อนิจจา หลงหยาบฉาบประไพ งามวิไลไม่เห็นหลัง ละเลียดละเมียดฟัง พรมประดังหวานยังใจ หลับพริ้มอิ่มโอษฐ์แย้ม แดงก่ำแก้มแจ่มไสว มธุรสพจน์ชะนัย โอ้อกใจให้รื่นรมย์ หวานคำฉ่ำมาเถิด ให้ประเสริฐเลิศสู่สม บ่มสรรขวัญเอยจม ด้วยลิ้นลมกลมกล่อมจริง คำถ่อยพล่อยที่ไหน ไว้กับใครชายหรือหญิง ไม่รู้ตูไม่อิง ไม่สุงสิงกลิ้งเข้าตัว ช่างเถอะช่างหัวมัน ดีกับฉันนั้นหยอกหัว เข่นฆ่าใครมือรัว จะหยามชั่วช่างหัวมัน แล้วฉันจะยกย่อง ให้เรืองรองอย่าต้องหวั่น ภาพสองเราต้องกัน เธอกับฉัน..ฉันและเธอ ฉันมีอุดมการณ์ ไว้จดจารสูงส่งเสมอ เกลือกชั่วมากลั้วเผลอ ไม่ใช่เธอเชอะ..แน่นอน.. มันพวกไอ้คนชั่ว มีหลายตัวเรียงหน้าสลอน หยามคำมาย่ำจร จะต้องสอนให้มันเกรง ฉันนี้มีไฟแรง ทั้งกร้าวแกร่งอย่าข่มเหง ร่วมด้วยช่วยกระเตง จะเขียนเพลงกระแทกมัน เลือดฉันระอุอุ่น ด้วยบุญคุณน้ำมิตรนั้น อย่าขุดกำพืดกัน ไม่สร้างสรรค์ฉันไม่ฟัง มีมือไว้เขียนสาร ไม่มีมานไว้อ่านหลัง อธิบายไม่หมายฟัง อย่ามานั่งเจรจา อัดอกอยากแต่เขียน เฝ้าวนเวียนแต่จารมา คำตูน่ะมีค่า โสตนั้นหนาหามีรูฟัง ?
25 ตุลาคม 2545 10:25 น. - comment id 91000
โอ้ ช่างร้อนแรงยิ่งนัก
25 ตุลาคม 2545 11:27 น. - comment id 91011
มาเยี่ยมค่ะ
25 ตุลาคม 2545 21:08 น. - comment id 91159
นึกว่าปีนมะพร้าว หากล้วยป่ากินอยู่ มาได้ไง ท่าจะอัดอั้นนะเนี้ย
30 ตุลาคม 2545 23:04 น. - comment id 92667
การแต่งร้อยกรองถ้อยคำเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน นอกจากเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้แต่ง เอง โดยอาการอันกล่าวมาแล้วนั้น ยังนับว่า ผู้แต่ง ทำความพอใจให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้อีก เป็นอันมาก ... ตามความเห็นของข้าพเจ้ามีอยู่ว่า ผู้แต่ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ควรจะคิดถึงผู้อ่าน มาก กว่าตัวเอง คือควรเพ่งเล็งให้ผู้อ่าน เข้าใจ และฟัง เพราะ มากกว่าที่จะอวดความเก่ง ของ ตนเอง เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า ขออนุญาตแนะนำ แก่ผู้ตั้งใจจะเป็นจินตกวี ให้ละเว้นของบางอย่าง ดัง ต่อไปนี้คือ ๑) ควรละเว้นวิธีแต่งอุตริสบัดสบิ้ง ๒) ควรละเว้นวิธีแต่ง อุตริใช้คำ ที่ไม่ใช่ภาษาไทย ๓) ควรละเว้นการ ใช้คำซึ่งใช้กันอยู่ในวง แคบ ๆ ๔) ควรละเว้นเรื่องซึ่งไม่เป็นคติหรือ ซึ่งเรื่องหยาบและโลน เพราะของ เหล่านี้ทำให้เสื่อมเสียวิชาเปล่า ๆ มื่อได้แสดงมาซึ่งข้อควรเว้นแล้ว ก็ควร แสดง ข้อควรประพฤติต่อไป ๑) ก่อนที่จะจับแต่งอะไรต้องดูแบบ โคลง ฉันท์ กาพย์กลอน เสียก่อนดูแบบให้เจนตา เป็นดี ๒) ควนอ่านจินตกวีนิพนธ์ที่ท่านแต่งมาไว้แล้ว อ่านจนเข้าใจ และได้จังหวะแม่นยำ ๓) เลือกหาเรื่องที่เป็นแก่นสาร ๔) ใช้สมองตรองดูเรื่องนั้นเสียก่อน จนความคิด แตกแล้วคิดตั้งโครงขึ้นเป็นคำพูด โดยปกติ ก่อน แล้วจึงแปลงไปเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ตามอัธยาศัย หนังสือนี้ข้าพเจ้าได้ตั้งใจแต่งให้แก่โรงเรียน มหาดเล็กหลวง เพื่อบำรุงวิชากวีในโรงเรียนนั้น เพราะ ฉะนั้นข้าพเจ้าขอให้หนังสือนี้ไว้เป็นกรรมสิทธิ์ แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวงสืบไป เพื่อให้นักเรียนทั้ง เก่าและใหม่จะได้มีสิ่งซึ่งเตือนใจ ให้รำลึกถึงข้าพเจ้า ผู้มุ่งดีต่อเขาทั้งหลายนั้น ชั่วกาลนานฯ พระปรมาภิไธย วชิราวุธ ปร. (ตัดตอนจากหนังสือ การประพันธ์ ท๐๔๑ โดย ศจ.ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)