ตอนที่ 9 วันแรกเกิด คุณไม่มีอะไรที่เป็นสมบัติติดตัวมาเลย จริงหรือไม่ มีเพียง ตาเห็นสีสรรที่แตกต่างกันไป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายรับรู้สัมผัส เท่านั้นที่คุณมี เพื่อเรียนรู้โลก เรียนรู้เพื่ออะไร????????? ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ได้รับสัผัสผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย เกิดมา ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นอยู่เช่นนี้ ตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้ามีเท่านี้ ก็ไม่อาจทำให้เกิดความทุกข์ หรือ สุข ขึ้นมาได้ แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ โลก ปรากฎขึ้น เรียกว่า ใจ หรือ ธรรมารมณ์ เกิด อดีต และ อนาคต ขึ้นมา สร้างสรรตัวตน เพื่อเปรียบเทียบกับคนรอบข้างว่า เรา ดีกว่า เราเก่งกว่า เรารวยกว่า เราสำเร็จมากกว่า เพื่อการสร้างสรรตัวตน เริ่มตั้งแต่ อายุ 4 ขวบ ถึง อายุ 35 ปี สร้างอย่างไร????????? ความกลัว ความผิดปกติที่ไม่เคยพบมากอ่น ความดีใจที่ได้รับการยอมรับ คำชื่นชม ผัสสะ(สัมผัส ผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นสาเหตุให้เกิด เวทนา(ทุกข์ สุข ทางกายและใจ) เป็นเหตุให้เกิด ตัณหา(ความอยากได้อีกครั้ง) เป็นสาเหตุให้เกิด อุปาทาน(การยึดว่าเป็นของเรา) และบัดนี้ ตัวตน หรือ อัตตา ก็ปรากฎขึ้น ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า เป็นอยู่เช่นนี้ เมื่อมีตัวตน หรือ อัตตา เกิดขึ้น ก็จำเป็นต้องหาที่ และ เหตุการณ์ เพื่อแสดงความเป็น อัตตา ตัวตน เรียกว่า ภพ และชาติ การกระทำ หรือ กรรม ที่ก่อขึ้น ย่อมนำมาซึ่ง ความทุกข์ที่ยาวนานต่อเนื่อง จวบจนสิ้นวาระ(โสกะปริเทวะ มรณา) ทั้งหลาย ทั้งปวง เรียกว่า การเกิดแห่ง กิเลส ถ้าเช่นนั้น เราจะไถ่ถอนกิเลสได้อย่างไร????????? เริ่มต้นที่การ เจริญ สติ และ สมาธิ ความรู้ขั้นพื้นฐาน ที่พึงรู้คือ " จิตเดิมนั้นเป็นประภัสสร แต่ที่เศร้าหมองเพราะมีกิเลสบดบัง " หมายความว่า ความรู้ หรือ ผู้รู้ อยู่ในจิตเดิมก่อนที่จะมีกิเลสหรือตัวตนปรากฏขึ้น ดังนั้น ถ้าอยากรู้แจ้ง ต้องไถ่ถอนกิเลสทั้งปวงออกไป แต่ในโลกปัจจุบัน เห็นว่าจิตเดิมนั้นมีแต่ความว่างที่ไม่รู้อะไรเลย จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อสั่งสมตัวตน เพื่อ ความดีกว่า กลายเป็ฯการเพิ่มพูนกิเลส ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ในโลกนี้ ไม่มีวันจบสิ้น วนเวียน เวียนว่าย ตาย เกิด การละกิเลส โดยการใช้สติ พิจรณา สัมผัส ผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ ว่าไม่ปรุงแต่ง เพราะ ทั้งหลาย ทั้งปวง เป็น อนิจจัง(ไม่เที่ยง) ทุกขัง(เป็นทุกข์) อนัตตา(ไม่อาจบังคับบัญชาได้) ทำอยู่เช่นนี้ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า จนกิเลสถูกถอดถอน สู่การบรรลุ รู้แจ้งเห็นจริง และโลกนี้ ก็สักแต่ว่า ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ไม่ต้องรวมลงที่ ใจ หรือ ธรรมารมณ์ ไม่มี อดีต อนาคต ไม่มีตัวตน ไม่มีกิเลส อีกต่อไป การเรียนรู้ก็มาถึงจุดสิ้นสุด เพราะจิตเดิมนั้นเป็นประภัสสร อีกครั้งหนึ่ง ภพชาติ หมดสิ้นแล้ว
15 กันยายน 2549 07:48 น. - comment id 606288
มุมมองจากการถีอกำเนิดของฉัน ฉันเป็นคนที่มีความคิด ไม่เหมือนใคร... ฉันเรียนรู้..รับรู้.. วิธีการนั่งสมาธิ ฉันจึงถามอ.ว่า.. ทำไม.. ทุกเวลาหลับ..หรือตื่น ฉันจึงมีการมองเห็นที่แตกต่างจากคนอื่น ฉันจะมีจิตประภัสสรตลอดเวลา อ.คือพระภิกษุผู้ทรงศีลบริสุทธ์ ตอบคำถามว่า มีเพียง 1 ใน พัน คนเท่านั้นที่มี่ สิ่งนี้ติดตัวมาแต่กำเนิด นี่คือ ฉัน...
15 กันยายน 2549 11:39 น. - comment id 606307
Your facinated story was read with love from Mt. Himal (Himalaya)
16 กันยายน 2549 01:31 น. - comment id 606504
Dear Pud Iam so surprised receiving your comment from Himal.How about your trip there?More than you can give.....LOVE.Thanks
16 กันยายน 2549 02:01 น. - comment id 606510
แด่น้องหยดน้ำ ถ้ามีจิตที่ประภัสสร เป็นอยู่เช่นนี้ ย่อมประเสริฐนัก เฝ้าดูทุกข์ต่อไป วันใดที่ไม่เห็นทุกข์ นั่นแหละคือ ความประภัสสรแห่งการบรรลุ
16 กันยายน 2549 16:21 น. - comment id 606667
ยิ่งเราวิ่งหนีความทุกข์ แต่เรากลับยิ่งมีทุกข์เพิ่มขึ้น ยิ่งเราวิ่งหนีสิ่งต่าง เราก็ยิ่งมีสิ่งต่างมากขึ้น เป็นมุมมองที่ผู้หญิงไร้เงารู้สึกอยู่ และสิ่งที่พยายามทำที่สุดคือ การก้าวอย่างระมัดระวัง เพื่อให้เกิดทุกข์น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในทุกขณะของชีวิตค่ะ
17 กันยายน 2549 01:06 น. - comment id 606740
แด่หญิงไร้เงา ทุกข์ ไม่ใช่สิ่งที่พึงหนี แต่เข้าไปดูสิ ทุกข์ เป็นเช่นไร อยู่กับมัน รู้จักมัน ในที่สุดก็จะรู้จักทางออกที่แท้จริง คือการสละออกด้วยความยินยอม ฉันยอมแล้วจริงๆ นั่นคือใจที่ยอมถอดถอนกิเลส แล้วจะไม่กลับไปหามันอีก
17 กันยายน 2549 16:35 น. - comment id 606857
ทุกข์ ไม่ใช่สิ่งที่พึงหนี แต่เข้าไปดูสิ ทุกข์ เป็นเช่นไร อยู่กับมัน รู้จักมัน... .... เรนถามนิดนึงนะคะ.. หากเราเรียนรู้และได้สัมผัสมัน.. ..มันจะยังคงอยู่กับเราอีกนานเปล่าคะ.. .. เรนเกลียดสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์.. แต่เรนเก๊าะไม่สามารถหลบสิ่งนั้นได้.. ด้วยเหตุด้วยผลใดๆ... .. เรนต้องอยู่กับมันให้ได้ด้งยดิคะ.. .. .. ... ขอบคุณนะคะ....
18 กันยายน 2549 00:52 น. - comment id 606911
แด่ เรน การอยู่กับทุกข์ เพื่อเรียนรู้ทุกข์ อย่าหนี เพราะมันอยู่ที่ใจเราที่มีอาสวะกิเลส คือ อยากได้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ ธรรมารมณ์ หรือ ใจ เมื่อไม่ได้ก็เป็นทุกข์ หรือ อยากเป็นอะไรก็ตาม แต่ไม่ได้เป็น ก็ทุกข์ ไม่อยากเป็น แต่ต้องเป็น ก็ทุกข์ เมื่อรู้เช่นนั้น ก็แปลว่าทุกข์อยู่กับกิเลส ไม่ได้อยู่กับเรา เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ ใจก็ยอมถอนความอยากทั้งปวงออก ทุกข์ก็จะจากเราไป ไม่กลับมาอีก