จากพระสุนทรโวหาร สู่...บำนาญกวี ๏ วางกลอนวอนว่าไว้............วันวาร ลุยี่สิบหกจาร..........................ฝากไว้ ระลึกวันเลือนกาล....................คำเอ่ย...เอื้อนเฮย ฝากพี่ฝากผองไซร้...................ซื่อซ้ำคำครู... ๚ ๏ สมดั่งเป็นกวีเอกเลขหนึ่งโลก สะพัดโบกขจรเรื่องเปรื่องคำหวาน พระอภัยมณีชี้เด่นเช่นนิทาน แทรกอาการเหล่าฝรั่งคลั่งล่าเมือง ๏ ได้ยกย่องก้องโลกาค่าชื่อไทย ณ.แห่งไหนย่อมเด่นคำล้ำกระเดื่อง ค่ากลอนไทยให้ต่างฃาติได้ประเทือง มาค้นหาตามเรื่อง..เฟื่อง..สามัญ ๏ ถึงว่าถือศักดินาค่าคุณพระ ศักดินาว่าจะจะสองพันนั่น เป็นไร่นาสืบมาเป็นสำคัญ แต่สืบพลันลูกหลานท่านอยู่หนใด...? ๏ เป็นกวีไร้สิทธิ..มิสำคัญ ลิขสิทธิ์ทั้งนั้นอยู่ชั้นไหน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ตราติดไว้ กวีไทยคงตาหลับ..นับถือวงศ์ ๏ ค่าลิขสิทธิ์ไม่ปิดกั้นถึงชั้นหลาน จะสืบสานยกระดับนับเคียงหงส์ ใช่แฮรี่พ็อตเตอร์เพ้อจำนงค์ ขอเผ่าพงศ์วงศ์กวีจงดีใจ.. ๚ (...๑...) ตามประวัติความเป็นมา สุนทรภู่ ท่านเกิด วันจันทร์ เดือนแปด ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ในรัชกาลที่ 1 ที่เกิด กรุงเทพฯ (ความจาก คุณ ชมนาด เสวิกุลในหนังสือเรื่อง ประวัติชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ ได้กล่าวถึง สุนทรภู่ไว้ว่า สุนทรภู่ พระสุนทรโวหาร...เรียกสามัญว่า **สุนทรภุ่** นั้น ชื่อเดิมว่า *ภู่* เกิดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ตรงกับ วันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 8.00 น. ณ บริเวณ ฝั่งธนบุรี ใกล้กับพระราชวังหลัง) ...ในแผ่นดินของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ๑ (หนึ่งนะคะ ) หลังสร้างกรุงเทพฯ (กรุงรัตนโกสินทร์) แล้ว 4 ปี เป็นกวีไทยที่มีชื่อเสียงและความเป็นเอกในเชิงกลอน .มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร ถึงแก่กรรม ปีเถาะ รวมอายุได้ 70 ปี ปี พ.ศ. 2398 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ท่านได้รับเกียรติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ องค์การยูเนสโก(UNESCO) ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม หรือนัยหนึ่งเป็นกวีเอกของโลก โดยยกลำดับขึ้นเป็นหนึ่งในกวีเอกโลก เมื่อ พ.ศ. 2529 รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่ขึ้น นับว่าท่านเป็นกวีสามัญคนเดียวที่ได้รับการสดุดียกย่องอย่างสูง ทำให้ ฐานันดรศักดิ์ของกวีไทย ที่ถูกกล่าวหามาตลอดว่า ใครเป็นกวี ก็ยากจนไปจนตาย ถึงชั้นลูกหลานนี้ น่าจะเปลี่ยนไปได้ และ สำหรับเรื่องนี้ ซึ่งเขียนถึง บำนาญกวี............ ๏ ฐานันดรศักดิ์..พรรคพวกยศ..หดตามโลก กวีโศกไม่มีจะกินถิ่นไหนไหน กวีจะเรียนไม่มีเงินเรียนหากอ่านเขียนไทย กวีอะไร ...ฤๅกวีไทย...ต้องทุกข์โศกตรม ๏ นับแต่กาล....ผ่านมา ...ถึงครานี้ สองร้อยปี ท่านกวีภู่...ดูสง่าสม แต่หากอ่านประวัติท่านซึ่งซานซม เห็นจำข่มใจลาน้ำตาคลอ ๏ ด้วยใจน้อยใจนิดคิดกันหรือ จะมาถือยศศักดิ์อัครฐานหนอ ข้าฯชั้นสูง...เอ็งชั้นต่ำ...ร่ำขมคอ เกิดและตายฤๅจักพอแผ่นดินไทย ๚ . ...(๒..) ๏ เช้าขึ้นปลายเดือน ใจไม่ลบเลือน เป็นเดือนเกิดครู ที่ยี่สิบหก ยกขึ้นเชิดชู ใจชื่นรับรู้ จะอยู่แห่งไหน ส่วนผองเพื่อนเรา เข้ามาอ่านกลอน ก่อนนอนสุขใจ รุ่งขึ้นตื่นมา วันทา ทันใด ขึ้นครูดูไหว้ จิตไม่ระคาง ได้เรียนได้ร่ำ ตามครูตามคำ สุรางคณางค์ กาพย์นี้เจ็ดบาท เพียรวาทย์คาดวาง สดสวยสะอาง สว่างเสาวคนธ์ ชื่นชอบฉอเลาะ ครูสอนว่าเพราะ อย่าเยาะอึงอล เบิกความตามเจ้า เขียนเข้าด้วยคน สุรางคณางค์ผล เขียนมนต์เช้างาม ๚ กาพย์สุรางคณางค์ http://www.thaipoem.com/web/poemdata/poemdata_55978.php ๏ วางผังวางทางอย่างเคียง เตรียมส่งเสบียง หาเลี้ยงเพียงกาพย์ฉบัง ส่งเสียงเพียงถ้อยความหวัง ห่างหนคนชัง ไกลรังแกจิตคิดหวน ความรักหนึ่งเหเซซวน.... พ่ายแพ้กระบวน ทบทวนความแปลกแตกต่าง หนึ่งคนหนึ่งรักหักวาง เพียงเรียงพยางค์ ส่งคว้างฉบังผังความ.. เทิดครู ภู่ คนดลยาม.........ขจัดขวากหนาม แลงามด้วยพระคุณครู. ๚ กาพย์ฉบัง ๑๖ ๏ สองกรวอนไหว้ครูภู่. เทิดพระคุณครู ก้มคู้งอราบอินทรีย์ เหตุด้วยบูชาครูนี้. คุณชาติบาทมี รองพลีบิดรมารดา ครูเอื้ออำนวยอวยมา ทุกศาสน์วาทย์พา ครูบาพาเจริญธรรม ยึดคำครูล้นพ้นกรรม ละบาปบุญนำ ส่งให้แต่ได้มิตรดี... ๚ กาพย์ฉบัง ๑๖ ทิกิ_tiki ๏ ก็แม้กระทั่งลูกหลานตนเองยังไม่ทราบเลยว่า บุพการีตนเขียนอะไรไว้ที่ไหนบ้าง เมื่อคิดเป็นมูลค่าแห่งการพิมพ์ แม้อย่างน้อย 5 -10 เปอร์เซ็นต์อันเป็นค่าลิขสิทธิ์การพิมพ์นี้ ... ลูกหลานก็มองเป็นของไร้ค่า...นิดน้อย. ..แต่ขอให้คิดเถิดว่า ผู้เฒ่าผู้แก่นี้นั้นหมายใจจะให้ ลูกหลานไว้เป็น บำนาญกวีให้ได้ดื่มกินใช้ต่างหน้าแม้นผู้เขียนจะจากโลกกันไปก็ตาม จึงทำให้ยังน้อยเนื้อต่ำใจอยู่ว่า ฐานันดรศักดิ์ ของกวีศรีสยาม นั้น ยังไม่ไปไหนไกลเลย .....คงมีคนเพียง กระหยิบมือเดียว ซึ่งจะยังสนใจบทกลอน อ่านกลอน เขียนกลอนกันอยู่ ๚ ๏ บทนี้เขียนให้ต่อเนื่องจาก บทที่แล้ว..รำพึงถ้อย พระ(ครูศรี)สุนทรโวหาร http://www.thaipoem.com/web/poemdata.php?id=55872 คงขอไปเรื่องสั้นดีกว่านะคะเพราะยาวมากแล้ว http://www.thaipoem.com/web/scoopdata.php?id=2704 ๏ ท่านที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลทั้งหมดที่ รวบรวมข้อมูลของทั้งหมดไว้ที่ กระทู้ซ้ายสุดของหน้าแรก http://www.thaipoem.com/web/boarddata.php?id=3292 เชิญเข้าไปค้นได้ค่ะ .(...๑...) tiki_ทิกิ - [ 24 มิ.ย. 47 17:02:41 ] ...(๒..) 21:50 นาฬิกา 25 มิถุนายน 2547 สงวนลิขสิทธิ..ตามพระราชบัญญัติ Copyright ..All rights reserved ทิกิ_tiki
25 มิถุนายน 2547 22:32 น. - comment id 289923
๏ ฐานันดรศักดิ์พรรคพวกยศหดตามโลก กวีโศกไม่มีจะกินถิ่นไหนไหน กวีจะเรียนไม่มีเงินเรียนหากอ่านเขียนไทย กวีอะไร ...ฤๅกวีไทย...ต้องทุกข์โศกตรม นับแต่กาล....ผ่านมา ...ถึงครานี้ สองร้อยปี ท่านกวีภู่...ดูสง่าสม แต่หากอ่านประวัติท่านซึ่งซานซม เห็นจำข่มใจลาน้ำตาคลอ ด้วยใจน้อยใจนิดคิดกันหรือ จะมาถือยศศักดิ์อัครฐานหนอ ข้าฯชั้นสูง...เอ็งชั้นต่ำ...ร่ำขมคอ เกิดและตายฤๅจักพอแผ่นดินไทย ๚ . ทิกิ_tiki 21:50 นาฬิกา 25 มิถุนายน 2547
25 มิถุนายน 2547 22:48 น. - comment id 289927
แง๊ง นัสก้อส่งกลอนไป อาจารย์บังคับ แต่งมะได้เรื่องเล๊ย มาอ่านของพี่ทิกิแล้ว ยิ่งพบสัจจธรรมว่ามัน ม่ายด้ายเรื่องมากๆๆๆๆๆๆ เหอๆ มาทักทายนะค๊า^^
25 มิถุนายน 2547 22:51 น. - comment id 289928
เขาว่า สุนทรภู่เป็น กวี อาลักษณ์ขี้เมา เจ้าชู้ อยู่อย่างไพร่ ไร้คูหา........ แต่ว่ากันแล้วสุนทรภู่ เป็น เรียนรู้เท่าทันโลก เกิดวังหลัง เป็นผู้ดีบางกอก......ที่สำคัญสุนทรภู่มีบรรพบุรุษเป็น พราหมณ์อยู่เมืองเพชร.. เข้ามาชมทีไรก็ขอชมทุกทีครับ....
25 มิถุนายน 2547 23:16 น. - comment id 289941
แง๊ง นัสก้อส่งกลอนไป อาจารย์บังคับ แต่งมะได้เรื่องเล๊ย มาอ่านของพี่ทิกิแล้ว ยิ่งพบสัจจธรรมว่ามัน ม่ายด้ายเรื่องมากๆๆๆๆๆๆ เหอๆ มาทักทายนะค๊า^^ จาก : ช็อกโกแล็ต(ไม่ได้ล็อกอินค่ะ) รหัส - วัน เวลา : 294281 - 25 มิ.ย. 47 - 22:48 อะไรล่ะน้องนัส ช็อคโรแล็ต เอ๊ยยยยย เขียนอะไร ก็ดีทั้งนั้นแหละ เขียนด้วยใจซะพอแล้ว อ่านอะไรเป็นปึก ๆ ห้าเล่มสิบเล่ม ก็เขียนมาบทเดียวเนี่ยแหละ
25 มิถุนายน 2547 23:21 น. - comment id 289945
เขาว่า สุนทรภู่เป็น กวี อาลักษณ์ขี้เมา เจ้าชู้ อยู่อย่างไพร่ ไร้คูหา........ แต่ว่ากันแล้วสุนทรภู่ เป็น เรียนรู้เท่าทันโลก เกิดวังหลัง เป็นผู้ดีบางกอก......ที่สำคัญสุนทรภู่มีบรรพบุรุษเป็น พราหมณ์อยู่เมืองเพชร.. เข้ามาชมทีไรก็ขอชมทุกทีครับ.... จาก : เอกมาศ รหัส - วัน เวลา : 294282 - 25 มิ.ย. 47 - 22:51 สรุปรวมทุกเล่มนั่งอ่านมาหลายถ้อยกระทงความ.... ทำให้นึกถึงเพื่อน สาว ลูกสาวอาจารย์ล้อม เพ็งแก้วเมืองเพชร จำไม่ได้ว่าเธอทำ วิทยานิพนธ์ สุนทรภู่ นิราศเมืองเพชร จบหรือไม่ ไว้จะต้องอ่านประวัติท่านมากขึ้นกว่าเดิมค่ะยิ่งอ่าน ยิ่งยอมรับว่า รู้น้อยลงทุกที โดยเฉพาะงานเขียนท่านแต่ละอย่างนั้น บทเดียวก็สามารถอรรถาธิบายกันได้หลายหน้ากระดาษเลยนะคะ ขอบคุณที่มาชมค่ะ
25 มิถุนายน 2547 23:28 น. - comment id 289949
แวะมาทักทายค่ะ
25 มิถุนายน 2547 23:34 น. - comment id 289952
คุณทิกิ.. ชื่นชมผลงานของคุณมากๆ อยากให้คนไทยรักในภาษาไทย วรรณกรรมไทย โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน กันมากๆ กลัววันหน้า อีก ๒๐๐ ปี สิ่งเหล่านี้จะขาดคนสืบทอด
25 มิถุนายน 2547 23:48 น. - comment id 289960
งานดีเป็นทียิ่งค่ะ รวบรวมข้อมูลของทั้งหมดไว้ที่ กระทู้ซ้ายสุดของหน้าแรก http://www.thaipoem.com/web/boarddata.php?id=3292 เชิญเข้าไปค้นได้ค่ะ
26 มิถุนายน 2547 00:26 น. - comment id 289977
แวะมาทักทายค่ะ จาก : รหัสสมาชิก : 8220 - rin รหัส - วัน เวลา : 294304 - 25 มิ.ย. 47 - 23:28 ขอขอบคุณมากค่ะ คุณ 8220 - rin คะ
26 มิถุนายน 2547 00:29 น. - comment id 289978
คุณทิกิ.. ชื่นชมผลงานของคุณมากๆ อยากให้คนไทยรักในภาษาไทย วรรณกรรมไทย โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน กันมากๆ กลัววันหน้า อีก ๒๐๐ ปี สิ่งเหล่านี้จะขาดคนสืบทอด จาก : รหัสสมาชิก : 8413 - กอกก รหัส - วัน เวลา : 294307 - 25 มิ.ย. 47 - 23:34 เห็นด้วยกับคุณ กอกก นะคะ ทิกิ ถึง เอาใจ๊ เอาใจ คุณน้องๆตัวเล็กตัวน้อยทั้งหลายแถวนี้ ขอให้มาอ่านนะ มาอ่านก็ยังดี ไม่เขียนก็ไม่ว่า อ่านทุกวัน เดี๋ยวก็เขียนได้เองนะคะ แต่ถ้าเขียนทุกวัน รับรองเก่งไปอีกสองร้อยปียังมีงาน กลอน โคลง สมัยหน้าอาจเรียกอย่างอื่นกันไปอีกมากก็ได้ค่ะ ขอบคุณในความเห้นยินดียิ่งค่ะ ทิกิ_tiki
26 มิถุนายน 2547 09:01 น. - comment id 290047
ร่วมรำลึก ยอดกวีไทย... ขอบคุณที่เล่าประวัติของท่านด้วยครับ หลายๆเรื่องพันดาวยังไม่รู้เลย ขอบคุณในทุกความเป็นของเพื่อนๆด้วย ให้ความรู้ดีครับ
26 มิถุนายน 2547 11:11 น. - comment id 290089
เช้าขึ้นปลายเดือน ใจไม่ลบเลือน เป็นเดือนเกิดครู ที่ยี่สิบหก ยกขึ้นเชิดชู ใจชื่นรับรู้ จะอยู่แห่งไหน ส่วนผองเพื่อนเรา เข้ามาอ่านกลอน ก่อนนอนสุขใจ รุ่งขึ้นตื่นมา วันทา ทันใด ขึ้นครูดูไหว้ จิตไม่ระคาง ได้เรียนได้ร่ำ ตามครูตามคำ สุรางคณางค์ กาพย์นี้เจ็ดบาท เพียรวาทย์คาดวาง สดสวยสะอาง สว่างเสาวคนธ์ ชื่นชอบฉอเลาะ ครูสอนว่าเพราะ อย่าเยาะอึงอล เบิกความตามเจ้า เขียนเข้าด้วยคน สุรางคณางค์ผล เขียนมนต์เช้างาม กาพย์สุรางคณางค์ http://www.thaipoem.com/web/poemdata/poemdata_55978.php ขอเปลี่ยนบาทนี้นะคะ ไปเร็วไปหน่อยค่ะคุณฤกษ์ขา ชื่นชอบฉอเลาะ ครูสอนว่าเพราะ อย่าเยาะอึงอล ขอบคุณค่ะ คุณฤกษ์ขา ทิกิ_tiki จาก : รหัสสมาชิก : 4895 - tiki รหัส - วัน เวลา : 294459 - 26 มิ.ย. 47 - 11:07
26 มิถุนายน 2547 11:19 น. - comment id 290091
ร่วมรำลึก ยอดกวีไทย... ขอบคุณที่เล่าประวัติของท่านด้วยครับ หลายๆเรื่องพันดาวยังไม่รู้เลย ขอบคุณในทุกความเป็นของเพื่อนๆด้วย ให้ความรู้ดีครับ จาก : รหัสสมาชิก : 6703 - พันดาว รหัส - วัน เวลา : 294418 - 26 มิ.ย. 47 - 09:01 ยามหวนรำลึกถึงท่านก็อ่าน ความในเนื้อเรื่องทีไหล เทียบกับประวัติชีวิตท่านแล้วเห็นชัดว่า สอดแทรกตัดพ้อต่อว่า น้อยเนื้อต่ำใจในวาสนาตนมาชัดเจน โดยเฉพาะ นิราศ ต่างๆนั้น สะดุ้ง สะดุด อึ้ง เสมอค่ะ lสำหรับเพลงยาว สองเพลงของท่านนั้น เห็นได้ชัดว่าสอนอะไร เป็นการสอนหลักการดำเนินชีวิต ไทย อันเด่นชัด น่ายกย่อง น่าเคารพ น่า สืบทอด อย่างที่ คุณ 8413 - กอกก มาเขียนไว้จริงๆค่ะ แต่ต้องขอเวลา พิจารณาเทียบ สักฟักนะคะ ทิกิ_tiki
26 มิถุนายน 2547 11:33 น. - comment id 290098
ดนตรีคือชีวิตจริง ๆ เพราะแกมีกระป๋องเก่า ๆตอกไม้ขึงสายทำเป็นเหมือนซอเดินสีดังเป็นเพลงบ้างไม่เป็นเพลงบ้างขอตังเขากินข้าวมีชีวิตไปวัน ๆ อยู่ด้วยดนตรี อิอิ จาก : รหัสสมาชิก : 4068 - ฤกษ์ ชัยพฤกษ์ รหัส - วัน เวลา : 294424 - 26 มิ.ย. 47 - 09:25 คุณฤกษ์ เขียนเช่นนี้ ทำให้หนึ่งถึง ที่มาแห่งเพลงสังขารา ถือไหว้ ครูของหุ่นชนิดหนึ่ง ที่มาแห่ง ศิลปินตาบอดไทย สีซอ เพลงนี้เสมอ จึงกลายมาเป็น ขึ้น เพลง สังขาร ไว้จะโค้ดประวัติ มาให้อ่านทีหลังค่ะ เอ้า พอให้น้ำลายไหลหน่อย ๏ ทีนี้เราพูดถึงลักษณะของวิธีการแสดงหุ่นกระบอกแล้ว เรามาพูดถึงดนตรีก่อน เมื่อเอาบทและวิธีการแสดงละครนอกมา ดนตรีก็ต้องใช้ดนตรีและการขับร้องแบบละครนอกด้วย แต่ว่าหุ่นกระบอกมีพิเศษอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ลักษณะของ ที่คนไทยเรามีความกตัญญูรู้คุณ เราเอาหุ่นกระบอกมาจากชาติไหน เลียนแบบมาจากหุ่นอะไร หุ่นจีนไหหลำ ก่อนเล่นเนี่ย เราจะต้องมีการสีซอก่อน คือหุ่นจีนสีซอด้วง เสียงแหลม เป็นซอจีน แต่ว่าคนไทยเราก็ใช้ซออู้แทน สีซออู้ เราจะเห็นน่ะ เพลงซออู้ พอได้ยินปุ๊บก็เลยว่าเป็นเพลงหุ่นกระบอก (อู่ อู อู้ อู อู อู้ อู อู่ อู้ อู) นี่คือเพลงหุ่นกระบอก ท่อนของเพลงหุ่นกระบอกเค้ามาใส่เพลงอะไรรู้มั้ย เพลงส้มตำ เพลงส้มตำเค้าเอาท่อนหนึ่งของเพลงหุ่นกระบอกมาใส่ก่อน (หน่อย นอย นิ นอย..) นี่คือเพลงหุ่นกระบอกที่คนสมัยใหม่เนี่ย แต่ว่าคนสมัยใหม่เนี่ยนะเอาเพลงโบราณมาแต่ไม่เคยให้เกียรติท่าน เหมือนรักน้องพร ยอยศพระลอ มาจากเพลงลาวกระทบไม้ทั้งนั้น เพลงลาวกระทบไม้ คูรมนตรี ตราโมท เป็นคนแต่งด้วย เพลงหลายเพลงที่เอามาจากเพลงไทยเดิม แล้วยังมีคนแต่งยังมีอยู่ แล้วไม่ค่อยให้เกียรติคนแต่ง เช่นหลายเพลงอย่างของคุณครูมนตรี ทีนี้เมื่อต้องมีซออู้สีก่อน เป็นประเพณี แล้วก็ต้องมีเพลงที่เรียกว่า เพลงหุ่นกระบอก เป็นเพลงเฉพาะอีกที่จะต้องบรรยายความ เพลงหุ่นกระบอกเนี่ยเดิมเราจะเรียกว่า เพลงสังขารา ที่เหตุเพราะว่า เพลงสังขารานี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เกิดจากใครรู้ไหม เพลงสังขารา ที่พัฒนามาเป็นเพลงหุ่นกระบอกเกิดจากตาลุงขอทานคนหนึ่ง สีซอ ตาขอทานนี่แกตาบอด แล้วแกก็สีซอไปด้วย ร้องไปด้วย ร้องในลักษณะปลงอนิจจังสังขารของแกว่าไปด้วย รุ่นใหม่คงไม่เคยได้ยินเพลงขอทาน เพลงขอทานรุ่นสุดท้ายยังพอได้ยินอยู่ ยายสำอางค์ ปัจจุบันตายหรือยังก็ไม่รู้ ยายสำอางค์นี่ก็เป็นเพลงขอทาน เพลงขอทานสมัยก่อน ค้าไม่ใช่นั่งหรือนอนอยู่บนสะพานลอยขอเฉย ๆ ต้องมีอะไรแลกเปลี่ยนกับคนดู เช่น ร้องเพลขอทาน เล่านิทาน อะไรอย่างนี้ เพลงขอทานถือว่าเป็นเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่ง แล้วตาสังขารานี่ แกมีความสามารถสีซอแล้วก็ร้องเพลงขอทาน ร้องเป็นเรื่องเป็นราว ถ้าเป็นเพลงขอทาน อย่างเพลงของพวกยายสำอางค์จะตีกรับ ตีฉาบประอบไปด้วย เล่าเป็นเรื่องเป็นราว จะเล่นเรื่องพระอภัยมณี ลักษณาวงศ์ เค้าก็ร้องเป็นเรื่องเป็นราวให้คนได้ฟังเลย ทีนี้เพลงหุ่นกระบอกพัฒนามาจากเพลงขอทาน ตาลุงที่สีซอชื่อเดิมไม่รู้ แต่แกสีซอแล้วก็ร้องเพลง เกี่ยวกับปลงอนิจจังสังขาร ความไม่เที่ยงต่าง ๆ เค้าก็เลยเรียกแกว่า สังขารา เพลงที่เอามาใช้ประกอบหุ่นกระบอก เราเรียกว่า เพลงสังขารา เพลงสังขารา นี่เราจะต้องสีเพลงสังขาราก่อน แล้วก็ร้องเพลงเพื่อบรรยาย ความด้วยเพลงหุ่นกระบอกก่อน ขอยกถ้อยท่านอาจารย์ ๏ การ อาจารย์สุรัตน์ จงดา ข้าราชการกรมศิลปากรท่านนี้มาเพียงเท่านี้ก่อนนะคะ คราวหน้ามีเวลาจะเขียนรวมต่อในเรื่องสั้นอีกทีค่ะ ทิกิ_tiki
26 มิถุนายน 2547 12:08 น. - comment id 290105
สวัสดีค่ะคุณทิกิ.. สบายดีนะค่ะ... ดาหลาขอมาร่วมรำลึกถึงบรมครูด้วยคนนะคะ... คิดถึงมากค่ะ... ขอให้คุณทิกิมีความสุขมากๆนะค่ะ...
26 มิถุนายน 2547 12:11 น. - comment id 290107
สวัสดีค่ะคุณทิกิ.. สบายดีนะค่ะ... ดาหลาขอมาร่วมรำลึกถึงบรมครูด้วยคนนะคะ... คิดถึงมากค่ะ... ขอให้คุณทิกิมีความสุขมากๆนะค่ะ... จาก : ดาหลาค่ะ... รหัส - วัน เวลา : 294478 - 26 มิ.ย. 47 - 12:08 -ขอบคุณ คุณดาหลา มากค่ะ คิดถึงเช่นกันนะคะ ทิกิ_tiki
26 มิถุนายน 2547 12:50 น. - comment id 290129
ประมวลความจากข้อความในหนังสือหลายเล่ม และ ที่เด่น คือ สำนักพิมพ์ อำนวยสาส์น ของคุณ ชมนาด เสวิกุลนี้ก็ว่าไว้ว่า นายพัด กับนายตาบ บุตรชายของพระสุนทรโวหาร นั้นอยู่มาจนถึงรัชกาลที 5 ทั้งสองคน ส่วนนาย ตาบ เป็น *กวี* ตามบิดา มีหลักฐานสำนวนแต่งเพลงยาวปรากฎอยู่ ส่วน นาย* นิล* ไม่มีหลักฐานปรากฎ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ทึ่ 6 ผู้สืบสกุลของพระสุนทรโวหาร ใช้นามสกุลว่า ** ภู่เรือหงษ์** ที่มา *ประวัติชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ ฉบับสมบูรณ์ . สำนักพิมพ์ อำนวยสาส์น โดยคุณ ชมนาด เสวิกุล หน้า 183. พ.ศ. 2533
26 มิถุนายน 2547 14:59 น. - comment id 290181
** ท่านศรีสุนทรโวหาร สี่รัชกาล เนิ่นนานนับวันเวลา ** ครุ่นคิดจิตหวนครวญหา ครูกวีเลิศฟ้า แกร่งกล้าเกียรติก้องครองใจ ** ท่านคือกวีแก้วแห่งไทย เพริศแพร้วพิศมัย สว่างไปในพื้นพสุธา ** อัญเชิญทวยเทพเทวา สามภพจบหล้า เทิดฟ้า..บูชา..ครูกลอน.....ฯ มาร่วมรำลึกถึง..สุนทรภู่..ครูกวีของไทย....นะ คะ..
26 มิถุนายน 2547 18:32 น. - comment id 290251
วางกลอนวอนว่าไว้............วันวาร ลุยี่สิบหกจาร..........................ฝากไว้ ระลึกวันเลือนกาล....................คำเอ่ย...เอื้อนเฮย ฝากพี่ฝากผองไซร้...................ซื่อซ้ำคำครู
26 มิถุนายน 2547 18:44 น. - comment id 290256
๏ ** ท่านศรีสุนทรโวหาร สี่รัชกาล เนิ่นนานนับวันเวลา ** ครุ่นคิดจิตหวนครวญหา ครูกวีเลิศฟ้า แกร่งกล้าเกียรติก้องครองใจ ** ท่านคือกวีแก้วแห่งไทย เพริศแพร้วพิศมัย สว่างไปในพื้นพสุธา ** อัญเชิญทวยเทพเทวา สามภพจบหล้า เทิดฟ้า..บูชา..ครูกลอน.....ฯ.(.ราชิกา ) ๚ ๏ วางผังวางทางอย่างเคียง เตรียมส่งเสบียง หาเลี้ยงเพียงกาพย์ฉบัง ส่งเสียงเพียงถ้อยความหวัง ห่างหนคนชัง ไกลรังแกจิตคิดหวน ความรักหนึ่งเหเซซวน.... พ่ายแพ้กระบวน ทบทวนความแปลกแตกต่าง หนึ่งคนหนึ่งรักหักวาง เพียงเรียงพยางค์ ส่งคว้างฉบังผังความ.. เทิดครู ภู่ คนดลยาม.........ขจัดขวากหนาม แลงามด้วยพระคุณครู.(ทิกิ) มาร่วมรำลึกถึง..สุนทรภู่..ครูกวีของไทย....นะ คะ.. จาก : รหัสสมาชิก : 3197 - ราชิกา รหัส - วัน เวลา : 294568 - 26 มิ.ย. 47 - 14:59 ขอขอบพระคุณในกรุณาทำให้หน้านี้มีชีวิตชีวาอย่างสูงค่ะ คุณราชิกาคะ ทิกิ
26 มิถุนายน 2547 19:25 น. - comment id 290270
ครับเก่งครับเก่งจริงเสียด้วย นี่ก็อีกหนึ่งที่เป็นยอดนักปรัชญาหญิงที่เสนอสนองหาข้อมูลต่างๆมาให้พวกเราได้รับรู้ไว้ประดับสติปัญญาจนตกทอดเป็นบำนาญกวีตลอดชีวประวัติฝากเอาไว้ ขอบคุณมากครับ แก้วประเสริฐ.
26 มิถุนายน 2547 20:41 น. - comment id 290288
สองกรวอนไหว้ครูภู่. เทิดพระคุณครู ก้มคู้งอราบอินทรีย์ เหตุด้วยบูชาครูนี้. คุณชาติบาทมี รองพลีบิดรมารดา ครูเอื้ออำนวยอวยมา ทุกศาสน์วาทย์พา ครูบาพาเจริญธรรม ยึดคำครูล้นพ้นกรรม ละบาปบุญนำ ส่งให้แต่ได้มิตรดี มาร่วมรำลึกถึง..สุนทรภู่..ครูกวีของไทย....นะคะ.. กาพย์ฉบัง ๑๖
26 มิถุนายน 2547 20:43 น. - comment id 290289
ครับเก่งครับเก่งจริงเสียด้วย นี่ก็อีกหนึ่งที่เป็นยอดนักปรัชญาหญิงที่เสนอสนองหาข้อมูลต่างๆมาให้พวกเราได้รับรู้ไว้ประดับสติปัญญาจนตกทอดเป็นบำนาญกวีตลอดชีวประวัติฝากเอาไว้ ขอบคุณมากครับ แก้วประเสริฐ. จาก : แก้วประเสริฐ รหัส 6104 รหัส - วัน เวลา : 294681 - 26 มิ.ย. 47 - 19:25 ขอบคุณคำเยิรยอท่านมากค่ะ
26 มิถุนายน 2547 21:32 น. - comment id 290320
เทิดทูนครับผม...ท่านเป็นบรมครูที่ผมเคารพมาก บทกลอนก็ไพเราะมากครับ
26 มิถุนายน 2547 21:45 น. - comment id 290329
พู่กันคะ ขอบคุณที่มาร่วมไหว้ครู และ ชื่นชม มาจากน้ำใจเพื่อนทุกคนทุกเว็บค่ะ
28 มิถุนายน 2547 01:36 น. - comment id 290821
ทั้งนิราศเรื่องนิทานสุภาษิต อุทิศไว้อนุชนช่วยสืบสาน เรารุ่นหลังรักษาไว้ในกลอนกานท์ เป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งคำนึงเอย
28 มิถุนายน 2547 02:17 น. - comment id 290835
ทั้งนิราศเรื่องนิทานสุภาษิต อุทิศไว้อนุชนช่วยสืบสาน เรารุ่นหลังรักษาไว้ในกลอนกานท์ เป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งคำนึงเอย จาก : รหัสสมาชิก : 5053 - ชัยชนะ รหัส - วัน เวลา : 295288 - 28 มิ.ย. 47 - 01:36 ขอบคุณ คุณ ชัยชนะ เป็นที่ยิ่งค่ะ
7 มิถุนายน 2549 11:00 น. - comment id 414611
ขอประวัติสุนทรภู่ เป็นภาอังกฤษด้วยครับ