กรานเกศก้มปรมเชษฐ์พิเศษศักดิ์ ประสิทธิ์นักอักขราค่ายิ่งใหญ่ ธ ดำริมติเลิศขอเทิศไว้ ณ หทัยขอบูชิตพินิจพจน์ จักฝากตัวกลัวพิเชษฐ์ไม่เห็นด้วย เพียงจะช่วยชื่อด่างพร้องต้องปรากฏ ปองจะเรียนเขียนอ่านกรานประณต ช่วยชี้กฎชี้เกณฑ์เช่นเจรจา หากกุศลดลด้วยอำนวยสุข นิราศทุกข์สุขสรรค์หรรษา ปรเมษฐ์เผ่นผาศลีลาศพา เผยตำราสง่าพจน์รจน์กวี ชี้ถึงทางสว่างกระจ่างแจ้ง เรืองแรงแสดงส่องละอองสี ตำหนิเตียนเขียนเล่าให้เข้าที พระคุณนี้จำจนดิ้นสิ้นชีวา
3 ตุลาคม 2545 07:11 น. - comment id 83143
ขอบคุณครับสำหรับวจีอันไพเราะ.... แต่ผมยังอ่อนด้อยนัก....ยังไม่คู่ควรเป็นครูใครได้หรอกครับ......ยังต้องเรียนรู้อีกมาก......เอาเป็นว่าเราเป็นกัลยาณมิตรคอยชี้แนะ...ติติง....แก่กันและกันดีกว่านะ......วัยไม่สำคัญหรอกครับ.....ด้วยความจริงใจครับ...
3 ตุลาคม 2545 07:40 น. - comment id 83156
มิตรภาพที่ดีเป็นสิ่งที่สวยงามแบบนี้ล่ะค่ะ....ใครเห็นก็ชื่นใจแทน (o*^___^*o)
4 ตุลาคม 2545 13:16 น. - comment id 83643
ฮาๆๆๆๆๆๆ....มิกล้าๆๆ คุณโอ๋..เขียนแบบนี้...คนจะหมั่นใส้เอานะนา.....ลูกพี่ถูกเขม่นอยู่ด้วย.... คุณโอ๋ครับ....ครูไหวนั่นไง....เดี๋ยวบอกทางให้นะ....ท่านชื่อครูไหวใจดี...ครับ www11.brinkster.com/kcpricha/db/ แอบเห็นมาสอน...คุณสดายุ..บ่อยๆ
5 ตุลาคม 2545 05:37 น. - comment id 83844
บังเอิญไปเห็นคำฝากตัวของคุณโอ๋ฯที่กระทู้คุณสดายุนะคะ เลยคลำทางตามมา เผื่อจะมีอะไรที่ดิฉันช่วยได้บ้าง ขอบคุณคุณโทโสนะคะ ที่นึกถึง ดืฉันกลัวว่า สักหน่อยอาจจะมีคุณโมโห คุณโลโภตามมาน่ะค่ะ : ) กรานเกศก้มปรมเชษฐ์พิเศษศักดิ์ คำว่า ปรม มักจะอ่านว่า ปะระมะ มากกว่า ปรฺม ณ ที่นี้น่าจะใช้ บรม มากกว่ากระมังคะ ถ้าคุณโอ๋ไปอ่านวรรณกรรมเก่า ๆ จะพบว่าโบราณาจารย์ท่านไม่ค่อยใช้คำว่า ปรม กันนักดอกค่ะ อยู่ข้างจะเป็นคำสงวนสำหรับพระมหากษัตริย์ มักจะเลือกใช้คำว่า บวร มากกว่าค่ะ...แต่ปัจจุบันธรรมเนียมนี้ก็เลือนไปแล้ว ประสิทธิ์นักอักขราค่ายิ่งใหญ่ ความไม่ต่อนะคะ...ตรงคำว่า นัก นี่แหละค่ะ เพราะความหมายจะเป็นไปได้หลายทาง เช่น นัก ที่แปลว่า คน หรือ คำที่เป็นวิเศษณ์ ดิฉันว่าตัดออกไปเลยก็ได้ค่ะ เหลือเพียง ประสิทธิ์อัก ข(ะ)รา ค่ายิ่งใหญ่ ในวรรค ๒ ไม่จำเป็นต้องมีสัมผัสสระจากช่วง ๑ ไปช่วง ๒ ดอกค่ะ เว้นแต่จะเล่นกลบทช้างชูงวง ธ ดำริมติเลิศขอเทิศไว้ เทิด ใช้ ด เด็ก สะกดค่ะ ณ หทัยขอบูชิตพินิจพจน์...เพราะค่ะ จักฝากตัวกลัวพิเชษฐ์ไม่เห็นด้วย คำว่า พิเชฐ สะกดอย่างนี้ค่ะ แปลว่า เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด คิดว่าคุณโอ๋คงต้องการหมายความว่า พิ+เชษฐ์ หมายถึงพี่ชายที่ดี แต่เนื่องจากมีคำใกล้เคียง คือคำว่าพิเชฐ ดิฉันว่าน่าจะเลี่ยงนะคะ เพียงจะช่วยชื่อด่างพร้องต้องปรากฏ โดยมากเราใช้คำว่า ด่างพร้อย เพราะคำว่า พร้อง - พ้อง ความหมายไปอีกประการ ๑ นะคะ ปองจะเรียนเขียนอ่านกรานประณต ช่วยชี้กฎชี้เกณฑ์เช่นเจรจา วรรคนี้น่าจะเล่นคำ ชี้ นะคะ จะเป็นเสน่ห์เทียวค่ะ ช่วยชี้กฏชี้เกณฑ์ชี้เจรจา คำว่าเจรจาในที่นี้ผู้อ่านต้องอ่านว่า เจน-ระ-จา มิใช่ เจ-ระ-จา ตามปกติ เพราะนี่เป็นกฎของการอ่านกลอนค่ะ หากกุศลดลด้วยอำนวยสุข นิราศทุกข์สุขสรรค์หรรษา ปรเมษฐ์เผ่นผาศลีลาศพา กำลังพยายามเดาค่ะ ว่า ผาศ แปลว่ากระไร การมี ศ เข้าลิลิตเช่นนี้ โดยมากไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยน แต่เราไม่ใช้กับภาษาไทยนะคะ อย่างคำว่า ผา นี่แหละค่ะ เผยตำราสง่าพจน์รจน์กวี ใช้คำได้เพราะค่ะ..รจน์กวี ดีกว่า รสกวี ขอชมเชยค่ะ ชี้ถึงทางสว่างกระจ่างแจ้ง เรืองแรงแสดงส่องละอองสี ตำหนิเตียนเขียนเล่าให้เข้าที พระคุณนี้จำจนดิ้นสิ้นชีวา บทนี้ค่อนข้างคละนะคะ ๒ วรรคแรกเป็นกลอน ๗ วรรค ๓ เป็นกลอน ๘ ส่วนวรรคสุดท้ายเป็นกลอน ๙ คาดว่าคุณโอ๋คงจะเข็ดดิฉันแน่ ๆ สำหรับการพบกันครั้งแรกเช่นนี้ : )
5 ตุลาคม 2545 23:11 น. - comment id 84079
อิอิน้มรับครับน้อมรับ