อยากรู้จริงค่ะ

tiki

ให้ปลายบทเอกนั้น ........มาฟัด
ห้าที่บทสองวัจน์ ..................ชอบพร้อง
บทสามดุจเดียวทัด .............ในที่ เบญจนา
ปลายแห่งบทสองต้อง........... ที่ห้าบทหลัง ฯ....จินดามณี
     มีบางอย่างอยากถามท่านปู่ออ
แต่ว่าขอมาโพสณ ที่นี่
ว่าโยงโคลง แบบไหน ถูกวิธี
โยงที่ หนึ่งสองสามนี้..หรือท้ายความ
     ด้วยความเก่าพระโหราฯ จินดามณี
มาบ่งชี้วางท้าย..ใช่สองสาม
แต่ท้ายบาทตำแหน่งห้า นะแม่งาม
ข้าฯก็เคยวางตามแต่ก่อนกาล
     ครั้นดูยุค รัตนโกสินทร์..กวินทร์ผอง
ลงหนึ่งสองและสาม..ตามแตกฉาน
ข้าฯ ขอปู่ช่วยมาตอบ..ชอบการงาน
อย่างพระโหราฯ ว่าการ หรืองานเรา
.   ..ที่สงสัยในวันนี้ที่อยากถาม
เพราะเนื้อความจินดามณี..นี้คนเก่า
ย่อมแจงแจกแบกโคลงโยงเรื่องเอา
ใช่งุบงิบ..แต่ไยเขาจึงเปลี่ยนทาง...???
แบบรัตนโกสินทร์(ปัจจุบัน ?)
๏ 0 0 0 ก่ ข้ 0 x.....(0 0)
0 ก่ 0 0 x ก่ ข้
0 0 ก่ 0 x 0 ก่........(0 0)
0 ก่ 0 0 ข้ ก่ ข้ 0 Z....(0 0) ๚
๏ Z,Z,Z, ก่ ข้ 0 x.....(0 0)
0 ก่ 0 0 x ก่ ข้
0 0 ก่ 0 x 0 ก่........(0 0)
0 ก่ 0 0 ข้ ก่ ข้ 0 0....(0 0) ๚
การต่อโคลงระหว่างบท ดูตรง คำท้ายบทต้น ( Z)
ให้สัมผัส ระหว่าง คำที่ 1 2 3ของหน้าบทต่อไป( Z,Z,Z,)
หรือลงไปตำแหน่งอื่นคะ
ที่มา...http://www.pantip.com/cafe/writer/topic/W3591465/W3591465.html#1
อยากรู้จริงค่ะ				
comments powered by Disqus
  • tiki

    8 กรกฎาคม 2548 00:16 น. - comment id 489402

    กำลังคิดเรื่องการโยงโคลงอยากให้ผู้รู้
    ช่วยตอบทีทำไมมีสองความเห็น
    .ในบทประพันธ์ยุครัตนโกสินทร์นั้น
    มักโยง แบบที่ร่างไว้อย่างแรก
    
    
    แล้วเข้าไปดู รวมโคลงเก่า
    อาจไม่มีการ โยง ก็ไม่เป็นไร
    แต่การโยง สามคำบาทหน้า หรือ 
    คำที่ห้า ท้ายบาทหน้า.ตามแนวเก่าก็สับสน
    พอสมควรค่ะ
    
    จึงขอกราบเรียนท่านอาจารย์ผู้รู้ช่วยกรุณา
    ตอบที...ว่าทำไมเราไม่ได้ใช้หลัก
    คำท้ายบาทหน้า...(อย่างที่ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็น
    อย่างหลักอยุธยา สมัยพระโหราธิบดีใน
    หนังสือ จินดามณี...?)
         เพราะเมื่อค้นดูการสัมผัส เช่นในโคลง
    เฉลิมพระเกียรติ สำนวน พระบาทสมเด็จ
    พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านก็ทรงใช้
    หลัก  ๑ ๒ ๓ นี้เช่นกัน
  • tiki

    8 กรกฎาคม 2548 00:23 น. - comment id 489403

    ขอยกตัวอย่างค่ะ
    
    
    พระราชนิพนธ์โคลงเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าฯ ศิษย์รักสุนทรภู่ 
    tiki 
    
    
              พระอัทธยาไศรย
              ๑. อุภโตสุชาติ
           Well born on both side
    ๑
      ๏  พระองค์อุบัติพร้อม..............ไพรบูรรณ   ศักดิเฮย
    มหิศวรราชวรางกูร......................กอบเกื้อ
    บรมวงษวิสิฐประยูร.....................ขัติยชาติ
    อภัยพิสุทธิสืบเชื้อ......................ธิราชไท้ประฐมพงษ  ๚ 
       ๒
       ๏  ทรงพระสุพรรณบัตรตั้ง..........นามนิยม...แรกแฮ
    สองที่กรมขุนสาม........................พระซ้ำ
    คราสี่ที่กรมสม.............................เดจพระ....แลนา
    เฉลิมพระยศใหญ่ล้ำ.....................เพิ่มพื้นสุขุมพันธุ   ๚ 
                                                       พระราชนิพนธ์ 
                                                    (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕)..(*๑)
    
    .    .๏.....ขออัญเชิญโคลงท่านไท้.......สยามินทร์
    ทรงร่วมประยูรบดินทร์.........................แต่งให้
    เทิดพระเกียรติกุญชรินทร์..................กรมพระ..ยาเฮย
    บำราบปรปักษ์ไซร้............................สู่ฟ้าหน้าเมรุ... ๚ 
     tiki 
    
    ที่มา
    http://www.thaipoem.com/forever/ipage/poem69151.html
  • ด้วยมิตรไมตรี

    8 กรกฎาคม 2548 15:36 น. - comment id 489570

    เพียงเสื่อมถอยถ่อยถ้อย............แถลงนัย
    ระยำย่ำย้ำเหยียบใจ.........................จาบจ้วง
    จึงร้ายร่ายรายไป.........................ปนปลัก ตมนอ
    พอพ่อพ้อเพราะท้วง.........................กระแทกท้าด่าสวรรค์
  • ทิกิ_tiki ...4895..unlogged_in

    8 กรกฎาคม 2548 16:11 น. - comment id 489583

    บทที่สอง คือ อาชวะ หรือ Faithfulness
    ประพันธ์โดยกรมหลวง พิชิตปรีชากร
    ไม่มีการโยงโคลงระหว่าง บท ๓
    และ บท ๔
    แต่ขอนำบท ๔มาแสดงให้เยาวชนได้เห็นดั่งนี้
    ในหัวเรื่อง พระอัทธยาไศรย
                              ๒ อาชวะ
                        Faithfulness
    ๓
    ๏  
    
    ๔
    ๏   ซิ่อตรงจงรักเจ้า.........จริงจิตร
    ซื่อส่อต่อญาติมิตร............พวกพ้อง
    ซื่อซื่อเสพย์สุจริต............ต่อท่าน เองแล
    ซื่อสัตย์สิ่งซื่อซ้อง.............เอิกอื้อสรรเสริญ ๚
                                         กรมหลวงพิชิตปรีชากร
    จากหนังสือวัดบรมวงศ์อิศรวราราม
    โคลงเฉลิมพระเกียรติ  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ามหามาลา  กรมพระยาบำราบปรปักษ์  ประชุมกวีแต่งในงานพระเมรุ ปีกุน
    พ.ศ.๒๔๓๐
    
       ส่วนที่           ๕  .นิระมานะ
                            Humility  
    ๙
    ๏     พระนามบำราบสร้อย..........ปรปักษ์
    บำราบมานะหัก..........................ห่างได้
    พระเกียรติยศสูงศักดิ์................ทรงผ่อน..ลดนา
    ควรเชิดพระคุณไว้.....................แห่งห้องเวหน ๚
    ๑๐
    ๏ ไม่เลือกขนต่ำต้อย..................เลวทราม
    เคยเล่นคงทักถาม.....................ยั่วเย้า
    เชิงหยอกยั่วพองาม...................ฤๅยิ่ง...หย่อนพ่อ
    สูญพระชนม์ชนเศร้า................สลดไห้หวนหา  ๚
                                              พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
    
    คัดจากหน้า๒๑ และ ๒๓ เล่มเดียวกัน
    
    ขอบคุณที่แวะอ่านค่ะ
  • tiki

    8 กรกฎาคม 2548 16:32 น. - comment id 489596

    สำหรับ บทต่อไปในหนังสือเล่มเดียวกันที่คัดเลือกมาให้ดูการเชื่อมโยง คำท้าย
    ตามแบบฉบับพระโหราธิบดี  ผู้ประพันธ์ตำราภาษาไทยจินดามณี
    คือสองบทนี้ซึ่งกล่าวสรรเสริญเครื่องราชฯ
    		๑๕.มหาสวามิศราธิบดี
    	เครื่องราชอิสสริยยศสำหรับตระกูล  ตราจุลจอมเกล้า
    		Grand Master of the Noble
    		Order of  Chula Chom Klao
    ๒๙
    ๏   ศักราชสามสิบห้า................ปีพัน..สองเฮย
    รงงเครื่องอิสริยอัน....................รุ่งเร้า
    รัชกาลที่ห้าสรร.........................สำหรับ...ตระกูลนอ
    นามว่าจุลจอมเกล้า.................เกริกหล้าตราตรู   ๚
    ๓๐
    ๏ พระยิ่งเกียรติยิ่งรู้..................เรียงรดับ...วงษฤๅ
    พระจึ่งดำรงรับ..........................แรกผู้
    พระครูใหญ่ที่ศัพท์....................แกรนด์มาส...เตอร์นา
    พระยศถนอมเถกิงกู้................ตราบคุ้งชนม์กษัย. ๚
                                                   พระยาภาสกรวงศ์
                                               (เจ้าพระยาภาสกรวงศ์  พร)
    ที่มาจากเล่มเดียวกันหน้า ๒๘-๒๙
  • tiki

    8 กรกฎาคม 2548 16:53 น. - comment id 489606

    ..................................๒๕.จินตะกระวี.........................................
    ........................................Poetry..................................................
    ๔๙ 
    ๏   ปรีชาพระแจ่มแจ้ง..................จินตะ...กระวีเฮย
    อาจนิพนธ์พจนะ..........................เสนาะถ้อย
    เอกโทครุละ.................................หุห่อน...โทษเฮย
    ทุกบาทก็คลาดคล้อย.................เคลื่อนเบื้องฉบับบรรพ์    ๚
    ๕๐
    ๏หลายเรื่องที่ ธ ได้ ....................ทรงประ...พันธ์ฤๅ
    คือทวาทศะ................................มาศนี้  
    ยังโคลงเรื่องรามะ.....................เกียรติ์เรื่อง...หนึ่งนอ
    ห้องนาคบาศชี้...........................ชื่อได้โดยมี ๚
                                        หม่อมเจ้าวัชรินทร
    ในกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ
    (หม่อมเจ้าวัชรินทร  ในกรมหลวงบดินทรฯ)
    สำหรับ บทที่ ๒๕ เป็นที่น่าอ่านในวาทะผู้ประพันธ์และเนื้อหา
    ขออนุญาตยกมาเพื่อให้ได้เป็นความรู้ทั่วกัน
    กวีในอดีตท่านอาจจะ โยงร้อยโคลงหรือไม่โยงก็ตามใจท่าน
    แต่หากโยง ก็จะมีสองวิธีดังกล่าว..ใช่หรือไม่..
    ที่มาจากเล่มเดียวกัน หน้า ๓๕
  • ทิกิ_tiki ...4895..unlogged_in

    8 กรกฎาคม 2548 17:47 น. - comment id 489625

    เนื่องจากยังไม่มีผู้มาตอบบรรยาย
    ลักษณะโยงโคลง
    จึงได้ไปสืบค้น...ก็ได้ความหมายว่า
    บทของพระโหราธิบดีในจินดามณีนี้
    หมายความดังนี้ว่า
    
    
    ท่านกล่าวถึง ผังกลอนในบท
    
    บทเอก ก็คือ \"ให้ปลายบทเอกนั้น ........มาฟัด\"
    บทสอง ก็คือ  \"ห้าที่บทสองวัจน์ ..................ชอบพร้อง\"
    บทสาม ก็คือ...\".บทสามดุจเดียวทัด .............ในที่ เบญจนา\"
    บทหลัง  บทตำแหน่งบรรทัดที่สี่ ก็คือ
    \"ปลายแห่งบทสองต้อง........... ที่ห้าบทหลัง \"ฯ....จินดามณี
    
    จึงขอกราบเรียนท่านผู้รู้ครูบาอาจารย์ทุกท่าน
    ไว้ที่นี้ก่อนว่าความเข้าใจของข้าพเจ้าคงจะ
    ถูกต้องในชั้นนี้
  • tiki_4895...unlogged_in

    8 กรกฎาคม 2548 19:06 น. - comment id 489640

    สืบไปเจอว่า
    ในหนังสือจินดามณี
    มิได้เน้นการโยงโคลงระหว่างบท
    ต่อบทอย่างปัจจุบันเลย
    ดังนี้ค่ะ
    
     โคลงอธิบาย ( จากหนังสือจินดามณี ฉบับหอสมุดแห่งชาติ )
    ๏ ให้ปลายบทเอกนั้น ............ มาฟัด
    ห้าที่บทสองวัจน์ ...................... ชอบพร้อง
    บทสามดุจเดียวทัด ................. ในที่ เบญจนา
    ปลายแห่งบทสองต้อง ............ ที่ห้าบทหลัง
    ๏ ที่พินทุ์โทนั้นอย่า ............... พึงพินทุ์ เอกนา
    บชอบอย่าควรถวิล ............... ใส่ไว้
    ที่พินทุ์เอกอย่าจิน .................. ดาใส่ โทนา
    แม้วบมีไม้ ............................... เอกไม้โทควร
    ๏ บทเอกใส่สร้อยได้ .............. โดยมี
    แม้วจะใส่บทตรี ........................ ย่อมได้
    จัตวานพวาที ............................ ในที่ นั้นนา
    โทที่ถัดมาไซ้ ............................. เจ็ดถ้วนคำคง
    ๏ ลิขิตวิจิตรสร้อย ................... สารสรร
    คือวุตโตไทยฉันท์ ..................... บอกแจ้ง
    สถิลธนิตพันธ์ ........................... โคลงกาพย์
    จบสำเร็จเสร็จแกล้ง ................. กล่าวไว้พึงเรียน
    ๏ บทต้นทั้งสี่ไซ้ ........................ โดยใจ
    แม้วจะพินทุ์ใดใด ....................... ย่อมได้
    สี่ห้าที่ภายใน .............................. บทแรก
    แม้นมาทจักมีไม้ ......................... เอกไม้โทควร
    ๏ บทใดสอนโลกไว้ ................... เปนฉบับ
    อรรถแห่งครูอันลับ ..................... บอกแจ้ง
    บกลัวบเกรงกลับ ....................... ปรมาท ครูนา
    ตกนรกไปแย้ง ........................... ต่อด้วยยมบาล
     : ส.ร.น. - [ 19 พ.ค. 46 23:24:00 ] 
     : อังศนา  - [ 29 ก.พ. 47 12:54:25 ]     
    ที่มา
    http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P2690159/P2690159.html#29
    
    จึงมาหาคำตอบอีกทีว่า
    ระหว่างการต่อท้ายบทแบบปัจจุบัน
    และแบบอย่างที่ยกมาอย่างท้ายบาทหนึ่ง
    นั้น...มีที่มาจากไหนก่อนหน้าสมัยรัชกาลที่ ๕
    ขึ้นไป...แต่ยังหาหนังสือ โคลงของสุนทรภู่ยังไม่ได้ไม่ทราบไปเก็บที่ไหนนะคะ
    ระหว่างนี้ ก็อ่านตามลิงค์ ของคุณ อังศนา
    ไปก่อนเพื่อความรอบรู้อย่างถูกต้องค่ะ
    
    ด้วยปราถนาดี
    ทิกิ
  • คุณ โย วรินญา

    30 พฤศจิกายน 2550 13:43 น. - comment id 795030

    งง  มากค่ะ
    
    
    คุณ................น่ารักจัง
    ขอให้มีหนังสือใหม่มาขายมากมากค่ะ
  • คุณ โย วรินญา

    30 พฤศจิกายน 2550 13:48 น. - comment id 795032

    ขอให้มีหนังสือใหม่มาขายมากมากค่ะ
    
    คุณ............น่ารักจัง
    
    
    อยากรู้จักจัง
  tiki

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน