ครั้นพระชนมายุลุสิบหก บิดายกอำนาจวาสนา เสวยราชสมบัติกษัตรา และสู่ขอธิดาคู่บารมี (๒๖) คือธิดาแห่งสกุลมาตุลราช งามพิลาสยิ่งนักสมศักดิ์ศรี นามของท่านนั้นหรือคือมัทรี จัดพิธีอภิเษกสมรสพลัน (๒๗) 0 ทรงยินดีในจาคะจัดสถาน ตั้งโรงทานหกแห่งแจ้งเขตขัณฑ์ ประตูเมืองทั้งสี่มีเหมือนกัน อีกสองนั้นคือหน้าวังและกลางนคร (๒๘) เสด็จออกทอดพระเนตรเขตไกลใกล้ โปรดการให้โดยตลอดมิถอดถอน ช่วยแบ่งเบามิขาดทุกข์ราษฎร จนถึงตอนมัทรีมีประสูติกาล (๒๙) หนึ่งโอรสนามชาลีคนพี่คลอด รับกายสอดตาข่ายทองของถักสาน หนึ่งธิดานามกัณหาก็คลานตาม รับกายงามหนังหมีคลี่ปกคลุม (๓๐) 0 วาระนั้นกาลิงครัฐพิบัติมาก เกิดข้าวยากหมากแพงน้ำแล้งหลุม ฝนฟ้าผิดฤดูกาลชาวบ้านประชุม ร้องเรื่องกลุ้มหน้าพระลานผ่านราชา (๓๑) กาลิงคราชดูพระองค์ทรงพินิจ ทศพิธราชธรรมทำรักษา จึงถือศีลเบ็ดเสร็จเจ็ดเพลา ฝนไม่มาเหมือนเดิมเพิ่มพูนทุกข์ (๓๒) เสียงร่ำร้องตะเบ็งก็เซ็งแซ่ พิธีแห่นางแมวตั้งแถวปลุก ระดมสาดสายชลจนขนลุก วอนให้รุกขเทวดาอารักษ์เมือง (๓๓) ฝนยังแล้งติดต่อต่างท้อแท้ ต้นไม้แย่เกรียมกรอบมอบใบเหลือง พระราชาปรึกษาตามเรื่องความเมือง อำมาตย์ผู้ปราดเปรื่องทูลบดินท์ (๓๔) 0 ข้าพเจ้าได้ยินถิ่นสีพี เป็นบุรีอุดมสมบูรณ์สิน เพราะพระเวสสันดรเจ้าธรณิน ทรงคชสารในถิ่นสิ้นกันดาร (๓๕) ช้างปัจจัยนาเคนทร์เห็นวิเศษ เข้าแคว้นเขตใดเล่าคนกล่าวขาน นำฝนตกชุ่มฉ่ำน้ำเต็มธาร พระราชาให้ประสานวานยืมมา (๓๖) อำมาตย์ตอบว่ายากลำบากอยู่ ด้วยว่ารู้ช้างคู่บุญค้ำจุนหนา อีกทั้งเป็นพาหนะพระราชา อีกเสียงว่ามีหวังเมื่อฟังความ (๓๗) พวกหม่อมฉันได้ยินในถิ่นนั้น องค์ราชันทรงธรรมนำเขตขาม ชอบให้ทานเป็นนิจจิตใจงาม ลองจัดพราหมณ์ไปทูลขอดูสักที (๓๘) 0 จึงดำรัสจัดแปดพราหมณ์ตามที่ขอ ไม่รีรอเดินทางกันขมันขมี เมื่อไปถึงดินแดนแคว้นสีพี ตามถึงที่พระองค์ทรงช้างไป (๓๙) จึงทูลขอคเชนท์ประเด็นหลัก ตรัสถามซัก, ตอบตามตรง, พ้นสงสัย ทุกข์ประชาฝืดเคือง ณ.เมืองไกล เมตตาไปทั่วหล้าต่างธานี (๔๐) จึงสละช้างทรงองค์บริจาค พราหมณ์ลาจากขี่ช้างไปในวิถี พวกชาวบ้านเห็นทั่วกันด่าทันที ตราหน้าชี้เป็นโจรปล้นช้างมา (๔๑) ไม่รู้จักที่สูงต่ำดูทำเข้า ขี่ช้างเจ้าไม่สำนึกรู้สึกรู้สา พราหมณ์แถลงความจริงสิ่งเจรจา ว่าได้มาโดยธรรมนำชี้แจง (๔๒) 0 แล้วขับช้างเข้าเมืองกาลิงครัฐ ได้ขจัดทุกรอบตัวทุกหัวระแหง ฝนก็ตกข้าวงอกแตกชุ่มแทรกแซง หยุดแห้งแล้งกันหนอพอกันที (๔๓) ชาวประชายิ้มหัวทั่วสถาน อภินิหารช้างทรงส่งสุขี อำนาจคุณบุญญาบารมี ร่มโพธิ์ศรีโพธิ์สัตว์ป้องปัดภัย (๔๔) 0 ฝ่ายชาวเมืองสีพีนั้นตรงกันข้าม เกิดลุกลามแค้นเคืองเป็นเรื่องใหญ่ ประชาชนรวมกลุ่มก่อไม่พอใจ ยกช้างได้ต่อไปคงยกเมือง (๔๕) พวกเราคงไม่พ้นความพินาศ ไม่สามารถดำรงชีพถีบกระเดื่อง คงหมดสิ้นความสมบูรณ์และรุ่งเรือง ขอเจ้าเมืองสญชัยได้จัดการ (๔๖) ประชาชนโห่ร้องพ้องความโกรธ ให้ลงโทษเวสสันดรก้องสถาน องค์สญชัยเสด็จออกนอกพระลาน บอกพวกท่านจะดูให้ไม่ช้าพลัน (๔๗) ประชาชนเรียกร้องต้องเดี๋ยวนี้ พระภูมีบอกอย่างไรให้ห้ำหั่น ต้องประหารเวสสันดรหรือไรกัน เสียงเงียบพลันชั่วขณะก่อนตะโกน (๔๘) เราต้องการให้พระองค์ทรงเนรเทศ ขับพระเวสสันดรผ่อนหลานโหลน ยกแผ่นดินปล้นทุกอย่างไม่ต่างโจร แจก-จ่าย-โอน เปลี่ยนระบบกบเลือกนาย (๔๙) โปรดไตร่ตรองจะเดือดร้อนทุกท้องที่ เรื่องภาษีก็หนักหนาว่าเสียหาย เปลี่ยนแผ่นดินเปลี่ยนโผนโยบาย รอวันตายอย่างเดียวเชียวราษฎร (๕๐) องค์สญชัยได้ฟังประชามติ มีดำริดังว่า, ประชาถอน ดำรัสความตามหาเวสสันดร เล่าความย้อนให้ฟังยังบุตรา (๕๑) องค์พระเวสสันดรขอผ่อนผัน ขอสองวันให้ทานใหญ่ใจปรารถนา ตรัสให้ฟังของนอกกายให้ช้างงา แม้กายาจะยกให้ใครต้องการ (๕๒) ฝ่ายสนมนางในได้ยินข่าว ทั้งแก่สาวฟูมฟายในราชฐาน ระงมร้องด้วยเสียดายหลายอาการ จนข่าวผ่านสะพัดถึงมัทรี (๕๓) นางจึงขอติดตามยื่นคำขาด ขอรองบาททรงธรรม์มิหันหนี จะบุกป่าฝ่าดงเข้าพงพี ก็ยินดีตามเสด็จมิเท็จเลย (๕๔) มิขออยู่ลำพังดังเป็นม่าย ให้อับอายผู้คนหมองหม่นเอ๋ย แม้มิได้สมจินต์ถิ่นสังเวย ที่กองไฟนั้นเลยเป็นที่ตาย (๕๕) เมื่อได้ยินดังนั้นท่านอนุญาต อนงค์นาฏพรรณนาป่าหลากหลาย เขาวงกตหิมพานต์งามมากมาย สัตว์ทั้งหลายในพนาพึ่งพากัน (๕๖) อัศจรรย์บรรยายคล้ายตาเห็น ทั้งร่มเย็นเหมือนท่องแดนแสนหฤหรรษ์ ทั้งเพลิดเพลินอารมณ์ชมอรัญ นางสร้างขวัญกำลังใจให้สามี (๕๗) 0 ฝ่ายพระนางผุสดีชนนีเจ้า กำสรวลเศร้าเร่งรุดมาหาสองศรี ปลอบประโลมเวสสันดรและมัทรี จรลีไปเฝ้าท้าวสญชัย (๕๘) ทูลขอร้องให้ยกเลิกเนรเทศ ทุกข์เทวษกำสรดไม่สดใส ทรงวิงวอนให้หยุดยั้งยังขัดใจ แม้พระทัยจะเศร้าหมองก็ต้องทน (๕๙) ผละเข้าเฝ้าโศกาไปหาลูก รู้ผิดถูกแต่จำยอมพร้อมเหตุผล ต้องให้เจ้าจำพรากลำบากลำบน ประชาชนชี้ชัดเกินทัดทาน (๖๐) 0 สัตต.สดก.มหาทาน, งานสละ ให้อย่างละเจ็ดร้อยเคลื่อนคล้อยผ่าน สี่กษัตริย์ละทิ้งทรัพย์ศฤงคาร มีแผนการสู่วงกตอันลดเลี้ยว (๖๑) อัยกีอัยกามาเหนี่ยวรั้ง ให้หลานอยู่ในวังยังแลเหลียว นางมัทรีตัดพ้อต่อว่าเชียว แม้ลูกชายคนเดียวยังไล่ไป (๖๒) ทรงปกป้องมิได้ใครจะเชื่อ จะกูลเกื้อหลานได้หรือไฉน ยอมลำบากพ่อแม่ลูกพันผูกไป สัญญาไว้ไม่ทอดทิ้งลูกหญิงชาย (๖๓) ...ยังมีต่อ..
9 กุมภาพันธ์ 2548 11:10 น. - comment id 422483
ชอบครับ. เพราะชาตินี้จะมีแต่การให้ ก่อนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะต้องผ่านการบำเพ็ญเพียรนานานัปการ พระพุทธเจ้าบำเพ็ญมาทั้งหมดเป็นระยะเวลา 4 อสงไขย กับอีก 1 แสน กัปป์ เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก ผมชอบอ่านและศึกษาเรื่องของศาสนาพุทธของเรามีอีกมากมายนะครับที่ที่น่าค้นคว้า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้ให้เราเอาไว้ศึกษา มีอยู่ตอนหนึ่งในพระไตรปิฎก พระองศ์กล่าวกับพระอานนท์ว่า ดูกรพระอานนท์ ท่านจงดูใบไม้ในกำมือของเรา เมื่อกับใบไม้ทั้งป่า ใบไม้ในกำมือของเราก็เปรียบได้กับธรรมะที่เราได้แสดงไปแล้ว............. แวะมาเป็นกำลังใจให้นะครับ
9 กุมภาพันธ์ 2548 11:35 น. - comment id 422498
แวะมาเยี่ยมครับ............คุณกุ้งฯ
9 กุมภาพันธ์ 2548 11:35 น. - comment id 422499
แวะมาเยี่ยมครับ............คุณกุ้งฯ
9 กุมภาพันธ์ 2548 12:15 น. - comment id 422519
มาเยี่ยมคนเพียรค่ะ เดี๋ยวพริ๊นท์มาอ่านใหม่ค่ะ
9 กุมภาพันธ์ 2548 13:15 น. - comment id 422544
ชอบเรื่องนี้ค่ะ เคยดูละครในทีวี สงสารนางมัทรี กัณหา ชาลีมากเลยค่ะ และเกลียดตาชูชกที่สุดเลย อิอิ
9 กุมภาพันธ์ 2548 15:24 น. - comment id 422617
กลับไปนอนตื่นมาเปิดมาได้อ่านงานงามด้วยคุณธรรม เบิกบานอารมณ์จริงๆจ๊ะเพื่อน แก้วประเสริฐ.
9 กุมภาพันธ์ 2548 18:53 น. - comment id 422739
มาทักทายคุณกุ้งฯ มะกรูดมาได้ไม่นานค่ะ เดี๋ยวคอ่ยอ่านแล้วกันนะค่ะ
9 กุมภาพันธ์ 2548 22:51 น. - comment id 422831
เคยอ่าน แต่ไม่ใช่กลอนสักที ยังไงจะติดตามจนกว่าจะจบนะค่ะ ขอบคุณสำหรับการแต่งกลอนที่งดงามขนาดนี้ให้อ่านค่ะ
10 กุมภาพันธ์ 2548 11:01 น. - comment id 423052
คุณผลิใบ.. กุ้งก็ศึกษาธรรมเหมือนกันค่ะ.. บวชใจบ้าง บางเวลา.. ........................................................................ ขอขอบคุณคุณเมา...(ขออนุญาติเรียกสั้นๆ น่ะค่ะ) ........................................................................ ขอบคุณค่ะ คุณกานต์...ยังมีอีกหลายตอนน่ะค่ะ ตอนหน้าคงจะกล่าวถึงตาชูชก...ถ้ากุ้งเขียนเรื่องในป่าไม่ยาวเกินไป...นัก ........................................................................ คุณอุ๊...เมืองลิง เราชอบชูชก...แกงกเรื่องกิน...อิอิ.. ........................................................................ เพื่อนแก้ว...ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใช่รึเปล่าค่ะ.. ........................................................................ ได้เลยจ๊ะน้องมะกรูด...กุ๊ดจี่ ........................................................................ คุณตูน...ไร้เงา.. .ค่ะ กุ้งก็ชอบอ่านน่ะค่ะ อ่านอยู่หลายรอบ เป็นละครก็ดูหลายครั้ง เป็นกลอนนี่คงถ่ายทอดได้สักหนึ่งครั้ง ในชีวิต.. ขอบคุณที่ติดตามผลงานอยู่เสมอค่ะ..สัญญาว่าจะเขียนให้จบค่ะ.. ......................................................................