วิมานธารารอท่ามวลมนุษย์ ให้โศกสุดระทมตรมเกินฝัน หากไม่รักษ์โลกย์ทะนุถนอมกัน จะเช่นนั้นไม่นานช้าฟ้าดินดล สุดขอบฟ้าคือสายธาราธารน้ำเชี่ยว หมุนวนเกรียวกลืนชีวิตอันสับสน มากมนุษย์ล้มหายท่ามวังวน กลางคลื่นลมพายุร้ายหมายกลืนกิน คือพิโรธสอนสั่งหยุดฟังไหม มืดบอดใจพาให้มลายสิ้น ธรรมชาติงาม ต้นไม้ บ้านพังภิณฑ์ วิปโยคสิ้นทั่วโลกาฟ้าสะเทือน สัจจธรรมก่อนสิ้นแผ่นดินสุข ระทมทุกข์ใดเล่าเสมอเสมือน สิ้นนิรันดร์รักสรรพชีวิตเคยแย้มเยือน ขวัญฝากเตือนทุกดวงชีวา..อย่าสายเกิน..! http://www.thaipoem.com/forever/ipage/song2463.html บัลลังก์เมฆ แผ่นฟ้าเบื้องบน กว้างไกลสุด สายตา เมฆขาวบนฟ้า นุ่มนวล และ สวยงาม เฝ้ามองเมฆนั้น ล่องลอยไปบน ฟ้า คราม งาม ดั่ง ฝัน ใฝ่ ไขว่คว้าเท่าไร ต้องการจะได้มา เมฆสวยบนฟ้า อยากนำมา ชื่นชม แต่แล้วเมฆนั้น กลับลอยไปตาม สาย ลม จาง และ เลือน หาย เหมือนฝันเลือนลาง เคว้งคว้างลอยไป ไม่เหลืออะไร สัก อย่าง ที่ทุ่มเทไป คืนมาเพียงความ ว่าง เปล่า เหมือนฝันเลือนลาง เคว้งคว้างลอยไป ทิ้งไว้เพียงควัน บาง เบา ที่เห็นเป็นจริง มันเป็นแค่เพียง มา ยา เหนื่อยล้าอ่อนแรง กับความจริง ที่เป็น ว่ารักที่เห็น ที่เคยไขว่คว้ามัน สุดท้ายความรัก กลับกลายเป็นเพียง แค่ควัน จาง และ เลือน หาย...
21 สิงหาคม 2550 10:23 น. - comment id 741692
ตำนาน ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า คนทางประเทศตะวันออก เช่น ประเทศอินเดีย จีน ประเทศในแหลมอินโดจีน รวมทั้งคนไทยมีความเชื่อกันว่า เมื่อใดที่ฝนตกฟ้าคะนอง ฟ้าแลบเป็นประกายเจิดจ้า ตามด้วยเสียงฟ้าร้องสะเทือนไปทั้งแผ่นดิน และบางครั้งฟ้าก็ผ่าลงมาดังสนั่นหวั่นไหว ถูกอะไรก็พังพินาศ ไหม้เป็นจุล ไม่ว่าคนหรือสัตว์ โดนฟ้าผ่าก็ตายทันที ปรากฏการที่กล่าวมานี้ คนชาวอาเซียเชื่อกันว่า เกิดจากอำนาจ แก้ววิเศษของนางฟ้าเมขลา และขวานวิเศษของอสูรเทพรามสูร ดังรายละเอียดของเรื่องว่าไว้ดังนี้ เมขลา เป็นเทพธิดาผู้รักษาน่านน้ำ และนางผู้ถือดวงแก้วล่อให้รามสูรขว้างขวานทำให้เกิดฟ้าแลบและฟ้าร้อง (ดูรามสูรด้วย) นิยายพื้นบ้านของไทยยกเรื่องฟ้าคะนองขึ้นมาเล่าว่า นางเมขลาหรือมณีเมขลามีดวงแก้วประจำตัว รามสูรพอใจในดวงแก้วและความงามของเมขลา จึงเที่ยววิ่งไล่จับนาง เมื่อจับไม่ทันก็ใช้ขวานขว้าง แต่ไม่ถูก เพราะเมขลาใช้แก้วล่อจนเป็นฟ้าแลบ แสงแก้วทำให้ตารามสูรมัวจึงขว้างขวานไม่ถูก เรื่องเมขลารามสูรนี้ในวรรณคดีเก่า ๆ เช่น เฉลิมไตรภพ ว่า มีพระยามังกรการตนหนึ่งอมแก้วไว้เสมอ จะไปไหนก็เอาดวงแก้วทูนศีรษะไว้ มังกรการได้แปลงเป็นเทวดาไปสมสู่กับนางฟ้ามีบุตรีชื่อ เมขลา เมื่อเจริญวัยขึ้นมีความงามยิ่ง มังกรการได้นำบุตรีและดวงแก้วไปมอบแก่พระอิศวร ครั้งหนึ่งเมขลาได้ขโมยดวงแก้ววิเศษนั้นไป ราหูผู้มีครึ่งตัวเพราะถูกจักรพระนารายณ์เมื่อครั้งแปลงเป็นเทวดาไปดื่มน้ำอมฤต ได้อาสาไปจับเมขลา และได้ชวนรามสูรผู้เพื่อนไปด้วย รามสูรได้ขว้างขวานจนกลายเป็นฟ้าลั่น เรื่องรามสูรเมขลาในวรรณคดีสันสกฤตไม่มี แต่ในรามเกียรติ์กล่าวถึงรามสูร (เพี้ยนมาจากปรศุราม) ว่าเป็นอสูรเทพบุตร มีขวานเพชร ในเทศกาลวสันต์ เทวดาและอัปสรเล่นจับระบำกัน รามสูรเจ้าไปไขว่คว้านางอัปสร และไล่ตามนางเมขลาไปพบพระอรชุน ได้ท้ารบกัน รามสูรจับอรชุนสองขาฟาดเหลี่ยมพระสุเมรุตาย นางเมขลาฝ่ายบาลีนั้นว่ามีหน้าที่รักษาน่านน้ำมหาสมุทร คอยช่วยเหลือผู้มีบุญที่ตกน้ำ เช่น ช่วยพระชนกและพระสมุทรโฆษ เมขลาของอินเดียมีคำว่ามณีอยู่ด้วยรวมเป็นมณีเมขลา จึงรวมเป็นองค์เดียวกับเมขลาที่ถือแก้วในนิยายพื้นบ้านไทย เรื่องฟ้าคะนองนี้มีอีกว่า เป็นเพราะรามสูร เมขลา และพระประชุนมาชุมนุมรื่นเริงกัน พระประชุนคือพระอินทร์ในสมัยพระเวทที่มีหน้าที่ทำให้เกิดพายุฝน พระอินทร์ในหน้าที่นี้เรียกว่า ปรรชันยะ หรือ ปรรชัยนวาต ไทยเรียกเป็นพระประชุน เมื่อมีการชุมนุมรื่นเริงกันของเทพแห่งฝน เมขลาผู้มีดวงแก้วและรามสูรผู้มีขวานจึงทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นเรื่องเอานิยายไทยมาปนกับอินเดีย เมขลาของจีนมีชื่อว่า เง็กนิ้ง แปลว่า นางหยก บางทีก็ชื่อ เตียนบ๊อ แปลว่าเจ้าแห่งสายฟ้า แต่ไม่ได้ถือดวงแก้ว หากถือธงหรือกระจกเงาทำให้เกิดแสงแวบวับ (อุทัย สินธุสาร 2520:3500-3501) รามสูร เป็นยักษ์ถือขวานเป็นอาวุธ เป็นผู้ทำให้ฟ้าร้อง เรื่องรามสูรมักมีคู่กับเมขลา (ดูเมขลา) บางแห่งว่ารามสูรเลือนมาจากปรศุราม ในนารายณ์สิบปาง ปางที่ 6 กล่าวว่าปรศุรามเป็นพราหมณ์ ลูกฤษีชมทัศนีกับนางเรณุกา มีขวานเป็นอาวุธ ปรศุรามได้บำเพ็ญตบะจนบรรลุอริยผลหลายชั้นเหลือแต่ชั้นสูงสุดคือ ปรพรหม ปรศุรามโทโสร้ายจึงมีฉายาว่า นยักษ์ แปลว่า ต่ำ เมื่อพบกับพระรามก็ท้ารบแล้วรบแพ้พระราม ๆ ไม่ฆ่าด้วยเห็นว่าเป็นพราหมณ์ แต่ให้เลือกว่าจะให้แผลงศรไปทำลายมรรค (ทางดำเนินสู่อริยภูมิ) หรือ ผล (อริยภูมิที่จะบรรลุด้วยบำเพ็ญตบะ) ปรศุรามเลือกให้ทำลายผล รามสูรถวายศร ในรามเกียรติ์ว่า รามสูรเป็นอสูรเทพบุตร มีขวานเพชรเป็นอาวุธมีฤทธิ์มาก ในเทศกาลวสันต์ เทวดาและอัปสรเล่นนักษัตรฤกษ์จับระบำกัน รามสูรเข้าไปไล่จับนางเมขลาพบพระอรชุน เกิดรบกัน รามสูรจับสองขาอรชุนฟาดเหลี่ยมเขาพระสุเมรุตาย คราวหนึ่งได้พบพระรามที่กลับจากอภิเษกสมรส จะไปกรุงอโยธยาเกิดรบกับพระราม แต่ยอมแพ้เมื่อรู้ว่าเป็นพระนารายณ์ แล้วถวายศรที่พระอิศวรประทานแก่ยักษ์ตรีเมฆผู้เป็นอัยกาตน นิยายชาวบ้านว่า รามสูรเป็นยักษ์ถือขวานเพชรเป็นอาวุธ เป็นเพื่อนกับพระราหู เมื่อพระราหูไปดื่มน้ำอมฤตที่พระนารายณ์ชักชวนไปกวน แล้วถูกพระนายรายณ์เอาจักรขว้างตัดร่างขาดครึ่งตัวแต่ไม่ตายเพราะดื่มน้ำทิพย์ รามสูรก็คิดจะขอพรพระอินทร์ให้พระราหูกลับมีร่างดังเดิม บังเอิญนางเมขลาไปลักดวงแก้วพระอินทร์จึงจะจับนางไปถวายเพื่อได้ความชอบก่อน แต่เมขลาก็หลบหลีกโยนแก้วล่อหลอกรามสูร รามสูรจึงขว้างขวานเพชรไป แต่อำนาจดวงแก้ววิเศษคุ้มครองนางเมขลาไว้ ต่างวนเวียนไล่ล่อกันจนเกิดเป็นฟ้าแลบเพราะแสงแก้วของเมขลา และมีเสียงฟ้าร้องเพราะรามสูรขว้างขวาน รามสูรจีนชื่อ ลุ่ยกง หน้าตาน่าเกลียดหัวมีผมพนมขึ้นไปเหมือนลิง หน้าเหมือนครุฑ ผิวเนื้อดำหรือเขียว มีปีกอย่างค้างคาว ที่ตีนมีเล็บอย่างเหยี่ยว เอากลองมาร้อยกันสวมคอเป็นสร้อยสังวาลย์ เสียงฟ้าร้องนั้นเกิดจากลุ่ยกงรัวกลอง บ้างว่ามือหนึ่งของลุ่ยกงถือสิ่ว อีกมือหนึ่งถือขวานและฆ้อน ลุ่ยกงมีหน้าที่ลงโทษผู้มีใจชั่วโดยให้ฟ้าผ่า ครั้งหนึ่งไปผ่าคนผิดโดยผ่าชายคนหนึ่งซึ่งโยนเปลือกแตงโมทิ้ง โดยเข้าใจว่าโยนข้าวที่มีประโยชน์แก่มนุษย์ทิ้ง เรื่องรู้ถึงลุ่ยโจ๊วหัวหน้าใหญ่จึงบัญชาให้เง็กนิ้ง (แปลว่านางหยก) หรือบางทีเรียกว่าเตียนบ๊อ ซึ่งเป็นนางเมขลาของจีนนำกระจกมาคอยฉาย และคอยโบกธงให้ลุ่ยกงรู้ก่อนว่าผู้ใดมีใจชั่วควรลงโทษ คราวหนึ่งลุ่ยกงทำให้ฟ้าผ่าถูกลูกชาวนาตาย พ่อเด็กจึงทำพิธีบวงสรวงลุ่ยกงเพราะเชื่อว่าลูกตนไม่มีความผิด ลุ่ยกงพิจารณาแล้วเห็นว่าเด็กไม่ผิดจึงทำให้ฟ้าผ่าอีกครั้ง ให้เด็กนั้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ และอีกครั้งหนึ่งลุ่ยกงทำงานพลาดแล้วตนเองไปติดอยู่ในง่ามไม้ที่ตนให้ฟ้าผ่า ถูกไม้หนีบออกไม่ได้ ต้องขอให้คนตัดฟืนช่วย คนตัดฟืนต้องเอาหินทำเป็นลิ่มตอกตรงรอยแยกให้ไม้ถ่างช่วยลุ่ยกงออกมาได้ ลุ่ยกงจึงมอบตำราศักดิ์สิทธิ์เรียกฝน และรักษาโรคภัยความเดือดร้อนต่าง ๆ ได้ คนตัดฟืนได้อาศัยตำรานั้นช่วยผู้คนจนร่ำรวย วันหนึ่งคนตัดฟืนกินเหล้าเมาไปนอนในศาลเจ้า เจ้าเมืองจับตัวไป ชายนั้นก็ขอให้ลุ่ยกงช่วย ลุ่ยกงจึงบันดาลให้ฟ้าผ่า เจ้าเมืองจึงต้องปล่อยตัวไป (อุทัย สินธุสาร 2520:3500-3501)
21 สิงหาคม 2550 11:00 น. - comment id 741710
สวัสดีค่ะพี่พุด บัวคิดถึงพี่ค่ะ บัวเรยเข้ามาอ่านคำที่พี่ฝากให้น้องๆได้อ่าน เพื่อน้องๆจะได้มีความสุขในการนำคำที่พี่ฝากไว้มาปฏิบัติขอบคุณในความเมตตาที่พี่มีต่อน้องๆค่ะ ถึงบัวจะมาจากโคลนตม บัวก็ยังมีโอกาสได้มาสัมผัสพี่พุดค่ะ นับว่าบัวยังโชคดีมากมาย รักค่ะพี่พุด ดอกบัว
21 สิงหาคม 2550 11:13 น. - comment id 741720
ดอกข้าวหอม ดอกบัวงาม แด่น้องดอกข้าหอมดอกบัวงาม ในท่ามมายาโลกย์โศกสุขนี้ค่ะ รักปรารถนาดีนะคะน้องรัก พี่พุดไพร
21 สิงหาคม 2550 11:22 น. - comment id 741724
ดีค่ะพี่พุด อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติม เยอะแยะเลยค่ะ ขอบคุณที่นำกลอนดีๆมาลงให้ได้อ่านกันนค่ะ
21 สิงหาคม 2550 11:37 น. - comment id 741735
แวะมาบ้านนี้ต้องมีอะไรติดใจกลับทุกครั้งค่ะ วันนี้เลยเอารูปเล็กๆ มาฝากบ้าง
21 สิงหาคม 2550 11:53 น. - comment id 741750
แวะมาส่งข่าวพี่พุดนะคะ ดอกข้าวสบายดีค่ะ แต่ไม่ค่อยว่างมาทักทายพี่พุดค่ะ
21 สิงหาคม 2550 11:56 น. - comment id 741760
มาเยี่ยมครับ วันก่อนเข้าชื่นชม บัวบูชา มาแล้ว คงจะเป็นจริงในอีกสักสองสามรุ่นคน ที่น้ำจะท่วมเมือง เมื่ออาทิตย์ก่อน ได้ไปดู วัดขุนสมุทราวาส อยู่ปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา โบสถ์กำลังจะจมน้ำทะเล พระเล่าว่า เมื่อก่อนไม่กี่ปีมานี้ โบสถ์อยู่หลังวัด และหน้าวัดไปอีกสองกิโลเมตรเป็นชุมชนหมู่บ้านใหญ่ เดี๋ยวนี้ที่ดินบ้านหายไปหมด วัดก็หายไปเหลือโบสถ์กั้นเขื่อนกันไว้เต็มความสามารถของชาวบ้านเป็นเกาะ มีกุฏิพระอยู่สองสามหลังถัดจากโบสถ์เข้าไปก็เป็นชายโคลนอีกกิโลเมตรกว่าทำสะพานเดินมาวัด ยืนหน้าวัดเห็นแต่คลื่นซัดเข้ามา ไกลลิบ ๆ เห็นเสาไฟฟ้าปักอยู่ในทะเลเป็นแถวแสดงชัดว่าเคยเป็นชุมชนที่รุ่งเรือง ได้คุยกับขาวบ้านที่อยู่หลังวัดเขาบอกว่าย้ายบ้านมาห้าหกครั้งแล้วร่นเข้าไปเรื่อย ๆ ที่ย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นมากมายนัก คิดว่าอีกสักร้อยปีคงร่นถึงกรุงเทพฯแน่ อิอิ
21 สิงหาคม 2550 12:43 น. - comment id 741817
แวะมาชื่นชมผลงานค่ะ..
21 สิงหาคม 2550 15:10 น. - comment id 741920
เยี่ยมค่ะสุดยอดมากเลย
21 สิงหาคม 2550 16:43 น. - comment id 741999
ยอดเยี่ยมครับพี่พุด ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตำนานด้วยครับ
21 สิงหาคม 2550 20:33 น. - comment id 742154
สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายนะคะ ให้ความรู้ที่มีน้อยนิดได้กลับมาเพิ่มเติม ขอเก็บงานให้หลานๆ ได้อ่านนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ...บาย
22 สิงหาคม 2550 12:24 น. - comment id 742438
สวัสดีค่ะพี่พุด เอมเคยอ่านเรื่องเกี่ยวนางมณีเมขลา สมัยอยู่ประถม จำได้ว่าเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาเรียน เล่มนึงที่เอมชอบมากพอพอกับเรื่องนกกระจาบ เลยค่ะ ( ถ้าจำชื่อไม่ผิดนะคะ )
28 ธันวาคม 2550 09:33 น. - comment id 805158
ใครมีกลอนเมขลารามสูรบ้าง อย่างที่ เมื่อนั้นเมขลามาลาศรี อะไรประมาณนี้อาจเป็นภาษาไทยสมัยปี 2526ประมาณนี้ รบกวนส่งเข้าmail ให้ด้วยขอบคุณครับ
9 กันยายน 2553 16:55 น. - comment id 1155173
อ่านแล้วสนุกมากเลยค่ะ แจน
3 กรกฎาคม 2554 19:44 น. - comment id 1201556
เยี่ยมมากครับ