พระยาจักรี
ปติ ตันขุนทด
พระยาจักรีชั่วช้า ทรยศ
เอาพม่าเป็นกำหนด เที่ยงแท้
กรุงศรีัอ่อนรันทด เสียแก่ พม่าแฮ
เป็นแต่ไทยเองแล้ ช่วยข้างพม่ามอญ
ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองให้เข้าระดมตีกรุงศรีอยุธยาอีกหลายครั้งก็เข้าเมืองไม่ได้ เพราะข้างในกรุงฯ ข้าราชการทั้งปวงพร้อมใจกันต่อสู้เป็นสามารถ จนถึงเดือน ๗ ยังตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้ จึงคิดกลอุบาย
เอาพระยาจักรีซึ่งได้ตัวไปจากกรุงศรีอยุธยาคราวเสียพระสุริโยทัยนั้นมาเกลี้ยกล่อม
พระยาจักรีรับอาสาจะเข้ามาเป็นไส้ศึก พระเจ้าหงสาวดีจึงแกล้งให้จำพระยาจักรีแล้วเอาตัวไปคุมไว้ในค่ายตะวันตก สั่งเป็นความลับแก่นายทัพที่ควบคุมให้แกล้งทำละเลยให้พระยาจักรีหนีมาได้ทั้งเครื่องพันธนาการ
เวลากลางคืนวันหนึ่ง พระยาจักรีหนีมาทั้งเครื่องพันธนาการ เข้ามาหาเจ้าหน้าที่รักษาพระนครทางด้านวัดสบสวรรค์ ครั้นรุ่งเช้านายทัพพม่าซ้ำให้เอาผู้คุมมาตัดศีรษะเสียบไว้ที่ริมน้ำให้ไทยเห็น จะมิให้สงสัยว่าแกล้งปล่อยพระยาาจักรีเข้ามา
พระมหินรไม่ทราบว่าเป็นกลอุบายของบุเรงนอง สำคัญว่าพระยาจักรีหนี (คิดโง่ ๆ ) เข้ามาได้ก็ยินดี (จะเสียกรุงเพราะคิดเชื่อคนทรยศ) จึงตั้งพระยาจักรีให้เป็นผู้บัญชาการรักษาพระนครแทนพระยาราม
พระยาจักรีก็ตั้งต้นคิดอุบายทรยศต่าง กล่าวคือ
ทูลยุยงว่า พระศรีเสาวราชน้องยาเธอจะเป็นขบถ จนถูกสำเร็จโทษ ๑
ข้าราชการคนไหนที่มีฝีมือต่อสู้ข้าศึกเข้มแข็งก็แกล้งย้ายหน้าที่ให้ไปรักษาการทางที่ไม่มีข้าศึกจะเข้ามา ๑
เอาคนที่เห็นว่าอ่อนแอมารักษาหน้าที่ที่สำคัญ ๑
พระยาจักรีพยายามทำการทรยศมาจนเห็นว่าการรักษาพระนครอ่อนแอมากเต็มทีแล้ว ก็ลอบให้สัญญาออกไปยังกองทัพพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง
บุเรงนองจึงให้ระดมตีพระสนครพร้อมกันทุกด้าน ก็เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เมื่อวันอาทิตย์ เดือนเก้า แรมสิบเอ็ดค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๑๒ คิดเวลาตั้งแต่ล้อมเมืองมาได้ ๙ เดือน ( 9 เป็นเลขดี ที่เสียกรุงในเวลาเก้าเดือน)
บุเรงนองเอาพระยาจักรีไปเลี้ยงไว้หน่อยหนึ่ง แล้วก็พาลเอาผิดให้ประหารชีวิตเสีย ด้วยเกลียดชังว่าเป็นคนทรยศต่อบ้านเมืองของตนเอง
***ไทยรบพม่า*** กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บรรณาคาร กรุงเทพฯ