6 กรกฎาคม 2549 12:10 น.

วรรณกรรม"พานแว่นฟ้า"

จิตรนัย

เรื่องการบ้านการเมืองไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องของพวกเราทุกคน โดยเฉพาะน้องหนูทั้งหลายที่ต้องเป็นผู้แบกรับภาระเรื่องของบ้านเมืองต่อไปในอนาคต

เรื่องที่น้อยหนูต้องเรียนรู้ตลอดเวลา และต้องเข้าให้ถึงความรู้เหล่านั้น คือความรู้เรื่องระบอบประชาธิปไตย

การจะเรียนรู้เรื่องการเมืองในระบอบประชาธิปไตย การอ่านจะเป็นส่วนสำคัญ ขณะเดียวกัน เมื่ออ่านแล้วก็ควรจะแสดงความคิดเห็นให้ปรากฏ

งานของรัฐสภาเป็นงานที่ต่อเนื่อง มิใช่จะมีเพียงเรื่องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิกเท่านั้น รัฐสภายังมีงานอีกหลายแขนง โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย

หลายปีที่ผ่านมา รัฐสภามีโครงการส่งเสริมและเผยแพร่ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา กิจกรรมหนึ่งคือ การประกวดวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นและบทกวีการเมือง คือ

รางวัลพานแว่นฟ้า (ครั้งที่ 5) ประจำปี 2549 

พานแว่นฟ้า คือพานอันเป็นที่ประดิษฐานรัฐธรรมนูญ สำหรับในกรุงเทพมหานครมีที่เด่นชัด 2 แห่ง คือที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแห่งหนึ่ง อีกแห่งหนึ่งคือ อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ บริเวณวงเวียนหลักสี่ ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ขนาดเล็ก มิหนำซ้ำทางกรุงเทพมหานครยังนำประติมากรรมทัศนอุจาดตั้งขึ้นบดบังไว้เสียอีก

อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญถึงวันนี้คงไม่มีใครรู้ถึงความสำคัญ แม้ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) เองก็ออกจะลืมเลือนไปบ้างแล้ว แต่จะค้นหาความสำคัญมาให้ได้รู้กัน 

แต่ส่วนอีกแท่งที่ข้างบนเป็นกล่องสี่เหลี่ยมวางเอียงขนาดไม่เล็ก ด้านหนึ่งจะเป็นข้อความเชิญชวนให้ไปเลือกตั้ง

ดูเหมือนว่าจะตั้งไว้เป็นการถาวร ไม่ทราบว่าเขตบางเขน หรือ กทม.เป็นผู้รับผิดชอบ รื้อออกเถอะ แล้วบูรณะอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญให้ดูโดดเด่นและสวยงาม รวมไปถึงติดงานเขียนให้ความรู้ไว้ด้วยก็จะเป็นการดีอย่างยิ่ง เพราะจะได้เป็นความรู้ให้กับผู้คนโดยเฉพาะน้องหนูทั้งหลายได้ทราบความหมายและความสำคัญ

กลับมาที่รางวัลพานแว่นฟ้า

ท่านผู้คิดว่ามีฝีมือทางกวีหรือเขียนเรื่องสั้นโปรดพิจารณา งานนี้สำหรับประชาชนทั่วไปไม่มีขีดจำกัด มีเงินรางวัลรวมทั้งสองประเภท 360,000 บาท ทั้งสองประเภทมีรางวัลชนะเลิศได้รับโล่เกียรติยศและเกียรติบัตรจากประธานรัฐสภาพร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ 1 รางวัล มีโล่และเกียรติบัตรเช่นกัน พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท รางวัลชมเชย 10 รางวัล รับเกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 บาท

เรื่องสั้นการเมืองพิมพ์ในกระดาษ เอ 4 ไม่เกิน 10 หน้า พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ใช้ขนาดอักษร 160 ตัวพิมพ์ ส่งได้คนละ1 เรื่อง ส่วนกวีการเมือง ฉันทลักษณ์แบบแผนไม่กำหนดหัวข้อ ความยาว 10 บท 

แน่นอน เมื่อเป็นงานประกวดของรัฐสภา ทั้งระบุว่าเป็นวรรณกรรมการเมือง เรื่องก็ต้องเกี่ยวเนื่องกับการเมือง ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย

งานนี้เปิดรับผลงานมาตั้งแต่ 1 เมษายน โน่นแล้ว แต่ยังไม่หมดกำหนด สำหรับผู้มีฝีมือยังพอมีเวลาเพราะกำหนดส่งงานวันสุดท้าย 31 สิงหาคม โน่น (ปีนี้) 

ส่งที่สำนักประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยฯ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

แม้งานการประกวดวรรณกรรมการเมืองครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 5 แต่เรื่องของการเมืองเป็นเรื่องไม่รู้จบสิ้น ข้อสำคัญคือจะสร้างจิตสำนึกทางการเมืองที่ถูกที่ควรให้กับพวกเราคนไทยได้อย่างไร

ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เปิดกว้างกว่าทุกระบอบ เพราะประชาธิปไตยยึดหลักเสรีภาพ สิทธิ หน้าที่ เป็นหลักสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องของปัจเฉกบุคคล ขณะที่เน้นย้ำการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน การละเมิดต่อกันจึงเป็นอีกประการหนึ่งที่สำคัญ

สำหรับความเป็นประชาธิปไตยของไทย อาจต้องคำนึงถึงขนบธรรมเนียมวัตรปฏิบัติของชนชาติไทยที่สืบสานต่อเนื่องกันมายาวนาน

โดยรูปแบบระบอบประชาธิปไตยของแต่ละประเทศอาจไม่ผิดแผกกันมากนัก แต่ในเนื้อหาประชาธิปไตยของแต่ละประเทศต้องคำนึงองค์ประกอบความเป็นคนชนชาตินั้นเช่นชนชาติไทยด้วย 

มติชน				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟจิตรนัย
Lovings  จิตรนัย เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟจิตรนัย
Lovings  จิตรนัย เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟจิตรนัย
Lovings  จิตรนัย เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงจิตรนัย