล่าวคือ ได้ทรงสถาปนาราชบัณฑิตยสถานสภาขึ้น เพื่อจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครและสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถานตรวจรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ และเพื่อจัดการบำรุงรักษาวิชาช่างผลงานของราชบัณฑิตสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก เช่นการตรวจสอบต้นฉบับเอกสารโบราณออกตีพิมพ์เผยแพร่ มีการส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะได้ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดนตรีไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐ์ไพเราะ เข้าถวายการฝึกสอนจนสามารถ พระราชนิพนธ์ทำนองเพลงไทยได้ ถึง 3 เพลง คือเพลง ราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรลออองค์เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง

ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา โปรดฯให้เขียนภาพพงศาวดาร สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ผนังพระอุโบสถ

ทรงพยายามสร้างค่านิยมให้มีสามีภรรยาเพียงคนเดียว ทรงโปรดให้ตรา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 2471 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตอนเป็นแบบอย่างโดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว โดยไม่ทรงมีพระสนมนางในใดๆทั้งสิ้น

นอกจากนี้แล้ว เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจ ทรงโปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์ ทรงทดลองใช้เอง กล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่ทรงสะสมไว้ สะท้อนให้เห็นพระอุปนิสัยโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทรงถ่ายมีเนื้อหาทั้งที่เป็นสารคดีและที่ให้ความบันเทิง ในจำนวนภาพยนตร์เหล่านี้ เรื่องที่เป็นเกียรติประวัติของวงการภาพยนตร์ไทยและแสดงพระราชอัจฉริยภาพดีเยี่ยมในการสร้างโครงเรื่อง กำกับภาพ ลำดับฉาก และอำนวยการแสดง คือ เรื่องแหวนวิเศษ นับได้ว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง


[แก้] ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในต้นรัชสมัย ได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสัญญาใหม่ ๆ กับประเทศเยอรมนีหลังสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติ เมื่อ พ.ศ. 2471 และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขงเรียกว่า สนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ. 2469 ที่ กำหนดให้ มีเขตปลอดทหาร 25 กิโลเมตร ทั้ง สองฝั่งน้ำโขง แทนที่ จะมีเฉพาะฝั่งสยามแต่เพียงฝ่ายเดียว


[แก้] ราชตระกูล
พระราชตระกูลในสามรุ่นของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ 
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ 
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย 
พระชนนี:
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ 
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
(เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
หลวงอาสาสำแดง (แตง) 
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท้าวสุจริตธำรง (นาค) 


[แก้] ดูเพิ่ม
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวลำดับพระมหากษัตริย์ไทย 
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 

[แก้] อ้างอิง
^ ไม่มีวัดประจำราชกาลตามประกาศพระบรมราชโองการ แต่ถือกันว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นวัดประจำรัชกาลโดยอนุโลม เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร 
พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477 
อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา,2543,หน้า 90-105 
ศิวรรณ คุ้มโห,พระราชประวัติ พระมหากษัตย์ 9 รัชกาล 
เจ้าฟ้าประชาธิปก ราชันผู้นิราศ เขียนโดย ศิลปชัย ชาญเฉลิม, กรุงเทพ, 2530 
มจ. พูนพิศมัย ดิสกุล, สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น (ภาคต้น), สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2543 
โพยม โรจนวิภาต (อ.ก. รุ่งแสง), พ. 27 สายลับพระปกเกล้า พระปกเกล้าฯ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2547 

[แก้] เอกสารชั้นต้น
รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2470 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) 
รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2472 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) 
รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2473 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) 
รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2474 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) 
รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2475 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) 
รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2476 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) 
รายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2477 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) 
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาคต้น พิมพ์โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพ 2537 
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาคปลาย พิมพ์โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพ 2537				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟทรายกะทะเล
Lovings  ทรายกะทะเล เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟทรายกะทะเล
Lovings  ทรายกะทะเล เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟทรายกะทะเล
Lovings  ทรายกะทะเล เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงทรายกะทะเล