23 พฤศจิกายน 2552 12:05 น.

"สัมผัสซ้ำ-ซ้อน"

คนกุลา

สัมผัสซ้ำ-ซ้อน
ผมเองตั้งแต่เขียนกลอนมา ก็เคยได้ยินเรื่องสัมผัส ซ้ำ สัมผัสซ้อน แต่ก็ไม่ได้ค้นคว้าจริง จังนัก จนกระทั่ง ท่านพี่แก้วประเสริฐ  ติงเรื่องนี้ ขึ้น  ด้วยความอยากรู้จึงไปลองหาอ่าน ค้นคว้าเรื่อง สัมผัสซ้ำ สัมผัสซ้อน ตามสำนวน ของ ครูไท และ ม้าก้านกล้วย ซึ่งคิดว่า อาจจะมีประโยชน์ เลยเอามาขยายความไว้ที่นี่ หากท่านใดสนใจ และ มีบางแง่มุม ก็ลองแลกเปลี่ยนกันดูเผื่อ เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ต่อไปนะครับ 

สัมผัสซ้ำ
ครู ไท ท่านว่าไว้อย่างนี้ นะครับ

สัมผัสซ้ำ คือการเอาคำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันมารับสัมผัสกัน ไม่ว่าคำนั้น จะมี หรือไม่มีความหมายต่างกันหรือไม่ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น

รักของน้อง จริงใจ ไร้นัยแฝง
ไม่เคยแสร้ง หลอกลวง คอยห่วงหา
แม้พี่มี ไมตรีจิต คิดเมตตา 
ส่งสายตา มาด้วย ช่วยเจือจาน

จะเห็นได้ว่า คำว่า "เมตตา" ไม่ได้มีความหมายเดียวกับ "สายตา" เลย แต่เมื่อออกเสียงเหมือนกัน จับเอามาสัมผัสกัน จึงถือเป็นสัมผัสซ้ำ เป็นการผิดกติกา ที่ดูเหมือนเป็นกติกาสากลของนักกลอนไปแล้ว

ทำนองเดียวกับคำว่า ตา ในตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น คำอื่น ๆ อาทิเช่น ใย (แมงมุม) กับ ไย (เหตุไฉน) , นัย (ตา) กับ ใน (ข้างใน) , กัลป์ กับ กัน, พรรณ กับ พันธุ์ และคำอื่น ๆที่ออกเสียงเหมือนกันแม้จะต่างความหมายก็ตาม

สำหรับ ม้าก้านกล้วย ท่านก็ว่า โดยยกจาก บทกลอน กาฝาก แบบนี้ ครับ
....มาแพร่พันธุ์ชันช่อบนกอก้าน 
หาอาหารจากน้ำเลี้ยงลำเลียงหลั่ง 
แซกไซร้ซอนชอนไชในต้นดั่ง 
แฝงฝากฝังเร้นเช่น(2) เป็นพุ่มพวย

....ต้นตั้งตาแสวงหาเผื่ออาหาร 
เพราะต้องการอยู่รอดไว้ใร้ใด(1) ช่วย
เพิ่มภาระให้แล้วยังใร้ ไม่อำนวย
อ่อนระทวยทอดร่างลงกลางดิน 

 กฎ สัมผัสซ้ำ คำว่า ไว้ และ ไร้ ใด ไม่สามารถส่งสัมผัสใน ทั้งหลัก ทั้งรอง พร้อมกันได้ (หากท่อนส่งมีสองคำ แล้วส่งมาโดยมีคำรับ 1 คำ ใช้ได้ เช่น คำว่า เร้นเช่น มาสัมผัสกับคำว่า เป็น พุ่มพวย) 


สัมผัสซ้อน คืออะไร ตัวอย่างนี้คงอธิบายได้ดี (สำนวนของครูไท ตอนเมาขี้ตา)

สมน้ำหน้า ตัวเอง อยากเร่งสอน
แม้ครึ่งค่อน ค่ำคืน ตื่นค้นคว้า
คอมฯเตรื่องเก่า บุโรทั่ง พังคาตา
เดี๋ยวก็ขึ้น จอฟ้า น่าเหนื่อยใจ

ประกาศแจ้ง ศิษย์รัก ให้รับรู้
ใช่แอบอู้ ถ่วงเวลา ก็หาไม่
เครื่องมันรวน ไม่ควรเร่ง ต้องเกรงใจ
ถ้าถึงขั้น ซื้อใหม่ ตังค์ไม่มี !

โปรดสังเกตคำว่า "ใจ" ในท้ายบทแรก ที่ส่งสัมผัสไว้ แล้วมารับด้วยคำว่า "ไม่" ในท้ายวรรคสอง แล้วก็ยังเอาคำว่า "ใจ" มารับสัมผัสที่คำท้ายวรรคสามของบทที่สองอีก
"บางสำนัก" ขอย้ำนะครับว่า บางสำนักเท่านั้น ที่ถือเอาการกระทำดังกล่าวเป็นข้อห้าม ถือเป็นสัมผัสซ้อน กล่าวคือ คำว่า "ไม่" ที่อยู่ตรงกลาง รับสัมผัสกับคำว่า "ใจ" ถึงสองแห่ง อย่างนี้เขาเรียกว่าสัมผัสซ้อน ถ้าเขียนเป็นแผนภูมิ จะได้ดังนี้ ใจ -- ไม่ -- ใจ ดังนี้ถือเป็นต้องห้าม แต่ก็มีบ้างบางสำนัก อนุโลมให้ใช้ได้ เพราะถือว่าไม่สัมผัสซ้ำ

และ "บางสำนัก" อีกนั่นแหละ ไปไกลถึงห้ามสัมผัสคำนั้นอีกในทุกวรรคของกลอนบทนั้นเลยด้วย เช่นจากตัวอย่าง ถ้าแก้วรรคที่สามและสี่เป็นดังนี้
..........................
เครื่องมันรวน ไม่ควรเร่ง เกรงมีภัย
จึงจนใจ ซื้อไม่ไหว เพราะมันแพง

ขนาดย้าย ใจ ลงมาไว้วรรคสุดท้ายของบทที่สองแล้ว ท่านก็ยังว่าไม่ได้อยู่ดี อะไรจะเคร่งครัดถนัดห้ามกันขนาดนั้นหนอ พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย ห้าม ๆ กันเข้าไป ( ครูไท ท่านว่าไว้ อย่าง นั้น)

ส่วนม้าก้านกล้วย ท่านว่า อย่างนี้ ครับ

....จนไม้โศกสิ้นร่างลงกลางป่า(1) 
ด้วยหนักเหลือภา(2) ระจึงสูญสิ้น 
ไม่อาจหา(3) อาหารพอต่อชีวิน
เพราะกาฝากฝากกากินจนสิ้นใจ 
 
.ม้าก้านกล้วย ว่า กฎ สัมผัสซ้อน ในวรรครอง จะไม่ให้ใช้สัมผัสนอกวรรค เหมือนวรรครับ ( คำว่าป่า ที่จะมาสัมผัสกับคำว่า ภา แต่ไม่สัมผัส กลับลงมาสัมผัสกับคำว่า หา) (ม้าก้านกล้วย : กลอนกาฝาก)

ดังนั้น หากพอจะจับใจความได้ ว่า วัตถุประสงค์ ที่บรรดาสำนัก กลอน ต่างๆ ท่าน ห้ามสัมผัส ซ้ำ สัมผัสซ้อน เพราะจะทำให้ กลอนขาดความไพเราะ เป็น สำคัญ 

โดยสามารถ สรุป กรณี สัมผัส ซ้ำ  ใจความได้ดังนี้ 

1.	สัมผัสนอก ภายในบทเดียวกัน เป็นคำซ้ำ กัน ไม่ว่าจะมีความหมายต่างกัน หรือเหมือนกัน ก็ตาม

  บัวบังใบใยบานสีหวานล้ำ (1)
งามเลิศล้ำ (2)ย้ำใจหาไหนเหมือน (3)
งามแสนสุดผุดราวพราวพร่างเตือน
งามเสมือน (4) เยือนแดนแคว้นวิมาน (5)

จากตัวอย่าง ข้าง บน (1) กับ (2) และ (3) กับ (4) ถือเป็นการ สัมผัส ซ้ำ

2.	การสัมผัสระหว่างวรรค 
 
เมื่อคราไกลแก้วตาจวนลาล่วง
ราวจากดวงหทัยหมายบรรสาน
ฤๅได้เยือนผืนแผ่นแดนพิมาน (6)
หวังนงคราญชื่นชมภิรมย์ปอง

กรณีนี้ เป็น สองความเห็น บางความเห็นว่า สัมผัส (5) จาก ข้อ 1 กับ (6) ในข้อ 2 นั้นห้ามใช้  เพราะว่าเป็น สัมผัส ซ้อน บางสำนักไม่ห้าม แต่ส่วนตัวผม คิดว่า มันไม่ค่อย ไพเราะ เลย ไม่ทำ ส่วนท่านอื่น ก็แล้วแต่จะพิจารณาดู นะครับ

3.	การสัมผัส ใน ที่ คำหนึ่ง ส่ง สอง สัมผัส เช่น

  เมื่อได้พบสบตา (7)มาลา (8)หนี
ลืมจำปีที่เคยเชยเพียงสอง
ชื่นชมดวงดารา (9) ครา (10)เคียงครอง
สร้างครรลองสุขศรีทุกวี่วัน

กรณี สัมผัส ใน (7) กับ (8) นั้น เป็น สัมผัส ซ้ำ 
ส่วนกรณี  ท่อนส่ง สองคำ ส่ง ไปสู ท่อนรับ หนึ่ง คำ (9) กับ (10) นั้นใช้ได้

4.	สัมผัส อีก ชนิดหนึ่ง ที่เข้าข่าย สัมผัส ซ้อน คือ

  การนำเอา สัมผัสนอก ไปรับ รอง เช่น

	ด้วยได้หวังไว้ว่าคราคราวใหม่ (11)
เก็บดวงใจ (12)ใครหนาคราสุขสันต์
เพ็ญยองใย (13)ในนภาคราพบกัน
คงมุ่งมั่นจิตตรึงส่งถึงกัน

จาก ท้าย วรรคสดับ ที่ 11 ส่งไป สู่สัมผัสบังคับ ที่ 12 ในวรรค รับ ส่วนสัมผัส ที่ 13 ในวรรค รอง เป็นสัมผัส ที่เกินมา ถือเป็น สัมผัส ซ้ำ

สัมผัส เรื่อง การเขียน กลอน เรื่องสัมผัส ซ้ำ สัมผัส ซ้อน ผมถือว่า สำคัญ และน่าสนใจ ที่จะส่งผลให้กลอน ไพเราะ หรือ ลดความ ไพเราะลง แต่ อันไหน เป็น สัมผัส ซ้ำ อันไหน เป็น สัมผัส ซ้อน นั้น อาจจะทำให้ สับสน พอสมควร เอาเป็นว่า สำหรับ ผม ขอทำความเข้าใจ รวมๆ ว่า สัมผัสซ้ำซ้อน น่าจะเข้าใจง่ายกว่า รวมทั้งสะดวก
ในการนำไปปฎิบัติ ในเวลา เขียนกลอนนะครับ



คนกุล

ต้นเหมันต์				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟคนกุลา
Lovings  คนกุลา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟคนกุลา
Lovings  คนกุลา เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟคนกุลา
Lovings  คนกุลา เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงคนกุลา