รัฐประหารชั่วช้า ทรชน เห็นแต่ยศสุขตน เท่านั้น ราษฎรใช่พรรคพล มิตรหมู่ จึงข่มยิงราษฎร์ดั้น อยู่ใต้ดินดาน มันสามานย์ฆ่าล้าง รัฐบาล ทำก่อรัฐประหาร หื่นห้าว ตัวมันนั่นเผด็จการ พาลเผ่า คิดนั่งเมืองสืบก้าว แต่ชั้นชนมัน พูดสาธารณ์ไล่ล้าง ประชา เป็นไพร่ทุจริตหา ช่องชิ้น เอาเท็จกล่าวทาบทา สุมใส่ ราษฎร์นา ดีใส่ตัวมันสิ้น เล่ห์ลิ้นทรพา นิติราษฎร์ส่องแก้ ปัญหา เหตุก่อขบถนานมา เนิ่นช้า ผลพวงส่อมายา ลวงเล่ห์ จึงหมู่ประชาข้า ต่ำต้อยเจียมจน วรเจตน์แกร่งกล้า สุจริต ริเริ่มงานอุทิศ ไพร่ไร้ ปัญญาท่านเทิดสิทธิ์ ไทยทั่ว จึงโห่พวกขบถให้ ครั่นคร้ามพลังชน คนพาลมันต่อต้าน ความคิด ติว่าทำวิปริต ป่วนสร้าง ความจริงหมู่พาลพิษ เคืองขุ่น ครูท่านประกาศอ้าง เปล่าเปลื้องขบถผล สาธุชนแซ่ซร้อง สรรเสริญ ครูช่วยประชาเจริญ ใหญ่กล้า ปราบขบถที่หาวเหิน ลงต่ำ เสมอหมู่ไทยในหล้า อยู่ชั้นเดียวดิน
27 กันยายน 2554 19:21 น. - comment id 1209557
แวะมาทักทายครับท่านพี่
27 กันยายน 2554 20:17 น. - comment id 1209560
"ถ้ายกเลิกได้ก็ดี" นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าคณะนิติราษฎร์ พูดถึงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดบางอย่างของคณะนิติราษฎร์ ในการบังคับใช้กฎหมาย เพราะหากปราศจากมาตรานี้ สถาบันพระมหากษัตริย์จะตกอยู่ในภาวะอันตรายอย่างสุดขีดทันที คงต้องยกใจความมาตรา 112 ขึ้นมาอีกครั้ง "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี" สิ่งที่นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ต้องอธิบายกับประชาชนคือ เลิกแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายฉบับไหน มาตราใด เพราะท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง มีการโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างโจ่งแจ้งขึ้นเรื่อยๆ จนมีนัยสำคัญทางการเมือง หากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างที่ควรจะเป็น ผลพวงคือความขัดแย้งในสังคมจะลุกลามใหญ่โตขึ้นจนยากต่อการควบคุม ประชาชนกลุ่มที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ กับกลุ่มต่อต้าน จะลุกฮือขึ้นมาห้ำหั่นกันเอง เพราะการดำรงอยู่ของสถาบันสูงสุดนี้มีความละเอียดอ่อนสูง ที่จริงแล้วการแก้ไขมาตรา 112 น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ไม่ให้ฝ่ายการเมืองนำไปเป็นข้ออ้างเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และอยากฟังข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมจากคณะนิติราษฎร์ มากเสียกว่าคำพูดที่ว่า "ถ้ายกเลิกได้ก็ดี" คล้ายๆ กับเป็นสูตรสำเร็จของนักวิชาการทางกฎหมายกลุ่มนี้ ที่ยกเอา "การประกาศความเสียเปล่า" ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศแถบยุโรป คือลบล้างความไม่ยุติธรรม หรือความผิดเพี้ยนที่มีมาแต่อดีต เพื่อความถูกต้องในปัจจุบัน กรณีมาตรา 112 อาจเข้าข่ายเช่นกัน อย่างน้อยๆ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 112 โดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง 21 ตุลาคม 2519 น่าจะบอกนัยบางอย่าง แถลงการณ์ครั้งที่ 2 ของคณะนิติราษฎร์ หลังครั้งแรกถูกตั้งข้อสงสัยว่าช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นผิดหรือไม่ ก็ชัดเจนว่า คณะนิติราษฎร์มิได้มีความตั้งใจเช่นกัน เพราะแถลงการณ์ล่าสุดระบุที่มา-ที่ไปของแนวคิดค่อนข้างชัดเจน การยกตัวอย่าง "การประกาศความเสียเปล่า" ของคำพิพากษา สมัยนาซี เยอรมัน การประกาศความเสียเปล่าของการกระทำใดๆ สมัยระบอบวีชีในฝรั่งเศส เป็นต้น เป็นการยกตัวอย่างที่คงต้องถกเถียงให้เลยขอบเขตของคำว่า "วิชาการ" ออกไปบ้าง เพราะอย่างที่รู้อยู่ บางครั้งวิชาการที่ไม่อาจประยุกต์เข้ากับภาวะความเป็นจริงได้ ก็เป็นวิชาการที่สูญเปล่าเช่นกัน โดยภาพรวมการประกาศความเสียเปล่าในหลายประเทศแถบยุโรป เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือหลังการล่มสลายของนาซีในเยอรมนี ศาลพิเศษที่ตั้งขึ้นโดย อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ถูกลบล้างไปในปี 1985 ด้วยเหตุผลเป็นเครื่องมือก่อการร้าย ต่อมาปี 2002 มีการออกรัฐบัญญัติลบล้างคำพิพากษานาซีที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายฉบับนี้มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลสูงสุดในคดีอาญาการเมืองและศาลพิเศษคดีอาญาทุกคำพิพากษา ระบอบวีชีในฝรั่งเศส ภายใต้การปกครองของจอมพล P?tain ซึ่งสมคบกับระบอบนาซีเยอรมนีนั้น นำมาซึ่งมาตรการชำระล้างคราบไคลให้ผู้บริสุทธิ์ หลังระบบนาซีล้ม มีการล้างบางผู้คนในระบอบวีชี ล้มศาลพิเศษของวีชี และกดให้ผู้มีอุดมการณ์วีชีเป็นพลเมืองชั้นสอง ด้วยการห้ามประกอบอาชีพหลายประเภท ถือว่ารุนแรงกว่าในเยอรมนี และในอดีต หลายๆ ประเทศส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจากระบอบนาซีที่เข้าไปยึดครองหลายประเทศในยุโรป บางประเทศ รัฐบาลเผด็จการทหารให้ความร่วมมือกับนาซี กดขี่ข่มเหงประชาชนของตัวเอง และกลืนกินประเทศเล็กๆ ที่อยู่ข้างเคียง นั่นคือที่มาของแนวคิดล้มล้างคำพิพากษาของศาล หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งคณะนิติราษฎร์ระบุว่า รัฐประหารดังกล่าวกระทบต่อบุคคลผู้สุจริต และเป็นต้นตอของความขัดแย้งที่รุนแรง เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า คณะนิติราษฎร์พุ่งเป้าไปที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มากกว่าจะเป็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะศาลนี้ไม่ใช่ผลิตผลของการรัฐประหาร เมื่อ คตส.คือ ต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรม ไม่ชอบธรรม คำพิพากษาของศาลจึงเป็นโมฆะ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคดีที่ทักษิณเป็นจำเลย นับเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ แต่ก็มีคำถามกลับไปยังคณะนิติราษฎร์ว่า การรัฐประหารอันชั่วช้าเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ใช้ข้ออ้างการคอรัปชั่นอันเลวทรามในระบอบทักษิณ สามารถกระตุ้นสำนึกของผู้คนในสังคมให้แยกดี-ชั่ว เหมือนที่ระบอบนาซีล้มลง แล้วลูกหลานเยอรมนีมาแก้ไขผิด-ถูกในภายหลังแล้วหรือไม่ นาซีเป็นผีของโลก สังคมโลกตกผลึกมากพอแล้ว และเห็นว่าระบอบนาซีของ อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ คือปีศาจร้ายที่คุกคามมวลมนุษยชาติ แต่สำหรับทักษิณ ชินวัตร ผีในไทยเจ้าของตำนานคอรัปชั่นสมัยใหม่ มีทั้งคนเชียร์และคนชัง แค่จุดเริ่มต้นของปัญหา คณะนิติราษฎร์ก็สอบตก ตรงไปตีเส้นว่าคือ 19 กันยายน 2549 แล้วก่อนนั้น วันที่ศาลรัฐธรรมนูญปล่อยทักษิณ ชินวัตร หลุดจากคดีซุกหุ้น คำพิพากษาส่วนตนของตุลาการบางคนบอกว่า ต้องปล่อยเพราะกลัวม็อบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในสังคมอย่างแท้จริงนั้น คณะนิติราษฎร์ผู้ยึดหลักนิติธรรมเอาไปไว้ไหน เพราะถ้าทักษิณจบวันนั้น สังคมไทยคงไม่ขัดแย้งรุนแรงอย่างในวันนี้ และอย่าลืมว่าวันนั้น ศาลมีมติ 8 ต่อ 7 แต่หากคณะนิติราษฎร์ยังดึงดันว่าแถลงการณ์ทั้ง 2 ฉบับถูกต้อง ท่านคงต้องรอเปลี่ยนระบอบให้ได้ก่อน ถึงจะทำการประกาศความเสียเปล่า และหากจะยกเลิกมาตรา 112 ในเวลานั้น คงไม่มีใครต่อว่าพวกท่านอีก.
28 กันยายน 2554 18:51 น. - comment id 1209649
8;kpcf' = ควายแดง
30 กันยายน 2554 12:36 น. - comment id 1209863
***การยกเลิกมาตรา 112 แล้วบัญญัติใหม่ให้รัดกุม เพื่อไม่ให้พวกที่แอบอ้างสถาบันมาเป็นประโยชน์ทางการเมือง เอาไปใส่ร้ายพวกที่นิยมระบอบประชาธิปไตย ***มาตรานี้เป็นคุณสำหรับพวกที่ก่อการขบถนำมาใส่ร้ายคนไทยที่มีแนวคิดประชาธิปไตย ให้ได้รับความลำบาก และเป็นการทำลายสถาบันไปในตัว
30 กันยายน 2554 12:39 น. - comment id 1209865
***เมื่อยกเลิก มาตรา 112 ก็บัญญัติใหม่ในทำนองที่ชัดเจนว่า กรณีใดเป็นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กรณีใดเป็นการเป็นห่วงเป็นใยในสถาบัน ด้วยการพูด เขียน พิมพ์