29 มกราคม 2553 10:57 น.

ปลุกกระแสเพลงไทย...เมื่อครั้ง ยุค ซิกตี้...

กิ่งโศก

a1.jpg&h=94&w=133&usg=__dqZhm8nRYvVAJPXG

..กิ่งโศก ตั้งแต่ออกจากบ้าน(นอก) มาเผชิญโชคใน เมืองหลวง จะว่าเมืองหลวงก็ไม่ค่อยจะถูกนัก เพราะแรก ๆ เลย ไปทำงาน ในโรงงาน ในจังหวัดสมุทรปราการเขตติดต่อ กับกรุงเทพฯ เรียกว่าปริมณฑล นั่นแหละครับ..
พูดถึงเมืองปากน้ำ ( สมุทรปราการ) หลายๆ คนคงนึกถึง สถานตากอากาศ บางปู ดูนกนางนวลและเต้นลีลาศ   สถานพักฟื้นสวางค์   ฟาร์มจรเข้  หรือไม่ก็ เจดีย์กลางน้ำที่พระประแดง..( มีอยู่ช่วงหนึ่ง ถูกสังคมตราหน้าว่า ...
โคตระ โกง..จากการเลือกตั้ง) อิอิ..

nn23.gif

	เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ของเมืองเป็นปากอ่าวทะเล  คือเป็นที่สินสุด ของลำน้ำเจ้าพระยา..ดินแดนแถบนี้ มีเรื่องราวมากมายนัก..แต่ตามท้องเรื่อง หุหุ ..กำลัง จับประเดน บทเพลง ของเมืองๆ นี้ ..ยุคต้นๆ มีเพลง .เก่าๆ ร้องเกี่ยวกับบางปู..(ครูล้วน ควันธรรม หรือเปล่าไม่แน่ใจนะครับ  กิ่งโศก ก้ออาศัยฟังจากการเล่า ทางวิทยุ AM ที่คนฟังกันน้อย แล้ว ..มีนักจัดรายการเพลงเก่าคนหนึ่ง  แกเปิดเพลง แล้วเล่าความเป็นมาของแต่ละเพลง ว่ามาแบบนั้น ใครร้อง ..แล้วก็ขายยา หุหุ..ดีเจ ชื่อ คุณเกรียงศักดิ์  ประครองวงค์ )  และมาสะดุดใจเพลง...ลาทีปากน้ำ..

  ที่สะดุดใจ เพราะ มาเป็นผู้ใช้แรงกายอยู่ที่นี่หลายปี เริ่มผูกพัน กับเมืองนี้ สาวๆ สวยครับ อิอิ   ..ชีวิตจึงมีความ คล้ายๆ เพลงนี้  ..
ตอนลาออกจากงาน  เพื่อน ๆ พาไปเลี้ยงไล่ส่ง..เขาก็ให้กิ่งโศกร้องเพลงนี้ ..คาราโอเกะ..

                              มาดูเนื้อเพลงกันก่อนนะครับ ก่อนที่จะว่า...อย่างอื่น ต่อ.
nn28.gifnopadon.jpg

                       ลาทีปากน้ำ   

คำร้อง ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ
 ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน  
ผู้ขับร้อง นพดล ชาวไร่เงิน
  
ตัวมาปากน้ำ น้ำตาเจ้ากรรมพรำร่วง 
มันรินล้นทรวง รดแดร้อนดวงร่วงพรำจนช้ำเลือดตรม 
อยากผลักชีวิตผลอย คล้อยลอยน้ำไปตามคลื่นลม
ระทวยระทม แล้วจมร่างตามความรักร้างไป 
เธอคนปากน้ำ น้ำคงขึ้นลงตรงหน้า 
จะลอยน้ำมาหาเธอทุกคราคลื่นครวญรัญจวนป่วนใจ 
จะพร่ำคำเพ้อ ละเมอมนต์รักมาตามฝั่งไกล 
ร้องเพลงผีพราย พิไรขอรักเธอไว้โลมฝั่ง 
ฝันฝัน เพ้อเพ้อ เธอก็คงคร่ำครวญ 
ปากน้ำคงซึ้งโศกชวนทบทวนหวนไปยังเบื้องหลัง 
เราฝากสัมพันธ์ น้อยหรือนั่นมันรักหรือชัง เพราะเธอว่าจะรักจริงจัง 
ฉันจึงหวังคลั่งไคล้มิคลาย 
ลาทีปากน้ำ น้ำจงจบกรรมจำเศร้า 
วิญญาณรักเราน้ำจงรับเอาเฝ้าธารอันพล่านภูติพราย 
อนาถใจหนา ขอลาดินฟ้าอาวรณ์ก่อนตาย 
โถยังเสียดาย เสียดายนิยายสวรรค์สวาท  

nn30.gif
หากพิจารณาการประพันธิ์ ผู้ประพันธ์ ท่านนี้ในประวัติ เคย เขียน โคลง กาพย์ กลอน ถวาย องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย..เพราะฉะนั้น ..จึงมีเกร็ด เล่าว่า...ผู้ประพันธ์เพลง ทะเลาะ กับครูเอื้อเป็นประจำ ..ด้วยครูเอื้อให้แต่งแบบ สุนทรภู่..แต่ ท่านกับชอบแต่งแบบศรีปราชญ์..  
อันนี้คงเข้าเคล้า เพราะการเล่นคำ ออก ในแนวโคลง ..

....เพลงนี้  มีที่มา ว่า ท่านศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ..ไปหลงรักสาวปากน้ำ คนหนึ่ง ชื่อ คุณ ขนิษฐา.แต่สาวเขา เซย์โน..เลยน้อยใจ จนแทบ จะกระโดดน้ำ ที่ปากน้ำเจ้าพระยา ตายสิ้นแล้วสิ้นเลย  ตายแล้ว ก็จะกลับมาหลอกหลอน..ในฐานที่  ปฏิเสธ รัก...หุหุ

nn39.gif
อยากผลักชีวิตผลอย คล้อยลอยน้ำไปตามคลื่นลม
ระทวยระทม แล้วจมร่างตามความรักร้างไป
ประโยคที่จะโดดน้ำตาย..


เธอคนปากน้ำ น้ำคงขึ้นลงตรงหน้า 
จะลอยน้ำมาหาเธอทุกคราคลื่นครวญรัญจวนป่วนใจ 
จะพร่ำคำเพ้อ ละเมอมนต์รักมาตามฝั่งไกล 
ร้องเพลงผีพราย พิไรขอรักเธอไว้โลมฝั่ง 
ประโยค ที่ตายแล้วจะตามมาหลอกหลอน ในรูปผีพราย....หุหุ
. nn47.gif

.................................................................................................
ที่ว่าเป็นเพลงปลุกกระแส คนไทยหันมาฟังเพลงไทย ในยุค ซิกตี้ ก็ คือ เพลงนี้ แต่งเมื่อ 2506 โอ้โห ยังไม่เกิดเลยอะ..
คือ คนรุ่นปู่ ย่า ตายาย  ตอนนั้นกำลังคลั่งบทเพลง สากล แบบฝรั่ง เอลวิส..ลองอ่านตามที่มีผู้ เขียนไว้นะครับ

nn72.gif

 ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าถึงเรื่อง"เพลงเก่า"ในยุคซิ๊กตี้
       หนังสือเล่าถึงเพลง"ลาทีปากน้ำ" ว่าเป็นเพลงที่"โดนใจ"นักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษาในยุคนั้นมาก ทำให้นักเรียนมัธยมไทยในช่วงปี 2506 เป็นอย่างมาก ทั้งที่นักเรียนวัยรุ่นไทยยุคนั้นไม่ชอบฟังเพลงไทย เพราะเกือบทุกคนหลงใหลเพลงฝรั่ง ทั้ง เอลวิส เพรสลีย์ คลิฟ ริชาร์ด เดอะบีทเติ้ล ฯลฯ ใครที่"ชอบฟัง"เพลงไทยก็จะเป็นคนตกยุค โบราณ ...ไม่ต่างจากวัยรุ่นวันนี้มากนัก
       แต่เมื่อทุกคนได้ยินเพลงนี้ ก็กลับต้องฟังและชอบเพลงไทยจนเกิดกระแส"คลั่งเพลงไทย"ขึ้นมาในยุคนั้น(จริงเท็จผมไม่รู้นะครับ..เขาว่ามา)
       หนังสือเล่าว่า เพลง"ลาทีปากน้ำ" เป็นที่คลั่งใคล้ของนักเรียนมัธยมไทยสมัยนั้น ถึงขนาดวิทยุสมัยนั้นต้องเปิดเพลงลาทีปากน้ำวันละหลายๆครั้ง เพราะมี"หนุ่ม"มอบเพลงนี้ให้"สาว"...ไม่แน่ใจว่าสาวปากน้ำหรือเปล่า?   
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=224401

nn73.gif

ฟังเพลงเก่าๆ ใช่จะเก่านะครับ อิอิ

nn2.gif				
28 มกราคม 2553 11:37 น.

โอ้ว่าแม่จ๋า......จำประโยคนี้ได้หรือไม่.

กิ่งโศก

li40.gif	
 ในทุกๆ ปี ในวาระโอกาส วันสำคัญ เช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ขององค์สมเด็จพระราชินี ของเราชาวไทยทุกคน   คือ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี ที่คนไทยได้ถือเอาวันนี้ เป็นวัน
  แม่  
.....กิ่งโศก คนยาก จะได้ยิน บทเพลงเกี่ยวกับพระคุณ แม่ ดังกระหึ่ม  ในหมู่บ้าน ในเคหาส์ หรือแหล่งชุมชน ต่าง ๆ กันทั้งเดือน สิงหาคม เลยทีเดียว มีหลายเพลง และนักร้อง ที่ร้องหลายคน...
   และ บทเพลงที่ถือ ว่า เป็นต้นแบบ ที่กิ่งโศก ฟัง ทีไร น้ำตาจะคลอไปด้วยทุกครั้ง นั่น คือเพลง
 ค่าน้ำนม..
บทเพลงนี้ ถูกถ่ายทอดโดย นักร้อง มากมาย...ใครร้องก็ ประทับใจทุกครั้ง..ยิ่งคนที่กำพร้ามารดาด้วยแล้ว ..เพื่อนของข้าพเจ้า เคยวิ่งไปหลบ มุมหลังห้องเรียนร้องไห้มาแล้ว สมัยเป็นนักเรียน ประถม..
li40.gif
....คนร้อง   ทำนอง...ที่ประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ..นั่นยิ่งทำให้มีความวิจิตรยิ่ง..แต่อื่นใด กิ่งโศก กับเห็นความเลิศอัฉริยะในเชิงกวีบท  และเนื้อหา ของผู้ที่ประพันธ์บทเพลง บทนี้ ..ครูไพบูลย์ บุตรขัน.... ในทุกวลีที่ผจงกรองกลั่นออกมาช่างเปี่ยมไปด้วยความหมายในอารมณ์ ของผู้แต่งหรือผู้ที่เป็นบุตรพึงเขียนถึงแม่...แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง...เพียงแค่วรรคแรก คงสะกดความรู้สึกแก่เหล่าผู้บุตรชายหญิง..ต้องสดับแล้ว...
หรือ แม้แต่ท่อนนี้ ที่ทำให้ กิ่งโศก..ต้องน้ำตาซึม..โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม

..........ก่อนที่จะถึงที่มาของบทเพลงนี้...เรามาร้องทวนกันอีกสักครา ดีไหม..

li40.gif
เพลงค่าน้ำนม
 
"แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง
ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอ้ละเห่
กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเห ไปจนไกล
เมื่อเล็กจนโตโอ้แม่ถนอม
แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ
เติบ โตโอ้เล็กจนใหญ่
นี่แหละหนาอะไร มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม

* ควร คิดพินิจให้ดี 
ค่าน้ำนมแม่นี้ จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม
เลือดในอกผสม กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง
แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวช เรียนพากเพียรจนสิ้น
หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย"
li40.gif

กิ่งโศก ขอคัดลอกที่มาของเพลงนี้ จากเวป นี้ : http://thainews.prd.go.th/Misc/motherdaynew/milk.html


ความเป็นมาของเพลง "ค่าน้ำนม"
 
          


เพลงค่าน้ำนม เป็นเพลงที่แต่งโดย ไพบูลย์ บุตรขัน ขับร้องบันทึกเสียงครั้งแรกโดย ชาญ เย็นแข เมื่อ พ.ศ. 2492 ได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมาก เป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับไพบูลย์ บุตรขัน และชาญ เย็นแข มากที่สุด ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพลงที่เป็นรากฐานของเพลงลูกทุ่ง ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2532 
 
          เพลงค่าน้ำนม เป็นเพลงหนึ่งในจำนวน 5-6 เพลง ที่ไพบูลย์ บุตรขัน แต่งให้กับมารดา คือนางพร้อม ประณีต (ครูไพบูลย์ มีนามสกุลเดิมว่า ประณีต) ซึ่งเป็นผู้ที่ดูแลครูไพบูลย์อย่างใกล้ชิดมาตลอด ตั้งแต่วัยหนุ่มจนท่านเสียชีวิตในวัย 70 กว่าปี เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2508 ถึงแม้ครูไพบูลย์จะป่วยเป็นโรคเรื้อนซึ่งได้รับความรังเกียจจากบุคคลทั่วไป
 
          เพลงค่าน้ำนม เป็นเพลงแรกที่ชาญ เย็นแข ได้รับการบันทึกเสียง โดยในครั้งแรกครูไพบูลย์ตั้งใจจะให้บุญช่วย หิรัญสุนทรเป็นผู้ขับร้องบันทึกเสียงกับวงดนตรีศิวารมย์ของครูสง่า อารัมภีร แต่บุญช่วย หิรัญสุนทรเกิดป่วยไม่สามารถมาร้องได้ ครูสง่าจึงเสนอให้ชาญ เย็นแขซึ่งเป็นลูกศิษย์ มาขับร้องแทน 
 
          ในการขับร้องบันทึกเสียงครั้งแรก ครูสง่า อารัมภีร เป็นผู้เล่นเปียโน บันทึกเสียงเพียงไม่กี่ครั้งก็ใช้งานได้ เรียบเรียงเสียงประสานโดย สง่า อารัมภีร และ ประกิจ วาทยกร (บุตรชายของพระเจนดุริยางค์) วางจำหน่ายเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2492 โดยบริษัทนำไทย จำกัด แผ่นเสียงตราสุนัขสลากเขียว แผ่นครั่งขนาด 10" ความเร็ว 78 รอบต่อนาที ขายได้ 800 แผ่น 
 
          หลังจากแผ่นเสียงเพลงนี้ออกจำหน่าย ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ลาวัณย์ โชตามระ นักหนังสือพิมพ์บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2508 ว่า เป็นประวัติการณ์ที่ว่า พอถึงวันแม่ซึ่งทางการยุคหนึ่งกำหนดให้ถือเอาวันที่ 15 เมษายน ตลอดวัน วิทยุก็จะกระจายเสียงแต่เพลงที่เขาแต่งขึ้น นั่นคือ เพลงค่าน้ำนม ที่มีเนื้อร้องขึ้นต้นว่า "แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง..." 

li40.gif090809el571390.jpg
อันที่จริง อยากนำเสนอ ประวัติ คีตกวีลูกทุ่ง ท่านนี้ ..เพราะ ในช่วงชีวิตที่รุ่งโรจน์ นั้น ท่านยังเผชิญกับโรค ทุกบั่นทอน ชีวิตท่าน...บทเพลงที่ท่านเขียน ล้วน จำลอง มาจาก ชีวิตท่าน..

  แม่ เป็นคำที่ฟังแล้ว ยิ่งใหญ่เหลือเกิน..มีคำที่นำเอาไปเขียนนำ หรือชี้บ่งความหมายที่ยิ่งใหญ่มากมาย..
แม่น้ำ
แม่ธรณี 
แม่พระ
แผ่นดินแม่

.........ในฐานะเราเป็นลูก จึงควรกตัญญู ต่อแม่...ต่อ ผืนแผ่นแม่..แผ่นดินไทย แผ่นดินมาตุภูมิ ที่มิควร อกตัญญู ..

li32.gif

http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/15.wma

				
27 มกราคม 2553 13:53 น.

หนึ่งในดวงใจ จอมพล นักปฏิวัติ...

กิ่งโศก

part_3.htm_txt_500.gif

...กำลังดื่มด่ำ สุนทรีย์ กับบทเพลงเก่า ๆ ทำให้เคลิบเคล้ม สู่ภังค์...ปลดเปลื้องเรื่องราวต่างๆ รอบๆตัว ..ไม่รับรู้อะไร ..คงให้จิตใจหมุนแลลอยล่องไปตามท่วงทำนอง..ขับขานของบทเพลงนั้น ๆ...การเมืองการมุ้ง หายินดียินร้ายไม่...
.....วันนี้ นึกถึงเพลงแต่ละเพลงมันมีที่มายังไง ไปยังไง ไฉน จึงเป็นเพลงนี้ เลย ค้นๆ หา ๆ  ...เริ่มที่เพลงนี้ก่อนเลย.....หนึ่งในจอมใจ ของจอมพล นักปฏิวัติ....อิอิ...( บทเพลงนะครับ ..)

li40.gif
                                                หนึ่งในดวงใจ

คำร้อง ชอุ่ม (ปัญจพรรค์) แย้มงาม

ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน


(ช) พี่นี้มีน้องอยู่ในดวงใจเท่านั้น	 หญิงอื่นหมื่นพันจะมาเทียมทันที่ไหน

แต่รักของพี่ซ่อนอยู่กลางใจข้างใน	    หนึ่งในดวงใจคือเธอคนเดียวแท้เทียว

หากน้องได้รู้ว่าพี่รักน้องหนักหนา	      ขอได้เมตตาแก่ดวงวิญญาโดดเดียว

ผิดบ้างพลั้งบ้างก็ไม่จืดจางขาดเกลียว 	น้องเป็นคนเดียวหนึ่งในดวงใจ

หากอาทิตย์ลับโลกโศกสลด 		จะมืดหมดทุกชีวิตยังทนได้

แต่ขาดน้องที่พี่ปองหนึ่งในดวงใจ		 ทนไม่ได้จะต้องตายลงไปพลัน

พี่นี้มีน้องอยู่ในดวงใจเสมอ 		รักแต่เพียงเธอยิ่งกว่าชีวันเชื่อฉัน

พี่ปองรักเจ้าเฝ้าแต่ผูกพันแจ่มจันทร์		 มีเธอเท่านั้นที่เป็นที่หนึ่งครองใจ

(ญ) หากน้องได้รู้ว่าพี่รักน้องหนักหนา 	ขอฝากชีวาไม่มีคลาดคลาห่างหาย

จะรักให้ยิ่งกว่าผู้อื่นใดยอดชาย		 หากตัวจะตายก็ไม่คลายรักเลย

เมื่อน้องได้รู้ว่าหนึ่งในใจพี่นั้น 		ใช่อื่นคือฉันจิตที่ผูกพันพี่เอ๋ย

ผิดบ้างพลั้งหน่อยก็ไม่ขาดลอยจากเลย 	น้องยังชื่นเชยอยู่ไม่วางวาย

หากอาทิตย์ลับโลกโศกสลด		 จะมืดหมดทุกชีวิตยังทนได้

แต่หากน้องไม่ได้เป็นหนึ่งครองใจ		 ทนไม่ได้จะต้องตายลงไปพลัน

พี่นี้มีน้องหนึ่งในดวงใจแน่หรือ 		น้องนี่จะถือพี่ดั่งตะวันเช่นกัน

จะรักพี่ยิ่งกว่าดวงชีวันเชื่อฉัน 		น้องมีพี่นั้นที่เป็นที่หนึ่งชูใจ

01199-5.jpg
  รูปถ่ายครูเอื้อ สุนทรสนาน 

เป็นข้อมูลจากรายการทีวี ช่องหนึ่ง ( ไม่ระบุช่องครับ อิอิ ไม่ใช่ ช่อง 1 ) ได้มีการพูดถึงเพลงนี้ พร้อมที่มา...ว่า เป็นบทเพลงที่ ครูเอื้อ สุนทรสนาน บรมครูเพลงและนักแต่เพลง ได้แต่งเพลงนี้ให้กับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตามคำขอ...อิอิ ใช้งอนง้อ ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยาของท่าน ที่งอนว่าท่านมีรักอื่นมากมาย 
 Activities_pic0050034.jpg


....อย่านึกว่าหทารชาตินักรบ ใช่แต่จะแบกปูนไปโบกตึกอย่างเดียว อิอิ..อันสำแดงถึงความองอาจ เข้มแข็ง...แต่ในมุมหนึ่งกลับมีอารมณ์สุนทรีย์ ด่ำด่ำกับคีตแห่งสวรรค์ บรรเลง บทเพลง..ทั้งที่เริงใจ และจรรโลงโลกไว้.....
li32.gif
  บทเพลงดูเหมือน เป็นสิ่งปลดปล่อย อารมณ์ ของคนทุกคนจริงๆ 
คงสมกับที่ พระราชนิพนธ์ ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เรื่อง  "เวนิสวาณิช" 
 
ชนใดไม่มีดนตรีกาล		 ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ 		เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์
ฤๅอุบายมุ่งร้ายฉมังนัก			 มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก			 ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่
ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้			 เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ 
li40.gif

   จะเห็นได้ว่า อันมนุษย์ เราๆ ท่านๆ นั้นจะสูงต่ำ จะชนชั้นใด จะรากหญ้า หรือชาวฟ้า...หากมีดนตรีสถิตย์ในห้วงใจแล้ว...ปีติ ย่อมบังเกิดแด่ ท่าน  แด่เธอ  แด่ มวลมิตร และไม่มิตร..
li40.gif				
26 มกราคม 2553 16:13 น.

ลำคลองแห่งความหลัง.....คลองบางกอกน้อย

กิ่งโศก

reply427531_M5401309-404.jpg&t=1&h=196&w
สุดคลองบางกอกน้อย... 
พายเรือตามหาบัวลอย จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย 
ปากพี่ตะโกนกู่ ถึงยอดชู้ เพื่อนร่วมกาย 
ไม่รู้ว่าเจ้าจมหาย ลอยไปแห่งใดเล่าหนา

ใจพี่แทบขาดแล้ว...
มือคงยังจ้ำยังแจว ตามหานางแก้วดวงตา 
ศพน้องเจ้าลอยล่อง อยู่ใต้ท้องสุธารา 
หรือว่าลอยออกนอกเจ้าพระยา จึงค้นหาไม่พบศพบัวลอย 

โถ เจ้าว่ายน้ำไม่เป็น 
ยังลงว่ายเล่น เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย 
น้ำเชี่ยวยิ่งเหลือ เจ้าจึงเป็นเหยื่อ คลองบางกอกน้อย 
จิตใจพี่ให้เศร้าสร้อย ถึงบัวลอย แม่จอมขวัญ 

สุดหล้าสุดฟ้าเขียว...
เธอเป็นแม่พระองค์เดียว ที่เหนี่ยวใจรักคงมั่น 
เจ้าสิ้นใจต่อหน้า ด้วยพี่คว้าเจ้าไม่ทัน 
เหมือนพี่พิฆาตเด็ดดวงชีวัน จอมขวัญนงนุช สุดบูชา
...จากกระทู้ก่อนเรื่องบทเพลง  สดุดกับเพลงนี้แหละครับ  ศพลอย หรือ เปลี่ยนเป็น  บางกอกน้อย"
  หากสดับฟังจักรู้สึก โศกอาดูร ไปกับการสูญเสีย นางอันเป็นที่รัก ที่จมน้ำตาย...แต่ เพลงนี้  ประดามีคณะตลกหลายคณะ เอามาล้อเล่นเชิงตลกขบขัน กันพอสมควร เช่น..
สุดคลองบางกอกน้อย... 
พายเรือตามหาบัวลอย จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย 
  ..ก็มันสุดคลอง แล้ว จะพายไปต่อได้หรือ นั่น 555

โถ เจ้าว่ายน้ำไม่เป็น  ยังลงว่ายเล่น เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย 
น้ำเชี่ยวยิ่งเหลือ เจ้าจึงเป็นเหยื่อ คลองบางกอกน้อย 
จิตใจพี่ให้เศร้าสร้อย ถึงบัวลอย แม่จอมขวัญ   
......................... ว่ายน้ำไม่เป็นแล้วยังจะไปเล่นน้ำที่กำลังเชี่ยวทำไม ละ น้องบัวลอย..เอ๋ย...บัวลอย

 เธอเป็นแม่พระองค์เดียว ที่เหนี่ยวใจรักคงมั่น 
เจ้าสิ้นใจต่อหน้า ด้วยพี่คว้าเจ้าไม่ทัน 
เหมือนพี่พิฆาตเด็ดดวงชีวัน จอมขวัญนงนุช สุดบูชา 
. กรรมของนางสาวบัวลอย ที่ได้แฟนแบบนี้ ขนาด เห็นจะ จะ ต่อหน้า ยังคว้าไม่ทัน ...กำ  เง้อ....แฟนบัวลอย ชื่อ ย้อย เพราะ ประโยคนี้...จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย....

                  เข้าเรื่องดีกว่าครับ..คลองบางกอกน้อย ทีอยู่ในกลางมหานคร...กรุงเทพฯ .. อ่านเจอว่า คลองนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่..สมัยอยุธยา  และโดยกษัตริย์ ของกรุงศรีอยุธยา เป็นผู้ให้ขุดคลอง นี้..
อ้างอิงข้อความเหล่านี้ 
tample13.jpg
แม่น้ำเจ้าพระยาดั้งเดิม กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระอธิบายว่า ลำน้ำเจ้าพระยาเดิมตั้งแต่ปากน้ำเจ้าพระยาเดิมขึ้นมาตามแม่น้ำทุกวันนี้ จนถึงคลองบางกอกใหญ่ (หรือที่เรียกกันว่า คลองบางหลวง) ในระหว่างวัดอรุณ ฯ กับวัดกัลยาณ์ ฯ ที่วัดกัลยาณ์เองเป็นตัวแม่น้ำ ตลิ่งอยู่ที่กุฎีจีน คือศาลเจ้าเจ็กอยู่ติดข้างใต้วัดกัลยาณ์เดี๋ยวนี้ ลำแม่น้ำเดิมเข้าทางบางกอกใหญ่ไปเลี้ยวบางระมาด ตลิ่งชัน วกมาออกคลองบางกอกน้อย ขึ้นทางสามเสน (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ภาคต้น 2505 หน้า 487)
    ประเด็นเกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิมของกรุงเทพ ฯ มีข้อความอธิบายอีกอย่างหนึ่งซึ่งบางทีอาจจะช่วยให้ชัดเจนมากยิ่งขี้น ดังนี้
khalon19.jpgkhalon20.jpg
อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม (รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชามนุษยวิทยาและโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า "ตำบลบางกอก" อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใกล้อ่าวไทย เป็นบริเวณที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาไหลคดเป็นรูปโค้งเกือกม้า (OXBOW LAKE) กล่าวคือเมื่อแม่น้ำไหลมาจากทิศเหนือผ่านเขตจังหวัดนนทบุรี มาถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อย ก็ไหลวกไปทางทิศตะวันตก กลายเป็นคลองบางกอกน้อย พอถึงบางระมาดก็ไหลวกลงใต้ กลายเป็นคลองบางระมาดมาถึงวัดนวลนรดิศแล้ววกมาทางตะวันออกเป็นคลองบางกอกใหญ่ เมื่อมาถึงวัดอรุณราชวรารามก็วกไหลเรื่อยลงไปทางทิศใต้จนออกทะเลที่ปากแม่น้ำ
    การที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมไหลคดเคี้ยวเป็นรูปโค้งเกือกม้านั่นเอง เป็นเหตุให้สองฟากแม่น้ำคดโค้งนี้กลายเป็นที่ดอนขึ้นมา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแม่น้ำนำตะกอนจากที่ต่าง ๆ ทางเหนือมาทับถมทุกปีในฤดูน้ำหลาก จึงเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย
    อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายเพิ่มเติมอีกว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชุมชนย่านบางกอกนี้มีความเจริญและพัฒนาขี้นเป็นศูนย์กลางของประเทศได้ ก็เพราะมีลำน้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อทั้งภายในภายนอกได้สะดวก
    ในบรรดาบ้านเมืองสำคัญ ๆ ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 ด้วยกันแล้ว จะเห็นว่าพระนครศรีอยุธยาอันเป็นราชธานีของไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมานี้ จำเป็นต้องอาศัยลำแม่น้ำเจ้าพระยานี้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการเดินลงเรือจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อจะเข้าไปยังพระนครศรีอยุธยาจึงต้องผ่านชุมชนที่เป็นบ้านเมืองขึ้นไปเป็นระยะ ๆ
    เมื่อเดินทางเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแล้ว ก็จะถึงชุมชนย่านบางกอก เป็นแหล่งพักสินค้าได้ดีที่สุด เพราะเส้นทางน้ำที่จะเดินทางต่อไปไม่สะดวกเนื่องจากลักษณะคดและโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมดังกล่าวมาแล้วจะต้องเสียเวลาอีกมากนักเพราะฉะนั้นจึงต้องจอดพักกันที่ย่านบางกอกกันก่อน ในที่สุดย่านบางกอกก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น และชุมชนก็ยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย
    ความสนใจที่พระนครศรีอยุธยามีต่อ บางกอก นั้น มีหลักฐานปรากฎอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตรงกันเกือบทุกฉบับว่า.......
    "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านั้น ก็ได้ขุดคลองบางกอกใหญ่ตำบลหนึ่ง" (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ 2515 หน้า 580)
Bangkoknoi%2520canal.jpg
  ข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีเพียงเท่านี้เอง ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะมีสาระสำคัญใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่อ่งนี้มีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในยุคดังกล่าวมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีความสำคัญต่อฐานะความก้าวหน้าของตำบลบ้านย่านบางกอก
    เพราะนี่คือหลักฐานที่ระบุว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ตรงส่วนที่แคบที่สุด ที่ทุกวันนี้เรียก ปากคลองบางกอกน้อยไปถึงคลองบางกอกใหญ่ และปัจจุบันนี้กลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือหน้าสถานีรถไฟในบางกอกน้อย ไปจนถึงวัดอรุณราชวราราม
    ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิม ที่ย่านย่านบอกกอกก็แคบลง กลายเป็นคลองดังที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า 
"คลองบางกอกน้อย" และ "คลองบางกอกใหญ่"
reply427531_M5401309-404.jpg
    แม่พระราชพงศาวดารจะระบุปีที่ขุดคลองลัดนี้ว่า "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก" ซึ่งเทียบได้ตรงกับ พ.ศ.2065 แต่จะเอาแน่นอนนักก็ไม่ได้ เพราะโอกาสคลาดเคลื่อนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ส่วนที่แน่ ๆ คือ การขุดนี้เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่ทรงครองราชสมบัติอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2077-2089
(และเป็นกษัตริย์ที่มีสนมเอกนามว่า เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ นั่นเอง)
    สาเหตุที่สมเด็จพระไชยราชาธิราช โปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ขึ้นนี้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายต่อไปว่า ในสมัยนั้นการติดต่อกับต่างประเทศ เข่น จีน และ โปรตุเกส มีความสม่ำเสมอมากขึ้น ราชสำนักกรุงศรึอยุธยาจีงให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกในเรื่องการคมนาคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงโปรดให้ขุดคลองลัดที่ย่านบางกอก เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย แล้วผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราชไปจนถึงคลองบางกอกใหญ่ ข้างวัดอรุณราชวราราม เมื่อกระแสน้ำมีร่องให้พุ่งตรง ซึ่งจะไหลคล่องกว่าการเลี้ยวลดคดโค้งไปตามเส้นทางเดิม กระแสน้ำจึงมีกำลังแรง สามารุทำให้คลองลัดขยายกว้างขึ้นด้วยการทำลายสองฟากตลิ่ง จนกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแทนสายเก่า ส่วนลำแม่น้ำเดิมก็แคบเข้าจงเหลือเป็นคลอง ดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
    กล่าวกันว่า การขุดคลองลัดที่ย่านบางกอกนั้น ช่วยย่นระยะทางคมนาคมากทีเดียว เพราะแทนที่จะเสียเวลาพายเรือทั้งวันเพื่ออ้อมไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า ก็จะเหลือเพียงชั่วไปทันตั้งหม้อข้าวเดือด
    ผลที่ตามมาอย่างรวดเร็วก็คือ ย่านดังกล่าวกลายเป็นเกาะ และ ขยายชุมชนใหญ่ขึ้นเป็นบ้านเรือนและเรือกสวนมากมาย ในที่สุดก็กลายเป็น "เมือง" อยู่บริเวณสองฟากฝั่งคลองลัดที่กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
reply427531_M5401309-404.jpg
    จากบทความนี้ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงห่วงใยในอาณาประชาราษฎรของพระองค์ ทรงสดับตรับฟังทุกข์สุข ทรงฟังปัญหา ทรงแก้ปัญหาให้ประชาราษฎร์ของพระองค์ด้วยพระปรีชาญาณอันกว้างไกล เพื่อความผาสุกของประชาชน
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จประไชยราชาธิราชทรงขุดคลองเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการคมนาคม จนเกิด "คลองบางกอกน้อย"
    ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรให้กับพสกนิกรชองพระองค์หลายโครงการด้วยกัน และโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการตามพระราชดำริโครงการหนึ่งที่ทรงแนะนำเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่เขตบางกอกน้อย นับเป็นพระมหากรุณาธุคุณแต่พสกนิกรของพระองค์อย่างล้นพ้น
bangkoknoi-canal01.jpg
คลองบางกอกน้อยกับพุทธศาสนา
    คลองบางกอกน้อย เป็นเส้นทางร่วมในงานชักพระ วัดนางชี การชักพระวัดนางชีนั้นเมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานยังบุษบกแล้ว ชักแห่ไปทางเรือ จากหน้าวัดนางชีไปทางคลองบางกอกน้อย ถึงวัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน ก่อนเพล เลี้ยงพระกันที่วัดไก่เตี้ย แล้วยกขบวนไปที่ปากคลองบางกอกน้อย มาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ และวกเข้าคลองด่านกลับไปยังวัดนางชี 
wat-nangchee-shotikaram01.jpg
    งานนี้มีขึ้นมนวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี เป็นงานประจำปี มีการละเล่นต่าง ๆ เช่น แข่งเรือ เพลงเรือ แห่ขบวนเรือบุปผชาติ เป็นต้น
prapayneethai165.jpg

ขอบคุณ เวป กูเกิ้ล ฯ ที่ช่วยหา..อิอิ  และ จากเวปนี้ http://203.155.220.217/bangkoknoi/travel/khalongbangkoknoi.htm
http://www.dhammathan.net/radio/chaichana/bangkoknoi.wma
				
26 มกราคม 2553 11:52 น.

เพลงหลายเพลง..มีเปลี่ยนชื่อ

กิ่งโศก

อาศัยช่วงเจ้านายเผลอ แอบ ท่องเนต ..เพื่อประโลมอารมณ์ของตัวเอง ..
ในห้วงขณะ ที่ แสนจะวุ่นๆ กับภาระกิจ..

เปิด กูเกิ้ล  หาเพลงเก่าๆ ฟัง ไปเจอ หัวข้อว่า เพลงมีการเปลี่ยนชื่อเพลง 

..เปลี่ยนเนื่องจากชื่อไม่โดน ..
เปลี่ยนจากเนื่องมีคนมาร้องใหม่
เปลี่ยนจากเนื่อง จากคนจำแต่เนื้อร้องได้มากกว่าชื่อ
..และ...หลากหลายสาเหตุ..ที่เปลี่ยน  

แต่ ด้วยเป็นคนชอบเพลงเก่าๆ ..ฟังแล้วมันขลังในความรู้สึกดี

..เครดิต..จากเวป  http://www.maemaiplengthai.com/webboard/viewthread.php?tid=805&extra=page%3D1&page=2
โดยคุณ  jareporn13""ขออนุญาต นำมาเผยแพร่ต่อนะครับ จะได้สมกับ คอลัมน์ สัมพันธ์รักษ์นักเพลง..

....................................................................................................
เพลง...บางกอกน้อย  (ศพลอย)

คำร้อง/ทำนอง  พิพัฒน์  บริบูรณ์ 
ชัยชนะ บุญนะโชติ ขับร้อง 
(บันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2503) 


สุดคลองบางกอกน้อย... 
พายเรือตามหาบัวลอย จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย 
ปากพี่ตะโกนกู่ ถึงยอดชู้ เพื่อนร่วมกาย 
ไม่รู้ว่าเจ้าจมหาย ลอยไปแห่งใดเล่าหนา

ใจพี่แทบขาดแล้ว...
มือคงยังจ้ำยังแจว ตามหานางแก้วดวงตา 
ศพน้องเจ้าลอยล่อง อยู่ใต้ท้องสุธารา 
หรือว่าลอยออกนอกเจ้าพระยา จึงค้นหาไม่พบศพบัวลอย 

โถ เจ้าว่ายน้ำไม่เป็น 
ยังลงว่ายเล่น เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย 
น้ำเชี่ยวยิ่งเหลือ เจ้าจึงเป็นเหยื่อ คลองบางกอกน้อย 
จิตใจพี่ให้เศร้าสร้อย ถึงบัวลอย แม่จอมขวัญ 

สุดหล้าสุดฟ้าเขียว...
เธอเป็นแม่พระองค์เดียว ที่เหนี่ยวใจรักคงมั่น 
เจ้าสิ้นใจต่อหน้า ด้วยพี่คว้าเจ้าไม่ทัน 
เหมือนพี่พิฆาตเด็ดดวงชีวัน จอมขวัญนงนุช สุดบูชา



เพลง"บางกอกน้อย" เดิมชื่อเพลง"ศพลอย"

.............................................................................................
เพลง...คิดถึงบ้าน

คำร้อง/ทำนอง อัศนี พลจันทร
ศิลปิน หงา คาราวาน


เดือนเพ็ญ แสงเย็นเห็นอร่าม นภาแจ่มนวลดูงาม 
เย็นยิ่งหนอยามเมื่อลมพัดมา
แสงจันทร์นวลชวนใจข้า คิดถึงถิ่นที่จากมา
คิดถึงท้องนาบ้านเรือนที่เคยเนา

กองไฟสุมควายตามคอก คงยังไม่มอดดับดอก
จันทร์เอยช่วยบอกให้ลมช่วยเป่า
โหมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว
ให้พี่น้องเฮานอนหลับอุ่นสบาย

เรไรร้องฟังดังว่า เสียงเจ้าที่เฝ้าคอยหา
ลมช่วยมากระซิบข้างกาย
ข้ายังคอยอยู่ไม่หน่าย ไม่เลือนเคลื่อนคลาย 
คิดถึงมิวายที่เราจากมา

ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ น้ำรักจากห้วงดวงใจ 
ของข้านี้ไปบอกเขานำนา
ให้เมืองไทยรู้ว่า ไม่นานลูกที่จากมา
จะไปซบหน้าในอกแม่เอย




เพลง...เดือนเพ็ญ

คำร้อง/ทำนอง อัศนี พลจันทร
ศิลปิน คาราบาว


เดือนเพ็ญสวยเย็นเห็นอร่าม 
นภาแจ่มนวลดูงาม เย็นชื่นหนอยามเมื่อลมพัดมา
แสงจันทร์นวลชวนใจข้า คิดถึงถิ่นที่จากมา 
คิดถึงท้องนาบ้านเรือนที่เคยเนา

เรไรร้องดังฟังว่า เสียงที่เจ้าเฝ้าครวญหา 
ลมเอยช่วยพากระซิบข้างกาย
ข้ายังคอยอยู่ไม่หน่าย มิเลือนห่างจากเคลื่อนคลาย 
คิดถึงมิวายเมื่อเราจากกัน

กองไฟ สุมควายตามคอกคงยังไม่มอดดับดอก 
จันทร์เอยช่วยบอกให้ลมช่วยเป่า
โหมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว 
ให้พี่น้องเรานอนหลับอุ่นสบาย

ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ นำรักจากห้วงดวงใจของข้านี้ไปบอกเขานำนา
ให้เมืองไทยรู้ว่าไม่นานลูกที่จากมาจะไปซบหน้ากับอกแม่..เอย
ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ นำรักจากห้วงดวงใจของข้านี้ไปบอกเขานำนา
ให้เมืองไทยรู้ว่าไม่นานลูกที่จากมาจะไปซบหน้ากับอกแม่..เอย
ให้เมืองไทยรู้ว่าไม่นานลูกที่จากมาจะไปซบหน้ากับอกแม่..เอย



เพลง "เดือนเพ็ญ" เดิมชื่อเพลง "คิดถึงบ้าน"

จากวิกิพีเดีย
เพลงเดือนเพ็ญ หรือ เพลงคิดถึงบ้าน เขียนเนื้อร้องและทำนองโดย อัศนี พลจันทร (หรือที่รู้จักกันในชื่อ นายผี หรือ สหายไฟ) ได้รับการยกย่องว่า หากนับเพลงนี้เป็นเพลงเพื่อชีวิต ก็สมควรจะเรียกได้ว่าเป็น สุดยอดเพลงเพื่อชีวิต ด้วยเป็นเพลงที่ถูกบันทึกเสียงและขับขานในวาระต่าง ๆ มากที่สุดเพลงหนึ่งในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา และน้อยคนเหลือเกินที่ได้ฟังเพลงนี้แล้วจะรู้สึกเฉย ๆ กับความหมายที่กินใจที่เพลงสื่อออกมา เพลงคิดถึงบ้านนี้ ทำให้ชื่อ นายผี อัศนี พลจันทร เป็นที่รู้จักและจดจำในวงกว้าง

อัศนีแต่งเพลงนี้ขึ้น เพราะความรู้สึกคิดถึงบ้านของตัวเขาเอง ด้วยเหตุการณ์ทางสังคมในสมัยนั้น ทำให้เขาต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปเป็นเวลานาน. หงา คาราวาน เป็นคนนำเพลง "คิดถึงบ้าน" นี้ออกมาจากราวป่า และบันทึกเสียงครั้งแรกในนามวงคาราวาน กับอัลบั้มชุด "บ้านนาสะเทือน" เมื่อปี 2526.ต่อมาในปี 2528 แอ๊ด คาราบาว ได้นำมาบันทึกเสียงอีกครั้ง ในอัลบั้มชุด "กัมพูชา" และได้เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น "เดือนเพ็ญ" พร้อมทั้งสลับท่อนเนื้อร้องจากเดิม.หลังจากนั้นมีผู้นำเพลงนี้ไปบันทึกเสียงอีกนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งในอัลบั้มปกติ และการแสดงสด อาทิ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ คนด่านเกวียน อัสนี-วสันต์ โชติกุล พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ โฮป คีตาญชลี นรีกระจ่าง คันธมาศ สายัณห์ สัญญา สุนารี ราชสีมา ยอดรัก สลักใจ มนต์สิทธิ์ คำสร้อย โจ้ วงพอส ฯลฯ

หงา คาราวาน บันทึกถึงที่มาของเพลงนี้ว่า
...ที่สนามรบก่อนเกิดศึกใหญ่ (หมายถึงยุทธการล้อมปราบในเขตน่านเหนือ) ผมได้พบญาติพี่น้องซึ่งเป็นสายทางเขา (นายผี) เพลง 'คิดถึงบ้าน' ถูกร้องให้ผมฟังโดยหมอตุ๋ย สหายหญิงผิวคล้ำคนภาคกลางแถบราชบุรีซึ่งเป็นญาติของเขา และบอกว่าเป็นเพลงที่นายผีแต่งขึ้น ตั้งแต่พลัดบ้านพลัดเมืองไปอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นเวลาเกือบ 30 ปีมาแล้ว 
................................................................................................

เพลง...กุหลาบในมือเธอ  (ดอกไม้ของหล่อน)

คำร้อง ขุนวิจิตรมาตรา/ทำนอง ร.ท.มานิต เสนะวีณิน
ร.อ. ม.ล.ขาบ กุญชร ขับร้อง


ใจพี่หายวาบ 
เมื่อเห็นกุหลาบกลีบกระจาย 
จำกลิ่นได้คลับคล้าย 
ว่าดอกที่ถือในมือเธอ 
พี่เพ้อขอมานาน 
เจ้าให้หลังพี่ 
เพราะเจ้ามีที่ต้องการ 

แต่ว่าเดี๋ยวนี้ 
ดอกถูกขยี้ทิ้งกระจาย 
พี่แสนจะเสียดาย 
เพราะไปหมายอื่นให้ชื่นชม 
เขาดมเล่นแล้วทิ้ง 
ผู้ที่หวังจริง 
ก็เลยต้องยิ่งหัวใจราน 



เพลง"ดอกไม้ของหล่อน"  เป็นเพลงจากภาพยนตร์ไทย เรื่อง  เลือดทหารไทย  
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2477  ต่อมาในปี พ.ศ.2509 ชรินทร์ นันทนาคร นำมาบันทึก
เสียงใหม่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น เพลง"กุหลาบในมือเธอ
...........................................................................................................

เพลง...คนเหลือเดน (คนเดนคน)

คำร้อง/ทำนอง ป. ชื่นประโยชน์
ชรินทร์ นันทนาคร ขับร้อง 


เขาประณามหยามว่าเรา
เปรียบไว้เท่าคนเดนคน
เหยียบเย้ยชิงชังเกินทน
ตัวของตนคนหรือเรา

เพราะไม่เจียมเพราะว่าจน
จึงหมองหม่นจำทนเอา
เอื้อมรักเกินตัวมัวเมา
ถูกหยามเราท่าเดนคน
              
รักล้นใจไม่หน่าย เกลือกตะกาย
เหมือนกระต่ายหมายจันทร์เบื้องบน
ไม่เจียมตัวไม่เจียมกาย
ไม่รู้อายด้านทนคนเย้ยสุดอาย

เขาประณามหยามสุดทน
ใจหมองหม่นคนเดนตาย
จะขอครองใจครองกาย
ให้รักตายไปกับตัว



เพลง"คนเหลือเดน" เดิมชื่อเพลง "คนเดนคน"

.............................................................................
เพลง...บางปู (สะพานสุขตา)

คำร้อง /ทำนอง ล้วน ควันธรรม
กำธร สุวรรณปิยะศิริ ขับร้อง    


เพลินนัยน์ตาในเวลาเย็น
มองแลเห็นท้องทะเลระรื่น
เสียงน้ำซัดดังโครมครืน
เห็นสาดฝั่งนั่งชมเราเพลินฤทัย

ลมเย็น ๆ พัดระโรยโชยฉ่ำ
จนจะค่ำเห็นตะวันรำไร
จวนลับน้ำจมลงไป
วิไลดังหนึ่งชวนเชิญให้เพลินอุรา

เพลิน นั่งเพลินชมลมและคลื่นซัดมา
เพลิน เพลินอุราในเวลาเย็น เย็น

สะพานสุขตา พาใจเราเป็นสุข
ไร้ความทุกข์เมื่อได้มาเที่ยวเล่น
ลมทะเลเวลาเย็น
ระรื่นชื่นใจ อย่างไรไม่ลืมบางปู



เพลง "บางปู" เป็นเพลงที่มีสองชื่อ บ้างก็เรียกเพลง"สะพานสุขตา"
...................................................................................................

เพลง...คิดดูบ้างไหม  (เคยคิดบ้างไหม)
     
คำร้อง ศยาม/ทำนอง เวส สุนทรจามร        
บุษยา รังษี ขับร้อง


เหงาเศร้าทรวงหนักหนา
รักที่สัญญามาแรมราไปได้
เราเคยเชยชื่นกันมั่นใจ
โกรธเคืองสิ่งไหนหรือ จึงได้ตัดรอน

หรือว่าเธอเบื่อฉัน
รสสุขสัมพันธ์จึงมิมั่นดังก่อน
เพียงกาลมิเนิ่นนานก็จร
เยื่อใยไถ่ถอนไร้อาวรณ์ไฉน

อันไมตรีฉันนี้ก็ยังมั่น
เพียงชีวันฉันยังยอมให้
หากขาดเธอใช่จะสิ้นไร้
สิ้นเยื่อใยอย่าได้คืนมา

คิดไตร่ตรองบ้างไหม
รักชื่นของใครหวานซึ้งในคุณค่า
ยังคอยเธอด้วยความศรัทธา
เฝ้าปรารถนารักคืนมาสู่ขวัญ  



เพลง"คิดดูบ้างไหม" ในแผ่นเสียงเขียนชื่อ เพลง"เคยคิดบ้างไหม

............................................................................................
เพลง...สิ้นกลิ่นดิน  (โฉมยง)

คำร้อง/ทำนอง อิส อารีย์
วินัย  พันธุรักษ์ ขับร้อง


โฉม...ยงเจ้าคงไม่รักเราจริง 
เราสิเชื่อทุกสิ่ง 
รักจริงแต่เจ้าแจ่มจันทร์ 

รู้...ไหมใครเขาคอยเฝ้าฝัน 
คิดถึงเจ้าทุกวัน
แจ่มจันทร์เจ้าไม่กลับมา

โบย...บินลืมสิ้นคนท้องนา 
เดี๋ยวนี้เจ้าเป็นดารา
เรียกหาเจ้าไม่ได้ยิน 

โฉม...ยง เจ้าคงจะลืมเราสิ้น 
ค่าของเราเพียงดิน 
ได้ยินแต่คำนินทา



เพลง"สิ้นกลิ่นดิน" นี้ เป็นเพลงที่ทำให้คุณวินัย พันธุรักษ์ ดังเป็นพลุแตก ด้วยบท
เพลงสั้น ๆ เพลงนี้  ฮิทกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง แต่คนส่วนใหญ่จะรู้จักกันในชื่อเพลง"โฉมยง" 
.........................................................................................................
เพลง...เงา (วิ่ง)

คำร้อง/ทำนอง  คำร้อง ครูชาลี อินทรวิจิตร
ศิลปิน  ร็อคเครสตร้า
อัลบั้ม  The Best Of Rang 



วิ่งๆๆๆๆ   วิ่งๆๆๆๆ
วิ่งๆๆๆๆ    วิ่งไป...
       
มองดูรอบตัวเรา เหมือนมีใครเฝ้าคอยติดตาม                     
วิ่งหนีเท่าไหร่ไม่พ้น เพราะเราคือคนต้องการทึบแสง
ทำอะไรทำตาม เดิมงุ่มง่ามมันทำได้            
วิ่งหนีก็วิ่งตาม อยากจะถามตามทำไม

วิ่งๆๆๆๆ     วิ่งๆๆๆๆ
วิ่งๆๆๆๆ      วิ่งไป...

ติดตามทุกแห่งที่ไป ไม่รู้ว่าใครใช้ตามมา             
วิ่งไปอย่ารอช้า วิ่งให้มาตามกวนใจ
ทำอะไรคิดดู สิ่งที่ควรรู้ควรจะจำ                  
สิ่งไหนไม่คิดอยากทำ  อาจเพลี่ยงพล้ำช้ำใจตาย

วิ่งๆๆๆๆ      วิ่งๆๆๆๆ
วิ่งๆๆๆๆ      วิ่งไป...



เพลง"เงา" ของ "ร็อคเครสตร้า" นี่ก็เช่นกัน บอกเพลง"เงา" ไม่มีใครรู้จัก รู้จักแต่เพลง"วิ่ง" เลยทำให้เพลงนี้มีสองชื่อ
...................................................................................................

เพลง...สั่งรัก (ยิ้มดีกว่าหมองหม่น)

คำร้อง/ทำนอง
สุเทพ วงศ์กำแหง ขับร้อง


อย่าโศกเลยดวงใจ
ถึงไกลจากกัน
หากใจเราสัมพันธ์
รักกันไปชั่วฟ้า

จากไปใจอาวรณ์ ร้าวรอนอุรา
อย่าโศกเลยขวัญตา
ยิ้มดีกว่าหมองหม่น

เสียงฝนสั่งฟ้าใครจะมาปลอบใจ
จำใจจากไกลพี่หักใจฝืนทน
ท้องฟ้าจะครึ้มใครจะลืมหน้ามน
ดวงดาวจะหล่นพานวลน้อง
หม่นหมอง

อย่าโศกเลยดวงใจ
ร้างไกลไม่นาน
อยู่จงสุขสำราญ
รักใครปานกว่าน้อง

จากไปอาลัยลา น้ำตาอย่านอง
จะกลับเมื่อแสงทอง
ฟ้าเรืองรองทิว



เพลง"สั่งรัก" เดิมชื่อเพลง"ยิ้มดีกว่าหมองหม่น"
............................................................................

เพลง...ม่านประเพณี  (ใต้ประเพณี)

คำร้อง/ทำนอง ครูไสล ไกรเลิศ
สุเทพ วงศ์กำแหง ขับร้อง 


ประเพณีนั้นมีกําแพงกั้น 
เธอและฉันมิอาจฟันฝ่า 
วาสนาไม่นําพา
ชะตามืดมนทนระกําช้ำใจ 

ความจนแหละหนาจึงพาให้เศร้า 
ดวงใจให้เหงาเฝ้าแต่ฝันใฝ่ 
ชะตาชีวิตลิขิตพาให้ 
จะทําฉันท์ใดต้องปล่อยตามกรรม 

รักเอย รักเคยชื่น 
กลับมาขมขื่นสุดช้ำ 
ดวงใจสุดแสนครวญคร่ำ 
ประเพณีน้อมนําชักพา 

มีเวรกรรมทั้งศีลธรรมปกป้อง 
จําทนหม่นหมองยามต้องจากร้างลา 
จากไปแล้วโอ้ขวัญตา 
สิ้นวาสนาชาติหน้าคงพบกัน



เพลง"ม่านประเพณี" เดิมชื่อเพลง"ใต้ประเพณี" สถาพร มุกดาประกร ขับร้องเป็นคนแรก
.........................................................................................................
เพลง...อย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย  
               (ฉันเกลียดถนน)

คำร้อง/ทำนอง
ศิลปิน โอเวชั่น


เมื่อฉัน พบเธอ
ฉันเกลียด ถนน
เพราะทำให้เราสองคน
ต้องพราก จากกัน

เมื่อฉัน พบเธอ
ฉันเกลียด ตะวัน
เพราะทำให้ฉัน โศกศัลย์
นับวัน รอเธอ

เกลียดแม้ ยามหลับ
สมองเหมือนดับ
หยุดความเพ้อเจ้อ
เกลียดทุกคน ที่ใกล้เธอ
ปล่อยฉันละเมอ เดียวดาย

เมื่อฉัน พบเธอ
ฉันเกลียด โชคร้าย
เพราะทำให้ฉัน กลับกลาย
เป็นคนรักเธอ ข้างเดียว



เพลงนี้ก็มีสองชื่อ
.......................................................................................................
รอยเล็บเหน็บใจ  (เล็บมือนาง)

คำร้อง/ทำนอง ไสล ไกรเลิศ
สุเทพ วงศ์กำแหง ขับร้อง


เล็บ...มือ...นางนี่หรือคมกริช
พี่จุมพิต คิดลงโทษ มาโกรธกันประโยชน์อันใด
มันเจ็บจิตครวญ เล็บข่วนรอยไว้
โถยังงอนไปได้ ควรอภัยโทษให้ผู้แพ้

เล็บ...รอย...มือ...แม่ หยิกพี่จนมีรอยแผล
ซ้ำยังไม่แลแกล้งหมองหมาง
มิเคยเกินกล้ำให้ช้ำนวลปราง
ใจจะร้างเป็นลางไปเธอ  

แสน...งอน...วอนเฉลยคำพี่
อย่าหน่ายหนี ให้พี่เก้อ หลงละเมอเสน่ห์นวลนาง
ดวงหน้าเจ้าคม โน้มเนตรแลค้าง
สวยอะไรไม่สร่าง เอวบางเหมือนอย่างนางฟ้า

สอง...ปราง...นางแม่หอมรวยรื่น
น่าชื่นกว่ามวลบุปผา ขนตาแม่งอนดังศรสวรรค์
พระพรหมคงช่วยให้สวยลาวัณย์
เธอเฉิดฉันท์ เกินพรรณนา

.....................................................................
กล้วยไม้ของฉัน

คำร้อง/ทำนอง ส.เกษศิริ
ชาญ เย็นแข ขับร้อง

สวยเอยเจ้าดอกกล้วยไม้ เอื้องดอย 
กลิ่นเจ้าลอยตามลม น้ำค้างพร่างพรม 
ดอกพลิ้วลมแลสล้าง สดฉวีสีเจ้างามไม่สร่าง
เจ้าซ่อนอยู่กลาง หว่างถึงดงแดนไกล

เขาชมว่าเจ้างามนัก กลิ่นหอม
กว่าพยอมใดใด ถ้าแม้นว่าใคร เด็ดแล้วไปชมเล่น
ดอกจะหรู ถึงจะดูงามเด่น
แต่เจ้าก็เป็น ดอกไม้ตามริมดอย

ผึ้งรู้จะเคล้าแดดเผายืนต้น โอ้คนจะสอย
เจ้ามาลืมดอย ฉันพลอยอาวรณ์
กลีบสวยเรียงซ้อน
จะช้ำไปก่อนมวลภมรจะรู้

ถึงบานอยู่ในกระเช้า เด่นสี
แต่ยังมีคนจอง ชะแง้แลมอง ต่างหวังปองชมอยู่
สิ้นหน้าฝนคล้ายดังคนคอยคู่
ไม่น่าชื่นชู ดอกนั้นดูร่วงโรย


เพลง...กล้วยไม้ของฉัน เดิมขับร้องโดย ชาญ เย็นแข ต่อมาเปลี่ยนเนื้อเพลงเล็กน้อย โดยครูไสล ไกรเลิศ และนำมาบันทึกเสียงใหม่ ขับร้องโดย ครูสุเทพ วงศ์กำแหง เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น เอื้องดิน


เอื้องดิน
คำร้อง ไสล ไกรเลิศ
ทำนอง ส.เกษศิริ
สุเทพ วงศ์กำแหง ขับร้อง

สวยเอยเจ้าดอกกล้วยไม้ เอื้องดิน
กลิ่นรวยรินตามลม น้ำค้างพร่างพรม 
ช่อพลิ้วลมแลสล้าง สดฉวีสีเจ้างามไม่สร่าง
เจ้าซ่อนอยู่กลาง หว่างพฤกษ์พงแดนไกล

เขาชมว่าเจ้างามนัก น่าถนอม
กว่าพยอมใดใด ถ้าแม้นว่าใคร เด็ดแล้วไปชมเล่น
ดอกจะหรู ถึงจะดูงามเด่น
แต่เจ้าก็เป็น ดอกไม้ในดงดอย

ผึ้งรู้จะเคล้าแดดเผายืนต้น ใกล้มือคนสอย
เจ้ามาลืมดอย ฉันพลอยอาวรณ์
กลีบสวยเรียงซ้อน
จะช้ำไปก่อนมวลภมรจะรู้

ถึงบานอยู่ในกระเช้า สดสี
แต่ยังมีคนจอง ชะแง้แลมอง ต่างหวังปองชมอยู่
สิ้นหน้าฝนคล้ายดังคนคอยคู่
ไม่น่าชื่นชู ดอกพลัดพรูลงดิน
.......................................................................................................
ความรัก  (รักและคิดถึง)

คำร้อง/ทำนอง สมพจน์ สิงห์สุวรรณ
นิตยา บุญสูงเนิน ขับร้อง


ความรัก...(ฮัม...)
ใครประจักษ์ สลักทรวง ให้ห่วงหา
ฉันรักเธอ แหนหวง เหมือนดวงตา
รักล้นโลก โศกล้นฟ้า คราจากกัน

คิดถึง...(ฮัม...)
ใครจะซึ้ง คำนี้ ดีเท่าฉัน
ยิ่งเก็บแอบ แนบใจ ไม่จำนรรจ์
ยิ่งนับวัน เวลา จะอาดูร


เพลง..."ความรัก" เดิมชื่อเพลง "รักและคิดถึง" ประพันธ์โดยคุณสมพจน์ สิงห์สุวรรณ ในปี 2509 ผู้ขับร้องคนแรกคือ ครูสุเทพ วงศ์กำแหง ชื่อเพลงไปซ้ำกับเพลง "รักและคิดถึง" อีกเพลงหนึ่งที่ครูสุเทพ ขับร้องไว้เหมือนกัน เมื่อเพลงนี้มาบันทึกเสียงใหม่ ผู้ประพันธ์จึงเปลี่ยนชื่อเป็น เพลงความรัก (แต่ก็ยังไปมีชื่อซ้ำกับ เพลง "ความรัก" ที่ ชรินทร์ นันทนาคร ร้องคู่กับ สวลี ผกาพันธ์ อีกน่ะแหละ...ผู้แต่งเพลงนี้คุยกับผมเองเมื่อเร็วๆนี้เอง...)
..........................................................................................................
เพลง...กลัวลมลวง (กลับอิสาน)

คำร้อง/ทำนอง
รวงทอง ทองลั่นทม ขับร้อง


โอ...โอ้ละเน้อ...พี่เอย
ข้อยเป็นคนอยู่ถึงเมืองบน เหมือนคนบ้านไกล
มิได้ไปไหน นะพี่เจ้าเอย 
ข้อยนี้ใจเต้นได้เห็นบางกอก สวยกว่าบ้านนอกเสียจริง ๆ เอย

เสียงดังจ๊อกจอก ฝนตกแดดออก คนบางกอกเขาจ้อกัน
ข้อยกลัว ข้อยงง หลงลมชายพร่ำ โง่นักเชื่อคำต้องไหวหวั่น

หลอกลวงพวกฉัน ให้ร้าวราน ขวัญเจิงกระจายถึงตายก็มาก 
คนกรุงเชื่อยากปากหวานหว่าน แสนกลัวบางกอกหลอกดวงมาลย์
กลับอีสาน สุขเอย

  

เพลงนี้มี 2 ชื่อค่ะ ทำนองเพลงไทยเดิม "ลาวกระทบไม้"

.......................................................................................
บุเรงนองรำลึก-ผู้ชนะสิบทิศ
คำร้อง/ทำนอง ไสล ไกรเลิศ
ชรินทร์ งามเมือง-นันทนาคร ขับร้อง

บุเรงนองรำลึก
คำร้อง ทำนอง : ไสล ไกรเลิศ 

ฟ้าลุ่มอิรวดีคืนนี้มีแต่ดาว
แจ่มแสงแวววาว...เด่นอะคร้าว สว่างเวหา

ข้ามาทำศึกลำเค็ญ ไม่เว้นว่างเปล่า
เพื่อศักดิ์ชาวตองอู ถึงจะตายจะอยู่ขอเชิดชูมังตรา

ดวงใจข้ามอบจอมขวัญ มั่นรักจันทรา
กุสุมายอดชู้ รักเจ้าเพียงเอ็นดู ไว้เชิดชูดวงแด

ไปรบอยู่แห่งไหน ใจคะนึงถึงเจ้า เคยเล้าโลมโฉมแม่
ข้ากลับมาเมืองแปร มองเหลียวแลแสนเปลี่ยวเปล่า
ไม่มีแต่เงาข้าเฝ้าอาลัย หัวใจแทบขาด อนาถใจไม่คลาย

เจ็บใจคนรักโดนรังแก ข้าจะเผาเมืองแปรให้มันวอดวาย
จะตายให้เขาลือชาย จะให้เขาลือชาย ว่านามชื่อกู
ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะ....สิบทิศ

ผู้ชนะสิบทิศ
คำร้อง ทำนอง : ไสล ไกรเลิศ 

ฟ้าลุ่มอิรวดีคืนนี้มีแต่ดาว
แจ่มแสงแวววาว...เด่นอะคร้าว สว่างไสว
เสียงคลื่นเร้าฤดีคืนนี้ข้าเปลี่ยวใจ
เหน็บหนาวทรวงใน...แปลกไฉนข้าเศร้าวิญญา
     
ข้ามาทำศึกลำเค็ญ เหนื่อยแสนยากเย็นไม่เว้นว่างเปล่า
เพื่อศักดิ์ชาวตองอู ถึงจะตายจะอยู่ขอเชิดชูมังตรา
ดวงใจข้ามอบจอมขวัญ มั่นรักต่อกันมิ่งขวัญจันทรา
กุสุมายอดชู้ รักเจ้าเพียงเอ็นดู ไว้ชื่นชูดวงแด
     
ไปรบอยู่แห่งไหน ใจคะนึงถึงเจ้า เคยเล้าโลมโฉมแม่
ข้ากลับมาเมืองแปร มองเหลียวแลแสนเปลี่ยวเปล่า
ไม่มีแต่เงาข้าเศร้าอาลัย หัวใจแทบขาด อนาถใจไม่คลาย
     
เจ็บใจคนรักโดนรังแก ข้าจะเผาเมืองแปรให้มันวอดวาย
จะตายให้เขาลือชาย จะให้เขาลือชาย ว่านามชื่อกู
ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะ....สิบทิศ

เพลงบุเรงนองรำลึก และ ผู้ชนะสิบทิศ มีเนื้อแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เนื้อเพลง ผู้ชนะสิบทิศ ที่แต่งเนื้อเพิ่มทีหลัง มีความสมบูรณ์และลงตัวกว่า.......................
.........................................................................................................
เพลง...บ้านนี้ฉันรัก (บ้านน้อยหลังนี้)

คำร้อง - ทำนอง สุรพล สมบัติเจริญ
ขับร้อง สุรพล สมบัติเจริญ
(บันทึกเสียงครั้งแรก พ.ศ. 2508)


บ้านน้อยหลังนี้สุขีเสียจริง 
ปลูกไว้สมใจทุกสิ่ง สวยจริงนะฉาบสีฟ้า 
หน้าต่างประตู ติดม่านสวยหรูงามตา 
ยามน้องผ่านไปมา พี่ยืนในบ้านแหวกม่านมองเห็น 


บ้านน้อยหลังนี้สุขีเสียจัง
แอบมองน้องทางหน้าต่าง ตั้งแต่เช้าจรดเย็น 
แหวกม่านมองดูอดสูเหลือจะลำเค็ญ
เกี้ยวก็เกี้ยวไม่เป็น ได้แต่แอบมองน้องอยู่ทุกวัน 


เห็นน้องเดินเดี่ยว เปลี่ยวใจพี่อยากจะทัก
แต่แล้วก็ต้องชะงัก เพราะใจไม่วายนึกหวั่น
จะยิ้มจะหัว ก็กลัวน้องจะไม่หัน 
หัวใจพี่แสนอัดอั้น มาทุกวันจวบจนบัดนี้ 


บ้านน้อยหลังนี้ถึงแม้ฉันจน
กัดกินแม้เพียงเกลือป่น ยอมทนไม่จากหน่ายหนี 
เงินหมื่นเงินแสน ไม่อาจแม้นมาราวี 
พรากบ้านฉันไปขยี้ บ้านน้อยหลังนี้ฉัน รักจริง
...............................................................................................

เพลง...ขวัญของเรียม (ขวัญเรียม)

คำร้อง/ทำนอง พรานบูรพ์
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ขับร้อง

เรียมเหลือทนแล้วนั่นขวัญของเรียม 
หวนคิดคิดแล้วขมขื่น ฝืนใจเจียม 
เคยโลมเรียมเลียบฝั่งมาแต่หลังยังจำ 

คำที่ขวัญเคยพลอดเคยพร่ำ 
ถ้วนทุกคำยังเรียกยังร่ำเร่าร้องก้องอยู่ 
แว่วๆแจ้วหูว่าขวัญชู้เจ้ายังคอย 

เรียมเหลือลืมแล้วนั่นขวัญคงหงอย 
หวนคิดคิดแล้วยิ่งเศร้า เหงาใจคอย 
อกเรียมพลอยนึกหน่าย คิดถึงสายน้ำนอง 

คลองที่เรียมเคยเที่ยวเคยท่อง 
เมื่อเราสองต่างว่ายต่างว่องล่องไล่ไม่เว้น 
เช้าสายบ่ายเย็น ขวัญลงเล่นกับเรียม 
..................................................................

เพลง...ขวัญใจเจ้าทุย 
          (ขวัญใจอ้ายทุย)

คำร้อง สมศักดิ์ เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน        
รวงทอง ทองลั่นทม ขับร้อง    


เจ้าทุยอยู่ไหนได้ยินไหมใครมากู่กู่
เรียกหาเจ้าอยู่อยู่หนใดรีบมา
เจ้าทุยเพื่อนฉันออกมาหากันดี กว่ากว่า 
อย่าเฉยเลยอย่าอย่ามะมาเร็วไว

เกิดมามีแต่ทุยเป็นเพื่อนกัน
ค่ำเช้าทำงานไม่ทิ้งกันไม่ หายไป
ข้ามีข้าว และน้ำนำมาให้
อีกทั้งฟางกองใหญ่อย่าช้าไยอย่าช้าไย

เจ้าทุยเพื่อนจ๋าออกไปไถนาคงเหนื่อยอ่อ น
เหนื่อยนักพักผ่อนก่อนหิวจนอ่อนใจ
ข้าจะอาบน้ำป้อนฟางทั้งคำกำใหญ่ใหญ่
จะสุมไฟกองใหม่ใหม่ไว้กันยุงมา

เจ้ามีคุณแก่เรามามากมาย 
ถึงแม้เป็นควายเจ้าเหนือกว่าดีเสียกว่า
ผู้คนที่เกียจคร้านไม่เข้าท่า
ทุยเอ๋ยเจ้าดีกว่าช่ว ยไถนาได้ทุกวัน

เจ้าทุยนี่เอ๋ยข้าเคยเลี้ยงดูมาก่อน เก่า
เมื่อครั้งยังเยาว์เยาว์ทั้งทุย และฉัน
ข้าเคยขี่หลังนั่งไปไหนไปไม่หวาดหวั่น
สุขทุกข์เคยบุกบั่นรู้กันด้วยใจ

เติบโตมา ด้วยกันในไร่นา 
เคยหากินมาข้าเห็นใจข้าเห็นใจ 
เจ้าทุยยากจะหาใครเทียมได้
ข้ารักดังดวงใจไม่รักใครข้ารักทุย
.................................................................
..มีมากมาย ไปดูกันได้ตามเวป ที่มา ที่บอกไว้เบื้อต้นครับ..

 สบายๆๆๆ     ...ฮัมเพลงพี่เบิร์ด....				
Calendar
Calendar
Lovers  2 คน เลิฟกิ่งโศก
Lovings  กิ่งโศก เลิฟ 1 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกิ่งโศก
Lovings  กิ่งโศก เลิฟ 2 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงกิ่งโศก