ระงมขม ระเหงาเคล้า ระงับขับ ละลายปลาย ละรับปรับ ละเลาะเปาะ เพียรพร้อมยอม เพียรพอกยอก เพียรเพาะเยาะ ยอมย้อนกร่อน ยอมเหยาะเกาะ ยอมย่ำกรำ พ้อรักภักดิ์ พ้อเร่าเผา พ้อหลอนผ่อน เพียรออมยอม เพียรอ้อนหย่อน เพียรอำย่ำ พร้อมปลิดจิต พร้อมแปลงแจ้ง พร้อมปล้ำจำ ให้รักทัก ให้ร่ำทำ ให้ร่าท้า สนุกรุก สนานราน สนั่นรั้น เพราะทุกข์ปลุก เพราะถั่นปัน เพราะถาปร่า จิตเอียงเคียง จิตอาบคาบ จิตอ้าคา ห้อยรักหยัก ห้อยระย้า ห้อยร้าวยาว รักเลื่อนเปื้อน รักลิ่วปลิว รักรวนป่วน ยังถ่อห่อ ยังทวนหวน ยังท้าวหาว หวังคลอขอ หวังใคร่ไข หวังข่าวคราว รดก้อนร้อน รดก้าวร้าว รดกลวงลวง
24 เมษายน 2552 21:13 น. - comment id 976886
กลบทพิณประสานสาย เป็นกลบท๙คำที่บังคับมากสักนิด คือ ๑. คำที่๑-๔-๗ ต้องใช้คำเดียวกัน(บางบรมครูอนุญาตให้ซ้ำเสียงได้เช่นคำควบ ที่ลงด้วยเสียงคล้ายกัน) ตัวอย่างเช่น สนุกรุก สนานราน สนั่นรั้น ๒. คำที่๒-๕-๘ ต้องเป็นคำพยัญชนะเสียงเดียวกัน ๓.คำที่๓-๖-๙ ก็ต้องเป็นคำเสียงพยัญชนะเดียวกันอีกด้วย ๔.คำที่๒-๓ คำที่๕-๖ คำที่ ๘-๙ ต้องซ้ำเสียงสระกันอีกข้อหนึ่งด้วย
24 เมษายน 2552 22:09 น. - comment id 976912
ใช้คำได้เจ๋งมากครับ
24 เมษายน 2552 23:12 น. - comment id 976931
แต่ง กลบทบาทเบื้อง กลบท ได้ ย่างเยื้องเลี้ยวลด ยากแท้ ดี ทุกสิ่งกำหนด ยากที่ แต่งนา มาก ต่อมากแต่งแม้ หนึ่งอ้างบทครวญฯ ..................................... มาอ่านดูจะได้ศึกษาต่อไป แต่แต่งยากนะครับกลบท เพราะมีมากมาย 50 กว่าบทใช่ไหมหากจำไม่ผิด ทั้ง วัวพันหลัก นาคบริพัตร กบเต้นต่อยหอย ฯลฯ
25 เมษายน 2552 11:01 น. - comment id 977025
สวัสดีค่ะ แวะมาชมผลงานนะคะ เข้ามาอ่านแล้วรู้สึกว่าต้องตั้งใจอ่านมากๆเพื่อที่จะได้เข้าใจค่ะ ไม่ใช่ว่าเขียนได้ไม่ดีนะคะ เพียงแค่แตกต่างไปจากที่เคยได้อ่าน นี่เป็นครั้งแรกที่ได้อ่าน แถมยังได้ความรู้เกี่ยวกับกลบท ซึ่งนับว่ายากมากๆเลยค่ะ นับถือนะคะ เข้าใจเขียนและเขียนได้ดีค่ะ
25 เมษายน 2552 12:49 น. - comment id 977039
ขอบคุณค่ะคุณอีกาไร้รัก
25 เมษายน 2552 13:08 น. - comment id 977043
ขอบคุณกับโคลงเพราะๆค่ะคุณคีตกานท์ กลบทแต่อดีตเท่าที่มี่รู้จากผู้รู้มา มีกว่าร้อยอย่างนะคะ แต่ปัจจุบันมีหลักฐานแน่ชัดแค่89อย่างค่ะ อีกทั้งหลายบรมครู บางกลบทเรียกแค่ชื่อต่างกัน แต่เขียนแบบเดียวกันค่ะ กลบทเป็นการแต่งเฉพาะครู มักเรียกชื่อตามครูท่านนั้นๆแต่งขึ้น แม้ภายหลังมีคนรุ่นใหม่แต่งขึ้น ก็มักกำกับบอกว่าเป็น "ฉบับของตน"เพื่อกันความสับสนของคนจะเรียนได้เข้าใจถูกต้องด้วย เพราะบางกลบทมัก "ถูกดัดแปลงไปบ้าง"ค่ะ ส่วนกลบทพิณประสานสาย เป็นการแต่งเพิ่มความยุ่งยากในการแต่งขึ้นอีกนิด ดัดแปลงมาจากกลบทนารายณ์ประลองศิลป์ โดย ศิริวิบูลย์กิตต์ค่ะ กลบทนี้จะอ่านทีละสามคำ มีความในสามคำเลยค่ะ ความยากอยู่ที่การต่อบทต่อกันให้ได้เรื่องราวชัดเจนค่ะ
25 เมษายน 2552 13:14 น. - comment id 977047
ขอบคุณค่ะคุณsomebody กลบทยากสักนิดกับการอ่านและเขียน เป็นการเล่นอักษร ที่บรมครูกลอนสมัยก่อนนิยมค่ะ
26 เมษายน 2552 23:15 น. - comment id 977541
สวัสดีค่ะ คุณญามี่... ไม่ถนัดเลยค่ะ กลบท... แค่กลอนแปดก็ บรึ๋ย .....
27 เมษายน 2552 10:09 น. - comment id 977639
อาปี่กลับมาเขียนกลอนที่นี่ด้วยนิ