๐ ค่อยสืบเท้าก้าวย่างอย่างช้าช้า เอาไม้เท้าแทนตาฝ่ากีดขวาง ท่องไปทั่วท่ามชนบนหนทาง โลกเลือนลางวางเท้าราวยากเย็น ๐ กับเครื่องน้อยห้อยคอพอผ่อนเสียง ปรับปุ่มเรียงเพียงว่าอย่างตาเห็น ขับขานเพลงบรรเลงมาว่าลำเค็ญ แสนยากเข็นเป็นประจำเฝ้าทำมา ๐ เพราะตามองไม่เห็นเช่นคนเขา แต่นานเนาว์อาภัพอับวาสนา อาศัยสรรพสำเนียงเลี้ยงกายา บางเวลาพาพลอยให้น้อยใจ ๐ ฟังแต่เสียงสำเนียงหวานกังวานหวัง เสนาะดังครั้งผ่านทุกย่านไหน สะท้อนเสียงเจรียงขานสื่อสารไป เพื่อบางใครอวยทานยามผ่านทาง ๐ ไม่ไพเราะดังบรรเลงเพลงสวรรค์ หากกล่อมกันวันยากสู้ถากถาง เป็นเพลงเพื่อชีวิตมิคิดพราง เมื่อรุ่งรางทุกเช้าออกก้าวเดิน ๐ ในโลกดำคล้ำมิดชีวิตมืด อย่าใจจืดเจียดให้อย่าได้เขิน เห็นเขาผ่านท่านไปในทางเดิน หากบังเอิญสวนมาอย่าละเลย ๐ มิหวังว่าวันใดได้ชื่อเสียง เพราะหวังเพียงเลี้ยงคู่มิอยู่เฉย เห็นวันนี้มาเดียวเปลี่ยวใจเอย ขาดคู่เคยเคียงข้างมิห่างกัน ๐ ยังสืบเท้าก้าวย่างอย่างมีหวัง ส่งเสียงดังกังวานสารเสกสรรค์ เพื่อหล่อเลี้ยงเพียงพอวันต่อวัน ใช่จะฝันสิ่งใดไกลเกินตัว..ฯ ...... คนกุลา ต้นเหมันต์ ......... เพลงขอทานหรือวณิพก เป็นเพลงพื้นบ้าน ชนิดหนึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ คงเนื่อง มาจากการเล่านิทาน ให้คนฟังสมัยก่อน มีการรับจ้างเล่านิทาน วันใดไม่มีคนมาจ้าง ก็ต้องตระเวณไปเล่าในที่ต่างๆ เพื่อขอแลก เปลี่ยนเป็นเงิน หรือสิ่งของ เพลงขอทาน มีทำนองเป็นเอกลักษณ์โดย เฉพาะ สมัยก่อนเวลามีงานวัด จะต้องมี การหาของไว้เข้าโรงครัว บรรดาทายก หรือกรรมการวัดจะต้องออกไปเรี่ยราย ข้าวสารอาหารแห้งเป็นประจำ จึงต้องมี การร้องขอ ครั้นจะร้องธรรมดา ก็รู้สึกว่า ไม่จูงใจคนทำบุญ จึงแต่งเนื้อเพลง โดยยึด เอานิทานชาดกเป็นหลัก ใส่ทำนอง มีลูกคู่ และเพิ่มเครื่องกำกับจังหวะตามถนัด เมื่อ ได้สิ่งของมาก็เอาเข้าวัด ต่อมามีผู้เลียนแบบ และยึดเป็นอาชีพไปเลยก็มี การขอแบบมีเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีแลก เปลี่ยน เรียกว่า "วณิพก " แต่ถ้าไม่มีเสียง เพลงหรือเสียงดนตรีแลกเปลี่ยน เรียกว่า "ยาจก"หรือ "กระยาจก " ............. เมื่อปีที่แล้วได้มีการผลักดันให้เปลี่ยนชื่อ ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทานมาเป็น พ.ร.บ.ส่งเสริมศักยภาพของมนุษย์ เพื่อให้ฟังแล้วไม่เป็นการเหยียดหยามกัน พร้อมกับขอแยกวณิพกออกจากขอทาน ให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้เป็นวณิพกสามารถ ใช้เสียงดนตรีเลี้ยงชีพได้โดยสุจริต แต่สำหรับคนเราทั่วๆถ้าเลือกได้ คงขอ ไม่เป็นทั้งวณิพกและขอทานน่าจะดีกว่า ใช่ไหม ครับ (มติชนออนไลน์ ๒๒ ต.ค. ๒๕๕๑)
26 ตุลาคม 2552 11:47 น. - comment id 1056863
ชีวิตยังไม่สิ้นก็ต้องดิ้นต่อไป แวะมาชื่นชมครับ
26 ตุลาคม 2552 16:20 น. - comment id 1056914
ร้องไม่เพราะให้ 5 บาท ร้องเพราะให้ 20 บาทเลยค่ะ เวลาเจอที่ตลาด
26 ตุลาคม 2552 17:35 น. - comment id 1056926
ตอนเป็นเด็กเคยดูลิเกวนิพกครับ พอเล่นไปสักครึ่งเรื่องก็จะลงโรงมาเรี่ยไร คนดูก็ใส่ให้กันคนละบาทสองบาท เพลงขอทานเดี๋ยวนี้หาฟังจากวนิพกแทบไม่ได้เลยนะครับ กรมศิลป์ คงมีการอนุรักษ์ไว้ เคยฟังจากนักดนตรีไทยเขาใช้ซออู้สีเคล้านักร้องทำนองเพลงสังขารา มีกลอง กรับฉิ่งประกอบสนุกสนานดี แต่ไม่แน่ใจว่าเขาจะเรียกเพลงขอทานหรือเปล่า ฟังทำนองคล้ายๆเพลงส้มตำล่ะครับ
26 ตุลาคม 2552 19:22 น. - comment id 1056945
ชีวิตยังไม่สิ้นก็ต้องดิ้นต่อไป แวะมาชื่นชมครับ บพิตร """""""""""""""" คงต้องอย่างนั้น แหละครับ ชีวิต คน ขอบคุณ ที่มาให้กำลังใจ ครับ
26 ตุลาคม 2552 19:25 น. - comment id 1056947
จาเที่ยงแล้ว มานั่งกินไอติม ฟังเสียงพิณดีกว่า ครูกระดาษทราย """"""""""""""""""" เป็นอย่างไร ครับ ไอติมอร่อยไหม แล้วเพลง พิณ หละเพราะไหม ขอบคุณที่มาเยี่ยม กันนะครับ
26 ตุลาคม 2552 19:26 น. - comment id 1056949
ร้องไม่เพราะให้ 5 บาท ร้องเพราะให้ 20 บาทเลยค่ะ เวลาเจอที่ตลาด เพียงพลิ้ว """""""""""""""""""""""" ใจบุญ นะครับ แต่ก็ดูผลงานประกอบด้วย เนาะ
26 ตุลาคม 2552 19:33 น. - comment id 1056952
ตอนเป็นเด็กเคยดูลิเกวนิพกครับ พอเล่นไปสักครึ่งเรื่องก็จะลงโรงมาเรี่ยไร คนดูก็ใส่ให้ กันคนละบาทสองบาท เพลงขอทานเดี๋ยวนี้หา ฟังจากวนิพกแทบไม่ได้เลยนะครับ กรม ศิลป์ คงมีการอนุรักษ์ไว้ เคยฟังจากนักดนตรี ไทยเขาใช้ซออู้สีเคล้านักร้องทำนองเพลงสัง ขารา มีกลอง กรับฉิ่งประกอบสนุกสนานดี แต่ ไม่แน่ใจว่าเขาจะเรียกเพลงขอทานหรือ เปล่า ฟังทำนองคล้ายๆเพลงส้มตำล่ะครับ เสมอจุก """""""""""""""""""" เท่าที่ทราบ นั้น ใช่เลยครับ รูปแบบของเพลงขอทาน ผมพอค้นมาได้ดังนี้ เนื้อร้อง เป็นกลอนประเภทกลอนหัว เดียวเหมือนกับเพลงฉ่อย เพลงเรือ คือเป็น กลอนสัมผัสท้ายไปเรื่อยๆ แล้วไปลงสัมผัสกัน ระหว่างสามวรรคหลัง ก่อนจะร้องต้องมีบท เกริ่นเหมือนกับเป็นการโหมโรงก่อนจะเล่น เนื้อร้องจะลงเป็นตอนๆ ความยาวแล้วแต่ เรื่องที่จะร้อง ถ้าเล่นหลายๆคนจะมีลูกคู่ร้อง รับในสองวรรคสุดท้ายทุกตอน เครื่องดนตรี จะใช้ตามที่แต่ละคน ถนัด บางคนอาจเล่นคนเดียวได้มากกว่า ๑ ชิ้น ส่วนมากจะเป็นเครื่องกำกับ จังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และโทน เป็นต้น แต่ถ้า เล่นเป็นคณะอาจมีหลายชิ้น ตามแต่จะหาได้ ทำให้เกิดความ สนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้น น่าจะพอเป็นการแลกเปลี่ยน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ กันได้บ้างนะครับ
26 ตุลาคม 2552 20:23 น. - comment id 1056973
คิดว่าคนกลุ่มที่เข้าข่ายวณิพกในปัจจุบันไม่ได้ใช้ทั้งเพลงขอทานและเพลงวณิพกอย่างที่มีมาในอดีต เท่าที่ยังมีให้เห็นอยู่ส่วนใหญ่ก็จะใช้เพลงตามความนิยม โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เคยเห็นที่พิการและสูงอายุจริงตามขอบข่ายพรบ.ส่งเสริมศักยภาพของมนุษย์เป็นส่วนน้อยใช้ขลุ่ยกับเครื่องดนตรีพื้นเมืองค่ะ แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่ารัฐน่าจะมีวิธีสนับสนุนอย่างอื่นมากกว่าโดยเฉพาะการจัดพื้นที่ที่เหมาะสม การฝึกฝนอาชีพ การจัดตั้งองค์กรและขับเคลื่อนกิจกรรมให้สมคำว่า "ส่งเสริมศักยภาพ" แต่อย่างไรก็ตามทั้งวณิพกและขอทานรวมถึงกลุ่มอื่นๆต่างก็ดิ้นรนต่อสู้ชีวิตและใช้บทเพลงเดียวกัน "เพลงชีวิต" การให้เป็นทานบารมี แบ่งปันเพียงนิดช่วยชีวิตผู้ยากไร้ใช่เปล่าคะ (วันนี้มาแนวเพื่อชีวิต)
26 ตุลาคม 2552 22:27 น. - comment id 1057016
คุณรอยทราย ครับ ผมเห็นด้วยว่าในปัจจุบัน วณิพก ส่วนใหญ่ ไม่ได้ร้องเพลงพื้นบ้าน กันแล้ว แต่หันมาร้อง เพลงตามสมัยนิยม ผมเห็นด้วยว่ารัฐน่าจะหาโอกาส ในการสร้างอาชีพ และสร้างโอกาส แต่ต้อง คำนึงว่า คนเราบางครั้งความสามารถไม่เท่ากัน แม้คนดีๆการสร้างโอกาสและสร้างอาชีพให้ จำนวนมากก็ยังล้มเหลว เลยครับ อย่าว่าแต่ คนพิการเลยครับ สำหรับผมคิดว่าการให้ทานหากเราให้โดยสมัครใจ ไม่รู้สึกว่าถูกกดดัน ถูกหลอกลวง(ซึ่งก็มีอยู่ มากพอดู) ก็ควรทำ หากทำแล้วสบายใจ และเขาก็ใช้เสียงเพลงแลก เอา แบบเพลงเพลงวณิพกของ คาราบาวว่าไว้ "ใช้เสียงเพลงแลกเศษเงิน" นะครับ งานนี้ คงเข้าแนวเพื่อชีวิต อย่างว่า ก็ได้ ครับ
27 ตุลาคม 2552 07:59 น. - comment id 1057090
สวัสดีค่ะ เพลงวณิพกแถวบ้านริมธาร ยังเล่นเพลงพื้นบ้านอยู่ค่ะ เครื่องดนตรี โดยมากใช้ซอด้วงเล่นเพลงพื้นบ้านเขมร น่าฟังมากค่ะ ขอบคุณพี่ครูแขกที่เขียน บทกลอนดีๆมาให้อ่าน สุขสันต์วันเปิดเทอมค่ะ
27 ตุลาคม 2552 11:43 น. - comment id 1057222
ผมว่า นี่ก็เป็นการเลี้ยงชีพ อย่างสุจริตเหมือนกัน นะครับ ไม่ได้ไป ปล้นใคร ก็เหมือนกับนักร้องทั่วไป แต่ศักดิ์ศรี เขาดูต่ำต้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ดารา นักร้อง
27 ตุลาคม 2552 12:30 น. - comment id 1057235
วณิพกหกเหินเดินวาดหวัง เพียงลำพังยั้งกายให้ถ่ายถอน ร่ายบรรเลงเพลงกล่อมล้อมนิวรณ์ ดุจจะสอนตอนยากหากคิดตาม บทเพลงวณิพกเนี่ย ฟังไม่มีเบื่อค่ะ อีกบทเพลงคือ ยายสำอางค์ ให้ข้อคิด มาก ๆ ค่ะ
27 ตุลาคม 2552 13:55 น. - comment id 1057261
เคยเวลาไปเที่ยวจะเจอเล่นดนตรีเปิดหมวกน่ะค่ะ บางทีไม่ใช่หมวกแต่เป็นกล่องใส่กีต้าร์มาวางไว้ ชอบค่ะ เพราะดีเราก็สนับสนุนให้กำลังใจกันไป อิอิอิ
27 ตุลาคม 2552 18:28 น. - comment id 1057398
ชื่นชมมากค่ะ
28 ตุลาคม 2552 10:00 น. - comment id 1057597
สวัสดีค่ะ เพลงวณิพกแถวบ้านริมธาร ยังเล่นเพลงพื้นบ้านอยู่ค่ะ เครื่องดนตรี โดยมากใช้ซอด้วงเล่นเพลงพื้นบ้านเขมร น่าฟังมากค่ะ ขอบคุณพี่ครูแขกที่เขียน บทกลอนดีๆมาให้อ่าน สุขสันต์วันเปิดเทอมค่ะ ริมธาร """""""""""""""""""" นับเป็นข้อมูลที่มีค่า ที่มาช่วยเติมเต็มให้กับบทกลอน ที่ผม ต้องการเขียนขึ้นเพื่อสะท้อนชีวิตของสองสามีที่พิการ ทางสายตา ที่ผมเห็นพวกเขาสาม สี่ครั้งในซอยเฉยพ่วงแถบสถานีหมอชิตเก่า ยามที่พวกเขามากล่อมด้วยเสียงเพลงแลกเศษเงิน ผู้คน บางครั้งมาคนเดียว บางครั้งมาทั้งคู่ ขอบคุณนะครับที่มาเยี่ยมเยียนกัน...
28 ตุลาคม 2552 10:04 น. - comment id 1057599
ผมว่า นี่ก็เป็นการเลี้ยงชีพ อย่างสุจริตเหมือนกัน นะครับ ไม่ได้ไป ปล้นใคร ก็เหมือนกับนักร้องทั่วไป แต่ศักดิ์ศรี เขาดูต่ำต้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ดารา นักร้อง กวีน้อยเจ้าสำราญครับ """""""""""""""""""""" เห็นตรงกันเลย ครับ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของ การเสนองานศิลป์ มีนักร้องคนหนึ่ง ที่ผมเคย ชอบเสียงเขามาก เขาก็เป็นคนตาบอด ชื่อ โฮเซ่ ฟิลิเซียโน เสียงโหยหวนกระชากอารมณ์ดี มากครับ แต่รายนั้น เขาเป็นนักร้องระดับโลก เลยครับ
28 ตุลาคม 2552 10:09 น. - comment id 1057601
วณิพกหกเหินเดินวาดหวัง เพียงลำพังยั้งกายให้ถ่ายถอน ร่ายบรรเลงเพลงกล่อมล้อมนิวรณ์ ดุจจะสอนตอนยากหากคิดตาม บทเพลงวณิพกเนี่ย ฟังไม่มีเบื่อค่ะ อีกบทเพลงคือ ยายสำอางค์ ให้ข้อคิด มาก ๆ ค่ะ ปรางทิพย์ """""""""""""""""""""" ๐ คือรูปลักษณ์งานศิลป์จินต์แสนหวาน เที่ยวขับขานด้านคีตาอย่าเหยียดหยาม งานศิลป์หลายแขนงแบ่งนิยาม มีแง่งามให้เห็นอยู่เช่นกัน เขียนไปก็นึกไปถึงเพลงที่ปรางทิพย์ ว่ามานั้นแหละ ครับ...
28 ตุลาคม 2552 10:12 น. - comment id 1057603
เคยเวลาไปเที่ยวจะเจอเล่นดนตรีเปิดหมวกน่ะค่ะ บางทีไม่ใช่หมวกแต่เป็นกล่องใส่กีต้าร์มาวางไว้ ชอบค่ะ เพราะดีเราก็สนับสนุนให้กำลังใจกันไป อิอิอิ ยายแม่มด """""""""""""""""""" แบบนั้นผม ก็เห็นประจำเหมือนกัน เคยมีรุ่นน้องสองคน ชอบทำแบบนี้สมัยยังเป็นหนุ่มน้อย แต่เดี๋ยวคงไม่ทำแล้วแหละครับ เพราะคนหนึ่งปัจจุบัน เป็นเจ้าสำนักพิมพ์ใหญ่โต อีกคนเป็นที่ปรึกษาใหญ่ของสมัชชา คนจน ไปแล้ว ครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมกันเสมอๆ ครับ
28 ตุลาคม 2552 10:13 น. - comment id 1057604
ชื่นชมมากค่ะ นรสิริ """""""""""""""" ด้วยความปิติ ยินดี และขอบคุณ ครับ
28 ตุลาคม 2552 19:56 น. - comment id 1057922
** แว่วดนตรีขับขานประสานเสียง สื่อสำเนียงวิโยคให้โศกศัลย์ ค่าของคนอยู่ไหนอย่างไรกัน ควรแบ่งปันช่วยเหลือและเจือจาน.....ฯ เคยพบเห็น..วณิพก..ค่อนข้างบ่อย..ค่ะและจะรู้สึกชื่นชมในความสามารถ....ที่นำมาใช้ในการหาเลี้ยงชีพ..เพื่อสร้างความสดชื่นและสุนทรีย์แก่ผู้อื่น....เป็นการหาเลี้ยงชีวิตด้วยความบริสุทธิ์...และจะให้ทานทุกครั้ง..เนื่องด้วยเป็นคนชอบสงสาร....บางครั้ง..มีความคิดที่อยากเข้าไปศึกษาเรื่องราว....และเรียนรู้ชีวิตของขอทาน..และวณิพก.ว่า...เป็นเช่นไร...รู้สึกอย่างไร?...เมื่อเขาได้รับเงินจากผู้ใจบุญ...นอกเหนือจากความดีใจ..อาจจะมีอะไร?ลึกๆซ่อนเร้นอยู่ภายใน...ราชิกา..เคยคิดกระทั่งว่า...ถ้าเราลองไปนั่งขอทาน..หรือเป็นวณิพกบ้าง...เราจะมีความรู้สึกอย่างไร?.... ....อืมม์...เรื่องนี้..น่าสนใจ.นะคะ.อาจจะเป็นหัวข้อในการทำวิจัย..(ปริญญาเอก).....คุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทย: กรณีศึกษา วณิพกและขอทาน.....ราชิกา.จะทำวิจัยเชิงคุณภาพ....ขอเรียนเชิญ..คุณคนกุลา...เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาล่ะกัน..นะคะ...ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ....
8 ธันวาคม 2552 21:33 น. - comment id 1071990
๐ ชีวิตคนบนโลกบ้างโศกเศร้า ทุกค่ำเช้าเฝ้าร้องทำนองเสียง ขับลำนำคำขานหวานพอเพียง สื่อสำเนียงส่งมาอย่าดูดาย...ฯ เป็นความคิดที่ดี น่าสนับสนุนมากเลยครับ คุณตุ้ม มุมมองที่หลายๆคนมองข้ามไป แท้ ที่จริงแล้วเราอาจเรียนรู้อะไร ได้อีกมากมาย ที่สามารถนำไปประยุกต์ได้ในอีกหลายเรื่อง ถ้าสนใจจริงๆ ผมยินดีช่วยเหลือ แม้ไม่ต้อง เป็นที่ปรึกษา ก็ได้ ครับ เพราะจะได้เรียนรู้ สิ่งใหม่ๆ ไปพร้อมกันนะครับ รักษาสุขภาพนะครับ เป็นห่วงครับ แสนคำนึง