26 กรกฎาคม 2553 14:32 น.

สรุปบทสัมภาษณ์พระธรรมราชานุวัตร

กระต่ายใต้เงาจันทร์

อ่านบทสัมภาษณ์พระธรรมราชานุวัตร เรื่องการจัดการวัด 


      ผู้สัมภาษณ์ ๑. หลักการบริหารวัดพระแก้วหลวงพ่อดำเนินการมีแนวนโยบายอย่างไรบ้างในการจัดการบริหารภายใน๑ ปี
   
        พระธรรมราชานุวัตร.นโยบายหลวงพ่อคือ  พระและเณรต้องอยู่ร่วมกัน    แบ่งตามภูมิชั้นแบ่งตามชั้น  เน้นการกระจายอำนาจ   กระจายงาน   กระจายโอกาส ตามความถนัด  ตามความชัดเจน โดยต้องอาศัย  ภิกษุ  สามเณร  เป็นองค์ประกอบของหลักสูตร    เพื่อการพัฒนาคน    พัฒนางาน  ให้โอกาส  ร่วมกันรับผิดชอบ   ทุกๆส่วนดำเนินไปทิศทางเดียวกัน
     ในการกระจายงานจะแบ่งได้ดังต่อไปนี้ ด้านการศึกษา หลวงพ่อมอบหมายให้ พระครูศรีรัตนากร (พระมหาดร.ทองสุข),ด้านการปกครอง มอบหมายให้พระครูสิริรัตสุนทร (พระมหาทวัญ),เป็นผู้ดูแล, ด้านเผยแพร่ มอบหมายให้พระครูสุธีสุตสุนทร(พระมหาดร.สมพงษ์) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนพระครูรัตนปริยัตยาทร (พระมหาดร.ทองสุข) ดูแลด้านสาธารณูปการรับผิดชอบเรื่องการห่มผ้าสามเณร แบ่งเขตกวาดวัด เป็นต้น
                เมื่อกระจายงานโดยมอบหมายให้แต่ละส่วนไปผิดชอบบริหารกันเองแล้ว  ในวัดพระแก้วพระภิกษุ สามเณร ทุกรูป/องค์   ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ทั้งในด้าน  ทำให้วัดมีระเบียบ  สะดวก   สะอาด  ถูกสุขลักษณะ  สร้างนิสัยและสะสาง  ให้ขบวนการจัดการที่เป็นระบบเพื่อเป็นระเบียบปฏิบัติแบบแผนที่ถูกต้องชัดเจน
                ในความหมายก็คือ  วัดต้องมีระเบียบ พัฒนาวัดให้สะอาด  ขจัดสิ่งปฏิกูล  เพราะว่าวัดพระแก้วไม่ใช่ของใคร   พระภิกษุสามเณรเป็นเพียงผู้อาศัย  แต่ว่าจะอาศัยอย่างไร  อย่างกาฝากหรือกล้วยไม้  ที่งดงาม ต่อผู้พบเห็นของประชาชนทั่วไป
                ผู้สัมภาษณ์ ๒.เมื่อเดินเข้ามาในบริเวณวัด จะเห็นว่ามีตู้บริจาคน้อยมาก หลวงพ่อมีโครงการทำอย่างไรหรือนโยบายเข้าวัดไม่เสียสตางค์หรือคะ
               พระธรรมราชานุวัตร มี  ตู้บริจาค แต่มีน้อย เพราะ  ใน  พระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า  วัดเป็นเหมือนขุมทรัพย์  ขุมทรัพย์อยู่ที่สมอง  เราต้องฉลาดในการเปิดขุมทรัพย์  และทำอย่างไร  ให้ได้งานได้คน และได้บารมีไปพร้อมกัน  
                ผู้สัมภาษณ์ ๓.การปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ที่จังหวัดเชียงรายในทุกวัดเป็นโครงการของหลวงพ่อหรือคะเพราะวัดที่อื่นไม่ค่อยเห็นโครงการนี้เลย เท่าที่เคยอยู่มาคะ
       พระธรรมราชานุวัตร วัดเป็นจุดศูนย์กลางเรียนรู้ทางศาสนา ในด้านการสืบทอดพระพุทธศาสนานั้นหน้าที่ของพระสงฆ์คือเผยแพร่พระพุทธศาสนาจึงวางนโยบายให้วัดต่างๆทั่วภาค๖คือ  จังหวัด   เชียงราย   พะเยา   แพร่ น่านให้มีการสวดมนต์ปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ในเวลา๑๘.ooน.-๒๐.ooน.โดยนำร่องที่วัดพระแก้วก่อนโดยมอบหมายให้มอบหมายให้พระครูสุธีสุตสุนทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสฝ่ายเผยแพร่ ผ.อ. มจร.ห้องเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ
    โครงการนี้  ถ้าพระครูสุธีสุตสุนทรไม่ว่างหลวงพ่อก็จะลงไปเองถ้าว่าง แต่ถ้าพระครูสุธีสุตสุนทรว่างก็ให้ดำเนินการไป
    ผู้สัมภาษณ์๔. .ในการสวดมนต์ปฏิบัติธรรมใช้ภาษาบาลีเพราะอะไรคะ  แล้วเรา ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไรค่ะ
      พระธรรมราชานุวัตร.การสวดมนต์ต่างๆใช้ภาษาบาลีนั้นจะได้สวดไปทิศทางเดียวกัน เป็นแนวทางปฏิบัติ  ไม่ใช่ที่หนึ่งก็สวดอย่างหนึ่ง เพราะภาษาทางศาสนาคือเอกลักษณ์  และที่สวดภาษาบาลีเพื่อทำให้เกิดสมาธิ   การสวดมนต์ปฏิบัติธรรม เพื่อให้มีศีล  สมาธิ  เมื่อเรามีสมาธิแล้วปัญญาก็จะตามมา เพราะพระจะดูน่าเลื่อมใสเมื่อสวดมนต์ผู้มีทำบุญจะได้บุญมาก ถ้าคนมาถึงก็ยกของให้พระก็เหมือนกับการให้ของกับคนทั่วไป
                ผู้สัมภาษณ์๕. ในการบริหารด้านการศึกษาโรงเรียนปริยัติธรรมหลวงพ่อมีแนวนโยบายบริหารจัดการอย่างไรบ้างค่ะ
                พระธรรมราชานุวัตร.ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๓ โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนราษฎร์ในช่วงนั้น  รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญในด้านการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณร ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป   ในด้านการบริหาร  ด้านการศึกษาโรงเรียนปริยัติธรรม(โรงเรียนสามเณร) ได้เปิดสอนแต่ธรรม-บาลี  เพราะว่าเมื่อก่อนไม่มีโรงเรียน  ทำให้พระภิกษุ  สามเณรต้องเดินทางไปศึกษาที่อื่น ต่อมาจึงเปิดเป็นโรงเรียนพุทธิวงศ์วิทยา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา หลวงพ่อพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เป็นผู้ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕  เปิดสอนในระดับ ป.๕- ป.๗ และ ม.ศ. ๑- ๓
              ปัจจุบันเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ -๖ รูป นักเรียน๓๐๐กว่ารูป หลวงพ่อจะถวายภัตตาหารเพลฟรี ให้ค่ารถ ให้ค่าเล่าเรียน ถวายจีวร หลวงพ่อเคยเป็นครูใหญ่ และเคยสอนวิชาภาษาบาลี  กับประวัติศาสตร์   ปัจจุบันมอบให้พระครูศรีรัตนากร (พระมหาดร.ทองสุข)เป็นผู้รับผิดชอบ การให้ความรู้การเรียนการสอน แก่สามเณรถือว่าเป็นการสืบทอด ศาสนทาญาติ  เพื่อ  นำมาซึ่งประโยชน์ในภายภาคหน้า  ในการช่วยดำรง  ดูแล   รักษา สืบทอดต่อไป
                ผู้สัมภาษณ์  ๖.ในส่วนของห้องเรียนคือ มจร.ห้องเรียนวัดพระแก้วเชียงรายมีแนวนโยบายบริหารจัดการอย่างไรบ้างค่ะ
                พระธรรมราชานุวัตร.หลวงพ่อได้มอบหมายให้ พระมหาสมพงษ์(พระครูสุธีสุตสุนทร ดร.)เป็นผู้รับผิดชอบ ห้องเรียนวัดพระแก้ว ห้องเรียนฯได้เริ่มดำเนินจัดตั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และตอนนี้ได้บรรจุเข้าแผนให้เป็นวิทยาสงฆ์ในปี๒๕๕๔  ซึ่งตอนนี้ศาลากลางจังหวัดเชียงรายได้ยกพื้นที่ให้ ย้ายไปเปิดการเรียนการสอนที่นั้นเพราะสถานที่เรียนไม่พอรองรับกับจำนวนนักศึกษา เมื่อขึ้นดอยที่ศาลากลางแล้ว  หลวงพ่อมีนโยบายจะสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมที่นั้นเพราะปัจจุบันสถานที่ไม่พอจำนวนผู้คนที่สนใจ ทั้งนี้จะมีการใช้อาคารร่วมกับสำนักพุทธฯและวัฒนธรรมจังหวัด
                ผู้สัมภาษณ์ ๗.  เมื่อเดินเข้ามาในบริเวณวัดพระแก้ว  จะเห็นว่า  บรรยากาศ  ร่มรื่นสบายตา  เต็มไปด้วยต้นไม้และป้ายบอกชื่อของต้นไม้แต่ละชนิดมีการวางแผนและจัดการอย่างไรคะเพราะภายในบริเวณวัดมีเนื้อที่จำกัด
                พระธรรมราชานุวัตร. เมื่อก่อน  นโยบายที่ได้รับมอบหมายมาคือ โครงการต้นไม้พูดได้หลวงพ่อเห็นว่าเอาตะปูไปตอกที่ต้นไม้ให้ความรู้สึกไม่ดี  จึงคิดว่าทำอย่างไรให้เหมาะสม และให้ความรู้สึกดีต่อผู้พบเห็น หลวงพ่อจึงได้จัดทำป้าย ในการจัดทำป้ายต้องยกความดีให้ อ.ศรีวัลย์  ใจสุข อาจารย์จากราชภัฏเชียงราย ตอนแรกเป็น ป้ายพลาสติกเห็นว่า  แตกหักง่าย ตอนนี้กำลังเปลี่ยนใหม่ วัดพระแก้วมีพื้นที่ไม่กว้าง  หลวงพ่อจึงคิดว่าทำอย่างไรพื้นที่ให้ได้ประโยชน์ที่สุด ผู้ที่เข้าวัดจะใช้เวลาไหว้พระ ๓-๔ นาที เราจะมีนโยบายอย่างไรในการดึงให้คนอยู่วัดนานๆ หลวงพ่อจึงทำรอบโบสถ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีต้นไม้และดอกไม้ เพราะทั่วไปมักจะเป็นปูนซีเมนต์ วัดพระแก้วจึงทำการจัดสวนตามสภาพความเหมาะสม  โดยช่วยกันทำและรับผิดชอบกันเองแบ่งงานให้สามเณรรับผิดชอบในแต่ละส่วนไป ในพระไตรปิฎกมีคำสอนไว้ว่า ดอกไม้จะมีกลิ่นหอมตามลมแต่ศีลมีกลิ่นหอมทวนลม
                ผู้สัมภาษณ์๘..โครงการที่ทำในช่วงนี้ที่หลวงพ่อดำเนินการมีโครงการทำอะไรบ้าง เจ้าคะ
                พระธรรมราชานุวัตร.มีเรื่อง  การปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ที่วัดพระแก้ว  และงานฉลองสมโภช ๗๕๐ ปี ซึ่งจะขึ้นให้มีภายในปี๒๕๕๔และ หลวงพ่อมีนโยบายที่จะจัดทำ ๔ เรื่อง คือ   พุทธมณฑล(สถานที่ปฏิบัติธรรม)      วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย     พัฒนาวัดพระธาตุดอยตุง และสร้างตึกสงฆ์อาพาธ ซึ่งตอนนี้สร้างได้๕ ชั้นแล้ว
                ผู้สัมภาษณ์ ๙.แล้วโครงการที่คิดแล้วยังไม่ได้ทำหรืออยากจะทำมีโครงการอะไรบ้าง  มีหรือไม่   อย่างไร เจ้าคะ
                พระธรรมราชานุวัตร.มี  อยากทำเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนา   อยากให้วัด เป็นที่สืบทอดศาสนา  ศิลปะ  วัฒนธรรม  และรักษาสิ่งเรียนรู้ทางประวิติศาสตร์  เพื่อให้ ประชาชนทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับ  บุคคล  เหตุการณ์  สถานที่  มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อให้เกิด  การรักและหวงแหน  สืบทอด  และรักษาไว้ให้ดำรงต่อไปอยากจะให้วัดแต่วัด  มีสามเณรบรรยาย  สถานที่สำคัญ  ให้ความรู้เกี่ยวกับวัด  หรือคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม อยากมียุวทูตน้อยอย่างเช่นวัดพระอยากมีสามเณร สามเณรอยู่ที่ โฮงหลวงแสงแก้ว อยู่ที่หอพระหยก ที่พระอุโบสถคอยแนะนำและให้ความรู้แก่ญาติโยมที่มาเที่ยว
  ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมวัดพระแก้วได้ที่http://www.watphrakaew-chiangrai.com/release2.php?id=65				
25 กรกฎาคม 2553 10:11 น.

การบริหารทรัพยากรมนุษย์(ว่าด้วยทฤษฎีA.H.Maslow McGregor Taylor Gantt Oliver Sheldon )

กระต่ายใต้เงาจันทร์

การจัดการเป็นวิทยาศาสตร์ : 
	เพราะองค์ความรู้ที่ได้มามีลักษณะเป็นระบบและหลักการต่างๆ ได้ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผู้จัดการและนักวิจัยจำนวนมาก และความรู้เหล่านี้ยังได้มีการศึกษาพัฒนาปรับปรุงจากหลักฐานการสังเกตและการทดลองอยู่เรื่อยมา
การจัดการเป็นวิทยาศาสตร์ : 
	เพราะองค์ความรู้ที่ได้มามีลักษณะเป็นระบบและหลักการต่างๆ ได้ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผู้จัดการและนักวิจัยจำนวนมาก และความรู้เหล่านี้ยังได้มีการศึกษาพัฒนาปรับปรุงจากหลักฐานการสังเกตและการทดลองอยู่เรื่อยมา
เนื่องมาจากการจัดการเป็นวิธีการนำความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญศึกษาไปประยุกต์ให้องค์การบรรลุผลดังปรารถนา  จนมีผู้กล่าวว่า การจัดการเป็นศิลปะของศิลปะ เพราะการจัดการจะต้องใช้เทคนิควิธีการจัดองค์การและนำความสามารถพิเศษของสมาชิกในองค์การมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์การ   ดังนั้น  ผู้จัดการจึงได้รับสมญาว่านักศิลปะ เพราะจะเป็นผู้นำความรู้ที่ได้รับจากศาสตร์ของการจัดการมาดำเนินการจัดการทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรวัตถุ เพื่อให้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อองค์การให้มากที่สุด 
พัฒนาการของศาสตร์ทางด้านการจัดการ  จึงเป็นการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับหลักการของการจัดการและวิธีการประยุกต์ใช้อาจไม่เกิดผลดังที่ปรารถนา ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่สำคัญที่การจัดการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ มนุษย์มีความซับซ้อนและแปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่ตนอยู่ จึงเป็นการยากยิ่งที่จะทำนายพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างเที่ยงตรง จึงจำเป็นที่จะต้องทำการฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับหลักการของการจัดการนั้นๆ เพื่อให้ได้ซึ่งวิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่ค้นพบระหว่างขณะที่ดำเนินการปฏิบัติ ผู้จัดการที่มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของการจัดการจึงจำเป็นต้องมีศิลปะในการประยุกต์ความรู้เหล่านี้  กล่าวคือ วิทยาศาสตร์สอนให้เรามีความรู้  มีวิชาการ  แต่ศิลปะสอนวิธีการปฏิบัติ 
ดังนั้น  วิทยาศาสตร์และศิลปะจึงเป็นสิ่งที่ประกอบซึ่งกันและกันให้เกิดภาพที่สมบูรณ์ขึ้น เปรียบเหมือนเหรียญที่มีด้านหัวและก้อย  แต่ต้องมีความสมดุลระหว่างด้าน 2 ด้าน จึงทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง  เพราะฉะนั้น  บุคคลที่มีความรู้ด้านการจัดการและมีความสามารถในการจัดการจะเป็นบุคคลที่นำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางที่ประสบความสำเร็จสูงสุด  ผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จจึงต้องเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักศิลปะ
James D. Mooney ได้เขียนหนังสือหลักการจัดการองค์การ โดยเขาได้พัฒนาหลักการ 3 ประการในการจัดองค์การคือ
     1. หลักการประสานงาน (The Principle of Coordination)
       2. หลักการจัดสายบังคับบัญชา  (The Scalar  Principle)
       3. หลักการกำหนดหน้าที่  (The Functional Principle) 
	โดยเขาได้กล่าวว่าหลักการทั้ง 3 เป็นหลักการร่วมของทุกองค์การ เขาได้ยกตัวอย่างจากองค์การต่างๆ มาสนับสนุน เช่น  สถาบันทางศาสนา องค์การของรัฐบาล กองทัพ และองค์การธุรกิจ  จากตัวอย่างดังกล่าวนับว่ามีส่วนพัฒนาแนวความคิดด้านการจัดการซึ่งเป็นรากฐานการเกิดทฤษฎีองค์การ 
อย่างไรก็ตามองค์การจะประสบความสำเร็จ หรือไม่ขึ้นอยู่กับ การมอบหมายงานและการเลือกคนที่จะมอบหมายงานให้ โดยทั่วไปแล้วการมอบหมายงานประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้คือ
    1.  กำหนดความรับผิดชอบ  	(Responsibility)
 2.  การมอบหมายอำนาจหน้าที่ (Authority)		
 3.  ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้ถึงภาระหน้าที่   (Accountability) 
ในการศึกษาดูงานวัดพระแก้วใช้การบริหารงานแบบกระจายอำนาจและใช้หลักหลักการประสานงาน (The Principle of Coordination)
       2. หลักการจัดสายบังคับบัญชา  (The Scalar  Principle)
       3. หลักการกำหนดหน้าที่  (The Functional Principle) ตามทฎษฎีของ James D. Mooneyถือว่าเป็นการจัดแบบโครงสร้างตามหน้าที่โดย functional  structure
   เป็นการออกแบบแผนกต่างๆขององค์กร  โดยแบ่งงานตามหน้าที่  และสร้างโครงสร้างย่อย   หรือโครงสร้างองค์กรแบบราบ  โดยจะถูกดูแลและควบคุมจาก  ผู้บริหาร   ซึ่งจะจะแตกย่อยกันมาในระดับผู้บริหารแต่ละบทบาทหน้าที่ซึ่งต้องทำงานให้สอดคล้องประสานไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน 
ข้อดีในโครงสร้างแบบหน้าที่คือส่งเสริมทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  และ  ลดจำนวนการใช้ทรัพยากรลง
   เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ
   เกิดความชัดเจนในการติดต่อสื่อสารอันจะนำไปสู่ผลิตภาพและการปฏิบัติงานในแต่ละแผนกเพิ่มขึ้น
ข้อเสียของโครงสร้างแบบอำนาจหน้าที่คือข้อจำกัดในการจัดโครงสร้างองค์กรแบบราบในช่วงระยะสั้น
    ผู้บริหารจะให้ความสำคัญในแต่ละแผนกถ้าในด้านองค์กรธุรกิจหรือเอกชนจะเกิดเป็นข้อจำกัดในเรื่องความก้าวหน้าทางอาชีพ
   มีโอกาสเกิดข้อจำกัดในการติดต่อสื่อสารระหว่างแผนก
   หากแผนกหนึ่งไม่ได้เป็นไปตามคาดหวังก็จะกระทบต่อแผนกอื่นด้วย
แนวคิดด้านการจัดการ
สามารถแบ่งออกเป็น  6 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์(Scientific management school) Taylor  เป็นบิดาของแนวความคิดนี้ ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิก เขาเป็นผู้เริ่มองค์การที่มีรูปแบบเป็นผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาที่พบในโรงงานที่เขาทำอยู่ เป็นการนำหลักการที่มีกฎเกณฑ์เข้ามาแทนที่วิธีการลองผิดลองถูกที่เคยใช้กัน โดยทำงานมากได้เงินมากทั้งนี้เพราะ Taylor จะยึดหลักการทำงานมากได้มาก ทำงาน้อยได้น้อย ระบบที่ Gantt พัฒนานี้เป็นการประกันค่าจ้างต่ำสุดที่คนงานพึงได้รับไม่ว่าเขาจะทำงานถึงมาตรฐานหรือไม่ก็ตาม  แต่ชื่อเสียงที่ Gantt เป็นที่รู้จักกันดีคือการพัฒนาวิธีการทางด้านกราฟที่แสดงให้เห็นแผนงานที่จะเป็นตัวควบคุมการจัดการได้เป็นอย่างดี เขาเน้นความสำคัญของเวลาและปัจจัยทางด้านทุนในการวางแผนและควบคุม 
2. แนวความคิดด้านการจัดการเป็นกระบวนการ (management process school) Fayol  เขาเน้นการสอนและการเรียนรู้  โดยได้ศึกษาการจัดการจากคณะผู้บริหารระดับล่าง โดยให้ทัศนะว่าการจัดการเป็นทฤษฎีที่สามารถสอนและเรียนรู้ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนต่างๆ คือ การวางแผน (planning) การจัดการองค์การ (organizing) การบังคับบัญชา (commanding) การประสางาน (coordinating) และการควบคุม (controlling)
แต่ Oliver Sheldon	
      ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการและการบริหาร นอกจากนี้ยังได้นำแนวความคิดด้านจริยธรรมทางสังคม เข้ามาผสมผสานกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เขาได้กระตุ้นให้องค์การธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับการบริการด้วย และได้เสนอแนวความคิดว่าหลักการจัดการทางอุตสาหกรรมที่ดีจะต้องตั้งอยู่พื้นฐานของการบริการเพื่อสังคม จากแนวความคิดนี้ได้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม  ซึ่งจุดนี้ทำให้การจัดการได้รับการยกย่องและดำรงความเป็นวิชาชีพ 
3. แนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human  relations school) Gantt  และ  Munsterberg  ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่ว่าการจัดการเป็นการใช้บุคคลอื่น ทำงานให้แก่องค์การ ดังนั้นการศึกษาด้านการจัดการจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวของ คนและปฏิกิริยาของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นจุดสำคัญ หัวข้อที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจได้แก่ การจูงใจ (motivations) แรงขับของเอกัตบุคคล (individual drives) กลุ่มสัมพันธ์ (group relations) การเป็นผู้นำ (leaderships) และกลุ่มพลวัต (group dynamics) เป็นต้น
โดยกลุ่มนี้เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการจัดองค์การทั้งนี้เนื่องจากว่าองค์การคือการที่บุคคลมารวมตัวเป็นกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน  ดังนั้น กิจกรรมที่ทำจะประสบความสำเร็จนั้น  คนควรเข้าใจคน
ในกลุ่มนี้อาจารย์ขอกล่าวถึงมีดังนี้ : -
    -   A.H.Maslow   มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการได้รับการตอบสนองความต้องการ ความต้องการของบุคคลจะเป็นไปตามลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูง บุคคลจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการระดับต่ำเรื่อยขึ้นไปก่อน เพราะความต้องการระดับต่ำเป็นฐานของความต้องการระดับถัดไป ถ้าความต้องการระดับต่ำยังไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นต่อไปก็จะไม่พัฒนาขึ้น ดังนั้นผู้จัดการในองค์การต่างๆ จะต้องตระหนักและให้ความสนใจในเรื่องความต้องการของมนุษย์คือ1.ความต้องการทางด้านสรีระวิทยา (physiological  needs) (อาหาร  น้ำ  อากาศ  ที่อยู่อาศัย  และความต้องการทางเพศ)  ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัยของชีวิต (safety  and  security needs) ความต้องการผูกพันทางสังคม (belonging  and  social needs)
 ความต้องการมีชื่อเสียงเกียรติยศ(esteem and self respect needs)(การยกย่อง   ความนับถือ  สถานะ) 
 (การยอมรับ  และความรัก) ความต้องการมีชื่อเสียงเกียรติยศ(esteem and self respect needs)
(การยกย่อง   ความนับถือ  สถานะ) A.H.Maslow  กับห้าขั้นตอนเหมาะใช้กับองกรณ์ประเภทใดแนวทางผู้บริหารการศึกษา
McGregor เป็นศาสตราจารย์ทางการบริหารที่มีชื่อเสียง ได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ 2 ทฤษฎีคือ ทฤษฎี x และทฤษฎี y ไว้ในหนังสือ The Human Side of The Enterprise 
ทฤษฎี x  เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่อยู่บนพื้นฐานการจัดการสมัยดั้งเดิม มองคนไปในทางไม่ดี  เช่น เป็นคนขี้เกียจทำงาน หลีกเลี่ยงงาน ไม่สนใจงาน เป็นต้น
ทฤษฎี y  เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่อยู่บนพื้นฐานการจัดการสมัยใหม่ มองคนในทางดี เช่น ทำงานหนักให้บรรลุเป้าหมาย มีความรับผิดชอบ มีความสนใจงาน เป็นต้น
 Leadership (ภาวะผู้นำ)
1) ทฤษฎีว่าด้วยลักษณะนิสัย  (Trait  Theories)  เมื่อกล่าวถึงลักษณะทั่วไปของผู้นำคือ  มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด  ท่าทางดี  มีอำนาจ  พูดเก่ง  กล้าตัดสินใจ  กระตือรือร้น  ฯลฯ  มีผู้กล่าวว่าผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีคุณสมบัติของมหาบุรุษและลูกเรือรวมกัน  และมีลักษณะแตกต่างจากคนธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อดอล์ฟ ฮิเลอร์     มหาตมะคานธี เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าบรรดาท่านที่กล่าวถึงนี้มีบุคลิกลักษณะส่วนตัวที่ผู้อื่นไม่มีและเป็นลักษณะของผู้นำ
2) ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรม  (Behavioral  Theories)  เนื่องจากเราไม่สามารถจะพิจารณาประสิทธิภาพของผู้นำโดยมองจากบุคลิกลักษณะแต่เพียงอย่างเดียว  เป็นเหตุให้นักวิชาการต้องพิจารณาพฤติกรรมในการบริหารของบรรดาผู้นำด้วยว่าผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพนั้นมีวิธีการใดเป็นพิเศษเฉพาะตัวเขา  เช่น  บางคนเป็นประชาธิปไตย  คือฟังเสียงคนส่วนใหญ่  บางคนเป็นอัตตาธิปไตยคือถือความเห็นของต 3) ทฤษฎีว่าด้วยสถานการณ์  (Contingency  Theories) 
	จากที่ได้ศึกษาทั้งผู้นำดังกล่าวแล้ว  จะเห็นได้ชัดว่าความสำเร็จของผู้นำนั้นยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่อ้างไว้ในทฤษฎีทั้งสอง  เพราะไม่ใช่ว่าจะเป็นไปตามทฤษฎีนั้น  เราจะเห็นได้ทันทีว่าสถานการณ์แวดล้อมจะต้องมีอิทธิพลอย่างแน่นอน  สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของผู้นำนั้นมีมากมาย  แต่ที่สำคัญก็คือลักษณะของงาน   (ชนิด  ขนาด  ความซับซ้อนของโครงสร้าง  เทคโนโลยีที่ใช้  ฯลฯ)  และจากการศึกษาเรื่องนี้ก็ยังพบอีกว่า  แบบของผู้นำ  แนวปฏิบัติของกลุ่ม  ช่วงของการจัดการ  (Span  of  Management)  ปัจจัยอื่นภายนอกองค์การ  เวลาที่กำหนดไว้ความเครียด  สภาพและบรรยากาศในองค์การนั้นด้วย  เหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อผู้นำทั้งสิ้น 
เป็นใหญ่  และบางคนปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอย่างอิสระ
4. แนวความคิดด้านระบบสังคม (Social  system  school) มีความสัมพันธ์กับแนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์หรือด้านพฤติกรรมศาสตร์ Chester I. Barnard เป็นบิดาของการจัดการที่ยึดหลักระบบสังคม โดยเริ่มศึกษาตัวบุคคลก่อน ถัดมาจึงสนใจระบบความร่วมแรงร่วมใจของบุคคลกับองค์การ และมาสิ้นสุดระบบที่หน้าที่ในการดำเนินการจัดการของ Barnardแนวความคิดด้านระบบสังคม
1.	มนุษย์แต่ละคนมีขีดจำกัดด้านกายภาพและชีวภาพ จึงทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเป็นกลุ่ม
2.	การดำเนินการร่วมแรงร่วมใจกันทำให้เกิดเป็นระบบความร่วมแรงร่วมใจ ในการทำงานให้องค์การเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
3.	ระบบการร่วมแรงร่วมใจกันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ องค์การและส่วนอื่นๆ
4.	องค์การแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ องค์การที่มีรูปแบบ(formal organization) และองค์การไร้รูปแบบ (informal organization) 
5.	องค์การที่มีรูปแบบจะต้องประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารงานซึ่งกันและกัน ความตั้งใจในการทำงานเป็นกลุ่ม และการมีจุดมุ่งหมายร่วมกันอย่างมีจิตสำนึก 
5. แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical  school)แนวความคิดนี้มุ่งใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาข้อมูลทางปริมาณต่างๆ เพื่อตัดสินใจในการจัดการ ความเชื่อของนักคิดกลุ่มนี้คือ ถ้าการจัดการเป็นกระบวนการทางตรรก(มีเหตุผล) แล้ว ต้องสามารถแสดงออกมาในรูปของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น y = f(x) เป็นต้น  พื้นฐานของแนวความคิดนี้เป็นการสร้างรูปแบบขึ้น โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและแสดงออกมาในรูปของความสัมพันธ์และในรูปของวัตถุประสงค์ที่เลือกสรรแล้ว ผู้ใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า นักวิจัยเชิงปฏิบัติการ หรือนักวิทยาศาสตร์การจัดการ แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาด้านกายภาพของการจัดการ เช่น รายการต่างๆ และการการควบคุมการผลิต เป็นต้น แต่ไม่สามารถใช้แทนการการได้ซึ่งความรู้ ประสบการณ์ และการฝึกหัดทำ ความเข้าใจในพฤติกรรมมนุษย์ได้ 
 	6.แนวความคิดด้านระบบ (Systems  school) แนวความคิดด้านระบบเป็นการจัดการที่เน้นกลยุทธ์ ศึกษาส่วนต่างๆ ของระบบภายใน ระบบจะมีธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกันและกัน มีความสัมพันธ์กัน การวิเคราะห์เชิงระบบเป็นความพยายามที่จะกำหนดธรรมชาติของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในระบบทฤษฎีระบบได้ให้แนวความคิดพื้นฐาน หลักการต่างๆ และแนวทางในการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ในด้านการวางแผน การควบคุมและการตัดสินใจดำเนินการเป็นตัวนำ ให้ฝ่ายจัดการพิจารณาองค์การทางธุรกิจในรูปข่ายปฏิบัติงานของข้อสนเทศ ทิศทางของข้อสนเทศจะให้แนวทางการตัดสินใจในการจัดการระดับที่แตกต่างกัน ผลของระบบข้อสนเทศทางธุรกิจ นำมาพิจารณาใช้กันมากในระบบบัญชี การเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การควบคุมและกระบวนการตัดสินใจในองค์การธุรกิจ และปัจจุบันที่รู้จักกันดีของระบบข้อสนเทศทางดารบริหาร ที่เรียกย่อๆว่า MIS (Management Information System				
25 กรกฎาคม 2553 09:52 น.

เก็งข้อสอบวิชาทรัพยากรมนุษย์

กระต่ายใต้เงาจันทร์

การจัดการ คือ กระบวนการที่ผู้จัดการใช้ศิลปะและกลยุทธ์ต่างๆ ดำเนินกิจการตามขั้นตอนต่างๆ  โดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกในองค์การ  การตระหนักถึง ความสามารถ  ความถนัด  ความต้องการ  และมุ่งหวังด้านความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของสมาชิกในองค์การควบคู่ไปด้วย  องค์การจึงจะสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
Management  คือ  การจัดการ
Administration  คือ  การบริหาร
	แต่ในระยะหลังจะพบว่าใช้คำสองคำนี้แทนกันได้  เช่น
1.	การบริหาร (Administration) เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย
      การจัดการ (Management) เป็นการนำนโยบายไปปฏิบัติ 
2.	การจัดการเป็นความหมายทั่วไปโดยรวมการบริหารเข้าไปด้วย คือการบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เป้าหมายที่กำหนดในขั้นการจัดการบรรลุผล
3.	การบริหารและการจัดการมีความหมายไม่แตกต่างกัน เป็นความหมายที่ยอมกันในยุคปัจจุบันนี้ แต่การนิยมใช้จะแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ : - 
4.	     โดยคำว่า การจัดการ จะใช้ในหน้าที่การบริหารระดับสูงในด้านการกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคคลเข้าทำงาน การสั่งงาน และการควบคุมในองค์การธุรกิจ 
5.	     ส่วนคำว่า การบริหาร จะใช้ในหน้าที่เช่นเดียวกับการจัดการแต่ใช้ในองค์การรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตามคำสองคำนี้มักจะใช้แทนที่กันและกันได้ 
6.	การจัดการเป็นวิทยาศาสตร์ : 
7.		เพราะองค์ความรู้ที่ได้มามีลักษณะเป็นระบบและหลักการต่างๆ ได้ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผู้จัดการและนักวิจัยจำนวนมาก และความรู้เหล่านี้ยังได้มีการศึกษาพัฒนาปรับปรุงจากหลักฐานการสังเกตและการทดลองอยู่เรื่อยมา
8.	เนื่องมาจากการจัดการเป็นวิธีการนำความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญศึกษาไปประยุกต์ให้องค์การบรรลุผลดังปรารถนา  จนมีผู้กล่าวว่า การจัดการเป็นศิลปะของศิลปะ เพราะการจัดการจะต้องใช้เทคนิควิธีการจัดองค์การและนำความสามารถพิเศษของสมาชิกในองค์การมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์การ   ดังนั้น  ผู้จัดการจึงได้รับสมญาว่านักศิลปะ เพราะจะเป็นผู้นำความรู้ที่ได้รับจากศาสตร์ของการจัดการมาดำเนินการจัดการทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรวัตถุ เพื่อให้เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อองค์การให้มากที่สุด 
9.	ดังนั้น  วิทยาศาสตร์และศิลปะจึงเป็นสิ่งที่ประกอบซึ่งกันและกันให้เกิดภาพที่สมบูรณ์ขึ้น เปรียบเหมือนเหรียญที่มีด้านหัวและก้อย  แต่ต้องมีความสมดุลระหว่างด้าน 2 ด้าน จึงทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง  เพราะฉะนั้น  บุคคลที่มีความรู้ด้านการจัดการและมีความสามารถในการจัดการจะเป็นบุคคลที่นำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางที่ประสบความสำเร็จสูงสุด  ผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จจึงต้องเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักศิลปะ4) ความสำคัญของการจัดการการจัดการเป็นสมองขององค์การ  การที่องค์การจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น จำเป็นต้องมีกระบวนการจัดการที่ดี 
10.	การจัดการเป็นเทคนิควิธีการที่ทำให้สมาชิกในองค์การเกิดจิตสำนึกร่วมกันในการปฏิบัติงาน มีความตั้งใจ เต็มใจช่วยเหลือให้องค์การประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพราะมีกระบวนการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน นำทางให้องค์การไปสู่ความสำเร็จ
11.	การจัดการเป็นการกำหนดขอบเขตในการทำงานของสมาชิกในองค์การไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
12.	การจัดการเป็นการแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานให้องค์การเกิดประสิทธิผล (effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency) สูงสุด 
13.	สามารถแบ่งออกเป็น  6 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
14.	1. แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์(Scientific management school) 
15.	2. แนวความคิดด้านการจัดการเป็นกระบวนการ (management process school) 
16.	3. แนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human  relations school) 
17.	4. แนวความคิดด้านระบบสังคม (Social  system  school) 
18.	5. แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical  school) 
19.	6. แนวความคิดด้านระบบ (Systems  school)				
18 กรกฎาคม 2553 22:34 น.

กูไม่บ้า

กระต่ายใต้เงาจันทร์



เมื่อตัวเองต้องเดินทางมาอยู่เชียงรายด้วยเรื่องงาน   ตั้งแต่มาอยู่ใหม่ๆทุกๆเช้าจะมีคุณยายคนหนึ่งแบกถุงผ่านหอพักทุกเช้า  พอกลับจากที่ทำงานจะเย็นจะเห็นคุณยายเดินผ่านกลับพร้อมแบกถุงใบเดิมเดินผ่านไป
คุณยายจะเดินด้วยสีหน้าเรียบเฉย  พูดบ่นพึมพำคนเดียว   ถ้าวันไหนเจอคุณยาย  ฉันจะเดินเอานม  เอาผลไม้ที่ซื้อในตู้เย็นไปให้ทุกครั้ง   วันไหนถ้ากลับจากที่ทำงานก่อนก็จะนั่งดักรอหน้าบ้าน ซื้อผลไม้ ขนม กับข้าว  นม  เอาไว้ให้แก   คนข้างบ้านเรือนเคียงมักตะโกนเตือนฉันด้วยความหวังดีว่า   อาจารย์  ระวังน่ะยายแกบ้า
แต่ก็ไม่เห็นคุณยายมีอาการอะไรแสดงให้เห็น  นอกจากเช้าแบกถุง   เย็นก็แบกถุง  พูดอยู่คนเดียว   มีวันหนึ่ง  เป็นวันพระ  ซึ่งที่ทำงานจะหยุดไม่มีการเรียนการสอน
ฉันไปนั่งทานอาหารที่ร้านข้างๆที่พักในตอนประมาณเกือบสี่โมงเย็น  เห็นแกมาแวะทีร้านนี้   แล้วลื้อค้นในถุง  เอากระดาษบ้าง  ถุงพลาสติกบ้างขายให้แม่ค้าที่ชื่อพี่ติ๊ก  ซึ่งรับซื้อแก  ในราคา20  บาท  ซึ่งวันไหนแกอยากขาย  แกก็ขาย  ไม่อยากขายแกก็เดินผ่านไป  แม่พี่ติ๊กก็บ่นพี่ติ๊กบ้าง    ฉันเลยบอกเค้าไปว่า  ถ้าคุณยายมาขายก็รับซื้อไว้เถอะเพราะแกอุตสาห์เอามาขาย  ไม่ได้มาขอเงิน  20 บาท  บอกอาจารย์ เดี๊ยวจะจ่ายให้เอง 
ฉันทำอย่างนี้ทุกครั้งเป็นกิจวัตรปีกว่า  คุณยายไม่เคยขอ  นอกจากฉันเดินไปให้เอง   ถ้าฉันขับรถมอเตอร์ไซด์   ผ่านหรือจอดรถอยู่หน้าที่พัก    แล้วแกเห็น  แกก็จะเฉยๆเดินผ่านไปไม่เข้ามาวุ่นวาย
มีครั้งหนึ่ง มีฝรั่งมาถามทางหน้าบ้าน  แกเห็น   แกเดิน  เข้าดึงเสื้อฝรั่ง  แล้วพูดว่า  เอาเงินมาให้กู   ลูกสาวกูอยู่ไหน
ฉันเคยสงสัยว่า  แกเดินไปไหนทุกวัน  จนเย็นวันหนึ่งตัวเองพอเวลา  ไปเกินออกกำลังกายที่ริมแม่น้ำกก  เจอคุณยายนั่งที่ศาลา ฉันรีบขับรถ  ไปตลาด  ไปซื้อกับข้าว  ผลไม้  ขนม  แล้วเดินเอาไปให้แกที่ศาลา
แกเทของในถุงออกเกลื่อน  ในนั้นจะมีกระป๋อง  โค้ก   กระป๋องเบียร์   ขวดที่มีสีแดงๆหลายขวด   พอฉันเอาของไปให้  แกก็รับไว้  
แล้วบอกว่า  มีตังค์ไหม  ให้ตังค์บ้างก็ได้  กูไม่ได้บ้า
ฉันเลยอมยิ้ม  ขำอยู่ในใจ ...คุณยายทำให้ฉันมีความสุขได้แฮะ.. เลยนั่งลงคุยกับคุณยายว่า   เก็บขวดไปทำอะไรคะยาย   คุณยายตอบว่า  ขวดมันสวยดี  มันมีสี  ขวดสีขาวๆไม่สวย   ถึงว่า  เห็น  แกคัดเอาขวดขาวๆทิ้งหมดเพราะมันไม่สวยนี่เอง
โลกของยาย   ยายยังเลือก   ที่จะอยู่กับความสุข   อยู่กับสิ่งตัวเองชอบ    โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร  เพราะยายพอใจอย่างนั้น  พอใจที่จะเลือก  ที่เก็บสิ่งสวยๆเช่นขวดสีๆที่ตัวเองชอบ แล้วเราหล่ะ...เราเป็นคนต้นทุนชีวิตมาดีกว่ายายตั้งเยอะ  ถ้าเรายังคิดไม่เป็น    ยายน่ะไม่บ้า ... แต่เราน่ะบ้า...?แล้วแน่นอน
				
14 กรกฎาคม 2553 10:31 น.

เข้าวัดไม่ต้องเสียตังค์

กระต่ายใต้เงาจันทร์

พระเดชพระคุณพระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว 
เข้าวัดไม่ต้องเสียตังค์
นโยบายเจ้าคณะภาค 6 รูปใหม่
ไม่ต้องรอให้ รธน.บรรจุพุทธไว้ประจำชาติ
 


พระดีที่น่ากราบไหว้ และพระมหาเถระตัวอย่างของประเทศไทยในวันนี้
 
     พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค 6 เปิดเผยว่า ปัจจุบันประชาชนทั่วไปต่างเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ แต่คนทั่วไปยังมีจิตใจในการทำบุญ ดังนั้นเพื่อทำให้เข้าใจอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์โดยไม่ต้องเสียทรัพย์ คณะสงฆ์ภาค 6 จึงได้จัดโครงการ "เข้าวัดโดยไม่เสียเงิน" นำร่องที่วัดพระแก้ว อ.เมือง จ.เชียงราย ทุกวันเสาร์เวลา 18.00-20.00 น. โดยให้พระภิกษุอธิบายการปฏิธรรมและรักษาศีล มีการถือศีลภาวนา ทั้งต่อผู้คนทั่วไปและเหมาะกับครอบครัว สร้างความอบอุ่นและขัดเกลาจิตใจไปพร้อมๆ กัน สิ่งสำคัญไม่มีการเก็บเงินหรือรับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการถือศีลและภาวนาไม่ต้องใช้ทรัพย์และไม่ยุ่งยากเหมือนการทำทานแต่ก็เป็นหนึ่งในการทำบุญเหมือนกันและยังเป็นการทำบุญขั้นสูงกว่า ทั้งนี้ปัจจุบันผู้คนเข้าใจผิดเรื่องการทำบุญหรือบุญกิริยาวัตถุ ประกอบด้วยการให้ทาน รักษาศีลและภาวนา โดยเน้นทำบุญด้วยการให้ทานเพียงอย่างเดียว แต่ขาดการรักษาศีลและภาวนา 

      "อาตมาเห็นวัดหลายแห่งมีการโฆษณาเรี่ยไรเพื่อนำเงินไปสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ดังนั้นจึงให้นโยบายกับวัดต่างๆ ทั่วภาค 6 ทั้งเชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่และน่าน ให้หยุดโครงการที่ไม่จำเป็นหันมาให้ชาวพุทธถือศีลและภาวนา รวมทั้งเนื่องจากคนพุทธเป็นคนมีน้ำใจอ่อนไหวต่อการทำทานจึงทำให้มีคนบางประเภทอาศัยเงื่อนไขนี้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ก็ซ้ำเติมสภาพเศรษฐกิจทำให้ทุกข์หนักเข้าไปอีก" พระธรรมราชานุวัตรกล่าว

      เจ้าคณะภาค 6 กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีพระภิกษุและสามเณรจำวัดน้อย แต่กลับสร้างวัตถุใหญ่โตเกินตัว เช่น บางวัดมีเพียง 2-3 รูปกลับสร้างหอระฆังนับล้านบาท ฯลฯ พระสงฆ์ไม่สามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพราะเสียเวลาไปกับการดูแล นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับวัดในประเทศจีน ญี่ปุ่น พม่า ศรีลังกา พบว่าไม่มีการถวายปัจจัยหรือเงินให้กับพระสงฆ์เลย ดังนั้นเราจึงควรปฏิบัติให้เหมือนกัน เพราะภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ไทยคือเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างวัตถุมากถึงร้อยละ 90 ดังนั้นเพื่อให้พระสงฆ์ห่างจากวัตถุและมีเวลาเผยแผ่ศาสนาจึงได้มีการหารือในคณะสงฆ์เห็นว่าในอนาคตควรจะให้ภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปดำเนินการ โดยกำหนดให้มีศูนย์กลางพระสงฆ์ตำบลละ 1 วัด ทำการบูรณะวัดต่างๆ ตามความเป็นจริงในการใช้งาน ส่วนพระสงฆ์ก็รวมกันอยู่เป็นหมู่คณะเหมาะกับวัตรปฏิบัติมากกว่ากระจายไปวัดละ 1-2 รูป ด้านศิลปะก่อสร้างของวัดต่างๆ ก็จะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างสร้างเหมือนในปัจจุบัน นอกจากนี้ส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์เพราะเชื่อว่าคนมีความรู้จะไม่ทำบาป คาดว่าจะทำให้พระพุทธศาสนาเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง และประเทศชาติเข้มแข็งต่อไป ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเมื่อนำร่องที่วัดพระแก้วแล้วจะให้วัดต่างๆ ปฏิบัติต่อกันไปอย่างยั่งยืน
 
     เว๊บไซต์วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย
                                                                                    ข่าว : ข่าวสด
11 สิงหาคม 2550

 

 แหล่งข้อมูลขอบคุณเวปไซด์
 www.alittlebuddha.com/.../13%20August%2007.html 



ส่วนนในด้านการบริหารนั้น วัดพระแก้ว  มีการบริหารที่ชัดเจน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ในตามแผนพํฒนาสามปี


นโยบายการบริหารวัดพระแก้ว 

ในการบริหารวัดพระแก้ว พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสมีนโยบายบริหารจัดการกระจาย ๓ ด้าน คือ

     ๑. กระจายอำนาจ 
                    ได้มอบหมายให้รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ช่วยบริหารจัดการงานฝ่ายต่างๆ และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการช่วยเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้งานได้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
     ๒. กระจายงาน
                    ได้กระจายงานของเจ้าอาวาสออกเป็น ๔ ฝ่าย และกิจการพิเศษ โดยได้มอบหมายให้ผู้ช่วยเจ้าอาวาสช่วยบริหารจัดการ และให้ขึ้นตรงต่อรองเจ้าอาวาส หรือเจ้าอาวาส
     ๓. กระจายโอกาส
                    เพื่อให้คณะผู้บริหารทุกรูปได้มีส่วนร่วมในโอกาสแห่งการรับรู้ เรียนรู้และร่วมกิจกรรมของวัดอย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียม

วัดเป็นศาสนสถาน เป็นที่ตั้งแห่งพระรัตนตรัย เป็นสถานที่อยู่จำพรรษาของพระ(ผู้ประเสริฐ) บรรพชิต(ผู้เว้น) สมณะ(ผู้สงบ) ภิกษุ(ผู้ขอหรือผู้มีปกติเห็นภัยในวัฏฏะ) สามเณร(ผู้เป็นเหล่ากอของผู้สงบ) เป็นบุญสถาน และเป็นปูชนียสถานของพุทธบริษัท ผู้บริหารต้องทำนุบำรุงให้ดีที่สุด

                    โดยเฉพาะสถานที่วัดพระแก้ว เป็นสถานที่ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย จึงต้องช่วยกันบริหารวัดพระแก้วให้เป็นที่เคารพยำเกรงยิ่ง ให้สมกับเป็นบ่อเกิด คือ สานที่ค้นพบพระแก้วมรกต จึงได้จัดทำโครงสร้างการบริหารและแบ่งฝ่ายรับผิดชอบ ดังนี้

     ๑. รองเจ้าอาวาส (พระครูพิพัฒน์รัตนพงศ์)
          ๑.๑ ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาส หรือปฏิบัติงานตาที่เจ้าอาวาสมอบหมาย

     ๒. ฝ่ายการศึกษา (พระครูศรีรัตนากร)
          ๒.๑ ให้สนองงานการศึกษาตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๒.๒ ให้ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร ทั้งทางด้านพระปริยัติธรรม แผนกธรรมบาลี แผนกสามัญศึกษา และระดับอุดมศึกษา
          ๒.๓ ให้ส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชนของชาติ เช่น ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น
          ๒.๔ ให้ดูแลความสะอาดของสถานศึกษา ทั้งภายในและภายนอกอาคารสถานศึกษา
          ๒.๕ ให้จัดหาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอยให้ครบถ้วน
          ๒.๖ ให้จัดหาครู-อาจารย์ เข้าทำการสอนตามวิชาที่ถนัด ประสบการณ์และตรงกับวุฒิการศึกษา และส่งเสริมให้มีความเจริญก้าวหน้า

     ๓. ฝ่ายปกครอง (พระครูสิริรัตนสุนทร)
          ๓.๑ ให้สนองงานการปกครองตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๓.๒ ให้พระภิกษุสามเณรปฏิบัติตามพระธรรมวินัย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม ระเบียบ คำสั่งของคณะสงฆ์ และเจ้าอาวาส
          ๓.๓ ให้มีกิจวัตร เช่น ทำวัตรเช้า  เย็น ทำความสะอาด ทำอาหาร และทำกิจวัตรอื่นๆ
          ๓.๔ ให้มีกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคี เคารพเชื่อฟังกันตามลำดับอาวุโส และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
          ๓.๕ ให้มีการศึกษาอบรมในวัตรปฏิบัติ มีบุคลิกภาพที่ดี มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน นุ่งห่มเป็นปริมณฑล
          ๓.๖ ให้มีการส่งเสริมให้เป็นผู้มีมารยาท และทัศนคติอันดีงามตามวัฒนธรรมไทย มีใจเทิดทูนในสถาบันพระพุทธศาสนา

     ๔. ฝ่ายการเผยแผ่ (พระครูสุธีสุตสุนทร) 
          ๔.๑ ให้สนองงานการเผยแผ่ตามคำสั่งของเจ้าอาวาส
          ๔.๒ ให้ดุแลหน่วยเผยแผ่ศีลธรรม หน่วยงาน หรืองานที่ทำหน้าที่การเผยแผ่แก่พุทธศาสนิกชน สื่อมวลชน และบุคคลอื่นๆ
          ๔.๓ ให้มีกิจกรรมส่งเสริมศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนในวาระและโอกาสต่างๆ
          ๔.๔ ให้จัดตารางแสดงพระธรรมเทศนาทุกวันธรรมสวนะ ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง จัดทำวารสาร และเอกสารต่างๆ
          ๔.๕ ให้จัดกระดานข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายนิทรรศการ เพื่อเป็นแหล่งข่าวแหล่งเรียนรู้ และศูนย์รวมข่างสารภายในวัด
          ๔.๖ ให้ทำหน้าที่โฆษก พิธีกร หรือผู้ประกาศในงานพิธี งานภายในวัด และวันธรรมสวนะทุกวัน

     ๕. งานสาธารณูปการ (พระครูรัตนปริยัตยาทร)
          ๕.๑ ให้สนองงานการสาธารณูปการตามคำสั่งเจ้าอาวาส
          ๕.๒ ให้จัดกิจกรรมส่งเสริมความสะอาด ร่มรื่น สดชื่น และเป็นระเบียบเรียบร้อย
          ๕.๓ ให้รับผิดชอบความสะอาดศาลาการเปรียญ
          ๕.๔ ให้จัดสถานที่อำนวยความสะดวกแก่อุบาสกอุบาสิกา ทุวันพระ
          ๕.๕ ให้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของการรณรงค์
          ๕.๖ เป็นหัวหน้าทำวัตรสวดมนต์ 

งานกิจการพิเศษ

เป็นงานที่ขึ้นตรงต่อเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส
ผู้รับผิดชอบ ๑. พระอดุลย์ อภินนฺโท
               ๒. พระมหาเพียรทอง อริยเมธี
               ๓. พระมงคล อคฺคธมฺโม
หน้าที่ 
     ๑. การกวดขันการนุ่งห่ม ความประพฤติ กิริยามารยาท และสุขภาพของสามเณร
     ๒. การประดับตกแต่งภายใน  ภายนอกอาคาร และบริเวณวัด
     ๓. งานพิธีกรรมเป็นกรณีพิเศษ
     ๔. งานสวัสดิการ และดูแลสามเณรอาพาธ
     ๕. งานทำความสะอาดห้องสุขา
     ๖. งานขนย้าย และกำจัดสิ่งปฏิกูล (ขยะ)
     ๗. งานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ

     นโยบายนี้ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารวัดพระแก้ว เป็นระยะเวลา ๓ ปี โดยนับตั้งแต่วันที่เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว ได้ลงนามประกาศใช้เป็นต้นไป

ประกาศใช้ ณ วันที่ ๒๔ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑


พระธรรมราชานุวัตร
เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว

ในการปฎิบัตฺธรรมชมรมสวดมนต์วันเสาร์  ซึ่งวัดพระแก้ว  ได้นำเดินการมาตั้งแต่ปี  2546  โดยมีกิจกรรม สวดมนต์  นั่งสมาธิ    แต่มีญาติโยมที่ศรัทธาเพิ่มขึ้นมากในแต่ละปี   อย่างวันเสาร์ที่ผ่านมา   จากที่ไปเก็บงานวิจัยเฉลี่ยประมาณ  140คนแต่กลับเพิ่มขึ้นถึง200กว่าคนจนห้องที่รองรับไม่พอล้นออกมาข้างนอก  เป็นสิ่งที่น่ายินดียิ่งนักภายใต้การนำของพระมหาดร.สมพงษ์  ผ.อ.  มจร.ห้องเรียนวัดพระแก้วที่ได้นำเนินการตามนโนบายของพระธรรมราชานุวัตรมาอย่างต่อเนื่อง				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงกระต่ายใต้เงาจันทร์