26 มกราคม 2553 16:13 น.

ลำคลองแห่งความหลัง.....คลองบางกอกน้อย

กิ่งโศก

reply427531_M5401309-404.jpg&t=1&h=196&w
สุดคลองบางกอกน้อย... 
พายเรือตามหาบัวลอย จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย 
ปากพี่ตะโกนกู่ ถึงยอดชู้ เพื่อนร่วมกาย 
ไม่รู้ว่าเจ้าจมหาย ลอยไปแห่งใดเล่าหนา

ใจพี่แทบขาดแล้ว...
มือคงยังจ้ำยังแจว ตามหานางแก้วดวงตา 
ศพน้องเจ้าลอยล่อง อยู่ใต้ท้องสุธารา 
หรือว่าลอยออกนอกเจ้าพระยา จึงค้นหาไม่พบศพบัวลอย 

โถ เจ้าว่ายน้ำไม่เป็น 
ยังลงว่ายเล่น เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย 
น้ำเชี่ยวยิ่งเหลือ เจ้าจึงเป็นเหยื่อ คลองบางกอกน้อย 
จิตใจพี่ให้เศร้าสร้อย ถึงบัวลอย แม่จอมขวัญ 

สุดหล้าสุดฟ้าเขียว...
เธอเป็นแม่พระองค์เดียว ที่เหนี่ยวใจรักคงมั่น 
เจ้าสิ้นใจต่อหน้า ด้วยพี่คว้าเจ้าไม่ทัน 
เหมือนพี่พิฆาตเด็ดดวงชีวัน จอมขวัญนงนุช สุดบูชา
...จากกระทู้ก่อนเรื่องบทเพลง  สดุดกับเพลงนี้แหละครับ  ศพลอย หรือ เปลี่ยนเป็น  บางกอกน้อย"
  หากสดับฟังจักรู้สึก โศกอาดูร ไปกับการสูญเสีย นางอันเป็นที่รัก ที่จมน้ำตาย...แต่ เพลงนี้  ประดามีคณะตลกหลายคณะ เอามาล้อเล่นเชิงตลกขบขัน กันพอสมควร เช่น..
สุดคลองบางกอกน้อย... 
พายเรือตามหาบัวลอย จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย 
  ..ก็มันสุดคลอง แล้ว จะพายไปต่อได้หรือ นั่น 555

โถ เจ้าว่ายน้ำไม่เป็น  ยังลงว่ายเล่น เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย 
น้ำเชี่ยวยิ่งเหลือ เจ้าจึงเป็นเหยื่อ คลองบางกอกน้อย 
จิตใจพี่ให้เศร้าสร้อย ถึงบัวลอย แม่จอมขวัญ   
......................... ว่ายน้ำไม่เป็นแล้วยังจะไปเล่นน้ำที่กำลังเชี่ยวทำไม ละ น้องบัวลอย..เอ๋ย...บัวลอย

 เธอเป็นแม่พระองค์เดียว ที่เหนี่ยวใจรักคงมั่น 
เจ้าสิ้นใจต่อหน้า ด้วยพี่คว้าเจ้าไม่ทัน 
เหมือนพี่พิฆาตเด็ดดวงชีวัน จอมขวัญนงนุช สุดบูชา 
. กรรมของนางสาวบัวลอย ที่ได้แฟนแบบนี้ ขนาด เห็นจะ จะ ต่อหน้า ยังคว้าไม่ทัน ...กำ  เง้อ....แฟนบัวลอย ชื่อ ย้อย เพราะ ประโยคนี้...จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย....

                  เข้าเรื่องดีกว่าครับ..คลองบางกอกน้อย ทีอยู่ในกลางมหานคร...กรุงเทพฯ .. อ่านเจอว่า คลองนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่..สมัยอยุธยา  และโดยกษัตริย์ ของกรุงศรีอยุธยา เป็นผู้ให้ขุดคลอง นี้..
อ้างอิงข้อความเหล่านี้ 
tample13.jpg
แม่น้ำเจ้าพระยาดั้งเดิม กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระอธิบายว่า ลำน้ำเจ้าพระยาเดิมตั้งแต่ปากน้ำเจ้าพระยาเดิมขึ้นมาตามแม่น้ำทุกวันนี้ จนถึงคลองบางกอกใหญ่ (หรือที่เรียกกันว่า คลองบางหลวง) ในระหว่างวัดอรุณ ฯ กับวัดกัลยาณ์ ฯ ที่วัดกัลยาณ์เองเป็นตัวแม่น้ำ ตลิ่งอยู่ที่กุฎีจีน คือศาลเจ้าเจ็กอยู่ติดข้างใต้วัดกัลยาณ์เดี๋ยวนี้ ลำแม่น้ำเดิมเข้าทางบางกอกใหญ่ไปเลี้ยวบางระมาด ตลิ่งชัน วกมาออกคลองบางกอกน้อย ขึ้นทางสามเสน (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ภาคต้น 2505 หน้า 487)
    ประเด็นเกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิมของกรุงเทพ ฯ มีข้อความอธิบายอีกอย่างหนึ่งซึ่งบางทีอาจจะช่วยให้ชัดเจนมากยิ่งขี้น ดังนี้
khalon19.jpgkhalon20.jpg
อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม (รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชามนุษยวิทยาและโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า "ตำบลบางกอก" อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใกล้อ่าวไทย เป็นบริเวณที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาไหลคดเป็นรูปโค้งเกือกม้า (OXBOW LAKE) กล่าวคือเมื่อแม่น้ำไหลมาจากทิศเหนือผ่านเขตจังหวัดนนทบุรี มาถึงสถานีรถไฟบางกอกน้อย ก็ไหลวกไปทางทิศตะวันตก กลายเป็นคลองบางกอกน้อย พอถึงบางระมาดก็ไหลวกลงใต้ กลายเป็นคลองบางระมาดมาถึงวัดนวลนรดิศแล้ววกมาทางตะวันออกเป็นคลองบางกอกใหญ่ เมื่อมาถึงวัดอรุณราชวรารามก็วกไหลเรื่อยลงไปทางทิศใต้จนออกทะเลที่ปากแม่น้ำ
    การที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมไหลคดเคี้ยวเป็นรูปโค้งเกือกม้านั่นเอง เป็นเหตุให้สองฟากแม่น้ำคดโค้งนี้กลายเป็นที่ดอนขึ้นมา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแม่น้ำนำตะกอนจากที่ต่าง ๆ ทางเหนือมาทับถมทุกปีในฤดูน้ำหลาก จึงเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย
    อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายเพิ่มเติมอีกว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชุมชนย่านบางกอกนี้มีความเจริญและพัฒนาขี้นเป็นศูนย์กลางของประเทศได้ ก็เพราะมีลำน้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อทั้งภายในภายนอกได้สะดวก
    ในบรรดาบ้านเมืองสำคัญ ๆ ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 ด้วยกันแล้ว จะเห็นว่าพระนครศรีอยุธยาอันเป็นราชธานีของไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ลงมานี้ จำเป็นต้องอาศัยลำแม่น้ำเจ้าพระยานี้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการเดินลงเรือจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อจะเข้าไปยังพระนครศรีอยุธยาจึงต้องผ่านชุมชนที่เป็นบ้านเมืองขึ้นไปเป็นระยะ ๆ
    เมื่อเดินทางเข้าปากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแล้ว ก็จะถึงชุมชนย่านบางกอก เป็นแหล่งพักสินค้าได้ดีที่สุด เพราะเส้นทางน้ำที่จะเดินทางต่อไปไม่สะดวกเนื่องจากลักษณะคดและโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมดังกล่าวมาแล้วจะต้องเสียเวลาอีกมากนักเพราะฉะนั้นจึงต้องจอดพักกันที่ย่านบางกอกกันก่อน ในที่สุดย่านบางกอกก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น และชุมชนก็ยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย
    ความสนใจที่พระนครศรีอยุธยามีต่อ บางกอก นั้น มีหลักฐานปรากฎอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตรงกันเกือบทุกฉบับว่า.......
    "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านั้น ก็ได้ขุดคลองบางกอกใหญ่ตำบลหนึ่ง" (พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ 2515 หน้า 580)
Bangkoknoi%2520canal.jpg
  ข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีเพียงเท่านี้เอง ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะมีสาระสำคัญใด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่อ่งนี้มีความสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองในยุคดังกล่าวมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีความสำคัญต่อฐานะความก้าวหน้าของตำบลบ้านย่านบางกอก
    เพราะนี่คือหลักฐานที่ระบุว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ตรงส่วนที่แคบที่สุด ที่ทุกวันนี้เรียก ปากคลองบางกอกน้อยไปถึงคลองบางกอกใหญ่ และปัจจุบันนี้กลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงตั้งแต่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือหน้าสถานีรถไฟในบางกอกน้อย ไปจนถึงวัดอรุณราชวราราม
    ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาสายดั้งเดิม ที่ย่านย่านบอกกอกก็แคบลง กลายเป็นคลองดังที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า 
"คลองบางกอกน้อย" และ "คลองบางกอกใหญ่"
reply427531_M5401309-404.jpg
    แม่พระราชพงศาวดารจะระบุปีที่ขุดคลองลัดนี้ว่า "ศักราช 884 ปีมะโรง จัตวาศก" ซึ่งเทียบได้ตรงกับ พ.ศ.2065 แต่จะเอาแน่นอนนักก็ไม่ได้ เพราะโอกาสคลาดเคลื่อนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ส่วนที่แน่ ๆ คือ การขุดนี้เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่ทรงครองราชสมบัติอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2077-2089
(และเป็นกษัตริย์ที่มีสนมเอกนามว่า เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ นั่นเอง)
    สาเหตุที่สมเด็จพระไชยราชาธิราช โปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกใหญ่ขึ้นนี้ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายต่อไปว่า ในสมัยนั้นการติดต่อกับต่างประเทศ เข่น จีน และ โปรตุเกส มีความสม่ำเสมอมากขึ้น ราชสำนักกรุงศรึอยุธยาจีงให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกในเรื่องการคมนาคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงโปรดให้ขุดคลองลัดที่ย่านบางกอก เริ่มตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย แล้วผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราชไปจนถึงคลองบางกอกใหญ่ ข้างวัดอรุณราชวราราม เมื่อกระแสน้ำมีร่องให้พุ่งตรง ซึ่งจะไหลคล่องกว่าการเลี้ยวลดคดโค้งไปตามเส้นทางเดิม กระแสน้ำจึงมีกำลังแรง สามารุทำให้คลองลัดขยายกว้างขึ้นด้วยการทำลายสองฟากตลิ่ง จนกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาแทนสายเก่า ส่วนลำแม่น้ำเดิมก็แคบเข้าจงเหลือเป็นคลอง ดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
    กล่าวกันว่า การขุดคลองลัดที่ย่านบางกอกนั้น ช่วยย่นระยะทางคมนาคมากทีเดียว เพราะแทนที่จะเสียเวลาพายเรือทั้งวันเพื่ออ้อมไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า ก็จะเหลือเพียงชั่วไปทันตั้งหม้อข้าวเดือด
    ผลที่ตามมาอย่างรวดเร็วก็คือ ย่านดังกล่าวกลายเป็นเกาะ และ ขยายชุมชนใหญ่ขึ้นเป็นบ้านเรือนและเรือกสวนมากมาย ในที่สุดก็กลายเป็น "เมือง" อยู่บริเวณสองฟากฝั่งคลองลัดที่กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
reply427531_M5401309-404.jpg
    จากบทความนี้ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงห่วงใยในอาณาประชาราษฎรของพระองค์ ทรงสดับตรับฟังทุกข์สุข ทรงฟังปัญหา ทรงแก้ปัญหาให้ประชาราษฎร์ของพระองค์ด้วยพระปรีชาญาณอันกว้างไกล เพื่อความผาสุกของประชาชน
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จประไชยราชาธิราชทรงขุดคลองเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการคมนาคม จนเกิด "คลองบางกอกน้อย"
    ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรให้กับพสกนิกรชองพระองค์หลายโครงการด้วยกัน และโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการขยายถนนบรมราชชนนีในเขตบางกอกน้อย ก็เป็นโครงการตามพระราชดำริโครงการหนึ่งที่ทรงแนะนำเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่เขตบางกอกน้อย นับเป็นพระมหากรุณาธุคุณแต่พสกนิกรของพระองค์อย่างล้นพ้น
bangkoknoi-canal01.jpg
คลองบางกอกน้อยกับพุทธศาสนา
    คลองบางกอกน้อย เป็นเส้นทางร่วมในงานชักพระ วัดนางชี การชักพระวัดนางชีนั้นเมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานยังบุษบกแล้ว ชักแห่ไปทางเรือ จากหน้าวัดนางชีไปทางคลองบางกอกน้อย ถึงวัดไก่เตี้ย เขตตลิ่งชัน ก่อนเพล เลี้ยงพระกันที่วัดไก่เตี้ย แล้วยกขบวนไปที่ปากคลองบางกอกน้อย มาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ และวกเข้าคลองด่านกลับไปยังวัดนางชี 
wat-nangchee-shotikaram01.jpg
    งานนี้มีขึ้นมนวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี เป็นงานประจำปี มีการละเล่นต่าง ๆ เช่น แข่งเรือ เพลงเรือ แห่ขบวนเรือบุปผชาติ เป็นต้น
prapayneethai165.jpg

ขอบคุณ เวป กูเกิ้ล ฯ ที่ช่วยหา..อิอิ  และ จากเวปนี้ http://203.155.220.217/bangkoknoi/travel/khalongbangkoknoi.htm
http://www.dhammathan.net/radio/chaichana/bangkoknoi.wma
				
26 มกราคม 2553 11:52 น.

เพลงหลายเพลง..มีเปลี่ยนชื่อ

กิ่งโศก

อาศัยช่วงเจ้านายเผลอ แอบ ท่องเนต ..เพื่อประโลมอารมณ์ของตัวเอง ..
ในห้วงขณะ ที่ แสนจะวุ่นๆ กับภาระกิจ..

เปิด กูเกิ้ล  หาเพลงเก่าๆ ฟัง ไปเจอ หัวข้อว่า เพลงมีการเปลี่ยนชื่อเพลง 

..เปลี่ยนเนื่องจากชื่อไม่โดน ..
เปลี่ยนจากเนื่องมีคนมาร้องใหม่
เปลี่ยนจากเนื่อง จากคนจำแต่เนื้อร้องได้มากกว่าชื่อ
..และ...หลากหลายสาเหตุ..ที่เปลี่ยน  

แต่ ด้วยเป็นคนชอบเพลงเก่าๆ ..ฟังแล้วมันขลังในความรู้สึกดี

..เครดิต..จากเวป  http://www.maemaiplengthai.com/webboard/viewthread.php?tid=805&extra=page%3D1&page=2
โดยคุณ  jareporn13""ขออนุญาต นำมาเผยแพร่ต่อนะครับ จะได้สมกับ คอลัมน์ สัมพันธ์รักษ์นักเพลง..

....................................................................................................
เพลง...บางกอกน้อย  (ศพลอย)

คำร้อง/ทำนอง  พิพัฒน์  บริบูรณ์ 
ชัยชนะ บุญนะโชติ ขับร้อง 
(บันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2503) 


สุดคลองบางกอกน้อย... 
พายเรือตามหาบัวลอย จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย 
ปากพี่ตะโกนกู่ ถึงยอดชู้ เพื่อนร่วมกาย 
ไม่รู้ว่าเจ้าจมหาย ลอยไปแห่งใดเล่าหนา

ใจพี่แทบขาดแล้ว...
มือคงยังจ้ำยังแจว ตามหานางแก้วดวงตา 
ศพน้องเจ้าลอยล่อง อยู่ใต้ท้องสุธารา 
หรือว่าลอยออกนอกเจ้าพระยา จึงค้นหาไม่พบศพบัวลอย 

โถ เจ้าว่ายน้ำไม่เป็น 
ยังลงว่ายเล่น เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย 
น้ำเชี่ยวยิ่งเหลือ เจ้าจึงเป็นเหยื่อ คลองบางกอกน้อย 
จิตใจพี่ให้เศร้าสร้อย ถึงบัวลอย แม่จอมขวัญ 

สุดหล้าสุดฟ้าเขียว...
เธอเป็นแม่พระองค์เดียว ที่เหนี่ยวใจรักคงมั่น 
เจ้าสิ้นใจต่อหน้า ด้วยพี่คว้าเจ้าไม่ทัน 
เหมือนพี่พิฆาตเด็ดดวงชีวัน จอมขวัญนงนุช สุดบูชา



เพลง"บางกอกน้อย" เดิมชื่อเพลง"ศพลอย"

.............................................................................................
เพลง...คิดถึงบ้าน

คำร้อง/ทำนอง อัศนี พลจันทร
ศิลปิน หงา คาราวาน


เดือนเพ็ญ แสงเย็นเห็นอร่าม นภาแจ่มนวลดูงาม 
เย็นยิ่งหนอยามเมื่อลมพัดมา
แสงจันทร์นวลชวนใจข้า คิดถึงถิ่นที่จากมา
คิดถึงท้องนาบ้านเรือนที่เคยเนา

กองไฟสุมควายตามคอก คงยังไม่มอดดับดอก
จันทร์เอยช่วยบอกให้ลมช่วยเป่า
โหมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว
ให้พี่น้องเฮานอนหลับอุ่นสบาย

เรไรร้องฟังดังว่า เสียงเจ้าที่เฝ้าคอยหา
ลมช่วยมากระซิบข้างกาย
ข้ายังคอยอยู่ไม่หน่าย ไม่เลือนเคลื่อนคลาย 
คิดถึงมิวายที่เราจากมา

ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ น้ำรักจากห้วงดวงใจ 
ของข้านี้ไปบอกเขานำนา
ให้เมืองไทยรู้ว่า ไม่นานลูกที่จากมา
จะไปซบหน้าในอกแม่เอย




เพลง...เดือนเพ็ญ

คำร้อง/ทำนอง อัศนี พลจันทร
ศิลปิน คาราบาว


เดือนเพ็ญสวยเย็นเห็นอร่าม 
นภาแจ่มนวลดูงาม เย็นชื่นหนอยามเมื่อลมพัดมา
แสงจันทร์นวลชวนใจข้า คิดถึงถิ่นที่จากมา 
คิดถึงท้องนาบ้านเรือนที่เคยเนา

เรไรร้องดังฟังว่า เสียงที่เจ้าเฝ้าครวญหา 
ลมเอยช่วยพากระซิบข้างกาย
ข้ายังคอยอยู่ไม่หน่าย มิเลือนห่างจากเคลื่อนคลาย 
คิดถึงมิวายเมื่อเราจากกัน

กองไฟ สุมควายตามคอกคงยังไม่มอดดับดอก 
จันทร์เอยช่วยบอกให้ลมช่วยเป่า
โหมไฟให้แรงเข้า พัดไล่ความเยือกเย็นหนาว 
ให้พี่น้องเรานอนหลับอุ่นสบาย

ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ นำรักจากห้วงดวงใจของข้านี้ไปบอกเขานำนา
ให้เมืองไทยรู้ว่าไม่นานลูกที่จากมาจะไปซบหน้ากับอกแม่..เอย
ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ นำรักจากห้วงดวงใจของข้านี้ไปบอกเขานำนา
ให้เมืองไทยรู้ว่าไม่นานลูกที่จากมาจะไปซบหน้ากับอกแม่..เอย
ให้เมืองไทยรู้ว่าไม่นานลูกที่จากมาจะไปซบหน้ากับอกแม่..เอย



เพลง "เดือนเพ็ญ" เดิมชื่อเพลง "คิดถึงบ้าน"

จากวิกิพีเดีย
เพลงเดือนเพ็ญ หรือ เพลงคิดถึงบ้าน เขียนเนื้อร้องและทำนองโดย อัศนี พลจันทร (หรือที่รู้จักกันในชื่อ นายผี หรือ สหายไฟ) ได้รับการยกย่องว่า หากนับเพลงนี้เป็นเพลงเพื่อชีวิต ก็สมควรจะเรียกได้ว่าเป็น สุดยอดเพลงเพื่อชีวิต ด้วยเป็นเพลงที่ถูกบันทึกเสียงและขับขานในวาระต่าง ๆ มากที่สุดเพลงหนึ่งในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา และน้อยคนเหลือเกินที่ได้ฟังเพลงนี้แล้วจะรู้สึกเฉย ๆ กับความหมายที่กินใจที่เพลงสื่อออกมา เพลงคิดถึงบ้านนี้ ทำให้ชื่อ นายผี อัศนี พลจันทร เป็นที่รู้จักและจดจำในวงกว้าง

อัศนีแต่งเพลงนี้ขึ้น เพราะความรู้สึกคิดถึงบ้านของตัวเขาเอง ด้วยเหตุการณ์ทางสังคมในสมัยนั้น ทำให้เขาต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนไปเป็นเวลานาน. หงา คาราวาน เป็นคนนำเพลง "คิดถึงบ้าน" นี้ออกมาจากราวป่า และบันทึกเสียงครั้งแรกในนามวงคาราวาน กับอัลบั้มชุด "บ้านนาสะเทือน" เมื่อปี 2526.ต่อมาในปี 2528 แอ๊ด คาราบาว ได้นำมาบันทึกเสียงอีกครั้ง ในอัลบั้มชุด "กัมพูชา" และได้เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น "เดือนเพ็ญ" พร้อมทั้งสลับท่อนเนื้อร้องจากเดิม.หลังจากนั้นมีผู้นำเพลงนี้ไปบันทึกเสียงอีกนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งในอัลบั้มปกติ และการแสดงสด อาทิ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ คนด่านเกวียน อัสนี-วสันต์ โชติกุล พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ โฮป คีตาญชลี นรีกระจ่าง คันธมาศ สายัณห์ สัญญา สุนารี ราชสีมา ยอดรัก สลักใจ มนต์สิทธิ์ คำสร้อย โจ้ วงพอส ฯลฯ

หงา คาราวาน บันทึกถึงที่มาของเพลงนี้ว่า
...ที่สนามรบก่อนเกิดศึกใหญ่ (หมายถึงยุทธการล้อมปราบในเขตน่านเหนือ) ผมได้พบญาติพี่น้องซึ่งเป็นสายทางเขา (นายผี) เพลง 'คิดถึงบ้าน' ถูกร้องให้ผมฟังโดยหมอตุ๋ย สหายหญิงผิวคล้ำคนภาคกลางแถบราชบุรีซึ่งเป็นญาติของเขา และบอกว่าเป็นเพลงที่นายผีแต่งขึ้น ตั้งแต่พลัดบ้านพลัดเมืองไปอยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นเวลาเกือบ 30 ปีมาแล้ว 
................................................................................................

เพลง...กุหลาบในมือเธอ  (ดอกไม้ของหล่อน)

คำร้อง ขุนวิจิตรมาตรา/ทำนอง ร.ท.มานิต เสนะวีณิน
ร.อ. ม.ล.ขาบ กุญชร ขับร้อง


ใจพี่หายวาบ 
เมื่อเห็นกุหลาบกลีบกระจาย 
จำกลิ่นได้คลับคล้าย 
ว่าดอกที่ถือในมือเธอ 
พี่เพ้อขอมานาน 
เจ้าให้หลังพี่ 
เพราะเจ้ามีที่ต้องการ 

แต่ว่าเดี๋ยวนี้ 
ดอกถูกขยี้ทิ้งกระจาย 
พี่แสนจะเสียดาย 
เพราะไปหมายอื่นให้ชื่นชม 
เขาดมเล่นแล้วทิ้ง 
ผู้ที่หวังจริง 
ก็เลยต้องยิ่งหัวใจราน 



เพลง"ดอกไม้ของหล่อน"  เป็นเพลงจากภาพยนตร์ไทย เรื่อง  เลือดทหารไทย  
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2477  ต่อมาในปี พ.ศ.2509 ชรินทร์ นันทนาคร นำมาบันทึก
เสียงใหม่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น เพลง"กุหลาบในมือเธอ
...........................................................................................................

เพลง...คนเหลือเดน (คนเดนคน)

คำร้อง/ทำนอง ป. ชื่นประโยชน์
ชรินทร์ นันทนาคร ขับร้อง 


เขาประณามหยามว่าเรา
เปรียบไว้เท่าคนเดนคน
เหยียบเย้ยชิงชังเกินทน
ตัวของตนคนหรือเรา

เพราะไม่เจียมเพราะว่าจน
จึงหมองหม่นจำทนเอา
เอื้อมรักเกินตัวมัวเมา
ถูกหยามเราท่าเดนคน
              
รักล้นใจไม่หน่าย เกลือกตะกาย
เหมือนกระต่ายหมายจันทร์เบื้องบน
ไม่เจียมตัวไม่เจียมกาย
ไม่รู้อายด้านทนคนเย้ยสุดอาย

เขาประณามหยามสุดทน
ใจหมองหม่นคนเดนตาย
จะขอครองใจครองกาย
ให้รักตายไปกับตัว



เพลง"คนเหลือเดน" เดิมชื่อเพลง "คนเดนคน"

.............................................................................
เพลง...บางปู (สะพานสุขตา)

คำร้อง /ทำนอง ล้วน ควันธรรม
กำธร สุวรรณปิยะศิริ ขับร้อง    


เพลินนัยน์ตาในเวลาเย็น
มองแลเห็นท้องทะเลระรื่น
เสียงน้ำซัดดังโครมครืน
เห็นสาดฝั่งนั่งชมเราเพลินฤทัย

ลมเย็น ๆ พัดระโรยโชยฉ่ำ
จนจะค่ำเห็นตะวันรำไร
จวนลับน้ำจมลงไป
วิไลดังหนึ่งชวนเชิญให้เพลินอุรา

เพลิน นั่งเพลินชมลมและคลื่นซัดมา
เพลิน เพลินอุราในเวลาเย็น เย็น

สะพานสุขตา พาใจเราเป็นสุข
ไร้ความทุกข์เมื่อได้มาเที่ยวเล่น
ลมทะเลเวลาเย็น
ระรื่นชื่นใจ อย่างไรไม่ลืมบางปู



เพลง "บางปู" เป็นเพลงที่มีสองชื่อ บ้างก็เรียกเพลง"สะพานสุขตา"
...................................................................................................

เพลง...คิดดูบ้างไหม  (เคยคิดบ้างไหม)
     
คำร้อง ศยาม/ทำนอง เวส สุนทรจามร        
บุษยา รังษี ขับร้อง


เหงาเศร้าทรวงหนักหนา
รักที่สัญญามาแรมราไปได้
เราเคยเชยชื่นกันมั่นใจ
โกรธเคืองสิ่งไหนหรือ จึงได้ตัดรอน

หรือว่าเธอเบื่อฉัน
รสสุขสัมพันธ์จึงมิมั่นดังก่อน
เพียงกาลมิเนิ่นนานก็จร
เยื่อใยไถ่ถอนไร้อาวรณ์ไฉน

อันไมตรีฉันนี้ก็ยังมั่น
เพียงชีวันฉันยังยอมให้
หากขาดเธอใช่จะสิ้นไร้
สิ้นเยื่อใยอย่าได้คืนมา

คิดไตร่ตรองบ้างไหม
รักชื่นของใครหวานซึ้งในคุณค่า
ยังคอยเธอด้วยความศรัทธา
เฝ้าปรารถนารักคืนมาสู่ขวัญ  



เพลง"คิดดูบ้างไหม" ในแผ่นเสียงเขียนชื่อ เพลง"เคยคิดบ้างไหม

............................................................................................
เพลง...สิ้นกลิ่นดิน  (โฉมยง)

คำร้อง/ทำนอง อิส อารีย์
วินัย  พันธุรักษ์ ขับร้อง


โฉม...ยงเจ้าคงไม่รักเราจริง 
เราสิเชื่อทุกสิ่ง 
รักจริงแต่เจ้าแจ่มจันทร์ 

รู้...ไหมใครเขาคอยเฝ้าฝัน 
คิดถึงเจ้าทุกวัน
แจ่มจันทร์เจ้าไม่กลับมา

โบย...บินลืมสิ้นคนท้องนา 
เดี๋ยวนี้เจ้าเป็นดารา
เรียกหาเจ้าไม่ได้ยิน 

โฉม...ยง เจ้าคงจะลืมเราสิ้น 
ค่าของเราเพียงดิน 
ได้ยินแต่คำนินทา



เพลง"สิ้นกลิ่นดิน" นี้ เป็นเพลงที่ทำให้คุณวินัย พันธุรักษ์ ดังเป็นพลุแตก ด้วยบท
เพลงสั้น ๆ เพลงนี้  ฮิทกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง แต่คนส่วนใหญ่จะรู้จักกันในชื่อเพลง"โฉมยง" 
.........................................................................................................
เพลง...เงา (วิ่ง)

คำร้อง/ทำนอง  คำร้อง ครูชาลี อินทรวิจิตร
ศิลปิน  ร็อคเครสตร้า
อัลบั้ม  The Best Of Rang 



วิ่งๆๆๆๆ   วิ่งๆๆๆๆ
วิ่งๆๆๆๆ    วิ่งไป...
       
มองดูรอบตัวเรา เหมือนมีใครเฝ้าคอยติดตาม                     
วิ่งหนีเท่าไหร่ไม่พ้น เพราะเราคือคนต้องการทึบแสง
ทำอะไรทำตาม เดิมงุ่มง่ามมันทำได้            
วิ่งหนีก็วิ่งตาม อยากจะถามตามทำไม

วิ่งๆๆๆๆ     วิ่งๆๆๆๆ
วิ่งๆๆๆๆ      วิ่งไป...

ติดตามทุกแห่งที่ไป ไม่รู้ว่าใครใช้ตามมา             
วิ่งไปอย่ารอช้า วิ่งให้มาตามกวนใจ
ทำอะไรคิดดู สิ่งที่ควรรู้ควรจะจำ                  
สิ่งไหนไม่คิดอยากทำ  อาจเพลี่ยงพล้ำช้ำใจตาย

วิ่งๆๆๆๆ      วิ่งๆๆๆๆ
วิ่งๆๆๆๆ      วิ่งไป...



เพลง"เงา" ของ "ร็อคเครสตร้า" นี่ก็เช่นกัน บอกเพลง"เงา" ไม่มีใครรู้จัก รู้จักแต่เพลง"วิ่ง" เลยทำให้เพลงนี้มีสองชื่อ
...................................................................................................

เพลง...สั่งรัก (ยิ้มดีกว่าหมองหม่น)

คำร้อง/ทำนอง
สุเทพ วงศ์กำแหง ขับร้อง


อย่าโศกเลยดวงใจ
ถึงไกลจากกัน
หากใจเราสัมพันธ์
รักกันไปชั่วฟ้า

จากไปใจอาวรณ์ ร้าวรอนอุรา
อย่าโศกเลยขวัญตา
ยิ้มดีกว่าหมองหม่น

เสียงฝนสั่งฟ้าใครจะมาปลอบใจ
จำใจจากไกลพี่หักใจฝืนทน
ท้องฟ้าจะครึ้มใครจะลืมหน้ามน
ดวงดาวจะหล่นพานวลน้อง
หม่นหมอง

อย่าโศกเลยดวงใจ
ร้างไกลไม่นาน
อยู่จงสุขสำราญ
รักใครปานกว่าน้อง

จากไปอาลัยลา น้ำตาอย่านอง
จะกลับเมื่อแสงทอง
ฟ้าเรืองรองทิว



เพลง"สั่งรัก" เดิมชื่อเพลง"ยิ้มดีกว่าหมองหม่น"
............................................................................

เพลง...ม่านประเพณี  (ใต้ประเพณี)

คำร้อง/ทำนอง ครูไสล ไกรเลิศ
สุเทพ วงศ์กำแหง ขับร้อง 


ประเพณีนั้นมีกําแพงกั้น 
เธอและฉันมิอาจฟันฝ่า 
วาสนาไม่นําพา
ชะตามืดมนทนระกําช้ำใจ 

ความจนแหละหนาจึงพาให้เศร้า 
ดวงใจให้เหงาเฝ้าแต่ฝันใฝ่ 
ชะตาชีวิตลิขิตพาให้ 
จะทําฉันท์ใดต้องปล่อยตามกรรม 

รักเอย รักเคยชื่น 
กลับมาขมขื่นสุดช้ำ 
ดวงใจสุดแสนครวญคร่ำ 
ประเพณีน้อมนําชักพา 

มีเวรกรรมทั้งศีลธรรมปกป้อง 
จําทนหม่นหมองยามต้องจากร้างลา 
จากไปแล้วโอ้ขวัญตา 
สิ้นวาสนาชาติหน้าคงพบกัน



เพลง"ม่านประเพณี" เดิมชื่อเพลง"ใต้ประเพณี" สถาพร มุกดาประกร ขับร้องเป็นคนแรก
.........................................................................................................
เพลง...อย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย  
               (ฉันเกลียดถนน)

คำร้อง/ทำนอง
ศิลปิน โอเวชั่น


เมื่อฉัน พบเธอ
ฉันเกลียด ถนน
เพราะทำให้เราสองคน
ต้องพราก จากกัน

เมื่อฉัน พบเธอ
ฉันเกลียด ตะวัน
เพราะทำให้ฉัน โศกศัลย์
นับวัน รอเธอ

เกลียดแม้ ยามหลับ
สมองเหมือนดับ
หยุดความเพ้อเจ้อ
เกลียดทุกคน ที่ใกล้เธอ
ปล่อยฉันละเมอ เดียวดาย

เมื่อฉัน พบเธอ
ฉันเกลียด โชคร้าย
เพราะทำให้ฉัน กลับกลาย
เป็นคนรักเธอ ข้างเดียว



เพลงนี้ก็มีสองชื่อ
.......................................................................................................
รอยเล็บเหน็บใจ  (เล็บมือนาง)

คำร้อง/ทำนอง ไสล ไกรเลิศ
สุเทพ วงศ์กำแหง ขับร้อง


เล็บ...มือ...นางนี่หรือคมกริช
พี่จุมพิต คิดลงโทษ มาโกรธกันประโยชน์อันใด
มันเจ็บจิตครวญ เล็บข่วนรอยไว้
โถยังงอนไปได้ ควรอภัยโทษให้ผู้แพ้

เล็บ...รอย...มือ...แม่ หยิกพี่จนมีรอยแผล
ซ้ำยังไม่แลแกล้งหมองหมาง
มิเคยเกินกล้ำให้ช้ำนวลปราง
ใจจะร้างเป็นลางไปเธอ  

แสน...งอน...วอนเฉลยคำพี่
อย่าหน่ายหนี ให้พี่เก้อ หลงละเมอเสน่ห์นวลนาง
ดวงหน้าเจ้าคม โน้มเนตรแลค้าง
สวยอะไรไม่สร่าง เอวบางเหมือนอย่างนางฟ้า

สอง...ปราง...นางแม่หอมรวยรื่น
น่าชื่นกว่ามวลบุปผา ขนตาแม่งอนดังศรสวรรค์
พระพรหมคงช่วยให้สวยลาวัณย์
เธอเฉิดฉันท์ เกินพรรณนา

.....................................................................
กล้วยไม้ของฉัน

คำร้อง/ทำนอง ส.เกษศิริ
ชาญ เย็นแข ขับร้อง

สวยเอยเจ้าดอกกล้วยไม้ เอื้องดอย 
กลิ่นเจ้าลอยตามลม น้ำค้างพร่างพรม 
ดอกพลิ้วลมแลสล้าง สดฉวีสีเจ้างามไม่สร่าง
เจ้าซ่อนอยู่กลาง หว่างถึงดงแดนไกล

เขาชมว่าเจ้างามนัก กลิ่นหอม
กว่าพยอมใดใด ถ้าแม้นว่าใคร เด็ดแล้วไปชมเล่น
ดอกจะหรู ถึงจะดูงามเด่น
แต่เจ้าก็เป็น ดอกไม้ตามริมดอย

ผึ้งรู้จะเคล้าแดดเผายืนต้น โอ้คนจะสอย
เจ้ามาลืมดอย ฉันพลอยอาวรณ์
กลีบสวยเรียงซ้อน
จะช้ำไปก่อนมวลภมรจะรู้

ถึงบานอยู่ในกระเช้า เด่นสี
แต่ยังมีคนจอง ชะแง้แลมอง ต่างหวังปองชมอยู่
สิ้นหน้าฝนคล้ายดังคนคอยคู่
ไม่น่าชื่นชู ดอกนั้นดูร่วงโรย


เพลง...กล้วยไม้ของฉัน เดิมขับร้องโดย ชาญ เย็นแข ต่อมาเปลี่ยนเนื้อเพลงเล็กน้อย โดยครูไสล ไกรเลิศ และนำมาบันทึกเสียงใหม่ ขับร้องโดย ครูสุเทพ วงศ์กำแหง เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น เอื้องดิน


เอื้องดิน
คำร้อง ไสล ไกรเลิศ
ทำนอง ส.เกษศิริ
สุเทพ วงศ์กำแหง ขับร้อง

สวยเอยเจ้าดอกกล้วยไม้ เอื้องดิน
กลิ่นรวยรินตามลม น้ำค้างพร่างพรม 
ช่อพลิ้วลมแลสล้าง สดฉวีสีเจ้างามไม่สร่าง
เจ้าซ่อนอยู่กลาง หว่างพฤกษ์พงแดนไกล

เขาชมว่าเจ้างามนัก น่าถนอม
กว่าพยอมใดใด ถ้าแม้นว่าใคร เด็ดแล้วไปชมเล่น
ดอกจะหรู ถึงจะดูงามเด่น
แต่เจ้าก็เป็น ดอกไม้ในดงดอย

ผึ้งรู้จะเคล้าแดดเผายืนต้น ใกล้มือคนสอย
เจ้ามาลืมดอย ฉันพลอยอาวรณ์
กลีบสวยเรียงซ้อน
จะช้ำไปก่อนมวลภมรจะรู้

ถึงบานอยู่ในกระเช้า สดสี
แต่ยังมีคนจอง ชะแง้แลมอง ต่างหวังปองชมอยู่
สิ้นหน้าฝนคล้ายดังคนคอยคู่
ไม่น่าชื่นชู ดอกพลัดพรูลงดิน
.......................................................................................................
ความรัก  (รักและคิดถึง)

คำร้อง/ทำนอง สมพจน์ สิงห์สุวรรณ
นิตยา บุญสูงเนิน ขับร้อง


ความรัก...(ฮัม...)
ใครประจักษ์ สลักทรวง ให้ห่วงหา
ฉันรักเธอ แหนหวง เหมือนดวงตา
รักล้นโลก โศกล้นฟ้า คราจากกัน

คิดถึง...(ฮัม...)
ใครจะซึ้ง คำนี้ ดีเท่าฉัน
ยิ่งเก็บแอบ แนบใจ ไม่จำนรรจ์
ยิ่งนับวัน เวลา จะอาดูร


เพลง..."ความรัก" เดิมชื่อเพลง "รักและคิดถึง" ประพันธ์โดยคุณสมพจน์ สิงห์สุวรรณ ในปี 2509 ผู้ขับร้องคนแรกคือ ครูสุเทพ วงศ์กำแหง ชื่อเพลงไปซ้ำกับเพลง "รักและคิดถึง" อีกเพลงหนึ่งที่ครูสุเทพ ขับร้องไว้เหมือนกัน เมื่อเพลงนี้มาบันทึกเสียงใหม่ ผู้ประพันธ์จึงเปลี่ยนชื่อเป็น เพลงความรัก (แต่ก็ยังไปมีชื่อซ้ำกับ เพลง "ความรัก" ที่ ชรินทร์ นันทนาคร ร้องคู่กับ สวลี ผกาพันธ์ อีกน่ะแหละ...ผู้แต่งเพลงนี้คุยกับผมเองเมื่อเร็วๆนี้เอง...)
..........................................................................................................
เพลง...กลัวลมลวง (กลับอิสาน)

คำร้อง/ทำนอง
รวงทอง ทองลั่นทม ขับร้อง


โอ...โอ้ละเน้อ...พี่เอย
ข้อยเป็นคนอยู่ถึงเมืองบน เหมือนคนบ้านไกล
มิได้ไปไหน นะพี่เจ้าเอย 
ข้อยนี้ใจเต้นได้เห็นบางกอก สวยกว่าบ้านนอกเสียจริง ๆ เอย

เสียงดังจ๊อกจอก ฝนตกแดดออก คนบางกอกเขาจ้อกัน
ข้อยกลัว ข้อยงง หลงลมชายพร่ำ โง่นักเชื่อคำต้องไหวหวั่น

หลอกลวงพวกฉัน ให้ร้าวราน ขวัญเจิงกระจายถึงตายก็มาก 
คนกรุงเชื่อยากปากหวานหว่าน แสนกลัวบางกอกหลอกดวงมาลย์
กลับอีสาน สุขเอย

  

เพลงนี้มี 2 ชื่อค่ะ ทำนองเพลงไทยเดิม "ลาวกระทบไม้"

.......................................................................................
บุเรงนองรำลึก-ผู้ชนะสิบทิศ
คำร้อง/ทำนอง ไสล ไกรเลิศ
ชรินทร์ งามเมือง-นันทนาคร ขับร้อง

บุเรงนองรำลึก
คำร้อง ทำนอง : ไสล ไกรเลิศ 

ฟ้าลุ่มอิรวดีคืนนี้มีแต่ดาว
แจ่มแสงแวววาว...เด่นอะคร้าว สว่างเวหา

ข้ามาทำศึกลำเค็ญ ไม่เว้นว่างเปล่า
เพื่อศักดิ์ชาวตองอู ถึงจะตายจะอยู่ขอเชิดชูมังตรา

ดวงใจข้ามอบจอมขวัญ มั่นรักจันทรา
กุสุมายอดชู้ รักเจ้าเพียงเอ็นดู ไว้เชิดชูดวงแด

ไปรบอยู่แห่งไหน ใจคะนึงถึงเจ้า เคยเล้าโลมโฉมแม่
ข้ากลับมาเมืองแปร มองเหลียวแลแสนเปลี่ยวเปล่า
ไม่มีแต่เงาข้าเฝ้าอาลัย หัวใจแทบขาด อนาถใจไม่คลาย

เจ็บใจคนรักโดนรังแก ข้าจะเผาเมืองแปรให้มันวอดวาย
จะตายให้เขาลือชาย จะให้เขาลือชาย ว่านามชื่อกู
ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะ....สิบทิศ

ผู้ชนะสิบทิศ
คำร้อง ทำนอง : ไสล ไกรเลิศ 

ฟ้าลุ่มอิรวดีคืนนี้มีแต่ดาว
แจ่มแสงแวววาว...เด่นอะคร้าว สว่างไสว
เสียงคลื่นเร้าฤดีคืนนี้ข้าเปลี่ยวใจ
เหน็บหนาวทรวงใน...แปลกไฉนข้าเศร้าวิญญา
     
ข้ามาทำศึกลำเค็ญ เหนื่อยแสนยากเย็นไม่เว้นว่างเปล่า
เพื่อศักดิ์ชาวตองอู ถึงจะตายจะอยู่ขอเชิดชูมังตรา
ดวงใจข้ามอบจอมขวัญ มั่นรักต่อกันมิ่งขวัญจันทรา
กุสุมายอดชู้ รักเจ้าเพียงเอ็นดู ไว้ชื่นชูดวงแด
     
ไปรบอยู่แห่งไหน ใจคะนึงถึงเจ้า เคยเล้าโลมโฉมแม่
ข้ากลับมาเมืองแปร มองเหลียวแลแสนเปลี่ยวเปล่า
ไม่มีแต่เงาข้าเศร้าอาลัย หัวใจแทบขาด อนาถใจไม่คลาย
     
เจ็บใจคนรักโดนรังแก ข้าจะเผาเมืองแปรให้มันวอดวาย
จะตายให้เขาลือชาย จะให้เขาลือชาย ว่านามชื่อกู
ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะ....สิบทิศ

เพลงบุเรงนองรำลึก และ ผู้ชนะสิบทิศ มีเนื้อแตกต่างกันเล็กน้อย แต่เนื้อเพลง ผู้ชนะสิบทิศ ที่แต่งเนื้อเพิ่มทีหลัง มีความสมบูรณ์และลงตัวกว่า.......................
.........................................................................................................
เพลง...บ้านนี้ฉันรัก (บ้านน้อยหลังนี้)

คำร้อง - ทำนอง สุรพล สมบัติเจริญ
ขับร้อง สุรพล สมบัติเจริญ
(บันทึกเสียงครั้งแรก พ.ศ. 2508)


บ้านน้อยหลังนี้สุขีเสียจริง 
ปลูกไว้สมใจทุกสิ่ง สวยจริงนะฉาบสีฟ้า 
หน้าต่างประตู ติดม่านสวยหรูงามตา 
ยามน้องผ่านไปมา พี่ยืนในบ้านแหวกม่านมองเห็น 


บ้านน้อยหลังนี้สุขีเสียจัง
แอบมองน้องทางหน้าต่าง ตั้งแต่เช้าจรดเย็น 
แหวกม่านมองดูอดสูเหลือจะลำเค็ญ
เกี้ยวก็เกี้ยวไม่เป็น ได้แต่แอบมองน้องอยู่ทุกวัน 


เห็นน้องเดินเดี่ยว เปลี่ยวใจพี่อยากจะทัก
แต่แล้วก็ต้องชะงัก เพราะใจไม่วายนึกหวั่น
จะยิ้มจะหัว ก็กลัวน้องจะไม่หัน 
หัวใจพี่แสนอัดอั้น มาทุกวันจวบจนบัดนี้ 


บ้านน้อยหลังนี้ถึงแม้ฉันจน
กัดกินแม้เพียงเกลือป่น ยอมทนไม่จากหน่ายหนี 
เงินหมื่นเงินแสน ไม่อาจแม้นมาราวี 
พรากบ้านฉันไปขยี้ บ้านน้อยหลังนี้ฉัน รักจริง
...............................................................................................

เพลง...ขวัญของเรียม (ขวัญเรียม)

คำร้อง/ทำนอง พรานบูรพ์
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ขับร้อง

เรียมเหลือทนแล้วนั่นขวัญของเรียม 
หวนคิดคิดแล้วขมขื่น ฝืนใจเจียม 
เคยโลมเรียมเลียบฝั่งมาแต่หลังยังจำ 

คำที่ขวัญเคยพลอดเคยพร่ำ 
ถ้วนทุกคำยังเรียกยังร่ำเร่าร้องก้องอยู่ 
แว่วๆแจ้วหูว่าขวัญชู้เจ้ายังคอย 

เรียมเหลือลืมแล้วนั่นขวัญคงหงอย 
หวนคิดคิดแล้วยิ่งเศร้า เหงาใจคอย 
อกเรียมพลอยนึกหน่าย คิดถึงสายน้ำนอง 

คลองที่เรียมเคยเที่ยวเคยท่อง 
เมื่อเราสองต่างว่ายต่างว่องล่องไล่ไม่เว้น 
เช้าสายบ่ายเย็น ขวัญลงเล่นกับเรียม 
..................................................................

เพลง...ขวัญใจเจ้าทุย 
          (ขวัญใจอ้ายทุย)

คำร้อง สมศักดิ์ เทพานนท์/ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน        
รวงทอง ทองลั่นทม ขับร้อง    


เจ้าทุยอยู่ไหนได้ยินไหมใครมากู่กู่
เรียกหาเจ้าอยู่อยู่หนใดรีบมา
เจ้าทุยเพื่อนฉันออกมาหากันดี กว่ากว่า 
อย่าเฉยเลยอย่าอย่ามะมาเร็วไว

เกิดมามีแต่ทุยเป็นเพื่อนกัน
ค่ำเช้าทำงานไม่ทิ้งกันไม่ หายไป
ข้ามีข้าว และน้ำนำมาให้
อีกทั้งฟางกองใหญ่อย่าช้าไยอย่าช้าไย

เจ้าทุยเพื่อนจ๋าออกไปไถนาคงเหนื่อยอ่อ น
เหนื่อยนักพักผ่อนก่อนหิวจนอ่อนใจ
ข้าจะอาบน้ำป้อนฟางทั้งคำกำใหญ่ใหญ่
จะสุมไฟกองใหม่ใหม่ไว้กันยุงมา

เจ้ามีคุณแก่เรามามากมาย 
ถึงแม้เป็นควายเจ้าเหนือกว่าดีเสียกว่า
ผู้คนที่เกียจคร้านไม่เข้าท่า
ทุยเอ๋ยเจ้าดีกว่าช่ว ยไถนาได้ทุกวัน

เจ้าทุยนี่เอ๋ยข้าเคยเลี้ยงดูมาก่อน เก่า
เมื่อครั้งยังเยาว์เยาว์ทั้งทุย และฉัน
ข้าเคยขี่หลังนั่งไปไหนไปไม่หวาดหวั่น
สุขทุกข์เคยบุกบั่นรู้กันด้วยใจ

เติบโตมา ด้วยกันในไร่นา 
เคยหากินมาข้าเห็นใจข้าเห็นใจ 
เจ้าทุยยากจะหาใครเทียมได้
ข้ารักดังดวงใจไม่รักใครข้ารักทุย
.................................................................
..มีมากมาย ไปดูกันได้ตามเวป ที่มา ที่บอกไว้เบื้อต้นครับ..

 สบายๆๆๆ     ...ฮัมเพลงพี่เบิร์ด....				
22 พฤศจิกายน 2552 19:24 น.

.....นี่หรือ ..คือความเป็น....ครู

กิ่งโศก

fry03.jpg

 คำว่าครู คือคำที่ชินอยู่ในโสตของผมมาแต่เด็ก ๆ เพราะภาพในมโนของผม คือ บุคคลที่สวมชุดสีกากี เป็นผู้มีภูมิ มีความรู้ ผู้ที่น่าเคารพยำเกรงและเลื่อมใส

คำว่าครูพอจะแปลได้ ตามความเข้าใจดังนี้ 

 "ครู มาจากคำว่า คุรุ แปลว่าหนัก ภาระที่ครูจะต้องนำลูกศิษย์ไปให้พ้นปากเหยี่ยวปากกา ภาระที่ครูจะต้องนำลูกศิษย์ให้บรรลุ เป้าหมาย.."
 นอกจากนี้ ยังให้คำเรียกแทนครู อีกมากมาย เช่น เรือจ้าง....แม่พิมพ์ของชาติ..
..เคยฟังเพลงแม่พิมพ์ของชาติ ที่ร้องโดยคุณ ไพโรจน์  วงค์จันทร์แล้ว  ยิ่งสะท้อนให้เห็นภาพของความเป็นครู ที่มีความลำบาก ตั้งใจ ถ่ายทอดสรรพวิชาให้แก่ศิษย์..
  นักเรียนรุ่นก่อน ให้ความเคารพ กลัวเกรง แก่ ผู้ที่เป็นครู บาอารย์ เป็นอย่างมาก  คนไหน ดื้อเกเร ก็ถูกลงโทษ  ..ไม้เรียว ...
หลายคนบอกได้ดีเพราะไม้เรียว มามากต่อมาก ..แต่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม  ครูดูจะด้อยความศักดิ์สิทธฺ ที่เหล่าเด็กนักเรียนจะเกรงกลัว ..แถม เหมือนจะมีกฎเกณ? ไม่ให้ครูเฆี่ยนตีเด็กด้วยไม้เรียว
ครู คงเอาไว้แค่ชี้ บนกระดาน เท่านั้น ครูคนไหนตี เฆี่ยนนักเรียน มีข่าวผู้ปกครอง แจ้งดำเนินคดี ก็มี  ..นั่นไม่รู้ว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้น

  วันนี้ ( 22 พ.ย.2552)  กำลังเปิดดูรายการที วี พวก คอมเมอร์ดี้ ตลก เบาสมอง ของช่อง 9 อสมท. เรื่อง บ้านนี้มีรัก..ที่เป็นแนว ตลก ผ่อนคลาย..

..แต่วันนี้ ผมกับน้ำตาซึม  ในเรื่อง ในโรงเรียนเอกชน..ครูกำลังสอนเด็กนักเรียน (ครู ผู้แสดงเป็น ตลกคนหนึ่ง)  มีเด็กคนหนึ่งดื้อ เกเร ครูคนนี้ ก็เรียกมาทาทำโทษ..แต่เด็กไม่ยอมบอกพ่อแม่เขาไม่เคยทำโทษ  แต่ครู(ในเรื่อง) ก็ยังลงโทษเด็กโดยเฆี่ยน เด็กไปฟ้องพ่อ  พ่อไปโวย ผอ. และมาต่อว่าครู
ว่า " คุณรู้หรือไม่ป้ายชื่อ อาคารนี้ นะชื่อผม ผมบริจาคตึกนี้ให้โรงเรียน คครู จะมาตี ลูกผมไม่ได้..แต่ครูก็ชี้แจงว่าลูกเขา ทำผิดกฎจึงต้องลงโทษ.
ผู้ปกครองก็ไม่ยอม..ต่อมาเด็กดื้อเนื้อจากคิดว่าครูไม่กล้า จึงทำผิดอีก ครูเรียก เด็กคนนั้น มาลงโทษ  เหล่าเด็กๆคนอื่น ก็เข้ามาขอร้องไม่ให้ครูตีเด็กคนนั้น เพราะกลัวว่าครูจะเด้ง
ครูจึงบอกเด็กเหล่านั้น ว่า...ครูทำตามหน้าที่ นักเรียนทำผิดก็ต้องลงโทษ..หากครูไม่ลงโทษ..ครูไม่สมควรใช้คำว่า..ครู...อีกต่อไป

  ผมดูละครแล้ว ยังนึกอยู่ในใจเลยว่า ขนาดละคร ที่แทบหาสาระไม่ค่อยได้ ยังแทรก ..แฝง ให้ข้อคิดแบบนี้อีก..

..และผมเองยังนึกย้อนไปเมื่อสมัยเด็กๆ ที่เป็นนักเรียน ผมจำชื่อครู และหน้าตาได้แบบ ไม่ลืม  ก็คือ ครู ที่ ดุ (อาจจะดูว่าโหด มาก ไม่ชอบมาก เลยครูคนนี้)...แต่..เชื่อหรือไม่ครูเหล่านี้ ที่ว่า ดุๆ เฆี่ยน ตี เหล่านี้  ผมกลับ มีความรู้สึก รักท่านเป็นที่สุด แลนึกถึงพระคุณที่ครูเหล่านั้นท่าน สอน ท่านให้ โดยที่ท่านเอง ไม่ได้อะไรจากเราๆ เลย..แม้ว่าท่านจะทำตามหน้าที่....

..ท่าน ละครับ  และในนี้มีครูหลายท่านด้วย..รู้สึกแบบไหน?.				
18 พฤศจิกายน 2552 12:14 น.

การดิ้นรน...ของกระบือ

กิ่งโศก

(ไม่ใช่กระทู้การเมือง หรือเสียดสีใครนะครับ) ลงครั้งที่ สอง  ครั้งแรกส่งไม่ผ่านอะ...

..ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อันเป็นเวลาพักผ่อน การผ่อนคลายของข้าพเจ้า 
หากไม่ดูทีวี  ก็อ่านหนังสือ ที่ตอนนี้กำลังจะล้มทับตายไม่วันใดก็วันหนึ่งนี้แน่ๆ..
  ช่วงเย็นวันหนึ่งกำลังดูที วีดูข่าว ไปเจอภาพที่นักข่าวนำเสนอนั่นก็คือ
ฝูงควาย (ไม่ใช่คำหยาบนะครับ) หลายตัว กำลังดำน้ำ อยู่กลางบึงหรือหนองน้ำ  พิธีกร บรรยายว่า ควายเหล่านี้กำลังดำน้ำเพื่อกินหญ้า ...
อะโห..ข้าพเจ้านึกทันที  โธ่เอ๋ย แม้แต่ควายก็ยังลำบากขนาดนี้เชียวหรือ
แต่กลับทึ่งในความมานะ พยายามตามสัญชาตญานเพื่อการอยู่รอด ของมัน

หรือมองย้อนกลับที่ผู้คนถากถาง ว่าควายนะโง่งม  ..แต่ภาพที่เห็นไม่เลย ฉลาดด้วย...ทำให้ทึ่งในความรุ้สึก ขนาดควายมันยังดิ้นรนเอาชีวิตรอด เราๆ ที่เป็นมนุษย์แถม ยกย่องว่าเป็นสัตว์ประเสริฐกว่า ..บางทีอาจจะอายควายบ้างนะ
เพราะเห็นข่าวคนฆ่าตัวตาย    แบบอับจนหนทาง..  

ที่จริงควาย หรือ กระบือ หรือแล้วแต่จะเรียกชื่แกนต่างๆ นา เช่น 
กาสร   สิงคี ลุลา กระบือ เจ้าทุย แม้แต่ทรพี ยังเรียกกัน  ถือว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง กับชีวิตชาวนาไทยมานานมาก สร้างคุณประโยชน์ ไถนา ลากเกวียน  หรือแม้แต่โมโหใครมา ก็มายืมชื่อ ด่าแทน..
...ข้อมูลในข่าว..ที่หามาครับ

*****************************************************************************
นักท่องเที่ยวแห่ชมควายดำน้ำ กินหญ้า 
       100771.jpg
      จังหวัดพัทลุง หลังจากฝนทิ้งช่วง ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวพาครอบครัวแห่ดู ควายดำน้ำ ที่สะพานยกระดับเชื่อมต่ออำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลาที่ตัดผ่านเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ด้วยระดับน้ำเพิ่มสูง ทำให้ควายที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้แบบปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ กว่า 1,500 ตัว ต้องดำน้ำลงไปกินหญ้าใต้น้ำ 
       buffalo-talaynoi-16032009_066.preview.jp
      ควายที่ทะเลน้อยจะแตกต่างจากควายที่ดอนทั่วไป เพราะควายน้ำจะมีลักษณะกีบเท้าและฝ่าเท้าที่อ่อนนุ่ม ลุยโคลนได้ดี สามารถว่ายน้ำได้ในระยะทางไกลโดยเท้าไม่ถึงพื้น และสามารถดำได้เป็นเวลานาน 
       imgrtb_1257758671.jpg
      สำหรับควายดำน้ำกินหญ้าสามารถพบเห็นได้เพียงที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเพียงที่เดียวเท่านั้น 
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา เป็นอุทยานนกน้ำที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการสำรวจเมื่อปีพ.ศ.2517 และได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2518
imgrtb_1257758680.jpg

มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ บางส่วนของ ต.พนางตุง และ ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง, ต.บ้านขาว ต.เครียะ อ.ระโนด จ.สงขลา และ ต.ขอนหาด ต.นางหลง ต.เสม็ด ต.ชะอวด อ.ชะอวด จ.นคร ศรีธรรมราช

มีเนื้อที่ประมาณ 457 ตารางกิโลเมตร หรือ 285,625 ไร่ แบ่งเป็นพื้นดิน 429 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 268,125 ไร่ และพื้นน้ำ 28 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 17,500 ไร่

img_1257758648.jpg
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จัดว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสมบูรณ์ และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่พรุควนขี้เสียน ได้รับการจดทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ หรือ แรมซาร์ไซต์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 110 ของโลก เมื่อปี พ.ศ.2541 

เป็นที่อาศัยของนกน้ำหลากพันธุ์ประมาณ 187 ชนิด และมีพืชไม้นานาพันธุ์มากมาย

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าเสม็ดขาว ทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่ากก ป่าปรือ มีความหลากหลายทางชีวภาพ อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าอาชีพประมง และเลี้ยงสัตว์



โดยเฉพาะการเลี้ยงควาย ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีชาวบ้านเลี้ยงควายในพื้นที่ทะเลน้อยเป็นจำนวนมาก ที่แปลกคือ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างจากพื้นที่อื่นอย่างสิ้นเชิง

จากการสำรวจเก็บข้อมูลจำนวนประชากรควาย ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เมื่อพ.ศ.2548 พบว่า มีทั้งหมด 4,334 ตัว เพศผู้ 1,342 ตัว เพศเมีย 2,992 ตัว และมีผู้เลี้ยง 164 ราย 

ชาวบ้านทะเลน้อยนำควายมาเลี้ยงในพื้นที่นานกว่า 100 ปีมาแล้ว เป็นการปล่อยออกไปกินหญ้าเองตามทุ่งหญ้าขนาดใหญ่เหมือนชาวบ้านในพื้นที่อื่น 

แต่ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของทะเลน้อย ทำให้ในช่วงฤดูน้ำหลาก ทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งหากินของควายต้องจมอยู่ใต้ผืนน้ำเป็นเวลา 5 เดือนใน 1 ปี

ส่งผลให้ควายต้องปรับตัวอาศัยหากิน ด้วยการว่ายน้ำเป็นระยะทางไกล เพื่อดำน้ำลงไปกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำ บางตัวสามารถดำน้ำได้นานจะ มุดหัวลงน้ำ เท้าหลังชี้ขึ้นฟ้ากินหญ้าน้ำได้คราวละ หลายนาที ส่วนลูกควายตัวเล็กจะดำน้ำลงไปทั้ง ตัว เป็นภาพที่ชาวทะเลน้อยเห็นชินตามาหลายชั่วอายุคน 

จนเรียกขานควายในทะเลน้อยว่า "ควายน้ำ" ตามลักษณะการหากิน

แต่เดิมเป็นควายบ้านที่ชาวบ้านนำมาเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งให้หากินหญ้ากันเอง ทำให้มีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ จนประชากรควายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีวิถีชีวิตคล้ายควายป่า

โดยควายน้ำแต่ละฝูงจะมีขนาดเล็กใหญ่ตั้งแต่ ฝูงละ 5-6 ตัว ไปจนถึงฝูงใหญ่เกือบ 100 ตัว มีจ่าฝูงคอยควบคุมพาฝูงออกจากคอกไปหากินในทุกเช้า และกลับเข้าคอกเองในช่วงเย็น

บางฝูงอาศัยนอนตามโคกเนิน หรือเกาะแก่งกลางน้ำ หากมีฝูงอื่นหลงเข้ามาจะเกิดการต่อสู้เพื่อ ป้องกันพื้นที่บ้างบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่จะหากินใน พื้นที่ของฝูงตัวเองเท่านั้น ไม่รุกล้ำเขตระหว่างกัน กระจายกันหากินอยู่ในพื้นที่ อ.ระโนด จ.สงขลา และ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

สมัยก่อนเจ้าของควายใช้วิธีจดจำลักษณะของควายตัวเอง ไม่มีการจำผิดสับสน แต่ปัจจุบันต้องติดเบอร์ตีตราไว้เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกความเป็นเจ้าของควายแต่ละฝูงไว้อย่างชัดเจน

ควายน้ำเคยถูกผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ จ.พัทลุง และใกล้เคียงหลายครั้ง ส่งผลให้ระดับน้ำในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยสูงขึ้นมาก จนควายน้ำไม่มีที่หยั่งเท้า ต้องว่ายน้ำเป็นเวลานานจนหมดแรงจมน้ำตายในที่สุด

ล่าสุดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อ ปลายปีพ.ศ.2551 ที่ผ่านมา มีควาย น้ำไม่ต่ำกว่า 50 ตัวต้องจมน้ำตาย เพราะหมดแรงจากการว่ายน้ำหาอาหารเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ ระยะ 4-5 ปีมานี้ หลังจากมีการส่งเสริมให้ทำสวนปาล์มน้ำมัน เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ของนายทุนเพื่อทำสวนปาล์ม จนพื้นที่หากินของควายน้ำลดลงอย่างน่าใจหาย

ทั้งยังมีน้ำเสียในโรงงานอุตสาห กรรมในชุมชน และพื้นที่ทำนา ที่ไหลสู่ทะเลสาบ มีมลพิษเจือปน ทั้งสารเคมีจากปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ทำ ให้หญ้าที่เป็นอาหารควายมีสารเจือปนมาก

ในปัจจุบันชีวิตความเป็นอยู่ของ ควายน้ำเริ่มกลับมาเป็นปกติ เพราะ ปัญหามลพิษได้รับการแก้ไขในระดับหนึ่ง 

ขณะเดียวกัน เรื่องราวและชีวิตของควายน้ำทะเลน้อย ถูกนำมาชูโรงเป็นจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวสำคัญของจ.พัทลุง นอกเหนือจากการล่องเรือชมทุ่งดอกบัว และดูนกหลากสายพันธุ์ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย

+++++++++++++++++

ที่มา นสพ ข่าวสด				
15 พฤศจิกายน 2552 08:51 น.

อหังการณ์...สีแดง บนแผ่นฟ้า

กิ่งโศก

ขึ้นหัวเรื่อง มิได้ พูดถึงประเด็นอื่นแต่อย่างใด ครับพี่น้องๆๆๆๆ  อิอิอิอิ

แต่เป็นเรื่องราวบทเพลงที่น่าจดจำครับ ..อยากช่วยป้าโคฯ จุดประกายสีแดง  เอ๊ย สีสรรบทเพลงเก่าๆเชิงอนุรักษ์ นะครับวันนี้ที่ขึ้นหัวข้อแบบนี้ ว่าอหังการณ์ สีแดงบนแผ่นฟ้านั้น หมายถึงนี่ครับ  เพลง  "ฟ้าแดง" 
   เมื่อไม่นานมานี้ ผมเปิดทีวี ช่วงบ่ายๆ ในวันหยุดวันหนึ่ง ..ฟังบทเพลง สุนทราภรณ์
ที่น่าสนใจ คือ นักร้องที่ร้องเพลงนี้ เป็นคนเดิม และยังมีชีวิตอยู่ นะครับ แม้นว่า สังขารณ์จะร่วงโรยไปแล้วก็ตาม แต่น้ำเสียงลีลา กรเอื้อนยังเป็นแบบสุนทราภรณือยู่ครับ  นักร้องท่านนี้ คือ คุณอโศก สุขศิริพรฤทธิ์  อิอิ ชื่ออโศก นะครับ ม่ายใช่กิ่งโศก ตอนดูในทีวี ผมดูลักษณะท่าทางที่ท่านร้อง ขับขานเพลงนี้ ผมว่าท่านใส่ใจ มากเลย ผมฟังแล้วดื่มด่ำ ในหัวใจยิ่งนัก  นอกจาก เสียงบรรเลงเพลงที่เคล้าคลอ ไปพร้อม เสียงผู้ร้อง ประหนึ่งชักชวนเรา จมอยู่ในภวังค์...
พร่ำมานาน ขอก็อบเพลงมาให้ท่องจำกันก่อนนะครับ   ..หาจากเวปบ้านกลอนนี่แหละครับ..ฟังเสียงบรรเลงก้อเพราะไปอีกแบบ

..............................................................................................
          ฟ้าแดง 
สุนทราภรณ์ อโศก สุขศิริพรฤทธิ์ 
สนธยาฟ้าแดง
สุรีย์ร้อนแรงโรยอ่อนรอนแสงหม่นมัว
สกุณาเรียกหารังตัว
ชะนีเรียกผัว รัวเร้าร่ำกำสรวล
โอ้ชีวิตชีวิตจิตใจ มันหนาวเย็นเป็นไข้
พิไลพิลาศครวญ
สิ้นตะวันสรวลสันต์จาบัลย์รัญจวน
เห็นลางพบพรางร่างนวล
ให้โหยหวนชวนเศร้า
สิ้นแสง สิ้นสีโศลกแดงแฝงแทงใจเรา
สายัณห์เงื้อมเงา
ลบล้างสล้างเสลา จางห้วงหาวพราวใจ
ฟ้าแดง ฟ้าแดงผันแปรเปลี่ยนแปลงแผลงไป
ตราบอาสัญฉันยังฝันใฝ่
จูบแดนฟ้าอาลัย ฝังรอยรักใคร่ฝากเธอ

สิ้นแสง สิ้นสีโศลกแดงแฝงแทงใจเรา
สายัณห์เงื้อมเงา
ลบล้างสล้างเสลา จางห้วงหาวพราวใจ
ฟ้าแดง ฟ้าแดงผันแปรเปลี่ยนแปลงแผลงไป
ตราบอาสัญฉันยังฝันใฝ่
จูบแดนฟ้าอาลัย ฝังรอยรักใคร่ฝากเธอ... 
 
  
..........................................
สิ้นแสง สิ้นสีโศลกแดงแฝงแทงใจเรา  สายัณห์ฯ...โอ้ ฟังแล้วนึกถึงสมัยวัยเด็ก(อีกแล้ว)  ขณะช่วงอาทิตย์อัศดง ลาลับ ทิวเขา มองไปฝั่งตะวันตก 
จะแลเห็นสีแดง ประหนึ่งโกเมน ทาบผืนฟ้าฉะนั้น

แต่อีกอย่าง ที่คนเก่าแก่ พูดต่อกันมา คือ หากฟ้าแดงเมื่อไหร่จะเกิด พายุ อะไรสักอย่าง ที่ดูจะน่ากลัวนะครับ

วันนี้ เรามาฟังบทเพลง เศร้าๆ ในท่วงทำนอง  จังหวะช้าๆ เนิบๆ ได้อารมณ์ ดีนักครับ  มีความสุขกับวันหยุดวันนี้  นะครับ  ขณะที่เขียนกระทู้  ย่านบางนา ฝนกำลังตกเลยครับ  ไม่แน่ใจว่าฟ้า  แดงหรือเปล่า ..				
Calendar
Calendar
Lovers  2 คน เลิฟกิ่งโศก
Lovings  กิ่งโศก เลิฟ 1 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกิ่งโศก
Lovings  กิ่งโศก เลิฟ 2 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงกิ่งโศก