ร้อยมณีดวง พวงบุปผา คารวะ แด่บรมครูกลอน..สุนทรภู่...!

พุด

SF050.jpg
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/song4689.html
บทเพลง..ร้อยบุปผา


ดั่งดวงแก้วส่องนำทางกลางป่าใจมวลมนุษย์
สร้างพิสุทธิ์สร้อยอักษราภาษาฝัน
เป็นกวีแก้วแววฟ้าวิลาวัลย์
เป็นเทพสรรค์สวรรค์ส่งประดับดิน
บรมกวีภู่ครูกลอนอักษรสร้อย
มาถักร้อยเป็นมณีแห่งศรีศิลป์
เป็นสายธารหวานหอมแห่งแผ่นดิน
เป็นอวลกลิ่นรสชื่นสุคนธา
เป็นดาวพรายพราวพร่างสว่างใจ
เป็นน้ำใสดับโลกแล้งทุกแหล่งหล้า
เป็นยอดขวัญอัญมณีเพชรหนึ่งในพสุธา
เป็นฝันฟ้าประโลมใจวรรณกวี
เป็นงามใจงามไทยศรีแห่งชาติ
เป็นหวังวาดในโลกฝันแห่งสร้อยสี
เป็นครูกลอนสอนสัจจธรรมสร้างค่าคนค่าชีวี
เป็นกวี..พลีงามฝากสายธารบุญสนองคุณแห่งแผ่นดิน..!
.........................

บรรจงใจร้อยมาลัยกลอนอย่างอ่อนหวาน
ศรัทธาธารแทนด้ายรักอักษรขวัญ
คารวะบรมครูกวีศรีชาติดั่งตะวัน
คุณอนันต์ต่อฝันไทยใจทุกดวง..
ดั่งสร้อยเพชรนามบทกลอนงามอ่อนไหว
ดั่งสร้อยใจมิ่งมงคลงามใหญ่หลวง
ดั่งสร้อยรักภักดิ์ภาษางามเรียงรวง
ดั่งดาวดวงจรัสแสงจากแรงใจ..
พลีดอกไม้ฟ้าบูชากวีแก้ว
งามเพริศแพร้วพิลาสล้ำคำไหนไหน
สุภาษิตสอนหญิงมิ่งกมลงามดวงใจ
อันหวานใดไม่เทียบเท่าเจ้าจอมภักดิ์
พุดเพียงหิ่งห้อยน้อยแสงแฝงเรือนไม้
ใช่ดาวพรายฉายแสงหรูอยู่ด้วยรัก
เป็นนักฝันรักคำงามตามพ้อภักดิ์
ดวงใจรักหอมละมุนกรุ่นกลิ่นไพร
เป็นนักกลอนอ่อนไหวใจอ่อนหวาน
กลอนชาวบ้านสาวชาวนาพิสุทธิ์ใส
กลอนธรรมดากลอนตลาดหญิงชาวไพร
ฝากหอมใจฝากหอมงามตามเห่กล่อม.
จุดเทียนทองส่องบูชานาทีนี้
กราบบรมกวีแก้วกลางใจพร่างพรมหอม
หวังกมลพุดคนดีที่ตรมตรอม
ปลูกพะยอมงามกลางใจ..ไทยทุกดวง..
.....................


ฉันอยู่ไหนในโลกนี้...ที่เธอฝัน..ลำน้ำน่าน
ฉันอยู่ไหนในโลกนี้...ที่เธอฝัน              
ในเงาจันทร์หรือเงาดาว..พราวไสว    
อยู่บนดินปวงพฤกษ์ป่า..หรือพงไพร        
หรือหัวใจอันแสนล้า....นภาราย              
อยู่ในรักหรืออ้อมกอด..มวลดอกไม้           
ในรอยทรายหรือรอยแยก..แตกสลาย       
ในเเสงทองท้องทะเล...หรือหาดทราย         
หรือเลือนหายเวียนว่าย...ในเวิ้งวรรณกรรม        
อยู่ใต้หล้าบนฟ้ากว้าง....ทางแห่งสุข             
หรือเงาทุกข์โถมเล้า......ระทมร่ำ           
หรือเป็นเพื่อนเตือนตอกย้ำ...ชะตากรรม     
หรือแสงธรรมอันพร่างพราว...คราวมืดมน      
อีกไม่นานจะกลับมา...หาบ้านเก่า                 
แนบนานเนาดวงใจ...มิสับสน                 
จะอยู่ไหนใจเตือนว่า...ยังเวียนวน                  
ตราบถึงจนวันคืนคอน....นอนแนบดิน    
 

       
ฉันอยู่นี่ที่กลางใจในโลกฝัน...พุดพัดชา
ฉันอยู่นี่ที่กลางใจในโลกฝัน
คอยเคียงขวัญในเงาใจไม่ไปไหน 
ในเงาดาวใต้เงาจันทร์ยามฝันไกล
ในดวงใจในดวงตาดารากาล..
อยู่ในรักในอ้อมกอดของยอดรัก
ฝากใจภักดิ์รักเพียงเธอเพ้อคำหวาน
ในแสงทองท้องทะเลดอกไม้บาน  
ในสายธารหวานชื่นฉ่ำลำนำไพร
อยู่ใต้หล้าฟ้าพริบพราวเคล้าใจสุข
ไร้รอยทุกข์สุขเคียงขวัญวันไหนไหน
เงาอดีตแค่กรีดรอยฝากแผลใจ
ไม่เป็นไรยอมรับโศกโลกนี้คือละคอน
รอและรอ..ขอคืนหลังยังบ้านเก่า
ลบลืมเหงาเงาใจใครลวงหลอน
พร่ำสวดมนต์ภาวนาเพื่อขอพร
เลิกร้าวรอนสิ้นร้าวรานนานนิรันดร์!..
 
......................


แด่ดวงตาดารางามนามนักเขียน ....  พุดพัดชา  
พระจันทร์สีส้มสุกดวงโตสุกปลั่ง
กำลังสาดส่อง
ทอประกายนวลละอองดั่งทองทา 
เมื่อแหงนเงยหน้า ขึ้นดู
บนฟากฟ้าสีน้ำเงินงามเข้มดั่งกำมะหยี่ 
ในราตรีที่ดวงดาวราวเร้น
หลีกหลบประกายกล้า
มิหาญกล้าทายท้าแสงนวลใย 
หายเข้าไปในหน้าต่างเมฆ..
ฝากดอกไม้ไทยที่พากันเอาใจ 
บานละออชูช่อรอหยาดน้ำค้าง 
ที่คงหยาดสายพรายพร่างในยามดึก...
ผ่านม่านมนต์เมฆเสกเสน่หา
ให้มวลมนุษย์ 
มองหาสวรรค์ฝันหวานหวาน
ฝาก...
ผ่านถึงดวงใจ..
ทุกดวงที่ยังห่วงใยเกี่ยวกระหวัดรัดรึง
ให้ละเมียดละมุน
ด้วยความงามนี้ที่ร่มรักเรือนไทยเรือนใจ
และ..
ผ่านดวงตาดารางามนามว่า
*นักอยากจะเขียนเพียรสร้างฝัน*
กันมิว่างเว้นในยามนิทรา..
ที่ทุกดวงตาอื่นๆนั้นพากันหลับไหล 
ไฉนเลย..!
เราจึงมาเดินบนถนนสายเดียวกัน 
ในมิติฝัน..
อันแสนลี้ลับมหัศจรรย์...ไร้กาลเวลา.
นอกเสียจาก..
ใจจักนำพาให้เราได้มาพบและรักกัน
ได้โอบเอื้อแบ่งฝันอันละเมียดใจ 
ในทุกอณูหนึ่งนี้...
กับโชคดี
ที่กาลเวลาได้ประทานของขวัญ
อันแสนเลอล้ำค่ามลังเมลืองใจ ..เกินกล่าว..แล้ว ... !
 


http://www.thaipoem.com/forever/ipage/song4689.html
ร้อยบุปผา สุนารี ราชสีมา 
ร้อยบุปผา บานพร้อมพรัก
ร้อยสำนัก ประชันแข่งใจ
มวล ดอก ไม้ พร่างพรายมา พ้อง พาน
ร้อยดอกงาม เด่นตระการ
แย้มบานในดวง ใจ
ชู่ ช่อ ธรรม สง่า งาม ในนาม ศิลปิน
มาสร้าง งาน ศิลป์ ชุบชีวิน มนุษย์ชาติ
สะอาดสดสวย ด้วยบทเพลง แห่งสวรรค์
ให้มาลัย ฝากรัก มอบใจภักดิ์ ร่วมกัน
จุดไฟ ความฝัน พร่างพลัน ประกาย เพลิง
มาเถิด พี่น้อง ร่วม ร้อง เพลงเพื่อ
กลั่นจาก เลือด เนื้อ หยาดเหงื่อ เร่าร้อน
เราจะเร่ง แนวรบ ไม่สยบ อ้อนวอน
เริงระบำ รำฟ้อน ร้อยกรอง กวี กานต์
มาร่วม ใจรัก พร้อม พรักพลีชีวาตม์
ผงาด อาจ หาญ สร้างตำนานตระการฟ้า
แต่งเติม โลกศิลป์ ให้ผ่องพิณ โสภา
ด้วยวิญ ญานท้า ทรนงเทิดคง ธรรม
ร้อยบุปผา บานพร้อมพรัก
ร้อยสำนักประชันแข่งใจ
มวล ดอก ไม้ พร่างพรายมา พ้อง พาน
ร้อยดอกงาม เด่นตระการ
แย้มบานในดวง ใจ
ชู่ ช่อ ธรรม สง่างาม ในนาม ศิลปิน 
 

115340704TRhbwV_ph.jpgflower.jpg08-2.jpgMalaj06N.jpgprofile.jpgTD-10.gif				
comments powered by Disqus
  • เพียงพลิ้ว

    27 มิถุนายน 2550 11:26 น. - comment id 716181

    กานต์ร้อยมาลัยไม่เป็นค่ะ
    แต่มาขอยืมพี่พุดไหว้บรมครูด้วยคนนะคะ
    
    
    
    36.gif36.gif36.gif36.gif36.gif36.gif1.gif
  • ดิออร่า

    27 มิถุนายน 2550 12:08 น. - comment id 716215

    มีพันไม้มาฝากด้วยนะคะพี่พุดเห็นสวยดี
    
    swutree.jpg31.gif
  • พี่พุด

    27 มิถุนายน 2550 12:40 น. - comment id 716261

    36.gif16.gif
    เรียกดอกสาละค่ะคนดี
    ขอบคุณนะคะน้องน้อย
    36.gif
    
     
    ต้นไม้ในพุทธประวัติ
    
    
    
    
    
    
    
    ต้นสาละ (Shorea robusta Roxb.)
    
    สาละ ชาวอินเดียเรียกว่า ซาล (Sal) 
    เป็นไม้ที่เกี่ยวข้อง
    กับพระพุทธองค์
    ตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพาน 
    
    โดยที่พุทธมารดา
    คือพระนางสิริมหามายา 
    เมื่อใกล้กำหนดจะให้พระสูติการ
    ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์
    ไป ยังกรุงเทวทหนคร 
    อันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง 
    ตามธรรมเนียมพราหมณ์ 
    (ที่การคลอดบุตรฝ่ายหญิง 
    จะต้องกลับไปคลอด
    ที่บ้าน พ่อ-แม่ ของฝ่ายหญิง) 
    
    ในระหว่างทาง
    พระนางได้ทรงหยุดพัก
    บริเวณป่าแห่งหนึ่ง 
    ใต้ร่มต้นสาละ เขตตำบลลุมพินีสถาน 
    
    คงจะเป็นด้วย
    ทรงถูกกระทบกระเทือน
    จากการเดินทางไกล 
    
    หรือจะเป็นด้วยอำนาจบุญญาธิการ
    ของพระราชโอรส
    
     (คือพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา) 
    
    พระนางทรงเจ็บพระครรภ์
     ผู้ตามเสด็จก็คงจัดเตรียมกั้น
    เป็นฉากห้อง 
    เพื่อใช้เป็นสถานที่พระสูติการ
    ภายใต้ร่มของต้นสาละนั้น
    
     สำหรับในช่วงสุดท้าย
    ที่ต้นสาละเข้าไปเกี่ยวข้อง
    กับพระพุทธประวัตินั้น 
    
    ก็โดยที่พระพุทธองค์ได้เสด็จ 
    ไปถึงยังเมืองกุสินาราของมัลละกษัตริย์ 
    
    ได้ประทับในบริเวณสาลวโณทยาน 
    ภายใต้ร่มต้นสาละคู่หนึ่ง 
    ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายมาก 
    
    จึงรับสั่งให้พระอานนท์ 
    ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐาก
    ปูลาดที่บรรทมเอนพระวรกาย ลง
    
    โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ 
    แล้วเสด็จดับขันธ์สู่ปรินิพพาน
    ภายใต้ต้นสาละนั่นเอง
    
    ที่กล่าวมาแล้ว
    เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
    กับพระพุทธองค์ 
    
    แต่ สาละ โดยตัวเองแล้ว
    เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึง ใหญ่
    ไม่ผลัดใบ อยู่ในสกุล (Genus) 
    ไม้สยา (Shorea) วงศ์ (Family) ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) 
    
    ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา 
    แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดทั่วไป 
    
    เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ
    รูปเจดีย์หรือรูปไข่ 
    เรือนพุ่มประมาณ 2/3 ของ 
    
    ความสูงของต้น ปลายกิ่งห้อยลู่ลง 
    ใบดกหนา กิ่งอ่อนเกลี้ยง ไม่มีขน 
    ใบรูปไข่กว้าง โคนใบหยักเว้าเข้า 
    ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ
     ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง 
    พื้นใบมักเป็นคลื่น 
    
    รูปทรงทั่ว ๆ ไป คล้ายใบรังของไทย
     ดอกสีเหลืองอ่อน 
    ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ 
    ตามปลายกิ่งและง่ามใบ 
    
    กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก
    มีอย่างละ 5 กลีบ 
    ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก 
    
    ในจำนวนนี้จะยาว 3 ปีก และสั้น 2 ปีก
     แต่ละปีกมีเส้นตามยาวปีก 10  15 เส้น 
    
    สาละ..
    เป็นไม้พื้นเดิมของอินเดีย 
    มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ 
    ตามบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น 
    
    การขยายพันธุ์นิยมใช้เมล็ด
    เพาะหรือจะใช้การตอนกิ่ง
    หรือทาบกิ่งก็ได้ 
    
    แต่วิธีหลังเปอร์เซ็นต์การติดน้อยมาก 
    
    ในประเทศไทยได้มีการ 
    นำเอาต้นสาละหรือต้นซาล
    เข้ามาปลูกหลายครั้ง 
    
    เท่าที่ทราบก็มีหลวงบุเรศบำรุงการ
    นำมาถวายสมเด็จ 
    พระมหาวีรวงษ์ 
    วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน 
    
    โดยทรงปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบสถ 2 ต้น 
    
    กับได้น้อมเกล้าถวาย 
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
    เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2510 อีก 2 ต้น 
    
    
    ในจำนวนนี้
    ได้ทรงปลูกไว้
    ในพระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน 1 ต้น 
    
    กับทรงมอบให้
    วิทยาลัยการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
    ที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีอีก 1 ต้น 
    
    อาจารย์เคี้ยน เอียดแก้ว 
    และอาจารย์เฉลิม มหิทธิกุล 
    ก็ได้นำต้นสาละมาปลูกไว้
    ในบริเวณคณะวนศาสตร์ 
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 
    ที่ค่ายพักนิสิตวนศาสตร์ 
    สวนสักแม่หวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง 
    
    พระพุทธทาสภิกขุ 
    ก็ได้ปลูกไว้ที่สวนโมกข์ อำเภอไชยา 
    จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
    นายสวัสดิ์ นิชรัตน์ ผู้อำนวยการกองบำรุง 
    ก็ได้นำปลูกไว้
    ในสวนพฤกษศาตร์พุแค จังหวัดสระบุรี 
    
    ซึ่งต่างก็มี..
    ความเจริญงอกงามดี 
    และคาดว่าคงจะให้ผล 
    เพื่อขยายพันธุ์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ 
    ได้เพิ่มขึ้นในเวลาอันควร
    
    เดิมที..
    ความเข้าใจเกี่ยวกับต้นสาละหรือต้นซาล 
    ของชาวไทย
    ยังค่อนข้างสับสนกันอยู่ 
    
    เช่นเข้าใจว่าต้นสาละ 
    เป็นต้นเดียวกันกับต้นรัง 
    ที่มีชื่อทางพฤกษศาตร์ว่า
     Shorea siamensis Miq. 
    
    เพราะรูปร่างและขนาด ของใบ
    คล้ายคลึงกันมาก 
    ประกอบกับ
    ต่างก็ชอบขึ้นเป็นหมู่ด้วยเช่นกัน 
    
    แต่รังของไทยผิวใบไม่เป็นมัน 
    พื้นผิว ค่อนข้างเรียบ 
    
    บางสายพันธุ์ยังมีขนตามผิวใบ 
    กับพอใบแก่จัด
    ก่อนร่วง
    ยังกลายเป็นสีแดงอิฐเสียอีกด้วย 
    
    บางทีก็เข้าใจว่าต้นลูกปืนใหญ่
    หรือแคนนอลบอล 
    ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า 
    Couroupita guianensis Aubl. 
    
    เพราะมีผู้นำต้นไม้ชนิดนี้
    มาจากประเทศลังกา 
    และได้รับการบอกเล่า
    จากทางลังกาว่าเป็นต้นสาละ 
    
    ผู้นำเข้ามาส่วนใหญ่
    จะปลูกไว้ตามวัดต่าง ๆ 
    เช่น วัดพระเชตุพนฯ 
    วัดบวรนิเวศน์ฯ
    และ
    ที่สวนพฤกษศาตร์พุแค 
    จังหวัดสระบุรี เป็นต้น 
    
    พันธุ์ไม้ดังกล่าว
    จะมีช่อดอกออกตามลำต้น 
    ดอกโตขนาดถ้วยแกง 
    และมีผลกลม โต ขนาดผลส้มโอย่อม ๆ
     
    36.gif36.gif36.gif
  • คนบนเกาะ

    27 มิถุนายน 2550 13:11 น. - comment id 716313

    36.gifมาเยี่ยมมาลัยสวย ๆ คับ
    ชอบทุกภาพเลย  สบายดีนะครับ
  • กุหลาบน้ำตา

    27 มิถุนายน 2550 20:30 น. - comment id 716619

    36.gif36.gif36.gif36.gif36.gif
    
    สวัสดีครับ คุณ พุด
    
        ร่วมระลึกสักการะแด่อัครกวีศรีสยาม
    
    29.gif36.gif29.gif36.gif29.gif36.gif29.gif57.gif57.gif57.gif57.gif57.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน