4 ตุลาคม 2556 23:01 น.
คีตากะ
เข้าใจสุขภาพ-กลับสู่วิถีชีวิตธรรมชาติที่ถูกต้อง
เขียนโดย ดร.หลัวซือหง ฟอร์โมซา(ต้นฉบับเป็นภาษาจีน)
ตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ผู้เขียนมีความภูมิใจที่ได้อ่านหนังสือใหม่เรื่อง เข้าใจสุขภาพ-กลับสู่วิถีชีวิตธรรมชาติที่ถูกต้องของอนุตราจารย์ชิงไห่ ก่อนที่จะตีพิมพ์ออกมา ขณะเปิดหนังสืออีเล็กโตรนิกส์อ่าน ข้าพเจ้ารู้สึกถึงพลังแรงส่วนหนึ่งได้ไหลเข้ามา ทำให้ในใจของข้าพเจ้าเกิดความรู้สึกที่ซาบซึ้งมาก ช่างเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ ทำไมข้าพเจ้าจึงเกิดความซาบซึ้งฉับพลัน? จากการเปิดอ่านรายละเอียดในหนังสือ ข้าพเจ้าได้รับคำตอบคือ แต่ละคำพูดในหนังสือที่ให้ความรักความเอาใจใส่ต่อมนุษย์นั่นเองมากระตุ้นจิตใจของข้าพเจ้า
ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลันนี้ ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจถึงการทำงานของพลังแห่งจิตวิญญาณที่วิเศษสุด แต่วิทยาศาสตร์สรีระปัจจุบันยังไม่สมารถอธิบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความจริง การวิจัยทางเทคนิคในปัจจุบันที่สามารถอธิบายได้อย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องจักรวาลยังมีน้อยมาก วิชาแพทย์ในยุคอันใกล้นี้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 มา ได้สร้างฐานวิจัยในเรื่องจุลินทรีย์ การผ่าตัดร่างกายและประสิทธิภาพของอวัยวะไว้อย่างดีเยี่ยม มาถึงศตวรรษที่ 20 เทคนิคทางการแพทย์ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว นอกจากเข้าใจถึงการเสื่อมและการสร้างของเซลโมเลกุล โปรตีนไรโบนิวคลีอิก ลักษณะของดีเอ็นเอแล้ว สามารถสร้างก็อปปี้ชีวิตแต่ละร่างได้สำเร็จ และใช้สตีมเซล และลักษณะของดีเอ็นเอมารักษาโรคได้ ซ่อมแซมอวัยวะ แต่ว่าในศตวรรษที่ 21 นี้ มีโรคที่รักษาไม่ได้ยังคงทำให้วงการแพทย์ต้องจนปัญญา การเจริญทางการแพทย์แม้จะสามารถยืดอายุคนได้ แต่การจะป้องกันการเกิดโรคนั้น เพื่อให้มนุษย์รอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ใช้ชีวิตที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นสุขได้ตลอดชีวิต วงการแพทย์ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาวิธีที่จะแก้ไขได้
หลังจากอ่านหนังสือเข้าใจสุขภาพ-กลับสู่วิถีชีวิตธรรมชาติที่ถูกต้องแล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกว่า การแพทย์ในปัจจุบันต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการเอาใจใส่ให้มากขึ้น จึงจะสามารถมองเห็นจุดบอดและความสับสนได้อย่างชัดเจนภายใต้ความเชี่ยวชาญ อนาคตทิศทางการวิจัยเทคนิคการแพทย์จะไปทางทิศไหน? ในหนังสือเล่มนี้มีข้อคิดเห็นที่ทรงค่ายิ่งมากมาย โดยเฉพาะผู้ทำการวิจัยขั้นพื้นฐานและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการบำบัดรักษาต้องอ่านและคิดได้อย่างรอบคอบ มีปัญญา และความรักที่ไร้เงื่อนไขของผู้นำแห่งจิตวิญญาณ อาจสามารถชี้ทิศทางใหม่ในเทคนิคการวิจัยทางการแพทย์ได้
หน้าแรกของหนังสือเล่มนี้ได้ชี้ชัดถึงเรื่องการพัฒนาความสามารถที่ซ่อนเร้นทางกาย ใจ จิตวิญญาณทั้งหมด-เพื่อเข้าสู่ขุมทรัพย์แห่งพลังของจักรวาล เป็นหนทางแห่งสุขภาพที่แข็งแรงและอายุยืนที่ดีที่สุด และกระแสนี้ได้พัฒนาและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และใกล้จะเป็นรูปธรรมขึ้นมาในสังคมทางทิศตะวันออก-ตะวันตกในเร็วๆ นี้ เช่น งานใหญ่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี นั่นคือ งานนิทรรศการพัฒนากาย ใจ และจิตวิญญาณ
ในตอนที่ 2 จากบทความเรื่อง "การดื่มการกินอาหารด้วยความรักและชีวิตที่มีสุขภาพแข็งแรง" นั้น อนุตราจารย์ชิงไห่ได้พูดถึงสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขั้นพื้นฐานของคนและการรักษาสิ่งแวดล้อม ความอดอยาก จนถึงการดูแลสัตว์เลี้ยง และข้อคิดในการเดินทาง ต่างๆ เป็นต้น การปราศรัยธรรมด้วยคำพูดที่สนุกขบขัน มีเหตุผลในการดำรงชีวิต และมีข่าวสารเพื่อสุขภาพที่ทรงคุณค่า ปีที่ผ่านมาไม่นาน จากโรควัวบ้า ปากเปื่อย เท้าเปื่อย ไข้หวัดนก จนถึงอาหารทะเลที่มีสารโลหะสูง สัตว์เลี้ยงได้นำพิษโรคร้ายซาร์ส(SARS)ที่น่าสะพรึงกลัวไปทั่วโลก สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้อาจเป็นข่าวสารเตือนหมู่มวลมนุษย์ทั้งหลายของพระเจ้า ให้รีบเปลี่ยนแปลงอาหารการกิน โดยให้บริโภคอาหารมังสวิรัติด้วยความรัก อย่างที่กล่าวไว้ว่า "การป้องกันดีกว่าการบำบัดรักษา" อนุตราจารย์ชิงไห่ใช้ยกตัวอย่างที่เข้าใจง่าย อธิบายถึงอาหารการกินที่ถูกต้องเป็นการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ เป็นเงื่อนไขการรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงได้ตลอดกาลนาน โดยเน้นเรื่องการใช้ชีวิตแบบอาหารมังสวิรัติ นอกจากนี้แล้ว เรื่องที่สังคมปัจจุบันกำลังพูดถึงกันคือ การอดอาหารเพื่อรักษาสุขภาพ อาหารที่ดัดแปลงพันธุกรรม ผักที่มีอินทรีย์ และอาหารเสริม ต่างๆ เป็นต้น จากการปราศรัยของอนุตราจารย์ชิงไห่ก็มีการค้นคว้าหลายเรื่อง
การเกิด แก่ เจ็บตาย เป็นหนทางที่ทุกคนต้องประสบ ในบทความตอนที่ 3 "การรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา" อนุตราจารย์ชิงไห่ใช้เหตุผลเรื่อง "สารชนิดเดียวกันจะดึงดูดกัน" มาอธิบายอย่างละเอียดถึงเหตุแห่งการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและวิธีการบำบัดรักษา ความคิดของคน จิตใจ สามารถผลักดันให้ร่างกายหายจากโรคที่มาจากภายนอกด้วยพลังการรักษาโรคที่มีซ่อนเร้นอยู่ โดยการรักษา กาย วาจา ใจให้อยู่ในความเชื่อมั่นเสมอ ก็จะสามารถคุ้มครองตัวเองได้ หลีกเลี่ยงจากเรื่องอุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บได้ ส่วนเรื่องที่จะผลักดันพลังที่ซ่อนเร้นมารักษาโรคได้อย่างไรนั้น ผู้อ่านเพียงแต่เปิดหนังสือเล่มนี้ออกอ่าน ก็จะสามารถพบวิธีได้ ในบทความนี้ยังได้บอกกับผู้รักษาพยาบาลว่า จะดูแลป้องกันคนไข้ได้อย่างไรในขั้นแรก ขณะเดียวกันก็ป้องกันตัวเองด้วย อนุตราจารย์ชิงไห่ได้เน้นความสำคัญของเรื่องความคิดที่เชื่อมั่นกับการมองโรคในแง่ดี มันสอดคล้องกับการค้นพบของแพทย์ศาสตร์ในปัจจุบัน จากผลวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่า การหัวเราะเสียงดังมีประโยชน์กับสุขภาพ ตรงกันข้าม การซึมเศร้า การขับแยกของเหลวภายในร่างกาย และระบบภูมิต้านทาน ทำให้อัตราการเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง เพิ่มมากขึ้น ทำให้ชีวิตสั้นลงเฉลี่ย 5-10 ปี
ในบทความที่ 4 "จะปฏิบัติต่อตัวเองและญาติมิตรที่อยู่ในความทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างไร" ผู้อ่านสามารถอ่านจากการถาม-ตอบระหว่างอนุตราจารย์ชิงไห่และลูกศิษย์ เพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้คน ได้รับการปลอบใจและพลังแห่งความรัก ด้วยการมองโลกในทางที่ดี และการยอมรับข่าวสารที่มีอยู่ต่อหน้าของอุปสรรค เผชิญชีวิตอย่างกล้าหาญ วิธีที่ง่ายๆ และวิเศษสุดจากการเสนอของอนุตราจารย์ชิงไห่ "ให้อธิฐานกับพระเจ้ามากๆ" ทำให้ข้าพเจ้านึกถึง โลโก้ที่เขียนด้วยภาษาลาตีน "พระเจ้าส่องทางสว่าง" ของโรงเรียนประวัติศาสตร์พันปีมหาวิทยาลัยนิวตัน แห่งสหราชอาณาจักร ความหมายตรงกับอนุตราจารย์ชิงไห่ได้บอกกับชาวโลกว่า "ทุกชีวิตจะอยู่ในความดูแลของพระเจ้า"
เมื่อเร็วๆ นี้ทั่วโลกต่างนิยมในเรื่องการนั่งสมาธิ เช่น ศูนย์การวิจัยของแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาวาดและมหาวิทยาลัยเมดิคอลที่ค้นพบว่า การนั่งสมาธิไม่เพียงสามารถลดความเครียดได้ ยังสามารถเพิ่มภูมิต้านทาน ชะลอ ป้องกัน และรักษาโรคได้มากมาย ศูนย์แพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซท แห่งสหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้ง "คลินิคการนั่งสมาธิ" มีผู้คนมารับการตรวจรักษามากกว่าพันคนทุกวัน จากมุมมองของวิทยาศาสตร์ แนวคิดจากอนุตราจารย์ชิงไห่ เรื่อง "ธรรมวิถีกวนอิมรักษาได้ทุกโรค" เป็นวิธีการรักษาด้วยพลัง(การสั่นสะเทือน)ที่ก้าวหน้าที่สุดของวิชาแพทย์ในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ก็ได้ยืนยันวิชาแพทย์จีนเรื่อง (ลมปราณ)และ(เส้นชีพจร)ผู้ที่อยากจะทราบเรื่องการรักษาโรคด้วยตนเองจากการนั่งสมาธินั้น สามารถอ่านจากบทความตอนที่ 5 "การรักษาโรคด้วยตนเองจากวิธีการนั่งสมาธิ" ค้นพบการชี้แนะที่เข้าใจได้อย่างชัดเจน
ในบทความตอนที่ 6 "การมองโลกในอนาคตด้วยมุมมองที่ดี-การมีสุขภาพที่แข็งแรงไปกับโลกด้วยกัน" ได้บ่งบอกถึงข่าวสารที่สำคัญหลายเรื่องที่จะนำมาให้กับชาวโลกจากการสรุปของหนังสือเล่มนี้ คำสอนของอนุตราจารย์ชิงไห่ เป็นที่น่าค้นคว้าของผู้ที่สนใจโลกและความสุขของมนุษย์
ศตวรรษใหม่น่าจะมองโลกในแง่ดี จากการพัฒนาเทคโนโลยี การแพทย์ ศาสนา หรือกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ตัดสินจากการวิจัย มนุษย์จะต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของจิตสำนึกครั้งใหญ่ เช่น การก้าวหน้าของทฤษฎีควอนตัม (quantum อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีนาโน เช่นเดียวกันกับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ในวงการแพทย์ที่รวมเครื่องมือที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง, เครื่องสแกนเนอร์ตรวจด้วยคอมพิวเตอร์, การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก-เอ็มอาร์ไอ, การถ่ายภาพรังสีระนาบ(ภาพตัดขวาง)โดยการปล่อยอนุภาคต้านของอิเล็กตรอน-พีอีที, เครื่องตรวจสอบเรโซแนนซ์แม่เหล็ก-เอ็มอาร์ที ต่างอยู่เหนือความคิดในการวิจัยทางเทคโนโลยีที่สืบทอดกันมา ค่อยๆ ยืนยันคำพูดของอนุตราจารย์ชิงไห่ว่า ทุกวันนี้พวกเราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ วันพรุ่งนี้ก็จะเป็นไปได้
อนุตราจารย์เรื่องที่ยังเน้นว่า อาศัยพลังของจิตวิญญาณ สามารถบรรลุเป้าหมายที่พวกเราต้องการ พร้อมยกตัวอย่างยืนยัน ขณะที่ผู้เขียนได้ขออ่านหนังสือเล่มนี้ก่อน ได้สัมผัสกับพลังทางจิตวิญญาณที่ดีเยี่ยมจากอนุตราจารย์ชิงไห่ด้วยตัวเอง ในที่นี้ขออวยพรผู้ที่เอาใจใส่สุขภาพและความสุขแห่งชีวิตของตัวเอง ญาติมิตร รวมทั้งหมูมวลมนุษย์ทั้งหลาย สามารถค้นพบคำตอบของตัวเอง จากหนังสือเล่มนี้ ที่เต็มไปด้วยความสนุกและแฝงไว้ซึ่งความรัก คำพูดที่เข้าใจง่ายแต่มีความลึกซึ้ง และจัดพิมพ์อย่างสบาย ราบรื่น พร้อมทั้งก้าวหน้าทางด้านจิตวิญญาณ เข้าใจสุขภาพ พัฒนาพลังที่ซ่อนเร้นที่สามารถรักษาโรคด้วยตัวเอง มีชีวิตที่แข็งแรงสมบูรณ์
หมายเหตุ : ดร.หลัวซือหง จบปริญญาเอกวิชาสรีระศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อาจารย์สอนวิชาเภสัชวิทยา สถาบันแพทย์ศาสตร์กระทรวงกลาโหม อาจารย์ชี้แนะสมาคมพัฒนากายใจในมหาวิทยาลัยครูแห่งรัฐ เป็นอาจารย์คณะรักษาพยาบาลในงานกู้ภัยพิบัติของรัฐ
Be Veg, Go Green 2 Save The Planet
www.godsdirectcontact-thai.org
www.suprememastertv.com
4 ตุลาคม 2556 23:02 น.
คีตากะ
โดยพี่ประทับจิตหญิง แสงแห่งความรัก ยกยาร์การ์ตา อินโดนีเซีย (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)
ทัศนะที่ว่า พระเยซูคริสต์คืออาจารย์ธรรมวิถีกวนอิมและผู้ส่งเสริมมังสวิรัติ ได้รับการสนับสนุนโดยประโยคมากมายในหนังสือ เสียงสวรรค์สันติภาพของเอสซีน เล่ม 1 และ เสียงสวรรค์สันติภาพของเอสซีน เล่ม 4 การสอนผู้ที่พระเจ้าทรงเลือก ซึ่งพิมพ์โดยสมาคมไบโอจีนิกนานาชาติ หนังสือเหล่านี้ได้รับการแปลโดยเอ็ดมอนด์ บอร์โดซ์ เซ๊คเคอลี่ จากต้นฉบับฮีบรูโบราณและอาราเมอิค ในที่เก็บเอกสารลับสำคัญของวาติกัน และจากตัวหนังสือสลาโวนิกแบบเก่าในหอสมุดหลวงของแฮพสเบิร์ก (ขณะนี้เป็นสมบัติของรัฐบาลออส-เตรีย) คุณสามารถอ่านเรื่องย่อของหนังสือเหล่านี้โดยเปิดเว็บไซต์:
http://www.thenazareneway.com/index_essene_gospels_of_peace.htm
การสนับสนุนมังสวิรัติของพระเยซู
เสียงสวรรค์สันติภาพของเอสซีน เล่ม 1 มีบทอ้างอิงมากมาย ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงความเห็นของพระเยซูในเรื่องมังสวิรัติ ตัวอย่างเช่น พระเยซูได้ถูกถามว่า โมเสสผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในอิสราเอล ทำให้บรรพบุรุษของเราต้องทุกข์ทรมาน ในการรับประทานเนื้อของสัตว์เดรัจฉานที่สะอาด และห้ามเฉพาะเนื้อของสัตว์เดรัจฉานที่ไม่สะอาดเท่านั้น ทำไมท่านจึงห้ามเรารับประทานเนื้อของสัตว์เดรัจฉานทุกชนิดเล่า? กฎของโมเสสหรือกฎของท่าน กฎไหนกันที่มาจากพระเจ้า?
สำหรับคำถามนี้ พระเยซูได้ตอบว่า พระเจ้าสั่งบรรพ-บุรุษของเจ้าว่า เจ้าจงอย่าฆ่า แต่หัวใจของพวกเขาแข็งกระด้างและพวกเขาได้ฆ่า ดังนั้น โมเสสจึงขอว่า อย่างน้อยที่สุด พวกเขาไม่ควรฆ่ามนุษย์ และเขาทำให้พวกเขาต้องทุกข์ทรมานในการฆ่าสัตว์ แล้วหัวใจของบรรพบุรุษของเจ้าก็แข็งกระด้างมากยิ่งขึ้น และพวกเขาได้ฆ่าคนและสัตว์ แต่ฉันขอพูดกับเจ้าว่า จงอย่าฆ่าคนหรือสัตว์ หรืออาหารที่เข้าสู่ปากเจ้า เพราะถ้าเจ้ากินอาหารที่มีชีวิต แบบเดียวกันก็จะเกิดกับเจ้า แต่ถ้าเจ้าฆ่าอาหารของเจ้า อาหารที่ตาย จะฆ่าเจ้าด้วย เพราะชีวิตมาจากชีวิตเท่านั้น และ ความตายมาจากความตายเสมอ
และพระเยซูก็กล่าวในรายละเอียดเพิ่มเติม โดยบอกถึงอาหาร ที่ลูกศิษย์ของพระองค์ควรบริโภค เพราะร่างกายของเจ้าคือ สิ่งที่เจ้ารับประทานเข้าไป และจิตวิญญาณของเจ้า คือสิ่งที่เจ้าคิด เพราะฉะนั้น จงตระเตรียมและรับประทานผลไม้ทั้งหลายของต้นไม้ หญ้าทั้งหลายของทุ่งหญ้า และนมทั้งหลายของสัตว์ที่รับประทานได้ เพราะทั้งหมดเหล่านี้ถูกเลี้ยงและทำให้สุกโดยไฟแห่งชีวิต ทั้งหมดคือของขวัญของเทพยดาแห่งพระแม่ธรณี แต่จงอย่ารับประทานเฉพาะสิ่งที่ไฟแห่งความตายให้รสชาติ เพราะสิ่งนั้นเป็นของซาตาน เพราะฉะนั้น จงรับประทานจากโต๊ะของพระเจ้าเสมอ คือผลไม้ของต้นไม้ เมล็ดธัญพืช และหญ้าของทุ่งหญ้า นมของสัตว์ และน้ำผึ้งของผึ้ง เพราะทุกสิ่งที่นอกเหนือจากนี้คือของซาตาน และนำไปสู่บาปและโรคที่นำไปสู่ความตาย แต่อาหารที่เจ้ารับประทานจากโต๊ะที่อุดมสมบูรณ์ของพระเจ้า ให้ความแข็งแรงและความหนุ่มสาวแก่ร่างกายเจ้า และเจ้าจะไม่มีวันมีโรค
ข้อความที่คัดมานี้จากคัมภีร์เอสซีน สนับสนุนการยืน-กรานของท่านอาจารย์ชิงไห่ในตระกูลเอสซีนของพระเยซูและตระกูลแห่งมังสวิรัติว่า พระเยซูเป็นมังสวิรัตินับแต่ประสูติ และแม้กระทั่งเมื่อพระองค์อยู่ในครรภ์ พระเยซูประสูติในครอบครัวมังสวิรัติ เชื้อสายประเพณีมังสวิรัติ เชื้อสายเอสซีน สิ่งนี้ คุณสามารถศึกษาได้ในหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซู คุณควรศึกษาชีวิตของพระเยซูในหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่คัมภีร์คริสต์ ณ ตรงนี้ท่านอาจารย์ถึงกับอ้างอิงถึงเสียงสวรรค์สันติภาพของเอส-ซีน และก็ หนังสืออีกเล่มหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่คัมภีร์คริสต์
สมาธิแสงและเสียง
จากที่เอ่ยข้างต้น ในหนังสือเอสซีน พระเยซูได้เปิดเผยว่า พระองค์เป็นอาจารย์แห่งการทำสมาธิแสงและเสียง ตัวอย่างเช่น ในเสียงสวรรค์สันติภาพของเอสซีน เล่ม 4 - การสอนผู้ที่พระเจ้าทรงเลือก พระเจ้าได้เอ่ยถึงกระแสเสียงภายในดังต่อไปนี้ ฉันขอบอกเจ้าจริงๆว่า มีกระแสแห่งชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งให้กำเนิดแก่พระแม่ธรณีและเหล่าเทพยดาทั้งหลายของท่าน สิ่งที่ตาของบุตรของมนุษย์มองไม่เห็น คือกระแสแห่งชีวิตนี้ แต่บุตรของแสงได้รับความลับของการติดต่อกับเทพยดา และตาของจิตวิญญาณของเจ้าจะเปิดออก แล้วเจ้าจะเห็น และได้ยิน และสัมผัสกระแสแห่งชีวิตที่ให้กำเนิดพระแม่ธรณี และเจ้าจะเข้าสู่กระแสแห่งชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์ และมันจะพาเจ้าด้วยความอ่อนโยนสุดประมาณ ไปยังชีวิตที่เป็นนิรันดร ในอาณาจักรของพระบิดาในสวรรค์ของเจ้า
ในหนังสือเล่มเดียวกัน พระเยซูตรัสถึงความจำเป็นในการเงียบหรืออยู่ในภาวะสมาธิ ก่อนจะมีประสบการณ์ถึงเสียง ในตอนเริ่มต้นของเวลา เราต่างแบ่งปันในกระแสแห่งชีวิตอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ให้กำเนิดแก่ทุกสรรพสิ่ง และเมื่อพระอาทิตย์อยู่สูงในสวรรค์ เจ้าก็ควรปล่อยให้กระแสเสียงอันศักดิ์สิทธิ์เข้าไปในหูของเจ้า เพราะมันจะได้ยินเฉพาะในความเงียบเท่านั้น จงคิดถึงกระแสน้ำที่เกิดในทะเลทรายภายหลังพายุฉับพลัน และเสียงกระหึ่มของน้ำ ขณะที่มันวิ่งผ่านไป จริงๆ สิ่งนี้คือพระสุรเสียงของพระเจ้า เพราะตามที่มันถูกเขียนขึ้นมาว่า ในตอนเริ่มต้นคือเสียง และเสียงอยู่กับพระเจ้า และเสียงคือพระเจ้า มันมีอยู่ในหูของเราเสมอ (แต่) เราไม่ได้ยินมัน จงฟังมัน แล้วในความเงียบของกระแสน้ำขึ้นลงยามเที่ยง จงอาบแช่ในมัน และปล่อยให้จังหวะของดนตรีแห่งพระเจ้า ดังในหูของเจ้า จนกระทั่งเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกับกระแสเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ จนมันอาจพาเจ้าไปสู่อาณาจักรพระบิดาแห่งสวรรค์อันไม่มีที่สิ้นสุด ณ ที่ซึ่งจังหวะของโลกขึ้นและตก
นอกจากนี้ ในการสอนผู้ที่พระเจ้าทรงเลือก พระเยซูสนับสนุนการทำสมาธิแสง ในขณะก่อนที่เจ้าจะนอน เจ้าควรคิดถึงดวงดาวที่สุกสว่างและรุ่งโรจน์ ดวงดาวที่ขาว ส่องแสง มองเห็นแต่ไกล และแทงทะลุไปไกล ขอให้ความคิดก่อนนอนของเจ้า อยู่กับดวงดาว เพราะดวงดาวคือแสง และพระบิดาในสวรรค์คือแสง แม้กระทั่งแสงนั้น ซึ่งสว่างกว่าความสว่างของดวงดาวพันดวงเป็นพันเท่า จงเข้าสู่กระแสแห่งแสงอันศักดิ์สิทธิ์ ที่โซ่ตรวนแห่งความตายไม่อาจแตะต้องได้ตลอดกาล และเป็นอิสระจากพันธนาการของโลก ทะยานขึ้นไป ทะลุผ่านรัศมีที่สว่างโชติช่วงของดวงดาว เข้าสู่อาณา-จักรของพระเจ้าในสวรรค์อันไม่มีที่สิ้นสุด เพราะในตอนต้นของเวลา กฎหมายศักดิ์สิทธิ์กล่าวว่า จงมีแสง และมันคือแสง และเธอจะเป็นหนึ่งเดียวกับมัน และพลังของกระแสแสงอันศักดิ์สิทธิ์ จะเติมเต็มร่างกายทั้งร่างของเจ้า และเจ้าจะสั่นในพลานุภาพของมัน
ท้ายสุด ในการสรุปถึงพลังแห่งแสงและเสียงว่า เป็นแหล่งที่สุดของการหลุดพ้นและการรู้แจ้ง พระเยซูได้บอกลูกศิษย์ของพระองค์ว่า ฉันขอบอกเจ้าตามจริง หูของเจ้าไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อฟังเสียงมนุษย์ เสียงเพลงของนก และเสียงดนตรีของฝนที่ตกลงมาเท่านั้น แต่มันถูกสร้างขึ้นให้ฟังกระแสแห่งเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ด้วย และตาของเจ้าไม่ได้ถูกสร้างขึ้นให้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นและตก เห็นการกระเพื่อมของฟ่อนเมล็ดธัญพืช และเห็นถ้อยคำของม้วนกระดาษอันศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แต่ถูกสร้างขึ้นให้เห็นกระแสแห่งแสงอันศักดิ์สิทธิ์ด้วย จงเข้าสู่กระแสอันศักดิ์สิทธิ์ แม้กระทั่งชีวิตนั้น เสียงนั้น และแสงนั้น ซึ่งให้กำเนิดเจ้า เจ้าอาจจะเข้าถึงอาณาจักรของพระบิดาในสวรรค์ และเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์
การอ่านต้นฉบับเช่น เสียงสวรรค์สันติภาพของเอสซีน เล่ม 1 และ เสียงสวรรค์สันติภาพของเอสซีน เล่ม 4 การสอนผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกการอ่านต้นฉบับเช่น เสียงสวรรค์สันติภาพของเอสซีน เล่ม 1 และ เสียงสวรรค์สันติภาพของเอสซีน เล่ม 4 การสอนผู้ที่พระเจ้าทรงเลือก ซึ่งเสนอข้อคิดเห็นโบราณของพระเยซูเกี่ยวกับแสงและเสียงภายใน และอาหารมังสวิรัติสามารถทำให้ความเชื่อของบุคคลหนึ่งแข็งแกร่งขึ้น ในข่าวสารร่วมสมัยของท่านอาจารย์ชิงไห่ พระอาจารย์ทั้งสองได้เปิดเผยว่า การทำสมาธิแสงและเสียง (ธรรมวิถีกวนอิม) และมังสวิรัติ เป็นหนทางอันแท้จริงสู่การหลุดพ้นและการเข้าสู่อาณาจักรของสวรรค์ ในทางกลับกัน คำสอนของพระเยซูและอาจารย์ชิงไห่ เป็นข่าวสารนิรันดรแห่งสัจธรรม
ธรรม ซึ่งประกาศโดยศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายตลอดทุกยุคทุกสมัย ตามที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า ในอีกนัยหนึ่ง พระเยซูไม่เคยตาย พระเยซูทำงานผ่านอาจารย์ทั้งหลายตลอดทุกศตวรรษ ตลอดทุกยุคทุกสมัย เพื่อทำให้เราผู้โง่เขลา ผู้ซึ่งยังถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ได้หลุดพ้นและรู้แจ้ง
Be Veg, Go Green 2 Save The Planet
www.godsdirectcontact-thai.org
www.suprememastertv.com
4 ตุลาคม 2556 23:03 น.
คีตากะ
ปราศรัยโดยท่านอนุตราจารย์ชิงไห่
ศูนย์ไหลยี่ ฟอร์โมซา 13 มกราคม 1993 (ต้นฉบับเป็นภาษาจีน)
หนังสือเล่มนี้เป็นบทกวีของอินเดียตะวันออกที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ คาบีร์เป็นนักเขียนที่มีชื่อในอินเดีย ท่านเป็นอาจารย์ผู้รู้แจ้งซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 500 ถึง 600 ปี มาแล้ว ท่านไม่ใช่คนร่ำรวย มีอาชีพเป็นเพียงคนซ่อมรองเท้า แต่ถึงแม้ว่าท่านจะมีเงินน้อยท่านก็เป็นคนที่ใจกว้าง บ่อยครั้งที่ท่านมีแขกมาเยี่ยมท่านก็จะให้ภรรยาไปยืมเงินหรือไปซื้ออาหารด้วยเงินเชื่อเอามาเลี้ยงพวกแขกเหล่านั้น
ฉันจะอ่านบทกวีของท่านให้เธอฟังสักสองสามบท เป็นบทกวีหรือวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการบำเพ็ญทางจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมวิถีกวนอิมจะเข้าใจได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะเป็นบทกวีโบราณหรือร่วมสมัยก็ตามล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน บทกวีของคาบีร์มีชื่อเสียงมากในหมู่ประชาชน และท่านก็ยังเป็นที่รู้จักกันดีจนถึงทุกวันนี้ ชาวอินเดียตะวันออกทุกคนรู้จักนามของท่าน งานสร้างสรรค์ทางวรรณศิลป์ของท่านมีเนื้อหาที่เสียดสี และโคลงที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณของท่านก็เขียนไว้อย่างไพเราะยิ่ง
ฉันจำบทกวีสั้นๆ ของท่านได้ ซึ่งเป็นบทที่เสียดสีได้ดีจริงๆ ในบทกวีท่านเขียนเย้ยหยันพวกปลอมซึ่งเป็นผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณที่ไม่ได้เรื่อง และพวกนี้ได้เป็นลมเมื่อได้ยินถ้อยคำของท่านคาบีร์ บางทีท่านอาจะมี จงอยปาก ที่แหลมอย่างนี้ (เสียงหัวเราะ) ท่านได้ทิ้งคำสอน บทกวีและบทความไว้จำนวนมาก แต่ไม่มีรูปถ่ายสักรูปเดียว ดังนั้นจึงไม่มีใครรู้ว่าท่านหน้าตาอย่างไร แต่ฉันไม่สงสัยหรอกว่าท่านจะต้องมีลิ้นที่คมมาก! (อาจารย์หัวเราะ)
หนึ่งในคำวิจารณ์ของท่าน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้บำเพ็ญที่เพียงแต่ย้อมสีจีวรเท่านั้น แต่ไม่ได้ย้อมหัวใจด้วย ผู้บำเพ็ญในอินเดียสวมจีวรสีแดงหรือสีส้มซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาและความรักแห่งจักรวาล ท่านคาบีร์ได้ให้ข้อสังเกตว่าเขาเหล่านั้นเพียงแต่ย้อมเครื่องนุ่งห่ม แต่หัวใจไม่ได้ย้อมด้วยสีแห่งความรัก พวกเขาเดินห่างออกจากพระเจ้าและไปบูชาก้อนหินแทน ในอินเดียผู้คนชอบบูชาก้อนหินเพราะขี้เกียจไปแกะสลักมัน (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ) พวกเขาไว้ผมยาวรุงรังและไว้เครายาวเหมือนแพะ แบ๊ะ แบ๊ะ... (อาจารย์เลียนเสียงแพะ) เขาทิ้งคนที่รักและครอบครัว แล้วก็เปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นขันที (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ)
นี่คือวิธีการที่ท่านคาบีร์เย้ยเยาะพวกเขา บทกวีต้นฉบับของท่านที่เป็นภาษาฮินดูและที่แปลเป็นภาษาอังกฤษอ่านแล้วขำมาก สำนวนแปลเป็นภาษาจีนของฉันอาจไม่ดีนัก แต่พวกเธอก็หัวเราะลั่นกันแล้ว ถ้าเราได้อ่านต้นฉบับ เราคงจะหัวเราะลงไปกลิ้งอยู่บนพื้นแล้วล่ะ (ผู้ฟังหัวเราะ) หมอคงจะต้องให้ยาลดกรดโดยเร็ว
นี่ก็คืออุปนิสัยของท่านคาบีร์ ท่านคาบีร์ชอบเขียนถ้อยคำที่เสียดสีแบบนี้และผู้บำเพ็ญในสมัยนั้นก็กลัวท่านมาก ถึงแม้ว่าท่านจะยากจนแต่ท่านก็ไม่ยอมรับบริจาค และผู้คนก็เคารพยกย่องท่านอย่างยิ่ง เมื่อพวกที่เรียกตัวเองว่าผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณมาเยี่ยมเยียนท่าน แน่นอนท่านก็ดูแลต้อนรับเขาอย่างดี ท่านถึงขนาดขายภรรยาเพื่อจะเอามาเลี้ยงเพื่อน เพื่อนบ้านสะเทือนใจในการกระทำของท่านมากจึงให้อาหารแก่ท่านโดยไม่รับเงินหรือรับภรรยาของท่าน
ในบทกวีของท่านคาบีร์มีบทที่ไพเราะจำนวนมากเกี่ยวกับธรรมวิถีกวนอิม ฉันจะอ่านให้เธอฟังสักบทหนึ่ง เป็นบทกวีชื่อ มองเข้าสู่ภายใน
มองเข้าสู่ภายใน
ชะมดตัวหนึ่งเดินทางค้นหาเข้าไปในป่า
เพื่อจะหากลิ่นที่หอมหวนยวนใจ
แต่ตลอดเวลาที่ค้นหา มันไม่เคยรู้
กลิ่นชะมดกำลังพัดโชย โดยธรรมชาติของมัน
พระเจ้าก็เช่นกัน อยู่ภายในทุกคน
แต่เราก็แสวงหาท่านจากภายนอก
เราแสวงหาและมีชีวิตอยู่โดยมองไม่เห็นท่าน
ความไร้ขอบเขต มิถูกจำกัดโดยขอบเขตใด
ท่านปรากฏอยู่ทั่วทุกหนแห่ง
สำหรับคนที่รู้จักพระเจ้า พระเจ้าก็อยู่แค่เอื้อม
ท่านจะยืนอยู่ใกล้พวกเขาเสมอ
สำหรับคนที่ยืนกรานว่าพระเจ้าจะต้องอยู่ไกล
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพระองค์ยืนไกลจากพวกเขา
ฉันเองก็เคยเชื่อว่าพระเ จ้าอยู่ไกล
แต่เดี๋ยวนี้ ฉันรู้ว่าพระเจ้าอยู่ข้างในทุกคน
สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองแท้จริงคือใคร
แม้พระเจ้าจะอยู่ใกล้ แต่ก็ไกลทีเดียวสำหรับเขา
พวกเขาละทิ้งท้องทุ่งที่ได้ปราบไถไว้
แล้วไปชุมนุมกันที่วัดเพื่อกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
แต่พระเจ้าก็สถิตย์อยู่ภายในหัวใจของเธอ
จงเข้าไปในวิหารของท่านและอย่าได้จากไป
ในบทกวีนี้คาบีร์ได้พูดถึงชะมดตัวหนึ่ง ที่เดินทางแสวงหาแหล่งที่มาของกลิ่นหอมจากภูเขาและป่า มันถูกดึงดูดด้วยกลิ่นหอม แต่ก็ไม่ตระหนักว่ากลิ่นนั้นมาจากตัวเอง เฉกเช่นเดียวกัน พระเจ้าอยู่ภายในตัวเราอยู่ภายในสรรพสัตว์ทุกชีวิต แต่เราก็มักจะมองออกไปภายนอก เพราะฉะนั้นเราจึงหาพระเจ้าไม่พบ ความรักอันไร้ขอบเขตนี้มิ อาจถูกกักขังไว้ภายในขอบเขตอันจำกัด มันมีอยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง สำหรับคนที่รู้พระเจ้าก็จะอยู่ใกล้ เราสามารถที่จะรู้จักท่าน เห็นท่าน และรู้สึกได้ถึงการปรากฏของท่านเสมอ สำหรับคนที่ยืนกรานว่าพระเจ้าอยู่สูงและเอื้อมไม่ถึง พระเจ้าก็จะไม่เข้ามาใกล้ ดังนั้น แน่นอนพวกเขาก็จะอยู่ไกลจากพระเจ้า เพราะว่าเขาไม่เข้าใจมาตั้งแต่ต้นแล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่พระเจ้าจะเข้ามาใกล้พวกเขา
ท่านคาบีร์ยอมรับว่าท่านเคยคิดว่าพระเจ้าอยู่ไกลมาก แต่ต่อมาท่านก็ตระหนักว่าพระเจ้าอยู่ในหัวใจของทุกๆ คน สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใครเขาก็จะไกลจากพระเจ้า แม้ว่าพระเจ้าจะอยู่ใกล้มากก็ตาม ผู้คนต่างออกจากหมู่บ้าน ละทิ้งงานของตนและไปวัดเพื่อจะบูชาพระเจ้าและกระทำพิธีกรรมต่างๆ พวกเขามิได้ตระหนักว่าพระเจ้าสถิตย์อยู่ภายในหัวใจของตน เราจึงควรเข้าไปในวิหารภายในตนเองและอยู่ที่นั่น ท่านคาบีร์หมายความว่าวิหารภายในเท่านั้น เป็นวิหารที่มีประโยชน์ที่สุด พวกเธอคงเข้าใจดีนะ ! (ผู้ฟังปรบมือ)
ฉันได้พบบทกวีหลายบทที่กล่าวถึงแสงและเสียง แต่คนที่ไม่ได้บำเพ็ญธรรมวิถีกวนอิมย่อมไม่เข้าใจ
นี่คือบทกวีอีกบทหนึ่ง ชื่อ วัจนะ(The word) วัจนะ หมายถึง เสียง ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิลว่า: เมื่อเริ่มต้นก็มีวัจนะ, และวัจนะอยู่ในพระเจ้า
แสงและเสียง (Light and sound)
ภายในเธอนั้น มีดนตรีบรรเลงอยู่มิหยุดหย่อน
หาได้สะเทือนสะท้อนจากเส้นสายสังคีตใด
คาบีร์จะบอกให้ ว่าดนตรีนั้นไซร้คือพระวัจนะ
ที่กระจายกระจะ กระจ่างโสตแห่งทุกผู้คน
เสียงดนตรีจากเบื้องบน มาปลดปล่อยผู้แสวงหา
แล้วอุ้งมือแห่งมายา ก็มิอาจมาฉุดคร่าอีกต่อไป
พระวัจนะนั้นยิ่งใหญ่ มิใช่ถ้อยธรรมดาสามัญ
โดยพลังแห่งวัจนะนั้น พันธนาการทุกสิ่งสรรพ์ก็สลายไป
พระวัจนะปลอบประโลมใจ ละลายปวงปรารถนา
ดับเปลวประกายกล้า แห่งไฟกิเลสในโลกนี้
อันถ้อยธรรมดาทุกวาที มีแต่ให้ความทุกข์
มิอาจสร้างสันติสุข หรือสัจธรรมแก่ใคร
แต่คุณค่าพระวัจนะไซร้ สมบัติใดมิเทียมทัน
เหล่าสาวกเท่านั้นที่ล่วงรู้ความจริง
ทับทิมและเพชรพลอยทุกสิ่ง อาจแลเห็นได้ง่ายดาย
แต่มิอาจซื้อหรือขาย พระนามแห่งพระเจ้า
ในโลกอันโศกเศร้า เราเฝ้าแต่หลั่งน้ำตา
ในโลกแห่งความกรุณา เราเฝ้าแต่ถอนใจ
แต่ผู้จักพระวัจนะไซร้ คือผู้หนึ่งเท่านั้น
ที่จะครวญคร่ำรำพัน เป็นเพื่อนใจ
พระวัจนะจึงยิ่งใหญ่ ทรงมหิทธา
อาจบันดาลให้กษัตรา ออกบรรพชาสละราชบัลลังก์
ผู้ใดหยุดคิดและจิตหวัง ใคร่จะรู้นัยยะ
ความหมายแห่งพระวัจนะ เขาคือผู้โชคดีมหาศาล
ความมืดอนธกาล ดำเนินไปโดยไร้พระวัจนะ
เธอจะเดินเปะปะไปที่ใด หากไร้เสียงมานำทาง
กว่าจะได้พบประตูกว้าง แห่งพระวัจนะนั้น
เขาก็เดินด้นดั้น ชั่วนิรันดร์ไร้จุดหมายใดใด
ในโลกนี้มีแต่ความสงสัย เข้าครอบงำดูคลุมเครือ
ผู้ชนะเป็นนายเหนือ นั้นหายากยิ่งนัก
วิถีธรรมที่นำชัก ออกจากความงงงัน
เรียนรู้พระวัจนะนั้น คือวิถีแท้แต่ทางเดียว
ผู้ชนะนั้น ได้สร้างปราสาทพิลาสพิไล
ออกแบบพิเศษไว้ เพื่อจิตวิญญาณเจริญงาม
เพียงคนรักชำเลืองแลตาม ก็สูงส่ง
คือลำแสงแรงตรง ส่งมาจากพระเบื้องบน
ราตรีที่มืดมน จะสิ้นสลายหายไป
เมื่ออาทิตย์อุทัย ไขแสงเพิ่มมาเริ่มวัน
เช่นเดียวกับแสงนั้น เมื่อส่องฉาย ณ ดวงใจ
ความงุนงงสงสัย ก็หายไปทุกประการ
บทกวีนี้ท่านคาบีร์ได้กล่าวสรรเสริญเสียงภายใน ท่านกล่าวว่า ดนตรี บรรเลงอยู่ตลอดภายในเรา แต่ไม่มีเครื่องดนตรีที่บรรเลง พวกเราทุกคนก็รู้จักดี !(ทุกคนหัวเราะอย่างรู้ดี) ท่านคาบีร์ยังกล่าวต่อไปว่า เสียงดนตรีนี้สร้างจาก พระวัจนะ เสียง -- แรงสั่นสะเทือนนี้ละเอียดเบามาก และมีไว้ให้ทุกคนได้ยิน เมื่อใดผุ้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณได้ยิน ก็จะอยู่เหนืออุ้งมือของเจ้าแห่งมายา แล้วก็จะหลุดพ้นและเป็นอิสระ
คนสมัยก่อนมีการพูดถึงอย่างเชื่อมั่นในธรรมวิถีกวนอิม พระวัจนะ ที่ท่านคาบีร์กล่าวถึง ก็คล้ายคลึงกับ นาม ในบันทึกของ เหลาชี เกี่ยวกับ นาม ซึ่งมิอาจเอ่ยนาม ซึ่งหมายถึง เสียง เช่นเดียวกับที่กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิล ฉะนั้น ท่านคาบีร์ จึงระบุว่าสิ่งนี้มิใช่ถ้อยคำธรรมดาหรือเสียงทั่วไป ด้วยพลังแห่งเสียงนี้ โซ่ตรวนที่พันธนาการเราไว้กับวัฏจักรของการเกิดและการตายจะถูกทำลายลง ความปรารถนาทางโลก เปลวไฟแห่งกิเลสและอารมณ์จะดับได้หมดสิ้น เมื่อได้พบ พระวัจนะ หรือ เสียง นี้ สิ่งเหล่านั้นจะต้องตกลงมาตาย! (คนฟังหัวเราะ)
เรื่องนี้ใม่รวมถึงเสียงทางโลก หรือภาษามนุษย์ ที่มีแต่จะนำความทุกข์มาสู่เรา ฉะนั้น คาบีร์ต้องการให้เราแยกแยะเสียงนี้ออกจากเสียงทั่วไป ไม่ว่าเสียงดนตรีหรือภาษา ท่านผู้เขียนพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายเรื่องนี้ ซึ่งทำให้ท่านบ่นมากเหลือเกิน (อาจารย์หัวเราะ) ท่านเป็นห่วงว่าเราอาจจะไม่เข้าใจท่าน เพราะฉะนั้นท่านจึงอธิบายให้เราฟังเสียยืดยาว (อาจารย์หัวเราะ) เราเข้าใจใช่ไหม (ผู้ฟังตอบ ใช่) พูดกัน 1-2 ประโยคก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องพูดมากขนาดนั้น (ผู้ฟังปรบมือ)
เป็นเรื่องยากที่จะพูดเรื่องนี้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ดังนั้น คาบีร์จึงพูดแล้วพูดอีก เพื่อจะให้ชัดเจนว่าสิ่งนี้มิใช่เสียงหรือถ้อยคำธรรมดา การฟังเสียง หรือที่เรียกว่าถ้อยคำ หรือนาม ในทางโลกนั้นเราจะมิอาจหาความสงบภายใน หรือความเยือกเย็นทางอารมณ์ได้เลย อย่างที่ท่านกล่าวว่า ไม่มีทรัพย์สมบัติใดจะเทียบได้กับเสียงที่ประมาณค่ามิได้นี้ มีเพียงผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณที่แท้จริงเท่านั้นที่จะเข้าใจความจริงข้อนี้ คำอื่นๆ อาจจะสงสัยว่า ก็มันเป็นแค่ถ้อยคำหรือเสียงเท่านั้น ทำไมถึงจะมีค่ายิ่งกว่าความร่ำรวย? ดังนั้น ท่านคาบีร์จึงกล่าว่า : เฉพาะผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณอย่างแท้จริงเท่านั้นที่จะเข้าใจความหมายอย่างแท้จริง ทับทิม ไพลิน หรืออัญมณีใดๆ ก็อาจจะหาได้ แต่พระนามแห่งพระเจ้านั้น ยากที่จะหาหรือซื้อจากที่ใด
สำหรับโลกอันทุกข์ยากนี้ เธอจะเห็นฉันหลั่งน้ำตาด้วยความสงสารในโลกอันเสื่อมทรามนี้ เธอจะเห็นฉันอารมณ์เสีย อย่างไรก็ตาม เฉพาะผู้ที่รู้จักพระวัจนะหรือเสียงนี้เท่านั้น ที่จะร้องไห้กับฉัน คนอื่นทั้งโลกเขามีความสุขมาก (อาจารย์หัวเราะ) มีแต่เราที่ร้องไห้ พวกเขาไม่รู้หรอกว่าทำไมเราร้องไห้! เฉพาะผู้บำเพ็ญธรรมวิถีกวนอิมจึงรู้ และร้องไห้ด้วยสาเหตุเดียวกัน
วัจนะหรือเสียงนี้มีพลังมาก จนกระทั่งทำให้พระราชาสามารถสละราชสมบัติและออกไปพักผ่อนได้ (ผู้ฟังหัวเราะ) แถวนี้มีพระราชาอยู่หรือเปล่า? (ผู้ฟังหัวเราะ) เราก็คือพระราชาในพระราชวังของเราเอง (ผู้ฟังหัวเราะ) ในบ้านของเราเอง ถ้าไม่มีอะไรนอกจากหมูป่าอยู่บนภูเขาละก็ ฉันก็จะได้เป็น เจ้าแห่งภูเขา (ผู้ฟังหัวเราะ)
ใครก็ตามที่สามารถพบความสงบในจิตใจ และพบวัจนะหรือเสียงนี้ นับเป็นคนที่โชคดีและได้รับพระพรมากที่สุดในโลก ถ้าเธอไม่เคยได้ยินวัจนะหรือเสียงนี้ ไม่ว่าเธอจะไปที่ไหน โลกก็จะมืดมิดรอบตัวเธอ คนที่ไม่ได้พบประตูไปสู่เสียง -- ซึ่งก็คือธรรมวิถีกวนอิม -- จะอยู่ในสภาพวิญญาณเร่รอนโดยไม่มีบ้านจะผ่อนพัก
ความสงสัยและความไม่มั่นคงได้พัฒนาขึ้นจนยึดครองได้ทั่วโลก จิตวิญญาณบางดวงอาจยกขึ้นสูงกว่าสิ่งแวดล้อมดังกล่าวของโลก ซึ่งหมายถึงว่าบางคนสามารถพาตัวเองให้เป็นอิสระได้ ผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นที่มีชีวิตอยู่อย่างอิสระเสรี และสุขสบายในโลกนี้ การบำเพ็ญธรรมวิถีกวนอิมเป็นวิธีเดียวที่สามารถผ่านพ้นบรรยากาศของโลกที่ยุ่งเหยิงและอึกทึกได้ สิ่งที่คาบีร์หมายถึงนั้นก็คือว่า การยุติปัญหามีวิธีเดียวคือต้องหาหนทางที่ผู้บำเพ็ญสดับฟังเสียง และนี่คือหนทางเดียวที่จะหลุดพ้น บทกวีของท่านบทนี้เขียนไว้ว่า หนทางเดียวเท่านั้น
บางคนยังคงไม่เชื่อว่าธรรมวิถีกวนอิมเป็นหนทางเดียว (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ) พวกเขาจะต้องจุดติมาเกิดเป็นลูกน้องของมายา (คนฟังหัวเราะ) พวกเขากำลังพูดถ้อยคำของมายา (อาจารย์หัวเราะ) คัมภีร์ศาสนาต่างๆ ล้วนกล่าวถึงเรื่องเดียวกัน ศาสนาพุทธ ซิกข์ ฮินดู และคาธอลิก ล้วนพูดถึงวัจนะนี้ นามนี้ เสียงนี้ เมื่อใดที่เรารู้แจ้งโดยการบำเพ็ญธรรมวิถีกวนอิม ทุกอย่างก็จะชัดเจนสำหรับเรา
เราจะสามารถเข้าใจนิทานของเซ็นได้ง่ายๆ ด้วย มีเรื่องพระรูปหนึ่งขณะที่กำลังไถนา ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงระฆังดังกังวานขึ้น พระรูปนั้นดีใจมากจนหยุดไถนา (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ)
ยังมีคำกล่าวอีกว่า วิญญาณในนรกสามารถเป็นอิสระได้ ถ้าได้ยินเสียงระฆังดังกังวาน เมื่อผู้ตายได้ยินเสียงกังวาน หรือเสียงกร๋งกริ๋งของระฆังก็จะเป็นอิสระแน่นอน นี่คือเหตุผลที่พระตีระฆังอยู่ตลอดเวลา (ผู้ฟังหัวเราะ) บนศีรษะของผู้ตาย ก็เพื่อจะปลดปล่อยเขา (อาจารย์หัวเราะ) แต่โชคร้าย เขาใช้วิธีการผูกเชือกแทน เขาผูกเชือกแล้วก็ลากไป (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ) หนักเกินกว่าจะเคลื่อนไปได้ พวกเขาต้องผูกลากตัวเองจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง จากโลกมนุษย์ไปนรก และจากนรกไปสู่วัฏจักรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด นี่คือเงื่อนที่ผูกลาก ไม่ใช่การหลุดพ้น!
คาบีร์ยังได้กล่าวไว้ในบทกวีอีกว่า อาจารย์ผู้รู้แจ้งได้สร้างสวรรค์ไว้เป็นคฤหาสน์โดยเฉพาะสำหรับผุ้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณ หากเราอยากดูลักษณะของบ้านทางจิตวิญญาณนี้ พระเจ้าได้ให้แสงแก่เราด้วย คาบีร์บอกว่าเหมือนกับแสงจากไฟฉาย ฉะนั้น เราจึงมองขึ้นไปข้างบนได้ (อาจารย์หัวเราะ) เนื่องจากมันไกลมากเราจึงต้องการไฟฉายที่ใหญ่ขึ้นเพื่อส่องจากที่นี่ไปที่นั่น เหมือนกับพระอาทิตย์ที่ขึ้นมาขับไล่ความมืดของกลางคืน
ในทำนองเดียวกันเมือแสงเข้ามาสู่วิญญาณของเรา ความสงสัยและความเชื่อที่ผิดๆ ก็จะอันตรธานไปหมด! นี่คือความหมายที่คาบีร์กล่าวถึง (ผู้ฟังปรบมือ) ท่านควรค่าแก่การปรบมือให้ ถ้อยคำของท่านไพเราะจริงๆ
Be Veg, Go Green 2 Save The Planet
www.godsdirectcontact-thai.org
www.suprememastertv.com
4 ตุลาคม 2556 23:03 น.
คีตากะ
มนุษย์คือที่รักของฉันและฉันเป็นที่รักของเขา ฉันต้องการเขาและเขาก็ปรารถนาฉัน
ฉันโศกเศร้าเสียใจเพราะว่าในความรักที่ฉันมีต่อเขานั้นได้มีผู้เข้ามาแทรกแซงซึ่งทำให้ฉันเดือดร้อนและเขาต้องทรมาน หล่อนผู้นั้นคือหญิงผู้โหดร้ายซึ่งมีนามว่าวัตถุ ไม่ว่าเราจะไปที่ไหน หล่อนก็จะตามไปด้วยเหมือนเป็นผู้ปกครองซึ่งคอยพรากเราเสียจากกัน
ฉันเสาะหาที่รักของฉันตามป่าดงพงไพร ใต้ต้นไม้และข้างธารน้ำแต่ฉันหาพบเขาไม่ เพราะวัตถุได้จูงเขาให้เขวไปและพาเขาเข้าไปในเมืองกับหล่อน-เมืองอันเต็มไปด้วยฝูงชน ความคดโกงและชั่วร้าย
ฉันเสาะหาเขาตามสถานศึกษาและในโบสถ์วิหารแห่งปัญญา แต่ฉันก็ไม่พบเขา เพราะวัตถุผู้สวมเสื้อผ้าแห่งโลกีย์ได้นำเขาไปในสถานแห่งความเห็นแก่ตนอันมีกำแพงล้อมรอบอยู่ และเป็นที่อยู่ของบรรดาผู้ซึ่งวุ่นวายอยู่กับสิ่งไร้สาระ
ฉันเสาะหาเขาตามท้องทุ่งแห่งความพึงพอใจแต่หาพบเขาไม่ เพราะศัตรูของฉันได้กักขังเขาไว้ในถ้ำแห่งความโลภและจะกละ
ฉันเรียกหาเขาในยามรุ่งสางแต่เขาก็ไม่ได้ยิน เพราะนัยน์ตาของเขาหนักอึ้งไปด้วยความตระหนี่จนจะหลับอยู่แล้ว
ฉันกอดรัดเขาในยามค่ำเมื่อความเงียบเข้าครอบครองและมวลดอกไม้กำลังหลับ แต่เขาก็ไม่แยแสต่อฉันเลยเพราะความรักในสิ่งต่างๆ ของวันพรุ่งได้ชักจูงจิตใจของเขาให้เขวไป
ที่รักของฉันนั้นรักฉัน เขาเสาะหาฉันในการกระทำต่างๆ ของเขาแต่เขาไม่อาจจะพบฉันได้นอกจากในการกระทำของพระผู้เป็นเจ้า
เขาแสวงหาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฉันในปราสาทอันรุ่งโรจน์ซึ่งสร้างไว้บนกะโหลกศีรษะของผู้อ่อนแอและท่ามกลางเงินและทอง
แต่ฉันจะไม่มีอยู่สำหรับเขานอกจากในบ้านซึ่งเรียบง่าย ซึ่งเหล่าเทพได้สร้างไว้บนลำธารแห่งความรัก
เขาใคร่จะโอบกอดฉันต่อหน้าฆาตรกรและผู้กดขี่ แต่ฉันจะไม่ยอมให้เขาจุมพิตที่ปากของฉันนอกจากในความวิเวกท่ามกลางดงดอกไม้บริสุทธิ์
เขาต้องการให้ความหลอกลวงเป็นสื่อเชื่อมเขาไว้กับฉัน แต่ฉันจะไม่แสวงหาสื่ออันใดนอกจากการกระทำที่ไร้ความชั่ว
ที่รักของฉันได้รู้จักความอึกทึกวุ่นวายจากคู่ปรปักษ์ของฉันคือวัตถุแต่ฉันจะสอนให้เขารู้จักหลั่งน้ำตาแห่งการวิงวอนจากดวงตาแห่งดวงจิตของเขาและรู้จักถอนหายใจด้วยเสียงถอนหายใจแห่งความพอใจด้วย
ที่รักของฉันเป็นของฉันและฉันก็เป็นของเขา
คาลิล ยิบราน
Be Veg, Go Green 2 Save The Planet
www.godsdirectcontact-thai.org
www.suprememastertv.com
4 ตุลาคม 2556 23:04 น.
คีตากะ
ท่านเว่ยหล่าง (พุทธทาสภุกขุแปล)
วันต่อมา ข้าหลวงไว่ ได้นิมนต์ขอให้พระสังฆปริณายกแสดงธรรมอีก เมื่อพระสังฆปริณายกได้ขึ้นธรรมาสน์ และได้ขอร้องให้ที่ประชุมทั้งสิ้นทำจิตให้ผ่องใส และสวดข้อความแห่งมหาปรัชญาปารมิตาสูตรดังๆ พร้อมกันจบลงแล้ว ท่านได้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, ปัญญาที่ทำสัตว์ให้ลุถึงการตรัสรู้นั้นมีอยู่ในตัวเราทุกๆ คนแล้ว. แต่เป็นเพราะมีอวิชชาความมืดบอดที่ครอบงำใจของเราไว้ เราจึงไม่มองเห็นมันด้วยตนเอง จนเราต้องเที่ยวเสาะแสวงคำแนะนำตักเตือนจากผู้อื่น ที่เขาได้เห็นแจ้งแล้วก่อนหน้าที่เราจะรู้จัก จิตเดิมแท้ ของเราเอง. ท่านทั้งหลายควรจะทราบเอาไว้ว่า ถ้าธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ยังถูกห่อหุ้มเกี่ยวพันอยู่เพียงใดแล้ว มันไม่มีความแตกต่างอะไรกันระหว่างผู้ที่เห็นแจ้งกับผู้ที่มืดบอด. ข้อที่แตกต่างกันนั้นมันอยู่ที่คนหนึ่งได้ตรัสรู้แจ่มแจ้ง (เพราะพุทธภาวะอันเกี่ยวกับผู้นั้นถูกเพิกถอนเครื่องห่อหุ้มได้หมดจดแล้ว) ส่วนอีกคนหนึ่งยังมืดมิดอยู่. เอาละ, บัดนี้อาตมาจะได้กล่าวถึงเรื่อง มหาปรัชญาปารมิตากะท่านทั้งหลาย เพราะท่านทุกๆ คนสามารถบรรลุถึงปัญญาอันนั้น.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, บรรดาพวกคนที่สวดร้องถึงคำว่า “ปรัชญาๆ”(๑) อยู่ตลอดทั้งๆ วัน ก็ดูเหมือนว่าเขาเหล่านั้นไม่ได้ทราบเลยว่าปรัชญานั้นมันมีอยู่ในธรรมชาติเดิมของเขาเองแล้ว. ก็การที่เพียงแต่พูดกันถึงอาหาร ย่อมไม่อาจบำบัดความหิวได้ฉันใด ในกรณีของบุคคลผู้เอ่ยถึงปรัชญาแต่ปาก ก็ไม่อาจขจัดความมืดบอดได้ฉันนั้น. เราอาจพูดกันถึงเรื่อง ศูนยตา (ความว่าง) เป็นเวลาตั้งแสนกัลป์ก็ได้ แต่ว่าลำพังการพูดอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เราเห็นแจ่มแจ้งในจิตเดิมแท้ได้, และในที่สุดก็ไม่ได้อะไร ตามที่ตนประสงค์เลย
คำว่า “มหา ปรัชญาปารมิตา” นี้ เป็นคำสันสกฤต, มีความหมายว่า “ปัญญาอันใหญ่หลวง เพื่อให้ลุถึงฝั่งฟากโน้น (แห่งทะเลสังสารวัฏ). สิ่งที่เราต้องทำนั้น คือต้องปฏิบัติมันด้วยใจของเรา จะท่องบ่นมันหรือไม่นั้นไม่ใช่ข้อสำคัญ. การท่องมันเฉยๆ โดยปราศจากการปฏิบัติด้วยใจนั้นจะได้ผลเหมือนกะเราไปเล่นกับอสุรกาย, หรือเหมือนกับการพรางตาของพวกเล่นกลด้วยเวทมนต์, เหมือนกับสายฟ้าแลบ, เหมือนกับหยาดน้ำค้างตามใบหญ้า. แต่อีกทางหนึ่งนั้น ถ้าเราทำทั้งสองอย่าง (คือทั้งท่องบ่นและปฏิบัติด้วยใจ) แล้วใจของเราก็จะประเสริฐสมคล้อยกับสิ่งที่ปากของเรากำลังท่อง. ธรรมชาติแท้ของเรานั้น คือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ, และนอกไปจากธรรมชาติอันนี้แล้ว หามีพุทธะที่ไหนอีกไม่เลย.
คำว่า “มหา” หมายความอะไร. หมายความว่า “ใหญ่หลวง”. ขนาดของใจนั้นใหญ่หลวงเหมือนกันกับของอวกาศ,(๒) มันเป็นสิ่งบัญญัติไม่ได้ คือมันไม่ใช่ของกลมหรือของเป็นเหลี่ยม, ไม่ใช่ของโตหรือของเล็ก, ไม่ใช่ของเขียวหรือเหลือง แดงหรือขาว, ไม่ใช่ของซึ่งมีบนมีล่าง, ไม่ใช่ของสั้นหรือยาว ไม่ใช่ความชังหรือความชื่น, ไม่ใช่ความถูกหรือความผิด, ไม่ใช่ของดีหรือของชั่ว, ไม่ใช่ของอันแรกหรือของอันสุดท้าย. พุทธเกษตร (คือขอบเขตของพุทธะหนึ่งๆ) ทุกๆ เกษตรนั้น ว่างเหมือนกันกับอวกาศ, อย่างที่จะเป็นอื่นไปไม่ได้เลย, แม้ธรรมชาติ (แห่งความเป็นพุทธะ) อันประเสริฐของเรา ก็ว่างเช่นเดียวกัน และไม่ใช่เป็นภูมิธรรมอันเดียวเรื่องเดียวนี้เท่านั้น ที่เราลุถึงด้วยการตรัสรู้ (เพราะว่าธรรมชาติอันนั้น) มันเป็นของสิ่งเดียวกันกับจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นภาวะแห่ง “ความว่างเด็ดขาด.” (กล่าวคือความว่างของสิ่งซึ่งมีอยู่แท้ๆ)
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, เมื่อท่านทั้งหลายได้ฟังอาตมากล่าวถึงความว่างอันนั้น ขอท่านทั้งหลายอย่าเข้าใจดิ่งไปจับเอาลัทธิที่ว่าขาดสูญไม่มีอะไรขึ้นมาว่าเป็นอันเดียวกัน, (เพราะว่าความเห็นว่า ขาดสูญเช่นนั้นรวมอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ พวกอุจเฉททิฏฐิ). มันเป็นสิ่งสำคัญอย่างที่สุด ที่เราจะต้องไม่ตกดิ่งลงไปในมิจฉาทิฏฐิอันนี้ เพราะว่าเมื่อคนเรานั่งอยู่เงียบๆ ทำใจของเขาให้ว่างๆ เขาก็จะตั้งอยู่ในภาวะแห่ง “ความว่างเพราะว่างเฉย” ได้เหมือนกัน.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, ความว่างอันไม่มีขอบเขตจำกัดของสากลจักรวาล เป็นสิ่งที่มีความจุมากพอที่จะรวมเอาสิ่งต่างๆ ตั้งแสนๆ สิ่ง ซึ่งมีรูปและสัณฐานแปลกๆ กันเข้าไว้ในตัวมันได้ สิ่งเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวทั้งหลาย ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน น้ำพุ ลำธาร พุ่มไม้ ป่าไม้ คนดี คนชั่ว ธรรมะฝ่ายดี ธรรมะฝ่ายชั่ว เมืองสวรรค์ เมืองนรก มหาสมุทร ภูเขาทั้งหลายในเทือกเขามหาเมรุ (หิมาลัย). อวกาศนั้น ซึมเข้าไปมีอยู่ทั่วในสิ่งต่างๆ ที่กล่าวนามมาแล้วทั้งหมดนี้ และ “ความว่าง” แห่งธรรมชาติแท้ของเรา ก็เข้าไปมีอยู่ในสิ่งต่างๆ อย่างเดียวกัน. เรากล่าว จิตเดิมแท้ ว่าเป็นของใหญ่หลวง ก็เพราะว่ามันรวมสิ่งต่างๆ เข้าไว้หมด โดยที่สิ่งทุกสิ่งนั้นมันอยู่ในตัวธรรมชาติแท้ของเรา. เมื่อเราพบเห็นความดี หรือความชั่วก็ตามของบุคคลอื่น เราไม่ถูกดึงดูดให้ชอบ หรือไม่ถูกมันผลักดันให้ชัง หรือเราไม่เกาะเกี่ยวกับมัน เมื่อนั้นลักษณะแห่งจิตใจของเราเป็นของว่างเท่ากันกับอวกาศ. ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ใจของเราใหญ่หลวง (ไม่มีขอบเขตเหมือนอวกาศ). เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกมันว่า “มหา.”
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, สิ่งใดที่พวกคนเขลาพากันเพียงแต่พูดถึงเปล่าๆ ปลี้ๆ สิ่งนั้นคนมีปัญญาได้นำเอามาปฏิบัติด้วยจิตใจของเขาเกิดมรรคเกิดผลจนได้. ยังแถมมีคนเขาอีกพวกหนึ่ง ซึ่งนั่งนิ่งๆ เงียบๆ และพยายามที่จะทำจิตของตนให้ว่าง เขาเว้นการคิดถึงสิ่งใดๆ หมด แล้วก็เรียกตัวเขาเองว่า “มหา.” เมื่อเขามีความเห็นนอกลู่นอกทางเช่นนี้ ก็เป็นการยากที่เราจะกล่าวถึงเขาว่าอย่างไรให้ถูกตรงได้.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, ท่านควรจะทราบไว้ว่า ใจนั้นมีขนาดแห่งความจุอันใหญ่หลวงโดยเหตุที่ใจนั้นสิงซึม(๓) (ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันอยู่ทั่วไป) ตลอดสากลธรรมธาตุ (คือวงแห่งธรรมาณาจักร กล่าวคือสากลจักรวาล). เมื่อเรานำมันมาใช้ เราก็สามารถจะทราบอะไรได้หลายสิ่งจากบรรดาสิ่งที่มีอยู่ทั้งหมด แต่เมื่อใดเราใช้มันเต็มขนาดของมัน เมื่อนั้นเราก็ทราบได้สารพัดสิ่งไม่มีอะไรเหลือ. รู้ทุกๆ สิ่งภายในสิ่งหนึ่งและ หนึ่งสิ่งภายในทุกๆ สิ่ง เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันโดยไม่ติดขัด และเป็นอิสระที่จะ “ไป” หรือ “มา.” เมื่อนั้นชื่อว่ามันอยู่ในภาวะแห่ง “ปรัชญา.”
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, ปรัชญาทั้งสิ้นย่อมมาจากจิตเดิมแท้, และมิได้มาจากวิถีภายนอกเลย. ท่านทั้งหลายจงอย่าได้มีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้. ข้อนี้เรียกว่า “การใช้ประโยชน์ในตัวมันเอง ของสิ่งที่เป็นตัวธรรมชาติเดิมแท้.” ตถตา (ความเป็นแต่อย่างนั้นอย่างเดียวเท่านั้นเป็นอย่างอื่นไม่ได้, กล่าวคือจิตเดิมแท้) ปรากฏขึ้นครั้งเดียวเท่านั้นแก่ผู้นั้นแล้วเขาก็เป็นอิสระจากโมหะ ไปชั่วนิรันดร.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, เพราะเหตุที่ใจนั้นมีรัศมีทำงานกว้างขวางใหญ่หลวง เราจึงไม่ควรใช้มันทำงานกระจิริดไร้เดียงสา (เช่นการนั่งเงียบๆ ทำใจว่างๆ เฉยๆ). อย่าพูดกันถึง “ความว่าง” เป็นวันๆ โดยไม่ได้ทำจิตให้พบกับความว่างนั้น. คนที่ (พร่ำแต่ปากว่าว่างๆ แต่จิตไม่ได้ทำสัมผัสความว่างจริงๆ เลย) ทำเช่นนี้ ควรถูกเปรียบกันกับคนที่ประกาศตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ด้วยปากของเขา แต่ที่จริงเขาก็เป็นราษฎรธรรมดา โดยวิถีทางปฏิบัติเช่นนี้ จะไม่ได้ลุถึงปรัชญาเลย. และผู้ที่ปฏิบัติทำนองนี้ จะเรียกว่าเป็นศิษย์ของอาตมาไม่ได้.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, คำว่า ปรัชญา หมายความว่าอะไร? คำนี้หมายถึง “ปัญญาความรู้รอบแจ้งชัด.” คือเมื่อใดเราสามารถรักษาจิตของเรา ไม่ให้ถูกพัวพันด้วยความทะเยอทะยานอันโง่เขลาได้ทุกกาละทุกเทศะ ทำอะไรด้วยความฉลาดไปทุกโอกาส เมื่อนั้นชื่อว่าเรา กำลังประพฤติอบรมปรัชญาอยู่ ทีเดียว. ความรู้สึกที่โง่เขลาข้อเดียวเท่านั้นก็สามารถผลักปรัชญาให้หายวับไป. แต่ความคิดที่ปรีชาฉลาด เป็นสิ่งที่อาจดึงเอาปรัชญากลับมาได้อีก. บุคคลพวกที่ตกอยู่ใต้อำนาจอวิชชาหรือโมหะ ย่อมไม่มองเห็นปรัชญา, เขาพูดถึงปรัชญาด้วยลิ้น (ไม่ใช่พูดด้วยใจ). ส่วนในใจของเขานั้นยังคงงมงายอยู่ตามเดิม. เขาพูดเสมอไปว่า เขาประพฤติปรัชญา และพูดถึง “ความขาดสูญ” (อุจเฉทะ) ไม่หยุดปาก แต่เขาไม่ได้ทราบถึง “ความว่างเด็ดขาด” (ศุนยตา) เลย. “หฤทัยแห่งความรอบรู้ชัดแจ้ง” นั้นแหละคือตัวปรัชญาอันเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีท่าทางเครื่องให้สังเกตเสียเลย. ถ้าเราตีความหมายของคำว่าปรัชญากันโดยทำนองนี้ เมื่อนั้นชื่อว่าพูดกันถึงความรอบรู้แจ้งชัดของปรัชญาตัวจริง อย่างถูกแท้
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, คำว่า ปารมิตา หมายความว่าอะไร? คำนี้เป็นคำสันสกฤต มีความหมายว่า “สู่ฝั่งข้างโน้น” โดยกิริยาจริงมันหมายถึง “พ้นการเกิดและการดับ.” โดยอุปาทานการยึดถือในขันธ์ทั้งหลายอันเป็นวัตถุที่ตั้งของความรู้สึกทางวิญญาณ เมื่อนั้นย่อมมีความเกิดและมีความดับผลุบโผล่เหมือนทะเลที่มีคลื่น, ภาวะเช่นนี้ เราเรียกโดยอุปมาว่า “ฝั่งข้างนี้,” แต่เมื่อใดตัดอุปาทานเสียได้เด็ดขาด และลุถึงภาวะที่พ้นจากการเกิดและการตาย สงบเงียบเหมือนน้ำไหลนิ่ง นั่นแหละเรียกว่า “ฝั่งโน้น” การพ้นจากการเกิดและการดับนี้แหละ ที่ทำให้ปรัชญานี้ได้นามว่า “ปารมิตา.”
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, คนเป็นอันมาก ซึ่งอยู่ภายใต้โมหะพากันท่องบ่น “มหาปรัชญาปารมิตา” ด้วยลิ้นเท่านั้น, และเมื่อเขากำลังท่องอยู่นั้น ความคิดที่งมงายเป็นอกุศลกลับเกิดขึ้นแก่เขา. แต่ถ้าเขาจะได้ปฏิบัติมันด้วยใจโดยไม่หยุดหย่อน ดังกล่าวจริงๆ เขาย่อมเห็นประจักษ์ชัดซึ่ง “ตัวจริง” ของมหาปรัชญาปารมิตา, การรู้ธรรมะอันนี้ ก็คือการรู้ธรรมชาติของปรัชญา, การปฏิบัติธรรมะอันนี้ ก็คือการปฏิบัติปรัชญา ผู้ที่ไม่ประพฤติธรรมะอันนี้ คือปุถุชน, บุคคลผู้ตั้งจิตจดจ่อเพื่อปฏิบัติธรรมอันนี้ แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง เขาเป็นผู้เทียบเท่ากับพุทธะ.
คนสามัญนี้เอง คือพระพุทธเจ้า, และกิเลส ก็คือโพธิ (ปัญญาสำหรับการตรัสรู้).(๔) ความคิดที่โง่เขลา ที่ผ่านเข้าออกทางจิตนั้น ทำให้คนเป็นคนธรรมดาสามัญ, แต่ความคิดที่หายโง่ ประกอบด้วยความแจ่มแจ้งที่ตามมาทีหลัง ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า. ความคิดที่ผ่านเข้าออกที่ทำจิตให้ติดในอารมณ์นั้นคือกิเลส, แต่ความคิดที่มาเปลื้องจิตเสียจากความติดแน่น อันเป็นความคิดซึ่งเกิดทีหลัง นั้นคือโพธิ.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, มหาปรัชญาปารมิตา (กล่าวคือปัญญาอันใหญ่หลวง ที่ทำสัตว์ ให้ข้ามถึงฝั่งโน้น) นั้น เป็นของสูงสุด ใหญ่ยิ่งและเด่นดวง. มันไม่หยุด ไม่ไป และไม่มา. โดยอำนาจของปัญญา อันชื่อว่า มหาปรัชญาปารมิตานี้เอง ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในปัจจุบัน ในอดีต และในอนาคต ได้บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า. เราควรใช้ปัญญาอันสูงสุดดวงนี้เพื่อทำลาย (ความยึดถือใน) ขันธ์ทั้งห้าเสีย.(๕) เพราะเหตุว่าการทำเช่นนี้ ย่อมช่วยให้การได้บรรลุถึงพุทธภูมิ เป็นสิ่งที่แน่นอน. แล้วอกุศลมูลทั้งสาม (โลภะ โทสะ โมหะ) ก็จะกลายเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ไปเอง
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, ตามวิถีปฏิบัติแบบของอาตมานี้ ปัญญาดวงเดียวเท่านั้น จะสร้างความรอบรู้ขึ้นถึงแปดหมื่นสี่พันวิถี คือเท่ากับจำนวนของกิเลสที่เราจะต้องผจญ. แต่ว่าเมื่อผู้ใดพ้นจากอำนาจของกิเลส ปัญญาย่อมแสดงตัวปรากฏให้เห็นเอง ที่ตัว จิตเดิมแท้ ไม่แยกจากกันได้. ผู้ใดเข้าใจหลักธรรมปฏิบัติอันนี้ ผู้นั้นจะมีจิตปราศจากความคิดอันท้อแท้เฉื่อยชา. การเป็นอิสระจากการหลงรักเพราะความคิดหมกมุ่น สยบจากการยึดติดในอารมณ์อันเร้าจิตให้ทะเยอทะยาน และจากสิ่งอันเป็นของหลอกลวงมายา; การให้ตัวตถตา (ความคงที่แต่อย่างนั้นเท่านั้น เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้) ทำหน้าที่ของมัน; การใช้ปัญญาพิจารณาหาความจริงในสิ่งทั้งปวง, และการมีท่าที (อันสงบ) ซึ่งไม่เป็นทั้งการผลักดัน หรือการดึงดูดต่อสรรพสิ่งทั้งมวล, เหล่านี้ คือการรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งตัว จิตเดิมแท้ เพื่อการบรรลุถึงพุทธภูมิ (ความเป็นพุทธะ).
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, ถ้าท่านปรารถนาจะแทงตลอดความลึกซึ้งของธรรมธาตุ และสมาธิที่เป็นฝ่ายปัญญา ท่านจะต้องอบรมปรัชญาโดยการท่องบ่น และศึกษาไตร่ตรองในวัชรัจเฉทิกสูตร (สูตรดุจเพชรสำหรับตัด) อันเป็นสูตรที่สามารถทำให้ท่านรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งจิตเดิมแท้. ท่านควรจะทราบไว้ว่า กุศลผลความดีอันเกิดจากการศึกษาสูตรนี้, ตามที่ปรากฏชัดเจนอยู่ในพระบาลี, นั้นมีมากเหลือประมาณ ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่สามารถพรรณนาให้ละเอียดได้. สูตรๆ นี้ เป็นของฝ่ายนิกายสูงสุดในพุทธศาสนา, พระพุทธเจ้าตรัสสูตรๆ นี้ เฉพาะแก่บุคคลที่มีปัญญาแก่กล้า และสามารถเข้าใจอรรถอันลึกได้ในทันที.(๖) ถ้าหากว่าคนมีปัญญาน้อย และทึบต่อการเข้าใจอรรถอันลึก เผอิญมาได้ฟังสูตรชนิดนี้เข้า เขาจะเกิดความสงสัยไม่เชื่อข้อความในสูตรนั้น. ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ข้อนี้อุปมาได้ว่า ถ้าหากว่าเกิดฝนตกหนักในชมพูทวีปนี้ด้วยอำนาจพญานาคในสวรรค์แล้ว นคร เมือง และหมู่บ้าน จะพากันไหลลอยไปตามกระแสน้ำ เช่นเดียวกับใบของต้นอินทผลัม. แต่ถ้าหากว่า ฝนนั้นไปตกในมหาสมุทร โดยทั่วๆ ไป ก็เหมือนกับไม่ได้รับความกระทบกระเทือนอะไรเลย เมื่อนักศึกษาฝ่ายมหายาน ได้ฟังสูตรชื่อวัชรัจเฉทิกะนี้แล้ว ใจของเขาจะใสสว่าง, เขาทราบได้ว่าปัญญา (ที่จะทำให้สัตว์ลุถึงฝั่งโน้น) นั้น มีอยู่ใน จิตเดิมแท้ ของเขาแล้ว และเชื่อตัวเองว่า เขาไม่ต้องอาศัยพระไตรปิฎก เพราะว่าเขาสามารถใช้ปัญญาในตัวเอง ให้เป็นประโยชน์โดยการเจริญวิปัสสนาภาวนาเป็นนิจ นั่นเอง
ปรัชญาซึ่งมีประจำอยู่ใน จิตเดิมแท้ ของทุกๆ คนนั้นแล้ว อาจจะเปรียบกันได้กับฝน ซึ่งความชุ่มชื่นของมัน ย่อมทำความสดชื่นให้แก่สิ่งที่มีชีวิตทุกๆ สิ่ง รวมทั้งต้นไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตลอดถึงสัตว์ทุกชนิด. เมื่อแม่น้ำและลำธารไหลไปถึงทะเล น้ำฝนที่มันพาไปย่อมผสมเป็นอันเดียวกันกับน้ำในมหาสมุทร. นี่คือข้ออุปมาอีกข้อหนึ่ง. ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, ทีนี้หากว่าฝน (ที่ทำความสดชื่นให้แก่สิ่งมีชีวิตนั่นเอง) ได้ตกกระหน่ำลงมาขนาดใหญ่ ต้นไม้ซึ่งรากไม่ลึกพอ ก็จะถูกน้ำพัดชะถอนรากขึ้นลอยตามน้ำ และสูญหายไป ในที่สุดไม่มีเหลือ. ข้อนี้เปรียบกันได้กับคนมีปัญญาทึบเข้าใจอะไรได้ยาก ที่ได้ฟังคำสอนของชั้น “นิกายฉับพลัน” แท้ที่จริง ปรัชญาซึ่งมีอยู่ในบุคคลจำพวกนี้ ก็เป็นอย่างเดียวกันกับที่มีอยู่ในบุคคลจำพวกปัญญาไว หากแต่ว่าเขาไม่สามารถทำตนให้ตรัสรู้ได้ ในขณะที่มีผู้สอนเขาด้วยธรรมะนั้น. เพราะเหตุใด? เพราะว่าเขาถูกปกคลุมเสียหนาแน่น ด้วยความคิดเห็นผิด และกิเลสซึ่งได้ลงรากลึกแล้ว ทำนองเดียวกับดวงอาทิตย์ถูกบดบังด้วยเมฆ ไม่สามารถส่องแสงของตนลงมา (ทั้งที่แสงนั้นมีอยู่) จนกว่าจะมีลมมากวาดเอาเมฆนั้นไปเสีย ฉันใดก็ฉันนั้น.
ปรัชญานั้น ไม่แตกต่างกัน แม้ว่าตัวบุคคลจะแตกต่างกัน, ข้อที่แตกต่างกันนั้น อยู่ตรงที่ว่าใจของเขาสว่างไสว หรือมืดมนเท่านั้นเอง. คนที่ไม่รู้จักจิตเดิมแท้ ของตนเอง และยังแถมมีความเขลาไปว่า การบรรลุพุทธธรรมนั้น มีได้ด้วยศาสนพิธีต่างๆ ที่กระทำกันทางกายภายนอก (ไม่เกี่ยวกับจิต) นี้แหละคือคนจำพวกที่เข้าใจอะไรได้ยาก. คนจำพวกที่เข้าใจคำสอนของ “นิกายฉับพลัน” ไม่รู้สึกว่าพิธีรีตองต่างๆ เป็นของสำคัญ และใจของเขาก็ทำหน้าที่พิจารณาอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิอย่างเดียว จนกระทั่งเขาหลุดพ้นเด็ดขาดจากกิเลสหรือมลทินต่างๆ คนชนิดนี้แหละท่านกล่าวว่า เป็นผู้ที่ได้รู้จัก จิตเดิมแท้ ของตนเองแล้ว.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, ขึ้นชื่อว่าใจ เป็นสิ่งที่ควรได้รับการจัดวางไว้ในกรอบของการปฏิบัติ ชนิดที่มันจะเป็นอิสระจากอารมณ์ ทั้งที่เป็นภายนอกและภายใน ให้มีอิสระที่จะมาหรือจะไป ไม่ถูกพัวพัน และใสสว่างโดยทั่วถึง ปราศจากสิ่งบดบังแม้แต่นิดเดียว. บุคคลที่สามารถทำได้เช่นนี้ ถือว่าดีถึงขนาดที่บัญญัติไว้ในสูตรทั้งหลายของนิกาย (มหา) ปรัชญา (ปารมิตา)
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, สูตรและปิฎกทั้งสิ้น ทั้งของฝ่ายมหายานและหินยาน รวมทั้งคัมภีร์อรรถกถาทั้งสิบสองภาค ทั้งหมดถูกจำแนกไว้เป็นชั้นๆ ก็เพื่อให้เหมาะกับความต้องการและอุปนิสัย ของบุคคลผู้มีอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นชั้นๆ นั่นเอง. โอวาทต่างๆ มีสอนที่อยู่ในพระคัมภีร์เหล่านั้น บัญญัติขึ้นมาโดยยึดหลักใหญ่ว่า ตัวปรัชญามีแฝงอยู่ภายในบุคคลทุกคนแล้ว. ถ้าไม่มีคน ก็ไม่จำเป็นต้องมีธรรมะ. เหตุนั้น เราจึงทราบได้ว่า ธรรมะนั้นๆ บัญญัติขึ้นสำหรับคนโดยตรงและสูตรต่างๆ นั้น เกิดขึ้นเพราะศาสดาผู้ประกาศสูตรนั้นๆ นั่นเอง. เพราะเหตุที่คนบางพวกเป็นคนฉลาด ซึ่งเราเรียกกันว่า คน เด่น, และคนบางพวกเป็นคนโง่เขลา ซึ่งเราเรียกกันว่า คน ด้อย, ดังนั้น คนฉลาดจึงแสดงโอวาทแก่คนเขลา ในเมื่อคนเขลาประสงค์จะให้สอน. ด้วยการทำเช่นนี้ คนเขลาก็อาจลุถึงความสว่างไสวชนิดรวดเร็วได้ และใจของเขาก็แจ่มแจ้งได้ด้วยเหตุนั้น. แล้วคนเขลาเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากคนฉลาดอีกต่อไป.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, ถ้าเอาการตรัสรู้ออกเสียแล้ว ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันระหว่างพระพุทธเจ้ากับคนสามัญอื่นๆ, ความสว่างไสววาบเดียวเท่านั้น ก็เพียงพอแล้ว ที่จะทำใครก็ได้ให้กลายเป็นคนเสมอกันกับพระพุทธเจ้า. เพราะเหตุที่ธรรมะทั้งหลาย เป็นของมีประจำอยู่ในใจของเราแล้ว จึงไม่มีเหตุผลในข้อที่ว่า เราไม่สามารถเห็นซึมซาบแจ้งชัด ในสภาวะแท้ของ ตถตา (สภาพที่มีแต่ความเป็นเช่นนั้น จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้). มีข้อความกล่าวไว้ในสูตรชื่อ โพธิสัตว์ศีลสูตรว่า “จิตเดิมแท้ของเรา เป็นของบริสุทธิ์โดยเด็ดขาด และถ้าเราได้รู้จักใจของเราเอง และรู้แจ้งชัดว่า ตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้ว เราจะลุถึงพุทธภาวะได้ทุกๆ คน (ที่มีความรู้เช่นนั้น).” ข้อความในสูตรชื่อ วิมลกิรตินิเทศสูตร ก็ได้กล่าวว่า “ทันใดนั้น เขาตรัสรู้แจ่มแจ้งสว่างไสว และได้รับใจของเขาเองกลับคืนมา.”(๗)
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, เมื่อพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า ได้เทศน์ให้อาตมาฟัง อาตมาได้เกิดความรู้แจ้งสว่างไสว ตรัสรู้ข้อธรรมะนั้น ในทันทีที่ท่านพูดจบ. และทันใดนั้นเอง ได้เห็นแจ้งประจักษ์ชัดในตัวธรรมชาติแท้ของตถตา. ด้วยเหตุนี้เอง อาตมาจึงมีความมุ่งหมายโดยเฉพาะ ในการที่จะประกาศคำสอนแห่ง “นิกายฉับพลัน” นี้ต่อไปเพื่อว่าผู้ศึกษาจะได้ประสบกับโพธิ และเห็นแจ้งชัดในตัวธรรมชาติแท้ของตนเอง ด้วยการอบรมจิตในวิปัสสนาภาวนา.
ถ้าหากว่า เขาไม่สามารถช่วยตัวเองให้เกิดความสว่างไสวได้ เขาก็จะได้ขอร้องต่อเพื่อนพุทธบริษัทผู้คงแก่เรียนและใจอารี ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจคำสั่งสอนของสำนักชั้นสูง ให้ช่วยชี้หนทางถูกให้แก่เขา. สำนักหลักแหล่ง ของพุทธบริษัทผู้คงแก่เรียนและมีใจอารี ทำหน้าที่นำจูงผู้อื่นให้เห็นแจ้งในจิตเดิมแท้นั้น เป็นสำนักซึ่งอยู่ในตำแหน่งสูงสุด. ด้วยความช่วยเหลือของบุคคลชนิดนี้ ผู้อื่นจะถูกชักจูงเข้ามาสู่ธรรมะอันเป็นฝ่ายกุศลทุกๆ ประการ บรรดาปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งความรู้ที่เป็นหลักคำสอน ในพระคัมภีร์ทั้งสิบสองหมวดนั้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในใจของเรามาแต่เดิมแล้ว ในกรณีที่เราเองไม่สามารถปลุกให้สว่างไสวขึ้นมาได้ด้วยตนเองนั้น เราจำต้องแสวงคำแนะนำจากบุคคลผู้คงแก่เรียน และมีใจอารีเหล่านั้น แต่ในทางที่ตรงกันข้าม, พวกที่ทำความสว่างให้แก่ตนเองได้โดยลำพัง ย่อมไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก. มันเป็นของผิดในการที่จะไปถือคติว่า ถ้าปราศจากคำแนะนำของผู้คงแก่เรียนและมีใจอารีแล้ว เราไม่สามารถจะลุถึงวิมุต. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่ามันเป็นเพราะปัญญาภายในของเราเองต่างหาก ที่ทำให้เราเกิดความสว่างไสวได้, ถึงแม้ความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก และคำพร่ำสอนของเพื่อนผู้คงแก่เรียน และใจอารี ก็ยังอาจเป็นหมันไร้ประโยชน์ได้เหมือนกัน ถ้าหากว่าเราทำไม่ถูก หลงงมงายเสียแล้วโดยคำสอนที่ผิดและความเห็นผิด. เราควรเพ่งจิตของเราด้วยปัญญาตัวจริง. ความเห็นผิดทั้งมวลก็จะถูกเพิกถอนไปในขณะนั้น และในทันทีทันใดที่เราได้รู้จักตัว จิตเดิมแท้ เราย่อมลุถึงสถานะแห่งความเป็นพุทธะในทันใดนั้น.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย. เมื่อเราใช้ปรัชญา (ปัญญาดั้งเดิม) ของเราในการเพ่งพิจารณาในภายใน เราย่อมมีความสว่างแจ่มแจ้ง ทั้งภายในและภายนอก และเราอยู่ในฐานะที่จะรู้จักใจของเราเอง. การรู้จักใจของเราเองก็คือการลุถึงวิมุติ (การหลุดเป็นอิสระ). การลุถึงวิมุติ ก็คือการลุถึงสมาธิฝ่ายปรัชญา ซึ่งเป็น “ความไม่ต้องคิด” “ความไม่ต้องคิด” คืออะไร? “ความไม่ต้องคิด” คือการเห็นและการรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง(ตามที่เป็นจริง) ด้วยใจที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มพัวพัน, เมื่อเราใช้มัน มันแทรกเข้าไปได้ในทุกสิ่งแต่ไม่ติดแจอยู่ในสิ่งใดเลย. สิ่งที่เราจะต้องทำนั้นมีเพียงการชำระจิตให้ใสกระจ่าง เพื่อวิญญาณทั้งหกเมื่อแล่นไปตามอายตนะทั้งหก(๘) จะไม่ถูกทำให้เศร้าหมองโดยอารมณ์ทั้งหก. เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันได้โดยอิสระ ปราศจากอุปสรรค และอยู่ในสถานะที่จะ “มา” หรือ “ไป” ได้โดยอิสระ เมื่อนั้นชื่อว่าเราได้บรรลุสมาธิฝ่ายปรัชญา หรืออิสรภาพ. สถานะเช่นนี้มีนามว่า การทำหน้าที่ของ “ความไม่ต้องคิด”. แต่ว่า การหักห้ามความคิดถึงสิ่งใดๆ ให้ความคิดทั้งหมดถูกกดเอาไว้ ย่อมเป็นการกดธรรมะไว้ (ไม่ให้ปรากฏหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นไป). และข้อนี้ย่อมเป็นความเห็นผิด.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, บรรดาบุคคลผู้เข้าใจในวิถีทางแห่ง “ความไม่ต้องคิด” เหล่านั้น จะรู้แจ้งสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทุกสิ่ง จะได้ดื่มรสที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้เคยดื่มมาแล้ว, และย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า ในกาลข้างหน้าต่อไป. ถ้าหากผู้ที่ได้รับคำสอนจากสำนักของอาตมาคนใด จะให้สัจจปฏิญาณในท่ามกลางหมู่เพื่อนศิษย์ด้วยกันว่าจะอุทิศชีวิตขอตนทั้งหมดเพื่อปฏิบัติตามคำสอนแห่ง “สำนักฉับพลัน” นี้ โดยไม่ย่อท้อถอยหลัง ตั้งใจขนาดเดียวกันกับความตั้งใจที่จะปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าแล้วไซร้ เขาก็จักลุถึงวิสุทธิมรรคา โดยไม่มีการล้มเหลวเป็นแน่แท้. เขาจักถ่ายทอดคำสอนที่พระสังฆปริณายกองค์หนึ่ง ได้มอบหมายลงมายังพระสังฆปริณายกองค์ต่อๆ มา ออกจากดวงใจของเขา แล้วส่งลงไปยังดวงใจของบุคคลอื่น ซึ่งสมควรแก่การนี้เป็นช่วงๆ กันไป, และพยายามที่จะไม่ปิดบังซ่อนเร้นคำสอนที่ถูกต้องไว้แม้แต่น้อย. สำหรับบุคคลพวกที่อยู่ในสำนักอื่นในนิกายอื่น ซึ่งความเห็นและจุดมุ่งหมายของเขาผิดไปจากของพวกเรานั้น ไม่ควรจะถ่ายทอดหลักธรรมะอันนี้ไปให้เลย เพราะจะมีแต่ผลร้ายโดยประการต่างๆ ไม่มีผลดี. การที่มีข้อยกเว้นไว้ดังนี้ ก็โดยเกรงว่า พวกคนเขลาซึ่งไม่สามารถเข้าใจหลักคำสอนอย่างของเรา จะมีคำกล่าวตู่ป้ายร้ายให้แก่คำสอนระบอบนี้, และข้อนั้นเองจะเป็นการทำลายเมล็ดพืชแห่งความเป็นพุทธะ ซึ่งมีอยู่ในคนพวกนั้นให้เหือดแห้งเป็นหมันไป ตลอดเวลาหลายร้อยกัลป์พันชาติ.
ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, อาตมามีโศลกอันกล่าวถึง “นิรรูป”(๙) อยู่หมวดหนึ่ง สำหรับท่านทั้งหลายท่องบ่นกัน. ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตควรปฏิบัติตามคำสอนซึ่งมีอยู่ในโศลกนั้น, ซึ่งถ้าปราศจากการปฏิบัติเสียแล้วมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร ในการที่จะจำเอาถ้อยคำของอาตมาไปเปล่าๆ . ท่านทั้งหลายจงคอยฟังโศลกนี้ ดังต่อไปนี้ :
“อาจารย์ผู้บัญญัติคัมภีร์พุทธธรรม รวมทั้งคำสอนในสำนักนิกายธยานะนี้ด้วย
อาจเปรียบกันได้กับดวงอาทิตย์ ซึ่งกำลังแผดแสงจ้า อยู่ ณ กึ่งกลางนภากาศ.
บุคคลเช่นนี้จักไม่สอนอะไร นอกจากธรรมะเพื่อให้เห็นแจ้ง จิตเดิมแท้อย่างเดียว,
และความมุ่งหมายในการที่ท่านมสู่โลกนี้ ก็เพื่อขจัดพรรคมิจฉาทิฏฐิฯ.
เราจะแบ่งแยกธรรมปฏิบัติ ออกเป็นชนิด “ฉับพลัน” และชนิด “เชื่องช้า” ได้โดยยากก็จริง,
แต่ก็ยังมีคนบางพวก ที่จะรู้แจ้งได้เร็วกว่าคนพวกอื่นมากฯ.
ตัวอย่างเช่นธรรมปฏิบัติระบอบนี้ ที่สอนมุ่งให้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้
เป็นระบอบที่คนโฉดเขลา จะเข้าใจไม่ได้ฯ.
เราอาจจะอธิบายหลักธรรมระบอบนี้ได้โดยวิธีต่างๆ ตั้ง ๑๐,๐๐๐ วิธี,
แต่ว่าคำอธิบายทั้งหมดนั้น อาจจะลากให้หวนกลับมาสู่หลักดุจเดียวกันได้ฯ.
การที่จะจุดไฟให้สว่างขึ้น ในดวงหทัยอันมืดมัว เพราะเกรอะกรังไปด้วยกิเลสนั้น
เราจักต้องดำรงแสงสว่างแห่งปรัชญา ไว้เนืองนิจฯ
มิจฉาทิฏฐิ ย่อมทำเราให้ติดจมอยู่ในห้วงกิเลสฯ
ส่วนสัมมาทิฏฐิ ย่อมเปลื้องเราออกจากกองกิเลสนั้นๆ,
แต่เมื่อใด เราอยู่ในฐานะที่เหนือไปกว่าทิฏฐิทั้งสองอย่างนี้
เมื่อนั้น เราย่อมบริสุทธิ์ โดยเด็ดขาดฯ.
โพธิ เป็นสิ่งมีประจำอยู่แล้วภายใน จิตเดิมแท้ ของเรา,
การพยายามมองหาโพธิจากที่อื่นนั้น เป็นความเขลาฯ.
จิตที่บริสุทธิ์นั้น จะหาพบได้ภายในจิตอันไม่บริสุทธิ์ของเรา นั่นเอง,
ในทันใดที่เราดำรงจิตถูกต้อง เราย่อมเป็นอิสระจากสิ่งบดบัง ๓
ประการ (คือ กิเลส, บาปกรรม, และการต้องทนใช้บาปอยู่ในนรก.)ฯ
ถ้าเราเดินอยู่ในมรรคาแห่งการตรัสรู้
เราไม่จำต้องกลุ้มใจด้วยสิ่งที่จะทำให้เราสะดุดล้มฯ.
ถ้าเราคอยสอดส่ายตา ระวังความผิดของเราเองอยู่เสมอ
เราก็เดินไถลออกไปนอกหนทางที่ถูกไม่ได้ฯ.
เพราะเหตุที่ชีวิตทุกๆ แบบ ย่อมมีวิถีทางแห่งความรอดพ้นเฉพาะของมันเอง ทุกแบบ
ฉะนั้น ชีวิตทั้งหลายจะไม่ก้าวก่าย หรือกระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน.ฯ
แต่ถ้าเราผละไปจากทางชนิดที่เป็นของเรา ไปแสวงหาทางอื่นเพื่อจะรอดพ้น
เราจะไม่พบความรอดพ้นได้เลย,
แม้ว่าเราจะหาเรื่อยไป จนกระทั่งความตายมาถึงเราก็ดี
ในที่สุด เราจะพบแต่ความรู้สึกเสียใจภายหลังว่า เราทำพลาดไปแล้ว.ฯ
ถ้าท่านปรารถนาจะค้นหาทางที่ถูกต้อง
การทำให้ถูกวิธีจริงๆ เท่านั้น ที่จะนำท่านดิ่งไปถึงได้.
แต่ถ้าท่านไม่มีการดิ้นรนเพื่อลุถึงพุทธภูมิ
ท่านก็จะมัวคลำคว้าอยู่ในที่มืด และไม่มีโอกาสพบเลย.ฯ
ผู้ที่ด่วนเดินมุ่งแน่วไปตามทางที่ถูกต้องนั้น
ย่อมไม่มองเห็นความผิดต่างๆ ในโลกนี้.
ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น
เราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกันฯ
เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำต้องเอาใจใส่
เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเอง ในการที่จะไปรื้อหาความผิด.ฯ
โดยการสลัดนิสัยที่ชอบค้นหาความผิดของคนอื่น ออกไปเสียจากสันดาน
เราย่อมตัดวิถีทางการมาของกิเลส ได้เป็นอย่างดี.ฯ
เมื่อใดความชัง (คนเกลียด) และความรัก (คนรัก) ไม่กล้ำกรายใจของเรา,
เราหลับสบายฯ
บุคคลใด ตั้งใจจะเป็นครูสอนคนอื่น
เขาเองควรจะมีความคล่องแคล่วในวิธีที่เหมาะสมนานาประการที่จะนำผู้อื่นเข้าถึง
ความสว่าง.ฯ
เมื่อศิษย์พ้นจากความสงสัยสนเท่ห์ โดยประการทั้งปวง
มันย่อมแสดงว่า เขาได้พบ จิตเดิมแท้ ของเขาแล้ว.ฯ
จักรวรรดิของพระพุทธเจ้า(๑๐) อยู่ในโลกนี้
ซึ่งเราจะพบความสว่างไสวได้ ในเขตนั้น.ฯ
การเสาะแสวงหาความสว่างไสว ในที่อื่นจากโลกนี้
เป็นของพิลึกกึกกือ เหมือนการเที่ยวหาเขากระต่าย.ฯ
สัมมาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า “เลิศเหนือโลก”,
มิจฉาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า “ข้องอยู่ในโลก”
เมื่อใดทิฏฐิทั้งสองอย่าง ไม่ว่าสัมมาหรือมิจฉา ถูกสลัดพ้นออกไป
เมื่อนั้น โพธิแท้ ย่อมปรากฏ.ฯ
โศลกนี้มีไว้สำหรับพวก “นิกายฉับพลัน”
และโศลกนี้ ยังถูกขนานนามว่า “มหาธรรมนาวา” (เพื่อแล่นข้ามฝั่งสังสารวัฏ).ฯ
กัลป์แล้วก็กัลป์เล่า คงตกอยู่ภายใต้ความมืดบอด
แต่ครั้นถึงคราวตรัสรู้ มันกินเวลาแวบเดียวเท่านั้น เขาก็เข้าถึงพุทธภูมิฯ
ก่อนจบเทศนา พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “บัดนี้ ในวิหารแห่งไทฟันนี้, อาตมาได้แสดงธรรมให้ท่านฟัง ถึงคำสอน “นิกายฉับพลัน” แล้ว. ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงซึ่งล้วนแต่มีธรรมธาตุอันนั้นประจำอยู่ ในตัวทุกคนแล้ว จงเข้าใจธรรมะนี้ และลุถึงความเป็นพุทธะเถิด.”
เมื่อได้ฟังธรรมกถาที่พระสังฆปริณายกกล่าวจบลงแล้ว ข้าหลวงไว่แห่งชิวเจา, พวกข้าราชการ, นักศึกษาฝ่ายเต๋า และชาวบ้านเหล่านั้นได้เข้าถึงความสว่างไสว ทั่วถึงกัน. เขาเหล่านั้นพร้อมกันทำความเคารพและออกอุทานเป็นเสียงเดียวกันว่า “สาธุ! สาธุ! ใครจะนึกไปถึงว่าพระพุทธเจ้าได้มาอุบัติขึ้นในนครกวางตุ้ง.”
หมายเหตุ :
(๑) คำว่าปรัชญา เป็นคำสันสกฤต ตรงกับคำว่า ปัญญา ในภาษาบาลี หรือภาษาไทย แต่ในภาษาไทยนำคำนี้ไปใช้มีความหมายเป็นอย่างอื่นจากคำว่าปัญญา. ตามที่ใช้กันอยู่ โดยมากใช้หมายถึงหลักความคิด ที่แสดงภูมิแห่งปัญญาอันสูงสุดสายใดสายหนึ่ง. แล้วแต่เรียกว่าปรัชญาอะไร หรือปรัชญาของใคร. แต่ในสูตรนี้ใช้คำว่า “ปรัชญา” หมายถึงปัญญาชนิดที่เพียงพอในการที่จะช่วยตัวให้พ้นทุกข์ทั้งปวงและถือว่าปรัชญานั้น มีตามธรรมชาติติดมาในคนทุกๆ คนแล้วแต่ดั้งเดิม หากแต่ว่ามีโมหะมาปกคลุมเสีย คนจึงไม่รู้สึกปัญญาชนิดนี้ของตนเอง ทั้งที่มีอยู่แล้ว, กลับไปหลงหาปัญญาภายนอก ซึ่งเปรียบกับปัญญานี้ไม่ได้.-ผู้แปลเป็นไทย
(๒) อวกาศ หรือ Space ในสูตรนี้ หมายถึงเนื้อที่ทั้งหมด ที่สากลจักรวาลนี้ไปบรรจุอยู่ และรวมทั้งที่ยังมีเหลือเป็นที่ว่างเปล่า เช่นท้องฟ้าระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวทั้งหลายเป็นต้น. หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง เท่ากับเนื้อที่ของพาหิรากาศ (Ether) ทั้งหมดนั่นเอง.-ผู้แปลเป็นไทย
(๓) คำว่าใจในสูตรนี้ หมายถึงวิญญาณธาตุที่ประจำอยู่ในที่ทั่วไป มีอยู่ทั่วไป ทำนองเดียวกับที่ฝ่ายรูปธาตุ ยอมถือว่า มีอีเธ่อร์อยู่ในที่ทั่วไป ไม่ว่าในที่นั้นกำลังมีแต่อากาศหรือมีวัตถุอื่นใดตั้งอยู่ด้วย โดยถือว่าสรรพสิ่งตั้งอยู่ในอีเธ่อร์อีกทีหนึ่ง. ใจในสูตรนี้ทำหน้าที่เหมือนกับอีเธ่อร์โดยเปรียบเทียบ. – ผู้แปลเป็นไทย
(๔) คนธรรมดาคือพุทธะ กิเลสคือโพธิ เช่นนี้ เป็นอภิโวหารของนิกายนี้ ซึ่งพยายามอธิบายว่าความเป็นพระพุทธเจ้านั้น มีอยู่แล้วในทุกๆ คน หากแต่ว่าของคนส่วนมากนั้น ถูกความมืดห่อหุ้มเสีย หรือยังไม่ได้เจียระไนออกมา ทำนองเพชรทุกเม็ด มีน้ำเพชรมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น แต่บางเม็ดไม่มีโอกาสได้เจียระไน. เพชรทุกเม็ดทั้งที่เจียระไนแล้ว และยังไม่ได้เจียระไนก็ตาม ล้วนแต่เป็นเพชรเหมือนกัน ทำนองเดียวกับที่คนทุกคนเป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยกันทั้งนั้น เป็นแต่ของบางคน เจ้าตัวไม่มีโอกาสทำให้ปรากฏออกมาได้ในเวลานี้. – ผู้แปลเป็นไทย
(๕) คำว่าใช้ปัญญาทำลายความยึดถือในขันธ์ทั้งห้าเสีย ประโยคนี้ มักพูดกันสั้นๆ แต่เพียงว่าทำลายขันธ์ทั้งห้าเสีย. แม้ในต้นฉบับเดิมของสูตรนี้ก็ใช้สั้นๆ เช่นนี้เหมือนกัน จึงเติมเข้าให้ความชัด กันความเข้าใจผิดสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับคำประเภทนี้. – ผู้แปลเป็นไทย
(๖) ทางฝ่ายมหายาน ยึดเป็นหลักอันแน่นแฟ้นว่า สูตรบางสูตร ตรัสเฉพาะแก่บุคคลพวกอุคคติตัญญู คืออาจเข้าใจได้ในทันทีทันใดนั้น. แม้ในฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน ก็ยอมรับหลักอันนี้ เช่นอนุปุพพิกถา ตรัสเฉพาะผู้จะบรรลุโสดาในที่นั่งอันนั้นเอง ไม่ตรัสแก่คนที่ยังหนาเป็นปุถุชนเกินไปเป็นต้น. ด้วยเหตุนี้เอง นิกายบางนิกายจึงยืนยันหลักธรรมของตน ว่าเป็นคำตรัสเฉพาะคนพวกหนึ่งประเภทหนึ่ง. – ผู้แปลเป็นไทย
(๗) คำว่าได้รับใจของเขากลับคืนมา นี้หมายความว่า ใจเดิมที่บริสุทธิ์และสว่างไสว ไม่ได้ถูกกิเลสหุ้มห่อ นั้นเรียกว่าใจของเขาแท้. ในปัจจุบันนี้ กิเลสหุ้มห่อจนไม่เป็นใจของเขาเสียแล้ว เขาสู้รบกับกิเลสออกไปเสีย และเอาใจของเขาแท้กลับคืนมาได้. – ผู้แปลเป็นไทย
(๘) วิญญาณทั้งหกคือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ได้แก่จิตส่วนที่ไปทำหน้าที่รู้สึกตามทวารต่างๆ คือ ตา หู เป็นต้น อายตนะหก หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มโน, ที่ยังมีประสิทธิภาพ คือให้วิญญาณทำหน้าที่ได้. เป็นสื่อระหว่างวิญญาณกับอารมณ์. อารมณ์หกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ได้แก่ของข้างนอก ที่จะเข้าไปพบของข้างใน คือวิญญาณ โดยอาศัยอายตนะเป็นสนาม. – ผู้แปลเป็นไทย
(๙) คำว่า “นิรรูป” แปลว่า ไม่มีรูป, โดยศัพท์ตรงกับคำว่า อรูป, แต่คำว่าอรูป นั้น ได้ใช้กันมาก่อนแล้ว หมายถึงอรูปสมาบัติโดยเฉพาะ ถ้าไปใช้คำว่าอรูปเข้าในที่นี้อีก จะทำให้ผู้อ่านฟั่นเฝือ จึงแปลเสียว่า นิรรูป, ซึ่งความหมายคล้ายกัน คำว่าไม่มีรูปตามความหมายของนิกายนี้หมายถึงว่าเขาไม่เห็นว่ารูปธรรมเป็นของสำคัญ หรือกล่าวให้ถูกต้องยิ่งขึ้นไปอีก ก็กล่าวว่ารูปไม่มี. เพราะอะไรๆ ก็คือ จิตเดิมแท้ ไปทุกสิ่งทุกอย่าง จึงมีแต่ใจเท่านั้น สนใจแต่เรื่องใจอย่างเดียวก็พอแล้ว. - ผู้แปลเป็นไทย
(๑๐) จักรวรรดิของพระพุทธเจ้า หรือ Kingdom of the Buddha หมายถึง พุทธเกษตร หรือเขตที่อยู่ในอำนาจของพระพุทธเจ้า ในการที่สิ่งทั้งหลายจะได้เป็นไปตามกฎแห่งธรรมะ เช่น ปฏิบัติเช่นนี้ ได้ผลเช่นนี้ ปฏิบัติถึงนิพพาน ได้ผลถึงนิพพานเป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องรับประกันให้หายห่วงในการที่จะเกิดกลัวไปว่ากรรมจะไม่ให้ผลเป็นต้น หรือคำสอนของพระองค์ใช้ไม่ได้ในที่นี้ (ทำนองกฎหมายในเมืองไทย ใช้บังคับที่เมืองจีนไม่ได้เป็นต้น). แม้ว่าจะมีคำกล่าวในที่อื่น ว่าพุทธเกษตรมีหลายเกษตรเพราะพระพุทธเจ้ามีหลายองค์ แต่ในที่นี้พิจารณากันแต่ในแง่ว่า พระพุทธเจ้าทุกองค์มีปัญญาอย่างเดียวกัน ตรัสรู้และสอนอย่างเดียวกัน หรือเป็นองค์เดียวกัน นั่นเอง การแบ่งเป็นองค์ๆ เป็นความเข้าใจผิด หรือมิฉะนั้นก็เป็นการกล่าวอย่างสามัญตามสมมติ. - ผู้แปลเป็นไทย